Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 5:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้าว...เพิ่งเห็นข้อความข้างบนของคุณ งั้นปล่อยหน้านี้ว่างไว้ก่อน ข้อความมาลงภายหลัง ยิ้ม
...............

อ้างอิงจาก:

สำหรับผมแล้วแนวทางการแนว อิริยาบถบรรพะ ตามแนว มหาสติปัฏฐานสูตร อรรถกถา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก
แก้การภาวนาของพองหนอยุบหนอได้ครับ
ฯลฯ



(เช้ามืดเรานั่งหน้าคอม ฯ เวลาเดียวกัน
ได้อ่านข้อความของคุณทั้งข้างล่างข้างบนแล้ว ส่วนใหญ่ยังคงเดิม กรัชกายเคยอ่านและตอบมาแล้วเกือบทั้งนั้น)



อย่างนั้นเค้าเรียกว่าหนีปัญหาครับ ไม่ใช่แก้ปัญหา

ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ตัณหา

กรณีนี้ ตัณหาตัวเด่นออกหน้าได้แก่วิภวตัณหา ที่นักปฏิบัติชอบนำไปใช้หลบ

อารมณ์หลบปัญหา กัน ในเมื่อแก้สภาวะจุดนั้นๆไม่รอด ไม่รู้จะออกทาง

ไหน จึงใช้วิธีทิ้งอารมณ์ทิ้งปัญหานั้นเลย

แล้วก็คิดเข้าข้างตนว่า นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม (ของฉัน)

ตัวอย่าง เช่น พอภาวนาไปๆ แล้วกิเลสนิวรณ์ครอบงำจิตใจ ง่วงนอนจะเป็นจะ

ตายนั่งหาวน้ำหูน้ำตาไหล ฝืนไม่ไหวแล้ว ที่สำคัญตนไม่รู้วิธีสลัดอออกที่เป็น

ธรรม นอกจากทำในสิ่งที่ตนเคยชินคือนอน

จึงแนะกันว่า เมื่อง่วงนักทนไม่ไหวก็ไปงีบเสียก่อน หายง่วงแล้วค่อยมาภาวนา

ใหม่

กิเลสตัณหาชัดๆครับคุณเฉลิมศักดิ์ ไม่ใช่แก้อารมณ์อย่างที่คุณ เป็นต้น เข้าใจ

วิภวตัณหามันดิ้นรน อยากจะไปให้พ้นๆจากอารมณ์ที่กำลังประสบอยู่ในขณะจิต

นั้น

แล้วก็ลงนอนตามที่กิเลสตัณหามันเรียกร้อง

แปลว่าคุณแพ้แล้วครับ ตัณหาลากจูงไปในอำนาจของมันแล้วในขณะนั้น


ส่วนลิงค์ด้านล่าง โดยคุณ : pug - 13/07/2001 09:42 กรัชกายเคยอ่านที่คุณส่งให้

ไม่ต่ำกว่าสองครั้งแล้วครับ รวมทั้งที่บอร์ดอื่นด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ย.2009, 9:02 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 5:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นอกจากแนวทางการเจริญสติปัฏฐานแนวอิริยาบถบรรพะ ตามแนวอรรถกถา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก จะแก้อารมณ์พองหนอยุบหนอของผมได้แล้ว

ยังแก้ท่านเจ้าของกระทู้นี้ได้ด้วย

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-11.htm

กำหนดนามรูปตามอิริยาบถ เน้นอารมณ์ต้องเป็นปัจจุบัน และต้องมีโยนิโสมนสิการ กับ การพอง-ยุบต่างกันอย่างไร ?

- เท่าที่ทราบมานะครับว่า การปฏิบัติแนว พิจารณารูปนาม แบบ อ.แนบ มหานีรานนท์ นั้นจะไม่ให้สวดมนต์ นั่งสมาธิ แต่จะให้ทำความรู้สึกตัวถึงอาการที่เป็นอยู่ว่าอยู่ในรูปอะไร รูปนั่ง ยืน เดิน นอน หรืออื่นๆ โดยไม่ต้องกำหนดบัญญัติอะไร แต่ต้องเรียนรู้หลักอภิธรรมในระดับหนึ่งก่อน จึงรับเข้าปฏิบัติ โดยจะให้อยู่ในเรือนหลังเดียวคนเดียว ห้ามพูด ให้รู้อารมณ์ปัจจุบัน รู้ว่ารูปปัจจุบันเป็นอย่างไร นามปัจจุบันเป็นอย่างไร อาจเว้นวันถึงสองวัน จะมีพระอาจารย์เชิญไปสอบอารมณ์……..

- แต่ในแนวพอง – ยุบ หรือในสายของท่านสีสยาดอ ( ต้นสายพองยุบ ) จะแตกต่างกันไป คือ จะมีความรู้ด้านอภิธรรมหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ปฏิบัติได้หมด แต่ควรมีครูบาอาจารย์ดูแลใกล้ชิดบ้าง เพื่อจะได้มีการสอบอารมณ์ ว่าควรปรับอะไรให้ถูกต้อง การปฏิบัติก็จะเริ่มจากการมีบัญญัติเป็นองค์ภาวนาก่อน คือ พองหนอ ยุบหนอ กำหนดอะไรก็ได้ ให้มีหนอ เพื่อประคับประคองจิต เก็บรายละเอียดของอาการ ความรู้สึกต่างๆ และมีการกำหนดต้นจิต จนสติมั่นคง ดีขึ้น พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม โดยการกำหนด แต่พอปฏิบัติในระดับสูงขึ้นจะค่อยๆ คลายบัญญัติไป โดยจะทำความรู้สึก รู้ความรู้สึก หรืออาการพอง อาการยุบ อาการ เดิน ยืน นั่ง นอน และอื่นๆ เช่นกัน ตอนกลาง และตอนปลาย จะดูเหมือน ไม่เน้นที่การภาวนาพอง หนอ ยุบหนอแล้ว แต่จะทำความรู้สึกรู้ถึงอาการ ทางกายต่างๆ ทางจิตต่างๆ เวทนาต่างๆ ธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง จนมีความรู้สึกว่า เป็นปลายทางเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่ต่างกันในการเริ่มต้นไม่ทราบเข้าใจถูกต้องไหมครับ….?

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกอันหนึ่งคือ ในสายพองยุบ นั้น ยังมีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กันอย่างชัดเจน และต้องเดิน นั่งในเวลาที่เท่ากัน คือจะมีวินัย มีการกำหนด ตารางเวลาชัดเจน ว่าเวลาไหน ปฏิบัติอะไร ทำอะไร ( ในช่วงปฏิบัติ )

แต่ในการปฏิบัติของอ.แนบ มหานีรานนท์ ( ช่วงที่เข้าปฏิบัติ ) กลับเน้นที่ตัวธรรมชาติ ไม่ให้อยากทำ อยากปฏิบัติ ให้การเดิน ยืน นั่ง นอน หรือรู้สึกอะไรให้เป็นธรรมชาติ ตามปกติที่เป็น เพียงแต่ พิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ รู้อาการของรูป นาม ว่าเป็นอย่างไร อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะปัจจุบัน อยู่ในรูปอะไร มีเวทนาอะไร พิจารณาให้รู้เห็นทุกข์ แล้วค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ เน้นอารมณ์ปัจจุบัน อันนี้พูดถึงในช่วงปฏิบัตินะครับ ซึ่งตามระเบียบของท่าน คือ ต้องเรียนอภิธรรมให้เข้าใจ ว่ารูปนามคืออะไร จิต เจตสิก คืออะไรก่อนนะครับ

เมื่อพูดถึงจริต เราก็ไม่อาจรู้ได้ ว่าเราถูกกับแนวไหน ในความเป็นจริงหากต้องการรู้ก็ต้อง ไปลองทำการศึกษา ไปสัมผัสดู โดยส่วนตัวผมปฏิบัติมาบ้างในหลายสายและแนว ก็คิดว่าเป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้น ( ในขณะที่ปฏิบัติสำนักนั้นๆ เพราะเข้าใจว่าเป็นเพียงรูปแบบในการปฏิบัติอย่างหนึ่งซึ่งก็มีแตกต่างกันไป ) แต่ทุกครั้งในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมาเหมือนมีเหตุปัจจัยพาไปอยู่เสมอ ( โดยส่วนตัวนะครับ ขอเล่าให้ฟังพอสังเขป )

ช่วงเป็นเด็กชอบใส่บาตรทำบุญ ( พ่อนำให้ใส่บาตรแต่เล็ก ) จนปัจจุบัน

- ช่วงม.ศ.1 ขึ้นมาเริ่มอ่านหนังสือแนวธรรมะต่างๆ ไปทางมหายาน พระจี้กง พระป่าต่างๆ หนังสือแปล กฤษณะมูรติ ( ซึ่งท่านจะเน้นความเป็นอิสระ การศึกษา การเรียนรู้ อย่างเปิดกว้าง และสมาธิในความหมาย ที่ไม่ให้คนหลงในสมาธิ คือท่านสอนให้พิจารณาว่าสมาธิจริงๆคืออะไร อันนี้ดูเป็นสากลนะครับ แต่ในพุทธศาสนาเรามีอะไรมากว่าตรงสมาธิ คือวิปัสสนากรรมฐาน ทางหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร และผมเข้าใจว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ของศาสนาพุทธเราไม่น่าจะเป็นอย่างเดียวกับ ลัทธิอื่น ศาสนาอื่น เพราะของเรามุ่งตรงไปนิพพานเป็นหลัก อันนี้ผมอาจเข้าใจไปเอง หากผิดพลาดขออภัยด้วยนะครับ )

- ช่วงม.ศ 3ขึ้นไปก็เริ่มศึกษาอะไรที่นอกเหนือที่กล่าวไปแล้วอีกคืองาน ของท่านพุทธทาส ท่านประยุต ธรรมกาย หลวงพ่อฤษีลิงดำ และประวัติพระสายปฏิบัติต่างๆ สุดท้ายมารู้จักแนวพอง ยุบ จากหนังสือของหลวงพ่อจรัล แล้วก็เข้าไปปฏิบัติเพราะเพื่อนชวนไป ด้วยเหตุที่เคยอ่านหนังสือของท่านมาบ้างก็เลยไป ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ได้เริ่มไปปฏิบัติธรรมครับ ( 2538 )

- ที่ไปปฏิบัติ นอกเหนือจากการอ่านก็คือ ที่วัดอัมพวันนี่เอง ( ตั้งแต่ปี 2538 ) โดยจะหาโอกาสไป ตอนช่วงสงกรานต์ และปีใหม่ ( วันหยุด ของบริษัท ) ซึ่งก็จะมีคนมาก และเข้าไม่ถึงครูอาจารย์ และเห็นท่านมีภาระมากก็ไม่กล้าไปกวนท่านด้วย ก็อาศัยอ่านหนังสือ และปฏิบัติ พิจารณา สังเกต ความเป็นไปในการปฏิบัติของตัวเอง และค่อยศึกษาจากหนังสือ เพื่อเทียบเคียงบ้าง แต่ก็ไม่มั่นใจ เพราะหนังสือหลายตำราในแนวนี้ ก็ยังมีรายละเอียดในการปฏิบัติที่ต่างกันอยู่บ้าง เช่น การเดินจงกรม บางตำราบางสำนัก ให้มองที่เท้า ก้าวช้าเหมือนคนป่วย บางสำนัก ไม่ต้องมองที่เท้า แต่ให้กำหนดรู้ว่าอะไรย่าง ซ้ายหรือขวา อะไรกระทบ บางทีให้เอาไขว่ข้างหลัง บางทีให้เอาไขว่ข้างหน้า บางที่บางตำราบอกให้หายใจยาว บางที่บอกไม่ต้องคำนึงถึงการหายใจ ทำความรู้สึกตัวกำหนดพองหนอ ยุบหนอ ตามธรรมชาติ และหลายอย่าง

- แม้แต่วิทยากร ผู้สอน บางครั้งก็บอกไม่ตรงกัน เช่นคนที่มาหลายครั้งให้นั่ง เดิน นาน เช่นเดิน สอง นั่งสอง ช.ม. แต่บางท่านบอกว่าให้เอาแต่พอดี….. บางครั้งสับสน เพราะเข้าใจว่าความอยากน่าจะเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ที่อาจปิดบังความจริง การเดินนาน นั่งนาน ทำด้วยมานะหรือเปล่า ทำแล้วภูมิใจที่ทำได้ดีกว่าคนอื่นหรือเปล่า ( เพราะทำยาก ) เดิน 3 ช.ม. นั่ง 3 ช.ม. ทำได้เก่งหรือเปล่า น่าจะอยู่ที่เราวางใจอย่างไรมากกว่า อันนี้ผมจะปรารภกับตัวเอง ที่ผ่านมาสับสน อยู่บ้าง กลัวว่าจะทำผิด ไม่ถูกต้อง ทุกครั้งจึงอธิษฐานจิตของบารมีสิ่งศักดิ์สิทธ์ครูอาจารย์ และหลวงพ่อ ช่วยดลใจให้ทำถูกทางด้วย ( ก็ทำได้เพียงเท่านี้ ) เนื่องจากเป็นการไปเอง แบบว่าไม่ได้เข้าเป็นคอร์ส และเห็นผู้โชคดีที่เข้าเป็นคอร์สอบรม จะได้รับการเอาใจใส่อย่างดี จากครูบาอาจารย์ เมื่อก่อนก็รู้สึกน้อยใจ อยู่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดว่าหากเราตั้งใจดี มีศรัทธา ครูบาอาจารย์เบื้องบนก็คงชี้ทาง หรือดลใจให้เราเข้าถึงสภาวะต่างๆ โดยเราเป็นครูตัวเราเอง ( อันนี้เป็นความเชื่อของตัวเองนะครับ ) แต่ก็ดูเหมือนได้ผล เพราะสิ่งที่เกิด ไม่ว่าจะเป็นสภาวธรรมหรืออะไรก็ตาม ดูเหมือนจิตจะรู้ด้วยตัวเขาเอง

- โดยระยะหลัง ได้อ่านตำราหลายหลาย และล่าสุดได้ไปพบหนังสือของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์เข้าโดยบังเอิญมาก เหมือนเบื้องบนดลใจ หรือ เหตุปัจจัยพาไปก็ไม่ทราบ ( คือไม่รู้จักท่านเลย ) เช้านั้นก็ไปปล่อยปลาตามปกติ ( ทุกอาทิตย์ ) เดินเข้าไปที่สมาคมพุทธศาสนา ของ ร.พ.ศิริราช เขาจะมีหนังสือมาวางอยู่ข้างนอกตามชั้นต่างๆ ก็ไปหยิบหนังสือดูเก่าๆมาอ่านเล่นหนึ่ง ในนั้นเป็น การสนทนาโต้ตอบของท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ กับพระประสาท ( อาจจำชื่อพระท่านผิดนะครับ ) ก็รู้สึกคลี่คลาย และเขัาใจอะไรบางอย่างเพิ่มขึ้น และได้นำไปปรับใช้กับการปฏิบัติในสายยุบ พอง ก็รู้สึกมั่นใจขึ้น ( เข้าใจไปเองหรือเปล่าไม่ทราบครับ )

ตอนหลังก็มารู้จักมูลนิธิอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ที่พุทธมณฑลสาย 5 และได้ตั้งกระทู้ในลานธรรมจึงทราบข้อมูลมากขึ้น แต่ด้วยที่เขาให้ไปเรียนอภิธรรมก่อน จึงได้แต่ไปดูสถานที่ ซึ่งก็เงียบสงบดีมาก อยู่คนละหลัง

ที่กล่าวไว้ทั้งหมดอาจมีข้อผิดพลาดด้วยเหตุที่เข้าใจผิด ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งสองแนวทางให้ความกระจ่างด้วยนะครับ…

ขอบคุณครับ

โดยคุณ : pug - 13/07/2001 09:42
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 2:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปูพื้นความเข้าใจให้ตรงหรือเกือบจะตรงกันก่อน เพื่อว่าจะง่ายต่อการเข้าใจ

ญาณ เป็นชื่อหนึ่งของ ปัญญา ที่รู้เห็นนามรูปตามเป็นจริงในขณะนั้นๆ จึงเรียกว่าญาณขั้นนี้ขั้นนั้น
วิปัสสนา ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของ ปัญญา ที่รู้เข้าใจนามรูปตามที่มันเป็น
สมถะ กับ สมาธิโดยสาระแล้วเป็นอย่างเดียวกัน

มรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิกฐิเป็นต้นมีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด ย่นย่อเข้าในไตรสิกขา คือ
อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (= ศีล สมาธิ ปัญญา)
เมื่อว่าโดยภาคฝึกหัดดัดจิตแล้ว สมาธิกับปัญญาก็ดี สมถะกับวิปัสสนาก็ดีเคียงคู่ไปด้วยกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 2:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(มิใช่สมาธิกับปัญญา สมถะกับวิปัสสนาเท่านั้นเคียงคู่กัน แม้แต่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดก็ไม่พรากจากผู้เจริญภาวนา เช่น )

พุทธพจน์ที่แสดงวิธีปฏิบัติธรรมที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดเนื่องอยู่ด้วยกันกับมรรคมีองค์ 8

“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้
แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
แม้สัมมัปปธาน 4...
แม้อิทธิบาท 4...
แม้อินทรีย์ 5...
แม้พละ 5 ...
แม้โพชฌงค์ 7 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
เขาย่อมมีธรรม 2 อย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็นไป
ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เข้าก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงได้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าไหน พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา ?
ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ 5 กล่าว คือ
รูปอุปาทานขันธ์
เวทนาอุปาทานขันธ์
สัญญาอุปาทานขันธ์
สังขารอุปาทานขันธ์
วิญญาณอุปาทานขันธ์...
“ธรรมเหล่าไหน พึงละด้วยอภิญญา ? ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา...

“ธรรมเหล่าไหน พึงทำให้เกิดมี (เจริญ) ด้วยอภิญญา ? ได้แก่สมถะ และวิปัสสนา
“ธรรมเหล่าไหน พึงให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ? ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ”

ม.อุ.14/828-831/523-6 (ข้อความที่ตรัสเกี่ยวกับ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน และสิ่งอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นอย่างเดียวกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศัพท์ว่า “อภิญญา” คุณเฉลิมศักดิ์รู้ความหมายเดียว คือผู้ที่ได้ หูทิยต์ ตาทิพย์ เป็นต้น
คำว่า อภิญญา มีหลายนัยครับ ที่แปลกันว่า ปัญญาอันยิ่ง หรือความรู้ยิ่ง (= อุตตมปัญญา ที่ องฺ.อ.2/8 และ อธิกญาณ ที่ วินย. อ. 1/134 ฯลฯ)

แปลโดยอาศัยรูปศัพท์ว่า ความรู้เจาะตรง ความรู้จำเพาะ ความรู้เหนือ (ประจักษ์ทางประสาททั้ง 5)
คัมภีร์อัฏฐสาลินี และวิสุทธิมรรค อธิบายว่า ปัญญาที่เป็นไปตั้งแต่อุปจาร จนถึงอัปปนา เรียกว่าอภิญญา
สงฺคณี. อ. 294: วิสุทธิ. 1/108
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำอภิญญาศัพท์มาให้ดูหลายๆความหมาย เพราะคุณเข้าใจความหมายเดียวดังกล่าวข้างต้น จึงมองสมาธิไร้ความหมาย เมื่อไม่เอาสมาธิจิต เพราะฉะนั้นการปฏิบัติก็ล้มทั้งกระดาน มีท่านหนึ่งดูจิต (ความคิด) แล้วสับสนวุ่นวายบอกให้เค้าล้มกระดาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ทำไมจึงต้องมาอยู่กับสมมุติบัญญัติ ทำไมต้องมาสร้างอิริยาบถให้ผิดปกติจากธรรมชาติ


วิธีที่คุณเฉลิมศักดิ์นำเสนอไม่ใช่วิธีฝึกจิตโดยตรง เป็นวิธีคิดเรียกให้เท่ห์หน่อยก็ว่าโยนิโสมนสิการซึ่งแยกย่อยภาวะเย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง เป็นบัญญัติปรมัตถ์

คุณเฉลิมศักดิ์ครับ บัญญัติกับปรมัตถ์สำคัญทั้งคู่ ปรมัตถ์เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ส่วนบัญญัติเป็นประโยชน์ที่มนุษย์จะพึงเอาจากธรรมชาติ

ตัวอย่าง แม่น้ำเจ้าพระยา กับบัญญัติว่า แม่น้ำเจ้าพระยา ภาวะที่ไหลเนื่องเป็นสายลงสู่ทะเล
กับบัญญัติว่า แม่น้ำเจ้าพระยา แยกให้ออกครับ หากไม่บัญญัติชื่อให้มันเราจะเรียกภาวะเช่นนั้นว่ากระไร คงสื่อสารกันไม่เข้าใจ จึงว่าปรมัตถ์ (สภาวะ) เป็นเรื่องของธรรมชาติ บัญญัติเป็นเรื่องของประโยชน์ที่มนุษย์พึงถือเอาจากธรรมชาตินั้น

อีกตัวอย่างหนึ่ง เฉลิมศักดิ์กับบัญญัติว่า คุณเฉลิมศักดิ์ กรัชกายกับบัญญัติว่ากรัชกาย
ธรรมชาติที่มี ปุ่ม 5 ปุ่ม (ปัญจสาขา คือ หัว 1 แขน 2 ขา 2) เราบัญญัติชื่อเรียกกันก็เพื่อ
ใช้สื่อสารจำได้หมายรู้ คุณเฉลิมศักดิ์จึงเป็นบัญญัติ กรัชกายก็เป็นบัญญัติ คนก็เป็นบัญญัติ บัญญัติซ้อนปรมัตถ์อยู่ เวลาสนทนากันแยกให้ออกไม่คิดปนกันก็เป็นอันใช้ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ดูหลักครับ)

-บัญญัติ คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น
ชื่อเรียกว่า พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศเหนือ ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้นเป็นของมีจริงก็มี ไม่มีอยู่จริงก็มี แต่จะมีหรือไม่มีก็ตาม คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือ ไม่ขึ้นต่อกาล และไม่พินาศ เช่น ช่องว่างที่ลึกลงในแผ่นดิน เราเรียกว่าหลุม ช่องเช่นนั้นมีที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า หลุม คงที่เสมอไป
แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่ และหลุมเองทุกๆ หลุมย่อมตื้นเขิน ย่อมพัง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้ หรือ เช่น สิ่งที่เรียกว่าสัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่าสัญญาหาเสื่อมสลายไป เพราะสิ่งที่มีภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่าสัญญาเสมอไป (ถ้าตกลงกันไว้อย่างนั้น) หรือ เช่น สิ่งที่เป็นร่างกายย่อมทรุดโทรมแตกสลายได้ แต่บัญญัติว่ากายย่อมคงที่ ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกอย่างนั้นตามบัญญัติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(พองหนอ ยุบหนอ เป็นบัญญัติ แต่ภาวะที่พอง-ยุบเป็นปรมัตถ์
เมื่อต้องการจะเข้าถึงปรมัตถ์หรือหยั่งรู้สภาวะ ก็ต้องอาศัยบัญญัติเกาะบัญญัติไป จึงจะรู้เห็นภาวะที่เป็นปรมัตถ์

คุณพอจำพุทธพจน์หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้ไหมครับ
จะนำมาให้ดู แต่พิจารณาเอาแต่สาระนะครับไม่พึงยึดติดในอักขระ)

1) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

2) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น


3) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจเข้า

4 ) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น เท่ากับรู้เห็นลมหายใจเข้าสั้นบ้างออกสั้น เข้ายาวออกสั้นบ้าง พูดโดยสรุปว่า ตามรู้ดูเห็นอย่างที่มันเป็น และมิใช่เพียงแค่นั้น เมื่อสังเกตเห็นลมหายใจหรือ พองยุบมันเป็นของมันอย่างนั้นแล้ว ก็แลเห็นนาม หรือ ความคิด
ว่าเกี่ยวข้องเนื่องสัมพันธ์อยู่กับลมหายใจเข้าออก เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยในขณะนั้นๆ
สุขทุกข์ทางกายทางใจทั้งมวล ก็เกิดขึ้นดับไปแต่ละขณะๆ เนื่องกันอยู่แค่นั้นเองทั้งวันทั้งคืน ไม่มีสิ่งใดคงที่ยั่งยืน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ ตราบใดที่คุณยึดถือสมมุติบัญญัติ เช่น สั่นหนอ ๆ ๆ ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ว่าเป็น
ปรมัตถธรรม เป็นวิปัสสนากรรมฐาน

ยึดถือ อำนาจสมาธิ ว่าเป็นวิปัสสนาญาณ
.



(ดูคำสอนเกี่ยวกับทุกข์คร่าวๆครับ)

ทุกข์ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา) - เรียกเต็มว่า ทุกขลักษณะ
ทุกข์ในอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) - เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกข์ในเวทนา 3 - (ทุกข์ สุข อทุกขมสุข) หรือเวทนา 5 (ทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัส อุเบกขา) เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา

(นำมาแต่หัวข้อใหญ่)

ท่านแสดงทุกข์ไว้ จุดประสงค์เพื่อให้เรารู้จักทุกข์ตามสภาพ
คือ ตามที่เป็นจริง (ปริญญากิจ) เพื่อปฏิบัติต่อทุกข์นั้นอย่างถูกต้อง ด้วยการยอมรับรู้สู้หน้าสิ่งที่มีอยู่ซึ่งตนจะต้องเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เลี่ยงหนีอำพรางปิดตาหลอกตนเอง หรือแม้กระทั่งปลอบใจตนประดุจว่าทุกข์เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือตนเองหลีกหลบไปได้แล้ว และกลายเป็นสร้างปมปัญหา เสริมทุกข์ให้หนักหนาซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น แต่เข้าเผชิญหน้า ทำความรู้จัก แล้วเอาชนะอยู่เหนือมัน ทำตนให้ปลอดพ้นได้จากทุกข์เหล่านั้น ปฏิบัติต่อทุกข์โดยทางที่จะทำให้ทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่อย่างชั่วคราวจนถึงโดยถาวร

………….

ในตำราท่านจัดทุกข์ไว้มากมาย
ดูเพิ่มเติมจากลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357&postdays=0&postorder=asc&start=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การกำหนดรู้ทุกข์ หนอ สุขหนอ มิใช่เข้าไปยึด แต่ทำปริญญากิจในทุกข์ตามเป็นจริง มันเป็นอย่างไรพึงกำหนดรู้อย่างนั้น


ปัญหา IE รุ่นนี้ พิมพ์ที่ช่องนี้และตัวอักษรโดด บางทีก็ขึ้นประโยคซ้ำๆมาอีก อ่านแล้วสะดุดๆ ทำให้สับสน

แต่ที่ นี่ไม่เป็น

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=41&topic=สนทนาธรรมปฏิบัติกับคุณเฉลิมศักดิ์

หากคุณเฉลิมศักดิ์จะสนทนาประเด็นนี้กันต่อไปอีก กรัชกายอยากจะเชิญคุณไปพิมพ์ที่ลิงค์ข้างบนได้ไหม ถ้าได้ก็ขอบคุณครับ

ถ้าไม่สะดวกก็พักไว้แค่นี้ ก่อนเอาไว้เปลี่ยน IE .ใหม่ปกติแล้วค่อยคุยกันครับ ซึ่งก็เรื่องใหญ่ต้องลงวินโดว์ใหม่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2008, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นข้อเขียนของคุณ ที่คห. 5 ที่

http://larndham.net/index.php?showtopic=32047&st=4

ว่า

สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น



(กรัชกายขออนุญาตนำประเด็นดังกล่าวไปอธิบายที่ลิงค์นี้นะครับ )

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=41&topic=สนทนาธรรมปฏิบัติกับคุณเฉลิมศักดิ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 5:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อีกเหตุผลหนึ่ง ที่พระวิปัสสนาจารย์ได้แก้การปฏิบัติแนว ยุบหนอ พองหนอ

ซึ่งทำให้ผมได้เข้าใจวิธีการพิจารณารูปเดิน

เมื่อก่อนผมก็ ใช้วิธีท่องเอา ว่า เดินหนอ ๆ ๆ รูปเดิน ๆ ๆ ๆ (เพ่งที่ขาทั้งสอง) รูปนั่ง ๆ ๆ ๆ นามรู้ ๆ ๆ ๆ

แต่เมื่อมีการสอบอารมณ์ และการแนะนำจาก พระวิปัสสนาจารย์ ผมจึงได้เข้าใจขึ้นมาบ้าง

บันทึกการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจาก ผ่านเมฆมองจันทร์ โดยสัตตบงกช

http://larndham.net/index.php?showtopic=23135&per=1&st=71&#entry324928


“ที่บอกว่าดูรูปเดิน ดูตรงไหนครับ”


“ดูตรงขาครับ”


“อ้าว แล้วรูปนั่งไม่มีขาหรือไง รูปนั่งและรูปเดินเป็นคนละรูปนะครับ แต่ก็มีขาทั้งคู่ แม้รูปในอิริยาบถอื่นก็มีขาทั้งนั้น ...แล้วที่ว่าดูตรงขานะ ดูอย่างไรครับ “


“ก็ดูเวลาที่ ขาขวาย่าง ...ขาซ้ายย่าง”


“แล้วตอนดูนั้น กำหนดอย่างไร”


“ผมก็กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ”


“อ๋อ..ผมเข้าใจแล้วล่ะ”


ว่าแล้ว พ่อก็ชวนคุณลุงคนนั้นไปนั่งคุยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา สิตางศุ์จึงรีบตามไปนั่งฟังด้วย


http://larndham.net/index.php?showtopic=23135&per=1&st=71&#entry324928
-----------------------------------------

สมัยนั้น ผมอยากเห็นการเกิดดับของรูปนาม มั่ก ๆ ถึงขั้นต้องแบ่งการเดินให้ได้ ๖ ระยะ ตามแบบพองหนอ ยุบหนอ คือ ท่องพร้อมการเดินช้า ๆ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ เหยียบหนอ กดหนอ

ท่านผู้รู้จึงได้เมตตาแนะนำผู้ที่คิดแบบนี้ว่า

การเดินตามหลักของการเดิน โดยพระครูศรีโชติญาณ
http://larndham.net/index.php?showtopic=27988&st=52

ในหมวดอิริยาบถ ๔ อย่าง คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอนนี้ ในพระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรตี แปลว่า ผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อันนี้หมายความว่า คำว่า กาเย เป็นคำรวมกันอยู่ของการเดิน ยืน นั่ง หรือนอน แต่เวลาจะใช้อิริยาบถ ๔ เราไม่ได้เอามาใช้พร้อมกัน เพราะความจริงมันใช้พร้อมกันไม่ได้อยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ในพระบาลีจึงได้ทรงแยกออกมาพิจารณาทีละอิริยาบถ ซึ่งตรงกับพระบาลีว่า กายานุปสฺสี ตัดบทออกเป็น กายํ และ อนุปสฺสี ที่แปลว่า พิจารณาหรือดูกายคือ อิริยาบถที่กำลังปรากฏอยู่เนือง ๆ หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องสังวรระวังอยู่ในอิริยาบถเนือง ๆ เป็นอินทรีย์สังวรศีล มีสติตั้งมั่นอยู่ในท่าเดินนั้นและมีสัมปชัญญะรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า การเดินเป็นอะไร คือ เป็นรูปหรือเป็นนาม ถ้าเป็นรูป จะต้องรู้ด้วยว่าเป็นรูปอะไร เพราะมีรูปอยู่ด้วยกันหลายรูป
อีกประการหนึ่ง การที่จะผลัดเปลี่ยนจากอิริยาบถหนึ่งไปหาอิริยาบถหนึ่ง มิใช่อยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปตามใจชอบไม่ได้ ต้องมีความจำเป็นจึงต้องเปลี่ยน และจะต้องรู้ด้วยว่าจะเปลี่ยนไปทำไม เพื่ออะไร ถ้าไม่เปลี่ยนจะได้ไหม แม้ในอิริยาบถอื่น ๆ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน ความจริงตัณหาและทิฏฐิที่เป็นอนุสัยมันคอยนอนเนื่องอยู่ในความรู้สึก คือรู้สึกว่าเราเดิน การเดินเป็นเรา อันนี้เพราะถูกความไม่รู้ปิดบังเป็นเจ้าเรือนอยู่ ถูกอวิชชาหุ้มห่ออยู่อย่างสนิท ถ้าไม่มีวิชาคือ วิปัสสนามาเปิดขึ้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายจะไม่เห็นความจริงคือทุกข์ได้เลย เมื่อไม่เห็นความจริงก็หลุดพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้
ส่วนรายละเอียด ข้าพเจ้าได้นำเอาเรื่องของโยนิโสมนสิการของนักปฏิบัติในสำนักวิวัฏฏะมาประกอบเพื่อให้ผู้ประสงค์จะปฏิบัติได้ใช้ดุลยพินิจแล้วนำไปใช้ตามสมควรแก่เหตุเกิด
ส่วนการเดิน ๖ ระยะหรือเดินเป็นหมู่ ๆ นับเป็นเพียงมติของการปฏิบัติของท่านอาจารย์มหาสีสยาดอแห่งสำนักปฏิบัติศาสนยิ๊ดต้าแห่งสหภาพพม่า ซึ่งสำนักนี้ตั้งอยู่หลังวัดพระนอนใหญ่ในเมืองร่างกุ้งที่อาตมาไปเรียนปริยัติอยู่ อาตมาได้เดินผ่านวัดสำนักนี้แทบทุกวันขณะไปบิณฑบาต หรือไปไหว้พระธาตุร่างกุ้ง จำต้องผ่านสำนักนี้อยู่แล้ว แม้ตัวท่านอาจารย์มหาสีเองอาตมาก็เคยได้ไปนมัสการท่าน เพราะท่านเป็นพระมหาเถระที่มีอัทธยาศัยเยือกเย็นน่าเคารพบูชา แต่ก็น่าแปลกประหลาด ทำไมอาตมาจึงไม่มีศรัทธาที่จะปฏิบัติอยู่ในสำนักนั้น แต่กลับไพล่ไปปฏิบัติอีกสำนักวิปัสสนาชื่อสำนักชะนะมารซึ่งตั้งอยู่ทางทิศอินเส่ง เป็นแบบอิริยาบถบรรพแบบเดียวกับของท่านอาจารย์วิลาสะ วัดปรก ที่บ้านทะวายทางตรอกจันทร์ เพราะท่านอาจารย์วิสุทธิมรรคเมธาวี เจ้าสำนักชะนะมาร ท่านเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับท่านวิลาสะ วัดปรก ที่เป็นอาจารย์ของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ซึ่งโยมอาจารย์แนบก็ได้เป็นคู่สนทนาธรรมกับพระสุขและอาตมามานาน ก่อนพระอาจารย์โชติกะจะมาจากพม่า และก่อนพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร จะมาเลื่อมใสโยมแนบด้วยซ้ำไป

พูดถึงเรื่องการเดิน ๖ ระยะ
เรื่องนี้มีแสดงไว้ในขอบเขตของสัมมสนญาณ ซึ่งอยู่ในส่วนของมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ เมื่อเกิดปัญญาแล้วจึงเห็นเป็นระยะ ๆ แบบนั้น แต่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติมาจัดทำกันขึ้นเอง เหมือนอย่างที่กำลังทำกันอยู่ในทุกวันนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้สนทนาเรื่องนี้กับคุณเฉลิมศักดิ์แล้วมีความสุข

ที่ไม่ค่อยสุขเท่าไหร่ เพราะปัญหาดังกล่าว

จึงชวนไปสนทนาที่บอร์ดอื่นคุณก็ไม่ตามไป

แต่พอมองเห็นทางออกบ้างแล้ว คือจะ ไม่พิมพ์ให้สุดบรรทัด

พิมพ์ครึ่งๆกลางๆอย่างที่เห็น อักษรจะไม่ขึ้นซ้ำๆกัน

เพื่อว่าเราจะได้สนทนาธรรมกันต่อวันละเล็กละน้อยครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(นำสาระสติปัฏฐานให้พิจารณาก่อนครับ)

สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

ใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น
จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย)
ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติ
อยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง
โดยเหตุนี้จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุน
ให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ
หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้
มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับ
ดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ

ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1

ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1

ความนึกคิดไตร่ตรอง 1

ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว
ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์
มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจ


รายละเอียดลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497&postdays=0&postorder=asc&start=15
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อีกเหตุผลหนึ่ง ที่พระวิปัสสนาจารย์
ได้แก้การปฏิบัติแนว ยุบหนอ พองหนอ
ซึ่งทำให้ผมได้เข้าใจวิธีการพิจารณารูปเดิน
เมื่อก่อนผมก็ ใช้วิธีท่องเอา ว่า
เดินหนอ ๆ ๆ รูปเดิน ๆ ๆ ๆ (เพ่งที่ขาทั้งสอง)
รูปนั่ง ๆ ๆ ๆ นามรู้ ๆ ๆ ๆ
แต่เมื่อมีการสอบอารมณ์ และ
การแนะนำจาก พระวิปัสสนาจารย์
ผมจึงได้เข้าใจขึ้นมาบ้าง



เมื่อก่อนผมก็ ใช้วิธีท่องเอา ว่า
เดินหนอ ๆ ๆ รูปเดิน ๆ ๆ ๆ (เพ่งที่ขาทั้งสอง)
รูปนั่ง ๆ ๆ ๆ นามรู้ ๆ ๆ ๆ



พระวิปัสสนาจารย์และคุณยังเข้าใจวิธีเจริญสติปัฏฐาน
หรือการปฏิบัติกรรมฐานบิดเบี้ยวอยู่ครับ
ที่คุณว่า =>ใช้วิธีท่องเอา ว่า เดินหนอ ๆ รูปเดิน ๆ
รูปนั่ง ๆ นามรู้ ๆ

ท่านไม่ได้ให้ท่องแบบที่คุณนำเสนอนั่น ผิดแล้วครับ
เข้าใจการปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐานผิดไปไกลเลย
ทำความเข้าใจศัพท์ธรรมคำว่า “สติปัฏฐาน” ก่อนครับ
จะเข้าใจเรื่องนี้ง่ายขึ้น
สติ+ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หรือที่ที่ให้สติมันทำงาน
(= เจริญสติ)
ได้แก่ กาย 1
เวทนา 1
จิต 1
ธรรม 2
เราก็ฝึกเจริญสติอยู่บนฐานทั้งสี่นั่น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนจะแจงต่อไป ขอนำจงกรม
(คือใช้กาย) ฝึกสติ ซึ่งท่านซอยเป็น 6 ระยะ
แบให้คุณเห็นก่อน

ซอยการเดินเป็น 6 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1


ขวา … (เท้าข้างไหนก้าวก่อนก็ได้ไม่ตายตัว)
ย่าง … (ก้าวเดินรู้ตัว)
หนอ … (ถึงพื้น)
ซ้าย …(สติจับที่เท้าซ้าย...พร้อมยกขึ้น)
ย่าง ... (รู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเดิน)
หนอ ...(ถึงพื้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ระยะที่ 2


ยกหนอ… (ยกเท้าพร้อมก้าวเดิน)

เหยียบหนอ... (เหยียบพื้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง