Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 9:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่อนสุดท้ายที่ว่า ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว

หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้

ตทังคนิพพาน



ท่อนนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยครับคุณเฉลิมศักดิ์ หมายถึงผู้ที่

ปฏิบัติธรรมแล้ว แล้วเห็นไตรลักษณ์ คือ เห็นความจริงว่า รูป

นามขันธ์ 5 มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ

เพียงเท่านี้ พระองค์ก็เรียกว่า ตทังคนิพพาน

นี่เป็นความหมายของนิพพานท่อนสุดท้ายของพุทธวจนะนั้น


คุณพอเห็นความหมายของนิพพานทั้งสามประเด็นจาก

พุทธวจนะดังกล่าวหรือยังครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 10:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ผมอาจจะกล่าวรุนแรงไป ว่าความคิดคุณเป็นอันตรายต่อพระ

พุทธศาสนา ดังพระวิปัสสนาจารย์ ซึ่งเป็นศิษย์ของอาจารย์แนบ

กล่าวว่า …..



ไม่รุนแรงเลยครับ กรุณาอย่าเกรงใจเลย ยิ้มเห็นฟัน

กรัชกายบอกคุณข้างต้นแล้วว่า คุยกับคุณแล้วมีควาสุข ยิ้ม

แล้วคุณล่ะมีความสุขไหมที่สนทนากับกรัชกาย

กรัชกายเป็นพุทธบุตรครับ เป็นลูกของพระพุทธเจ้า พ่อมอบ

หลักการปฏิบัติ คือ สติปัฏฐานเป็นต้น ซึ่งเป็นมรรคาเอกไว้ให้

แล้ว ซึ่งผู้ปฏิบัติตาม (อย่างถูกวิธี) จะพ้นจากทุกข์โทมนัส

อุปายาสได้


ขณะนั้นๆ รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร กำหนดอย่างนั้น อย่า

ปล่อยเลยไป

รู้สึกยินดีพอใจ “ชอบใจหนอๆๆ” “พอใจหนอๆๆ”

รู้สึกว่าไม่พอใจ ไม่ชอบใจเร้ย “ไม่พอใจหนอๆ”

“ไม่ชอบหนอๆๆ” “หงุดหงิดหนอๆๆ” อายหน้าแดง

เป็นต้น

แค่นี้เองครับหลักการปฏิบัติ ไม่ได้มากมายเลยครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 11:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อย่าได้ทำตนเป็นผู้รู้ เผยแพร่ธรรมะชั้นสูง เลยครับ


อย่าได้ทำตน...

อัตตา แปลว่า ตน หรือ ตัวตน ที่คุณเฉลิมศักดิ์กล่าวถึง ว่า

โดยปรมัตถ์ไม่มีหรอกครับ

หากจะมีก็มีแต่เพียงความยึดถือในใจคน

ดูหลักคร่าวๆ จากพุทธธรรมหน้า 70/34 ดังนี้ครับ


อัตตา เป็นคำบาลี รูปสันสกฤตเป็น อาตมัน แปลว่า

ตน ตัว หรือตัวตน

พุทธธรรมสอนว่า ตัวตนหรืออัตตานี้ ไม่มีอยู่จริง เป็นสิ่งที่

สมมุติขึ้นเพื่อสะดวกในการสื่อสาร เพื่อความหมายรู้ร่วมกันของ

มนุษย์ในความเป็นอยู่ประจำวัน

กำหนดตามชื่อที่บัญญัติขึ้น หรือตั้งขึ้นสำหรับเรียกหน่วยรวมหรือ

ภาพรวมหนึ่งๆ



อัตตานี้จะเกิดเป็นปัญหาขึ้น ก็ต่อเมื่อคนหลงผิดเกิดความยึดถือ

ขึ้นมา ว่ามีตัวตนจริงๆ

หรือ เป็นตัวตนจริงๆ เรียกว่าไม่รู้เท่าทันความเป็นจริง หรือหลง

สมมุติ

ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตตานี้ พึงทราบว่า อัตตาไม่ใช่

กิเลส มิใช่เป็นสิ่งที่ต้องละ

เพราะอัตตาไม่มีอยู่จริง จึงไม่มีอัตตาที่ใครจะละได้

อัตตามีอยู่แต่เพียงในความยึดถือ

สิ่งที่จะต้องทำก็มีเพียงการรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่มีอัตตา

หรือ ไม่เป็นอัตตาอย่างที่เรียกว่า รู้ทันสมมุติเท่านั้น

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ละความยึดถือในอัตตา ละความยึดถือว่า

เป็นอัตตา หรือถอนความหลงผิด

ในภาพของอัตตา หรือในบัญญัติแห่งอัตตาเสียเท่านั้น

เรื่องอัตตาและการปฏิบัติต่ออัตตาในความหมายที่ใช้ทั่วไปก็มีเพียง

เท่านี้

ฯลฯ

ลิงค์นี้อีกครับ แต่ลงไว้แต่เพียงบางส่วน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13331
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 2:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้งตัวสภาวะ และสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น

ตัวสภาวะ (นิยมเรียกว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติเป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์

แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมติมาสับสนกัน

คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะจะให้เป็นตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวาย

ขึ้น

ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติ

ธรรมดาของมัน

ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว

และเพราะมันไม่วุ่นด้วย

มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวายใหญ่ เพราะขัดความปรารถนาถูกบีบคั้นจึง

เกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 2:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
หากคุณเผยแพร่แบบผิด ๆ วิบากกรรมนั้น มีผลมหาศาลนะ
ครับ โดยเฉพาะเรื่อง วิปัสสนา
เฉลิมศักดิ์ : 28 มิ.ย.2008, 5:39 am



โดยเฉพาะเรื่อง วิปัสสนา


สรุปผลของวิปัสสนามีเท่านี้ =>

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย

ตรงตามสภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ

นี่แหละคือวิปัสสนา


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232&postdays=0&postorder=asc&start=15


วิบากกรรมนั้น มีผลมหาศาลนะครับ


คำว่า "วิบากกรรม" ที่คุณอ้างมา ตีความได้ร้อยแปดครับ

ขยายความหน่อยครับว่า

กรัชกายจะได้รับวิบากกรรมอย่างไร

ขยายความคำว่า "วิบากกรรม" เอาพอมองเห็นเค้าก็พอ

ยังไงครับวิบากกรรม อายหน้าแดง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 5:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
หากคุณเผยแพร่แบบผิด ๆ วิบากกรรมนั้น มีผลมหาศาลนะ
ครับ โดยเฉพาะเรื่อง วิปัสสนา
เฉลิมศักดิ์ : 28 มิ.ย.2008, 5:39 am




อ้างอิงจาก:
กรัชกายจะได้รับวิบากกรรมอย่างไร

ขยายความคำว่า "วิบากกรรม" เอาพอมองเห็นเค้าก็พอ

ยังไงครับวิบากกรรม

---------------------------------------------------

หากคุณกรัชกาย ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา

เจตนา ที่ทำไว้คือ กรรม ที่จะส่งผล(วิบากกรรม) ให้ปฏิบัติผิดทางออกไปเรื่อย ๆ จนเป็นเดียรถีย์ (แปลว่า ผู้ข้ามผิดท่า )

จนเป็นมิจฉาทิฏฐิที่รุนแรง ยากที่จะมีใครแก้ไขได้

แต่หากเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง มีสัมมาทิฏฐิในฌาน ในวิปัสสนา อันเป็นทางพ้นทุกข์ย่อมมีอานิสงส์มาก

เคยอ่านที่อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ท่านบรรยายไว้ดังนี้


พระพุทธพจน์

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ
กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ
ตสฺมา สีลํ วิโสธเย

ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย
และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์

ขุททกนิกาย เถรคาถา




ศีลวิสุทธิ
บรรยายที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันเสาร์ที่ ๑๐ กรกฏาคม ๒๕๐๘

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-04.htm

ถาม – ตอบ เรื่อง “ ศีลวิสุทธิ “
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-03.htm
----------------------------------------------------------------



ถาม : ที่เราทราบๆ กันว่า พระโสดาบันบุคคลเท่านั้น จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ และถ้าหากว่าผู้เข้าปฏิบัติยังไม่ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ทำอย่างไรจึงจะเป็นวิสุทธิได้

อาจารย์ : หมายความว่า ทำอย่างไรจึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ ตามที่เราเข้าใจกันว่า มิจฉาทิฏฐิ นั้น พระโสดาบันจึงละได้ จะขออธิบายการละให้เข้าใจเสียก่อนว่าการละนี้

ละโดย ตทังคะ

ละโดย วิกขมภนะ หรือ

ละโดย สมุจเฉท

คำว่าพระโสดาบันนี่ละโดย “ สมุจเฉท “ และสัมมาทิฏฐิ นี้ มี 6 ขั้นด้วยกัน คือ

1. สัมมาทิฏฐิในกรรมบถ

2. สัมมาทิฏฐิในสมาธิ

3. สัมมาทิฏฐิในฌาน

4. สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา

5. สัมมาทิฏฐิในนิพพาน

6. สัมมาทิฏฐิในปัจจเวก

1. สัมมาทิฏฐิในกรรมบถ ก็ต้องละมิจฉาทิฏฐิในกรรมบถ สัมมาทิฏฐิ อันนี้เรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญา คือ ปัญญาที่เชื่อ หรือรู้เหตุผลของกรรมว่า ผลของกรรมมีอยู่กรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุข กรรมชั่วย่อมให้ผลเป็นทุกข์ เขาเข้าใจดี เขารู้และเขาเชื่อด้วยความเชื่อของท่านผู้นี้ถูก เมื่อความเชื่อถูก หรือความเห็นถูกอย่างนี้เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ความเห็นทีว่ากรรม และผลของกรรมไม่มี ตายแล้วสูญไป หรือ ไม่มีใครเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ความเห็นผิดอย่างนี้ก็ตกไป

2. สัมมาทิฏฐิในสมาธิ ผู้ที่เห็นว่า สมาธินี้มีอานิสงส์มาก ทำให้จิตสงบจากอกุศลต่างๆ สามารถจะมีความสุขในปัจจุบันได้ และเกิดชาติหน้าก็ยังมีความสุขใน “ สุคติ “ อีก จะได้ภพที่ดี ๆ ภพที่เป็นสุข ไม่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นเขามีความเห็นอย่างนี้ ก็เป็นความเห็นถูกเพราะว่าสมาธินี้มีผลอย่างนั้นจริงๆ

3. สัมมาทิฏฐิในฌาน ถ้าไม่เชื่อว่าฌานนี้ให้ผลเป็นสุข ไม่เชื่อว่าสามารถจะให้ไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกได้ ถ้าเข้าใจอย่านี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าคนที่เข้าใจอานิสงส์ถูกต้องแล้วก็เป็นสัมมาทิฏฐิในเรื่องฌาน “ มิจฉาทิฏฐิ “ ในอานิสงส์ ของฌานก็หมดไป แต่ว่า สัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนี้ ภายนอก พระพุทธศาสนาก็มีได้ การทำบุญทำทานก็ดี สมาธิก็ดี ฌานก็มีสรุปแล้ว สัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนี้ มีได้ทั้งนอก และในพระพุทธศาสนา

4. สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา คือเข้าใจถูกว่า อะไรเป็นวิปัสสนา อะไรไม่ใช่วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนานี้ มีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ ศาสนาสัมมาทิฏฐิ “ บางคนยังไม่เข้าใจสนวิปัสสนา การทำก็ยังไม่เกิดวิปัสสนาที่แท้จริง แต่เข้าใจว่าเกิดแล้ว นี่ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิในวิปัสสนา ถ้าผู้ที่เข้าใจหรือเข้าถึงวิปัสสนา โดยถูกต้องแล้ว ความเห็นถูกอันเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็สามารถละมิจฉาทิฏฐิในความเข้าใจผิดจากวิปัสสนานั้นได้ และละตลอดไปจนกระทั่งถึง มรรค ผล นิพพาน ปัจจเวก ทั้ง 4 นี้ มีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น มรรค ผล เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ตนได้เข้าไปเห็นถูกต้องแล้วอันนี้ก็ละมิจฉาทิฏฐิที่เข้าใจผิด

5. สัมมาทิฏฐิในนิพพาน บางท่านคิดว่า พระนิพพานคงจะเที่ยง คงจะไม่ตาย เรานี้จะเข้าไปเสวยสุขในพระนิพพาน อันเป็นเมืองแก้วที่มีความสุขสบาย ถ้าเราไปอยู่ในนิพพาน คงจะเป็นสุขไม่มีความทุกข์เลย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จัดเป็น “มิจฉาทิฏฐิในนิพพาน“ เพราะนิพพานนั้นไม่มีสุขเวทนาให้ปรากฏเลย พระนิพพานนั้นดับเสียซึ่งขันธ์ 5

ที่ว่าเมื่อถึงพระนิพพานแล้วดับทุกข์นั้นหมายถึงว่า ดับขันธ์ 5 ฉะนั้นความสุขความสบายที่เกิดจากเวทนาจะมีขึ้นได้อย่างไร พระนิพพานเป็นความสุขที่ดับทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่เป็นความสุขที่อาศัย “ สุขเวทนา “ เข้าไปดับทุกข์ที่เกิดจากกิเลสเป็นเหตุ หรือเกิดจากชาติเป็นเหตุ หรือเกิดจากวิบากเป็นเหตุ ถ้าดับทุกข์เสร็จก็ถึงพระนิพพาน

เพราะท่านบอกว่า “ ชาติเป็นทุกข์ “ ทุกข์ทั้งหลายย่อมไหลมาจาก ชาติ คือ ความเกิด ถ้าดับชาติคือความเกิด เสียแล้ว เรียกว่าดับทุกข์ทั้งปวง ถ้าเห็นอย่างนี้เป็นการเห็นถูก

6. สัมมาทิฏฐิปัจจเวก พิจารณาว่า กิเลสยังมีอยู่หรือไม่ กิเลสอะไรที่หมดแล้ว กิเลสอะไรที่เหลืออยู่ รู้อย่างนี้ เรียกว่า “สัมมาทิฏฐิปัจจเวก“ บางท่านเข้าใจว่ากิเลสหมดแล้ว ทั้ง ๆ ที่กิเลสยังอยู่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ยังอยู่ครบครัน แต่บางทีอาจจะไม่มีอย่างหยาบ แต่อย่างกลาง อย่างละเอียดยังอยู่ ก็เข้าใจว่าหมดกิเลสแล้ว หรือ ไม่มีอย่างหยาบ ไม่มีอย่างกลาง แต่อย่างละเอียดยังมีอยู่ก็เข้าใจว่าหมดกิเลสแล้ว

ส่วนปัจจเวกนั้น พิจารณาถึงกิเลสอย่างละเอียด คือ “ อนุสัย “ ถ้าเข้าใจผิดก็เป็น มิจฉาทิฏฐิปัจจเวก

ขอให้ท่านพิจารณาว่า สัมมาทิฏฐิ มี 6 ขั้น และ มิจฉาทิฏฐิ ก็มี 6 ขั้นเหมือนกัน

ทีนี้ท่านได้สัมมาทิฏฐิอะไรบ้าง เราก็พอจะรู้ได้ มาถึงในขั้นไหน ละมิจฉาทิฏฐิขั้นไหนหมดไป สัมมาทิฏฐิอะไร ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา สัมมาทิฏฐิอะไรที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

อันนี้สำคัญที่สุดที่จะต้องรู้ เพราะมีหลายขั้น ถ้าท่านไม่ทราบขั้นของสัมมาทิฏฐิ ก็อาจจะเข้าใจว่าเราเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว และเวลามีใครมาว่าเราเป็น “ มิจฉาทิฏฐิ “ เราก็จะโกรธ

ความจริงมิจฉาทิฏฐิมีอีกมากมายหลายอย่างทีเดียว เพราะฉะนั้นอย่าโกรธเขา เพราะสัมมาทิฏฐิเราก็มีเหมือนกัน แต่ว่าทิฏฐิบางอย่างก็ยังไม่หมด ถ้าผู้ที่ไม่เคยบรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ก็คงจะได้สัมมาทิฏฐิ 2 อย่าง คือ เชื่อในกรรม เชื่อใน ฌานสมาธิ ว่ามีความสุข นอกจากนั้นยังไม่หมด

----------------------------------------------------

อ้างอิงจาก:
กรัชกายจะได้รับวิบากกรรมอย่างไร

ขยายความคำว่า "วิบากกรรม" เอาพอมองเห็นเค้าก็พอ

ยังไงครับวิบากกรรม



หากแนวทางที่คุณกรัชกายเผยแพร่ ยังไม่ใช่การปฏิบัติวิปัสสนา

เป็นมิฉาทิฏฐิในวิปัสสนา

แต่คุณยัง นั่ง(หนอ ๆ ๆ )ยัน ยืน(หนอ ๆ ๆ ๆ) ยัน ว่าถูกหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

ไม่ต้อง สงสัยหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เป็นวิปัสสนาหนอ ๆ ๆ ๆ

วิบากกรรมคือ ก็จะปฏิบัติผิดทางไปเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา จนกว่าวิบากกรรมจะเบาบางลง

อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ จะถูกหนอ ๆ ๆ ๆ หรือเปล่าเนี่ย ซึ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

หากแนวทางที่คุณกรัชกายเผยแพร่ ยังไม่ใช่การปฏิบัติวิปัสสนา
เป็นมิฉาทิฏฐิในวิปัสสนา

แต่คุณยัง นั่ง (หนอ ๆ ) ยัน ยืน (หนอ ๆ ) ยัน ว่าถูกหนอ ๆ
ไม่ต้องสงสัยหนอ ๆ เป็นวิปัสสนาหนอ ๆ
วิบากกรรม คือ ก็จะปฏิบัติผิดทางไปเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
จนกว่าวิบากกรรมจะเบาบางลง
อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ จะถูกหนอ ๆ หรือเปล่าเนี่ย

เฉลิมศักดิ์ : 29 มิ.ย.2008, 5:49 am



คุณเฉลิมศักดิ์ยังขาดความมั่นใจข้อธรรมที่นำมาพูด

ขาดความมั่นใจในแนวทางปฏิบัติของตน ว่าไหม

หากแนวทางที่คุณกรัชกายเผยแพร่ ยังไม่ใช่การปฏิบัติวิปัสสนา

เป็นมิจฉาทิฏฐิในวิปัสสนา


ขอฟังความเห็นแนวทางวิปัสสนาที่ถูกต้องของคุณหน่อยครับ

แต่เก็บลิงค์อาจารย์แนบของคุณเข้าลิ้นชัก ซัก คห. นะครับ

เอาครับวิปัสสนาที่ถูกต้องที่อยู่ในใจคุณเป็นไงครับ เอาชัดๆ

ครับ เจ๋ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 8:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิดเห็นที่ 5 เฉลิมศักดิ์

http://larndham.net/index.php?showtopic=32047&st=4

ได้เห็นข้อเขียนของคุณจากลิงค์ดังกล่าวว่า


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้าง

ขวาทับขาข้างซ้าย

เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรง กำหนดลมหายใจ

เข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับ

อารมณ์นั้น


กรัชกายอ่านแล้ว งงๆ ไม่เข้าใจความต้องการของคุณว่าสื่อถึง

อะไร

คุณเข้าใจการนั่งขัดสมาธิ - นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย

เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรง กำหนดลมหายใจ

เข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับ

อารมณ์


ว่าเป็นสมถกรรมฐานหรอไงครับ ประเด็นนี้คุณต้องอธิบายชัดๆ

แล้วครับ สาธุ

คุณมองการนั่งแบบนั้นเป็นสมถกรรมฐานใช่ไหม ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 8:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ กรัชกายเห็นคำถามจากสมาชิกใหม่ท่านหนึ่ง

เกี่ยวกับปฏิบัติกรรมฐานลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16402

คุณเข้าใจสมถะ-วิปัสสนาดี (คุณพูดเอง) กว่ากรัชกาย ช่วยแนะ

นำเค้าหน่อยครับถือว่า เอาบุญ


จขกท. ถามงี้ครับ=>


เมื่อมีเวลาตอนลูกๆ หลับแล้วจะสวดมนต์ทุกวัน

บางครั้งเคยนั่งสมาธิ แต่จิตมันกลัวเหลือเกิน ไม่รู้เป็นอะไร

ค่ะ

บางทีเหมือนจะเห็นอะไรก็เลย ไม่กล้าหลับตาต่อซะอย่างนั้น

เคยแบบว่ากำลังกำหนดๆ อยู่ แล้วคนที่บ้านเปิดประตูเข้ามาแบบ

ไม่ให้ซุ่มให้เสียง ตกใจลืมตาแบบอัตโนมัติเลยค่ะ แล้วเหมือน

ใจหาย วูบเลย

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นค่ะ

เคยถามหลายคนบอกว่า ถ้าเป็นแบบนี้ไม่ควรทำสมาธิเพราะ

เหมือนจิตเราตกใจง่าย

อาจจะทำให้เสียสติได้ จริงหรือเปล่าคะ

พอได้ยินอย่างนี้แล้วกลัว ไม่กล้าทำอีกเลย

ไม่ทราบพอจะมีคำแนะนำดีดีไหมคะ

อยากทำทุกวัน เริ่มวันละ 5-10 นาทีก็ยังดี


ปล. เมื่อก่อนตอนเด็กๆ เคยทำสมาธิก็ไม่เป็นแบบนี้นะคะ ไม่

เคยขี้ตกใจแบบนี้มาก่อนเลย ..แต่ตอนนี้เหมือนกลัวหูจะได้ยิน

อะไร บางทีเสียงก๊อกแก๊กเราก็คิดไปแล้วน่ะค่ะ ไม่ทราบควร

ทำอย่างไรดีคะ อยากมีสมาธิและจิตที่นิ่งกว่านี้น่ะค่ะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สามคำถามดังกล่าว โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับการ

เจริญสมาธิข้างบน ตอบนะครับ

หากไม่ตอบหรือทำมองไม่เห็นอีก ชื่อกระทู้นี้....ก็เป็นจริงดังว่า

นั้น สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 5:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอฝากถึงนักปฏิบัติสายพองหนอ ยุบหนอ ทุกท่าน

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา

http://larndham.net/index.php?showtopic=23508&st=0





อนึ่ง พระโยคีบางท่าน เพราะไม่เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะหรือการทำงานของสติสัมปชัญญะ ในเวลาที่กำหนดนามรูป จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่าในเวลานี้ไม่มีทั้งสติสัมปชัญญะ หรือว่ามีสติอย่างเดียว ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารเจริญสติสัมปชัญญะกำหนดรูปเดินได้อย่างถูกต้อง
เป็นความจริงว่า มีสภาวธรรมหลายอย่าง ที่คล้ายสติสัมปชัญญะ คือวิตกมีลักษณะคล้ายสติ เพราะวิตกเป็นธรรมชาติที่คิดนึก ดำริอารมณ์ เหมือนอย่างที่สติระลึกถึงอารมณ์ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นั้น ๆ เป็นลักษณะ เหมือนอย่างที่สติมีความเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์ เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น พระโยคีบางท่านผู้ไม่สามารถแยกความต่างกันระหว่างวิตกกับสติได้อย่างชัดเจน ในเวลาที่เดินอยู่ จิตนึกถึงอารมณ์ คือบัญญัติว่ารูปเดิน นึกถึงชื่อว่า รูปเดิน ด้วยกำลังของวิตกนั่นเทียว บริกรรมอยู่ในใจว่า “ รูปเดิน รูปเดิน “ ไม่ซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านนึกถึงอารมณ์อื่น ก็เข้าใจว่า ในเวลานั้น ตนนั้นเป็นผู้มีสติ หรือทำสติให้เกิดขึ้นได้แล้ว ความจริง เขาจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่ เพราะสักว่าเป็นการนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อ บริกรรมไปว่า “ รูปเดิน “ เท่านั้น มิได้สัมผัสตัวสภาวธรรมที่เป็นรูปเดินอย่างแท้จริงเลย การนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อ บริกรรมว่า “ รูปเดิน “ ไปอย่างนี้ หาชื่อว่ามีสติไม่ พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าหากว่ามีแต่การนึกอยู่ในใจ บริกรรมไปว่า “ รูปเดิน รูปเดิน “ ไม่มีความรู้สึกเข้าไปตั้งไว้คือออกไปที่อาการท่าทางที่ก้าวไปนั้นจริง ๆ แล้วไซร้ ในเวลานั้นไม่ชื่อว่ามีสติ เพราะว่า วาระนี้ ประสงค์สติที่เป็นสติปัฏฐาน อันมีความเข้าไปตั้งอยู่ที่อาการเดินนั้นเท่านั้น จริงอย่างนั้นผู้ปฏิบัติบางคน เพราะตุที่มีแต่การนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อแล้วบริกรรมไปว่า “ รูปเดิน “ อยู่ที่ใจ อย่างนี้นั่นเอง พอถูกอาจารย์สอบอารมณ์กรรมฐาน ถามว่า “ รูปเดินอยู่ที่ไหน ? “ ก็ตอบว่า “ อยู่ที่ใจ “ แทนที่จะอยู่ที่อาการหรือท่าทางที่ก้าวไปนั้น ทั้ง ๆ ที่ในเวลาที่ไม่ปฏิบัติ เมื่อจะสำคัญว่าเราเดิน ก็หาสำคัญที่ใจไม่ ที่แท้แล้ว ก็สำคัญผิดที่อาการท่าทางนั่นเทียว
อนึ่ง เพราะเหตุที่ไม่มีสติอย่างนี้ นั่นเอง ความรู้ว่าเป็นรูปเดินของเขา จึงเป็นความรู้ของสัญญา บริกรรมไปตามสัญญาเท่านั้น ไม่ใช่ความรู้ของสัมปชัญญะ เพราะเรียนรู้แล้วจำได้ด้วยสัญญามาก่อนว่า อาการอย่างนี้ท่าทางอย่างนี้เรียกว่า รูปเดิน แม้ว่าได้รู้อยู่บ่อย ๆ ก็เกี่ยวกับว่า ตนคอยบริกรรมเอาเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเกิดปัญญา ดุจเดียวกับคนที่เจริญกสิน นึกถึงดวงกสินมีปฐวีกสินเป็นต้น บริกรรมไปว่า “ ปฐวี ปฐวี, ดิน ดิน “ เป็นต้น ฉะนั้นอย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มีทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ
ส่วนผู้ปฏิบัติอีกท่านหนึ่ง สามารถทำสติให้เกิดขึ้นได้ กล่าวคือ ไม่ใช่สักแต่นึกบริกรรมว่า “ รูปเดิน รูปเดิน “ อยู่ที่ใจ แต่ทว่า สามารถให้ความรู้สึกออกไปที่อาการท่าทางที่ก้าวเดินไปแต่ละก้าวนั้นได้จริง ๆ ในเวลานั้น ก็มีจิตใจสำรวมอยู่ในอาการนั้น เท่านั้น ไม่ซัดส่ายวุ่นวายไปในอารมณ์อื่น นับว่าได้ปัจจุบันอารมณ์ ถึงกระนั้น ก็ไม่เกิดความรู้ว่า “ นี้รูปเดิน , กำลังดูรูปเดินอยู่ “ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ชื่อว่า มีสติอย่างเดียว ไม่มีสัมปชัญญะ หรือแม้จะมีความรู้ว่า “ นี้รูปเดิน “ บ้าง ก็ตอนที่ออกเดินใหม่ ๆ เท่านั้น แล้วความรู้นั้นก็หมดไป หลังจากนั้น ก็ไม่มีความรู้ว่า “ นี้รูปเดิน “ เกิดขึ้นอีกเลย ตลอดเวลาที่ยังเดินอยู่เหลือแต่อยู่สัญญาความจำได้เท่านั้น สัญญานี้ พระผู้มีพระภาคทรงเปรียบไว้ว่า เหมือนพยับแดด เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า “ มรีจิกูปมาสญฺญา “ แปลว่า “ สัญญามีอุปมาด้วยพยับแดด “ ดังนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 5:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

--------------------------------------------------------------------------------
สามคำถามดังกล่าว โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับการ

เจริญสมาธิข้างบน ตอบนะครับ

หากไม่ตอบหรือทำมองไม่เห็นอีก ชื่อกระทู้นี้....ก็เป็นจริงดังว่า

นั้น



คุณกรัชกายครับ ผมได้ยกหลักฐานการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา และพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก

สรุปแล้วคงไม่มีทางสายไหน แก้อารมณ์ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ของคุณได้

ก็ขอให้คุณภาวนาต่อไปเถิด หากมีประเด็นใหม่ ค่อยมาสนทนากันอีกครั้งนะครับ

ถูกหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 7:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้าว..คุณเฉลิมศักดิ์ครับ คุณจะตัดบทเอาดื้อๆ โดยทิ้งปัญหาคาใจ

เอาไว้อย่างนี้หรอครับ เศร้า

ก่อนไปอย่างน้อยควรเฉลยปัญหาให้กระจ่างก่อน

ที่คุณกล่าวว่า


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้าง ขวา
ทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรง กำหนดลมหายใจ
เข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับ
อารมณ์นั้น


กรัชกายไม่เข้าใจจึงถาม ว่าที่เค้านั่งขัดสมาธิเอาเท้าขวาทับเท้า

ซ้าย ฯลฯ เป็นสมถกรรมฐานหรอ

ถามเพราะอยากรู้นะครับ กลับมาเช็ดสิ่งที่คุณทำเปื้อนไว้ด้วย

ครับ สาธุ

แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ด้วยครับ เมื่อนั่งอย่างนั้น เป็นสมถกรรม

ฐานแล้ว นั่งวิปัสสนากรรมฐานที่คุณทำอยู่ล่ะนั่งท่าไหน ?
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 7:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

สรุปแล้วคงไม่มีทางสายไหน แก้อารมณ์ภาวนาพองหนอ ยุบ

หนอของคุณได้



ที่ถามไว้ที่ (กรัชกาย : 29 มิ.ย.2008, 8:24 am) ไม่ใช่อารมณ์

ของกรัชกาย

หรืออารมณ์ของพองหนอ ยุบหนอ...เป็นอารมณ์ธรรมชาติครับ

ใครก็ได้ครับ รู้จักธรรมชาติ ผู้นั้นก็เข้าใจ พอง-ยุบ

หรืออานาปานสติกรรมฐาน

สรุปอย่างนี้สากลกว่าครับ ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 8:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ก็ขอให้คุณภาวนาต่อไปเถิด หากมีประเด็นใหม่ ค่อยมาสนทนากันอีกครั้งนะครับ
ถูกหนอ ๆ ๆ



โอ.เค. ครับ ยิ้มเห็นฟัน

ได้ประเด็นใหม่แล้วครับ

กรัชกายจะทิ้งหนอแล้วนะครับ ยิ้ม

โดยใช้ ครับ/ค่ะ แทนหนอ

ดูตัวอย่างครับ

“ทุกข์ครับๆๆ” “ทุกข์ค่ะๆๆ”

“สุขครับๆ” “สุขค่ะๆ” “เห็นครับๆๆ” “ เห็นค่ะๆๆ”

"เสียงครับ" "เสียงค่ะ"“ สั่นค่ะๆๆ” “สั่นครับๆๆ” ฯลฯ

คุณเห็นด้วยไหมครับ อายหน้าแดง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ส.ต.อ.ขรรค์ชัย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 21 พ.ค. 2007
ตอบ: 50
ที่อยู่ (จังหวัด): ชุมพร

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 4:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การภาวนา ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะใช้ได้หลากหลาย ตามที่ดวงจิตผูกพัน เช่น ภาวนาว่า "พุทธเจ้า" หรือ "พระพุทธเจ้า" หรือ "กวนอิม"

ถ้านั่งสมาธิ พนมมือส่งจิตไปที่พระพุทธรูป ซึ่งสมมุติเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้องค์พุทธรูปซึ่งนิมนต์เข้ามาอยู่กลางใจนั้นเป็นองค์นิมิต ใช้องค์ภาวนาว่า "พุทธ"

หรืออาจภาวนาว่า "เมตตา" และนิมิตนั้นเป็นดอกบัว เป็นต้น
 

_________________
นิพพานคือการดับความยึดมั่นถือมั่นเราจะเข้าถึงนิพพานได้อย่างไร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 5:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณขรรค์ชัย ใช้กรรมฐานอะไรครับ ฝึกทำมานานหรอยังครับ
สนทนากันได้นะครับ แลกเปลี่ยนแนวทางกัน

คุณขรรค์ชัย พอรู้เรื่องการประทับทรงไหมครับ เช่น เข้าทรงเจ้าแม่
เจ้าพ่อ ฯลฯ ประมาณเนี่ยครับ ถามเป็นความรู้รอบตัวครับ


ขอส่งข่าวถึงคุณเฉลิมศักดิ์หน่อยด้วย

มีประเด็นใหม่ดังกล่าวแล้วครับคุณเฉลิมศักดิ์ เข้ามาสนทนากันอีก

ครับ

เห็นคุณแว๊บๆที่ ยิ้ม


http://larndham.net/index.php?showtopic=32208&st=15
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ส.ต.อ.ขรรค์ชัย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 21 พ.ค. 2007
ตอบ: 50
ที่อยู่ (จังหวัด): ชุมพร

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณกรัชกาย

ข้าพเจ้าทำกรรมฐานโดยการหลับตานั่งสมาธิ

ข้าพเจ้าได้ฝึกกรรมฐานมานานแล้ว และละเลยไปนาน ตอนนี้กำลังกลับมาปฏิบัติอีกครั้ง จึงยังใหม่อยู่มากสำหรับเรื่องนี้ อายหน้าแดง

เริ่มแรก ข้าพเจ้า ปฏิบัติแบบ สมถกรรมฐาน ตั้งใจบังคับใจตนเอง ทำใจให้สงบ ระงับกิเลส โดยการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับคำนั้น เช่น ท่องถ้อยคำนั้นซ้ำๆ จะว่าเป็นการทำสมาธิโดยวิธีการเพ่งก็ได้

บางครั้ง ก็เป็นการระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดพรหมวิหาร ๔ ที่เรียกว่า อนุสสติกรรมฐาน

ต่อมา ข้าพเจ้า ปฏิบัติแบบ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการตั้งใจรับความรู้สึกโดยไม่ผ่านแนวความคิด มีสติ รู้ตัว รู้ถึงการสัมผัสทางทวารทั้ง ๖ เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร ทำจิตให้ว่าง มีความปิติสุข ปล่อยวาง

ส่วนการประทับทรงพอจะมีความรู้บ้าง จากการอ่านหนังสือ การฟัง และจากการได้ไปดูการประทับทรงด้วยตัวเอง คุณกรัชกาย อยากรู้เน้นไปทางด้านไหนบ้าง หรือทั่วๆไป อืมม์
 

_________________
นิพพานคือการดับความยึดมั่นถือมั่นเราจะเข้าถึงนิพพานได้อย่างไร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ส่วนการประทับทรงพอจะมีความรู้บ้าง จากการอ่านหนังสือ การฟัง และจากการได้ไปดูการประทับทรงด้วยตัวเอง คุณกรัชกาย อยากรู้เน้นไปทางด้านไหนบ้าง หรือทั่วๆไป



เสียดายที่คุณขรรค์ชัยไม่เคยทรงด้วยตนเอง เศร้า

หากเคยทรงบ้าง กรัชกายจะขอคำแนะนำวิธีเข้าทรงหน่อย อยากเข้า

ทรงได้ครับ

อ้อ...แล้วที่คุณไปดูเขาประทับทรง....เขาทรงอะไรกันครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 9:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัจจุบันยังมีผู้เข้าใจสมถะกับวิปัสสนาผิดไปไกลจากคำสอนทางศาสนาอยู่

มาก

บางกลุ่มเห็นวิธีปฏิบัติภายนอก เช่น เห็นการนั่ง...ว่าเป็นสมถะ

คือเห็นการนั่งอย่างนั้นเป็นสมาธิ หรือ เป็นสมถะไป

ตัวอย่างความเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์ที่ว่า

สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น
นั่งเอาขาข้าง ขวา ทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรง กำหนดลมหายใจ
เข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับ
อารมณ์นั้น


อีกบอร์ดหนึ่งก็เห็นว่า การกำหนดรู้สภาวธรรมตามเป็นจริง

(ปริญญากิจ) ว่าเป็นสมถะเหมือนกัน

เช่นที่ว่า =>

ถ้าไปกำหนด ก็ไม่อาจจะเจริญวิปัสสนาได้ การกำหนดเป็นการทำสมถะเท่านั้น


http://larndham.net/index.php?showtopic=31946&st=1

ทั้งสองกลุ่มเห็นเพียงพฤติกรรมภายนอกเท่านั้น มองไม่ลึกถึง

นามธรรมซึ่งทำงานอยู่ภายใน

แล้วยังเข้าใจจงกรมว่ามีทั้งจงกรมที่เป็นสมถะและจงกรมที่เป็นวิปัสสนา

ไปโน่นอีก เศร้า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง