Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กายคตาสติ.....สนามรบของผู้มุ่งนิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กายคตาสติ.....สนามรบของผู้มุ่งนิพพาน


หลวงปู่แหวนท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า

"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย.....

แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว

เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....

เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....

เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก

ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....

เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 4:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กายคตาสตินี้ ถ้าเป็นระดับพระพุทธวจนะจากพระสูตร จัดอยู่ในหมวดกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ที่เป็นทั้ง อุบายแห่งสมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว

แต่ ถ้าเป็นคัมภีร์รุ่นหลังบางเล่ม จะจัดให้กายคตาสติเป็นเพียง อุบายแห่งสมถะ เพียงอย่างเดียว... จนมีผู้ปฏิบัติธรรมบางท่าน ที่อิงกับคัมภีร์รุ่นหลัง กล่าวว่า ผลจากการเจริญกายคตาสติเป็นเพียงแค่สมาธิ ไม่ใช่ปัญญา.... และ เหมือนจะกล่าวว่า ไม่ควรเจริญกายานุปัสนา ให้เสียเวลาเลย



มาดูจากพระสูตร กันดีกว่า

กายคตาสติ มีอานิสงส์ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วด้วย ฯ
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาก ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ
จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่ารู้วาจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้ เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้างหลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวักวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุข และทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น
แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ........... ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯ กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ"


อานิสงส์9ข้อแรกเป็นผลของสมถะโดยตรง
อานิสงส์ข้อ10 คือ ถึงพระอรหัตตผล เป็นผลจากวิปัสสนา


พระมหาสาวก ที่ใช้กายคตาสติเป็นหลักในการภาวนา คือ ท่านพระอานนท์ พุทธอนุชาผู้ทรงพหูสูต

ในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้

[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ



ท่านพระอานนท์ ตอนที่ตั้งใจเจริญกายคตาสตินั้น ท่านบรรลุเป็นพระโสดาบันมานานแล้ว(ท่านบรรลุโสดาบัน ตั้งแต่ ฟังธรรมจากท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อคราวอุปสมบทใหม่ๆ).

ในคืนก่อนวันปฐมสังคายนาที่ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ท่านเจริญกรรมฐานส่วนใหญ่ด้วยกายคตาสติ.... คือ ท่าน เร่งภาวนาเพื่อให้บรรลุอรหัตตผลในคืนนั้น

กรรมฐานที่พระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรที่สุดเลือกในการมุ่งอรหัตตผล ในเวลาที่จำกัด ย่อมน่าสนใจมากครับ... และ ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่ อุบายแห่งสมถะกรรมฐานอย่างเดียว(โดยไม่มีส่วนของวิปัสนาอย่างที่บางท่านเข้าใจ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 5:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่มเคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่งนอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๑๘๒ - ๔๔๙๖. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๙๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=4182&Z=4496&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292


๙. อรรถกถากายคตาสติสูตร
กายคตาสติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคหสิตา ได้แก่ อาศัยกามคุณ ๕. ความดำริอันแล่นไป ชื่อว่า สรสงฺกปฺปา (ความดำริพล่าน) ก็ธรรมชาติ ชื่อ สร เพราะพล่านไป. อธิบายว่า แล่นไป.
บทว่า อชฺฌตฺตเมว ความว่า ในอารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น.
บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด (พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง. เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา) กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนา ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะและวิปัสสนา ด้วยบททั้งสอง. ตรัสกายานุปัสสนา ๑๔ อย่างในมหาสติปัฏฐาน มีคำว่า ปุน จ ปรํ ฯปฯ เอวํ โข ภิกฺขเว กายคตํ สตึ๑- ภาเวติ (ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญกายคตาสติ อย่างนี้แล) ดังนี้เป็นต้น.
____________________________
๑- ม. กายคตาสตึ

บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า (กุศลธรรม) ย่อมเป็นอันรวมลงในภายในแห่งภาวนาของภิกษุนั้น.
ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะส้องเสพ (คือได้) วิชชาด้วยอำนาจสัมปโยคดังนี้บ้าง. ชื่อว่าส่วนวิชชา เพราะเป็นไปในส่วนวิชชา คือในกลุ่มวิชชาดังนี้บ้าง. ในกุศลธรรมอันเป็นส่วนวิชชานั้น วิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ ๑ มโนมยิทธิ ๑ อภิญญา ๖ ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อแรก แม้ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยวิชชา ๘ เหล่านั้น ก็เป็นส่วนแห่งวิชชา (วิชชาภาคิยะ). ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อหลัง วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงวิชชาเดียว ในบรรดาวิชชา ๘ เหล่านั้น ชื่อว่าวิชชา วิชชาที่เหลือทั้งหลายเป็นส่วนแห่งวิชชา. เมื่ออธิบายอย่างนี้ วิชชาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่า เป็นส่วนแห่งวิชชาทั้งนั้น.
ในบทว่า เจตสา ผุโฏ นี้มีอธิบายว่า การแผ่มี ๒ อย่าง คือ แผ่ด้วยอาโปกสิณ, แผ่ด้วยทิพยจักษุ, ในการแผ่ ๒ อย่างนั้น การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยน้ำ ชื่อว่าแผ่ด้วยอาโปกสิณ. แม่น้ำสายเล็กๆ (แคว) ที่ไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอันรวมอยู่ภายในทะเลใหญ่ แม้ที่อาโปกสิณถูกต้องแล้วอย่างนี้. ส่วนการเจริญอาโลกกสิณแล้วแลดูทะเลทั้งหมดด้วยทิพยจักษุ ชื่อว่าแผ่ไปด้วยทิพยจักษุ เมื่อทะเลใหญ่แม้ที่ทิพยจักษุถูกต้องแล้วอย่างนี้ แม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอันรวมอยู่ภายในทั้งนั้น.
บทว่า โอตารํ ได้แก่ ระหว่าง คือ ช่อง.
บทว่า อารมฺมณํ ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งการบังเกิดกิเลส.
บทว่า ลเภถ โอตารํ ความว่า พึงได้การเข้าไป. อธิบายว่า พึงแทงตลอดไปจนถึงที่สุด.
บทว่า นิกฺเขปนํ ได้แก่ (เนื้อ) ที่ที่จะเก็บน้ำไว้.
ทรงเปรียบบุคคลผู้ไม่เจริญกายคตาสติ ด้วยกองดินเปียกเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงเปรียบบุคคลผู้เจริญกายคตาสติด้วยแผ่นไม้แก่นเป็นต้น จึงตรัสคำว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้เป็นต้นไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคฬผลกํ ได้แก่ บานประตู.
บทว่า กากเปยฺโย ความว่า อันกาจับที่ขอบปากแล้วก้มคอดื่มได้.
บทว่า อภิญฺญาสจฺฉิกรณียสฺส แปลว่า พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
บทว่า สกฺขิพฺยตํ ปาปุณาติ ได้แก่ ถึงความประจักษ์.
บทว่า สติ สติอายตเน คือ เมื่อเหตุแห่งสติมีอยู่
ถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุในที่นี้ ?
ตอบว่า อภิญญานั่นแหละเป็นเหตุ.
บทว่า อาฬิพทฺธา ได้แก่ กั้นเขื่อน.
บทว่า ยานีกตาย คือ ทำให้เหมือนยานที่เทียมไว้แล้ว.
บทว่า วตฺถุกตาย คือ ทำให้เป็นที่พึ่งอาศัย (ที่จอด).
บทว่า อนุฏฺฐิตาย คือ เป็นไปเนืองๆ.
บทว่า ปริจิตาย คือ ทำการสั่งสมไว้.
บทว่า สุสมารทฺธาย ได้แก่ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว คือประคับประคองไว้อย่างดี.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากายคตาสติสูตรที่ ๙
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 5:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คือ คำว่า สมาธิ(ซึ่งเป็นผลจากสมถะ) ...และ คำว่า สมถะ(ที่มีผลเป็นสมาธิ) ที่เราท่านกำลังกล่าวกันนั้น ตรงกับที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ไหม


สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&st=0

จากคุณ : ตรงประเด็น



คุณตรงประเด็นครับ คำว่า สมาธิ และ สมถะ มีความหมายนัยยะเดียวกัน

แต่ผลของ สมาธิ หรือ สมถะ ขั้นสูง คือ ฌาน อภิญญา (โลกียอภิญญา และ โลกุตตรอภิญญา)

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สมาธิ

ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้ พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้
(ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ)

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
(ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

อภิญญา ญาณ วิชา
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

------------------------------------------
จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ ของพระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล) เกี่ยวกับคู่มือวิปัสสนาเบื้องต้น ซึ่งผมเห็นว่าพระครูศรีโชติญาณ เป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญทั้งด้าน คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

--------------------------------------------------------------------------
http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/010620.htm

ก่อนอื่นผู้ที่ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนา จำเป็นจะต้องรู้หลักของการปฏิบัติสักเล็กน้อยก่อน เพราะถ้าไม่รู้หลักของการปฏิบัติ ก็จะปฏิบัติกันไม่ถูก อันนี้แหละที่เราเรียกว่ากันว่า " ปริยัติ" สำหรับในที่นี้จำเป็นจะขอแนะนำว่า การปฏิบัติวิปัสสนา ในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้น มีอยู่ด้วยกัน ๒ แบบ คือ
แบบที่ ๑ เรียกว่า " สมถยานิกะ " คือ ทำฌานให้เกิดขึ้นเสียก่อน จนมีวสี ๕ อย่างคล่องแคล่วแล้วจึงถอนจิตออกจากฌาน แล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไปได้โดยยกเอาองค์ฌานที่ปรากฏชัดที่สุดมาพิจารณา โดยความเป็นพระไตรลักษณ์
แบบที่ ๒ เรียกว่า " วิปัสสนายานิกะ " วิธีหลังนี้ทำวิปัสสนาล้วน ๆ เลย โดยที่ไม่มีสมถะที่เป็นฌานเข้ามาเจือปนเลย ที่พูดนี้อาจมีผู้สงสัยว่า ถ้าไม่สมถะให้เกิดสมาธิเสียก่อนแล้ว จะไปทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ขอตอบว่าการทำตามวิธีที่ ๒ นี้ มิใช่จะปฏิเสธสมาธิแต่ผู้ที่สงสัย ต้องไม่ลืมว่าวิปัสสนานั้น อาศัยเกิดบนฐานของขณิกสมาธิที่มีอยู่(สมาธิที่เป็นขณะ ๆ ) ไม่ใช่สมาธิที่เป็นอุปจาระหรืออัปปนาอย่างที่บางคน หรือบางสำนักมีความเข้าใจกัน เพราะผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาจำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาไปพร้อมกัน ๆ กันทีเดียว มิใช่จะเจริญเพียงสิกขาใด สิกขาหนึ่งโดยเฉพาะก็หาไม่ หมายความว่า ขณะกำหนดอารมณ์ ศีล สมาธิ และปัญญา จะต้องร่วมทำกิจในอารมณ์เดียวกันนั่นเอง
----------------------------------------------------

ผมเกรงว่าคุณประเด็น จะเข้าใจผิดตีความว่า ขณิกสมาธิ ไม่สามารถอาศัยเป็นฐานของการปฏิบัติวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยระดับ อัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ เท่านั้น จึงจะใช้เป็นบาทของวิปัสสนาได้

หากตีความเช่นนั้น จะทำให้การอธิบายพระพุทธพจน์ผิดเพี้ยนไป

แม้ใน กายคตาสติ ก็มีทั้งส่วนที่เป็น วิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ และ สมถะยานิกะ ที่อาศัยองค์ฌาน ยกขึ้นวิปัสสนา

คุณตรงประเด็นเลิกตีความพระพุทธพจน์เองเสียเถิด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง