Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=67591#67591


อ้างอิงจาก:
การตามดูรู้ทันสภาวะที่เกิดแต่ละขณะๆตามเป็นจริง เช่น สั่นหนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ
ยินดีหนอ ไม่ยินดีหนอ ฯลฯ
นั่นแหละหนทางพ้นทุกข์ หนทางไปสู่นิพพานอย่างใดอย่างหนึ่งแน่ครับ

พิจารณาพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับนิพพานไว้ ดังนี้

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยอ้อม
(โดยปริยาย)

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยตรง (โดยนิปปริยาย)
องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว
หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน”
สํ. ข.17/88/54



คุณกรัชกาย คุณอ้างพระพุทธพจน์มาสนับสนุนแนวทาง ยุบหนอ พองหนอ ของคุณว่า เป็นไปเพื่อให้ได้ ฌาน เช่น ปฐมฌาน แล้วย่อมเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง


แสดงถึงความไม่เข้าใจในการปฏิบัติ สมถะ - วิปัสสนา ของคุณอย่างยิ่ง

ผมอาจจะกล่าวรุนแรงไป ว่าความคิดคุณเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา ดังพระวิปัสสนาจารย์ ซึ่งเป็นศิษย์ของอาจารย์แนบ กล่าวว่า

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7



นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

--------------------------------------------

คุณกรัชกาย ครับ จากพระผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านหนึ่งที่เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ท่านได้อ้างพระพุทธพจน์ อรรถกถา ถึงการปฏิบัติวิปัสสนาของผู้ได้ฌานดังนี้

สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0
----------------------------------------------

ผมขอสรุปนะครับว่า แนวทางวิปัสสนายานิกะ จากท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก สามารถแก้อารมณ์พองหนอยุบหนอ ที่เข้าใจผิดคิดว่า สมถะ คือ วิปัสสนาได้ครับ

คุณกรัชกายเห็นด้วยไหมครับ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=67591#67591

อ้างอิงจาก:
สติ แปลว่า การตามระลึกรู้อารมณ์
ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง (ของการเพ่ง)
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ฐาน หรือที่ตั้งอันเป็นที่รองรับของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ



ใครแปลให้คุณนำมาเผยแพร่ครับคุณเฉลิมศักดิ์

แปลใหม่นะครับ สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง
การที่สติเข้าไปตั้งอยู่คือมีสติกำกับอยู่บ้าง….

หากจะแยกศัพท์ให้ละเอียดจริงๆ สติ+ป+ฐาน
แยกง่ายๆ สติ+ปัฏฐาน ก็ได้ ตัว ป เป็นอุปสรรค แปลว่า ทั่ว ข้างหน้า ก่อน ออก
(ไม่ใช่แปลว่า ประเสริฐดังที่คุณเข้าใจนะครับ)
อรรถอุปสรรค คือคล้อยตามธาตุ สังหารธาตุ
ในที่นี้ ป คล้อยตามตามธาตุ คือ ฐาน แปลว่าที่ตั้ง

สติปัฏฐาน เมื่อต้องการกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ เอาแต่เนื้อ ได้แก่ สติซึ่งทำงานอยู่บนฐาน 4 ฐาน
คือ ฐานกาย 1 ฐานเวทนา 1 ฐานจิต 1 และฐานธรรม 1 เท่านี้ ก็คุมอรรถสาระไว้หมดดิ้นไม่ได้
คุณว่าจริงไหมครับ


คุณกรัชกายครับ คำว่า ประเสริฐของผู้แปล อาจจะหมายถึงอารมณ์ฝ่ายดี นะครับ


จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๗
http://abhidhamonline.org/aphi/p7/026.htm

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔

สติ คือ ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี ยับยั้งมิให้จิตตกไปในทางชั่ว หรือ ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์อันเป็นฝ่ายดี

ปัฏฐาน คือ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์

ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ ความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มี ความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม

สติตั้งมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี้มีจุดประสงค์จำแนกได้เป็น ๒ ทาง คือ

๑. สติตั้งมั่นในการพิจารณา บัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถ ภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุฌานสมาบัติ

๒. สติตั้งมั่นในการพิจารณา รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมัคค ผล นิพพาน


--------------------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ การที่คุณเข้าใจว่า คุณมีสติกับบัญญัติ ยุบหนอ พองหนอ สั่นหนอ ๆ ๆ สุขหนอ ๆ ๆ เมื่อยหนอ ๆ ๆ ยกหนอ ๆ ๆ

และ สมมุติบัญญัติต่าง ๆ ที่มี หนอ ต่อท้ายนั้น คือ สมถะ ภาวนา แต่คุณเข้าใจผิดว่าคือ วิปัสสนา

คันถธุระ เท่านั้น ที่จะแก้อารมณ์ความเห็นผิดของคุณได้

แต่ถ้าคุณไม่ยอมรับ ก็ไม่มีใครแก้อารมณ์พองหนอ ยุบหนอ ของคุณได้หรอก


คุณไม่ต้องไปเที่ยวประกาศหาว่า แนวทางไหนจะแก้อารมณ์ผิด ๆ ของคุณได้เลย

ผมพูดตรงไปหรือเปล่านี้ อย่าโกรธคนที่คุณบอกว่า เป็นสหายธรรม นะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ ผมเคยอ่านแนวทางการปฏิบัติของคุณที่อ้างว่า เป็น สติปัฏฐาน ๔ โดยภาวนายุบหนอ พองหนอ คือ กายานุปัสสนา ภาวนา ทุกข์หนอ ๆ ๆ คือ เวทนานุปัสสนา

ผมจำไม่ได้ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน คุณช่วยนำมาแสดงด้วยนะครับ

แต่ไม่ต้องอ้างนะครับว่าเป็น

สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า) 2
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232&start=0

เพราะถ้าหากไม่ใช่แล้ว บาปกรรมเปล่า ๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ การที่คุณเข้าใจว่า คุณมีสติกับบัญญัติ ยุบหนอ พองหนอ สั่นหนอ ๆ ๆ สุขหนอ ๆ ๆ เมื่อยหนอ ๆ ๆ ยกหนอ ๆ ๆ
และ สมมุติบัญญัติต่าง ๆ ที่มี หนอ ต่อท้ายนั้น คือ สมถะ ภาวนา แต่คุณเข้าใจผิดว่าคือ วิปัสสนา

คันถธุระ เท่านั้น ที่จะแก้อารมณ์ความเห็นผิดของคุณได้
แต่ถ้าคุณไม่ยอมรับ ก็ไม่มีใครแก้อารมณ์พองหนอ ยุบหนอ ของคุณได้หรอก
คุณไม่ต้องไปเที่ยวประกาศหาว่า แนวทางไหนจะแก้อารมณ์ผิด ๆ ของคุณได้เลย

ผมพูดตรงไปหรือเปล่านี้ อย่าโกรธคนที่คุณบอกว่า เป็นสหายธรรม

เฉลิมศักดิ์ : 25 มิ.ย.2008, 5:50 am



หลักเบื้องต้นมีว่า เมื่อกระทบกับ อิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ชอบใจไม่ชอบใจ ฯลฯ ท่านให้กำหนดตามเป็นจริง ดีใจหนอๆ โกรธหนอๆๆ ยิ้มเห็นฟัน
นี่คือแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน


คุณน่ะคันถธุระเกินไป ขาดวิปัสสนาธุระ
คือรู้จักแต่ศัพท์ “คันถธุระ” และศัพท์ “วิปัสสนา”
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือรู้จักแต่ชื่อ แต่ไม่รู้จักสภาวะของสมถะและวิปัสสนา ยิ้ม

กล่าวตรงๆอย่างนี้คุณโกรธไหม โกรธ ไม่โกรธ คุณมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อิริยาบถบังทุกข์ลักษณะ จากหลักฐานในคัมภีร์
วิสุทฺธิ. 3/275; วิภงฺค. อ. 65; วิสุทฺธิ. ฎีกา. 3/522
ดูอธิบายเต็มๆ ที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357

เนื้อความติดต่อกันครับ แต่จะซอยสั้นๆลงเพื่อสะดวกต่อการติดตามอ่าน

กรัชกาย 24 มิ.ย.2008, 7:58 am



คุณกรัชกายครับ ในหลักการปฏิบัติวิปัสสนา ท่านจึงให้กำหนดรู้ทุกข์ก่อนที่จะเปลี่ยนอิริยาบถครับ
ดังที่ท่านอาจารย์แนบ อธิบายว่า….

เฉลิมศักดิ์ 25 มิ.ย.2008, 5:00 am
.


คุณก็เอ๊ะอะอะไรก็อาจารย์แนบๆ อาจารย์บุญมีๆ ยิ้ม

ประเด็นอิริยาบถบังทุกข์ลักษณะจากคัมภีร์
วิสุทฺธิ. 3/275; วิภงฺค. อ. 65; วิสุทฺธิ. ฎีกา. 3/522

เป็นต้นว่า =>


เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ

พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย

เป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย

หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ

จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้


เมื่อไม่รู้สึกทุกข์

ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ



คุณนึกไม่เห็น มองไม่ออกเลยหรอครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

คุณกรัชกายครับ ผมเคยอ่านแนวทางการปฏิบัติของคุณที่อ้างว่า เป็น สติปัฏฐาน ๔ โดยภาวนายุบหนอ พองหนอ คือ กายานุปัสสนา ภาวนา ทุกข์หนอ ๆ ๆ คือ เวทนานุปัสสนา
ผมจำไม่ได้ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน คุณช่วยนำมาแสดงด้วยนะครับ
แต่ไม่ต้องอ้างนะครับว่าเป็น

สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า) 2
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232&start=0
เพราะถ้าหากไม่ใช่แล้ว บาปกรรมเปล่า ๆ

เฉลิมศักดิ์ 25 มิ.ย.2008, 5:57 am


กันความสับสนขอแนะนำให้ผู้ศึกษาแนวปฏิบัติหลักสติปัฏฐานตามลำดับลิงค์

ลิงค์ที่หนึ่ง
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497&postdays=0&postorder=asc&start=0
ลิงค์ที่สอง
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232&start=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ ผมเคยอ่านแนวทางการปฏิบัติของคุณที่อ้างว่า เป็น สติปัฏฐาน ๔
โดยภาวนายุบหนอ พองหนอ คือ กายานุปัสสนา ภาวนาทุกข์หนอ ๆ ๆ คือ เวทนานุปัสสนา
ผมจำไม่ได้ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน คุณช่วยนำมาแสดงด้วยนะครับ
แต่ไม่ต้องอ้างนะครับว่าเป็น

เฉลิมศักดิ์ 25 มิ.ย.2008, 5:57 am



ก่อนตอบคำถาม ที่อ้างว่า เป็น สติปัฏฐาน ๔
โดยภาวนายุบหนอ พองหนอ คือ กายานุปัสสนา ภาวนาทุกข์หนอ ๆ ๆ คือ เวทนานุปัสสนา
ผมจำไม่ได้ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน คุณช่วยนำมาแสดงด้วยนะครับ


คุณเฉลิมศักดิ์พิจารณาข้อธรรม (ธรรมนุธรรมปฏิบัติ) ซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติธรรมก่อน ดังนี้

-ธรรมานุธรรมปฏิบัติ แปลว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือปฏิบัติธรรมหลักย่อย
คล้อยตามหลักใหญ่

แปลง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้
สอดคล้องกันและส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ***

-ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า การปฏิบัติธรรม
หรือ การกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดมุ่งหมายได้หรือไม่

ถ้าไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม หรือ ดำเนินตามหลักการก็คลาดเคลื่อน
ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้าม คือ
เกิดโทษขึ้นได้

ธรรมทุกข้อมีอรรถ หลักการทุกอย่างมีความมุ่งหมาย ธรรมเพื่ออรรถ หลักการเพื่อจุดหมาย
จะทำอะไรต้องถามได้ตอบได้ ว่าเพื่ออะไร ในทางธรรมท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิดมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องไว้มาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในการปฏิบัติธรรมหรือกระทำการตามหลักการใดๆก็ตาม จะต้องเข้าใจความหมายและความมุ่งหมายของธรรมหรือหลักการนั้นๆว่า ปฏิบัติหรือทำไปเพื่ออะไร ธรรมหรือหลักการนั้นกำหนดวางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุดท้ายปลายทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่างที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรมหรือหลักการข้ออื่นๆ

ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้องที่เรียกว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ มีความสำคัญอย่างไร พึงพิจารณาข้อความสั้นๆ จากบาลี ดังนี้


“การบำเพ็ญอรรถ (ประโยชน์) โดยคนที่ไม่รู้จักอรรถ (คือ ไม่

รู้จักประโยชน์ที่พึงหมาย)

ไม่ช่วยนำความสุขมาให้เลย คนเขลาย่อมผลาญอรรถ

(ประโยชน์) เสีย เหมือนดังลิงเฝ้าสวน”
(ขุ.ชา.27/46/15)

“พึงวิจัยธรรมให้ถึงต้นเค้า จึงจะเข้าใจอรรถ แจ้งชัดด้วย

ปัญญา”
(องฺ. สตฺตก.23/3-4/3-4)

“ผู้ปฏิบัติธรรมถูกหลัก (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ) เป็นบุคคลหาได้

ยาก (ประเภทหนึ่ง) ในโลก”
(องฺ.ปญฺจก. 22/143/189; 195/267)

“ท่านสารีบุตร อะไรหนอ ทำได้ยากในธรรมวินัยนี้ ?”

“การบวชสิท่าน ทำได้ยากในธรรมวินัยนี้”

“ผู้ที่บวชแล้ว อะไรทำได้ยาก ?”

“ความยินดีสิท่าน ผู้บวชแล้วทำได้ยาก”

“ผู้ยินดีแล้ว อะไรเล่า ทำได้ยาก ?”

“ธรรมานุธรรมปฏิบัติสิท่าน อันผู้ยินดีแล้ว ทำได้ยาก”

“นานสักเท่าไรหนอ ภิกษุผู้ธรรมานุธรรมปฏิบัติ จึงจะได้เป็น

พระอรหันต์ ?”

“ไม่นานเลยท่าน”

(สํ. สฬ. 18/512/320)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก

การ ตามความมุ่งหมาย

คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อแก่หรือเป็น

ไปเพื่อหลักเบื้องปลาย

เช่น ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน มิ

ใช่ปฏิบัติโดยงมงาย

ไร้หลักการ หรือทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ

ในคัมภีร์จูฬนิเทส (ขุ.จู.30/797/417) แสดงตัวอย่างธรรมหรือ

ธรรมหลักใหญ่

เช่น สติปัฏฐาน 4 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น (คือโพธิปักขิยธรรม 37

นั่นเอง)


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497&postdays=0&postorder=asc&start=45
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวอย่างความหมายของธรรมานุธรรมปฏิบัติจากบาลีและอรรถกถา

คือ ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสอดคล้อง ปฏิบัติไม่ขัด ปฏิบัติคล้อยตาม

อรรถ
(ขุ.จู. 30/540/270)

คือ ดำเนินปฏิปทาที่เป็นธรรมคล้อยตามนิพพานธรรมซึ่งเป็น

โลกุตระ
(สํ.อ.2/43)

คือ ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอันเป็นธรรมน้อย เพราะสอดคล้อยแก่

โลกุตรธรรม
(สุตฺต.อ.2/162)

โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่าธรรม วิปัสสนา เป็นต้น ชื่อว่าอนุธรรม

ปฏิปทาอันเหมาะสมกันแก่ธรรมนั้น ชื่อว่าธรรมปฏิปทา
(นิทฺ.อ.1/79)

(จากพุทธธรรมหน้า 687)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ ผมเคยอ่านแนวทางการปฏิบัติของคุณที่อ้างว่า
เป็น สติปัฏฐาน ๔ โดยภาวนายุบหนอ พองหนอ คือ กายานุปัสสนา
ภาวนา ทุกข์หนอ ๆ ๆ คือ เวทนานุปัสสนา
ผมจำไม่ได้ว่าเคยอ่านเจอที่ไหน คุณช่วยนำมาแสดงด้วยนะครับ
แต่ไม่ต้องอ้างนะครับว่าเป็น
สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า) 2
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232&start=0
เพราะถ้าหากไม่ใช่แล้ว บาปกรรมเปล่า ๆ

เฉลิมศักดิ์ 25 มิ.ย.2008, 5:57 am



คุณเฉลิมศักดิ์ต้องเข้าใจความหมายของธรรมานุธรรมปฏิบัติก่อนนะ
เมื่อเข้าใจดีแล้ว ก็มาดูว่า วิธีปฏิบัติตามแนวพองยุบ เป็นต้น
ว่าลงกับแนวสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น อย่างไร
แบหลักให้ดูก่อนดังนี้

1) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)
2) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
3) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
4) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทัน)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497&postdays=0&postorder=asc&start=0


ดูการจัดการปฏิบัติกรรมฐานแบบพองยุบ เป็นต้นเข้ากับสติปัฏฐาน 4 ดังนี้


1. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ซ้าย ย่าง หนอ

ขวา ย่าง หนอ เป็นต้น

ลงกับกายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)

2. สุขหนอ ทุกข์หนอ เฉยๆ หนอๆ

ลงกับเวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)

3. อยากได้หนอ โกรธหนอ หลงหนอ ไม่อยากได้หนอ เป็น

ต้น

ลงกับจิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)

4. สงสัยหนอ หายสงสัยหนอ ง่วงหนอ ฟุ้งซ่านหนอ รำคาญ

หนอ ฯลฯ

ก็ลงกับธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทัน )


โดยหลักการแล้ว คุณเฉลิมศักดิ์รับได้ไหม หรือ มีอะไรแนะนำ

ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

แต่ที่คุณกล่าวว่า
แต่ข้อสำคัญขอให้ได้เข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนา
ขอคำแนะนำการปฏิบัติวิปัสสนา หรือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อเป็นแนวทางจากคุณด้วยครับ
กล่าวพอเข้าใจก็ได้ ไม่เอาลิงค์ครับ นี่ประเด็นหนึ่ง
อีกคำถามหนึ่งครับที่ผ่านมา “ทางสายเอก” ที่คุณกล่าวถึง = >

เพราะทางที่คุณเดินอาจจะไม่ใช่ทางสายเอก ของพระพุทธองค์ก็ได้
ผมได้เกิดความสงสัยขึ้นว่า แนวทางนี้จะใช่แนวทาง สายเอก หรือไม่ ?

“ทางสายเอก” หมายถึง...และได้แก่อะไรครับ
บอกพอเป็นที่เข้าใจ และนำไปปฏิบัติก็พอครับ

กรัชกาย 23 มิ.ย.2008, 11:15 am



ทางสายเอก ทั้งคุณและอีกบอร์ดหนึ่งกล่าวถึงบ่อยๆ

กรัชกายถามก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบจากคุณเลย

ขอความกรุณาตอบด้วยครับว่า “ทาง สายเอก” ที่กล่าวอ้าง

หมายถึงอะไร ได้แก่อะไรครับ

แล้วคุณมีวิธีปฏิบัติตามทางสายเอกนั้นอย่างไรครับ


หากไม่ตอบประเด็นนี้อีก จะสรุปว่า คุณตอบไม่ได้ และพูดถึงอ้าง

ถึงเพื่อ ...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 5:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ขอความกรุณาตอบด้วยครับว่า “ทาง สายเอก” ที่กล่าวอ้าง

หมายถึงอะไร ได้แก่อะไรครับ

แล้วคุณมีวิธีปฏิบัติตามทางสายเอกนั้นอย่างไรครับ



ทางสายเอกของพระพุทธองค์ คือ สติปัฏฐาน ๔ ครับ

วิธีปฏิบัติ ผมได้อาศัย พระไตรปิฏก อรรถกถา พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ดังนี้


๙. มหาสติปัฏฐานสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=10&A=6257
อรรถกถา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
------------------------------------------------------
ประวัติการปฏิบัติธรรมของ อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-07-01.htm


ทุกข์และการกำหนดทุกข์
โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm


เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ โดยท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/article.htm



การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://larndham.net/index.php?showtopic=23508&st=0
อ้างอิงพระบาลี อรรถาธิบาย จากหนังสือ อุบายดับทุกข์ โดย อ. ไชยวัฒน์


------------------------------------------------------------

บทสรุป ทางสายเอก


http://www.geocities.com/toursong1/kam/ch.htm

ไม่ว่าจะเป็น กิเลส อนุสัย หรืออาสวะ ล้วนเป็นชื่อของหมวดหมู่ที่กล่าวถึงอกุศลมูลทั้งสิ้น และเป็นที่แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ย่อมมีอยู่ในบุคคลโดยทั่วไป และเป็นเหตุให้เขาเหล่านั้นต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏทุกข์อย่างนับภพนับชาติไม่ถ้วน ล้วนไม่มีโอกาสที่หลุดรอดออกไปจากสังสารวัฏได้ แต่เพราะด้วยพระมหากรุณา-ธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงมุ่งมาดปรารถนาช่วยเหลือเหล่า

เวไนย์ให้ไปได้พ้นจากห้วงเหวแห่งความทุกข์ พระองค์จึงทรงอุบัติเพื่อตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเห็นว่า “พระนิพพาน” เท่านั้น ที่จะทำให้สัตว์ทั้งหลายที่สามารถเข้าถึงได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป และทรงชี้หนทางที่จะไปสู่พระนิพพาน ว่า

“เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา

โสก ปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกข์โทมนสฺสานํ

อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส

สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ”

แปลความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงจากความโศก ความร่ำไห้ เพื่อความดับสิ้นไปจากทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมวิเศษที่ควรรู้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทางนั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ “

ดังนั้นผู้ใดที่ปรารถนาจะนำชีวิตไปให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จะต้องปฏิบัติตนตามทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ คือ “สติปัฏฐาน ๔” เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะเมื่อบุคคลใดแจ้งในพระนิพพาน บุคคลผู้นั้นย่อมกระทำภพชาติที่มีอยู่ให้เป็นภพชาติสุดท้ายได้ คือ เมื่อตายแล้ว ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป


--------------------------------------------------------------------------------

สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร

สติ แปลว่า การตามระลึกรู้อารมณ์

ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง (ของการเพ่ง)

สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ฐาน หรือที่ตั้งอันเป็นที่รองรับของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ เพราะเป็นการตามระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ (รูป-นาม) ที่เกิดขึ้นตามฐาน ซึ่งมี ๔ ฐานด้วยกัน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ผู้ใดที่มีการปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักของสติปัฏฐาน ย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาปัญญา อันเป็นปัญญาที่เข้าถึงสภาวธรรมของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ในที่สุด ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ สามารถทำลายวิปลาสธรรม ๔ ประการได้ คือ

๑. กายานุปัสสนาสติปัฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณากาย ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงรูปนั้นเป็นอสุภะ เป็นการทำลาย สุภวิปลาส

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาเวทนา ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงเแล้ว นามเป็นทุกข์ เป็นการทำลาย สุขวิปลาส

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วนามเป็นอนิจจัง เป็นการทำลาย นิจจวิปลาส

๓. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นทั้งรูปธรรม และนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว รูป และนามนั้น เป็นอนัตตา เป็นการทำลาย อัตตวิปลาส

โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวิปลาสธรรมเสมอ วิปลาสธรรม หมายถึง ธรรมที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยรู้เลยว่า ชีวิตคือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันประกอบขึ้นจาก จิต เจตสิก และรูป ที่มีการเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ทั้งนี้เพราะ อาสวะ และอวิชชา ที่เรามีมาเนิ่นนานจนนับภพนับชาติไม่ถ้วน ประกอบกับตัวการสำคัญที่มาคอยปิดบัง ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงสภาวธรรมของความจริงอันได้แก่ “ไตรลักษณ์” ได้ นั่นคือ

๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง เพราะสันตติ คือ การเกิดสืบต่อของนามรูปที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความเกิด และความดับของนามรูปได้ เราจึงเข้าใจผิดว่ามีความเที่ยงแท้ถาวร (นิจจัง)

๒. อิริยาบถ ปิดบัง ทุกขัง เพราะการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่มีอยู่เกือบตลอดเวลา จึงทำให้คนเรามองไม่เห็นทุกข์ที่เกิดจากอิริยาบถเก่า ด้วยอำนาจของตัณหาคนเราจึงไขว่คว้าหาความสบายจากอิริยาบถใหม่ เมื่อเปลี่ยนแล้วหลงเข้าใจว่าเป็นสุข การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจึงปิดบังทุกขเวทนา ทำให้ไม่สามารถเห็นทุกขสัจจะได้

๓. ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตา เพราะ ฆนสัญญา คือ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เกิดจากการประชุมกันของรูปธรรม และนามธรรม จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่าชีวิตเป็นตัวตน (อัตตา)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 5:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ดูการจัดการปฏิบัติกรรมฐานแบบพองยุบ เป็นต้นเข้ากับสติปัฏฐาน 4 ดังนี้

1. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ซ้าย ย่าง หนอ

ขวา ย่าง หนอ เป็นต้น

ลงกับกายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)

2. สุขหนอ ทุกข์หนอ เฉยๆ หนอๆ

ลงกับเวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)

3. อยากได้หนอ โกรธหนอ หลงหนอ ไม่อยากได้หนอ เป็น

ต้น

ลงกับจิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)

4. สงสัยหนอ หายสงสัยหนอ ง่วงหนอ ฟุ้งซ่านหนอ รำคาญ

หนอ ฯลฯ

ก็ลงกับธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทัน )


โดยหลักการแล้ว คุณเฉลิมศักดิ์รับได้ไหม หรือ มีอะไรแนะนำ

ครับ


รับไม่ได้หนอ รับไม่ได้หนอ รับไม่ได้หนอ


เพราะหนอเป็นบัญญัติ เพ่งให้เกิดได้เพียง สมาธิ และสูงสุด คือ ฌาน

แต่คุณกรัชกายครับ ครูบาอาจารย์สายหนอ ก็เหมือนคุณกรัชกาย คือ ไม่ยอมรับว่า เป็น สมถะ

และก็ไม่เคยแนะนำว่า จะนำ ฌาน นั้นมาเป็นบาทของวิปัสสนาต่ออย่างใด

เลยไม่มีใครจะแก้อารมณ์พองหนอ ยุบหนอ ของคุณได้

------------------------------------------------

การนำฌานมาเป็นบาทของวิปัสสนา


วิสุทธิมรรค
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.8.html



แลทิฏฐิวิสุทธินั้น มีอรรถาธิบายเป็นประการใด

อันว่าปัญญาอันพิจารณาซึ่งนามรูปโดยสามัญลักษณะ มีสภาวะเป็นวิปริณามธรรม บ่มิเที่ยงเป็นอาทิก็ดี โดยสภาวะลักษณะ คือลักษณะแห่งตนบ่มิได้ทั่วไปแก่สิ่งอื่นมีอาทิคือ “ผุสฺสนลกฺขโณผสฺโส ” อันว่าผัสสะเจตสิกอันมีถูกต้องเป็นลักษณะ “กฺกขฬลกฺขณา ปวี ” อันว่าปฐวีธาตุมีสภาวะกระด้างเป็นลักษณะ ปัญญาอันพิจารณาเห็นโดยสภาวะลักษณะเป็นอาทิดังนี้ก็ดี ก็ได้ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เหตุปัญญาดังพรรณนามานี้ ชำระเสียซึ่งมละมลทินคือทิฏฐิอันเห็นผิดเห็นว่าตนว่าตนในนามแลรูปนั้น “ ” “ตํ สมฺปาเทตูกาเมน สมถยานิเกน ” แลพระโยคาพจรเจ้าผู้เป็นสมถยานิก บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานนั้น ถ้าปรารถนาจะยังทิฏฐิวิสุทธิให้บริบูรณ์ ก็พึงเข้าฌานสมาบัติอันใดอันหนึ่งตามจิตประสงค์ยกเสียเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเหตุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นลึกละเอียดนัก ปัญญาโยคาพระจรกุลบุตรผู้เป็นอาทิกัมมิกแรกทำความเพียรจะพิจารณาได้เป็นอันมาก ยกเว้นสัญญานาสัญญายตนะเสียแล้วพึงเจริญตามชอบน้ำใจเถิด

“อญฺญตรโต วุฏฺาย ” เมื่อออกจากสมาบัติอันใดอันหนึ่งที่ตนได้จำเริญแล้ว ก็พึงพิจารณาซึ่งองค์แห่งญาณ มีวิตกเป็นอาทิเจตสิกธรรมทั้งปวงแต่บรรดาที่สัมปยุตด้วยองค์แห่งฌานนั้น ให้แจ้งโดยลักษณะแลกิจแลปัจจุปปัฏฐาน แลอาสันนการณ์แห่งองค์ฌานแลธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนั้นแล้ว ก็พึงกำหนดกฏหมายว่าองค์ฌาน แลธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนี้ แต่ล้วนเป็นนามธรรมทั้งสิ้น ด้วยอรรถว่าน้อมไปจำเพาะหน้าสู่อารมณ์ เมื่อกำหนดกฏหมายดังนี้แล้ว แลแสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมนั้น ก็จะเห็นแจ้งว่าหทัยวัตถุเป็นที่อยู่แห่งนามธรรม แลเป็นที่อาศัยแห่งนามธรรม “ ยถา นาม ปุริโส” มีอุปมาดุจบุรุษอันเห็นอสรพิษ ณ ภายในเรือน “อนุพนฺธมโน ” บุรุษผู้นั้นติดตามสกัดดู ก็รู้แจ้งว่าอสรพิษอยู่ที่นี่ ๆ และมีอุปมาฉันใด พระโยคาพจรผู้แสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมนั้นก็เห็นแจ้งว่าหทัยวัตถุ เป็นที่อยู่แห่งนามธรรมมีอุปไมยดังนี้

“ รูปํ ปริคฺคณฺเหติ” แล้วพระโยคาพจรเจ้าพิจารณารูปธรรมต่อไปเล่า ก็เห็นแจ้งหทัยวัตถุนั้นอาศัยซึ่งภูตรูปแลรูป ๆ ทั้ง ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นั้นเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุ คืออุปาทายรูปอื่น ๆ จากหทัยวัตถุนั้นก็อาศัยภูตรูปสิ้นด้วยกัน


-----------------------------------------------------------


สมถะที่บาทของวิปัสสนา (อ้างอิงจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา)
http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25844&st=7
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 5:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา ของอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ

ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์

-------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก:
ดูการจัดการปฏิบัติกรรมฐานแบบพองยุบ เป็นต้นเข้ากับสติปัฏฐาน 4 ดังนี้

1. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ซ้าย ย่าง หนอ

ขวา ย่าง หนอ เป็นต้น

ลงกับกายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)

2. สุขหนอ ทุกข์หนอ เฉยๆ หนอๆ

ลงกับเวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)

3. อยากได้หนอ โกรธหนอ หลงหนอ ไม่อยากได้หนอ เป็น

ต้น

ลงกับจิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)

4. สงสัยหนอ หายสงสัยหนอ ง่วงหนอ ฟุ้งซ่านหนอ รำคาญ

หนอ ฯลฯ

ก็ลงกับธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทัน )


โดยหลักการแล้ว คุณเฉลิมศักดิ์รับได้ไหม หรือ มีอะไรแนะนำ

ครับ


คุณกรัชกาย คงจะยอมรับแล้วว่า ตัวเองได้ข้ามพ้นความสงสัย ไปได้ ด้วยการภาวนา ท่องบ่น ว่า สงสัยหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ จนสมาธิเริ่มเกิดมาก ๆ แล้วกลับไปเพ่งท้องพร้อมภาวนา พองหนอ ยุบหนอ ต่อ

นี้จะเข้าใจว่าตนเองได้วิปัสสนาญาณขั้นสูงอย่าง ปัจจยปริคคหญาณ ตามตำราหรือไม่หนอ


คุณกรัชกายคงรับได้ แต่ผมรับไม่ได้หนอ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 5:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ ผมขอยกหลักปฏิบัติวิปัสสนา ๑๕ ข้อ ในแนววิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ พิจารณา รูปนามที่เป็นปัจจุบัน ว่าจะแก้อารมณ์พองหนอ ยุบหนอ ได้อย่างไร คร่าว ๆ ดังนี้

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-13.htm


อ้างอิงจาก:
๕. ไม่ให้กำหนดรูปและนามไปพร้อมกัน
ขณะใดกำหนดรูปอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะรูป ขณะใดกำหนดหรือดูนามอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะนาม จะกำหนดนามและรูปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันหรือในอารมณ์เดียวกันไม่ได้


แก้การภาวนา พองหนอ รู้หนอ ยุบหนอ รู้หนอ


อ้างอิงจาก:
๖. ไม่ควรใช้อิริยาบถโดยไม่จำเป็น
ผู้ปฏิบัติไม่ควรใช้อิริยาบถย่อย เช่น เคลื่อนไหว เหยียด คู้ ก้ม เงย เหลียวซ้าย-ขวา เป็นต้น หรืออิริยาบถใหญ่ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน โดยไม่จำเป็น จะเปลี่ยนอิริยาบถก็ต่อเมื่อเกิดทุกข์ เช่น ปวดเมื่อย หรือมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น


แก้การใช้อิริยาบถที่ไม่จำเป็น ที่เดิหนอ ซ้ายย่างหนอ ยกหนอ และสารพัดหนอทั้งหลาย ที่ไม่จำเป็น

อ้างอิงจาก:
๗.ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือต้องใช้อิริยาบถ ต้องรู้เหตุนั้นก่อนว่าเปลี่ยนเพราะเหตุอะไร
เหตุผลในการเปลี่ยนอิริยาบถนี้มีความสำคัญมากผู้ปฏิบัติที่ต้องใช้หรือต้องเปลี่ยนอิริยาบถย่อยหรือใหญ่ก็ตาม ให้รู้เหตุที่จำเป็นนั้นก่อน จึงค่อยเปลี่ยนหรือใช้อิริยาบถนั้น


แก้การเปลี่ยนอิริยาบถ แบบหนอ ๆ ๆ ที่ไม่รู้สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนเพราะอะไร บางทีนั่งครบเวลาถึงค่อยเปลี่ยน

อ้างอิงจาก:
๘. อย่าทำอิริยาบถให้ผิดปกติ
เราเคยนั่งอย่างไร เคยเดินอย่างไร เคยนอนอย่างไร เมื่อเข้ากรรมฐาน ก็นั่งอย่างนั้น ไม่ต้องเดิน ให้ผิดปกติ ไม่ต้องนั่งให้ผิดปกติ ส่วนมากผู้เข้ากรรมฐานมักเข้าใจว่าต้องนั่งขัดสมาธิก่อน แล้วจึงกำหนด สำหรับวิปัสสนาไม่จำเป็น นั่งอย่างไรก็ได้เปลี่ยนอิริยาบถตามสะดวก นั่งอย่างไรทำอย่างไรก็ได้ตามปกติ แต่ขอให้รู้อยู่ในท่านั้น คือในรูปนั้น ๆ เท่านั้นจะเป็นท่านั่ง หรือท่านอนก็ตาม ขณะกำหนดท่านั่งหรือท่านอนจะต้องรู้สึกตัวด้วยสติสัมปชัญญะเสมอว่า กำลังกำหนดหรือดูรูปอะไรอยู่ ถ้ากำหนดท่านั่ง คือ ดูท่าที่นั่งก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนั่ง ถ้ากำหนดท่านอน คือ ดูท่าที่นอนก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนอนอยู่ ทำนองเดียวกัน ในการดูรูปยืนหรือรูปเดินก็ตาม ต้องรู้สึกเสมอว่าขณะนี้กำลังดูรูปอะไร หรือกำลังดูนามอะไรอยู่


แก้ อาการการทำอิริยาบถให้ผิดปกติ เพราะเข้าใจผิด ๆ เช่น คิดว่าอยากเห็นการเกิดดับของนามรูป จึงทำอิริยาบถให้ช้า ๆ

แก้ความเข้าใจผิดคิดว่า การทำกรรมฐานต้องมีหนอ ๆ ๆ ๆ ต่อท้ายเท่านั้น จึงจะเป็นการทำสติปัฏฐาน


คุณกรัชกายลองศึกษาดูด้วยใจเป็นกลาง ผมว่า แก้ความเห็นผิดของคุณได้หลาย ๆ อย่างมาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 7:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
รับไม่ได้หนอ รับไม่ได้หนอ รับไม่ได้หนอ

เพราะหนอเป็นบัญญัติ เพ่งให้เกิดได้เพียง สมาธิ และสูงสุด คือ ฌาน
แต่คุณกรัชกายครับ ครูบาอาจารย์สายหนอ ก็เหมือนคุณกรัชกาย คือ ไม่ยอมรับว่า เป็น สมถะ
และก็ไม่เคยแนะนำว่า จะนำ ฌาน นั้นมาเป็นบาทของวิปัสสนาต่ออย่างใด
เลยไม่มีใครจะแก้อารมณ์พองหนอ ยุบหนอ ของคุณ

เฉลิมศักดิ์ : 26 มิ.ย.2008, 5:23 am
…


เรื่องบัญญัติกับปรมัตถ์ (สภาวะ) ได้อธิบายและยกอย่างผ่านมา

แล้ว พยายามทำความเข้าใจอีกครั้งครับ

สมถะหรือสมาธิ มีหลายระดับครับคุณเฉลิมศักดิ์ มิใช่มีสุด

โต่งอย่างที่คุณเข้าใจเพียงแง่เดียวมุมเดียวครับ ประเด็นนี้จะค่อยๆ

นำหลักฐานมาแสดง (หากไม่ลืม)


คุณเฉลิมศักดิ์ดูพุทธพจน์ที่แสดงวิธีปฏิบัติธรรมที่โพธิปักขิยธรรมทั้ง

หมดเนื่องอยู่ด้วยกับมรรคมีองค์ 8

ครับ ว่าขณะที่กำหนดอารมณ์กรรมฐานโดยมีรูปนามเป็นอารมณ์แต่

ละขณะๆอยู่นั้น

สมถะ (= สมาธิ) กับวิปัสสนา (= ปัญญา) ก็เกิดร่วมอยู่ด้วยกันใน

ขณะจิตนั้นๆ

สังเกตดูนะครับ

“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้

แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์

แม้สัมมัปปธาน 4...

แม้อิทธิบาท 4...

แม้อินทรีย์ 5...

แม้พละ 5 ...

แม้โพชฌงค์ 7 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์

เขาย่อมมีธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็น

ไป

ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วย

อภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น

ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เข้าก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรม

เหล่านั้น

ธรรมเหล่าใด พึงได้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วย

อภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น

ธรรมเหล่าใด พึงให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์

แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 7:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีฝึกจิตโดยมีนามรูปเป็นอารมณ์ระลึกรู้แต่ละขณะๆจิต ในขณะ

นั้นๆ มิได้มีมากมายอย่างที่คุณยกตัวอย่างของอาจารย์ทั้งหลาย

มี อ.แนบ อ. บุณมี อ. ไชยวัฒน์ เป็นต้น หรอกครับ

ดูการฝึกไตรสิกขานี้เป็นตัวอย่างครับ


วงจรย่อยของไตรสิกขา มองคร่าวๆ จะเห็นเป็นการฝึก 3 ส่วน

ที่ดำเนินควบเคียงกันไปด้วยกันตลอดเวลา

ดังตัวอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึงการฝึกเจริญ

อานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก จับสาระได้ว่า

ขณะที่ฝึกอยู่นั้น สังวรคือการควบคุมกิริยาอาการให้อยู่ในภาวะ

ถนัดหรือเหมาะดีที่สุดแก่งาน (กรรมฐาน) เป็นอธิสีลสิกขา (ศีล)

การทำจิตใจให้ตั้งมั่นแน่วแน่ (อยู่กับงานคืออารมณ์ที่กำหนด)

เป็นอธิจิตตสิกขา (สมาธิ)

การใช้ปัญญา หรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในเวลา

นั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา (ปัญญา)


วิสุทธิ.2/61

(แก้คำผิด เป็นอธิสีลสิกขา - เป็นอธิจิตตสิกขา)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 มิ.ย.2008, 5:44 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ครูบาอาจารย์สายหนอ ก็เหมือนคุณกรัชกาย คือ ไม่ยอมรับว่า เป็น สมถะ
และก็ไม่เคยแนะนำว่า จะนำ ฌาน นั้นมาเป็นบาทของวิปัสสนาต่ออย่างใด
เลยไม่มีใครจะแก้อารมณ์พองหนอ ยุบหนอ ของคุณ

เฉลิมศักดิ์ : 26 มิ.ย.2008, 5:23 am



ความเห็นของอาจารย์ท่านอื่น ปล่อยให้เป็นความเห็นของท่านนั้นๆ

ไป ไม่เหมือนและไม่เกี่ยวกับกรัชกายครับ ไม่ควรโยงเข้าหากัน

เหมือนอาจารย์ต่างๆที่คุณอ้างอิงมีอาจารย์แนบ เป็นต้น ก็น่าจะ

ปล่อยให้เป็นความเห็นของท่านไป

ดีกว่าไหม

ยกเว้นพุทธพจน์และอรรถกถานำมาอ้างได้ พร้อมๆกับแนวทางที่

ตนเองกำลังปฏิบัติอยู่นำสงเคราะห์ให้ลงกันได้ (= ธรรมานุธรรม

ปฏิบัติ)

กล่าวจริงๆนะครับ ไม่รู้พูดตรงไปหรอป่าว

เมื่อตัดลิงค์ของอาจารย์ต่างๆที่คุณมาปล่อยออกสิ้นแล้ว

แล้วเอาแต่ความเห็นภาคปฏิบัติส่วนตัวคุณเองล้วนๆ

คุณเกือบไม่มีแนวทางภาคปฏิบัติเองเลย

ไม่เชื่อลองแสดงความเห็นส่วนตัวคุณเอง โดยระงับการปล่อยลิงค์

ชั่วคราวสิครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง