Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
๕. ไม่ให้กำหนดรูปและนามไปพร้อมกัน
ขณะใดกำหนดรูปอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะรูป ขณะใดกำหนดหรือดูนามอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะนาม
จะกำหนดนามและรูปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันหรือในอารมณ์เดียวกันไม่ได้
เฉลิมศักดิ์ 26 มิ.ย.2008, 5:44 am



ที่อ้างอิงไม่ทราบว่า เป็นความเห็นของผู้ใด
ถามคุณเฉลิมศักดิ์ว่า ในขณะที่คุณนั่งอยู่นั้น ธรรมชาติ
(สติปัฏฐาน) เกิดเป็นลำดับๆ
เหมือนในหนังสือ หนึ่ง สอง สาม สี่ หรือ อย่างนั้นหรือ

เมื่อคุณปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทำไปทีละข้อ ๆ หนึ่ง สอง สาม
สี่ ฯลฯ เจ็ด แปด หรือ

เมื่อปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คุณก็ทำเรื่อยๆ
จาก 1-37 อย่างนี้ใช่ไหมครับ สงสัย

คุณเฉลิมศักดิ์ ยังไม่ตอบประเด็นนี้ครับ ตอบด้วย คุณปฏิบัติไปทีละข้อๆใช่ไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 มิ.ย.2008, 12:58 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 11:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกาย คงจะยอมรับแล้วว่า ตัวเองได้ข้ามพ้นความสงสัย ไปได้ ด้วยการภาวนา ท่องบ่น
ว่า สงสัยหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ จนสมาธิเริ่มเกิดมาก ๆ แล้วกลับไปเพ่งท้องพร้อมภาวนา
พองหนอ ยุบหนอ ต่อ
นี้จะเข้าใจว่าตนเองได้วิปัสสนาญาณขั้นสูงอย่าง ปัจจยปริคคหญาณ ตามตำราหรือไม่หนอ

คุณกรัชกายคงรับได้ แต่ผมรับไม่ได้หนอ

เฉลิมศักดิ์ 26 มิ.ย.2008, 5:32 am



สมดังชื่อกระทู้นี้ว่า ว่าวิธีปฏิบัติของอาจารย์แนบแก้อารมณ์

กรรมฐานพอง-ยุบกับพุทโธ เป็นต้นไม่ได้

เพราะอารมณ์กรรมฐานของผู้ใช้คำภาวนาเกิดอยู่ลึกกว่า

การนั่งคิดนึกว่ารูปนาม มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เป็นต้น เอาเอง

พูดให้ชัดก็คือคิดเอาว่า มันเป็นอย่างนั้นๆตามที่ร่ำเรียนรู้มาก่อน

หน้านั้นแล้ว คือตั้งธงไว้แล้วว่ามันเป็นอย่างนั้นๆ แต่หาใช่รู้

เห็นด้วยภาวนามยปัญญาไม่

เรื่องปัญญาหรือ ญาณ คุณเฉลิมศักดิ์ดูจากลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15529

นี้จะเข้าใจว่าตนเองได้วิปัสสนาญาณขั้นสูงอย่าง

ปัจจยปริคคหญาณ ตามตำราหรือไม่หนอ



มาพูดถึงศัพท์ ปัจจยปริคคหญาณ บ้าง

ถามความเข้าใจอักษรก่อน เอาง่ายๆมองเห็นตัวอยู่นี่แหละ

ถามคุณว่า คำว่า ” ปัจจยปริคคหญาณ” แปลว่าอะไร ?

ได้แก่อะไร ?

ขอคำตอบที่ถูกต้องทั้งอรรถและพยัญชนะครับ เจ๋ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 5:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
สมดังชื่อกระทู้นี้ว่า ว่าวิธีปฏิบัติของอาจารย์แนบแก้อารมณ์

กรรมฐานพอง-ยุบกับพุทโธ เป็นต้นไม่ได้

เพราะอารมณ์กรรมฐานของผู้ใช้คำภาวนาเกิดอยู่ลึกกว่า

การนั่งคิดนึกว่ารูปนาม มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เป็นต้น เอาเอง


คุณกรัชกายคงเห็นว่า การภาวนา พองหนอ ยุบหนอ สงสัยหนอ ขนลุกหนอ สารพัก หนอฯลฯ อยู่ลึกกว่าแนวการปฏิบัติการระลึกรู้ในอิริยาบถต่าง ๆ หรือ อิริยาบถบรรพะ

และคุณเข้าใจผิดคิดว่า แนวทางการปฏิบัติแบบนั้น เป็นแบบนั่งนึกเอา ให้เห็นว่าเป็น ไตรลักษณ์


แสดงว่าคุณกรัชกายยังไม่เคยศึกษาแนวทางการปฏิบัตินี้ แล้วมานั่งนึกเอาเองว่าเป็นแบบนี้


อาจารย์แนบ ท่านได้บรรยาย ความแตกต่างของ นึก กับ รู้สึก ไว้ดังนี้


หลักการปฏิบัติ ๑๕ ข้อ มีเหตุผลอย่างไร
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-19-01.htm

ต่อไป ข้อที่ ๓ เวลากำหนดรูปนั้น จะต้องมีความรู้สึกตัวเสมอว่า ขณะนั้นดูนามอะไร หรือดูรูปอะไร ไม่ให้นึก อันนี้ก็มีความสำคัญอีก เป็นข้อ ๓ คือ เวลาที่ดูนามหรือดูรูปนั้น ต้องมีความรู้สึกตัวเสมอว่า ดูอะไร หรืออย่างเวลานี้ ท่านจะต้องทำความรู้สึกตัวว่า ท่านฟังใครพูด ท่านฟังเรื่องอะไร หรือว่าฟังเขาพูดว่ากระไร เวลานี้ท่านไม่รู้สึกตัวว่าท่านนั่งอยู่ หรือว่าทำอะไรอยู่ ท่าทางที่นั่งอย่างไร ก็ไม่รู้สึกตัว ที่ไม่รู้ตัว เพราะอะไร เพราะท่านกำลังฟังเรื่องที่พูด กำลังฟังเรื่องว่า นี่พูดว่าอย่างไร เขาอธิบายว่าอย่างไรบ้าง เพราะฉะนั้น เวลานี้จะรู้สึกตัวไม่ได้ ถ้ารู้สึกตัวแล้ว ต้องไม่รู้เรื่อง เรื่องที่พูดไปนี้ก็ไม่ได้รับแระโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นจึงต้องมีกาละเทศะว่า ขณะนั้นจะรู้อะไร ขณะนี้จะปฏิบัติ ก็จะต้องรู้ตัวในอารมณ์ปัจจุบัน เมื่อรู้ปัจจุบันแล้วก็ไม่รู้เรื่อง รู้เรื่องไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลานี้ จะฟังเรื่องจะต้องรู้เรื่อง

ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจกาละเทศะให้ถูกต้อง ไม่ใช่ว่า เวลาฟังแล้วก็นั่งทำสมาธิเสีย หรือเวลาฟังเทศน์ก็ไปทำสมาธิเสีย อันนี้ไม่ถูกกับกาละเทศะ การฟังเทศน์คือการไปฟังเรื่องราวว่า พระท่านเทศน์อะไร ไม่ใช่ว่าไปฟังเทศน์แล้วก็ไปนั่งสมาธิ ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าเราจะทำสมาธิ ก็ทำอยู่ที่บ้านเรา ทำไมจะต้องไปทำเวลาฟังเทศน์เล่า อันนี้ไม่ถูกกับกาละเทศะ คนเรียนธรรมะ คนศึกษาเหตุผล ก็จะต้องเข้าใจกาละเทศะดีว่า เวลานี้ กาลนี้ จะทำอะไร ต้องรู้สึกตัวเสมอ คำว่ารู้สึกตัว เช่น รู้สึกตัวว่า เวลานี้นั่งดูอะไร รู้สึกตัวว่า ท่านฟังอะไรในเวลานี้ ถ้าไม่รู้สึกตัว ก็ไม่รู้ว่าดูอะไร เมื่อไม่รู้ว่าดูอะไร ก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นสิ่งนั้นก็ไม่ได้ความจริงจากสิ่งนั้น เพราะไม่ได้พิจารณา ไม่ได้ตั้งใจจะดูให้รู้ความจริง หรือในขณะที่อ่านหนังสือก็ดี ปากก็อ่านไป แต่ใจก็คิดอะไรต่ออะไรไปต่าง ๆ เราจะจำตัวหนังสือนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะต้องเพ่งอยู่ด้วยความรู้สึกเสมอทีเดียว จึงจะใช้ได้

คำว่า รู้สึกตัว ไม่ใช่ นึก คำนี้มีความสำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติ ที่จะต้องสังเกต หรือว่า สำเหนียก ว่าความรู้สึก กับ การนึก นี้ต่างกันอย่างไร เวลานั้นไม่ให้ใช้การนึกเลย เพราะว่า เราดูอยู่แล้ว ไม่ต้องไปนึกว่ารูปนั่ง นามโกรธ นามเห็น หรือ นามได้ยิน เลย เพราะเรียนมาแล้วว่า อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป การดูอารมณ์ปัจจุบัน เช่นอย่างว่า นั่ง ให้รู้ว่านั่ง

นั่ง นี้ เราจะต้องมีความรู้สึกตัวอยู่ในท่านั่ง ต้องมีความรู้สึกตัว ว่า เวลานี้เราดูรูปนั่ง

ดูรูปนั่งนั้นดูอย่างไร คือ ดูท่าที่นั่ง ดูอาการของกายที่ตั้งอยู่ด้วยอาการอย่างไร แต่ถ้าหากว่า เราไปนึกอยู่ในใจว่า รูปนั่ง รูปนั่ง จิตก็ไปรับอารมณ์ทางใจเป็นอีกอารมณ์หนึ่งต่างหาก บางที่เขาให้ดูท่าที่นั่ง แต่ถ้าจิตไปนึกว่า พุทโธ, พุทโธ, หรือ อรหํ อรหํ อย่างนี้เป็นต้น แล้วจะมารู้ได้อย่างไรในท่าที่นั่ง ก็รู้ไม่ได้ เพราะจะต้องปล่อยความรู้สึกตัวในท่าที่นั่งนั้น มานึกถึงพุทโธ ธรรมดาจิตจะรับอารมณ์สองอย่างในเวลาเดียวกันไม่ได้ ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเหตุผลสำคัญนี้ไว้ เพราะฉะนั้น จึงห้ามไม่ให้ “นึก” เพราะว่าถ้านึกแล้ว จิตจะทิ้งในอาการรู้สึกนั้นเสีย และไปนึกถึงเรื่องอื่น จะนึกถึง พุทโธ หรือ นึกถึงรูปนั่งก็อย่างเดียวกัน เมื่อไปนึกถึงอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์ในที่รู้สึกรูปท่าที่นั่งนั้นก็ต้องทิ้งไป เมื่อทิ้งไป ก็ไม่รู้ว่า ท่านั้นคืออะไร แล้วเวลานั่ง ก็จะไม่รู้สึกว่า เป็นรูปนั่ง ท่านั้นเป็นรูปก็ไม่รู้ ดังนี้ ความสำคัญว่า “เรา” นั่ง ก็จะยังอยู่

ด้วยเหตุนี้ จึงต้องให้ “รู้สึก” ตัวเสมอว่า ขณะที่ดูนั้น ดูนามอะไร ดูรูปอะไร ดังนี้จึงต้องเรียนนามรูปเสียก่อน ถ้าไม่เรียนนามรูปแล้ว ก็ไม่รู้ว่าอันนั้นเป็นรูปอะไร เป็นนามอะไร เช่น เสียง ถ้าไม่ศึกษาจริง ๆ ไม่เข้าถึงปรมัตถ์แล้ว มักเข้าใจว่า เสียงเป็นนาม กลิ่นเป็นนาม รสเป็นนาม โดยมากก็มีความเข้าใจอย่างนี้ เพราะถือกันว่า สิ่งที่ไม่เห็นด้วยตาแล้ว สิ่งนั้นเป็นนามทั้งหมด โดยมากเข้าใจกันอย่างนี้ สิ่งที่เห็นด้วยสายตาเท่านั้น จึงให้เป็นรูป อย่างนี้เป็นความเข้าใจผิด จะต้องเข้าใจนามรูปให้ถูกต้อง ให้ตรงกันกับสภาวธรรม จึงจะใช้ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องเรียนนามรูปก่อนตามข้อที่ ๑

ที่ต้องให้ระวังมากที่สุดในข้อนี้ก็คือ “นึก” หรือ “รู้สึก” อันนี้สำคัญมาก ถ้าหากว่า แยกอันนี้ไม่ออกแล้ว วิปัสสนานั้นไม่มีหวัง แต่ว่าจะมีสมาธิ เช่นเรานึกถึงรูปนั่ง, รูปนั่ง เรานึกอยู่เสมอ จิตใจก็ไม่ไปไหน ก็สงบนิ่งอยู่ในเรื่องที่นึกถึงรูปนั่ง, รูปนั่ง อย่างเดียวเท่านั้นเอง แต่ว่าไม่รู้ในท่าที่นั่ง สมาธิน่ะได้ แต่ว่าวิปัสสนาไม่ได้ ใครนั่งก็ไม่รู้อีกในเวลานั้น แล้วก็ไม่รู้สึกตัว บางทีทำหนัก ๆ เข้า ก็ไม่รู้สึกตัวไปเลย

-----------------------------------------------------------------


คุณกรัชกายครับ ต่างจากแนวทางการปฏิบัติของคุณ ที่นึกภาวนาอยู่ในใจ เช่น สงสัยหนอ ๆ ๆ ตัวสั่นหนอ ๆ ๆ เมื่อสมาธิแนบแน่นขึ้น ก็มานึกอยู่กับคำภาวนาอย่างใด อย่างหนึ่ง นึกถึงท้องพองยุบ จนสมาธิแนบแน่นต่อ

ผมยังเห็นว่า แนวทางของอาจารย์แก้ไข การปฏิบัติแบบวิปัสสนึกของคุณกรัชกายได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 5:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ครับ ว่าขณะที่กำหนดอารมณ์กรรมฐานโดยมีรูปนามเป็นอารมณ์แต่

ละขณะๆอยู่นั้น

สมถะ (= สมาธิ) กับวิปัสสนา (= ปัญญา) ก็เกิดร่วมอยู่ด้วยกันใน

ขณะจิตนั้นๆ

สังเกตดูนะครับ

“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้

แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์



เป็นอีกครั้งที่คุณกรัชกาย ที่ไม่เข้าใจในเรื่อง สมถะ - วิปัสสนา

ที่จริงการปฏิบัติในหมวด อิริยาบถ บรรพะ ซึ่งดูเผิน ๆ ทั้งสายพองหนอ ยุบหนอ กับ การกำหนดระลึกรู้ในอิริยาบถแนวอาจารย์แนบ ก็คล้าย ๆ กัน

แต่แนวอาจารย์แนบ เป็นแบบวิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ ที่เป็นขณะ ๆ กับอิริยาบถต่าง ๆ

ต่างจากแนวพองหนอ ยุบหนอ ที่เข้าใจผิดว่า สมาธิ ต้องเป็นแบบอัปปนาสมาธิ เท่านั้น จึงจะเป็นวิปัสสนาได้

แนวทางพองหนอ ยุบหนอ จึงไม่ต่าง ๆ จากการทำสมาธิทั่วไป แต่เข้าใจผิดคิดว่า เป็นขั้นวิปัสสนาแล้ว

คุณกรัชกายครับ คุณเข้าใจผิดแบบนี้ คงไม่มีใครแก้ไขอารมณ์ผิด ๆ ของคุณได้หรอกครับ


แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10082


โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา


เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากมักจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่ที่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย


อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนว คือ


แนวที่ ๑ เรียกว่า "สมถยานิกะ" คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วให้ฝึกหักฌานจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ของฌานเท่ที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์


การเจริญวิปัสสนาปัญญาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า "สมถยานิกะ" ถ้าสำเร็จมรรค-ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า "เจโตวิมุตติ" อาจมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือ ผู้ที่ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น


แนวที่ ๒ เรียกว่า "วิปัสสนายานิกะ" คือ เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วนๆ ทีเดียว โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว


หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สนอจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลที่สบาย ละปลิโพธกังวลเล็กๆ น้อยๆ หมดแล้ว ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้



-----------------------------------------------


สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7



นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

--------------------------------------------

ผมยังเห็นว่า แนวความคิดของคุณกรัชกาย เป็นอันตรายต่อธุระในพระศาสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 5:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำหรับผู้ที่เข้าใจผิดในเรื่อง สมาธิ ใน วิปัสสนายานิกะ แบบคุณกรัชกายนี้

ท่านอาจารย์แนบ ได้ให้หลักไว้ว่า

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-19-01.htm

ข้อ ๑๕ ผู้ทำวิปัสสนา อย่าตั้งใจให้จิตสงบ เพื่อจะให้ได้สมาธิ นี่ อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เพราะว่า โดยมากเวลานี้ เข้าใจกันแพร่หลายทีเดียวว่า ต้องทำสมาธิก่อนแล้วจึงจะเกิดปัญญา เมื่อทำสมาธิจนได้สมาธิแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง นี่เราได้ยินกันอย่างนี้เสมอทีเดียว เพราะฉะนั้นเวลาเราไปนั่งทำ หรือจะไปเข้าวิปัสสนา จะนั่งก็ตาม จะเดินก็นาม ก็ตั้งใจจะให้ได้สมาธิเสียก่อน เวลาจะดูอะไรก็เพ่ง เวลากำหนดรูปนั่ง ก็เพ่งเพื่อจะให้จิตสงบ พอฟุ้งขึ้นมาก็ไม่ชอบ หาว่าจะไม่เกิดปัญญาแล้ว

ทีนี้ความจริงน่ะ ฟุ้งก็เป็นนามธรรมเหมือนกัน ก็ให้ปัญญาเราได้เหมือนกัน แต่ว่าเราไม่เข้าใจเอง เราจึงไม่ขอบ เมื่อไม่ชอบแล้ว ก็เลยหาว่าเป็นศัตรู แต่ที่จริงไม่ใช่เป็นศัตรู ไม่ได้เป็นศัตรูกับวิปัสสนาเลย เป็นมิตรกับวิปัสสนา แล้วกำลังจะแสดงความจริงให้ปรากฏด้วยว่า เขานี่แหละไม่เที่ยง เขานี่แหละเป็นทุกข์ เขานี่ไม่ใช่ตัวตน นี่เขากำลังจะมาแสดงให้เราดูอย่างนั้นด้วย เพราะว่าท่านเข้ากรรมฐาน ท่านทำวิปัสสนา ท่านก็ต้องการที่จะเห็นนามไม่เที่ยง ทีนี้ นามทุกนาม รูปทุกรูปก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน สามัญไม่ใช่พิเศษ สามัญเหมือนกันหมด

เวลาที่ฟุ้งเกิดขึ้น ก็ควรจะทำความเข้าใจว่า ฟุ้งนี่แหละ จะนำเอาวิปัสสนามาให้เรา เขานี่แหละ จะมาแสดงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ตัวตน ไม่ใช่เป็นสัตว์ บุคคล เขาจะมาแสดงให้เรารู้อย่างนี้ แต่เรากลับไม่ชอบ เพราะเข้าใจว่าฟุ้งนี้ไม่ใช่ธรรมะ นี่ เข้าใจว่าฟุ้งนี่ไม่ใช่ธรรมะ ความรำคาญ ความกลัดกลุ้ม ความอึดอัด อะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ธรรมะ ธรรมะต้องสงบ ต้องจิตใจผ่องใส ต้องจิตใจเยือกเย็น ถึงจะเป็นธรรมะ นี่เขาเข้าใจอย่างนี้ เช่นนี้เข้าใจธรรมะผิด ธรรมะของวิปัสสนาต้องเข้าถึงสามัญ ทุกอันเป็นธรรมะหมด กุศลก็เป็นธรรมะ อกุศลก็เป็นธรรมะ ต้นไม้ ใบหญ้าเป็นธรรมะทั้งหมดเลย ถ้าเราเข้าใจธรรมะอย่างนี้แล้ว การทำวิปัสสนาก็จะพบธรรมะได้ง่าย เพราะอะไรที่เกิดขึ้น ประสบกับเรา เป็นธรรมะหมด

คนที่ไม่เข้าใจธรรมะ ก็ไปหาธรรมะไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือธรรมะ แม้แต่ธรรมะที่เกิดขึ้นแล้วเฉพาะหน้า ก็ยังไม่เข้าถึงธรรมะได้ ยังไม่ถือเอาได้ อย่างนี้ก็เป็นอันว่าไม่พบธรรมะแน่ เพราะไม่รู้จักธรรมะ จะไปพบธรรมะได้อย่างไร ถึงเห็น ก็ไม่รู้ว่าอันนี้เป็นธรรมะ

โดยเหตุนี้ จึงห้ามไม่ให้ทำจิตใจสงบ เพราะเข้าใจว่า พอจิตสงบแล้ว พอผ่องใสดีแล้ว จิตใจเยือกเย็นดีแล้ว ก็เข้าใจว่าพบธรรมะ อันนั้นก็เป็นธรรมะเหมือนกัน เราก็ไม่ปฏิเสธว่า อันนั้นไม่ใช่ธรรมะ แต่ว่าธรรมะในที่นั้นเป็นสมาธิธรรม ไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าไปตั้งใจทำให้สงบ แปลว่า ตัณหาและทิฏฐิได้เข้าไปอาศัยในความต้องการนั้นแล้ว เข้าไปอาศัยความรู้สึกของเราแล้ว เข้าไปอาศัยความสงบ ความสงบนั้นเป็นอารมณ์ที่ต้องการของเรา ของความรู้สึก ตัณหาและทิฏฐิจะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความสงบนั้นทำให้เกิดความพอใจ เกิดความพอใจแล้ว จึงต้องการ จึงหา เมื่อได้แล้ว ก็พอใจอีก เพลิดเพลินอยู่ในที่นั้นอีก ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่เป็นเหตุให้เกิดนิพพิทาญาณ

วิปัสสนานี้ต้องเกิดนิพพิทาญาณ คลายความกำหนัด คลายความยินดี คลายความเพลิดเพลินในนามรูป เพราะในขณะที่จิตเข้าไปสงบอยู่ในสมาธิ ก็ไม่ใช่อื่นจากนามรูป สมาธิก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง เรายินดีในสมาธิก็คือ ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง ไม่ใช่อื่นเลย แต่ว่าไม่รู้ บางทีไม่รู้เสียอีกว่า ขันธ์ ๕ น่ะอะไร นี่เพราะเหตุว่าไม่ได้เรียน ไม่ศึกษาอภิธรรมก่อนจึงไม่รู้ว่า สภาวะของขันธ์ ๕ น่ะได้แก่อะไรบ้าง เข้าใจแต่ชื่อเท่านั้นเอง

ขันธ์ ๕ รู้จักไหม รู้จัก อะไรบ้าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ บอกชื่อได้ถูกเท่านั้นเอง แต่ว่า อ้ายตัวรูปนี่น่ะ มันมีลักษณะอย่างไร สัญญาอย่างไร สังขารอย่างไร วิญญาณอย่างไร ไม่รู้เลย ทีนี้เราจำต้องเอาชื่อนั้นทำวิปัสสนา เราก็เอาชื่อนั้นมาคิดอีกที คิดว่า ขันธ์ ๕ นี่ไม่เที่ยง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เราก็ทำวิปัสสนาด้วยการนึกเอา เพราะเอาชื่อมาทำ ไม่ได้เอาตัวจริง ๆ มาทำ ไม่ได้เอาวัตถุจริง มาเพ่ง จนกระทั่งเห็นตามความจริงของวัตถุนั้น อันนี้ก็ใช้ไม่ได้

ที่ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบเพราะอะไร

เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง

ปิดบังความจริงที่ไหน

ปิดบังความจริงที่ในความสงบนั้นเอง

ปิดบังว่ากระไร

ปิดบังไม่ให้รู้ว่า ความสงบนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี่เพราะอะไร เมื่อเราต้องการความสงบ เมื่อเราได้ความสงบแล้ว เราก็พอใจ ความสงบเกิดขึ้น เราก็สำคัญว่าดี ใช่หรือไม่ สำคัญว่าเป็นสุข ก็ปิดบังความทุกข์ ปิดบังความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ในที่นั้นเสีย แล้วก็สำคัญว่าเป็นของมีสาระ อันนี้แหละ เป็นของมีสาระ เป็นที่พึ่งแก่เราได้แน่นอน ความจริง สมาธินั้นก็ไม่เที่ยง สมาธินั้นมีลักษณะทุกข์ สมาธินั้นเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่มีสาระอะไร เกิดขึ้นชั่วขณะที่เรานั่งทำความสงบอยู่แล้วก็ดับไป แต่ว่า ความรู้สึกอย่างนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยสำหรับผู้ทำวิปัสสนา

ข้อสำคัญ ทั้งหมดที่อธิบายมาแล้วอยู่ที่ไหน อยู่ตรงไหน ทั้งหมดนี่ สรุปใจความแล้วอยู่ที่ โยนิโสมนสิการอย่างเดียว ความอยู่ที่รู้สึกอันเดียวเท่านั้นเอง ทำความรู้สึกให้ถูกหรือผิดเท่านั้น อุปมาเหมือนเช่น ความรู้สึกถูกก็ไปอย่างหนึ่ง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามความรู้สึกที่ถูกก็อย่างหนึ่ง ถ้าความรู้สึกนั้นผิด สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากความรู้สึกผิด ก็อีกอย่างหนึ่ง เช่นอย่างไร เราเดินไปในที่มืด หรือที่สลัว ๆ เห็นไม่ถนัด เราเห็นไม่ชัด ถ้ามีอะไรมาขวางทางเดิน สีดำ ๆ ยาว ๆ เราก็เข้าใจว่า นี่เป็นงู นี่ ความรู้สึกของเราเกิดขึ้นอย่างนี้ทีเดียว พอรู้สึกว่าเป็นงูแล้ว จะมีอะไรติดตามความรู้สึกอันนั้นขึ้นมาอีกบ้าง ความกลัว ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว กลัวตาย กลัวอะไรต่าง ๆ จะเกิดขึ้นทันที ติดตามความรู้สึกอันนั้น เข้ามาทันทีทีเดียว ความรู้สึกผิดว่าเป็นงูก็ติดตามไปเรื่อย ตลอดปีตลอดชาติว่า เห็นงูในที่นั้นแล้ว เราก็กระโดดหนีไปเลย แต่ถ้าเกิดความรู้สึกใหม่ เช่นว่า เอ นี่มันอะไรแน่นะ ดูให้แน่อีกสักทีเถอะ ว่าเป็นอะไร เราพิจารณาดูแล้วเห็นมันนิ่งอยู่ เรายืนพิจารณาดู เอ มันนิ่งอยู่ พิจารณาดูให้ดีทีเถอะ ไม่ใช่งูละกระมัง ดูให้ดี ๆ ทีเถอะ ถ้าเรามีไม้ขีดอยู่ในกระเป๋า เราก็จุดดู ส่องดู พอเห็นความจริงว่าเป็นเชือกไม่ใช่งูแล้ว อะไรจะหมดไป กิเลส ความหวาดกลัวอะไรต่าง ๆ ก็หมดไป ความไม่กลัว ความไม่สะดุ้งความไม่หวั่นไหว ก็จะติดตามความรู้สึกที่ถูกนั้นขึ้นมา เห็นไหม ความรู้สึกนิดเดียวเท่านั้นแหละ ผิดหรือถูกเท่านั้นเอง ที่รู้สึกผิดเพราะเราพิจารณาไม่ดี ไม่ถูก และไม่เข้าใจพิจารณา อย่างนี้ ซึ่งเหมือนกับพิจารณานามรูป อย่างเดียวกันนั่นแหละ

พอเราเห็นนามรูปอย่างหนึ่งว่าดี พอรู้สึกว่าดีเท่านั้น กิเลสต่าง ๆ ก็ติดตามมา รู้สึกว่าไม่ดี กิเลสต่าง ๆ ก็ติดตามมาอีกเช่นเดียวกัน เหมือนย่าเราเห็นของสวย ๆ จิตใจก็อย่างหนึ่ง เราเห็นของที่เป็นปฏิกูล จิตใจก็อย่างหนึ่ง อันนี้น่ะสำคัญมาก ความรู้สึกถูกและผิดนี่ เพราะฉะนั้น เวลาทำกรรมฐาน ทำวิปัสสนา จะต้องมีความรู้ที่ถูก ติดตามไปด้วยว่า เวลานั้นทำความรู้สึกที่ถูกอย่างไร กำหนดในที่นั้นจะทำความรู้สึกที่ถูก จะทำอย่างไร เราจะต้องมีความรู้สึกนี้ติดตามไป รู้สึกที่ถูกติดตามไปเสมอ

แต่ว่าความรู้สึกที่ถูกนี้ จะเอามาจากไหน เราจะได้มาจากไหน เราจึงจะเอามาใช้ได้

เราต้องได้มาจากการศึกษา จากการได้ยิน จากการได้ฟัง จากการได้ฟังเหตุผลในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ที่ผิดเป็นอย่างไร เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราจึงมาทำความรู้สึกที่ถูกได้ ถ้าเราไม่ได้ยิน เราไม่ได้ฟัง เราไม่ได้ศึกษาในเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว เราจะเอาความรู้สึกที่ถูกมาจากที่ไหน ด้วยเหตุนี้แหละ การศึกษาปริยัติที่ถูกต้อง ท่านจึงถือว่าเป็นของสำคัญ เพราะให้ความแจ่มแจ้งและเหตุผลที่แท้จริงในคำสอนของท่าน ท่านอุปมาปริยัติเหมือนพระอาทิตย์ที่ส่องโลก ถ้าพระอาทิตย์ยังส่องโลกอยู่ตราบมด ก็จะทำให้คนมีตาแลเห็นสิ่งต่าง ๆ ว่าอะไรอยู่ที่ไหนได้ชัดเจนอยู่ตราบนั้น แต่ถ้าปริยัติดับแล้ว สูญแล้ว ไม่มีกาศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ก็เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ดับไปจากโลก โลกนี้มือแล้ว แม้เรามีตาก็ไม่มีประโยชน์ ไม่แลเห็นว่าอะไรอยู่ที่ไหน ไม่รู้ความจริงว่า อะไรอยู่ไหน ไม่รู้ที่ถูกที่ผิด ความยืดย่อมเข้าครอบงำทั่วไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 5:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้ทันมาร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13684


พระครูเกษมธรรมทัต


อย่างเช่นว่า ถ้าหากเรากำหนดอะไรอยู่ก็ตาม เรารู้จุดของวิปัสสนาอยู่แล้วว่า วิปัสสนานั้นจุดยืนของวิปัสสนาก็คือต้องเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เราจะต้องดำเนินไปสู่จุดนั้น ไปสู่จุดของการเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เป็นของจริง ๆ ที่นี้บางท่านกำหนดอยู่ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติอยู่ ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าสมมุติบัญญัตินั้นก็ทำให้เกิดสมาธิได้ เป็นการปลูกสร้างสมาธิให้เกิดขึ้น แต่เมื่อจะก้าวขึ้นสู่วิปัสสนาก็ต้องให้มีความลึกซึ้ง โดยการให้วางจากสมมุติอารมณ์เหล่านั้น ให้จรดสภาวปรมัตถ์รูปนาม

เป็นสมมุติบัญญัติ ทำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะของจริง ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เรากำหนดอย่างนั้นได้ในขั้นดำเนินขั้นต้นให้จิตได้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ให้จิตซัดส่ายไปนอกตัวเอง เมื่อจะขึ้นมาเพื่อปัญญาเกิดขึ้น กำหนดให้ลึกซึ้งลงไปถึงความรู้สึก ความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นเป็นตัวปรมัตถ์ อย่างที่หน้าท้องนี่ หายใจเข้าท้องตึง หายใจออกท้องหย่อน ที่จริงนั้นความจริง ๆ มันคือความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นแหละเป็นปรมัตถธรรม


คุณกรัชกายครับ คุณยังไม่รู้ทัน...มาร เลยนะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 5:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
มาพูดถึงศัพท์ ปัจจยปริคคหญาณ บ้าง

ถามความเข้าใจอักษรก่อน เอาง่ายๆมองเห็นตัวอยู่นี่แหละ

ถามคุณว่า คำว่า ” ปัจจยปริคคหญาณ” แปลว่าอะไร ?

ได้แก่อะไร ?



http://abhidhamonline.org/visudhi.htm


๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ



เป็นปัญญาที่ต่อเนื่องมาจากทิฏฐิวิสุทธิ มีความเชื่ออย่างแน่นอนแล้วว่า ในอดีตมีการเวียนว่ายตายเกิด มาแล้ว และในอนาคตก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกถ้ายังทำเหตุของการเกิดอยู่ ผู้ปฏิบัติจะ หมดความสงสัยในเรื่องภพชาติ ทั้งชาติที่แล้วมา ชาตินี้ หรือชาติหน้า จากทิฏฐิวิสุทธิที่เกิดด้วย นาม-รูปริจเฉทญาณที่รู้เพียงความแตกต่างของนามและรูป แต่ไม่รู้ว่านามและรูปเหล่านั้นมาจากไหน

ในกังขาวิตรณวิสุทธิที่หมดความสงสัยได้ เพราะเมื่อกำหนดนาม-รูปจนเข้าใจมากขึ้นแล้ว ก็จะรู้ว่านาม-รูปเหล่านั้นเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุปัจจัย (ปัจจยปริคหญาณ) คือ รูปอันใดเกิดขึ้น (อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน) ก็รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด (เพราะมีจิตเป็นตัวรู้และสั่งงาน) นามอันใดเกิดขึ้น (ความคิด ความรู้สึก ชอบ หรือชัง) ก็รู้ว่าเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร (เพราะมีการกระทบอารมณ์ตามทวารทั้ง ๖ เป็นต้น) ไม่เกี่ยวกับการสร้างหรือการดลบันดาลให้เกิดขึ้น สามารถตัดสินได้ว่าแม้ชาติก่อนตนก็เกิดด้วยเหตุ ปัจจัย ปัจจุบันก็เกิดมาได้ด้วยเหตุ ปัจจัย และความสันทัดที่มีอยู่ก็กำลังสร้างเหตุเพื่อการเกิดในชาติหน้า อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ชาติหน้าจึงมีเหตุปัจจัยที่กำลังรอส่งผลเช่นกัน แม้คนอื่นหรือสัตว์อื่น ก็ไม่พ้นไปจาก เหตุปัจจัยเช่นนี้เหมือนกัน

-------------------------------------------------------

วิสุทธิ เบื้องต้น ก่อนที่จะมาถึง กังขาวิตรณวิสุทธิ


ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ(สมาธิวิสุทธิ) ทิฏฐิวิสุทธิ ที่ผมรวบรวมและคัดลอกไว้ใน

พระพุทธพจน์

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ
กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ
ตสฺมา สีลํ วิโสธเย

ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย
และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์

ขุททกนิกาย เถรคาถา



ศีลวิสุทธิ
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ บรรยายที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันเสาร์ที่ ๑๐ กรกฏาคม ๒๕๐๘

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-04.htm

ถาม – ตอบ เรื่อง “ ศีลวิสุทธิ “
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-03.htm
----------------------------------------------------------------

พระพุทธพจน์

ยสฺส เสลุปมํ จิตฺตํ ฐิตํ นานุปกมฺปติ
วิรตฺตํ รชนีเยสุ โกปเนยฺเย น กุปฺปติ
ยสฺเสวํ ภาวิตํ จิตฺตํ กุโต ตํ ทุกฺขเมสฺสตีติ

จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน

ขุททกนิกาย อุทาน

จิตตวิสุทธิ
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ บรรยายที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๐๘

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

---------------------------------------------------------------------------------------
พระพุทธพจน์

สพฺพโส นามรูปสฺมึ
ยสฺส นตฺถิ มมายตํ
อสตา จ น โสจติ
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ

ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป
ว่าของเราโดยประการทั้งปวง
และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

---------------------------------------------------------------------------------------------------

ทิฏฐิวิสุทธิ โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://larndham.net/index.php?showtopic=19112&st=0
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 1:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
๕. ไม่ให้กำหนดรูปและนามไปพร้อมกัน
ขณะใดกำหนดรูปอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะรูป ขณะใดกำหนดหรือดูนามอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะนาม
จะกำหนดนามและรูปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันหรือในอารมณ์เดียวกันไม่ได้
เฉลิมศักดิ์ 26 มิ.ย.2008, 5:44 am



ที่อ้างอิงไม่ทราบว่า เป็นความเห็นของผู้ใด
ถามคุณเฉลิมศักดิ์ว่า ในขณะที่คุณนั่งอยู่นั้น ธรรมชาติ
(สติปัฏฐาน) เกิดเป็นลำดับๆ
เหมือนในหนังสือ หนึ่ง สอง สาม สี่ หรือ อย่างนั้นหรือ

เมื่อคุณปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทำไปทีละข้อ ๆ หนึ่ง สอง สาม
สี่ ฯลฯ เจ็ด แปด หรือ

เมื่อปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คุณก็ทำเรื่อยๆ
จาก 1-37 อย่างนี้ใช่ไหมครับ สงสัย

กรัชกาย: 26 มิ.ย.2008, 9:39 am

คุณเฉลิมศักดิ์ ยังไม่ตอบประเด็นนี้ครับ ตอบด้วย คุณปฏิบัติไปทีละข้อๆใช่ไหมครับ



จะกดอ้างอิงแต่กดผิด ไม่กดแก้ไข ขออภัยครับ หากทำให้สับสน
คำถามข้างบน ตอบด้วยครับ วิปัสสนาที่คุณกล่าวหมายถึงทำไปที
ละข้อๆ ใช่ไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 1:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทบทวนพุทธพจน์ดังกล่าวเต็มๆ อีกครั้ง

“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้
แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
แม้สัมมัปปธาน 4...
แม้อิทธิบาท 4...
แม้อินทรีย์ 5...
แม้พละ 5 ...
แม้โพชฌงค์ 7 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
เขาย่อมมีธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็น
ไป
ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วย
อภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เข้าก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรม
เหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงได้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วย
อภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์
แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”
ม.อุ.14/828-831/523-6
.............

(พุทธพจน์ก็แสดงไว้แล้วว่า ในขณะที่ดำเนินตามมรรควิธีอยู่นั้นโพธิ
ปักขิยธรรมเกิดครบหมด
แล้วก็มีธรรมสองอย่างคือ สมถะและวิปัสสนา (สมาธิและปัญญา) เกิดร่วมกันในขณะจิตนั้น แต่คุณกลับค้านพุทธพจน์ แล้วกล่าวหา
ว่า กรัชกายเข้าใจผิด เป็นต้นว่า) =>


อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ คุณเข้าใจผิดแบบนี้ คงไม่มีใคร
แก้ไขอารมณ์ผิด ๆ ของคุณได้หรอกครับ
แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก
เฉลิมศักดิ์ : 27 มิ.ย.2008, 5:39 am


คุณกำลังค้านพุทธวจนะอยู่ใช่ไหมครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 1:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณยอมรับหรือยังครับว่า วิธีปฏิบัติแบบของคุณ แก้

สภาวะอารมณ์ของผู้ปฏิบัติแบบใช้คำภาวนาไม่ได้ ยอมรับไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 2:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เป็นอีกครั้งที่คุณกรัชกาย ที่ไม่เข้าใจในเรื่อง สมถะ - วิปัสสนา

ที่จริงการปฏิบัติในหมวด อิริยาบถ บรรพะ ซึ่งดูเผิน ๆ ทั้งสายพองหนอ ยุบหนอ กับ การกำหนดระลึกรู้ในอิริยาบถแนวอาจารย์แนบ ก็คล้าย ๆ กัน
แต่แนวอาจารย์แนบ เป็นแบบวิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ ที่เป็นขณะ ๆ กับอิริยาบถต่าง ๆ
ต่างจากแนวพองหนอ ยุบหนอ ที่เข้าใจผิดว่า สมาธิ ต้องเป็นแบบอัปปนาสมาธิ เท่านั้น จึงจะเป็นวิปัสสนาได้
แนวทางพองหนอ ยุบหนอ จึงไม่ต่าง ๆ จากการทำสมาธิทั่วไป แต่เข้าใจผิดคิดว่า เป็นขั้นวิปัสสนาแล้ว
เฉลิมศักดิ์ : 27 มิ.ย.2008, 5:39 am




คุณว่าคุณรู้จักทั้งสมถะและวิปัสสนาดี

แล้วก็ใช้เอกสารเปล่าอภิปรายกรัชกายว่าไม่เข้าใจสมถะ-วิปัสสนา

ถ้าอย่างนั้นกรัชกายจะนำคำอธิบายวิปัสสนายานิกจากหนังสือพุทธ

ธรรมหน้า 331 ให้คุณดู ดูดิว่าคุณรับได้ไหม

แต่ฟันธงไว้ล่วงหน้าว่า คุณรับไม่ได้ และไม่ยอมรับแน่ๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 2:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ดูครับ


-วิปัสสนายานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน
เรียกเต็มเพื่อย้ำความหมายให้หนักแน่นว่า สุทธวิปัสสนายานิก
แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาล้วนๆ
เป็นยาน หมายถึง ผู้ที่เริ่มปฏิบัติด้วยเจริญวิปัสสนาทีเดียว
โดยไม่เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใดๆ
มาก่อนเลย
แต่เมื่อเจริญวิปัสสนา คือ ใช้ปัญญาพิจารณาความจริงเกี่ยวกับ
สิ่งทั้งหลายอย่างถูกทางแล้ว
จิตก็จะสงบขึ้น เกิดมีสมาธิตามมาเอง

ในตอนแรกสมาธิที่เกิดอาจเป็นเพียงขณิกสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิ
อย่างน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้วิปัสสนาดำเนินต่อไปได้

ดังที่ท่านกล่าวว่า “ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมี
ไม่ได้”
(วิสุทฺธิ.ฎีกา 1/15,21 ฯลฯ)

เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิก เจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็
พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย
ถึงตอนนี้ อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ ก็ได้
(วิสุทฺธิ.ฎีกา 3/576 ฯลฯ)

จนให้ที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล
สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปนาสมาธิ
(นิทฺ. อ. 1/158; ปฏิสํ. อ. 221 ฯลฯ) อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน (ปฏิสํ. อ. 235 ฯลฯ)

เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า** ผู้บรรลุอริยภูมิ จะ
ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

** อรรถกถาสรุปว่า ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า

หรือเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า ก็ตาม เมื่อถึงขณะที่

อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะต้องเกิดขึ้น

ด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป (ม.อ.1/150 ฯลฯ)

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและ

วิปัสสนาก็คือองค์มรรคนั่นเอง

วิปัสสนาได้แก่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ

สมถะได้แก่องค์มรรคที่เหลืออีก 6 ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่

องค์มรรคเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะบรรลุอริยภูมิ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 3:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะวิปัสสนากับองค์มรรค ดู ปฏิสํ. อ. 237; วิภงฺค. อ. 157; วิสุทฺธิ. ฎีกา, องค์มรรคเกิดพร้อมกันในขณะแห่งมรรคญาณ

ความจริงไม่เฉพาะองค์มรรคทั้ง 8 เท่านั้น โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ย่อมเกิดพร้อมกันหมดในจิตเดียวกันในขณะแห่งมรรคญาณ ดูปฏิสํ.อ. 236; วิภงฺค.อ.157; วิสุทธิ. 3/330; ม.อ. 2/490

การกำหนดว่า องค์มรรคหรือข้อธรรมต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นใน
ขณะเดียวกันหรือในจิตเดียวกัน
อย่างนี้ เป็นการวิเคราะห์ตามแนวอภิธรรม ซึ่งมีหลักอยู่
ว่า ธรรมทั้ง 37 นี้ เป็นเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในจิตดวงเดียวกัน

อีกประการหนึ่ง จำนวนองค์มรรคและธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน
ในขณะแห่งมรรคญาณ อาจลดน้อยไปบ้าง โดยสัมพันธ์กับ
ฌานที่ประกอบในมรรคนั้น

ปฏิสํ. อ.234; สงฺคณี.อ.355; วิสุทธิ.3/312; ที.อ.2/537;
สงฺคห. ฎีกา 97
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 5:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกาย คงจะยอมรับแล้วว่า ตัวเองได้ข้ามพ้นความสงสัย ไปได้ ด้วยการภาวนา ท่องบ่น ว่า สงสัยหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ จนสมาธิเริ่มเกิดมาก ๆ แล้วกลับไปเพ่งท้อง
พร้อมภาวนา พองหนอ ยุบหนอ ต่อ
เฉลิมศักดิ์ : 26 มิ.ย.2008, 5:32 am



คุณเข้าใจผิดแล้วครับคุณเฉลิมศักดิ์

คุณทำความเข้าใจประโยคว่า....รู้สึกอย่างไร ก็กำหนดอย่างนั้น

เป็นอย่างไร ก็กำหนดอย่างนั้น ตามที่รู้สึก ตามที่มันเป็น

นึกสงสัย....“สงสัยหนอๆๆๆ” เอาปัจจุบันธรรมนั้นเป็นกรรมฐานได้

เลย

ก็ในเมื่อไม่คิดสงสัยอะไร ก็กำหนดอารมณ์อื่นๆที่ใช้เป็น

กรรมฐาน ณ ขณะปัจจุบันนั้น ก็แค่นี้หลักเบื้องต้นในการ

เจริญสติปัฏฐาน

มิใช่คิดท่องบ่นเป็นนกแก้วนกขุนทอง สงสัยหนอ ๆๆๆ ฝนตกฟ้า

ร้อง ก็สงสัยหนอๆๆ ฟ้าผ่าเปรี้ยง ก็สงสัยหนอๆๆๆ ดังคุณ

คิดนะครับ ยิ้ม

ย้ำอีกครั้ง จิตมันคิดอย่างไร เป็นอย่างไร ก็กำหนดอย่าง

นั้นๆ แล


แล้วก็นะ การจะข้ามพ้นความสงสัยไปได้ มิใช่ปฏิบัติง่ายๆครับ

เพราะวิจิกิจฉา เป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง

แต่เมื่อปฏิบัติถูกทางแล้ว ก็ไม่ยากเกินวิสัยมนุษย์ครับ ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 5:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ทบทวนพุทธพจน์ดังกล่าวเต็มๆ อีกครั้ง

“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้
แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
แม้สัมมัปปธาน 4...
แม้อิทธิบาท 4...
แม้อินทรีย์ 5...
แม้พละ 5 ...
แม้โพชฌงค์ 7 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
เขาย่อมมีธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็น
ไป

คุณกำลังค้านพุทธวจนะอยู่ใช่ไหมครับ



คุณกรัชกาย ครับ ที่จริงพุทธวจนะ ได้อธิบายการเจริญสติปัฏบาน ทั้งที่เป็นแบบ วิปัสสนานำสมถะ (วิปัสสนายานิกะ) และ สมถะ นำหน้า หรือ ควบคู่ วิปัสสนา (สมถะยานิกะ)

แต่ตอนนี้คุณกรัชกายกำลังอ้างพุทธวจนะ ในมุม สมถะยานิกะ แล้วปฏเสธแนว วิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ พิจารณา รูป นาม อันเป็นปรมัตถ์ธรรม

แต่แนวทางพองหนอ ยุบหนอ ยังขาดความเข้าใจ จึงสับสนระหว่าง วิปัสสนายานิกะ และ สมถะยานิกะ เลยไม่รู้จะไปทางไหนแน่

ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน ในหมวดอิริยาบถ บรรพะ หรือ รูปนาม ของสายอาจารย์แนบ ท่านยืนยันหลักการ วิปัสสนายานิกะ ที่ไม่มุ่งเน้น สมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ

-------------------------------------------------
พระพุทธพจน์จากพระไตรปิฏก

อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา
http://www.84000.org/true/568.html

สมถะหรือวิปัสสนาก่อน?
http://www.84000.org/true/220.html

พระพุทธพจน์เกี่ยวกับวิปัสสนา
http://geocities.com/toursong1/kam/pt.htm
----------------------------------------------------------------

บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน


ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้ามรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอเธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๐๘๓ - ๔๒๙๙. หน้าที่ ๑๗๖ - ๑๘๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=161



อรรถาธิบาย ฏีกา ที่ท่านผู้รู้รวบรวมไว้

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10082


โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา


เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากมักจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่ที่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย


อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนว คือ


แนวที่ ๑ เรียกว่า "สมถยานิกะ" คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วให้ฝึกหักฌานจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ของฌานเท่ที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์


การเจริญวิปัสสนาปัญญาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า "สมถยานิกะ" ถ้าสำเร็จมรรค-ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า "เจโตวิมุตติ" อาจมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือ ผู้ที่ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น


แนวที่ ๒ เรียกว่า "วิปัสสนายานิกะ" คือ เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วนๆ ทีเดียว โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว


หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สนอจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลที่สบาย ละปลิโพธกังวลเล็กๆ น้อยๆ หมดแล้ว ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้


เมื่อสามารถทำลายฆนสัญญาให้แตกออกจากกันได้แล้ว นามรูปก็จะปรากฎขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติพยายามทำต่อไปโดยไม่ลดละก็สามารถที่จะบรรลุถึงมรรค-ผล ได้ตามประสงค์ วิธีปฏิบัติแบบหลังที่ว่านี้ท่านเรียกว่า "ปัญญาวิมุตติ" และจะได้ชื่อพิเศษว่า "สุขวิปัสสโก" ที่มักแปลกันว่า "เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง"


นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงความสามารถของพระอริยบุคคลทั้ง ๒ จำพวกนี้ไว้อีกว่า

๑. สมถยานิกะ ทำลายตัณหาก่อน
๒. วิปัสสนายานิกะ ทำลายอวิชชาก่อน


อันที่จริง ตัณหาเป็นอกุศลเหตุเดียว มีอาณาเขตแคบส่วนอวิชชานั้นเป็นอกุศล ๒ เหตุ มีอาณาเขตกว้างขวาง


อันนี้หมายความว่า ในที่ใดมีตัณหาในที่นั้นก็จะต้องมีอวิชชาเกิดร่วมด้วยเสมอไป แต่ตรงกันข้ามในที่ใดมีอวิชชาในที่นั้นจะมีตัณหาเกิดร่วมด้วยก็ได้ ไม่เกิดร่วมด้วยก็ได้ เพราะอวิชชาเป็นบาปที่ทั่วไปในอกุศลทั้งปวง อันนี้พูดกันเฉพาะสหชาติ


แต่ถ้าจะพูดกันโดยอารัมมณสัตติและอุปนิสสยสัตติแล้ว อวิชชาก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดาของตัณหา เพราะเป็นอดีตเหตุนั่นเอง ส่วนตัณหาเล่า ก็มีฐานะเป็นเสมือนบุตร ที่เป็นเช่นนี้ เพราะตนเป็นได้เพียงปัจจุบันเหตุในอันที่จะส่งผลต่อไปในอนาคตภพนั่นเอง

เพื่อสนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับบาทฐานของวิปัสสนาที่กำลังจะพูดกันนี้ จึงใคร่ขอยกหลักฐานจากยุคนัทธวรรค ซึ่งมีมาในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย แห่งปฏิปทาวรรค ฉบับฉัฏฐะ หน้า ๔๗๕ ข้อ ๑๗๐ แล้วแก้ด้วยอรรถกถาชื่อ "มโนรถปูรณี ฉบับ ฉัฏฐะ" ภาค ๒ หน้า ๓๔๖ ข้อ ๑๗๐ และขยายด้วยอังคุตตรฎีกาชื่อ "สารัตถมัญชุสา" ภาค ๒ หน้า ๓๔๔ ข้อ ๑๗๐ ว่า


บาลีตอนที่ ๑

อิธ อาวุโส ภิกฺขุ สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ, ตสฺส สมถปุพฺพงฺคมิ วิปสฺสนํ ภาวยโต มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรติ. ตสฺส มคฺคํ อาเสวโต ภาวยโต พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียติ, อนุสยา พฺยนฺติ โหนฺติ.

ความว่า

ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อเธอทำวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นให้เจริญอยู่ มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญบำเพ็ญให้มากขึ้น เมื่อเธอ(ไม่ยอมลดละ) ปฏิบัติเจริญ บำเพ็ญมรรคนั้นให้มากๆ เธอย่อมละสังโยชน์เสียได้ อนุสัยทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นโทสชาติที่มอดไหม้หมดไปฯ

อรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๑

สมถปุพฺพงฺคมนฺติ สมถํ ปุพฺพงฺคมํ ปุเรจาริกํ กตฺวา. มคฺโค สญชายตีติ ปฐโม โลกุตฺตรมคฺโค นิพฺพตฺตติ โส ตํ มคฺคนฺติ เอกจิตฺตกฺขณิกมคฺคสฺส อาเสวนาทีนิ นตฺถิ, ทุกติ ยมคฺคาทโย ปน อุปฺปาเทนฺโต ตเมว อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรตีติ วุจฺจติ.

ความว่า

พระบาลีบทว่า "สมถปุพฺพงฺคมํ" แก้ว่า ทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือ ทำให้เป็นปุเรจาริก (นำไปข้างหน้า)
พระบาลีสองบทที่ว่า "มคฺโค สญฺชายติ" แปลว่า โลกุตตรมรรคที่หนึ่ง (พระโสดาปัตติมรรค) บังเกิดอยู่ฯ
พระบาลีสามบทที่ว่า "โส ตํ มคฺคํ" ท่านแก้ไว้ว่า กิจทั้งหลายมีอาเสวนะเป็นต้น หาได้มีแก่มรรคที่เกิดเยงขณะจิตเดียวไม่ แต่เมื่อบำเพ็ญมรรคเบื้องสูงทั้งหลาย มีมรรคที่สองเป็นต้นให้เกิดขึ้น มรรคที่สองเป็นต้นนั่นเอง จึงจะตรัสเรียกว่า "อาเสวติ ภาเวติ และ พหุลีกโรติ" ได้ฯ

ฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๑

สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ อิทํ สมถยานิกสฺสวเสน วุตฺตํ. โส หิ ปฐมํ อุปจารสมาธึ วา อปฺปนาสมาธึ วา อุปฺปาเทติ, อยํ สมโถ, โสตญฺจ ตํสมฺปยุตฺเต จ ธมฺเม อนิจฺจามีหิ วิปสฺสติ, อยํ วิปสฺสนา, อิอติ ปฐมํ สมโถ, ปจฺฉา วิปสฺสนา, เตนวิจฺจติ "สมถปุพูพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวตีติ."

ความว่า

บาลีข้อที่ว่า "สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ" นี้ ท่านพูดไว้ด้วยอำนาจของสมถยานิกะฯ เพราะโยคีบุคคลผู้นั้นทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน..อันนี้เป็นสมถะ โยคีบุคคลผู้นั้นจึงใช้ปัญญาพิจารณาถึงสมาธินั้น และธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธินั้น ให้เห็นแจ้งด้วยลักษณะมีอนิจจลัษกาณะเป็นต้น..อันนี้จัดเป็นวิปัสสนา ด้วยประการดังทีได้กล่าวมานี้ สมถะจึงเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาจึงเกิดในภายหลัง ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า "เจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องต้น"เข้าไว้ฯ

ข้อที่ควรสังเกตในข้อที่ ๑ นี้ ก็มีอยู่ว่า การเจริญวิปัสสนาในแบบที่ ๑ นี้ เป็นการเจริญสมาธิให้เกิดขึ้นก่อนแล้วจึงเจริญปัญญาให้เกิดต่อภายหลัง แต่ถ้าขืนเจริญแต่สมาธิเรื่อยไปโดยไม่เปลี่ยนอารมณ์ด้วยการออกจากฌานสมาธิแล้ว รับรองว่าวิปัสสนาปัญญาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย ไม่ต้องดูอื่นไกล ขอให้ดูดาบสทั้งสองที่เป็นอาจารย์สอนพระพุทธองค์ตอนเมื่อก่อนตรัสรู้เถิด ปรากฏว่าท่านดาบสทั้งสองไม่อาจทำวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการอาศัยสมาธิแบบนั้นเป็นบาทฐาน ผลที่สุดก็ต้องตายจากโลกนี้ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นอรูปภพ ซึ่งมีอายุยืนถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เป็นตัวอย่างฯ

บาลีตอนที่ ๒

ปุน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ, ตสฺส วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาวยโต มคฺโค สญชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ.

ความว่า

ผู้มีอายุ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเจริญสมถะ ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อเธอทำสมถะ อันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ทำให้เกิดอยู่ มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญ บำพ็ญมรรคนั้นให้มากขึ้น เมื่อเธอปฏิบัติเจริญ บำเพ็ญมรรคนั้นให้มากๆ เธอก็ย่อมจะละสังโยชน์ทั้งหลายเสีย อนุสัยทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้หมดไปฯ

อรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๒

วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมนฺติ วิปสฺสนํ ปุพฺพงฺคมํ ปุเรจาริกํ กตฺวา สมถํ ภาเวติ, ปกติยา วิปสฺสนาลาภี วิปสฺสนาย ฐตฺวา สมาธึ อุปฺปาเทตีติ อตฺโถ

ความว่า

พระบาลีข้อที่ "วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมนฺติ" ความว่า โยคีบุคคลทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือ ให้เป็นตัวนำแล้วจึงเจริญสมถะตามปกติ ผู้ที่ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนาแล้ว จึงทำสมาธิให้เกิดขึ้นฯ

ฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๒

วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวตีติ อทํ ปน วิปสฺสนายานิกสฺส วเสน วุตตํ. โส ตํ วุตฺตปฺปการํ สมถํ อสมฺปาเทตฺวา ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธ อนิจฺจาทีหิ วิปสฺสติ.

ความว่า

ส่วนพระบาลีข้อที่ว่า "เจริญสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น" นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจของพระวิปัสสนายานิก คือ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ เธอยังมิได้ทำสมถะที่มีประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นให้สมบูรณ์เลย ก็พิจารณาเบญจขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปทานโดยความเป็นอนิจจะเป็นต้น

ตรงตอนที่ ๒ นี้ก็หมายความว่า ท่านเจริญเฉพาะวิปัสสนาล้วนๆ มาก่อน ...ยังมิทันที่เธอจะทำสมถะให้สมบูรณ์เลย ก็ใช้ปัญญาพิจารณาถึงเบญจขันธ์โดยความเป็นไตรลักษณ์เสียแล้ว...นี่เป็นคำอธิบายตามนัยของฎีกา

ส่วนคำของอรรถกถาท่านหมายความง่ายๆ ว่า ได้วิปัสสนาแล้วแต่อยากได้ฌานก็ทำฌานให้เกิดขึ้นเท่านั้น เราก็พอจะถือเอาความได้ว่า พระอริยะผู้ที่เป็นวิปัสสนาลาภี คือ ผู้ที่ได้วิปัสสนาจนเป็นพระโสดา - สกทาคามี -อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อย่าง นี้เรียกว่า ทำสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นฯ


บาลีตอนที่ ๓

ปูน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ สมถวิปสฺสนํ ยุคนทธฺ ภาเวติ ตสฺส สมถวิปสฺสนํ ยุคนฺธํ ภาวยโต มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ หุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺติ โหนฺติ.

ความว่า

ข้ออื่นยังมีอยู่อีกผู้มีอายุ ภิกษุผู้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญ กระทำมรรคนั้นให้มาก เมื่อเธอปฏิบัติเจริญ(และ) ทำมรรคนั้นให้มาก สังโยชน์ทั้งหลายก็ย่อมถูกละเลยไป อนุสัยทั้งหลายย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้หมดไปฯ

คำแปลอรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๓ อันมี "ยุคนทฺธํ ภาเวตีติ ยุคนทฺธํ กตฺวา ภาเวติ.ฯ " เป็นต้น ความว่า

พระบาลีข้อที่ว่า "เจริญควบคู่กันไป" นั้น พระอรรถกถาจารย์ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า เจริญทำให้ควบคู่กันไป ฯ

ในการเจริญดังกล่าวเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจที่จะเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แล้วก็พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตดวงนั้นนั่นเอง แต่โยคีบุคคลผู้นี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ก็ย่อมพิจารณาสังขารได้เพียงนั้น พิจารณาสังขารได้เท่าใด ก็เข้าสมาบัติได้เท่านั้น ที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า ตนเข้าปฐมฌานได้ ออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาสังขารทั้งหลายอีก เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ก็เข้าตติยฌาน ฯลฯ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เมื่อออกจากอรูปสมาบัติที่ ๔ แล้วก็ได้พิจารณาสังขารทั้งหลาย ตามวิธีอย่างที่ได้อธิบายมานี้ ชื่อว่าเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปด้วยประการฉะนี้ฯ

ข้อสังเกตตามที่พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์อธิบายมา จะเห็นได้ว่าเป็นการยากที่เราจะไปตีความเอาโดยพลการ เพราะถ้าไม่ตรงต่อคำอธิบายของท่านแล้ว แทนที่จะเป็นการช่วยกันเผยแผ่พระพุทะศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป กลับจะเป็นการช่วยกันทับถมคำสอนของท่านให้เสื่อมสูญลงโดยไม่รู้ตัว


ดังนั้นท่านผู้ที่รักจะช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะอธิบายอะไรก็ควรที่จะตรวจตราดูเสียให้เรียบร้อยก่อน เพราะการบรรยายธรรมเป็นการแนะแนวในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เพื่อให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ซึ่งไม่เหมือนกับการ้องเพลงที่จะชวนให้คนฟังเกิดแต่กิเลสเป็นความเศร้าหมองอย่างเดียว

ถ้าเราจะสรุปความในท่อนที่ ๓ ที่ท่านได้อธิบายมา เราก็พอจะจับใจความของท่านได้ว่า ในการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปนั้น ที่จริงก็คือ การเจริญสมะจนได้ฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จึงจะพิจารณาสังขารต่อไป จนกว่าจะเกิดมรรคนั่นเอง


เพราะท่านปฏิเสธไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักปฏิบัติคนใดดอก ที่จะสามารถเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นแล้วก็พิจารณาสังขารด้วยจิตดวงนั้นได้

บาลีตอนที่ ๔

ปุน จปรํ อาวุโส ภิกขุโน ธมฺมุทธจฺจวิคฺคหิตํ มานสํ โหติ, โส อาวุโส สมโย ยํ ตํ จิตฺตํ อชฺฌตฺตเมว สนฺติฏฐติ สนฺนิสีทติ เอโกทิ โหติ สมาธิยติ, ตสฺส มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรติ. ตสฺส ตํ มคฺคํ อาเสวโต ภาวยโต พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา ยนตี โหนฺติ .

ความว่า

ผู้มีอายุ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีใจปราศจากความฟุ้งซ่านในอริยธรรม ผู้มีอายุ สมัยนั้น จิตดวงนั้นก็ย่อมตั้งมั่นดิ่งลงในภายในทีเดียว เป็นเอกุคคตารมณ์เป็นสัมมาสมาธิ มรรคย่อมเกิดพร้อมแก่เธอ เธอปฏิบัติเจริญ ทำมรรคนั้นให้มากๆ เมื่อเธอปฏิบัติเจริญบำเพ็ญมรรคนั้นให้มากได้ เธอก็ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายเสียได้ อนุสัยทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้ไปในที่สุดฯ


อรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๔

ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตนฺติ สมถวิปสฺสนาธมฺเมสุ ทสวิปสฺสนุหกิเลสสงฺขาเตน อุทฺธจฺเจน วิคฺคหิตนฺติ อตฺโถ โส อาวุโส สมโยติ อิมินา สตฺสตฺนํ สปฺปายํ ปฏิลาภกาโล กถิโต. ยํ ตํ จิตฺตนฺติ นสฺมึ สมเย ตํ วิปสฺสนาวิถึ ปจฺโจตฺถริตฺวา ตสฺมึเยว โคจรชฺฌตฺตสงฺขาเต อารมฺมเณ สนฺติฏฐติ. สนฺนิสีทตีติ อารมฺมณวเสน สมฺมา นิสีทติ. เอโกทิ โหตีติ เอกคฺคํ โหติ. สมาธิยตีติ สมฺมา อาธิยติ สุฏฐปิตํ โหติ. เสสเมตฺถ อุตฺตา นมตฺถเมว

ความว่า

พระบาลีที่ว่า"ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ" ความว่า คลายออกจากความฟุ้งซ่าน คือ ความเศร้าหมองของวิปัสสนา ๑๐ ประการ ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา คือ จับอารมณ์ได้ดีแล้วนั่นเอง

พระพุทธองค์ตรัสถึงเวลาที่ได้สัปปายะ ๗ อย่างไว้ด้วยพระบาลีข้อที่ว่า "โส อาวุโส สมโย" นี้

พระบาลีที่ว่า "ยํ ตํ จิตฺตํ" คือ ในสมัยใดจิตปรากฏก้าวลงสู่วิถีของวิปัสสนานั้น ฯ

พระบาลีสองบทที่ว่า "อชฺฌตฺตเมว สนฺติฏฐติ" ความว่า จิตนั้นแผ่ตรงไปเฉพาะวิปัสสนาวิถีได้แล้ว ก็ย่อมจะตั้งมั่นได้ในอารมณ์ คือ อารมณ์ที่เป็นภายในนั้นเท่านั้น ฯ

บทที่ว่า "สนฺนิสีทติ" ได้แก่แนบสนิทดีด้วยอำนาจของอารมณ์ฯ

สองบทที่ว่า "เอโกทิ โหติ" คือ เป็นจิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียว

บทว่า "สมาธิยติ" หมายความว่า เป็นจิตที่ดำรงอยู่ได้โดยชอบ คือ เป็นจิตที่ได้ตั้งไว้ดีแล้วนั่นเอง


แปลฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๔ มี ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานสนฺติ เป็นต้น ความว่า

คำของอรรถกถาบทที่ว่า "ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานสํ" ความว่า ความฟุ้งซ่านที่ปรากฏในวิปัสสนูปกิเลส มีแสงสว่างป็นต้นว่า "เป็นอริยธรรม" คือความฟุ้งชื่อว่า "ธัมมุทธัจจะ" จิตใจที่จับอารมณ์ผิดพลาดเป็นไป โดยการดำเนินออกจากวิถีของวิปัสสนา เพราะความฟุ้งซ่านไปในธรรมนั้น จัดเป็นจิตใจที่จับอารมณ์ผิดพลาด เพราะความฟุ้งซ่านไปในธรรมนั่นเอง

คำนี้สมจริงตามบาลีปฏิสัมภิทามรรค หน้า ๒๙๑ ฉบับฉัฏฐะว่า

ใจที่จับอารมณ์ผิดพลาดเพราะความฟุ้งซ่านในธรรมปรากฏขึ้น ผู้ปฏิบัติที่กำลังใส่ใจโดยความเป็นอนิจจะ แสงสว่างก็เกิดขึ้น ก็ย่อมรำพึงถึงแสงสว่าง

"แสงสว่างเป็นธรรมะ ความฟุ้งซ่านที่เกิดเพราะความสนใจถึงแสงสว่างนั้น ผู้ปฏิบัติที่มีใจจับอารมณ์ผิดพลาดเพราะความฟุ้งซ่านนั้น ก็ย่อมหารู้ชัดถึงความปรากฏโดยความเป็นอนิจจะตามความเป็นจริงไม่ได้ ความปรากฏโดยความเปฌนทุกขะ ฯลฯ เป็นอนัตตะก็หารู้ชัดตามความเป็นจริงไม่ได้เช่นกัน

แต่ถ้าเมื่อเธอมนสิการโดยความเป็นอนิจจะเหมือนอย่างนั้น ญาณความรู้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ฯลฯ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์(การตัดสินใจเชื่อ) ปัคคาหะ(ความเพียรเกินไป) อุปัฏฐาน(ความปรากฏชัดเกินไป) อุเบกขา (วางเฉยเกินไป)นิกันติ(ความต้องการ ๙ ข้อข้างต้น)เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็นึกถึงความต้องการว่า "นิกันติ" เป็นธรรมะ ความฟุ้งซ่านย่อมเกิดเพราะความมนสิการผิดพลาดนั้น


เพราะความฟุ้งซ่านอันนั้นเป็นเหตุ เธอผู้มีใจจับอารมณ์ผิดพลาด ก้ย่อมหารู้ชัดถึงความปรากฏโดยความเป็นอนิจจะตามความเป็นจริงไม่ได้ ความปรากฏโดยความเป็นทุกขะ และอนัตตะ ก็หารู้ชัดตามความเป็นจริงไม่ได้เช่นกัน


หมายเหตุ ตามคำอธิบายของท่าน ก็พอจะจับใจความได้ว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ คือ ขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาไปจนกระทั่งถึงอุทยัพพยญาณ หรือตีรณปริญญา ถ้าเกิดอุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น หากไปมนสิการถึงอุปกิเลสดังว่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสนใจพอใจในแสงสว่างเป็นต้น จิตก็จะฟุ้งซ่านตกจากวิปัสสนาวิถีไป ไม่อาจที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ได้โดยชัดเจนนั่นเอง เพราะวัตถุประสงค์ของการเจริญวิปัสสนานั้น ก็จำเป็นจะต้องปลูกโยนิโสมนสิการ ให้ตั้งมั่นอยู่แต่เฉพาะลักษณะของนามรูปเท่านั้นนั่นเองฯ

ตามที่ได้อธิบาย พร้อมทั้งยกเอาหลักฐานมาเป็นเครื่องยืนยันทั้งหมดนี้ จะเห็นได้แล้วว่าเป็นเรื่องที่น่าระมัดระวัง ในการเผยแผ่ธรรมะชั้นสูงเป็นกรณีพิเศษทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นแล้วขออย่าได้ผลีผลามใช้ความเห็นของตนแสดงออกเป็นอันขาด เพราะถ้านักปราชญ์ที่เขาคงแก่เรียนไปรู้เข้า มิใช่จะเสียหายเฉพาะตัวเองเท่านั้น ยังเสียไปถึงคนที่หลงเดินตามปฏิปทาที่ตัวสอนอีกมากมายด้วย จึงขอสะกิดใจไว้เพียงเท่านี้ฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 5:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=67591#67591

อ้างอิงจาก:
การตามดูรู้ทันสภาวะที่เกิดแต่ละขณะๆตามเป็นจริง เช่น สั่นหนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ
ยินดีหนอ ไม่ยินดีหนอ ฯลฯ
นั่นแหละหนทางพ้นทุกข์ หนทางไปสู่นิพพานอย่างใดอย่างหนึ่งแน่ครับ

พิจารณาพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับนิพพานไว้ ดังนี้

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยอ้อม
(โดยปริยาย)

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยตรง (โดยนิปปริยาย)
องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว
หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน”
สํ. ข.17/88/54



คุณกรัชกาย กำลังกล่าวตู่พระพุทธพจน์

คุณกรัชกาย คุณอ้างพระพุทธพจน์มาสนับสนุนแนวทาง ยุบหนอ พองหนอ ของคุณว่า เป็นไปเพื่อให้ได้ ฌาน เช่น ปฐมฌาน แล้วย่อมเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง


แสดงถึงความไม่เข้าใจในการปฏิบัติ สมถะ - วิปัสสนา ของคุณอย่างยิ่ง

ผมอาจจะกล่าวรุนแรงไป ว่าความคิดคุณเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา ดังพระวิปัสสนาจารย์ ซึ่งเป็นศิษย์ของอาจารย์แนบ กล่าวว่า

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7



นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้


-----------------------------------------------------------------

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10082




หมายเหตุ ตามคำอธิบายของท่าน ก็พอจะจับใจความได้ว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ คือ ขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาไปจนกระทั่งถึงอุทยัพพยญาณ หรือตีรณปริญญา ถ้าเกิดอุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น หากไปมนสิการถึงอุปกิเลสดังว่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสนใจพอใจในแสงสว่างเป็นต้น จิตก็จะฟุ้งซ่านตกจากวิปัสสนาวิถีไป ไม่อาจที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ได้โดยชัดเจนนั่นเอง เพราะวัตถุประสงค์ของการเจริญวิปัสสนานั้น ก็จำเป็นจะต้องปลูกโยนิโสมนสิการ ให้ตั้งมั่นอยู่แต่เฉพาะลักษณะของนามรูปเท่านั้นนั่นเองฯ

ตามที่ได้อธิบาย พร้อมทั้งยกเอาหลักฐานมาเป็นเครื่องยืนยันทั้งหมดนี้ จะเห็นได้แล้วว่าเป็นเรื่องที่น่าระมัดระวัง ในการเผยแผ่ธรรมะชั้นสูงเป็นกรณีพิเศษทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นแล้วขออย่าได้ผลีผลามใช้ความเห็นของตนแสดงออกเป็นอันขาด เพราะถ้านักปราชญ์ที่เขาคงแก่เรียนไปรู้เข้า มิใช่จะเสียหายเฉพาะตัวเองเท่านั้น ยังเสียไปถึงคนที่หลงเดินตามปฏิปทาที่ตัวสอนอีกมากมายด้วย จึงขอสะกิดใจไว้เพียงเท่านี้ฯ


คุณกรัชกายครับ อย่าได้ทำตนเป็นผู้รู้ เผยแพร่ธรรมะชั้นสูง เลยครับ

หากคุณเผยแพร่แบบผิด ๆ วิบากกรรมนั้น มีผลมหาศาลนะครับ โดยเฉพาะเรื่อง วิปัสสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยอ้อม
(โดยปริยาย)
ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยตรง (โดยนิปปริยาย)
องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476
ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว
หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน”
สํ. ข.17/88/54

คุณกรัชกาย กำลังกล่าวตู่พระพุทธพจน์

คุณกรัชกาย คุณอ้างพระพุทธพจน์มาสนับสนุนแนวทาง ยุบหนอ พองหนอ ของคุณว่า เป็นไปเพื่อให้ได้ ฌาน เช่น ปฐมฌาน แล้วย่อมเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง

เฉลิมศักดิ์: 28 มิ.ย.2008, 5:39 am



คุณเฉลิมศักดิ์ แยกแยะพุทธพจน์ดังกล่าวไม่ออกครับ นี่

แหละโทษของการไม่เจริญสติปัฏฐาน

แต่ละขณะๆ จึงตามไม่ทันความคิด เมื่อเป็นดังนั้นจิตจึงจมดิ่ง

ลงที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งจึงมองไม่เห็นประเด็นอื่นๆนอกจากนั้น พูด

ให้เข้าหลักธรรมก็ว่า สันตติไม่ขาด ยิ้ม


แม้แต่พุทธพจน์นั้นเป็นตัวหนังสือเห็นตัวอยู่โต้งๆ

คุณยังมองไม่เห็นแยกไม่ออก แล้วจะกล่าวไปใยถึงความคิดแต่ละ

ขณะๆ เล่า ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 9:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


กรัชกายจะแยกพุทธพจน์ดังกล่าวให้คุณดู ดังนี้


ท่อนแรกว่า “ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน

แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรม

นิพพานโดยอ้อม (โดยปริยาย)



แปลว่าอะไรครับ แปลว่า ผู้ที่ได้ฌาน (มีปฐมฌาน เป็นต้น)

แล้วอกุศลธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นสงบแล้ว พระองค์ก็เรียกว่าเป็น

ทิฏฐธรรมนิพพานโดยปริยาย

นี่เป็นความหมายของนิพพานท่อนนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 9:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่อนที่สองว่า ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดย

ประการทั้งปวง

เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้ง

หลายของเธอก็หมดสิ้นไป

แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรม

นิพพานโดยนิปปริยาย



ท่อนนี้ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ภิกษุได้ฌานมาตามลำดับๆ สุด

ท้ายเธอยังกิเสสาสวะให้หมดสิ้นไป พระองค์ตรัสเรียกว่าเป็น

ทิฏฐธรรมนิพพานโดยนิปปริยาย


นี่เป็นความหมายของนิพพานท่อนที่สองนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง