Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความหมายคำว่า “พรหมจรรย์” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2007, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำว่า พรหมจรรย์ มีความหมายหลายนัย

ดังที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ ดังเช่น พระศาสนาทั้งหมด,

การประพฤติปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด, พรหมวิหาร, ทาน, ความสันโดษด้วยภรรยาของตน,

การงดเว้นจากเมถุนธรรม, ธรรมเทศนา เป็นต้น เหล่านี้ก็เรียกว่า พรหมจรรย์


แต่มีชาวพุทธไม่น้อยมักเข้าใจในความหมายแคบๆ เพียงแค่การครองเพศบรรพชิต และการ

งดเว้นจากเมถุนธรรม อันเป็นความหมายนัยหนึ่งเท่านั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2007, 9:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ต่อไปจะนำคำอธิบายความหมายคำว่า “พรหมจรรย์” จากหนังสือพุทธธรรม หน้า 590 เป็น

ต้นไป เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา)


-ความจริงพระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า พรหมจรรย์ หมายถึงระบบการครองชีวิตตามหลัก

พระพุทธศาสนาทั้งหมด หรือหมายถึงตัวพระพุทธศาสนาทั้งหมดทีเดียว ดังจะเห็นได้

จากพุทธพจน์ส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนาก็ว่า ประกาศพรหมจรรย์

และอีกแห่งหนึ่งตรัสว่า พรหมจรรย์จะชื่อว่ารุ่งเรือง ก็ต่อเมื่อบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ทั้งฝ่ายพรหมจารี และฝ่ายกามโภคี รู้ธรรมและปฏิบัติธรรมกันด้วยดี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2007, 10:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำว่า พรหมจรรย์ แปลจากบาลีว่า “พฺรหฺมจริย” ซึ่งประกอบด้วย พฺรหฺม+จริย

พรหม แปลว่า ประเสริฐ เลิศล้ำ สูงสุด บริสุทธิ์

ส่วน จริยะ มาจากรากศัพท์ว่า จร ซึ่งในความหมายเชิงรูปธรรม แปลว่า เที่ยวไป ดำเนิน

ไป จาริกไป

ในเชิงนามธรรม แปลว่า ประพฤติ, ดำเนินชีวิต, ครองชีวิต, เป็นอยู่

ในที่นี้มีความหมายเชิงนามธรรม

จริย หรือ จริยะ นี้ เมื่อเขียนเป็นไทย แปลงตามรูปสันสกฤต เป็นจรรย์ ก็มี ถือตามรูปบาลีอีก

รูปหนึ่งเป็น จริยา ก็ได้

(จรรย์ ในคำนี้ คือ ศัพท์เดียวกันกับจริยา หรือ จริย ที่ใช้ในคำว่า จริยศึกษา และ จริยธรรม)

รวมความว่า พรหมจรรย์ มาจากพรหมจริยะ แปลว่าจริยะอันประเสริฐ

ความประพฤติอันประเสริฐ หรือประพฤติบริสุทธิ์อย่างพรหม

การดำเนินชีวิตอันประเสริฐ การครองชีพอย่างประเสริฐ หรือความเป็นอยู่อย่างประเสริฐ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2007, 2:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(จัดหน้าใหม่)


(เมื่อเข้าใจคำว่า พรหมจรรย์พอสมควรแล้ว ดูพุทธพจน์ที่ตรัสผลแห่งพรหมจรรย์ และ

ที่สุดแห่งพรหมจรรย์บ้าง ดังนี้)


“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก

เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย...

เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม...จงประกาศพรหมจรรย์...”

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 8:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2007, 8:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


“ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ พรหมจรรย์ ดังนี้ พรหมจรรย์คืออะไร ? พรหมจารีคืออะไร ?

ที่จบของพรหมจรรย์ คือ อะไร ?


“มรรคาอันเป็นอริยะ ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี่

คือ พรหมจรรย์

บุคคลใดประกอบด้วยอริยอัษฏางคิกมรรคนี้ บุคคลนั้น เรียกว่าเป็นพรหมจารี

ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ที่จบพรหมจรรย์”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 8:27 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2007, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


“ผลของพรหมจรรย์ คือ อะไร ? โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล

เหล่านี้เรียกว่า ผลของพรหมจรรย์”

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 8:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2007, 3:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


“ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยดังนี้แล พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและคำสรรเสริญ

เป็นอานิสงส์ มิใช่มีความเพียบพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความเพียบพร้อม

ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ หากแต่พรหมจรรย์นี้

มีอกุปปาเจโตวิมุตติ เป็นที่หมาย เป็นแก่น เป็นที่จบสิ้นบริบูรณ์”


(อกุปปาเจโตวิมุตติ คือ ภาวะที่จิตหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ ไม่เสื่อมไม่กลับกลาย)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 8:31 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2007, 8:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกาย

ขออนุโมทนาสาธุ ในธรรมะที่ เข้าใจง่าย ของท่าน

ท่านจงมี พละ ในการแสดงธรรมะเช่นนี้ต่อไปนานๆด้วยเทอญ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 เม.ย.2008, 1:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตามพุทธพจน์ข้างบน แสดงว่า พรหมจรรย์ หรือ จริยธรรมอันประเสริฐ

หรือ จริยธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ก็คือ มรรค หรือ มัชฌิมาปฏิปทานี้เอง

และ พรหมจารี หรือ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ผู้มีจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

ก็คือผู้ดำเนินชีวิตตามมรรค หรือ ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 8:31 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ ในความเข้าใจของผม พรหมจรรย์คือการปฏิบัติถึงที่สุด หมดจดที่สุด คือ ตัวพระศาสนา งดเว้นการเบียดเบียนใด ๆ มุ่งทำธรรมให้แจ้งด้วยกาย วาจา ใจ คือการเว้นขาดจากสิ่งยั่วยวน ไม่ทราบว่าเป็นอย่างที่เข้าใจหรือเปล่าครับ รบกวนให้ความรู้ด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 4:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนความหมายตามรูปศัพท์ ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ดังกล่าว ก็ทำให้แปลคำจริยธรรมได้ว่า

หลักความประพฤติ หลักการดำเนินชีวิต หรือ หลักการครองชีวิต

เป็นอันว่า เมื่อถือตามหลักพระพุทธศาสนา มรรค หรือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ

ระบบจริยธรรม ระบบความประพฤติปฏิบัติ, หลักคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม,

หรือ หลักการครองชีวิตที่ถูกต้องสมบูรณ์ของมนุษย์ ที่จะนำไปสู่จุดหมาย คือ ความดับทุกข์

หรือ ความสุดสิ้นปัญหา อยู่อย่างเป็นอิสระไร้ทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย.2008, 8:33 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 5:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เว้นขาดจากสิ่งยั่วยวนในความเข้าใจและทางปฏิบัติที่ผมพยายามดำเนินอยู่ คือการไม่พาตัวเข้าไปหมมุ่นนกับอกุศลธรรม และหมั่นพิจารณาผัสสะต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะต่าง ๆ ว่าเป็นสิ่งสมมติแท้จริงคือธาตุต่าง ๆ ที่รวมตัวกันแล้วสมมติเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เกิดจากผสสะ เกิดการปรุงแต่ง มีรากฐานจากอวิชชา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น พิจารณาดังนี้ จิตจึงไม่เกาะเกี่ยว ดำรงอยู่ในสภาวะเดิมแห่งจิต เป็นทางปฏิบัติเพื่อถึงที่สุด ตามแนวทางแห่งพรหมรรย์ ขอบคุณคุณกรัชกายมากครับที่สละเวลาให้ธรรมทาน ผมไม่ค่อยได้ศึกษาจากการอ่านเท่าใดนัก ส่วนมากจะลองทำดู แล้วพิจารณาจากสิ่งที่ทำครับ อย่างไรช่วยชี้แนะจักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 เม.ย.2008, 6:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จากความหมายทั้งทางรูปศัพท์ และตามคำสอนเท่าที่กล่าวนี้ พอสรุปเป็นข้อควรทราบ

เกี่ยว กับพรหมจรรย์ คือจริยธรรมประเสริฐ หรือระบบจริยธรรมตามหลักพุทธศาสนาได้

ดังนี้

-จริยธรรมสัมพันธ์กับความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ หรือมีกฎธรรมชาตินั่นเอง

เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นการนำเอาความรู้เกี่ยวกับกระบวนธรรมที่เป็นไปอยู่เองตามธรรมดา
แห่งเหตุปัจจัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ โดยจัดวางลงเป็นระบบวิธีประพฤติปฏิบัติ

หรือแบบแผนการดำเนินชีวิต ที่จะให้ได้ผลดีสอดคล้องกับความจริงที่เป็นไปตามธรรมชาตินั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



-เนื้อความในข้อต้นนั้น มองได้สองด้าน

ในข้อต้นนั้นเน้นการมองในแง่ที่มา คือ จริยธรรมนี้ประยุกต์ออกมาจากความจริงที่มีอยู่ตาม

ธรรมดาของธรรมชาติ

แต่เพื่อให้เข้าใจชัดยิ่งขึ้น ควรเอาการมองในแง่ที่ไปมาเน้นไว้ต่างหากอีกด้วย

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-การมองในแง่ที่ไป คือ ในแง่ของจุดหมายว่านำมาประยุกต์เพื่ออะไร ซึ่งก็คงตอบได้ง่ายๆ

ว่า ประยุกต์เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของมนุษย์ เพื่อให้ชีวิตของมนุษย์เป็นชีวิตที่ดี

เพื่อให้สังคมของมนุษย์เป็นสังคมที่ดี เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่มนุษย์นั้น

เอง เช่น

ในระดับสังคม เมื่อจะให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ก็สั่งสอนแนะนำวางเป็นหลัก

ความประพฤติ เช่น วิธีปฏิบัติต่อกัน ข้อควรแสดงออกและควรกระทำต่อสภาพแวดล้อม

เป็นต้น กำหนดขึ้นมาโดยสอดคล้องกับความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีความ

ต้องการนั้นๆ มีปกติวิสัยอย่างนั้นๆ มีภาวะที่ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และอิงอาศัยธรรมชาติ

แวดล้อมอย่างนั้นๆ เป็นต้น หรือ ในระดับปัจเจกบุคคล เมื่อจะให้แต่ละคนมีจิตใจปลอดโปร่ง

เบิกบาน ผ่องใส มีสุขภาพจิตดี ก็สั่งสอนแนะนำแสดงวิธีควบคุมชักนำกระแสความคิด

วิธีฝึกอบรมและชำระจิต เป็นต้น กำหนดขึ้นมา โดยสอดคล้องกับความจริง เกี่ยวกับ

ธรรมชาติแห่งจิตของมนุษย์

ที่มีความเป็นไปตามกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัยฝ่ายนามธรรมอย่างนั้นๆ หรือ

เมื่อจะให้บุคคลประสบความสุขอันประณีตในฌาน และสมาบัติตลอดจนบรรลุปรีชาญาณ

อันสูงสุด ก็แนะนำสั่งสอนวิธีฝึกจิต วิธีคิด วิธีพิจารณา การวางท่าทีของจิตใจ

ต่อสิ่งทั้งหลาย และวิธีฝึกอบรมเจริญปัญญาตามลำดับแห่งขั้นตอนต่างๆ

กำหนดขึ้นมา โดยสอดคล้องกับความจริงเกี่ยวกับกฎแห่งการทำงานของจิต

และสภาวะของสังขารธรรมทั้งหลาย เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จริยธรรม ครอบคลุมวิธีปฏิบัติที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จึงอาจจัดแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ

หลายขั้นตอน

อาจสรุปด้วยคำพูดอย่างสมัยใหม่ว่า จริยธรรมคือการนำเอาความรู้ในสัจธรรมมาประยุกต์

เป็นวิธีดำเนินชีวิตที่ดี เพื่อให้มนุษย์บรรลุประโยชน์จนถึงขั้นสูงสุด

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พรหมจริยะ หรือ จริยธรรมประเสริฐนี้ ได้แก่มรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทาทั้งหมด

คือเท่ากับเป็นหลักธรรมภาคปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนา จึงมีความหมายกว้าง

ขวางกว่าคำว่าศีลธรรม อย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไปเป็นอันมาก

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำว่าศีลธรรม อย่างที่เข้าใจกันทั่วไป มีความหมายแคบทั้งโดยจุดหมาย ขอบเขตของ

เนื้อหา และลักษณะทั่วไป

ว่าโดยลักษณะทั่วไป ศีลธรรมอย่างที่เข้าใจกัน มักเพ่งถึงความประพฤติที่แสดงออกภาย

นอก ทางกายวาจา การไม่เบียดเบียน การเว้นการกระทำที่ชั่ว การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ในทางสังคม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยเนื้อหา มักมองจำกัดอยู่ในขั้นศีล คือการสำรวมระวังยับยั้งกายวาจา

การแสดงออกด้วยพรหมวิหารธรรม มีเมตตา กรุณา เป็นต้น

แม้จะโยงเข้าไปถึงด้านจิตบ้าง แต่ก็ไม่ก้าวเข้าไปถึงขั้นสมาธิภาวนา ไม่เลยไปถึงการ

เจริญปัญญาเพื่อประจักษ์แจ้งสภาวะแห่งสังขารธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2008, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยจุดหมาย ศีลธรรมอย่างที่เข้าใจกันนั้น มุ่งเน้นสันติสุข ความร่มเย็นเป็นสุข

ของสังคม ความอยู่เย็นเป็นสุขของบุคคล การประสบความเจริญก้าวหน้าของชีวิตในทาง

โลก เช่น ลาภ ยศ เกียรติ สรรเสริญ และการไปเกิดในภพที่มีความสุข

เรียกง่ายๆว่า อยู่ในขั้นมนุษย์สมบัติ และสวรรค์สมบัติ หรือทิฏฐธัมมิกัตถะ

และส่วนเบื้องต้นของสัมปรายิกัตถะ

ศีลธรรมดังที่กล่าวมานี้ ถ้ายุติกันว่าหมายถึงศีลนั่นเอง

ธรรมเป็นเพียงสร้อยคำต่อเข้ามา ศีลธรรมก็คือศีล ยุติได้อย่างนี้ปัญหาก็คงหมดไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง