Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า) ต่อ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เนื้อหาสาระต่อจากลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497&postdays=0&postorder=asc&start=0


ผลของการปฏิบัติ

1. ในแง่ของความบริสุทธิ์ เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการกำหนด

อย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อมเป็นการ

ควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ

จะเกิดขึ้นได้ และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตาม

ที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึง ตามความ

โน้มเอียงและความใฝ่ใจต่างๆที่เป็นสกวิสัย (subjective) ลงไป

ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น

ความโกรธจะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะ

ใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 มิ.ย.2008, 2:33 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. ในแง่ของความเป็นอิสระ เมื่อมีสภาพจิต

ที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ 1. แล้ว ก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่น

ไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เพราะอารมณ์เหล่านั้นถูกใช้

เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิจารณาแบบสภาวะวิสัย (objective) ไปหมด

เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะที่เป็นสกวิสัย (subjective)

สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัยแก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ

ของเขา จะหลุดพ้นจากการถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูง

ใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ unconscious

motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย

(คือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฏฐิ) ไม่ยึดมั่นสิ่งใดในโลก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 8:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. ในแง่ของปัญญา เมื่ออยู่ในกระบวนการทำงาน

ของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูก

เคลือบหรือหันเหไปด้วยความรู้สึก ความเอนเอียง และอคติต่างๆ

ทำให้รู้เห็นได้ตามที่มันเป็น คือ รู้ตามความจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 8:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


4.ในแง่ความพ้นทุกข์ เมื่อจิตอยู่ในภาวะตื่นตัว

เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้

ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวกหรือลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดย

เหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้าน

กระหายอยาก (อภิชฌา) และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส)

ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆ เป็นภาวะจิตที่

เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย สงบ เป็นตัวของตัว

เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 9:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่

แยกกล่าวในแง่ต่างๆ

เมื่อสรุป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์ ก็ได้ความว่า

เดิมมนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ตนยึดถือไว้ ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแส

ของรูปธรรม นามธรรมส่วนย่อยจำนวนมากมายที่สัมพันธ์เนื่องอาศัย

เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน กำลังเกิดขึ้นและเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไป

อยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา

ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น

ในขณะนั้นๆ ว่าเป็นตัวตนของตน แล้วตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อย

ไป รู้สึกว่าฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่าง

นี้ ฯลฯ

การรู้สึกว่าตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด

เป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอานั้นเอง

เมื่อตกอยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิด

พลาด จึงถูกชักจูงบังคับให้คิดเห็นรู้สึกและทำการต่างๆ ไปตาม

อำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่าเป็นตัวตนของตนในขณะนั้นๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ต่อ

ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรม

แต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของกระแสนั้น กำลังเกิดดับอยู่ตามสภาวะ

ของมัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแสแยกแยะออกมอง

เห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ เป็นขณะๆ มองเห็นอาการที่ดำเนิน

สืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้ว ย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ

เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้นก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่

ในบงการของมัน

ถ้าการมองเห็นนี้ เป็นไปอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่

เรียกว่าความหลุดพ้น ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินในรูปใหม่ เป็นกระแส

ที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระไม่มีความเอนเอียงยึดติดเงื่อนปมต่างๆ

ในภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่

กล่าวอีกนับหนึ่งว่าเป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่

เรียกว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วนปฏิบัติหน้าที่

ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้าง

อาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปมเป็นอุปสรรค

ถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่งพร้อมที่

จะดำรงชีวิตอยู่ เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความ

เข็มแข็งและสดชื่นต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ต่อ

เรื่องนี้อาจสรุปด้วยพุทธพจน์ดังต่อไปนี้

"ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ คือ โรคทางกาย 1 โรคทางใจ 1

สัตว์ทั้งหลายที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลาทั้งปี

ก็มีปรากฏอยู่ แต่ที่ยืนยันได้ว่าตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลา

2 ปี...3 ปี...4 ปี...5 ปี...10 ปี...20 ปี...30 ปี...40 ปี...50 ปี...100 ปี

ก็มีปรากฏอยู่

แต่สัตว์ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางใจเลย แม้ชั่วเวลาเพียงครู่หนึ่ง

นั้น หาได้ยากในโลก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ ทั้งหลาย"

องฺ. จตุกฺก. 21/157/191
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 12:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เหตุใดสติตามทันขณะปัจจุบันจึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา ?



กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆ คน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิต

ประจำวัน ก็คือ การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

และใจ เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบาย

บ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบายบ้าง เฉยๆ บ้าง

เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุข

สบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น

ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น เมื่อชอบก็อยาก

รับรู้อีก อยากเสพซ้ำ หรืออยากได้ อยากเอา

เมื่อไม่ชอบก็เลี่ยงหนี หรืออยากกำจัด อยากทำลาย กระบวนการนี้

ดำเนินไปตลอดเวลา มีทั้งที่แผ่วเบา ผ่านไปโดยไม่มีได้สังเกต

และที่แรงเข้ม สังเกตได้เด่นชัด มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจนและสืบ

เนื่องไปนาน

ส่วนใดแรงเข้มหรือสะดุดชัด ก็มักชักให้มีความคิดปรุงแต่งยึดเยื้อเยิ่น

เย้อออกไป

ถ้าไม่สิ้นสุดที่ในใจ ก็ผลักดันแสดงออกมาเป็นการพูด การกระทำ

ต่างๆ ทั้งน้อยและใหญ่

ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทำต่อกัน

ระหว่างมนุษย์ ย่อมสืบเนื่องออกมาจากระบวนธรรมน้อยๆ ที่เป็นไป

ในชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสำคัญ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 12:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในทางปัญญา การปล่อยให้จิตใจให้เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้น

นั้น คือ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกสุขสบายก็ชอบใจ ติดใจ

เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ

ข้อนี้เป็นเครื่องกีดกั้นปิดบัง ทำให้ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มองเห็นสิ่งทั้ง

หลายตามเป็นจริง หรือตามสภาวะที่แท้ของมัน

ทั้งนี้เพราะจิตใจที่เป็นเช่นนี้ จะมีสภาพต่อไปนี้


-ข้องอยู่ที่ความชอบใจ หรือความขัดใจ ตกอยู่ในอำนาจของความติดใจ

หรือขัดใจนั้น ถูกความชอบหรือไม่ชอบนั้นเคลือบคลุม ทำให้มองเห็น

เอนเอียงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ตรงตามที่มันเป็นจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 7:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ตกลงไปในอดีตหรืออนาคต กล่าวคือ เมื่อคนรับรู้แล้ว เกิดความ

ชอบใจหรือไม่ชอบใจ

จิตของเขาจะข้องหรือขัดอยู่ ณ ส่วนหรือจุดหรือแง่ ที่ชอบใจหรือไม่

ชอบใจของอารมณ์นั้น เก็บเอาไปทะนุถนอมคิดปรุงแต่งตลอดจนฝัน

ฟ่ามต่อไป

การข้องอยู่ที่ส่วนใดก็ตามซึ่งขอบใจหรือไม่ชอบใจ และการจับอยู่กับ

ภาพของสิ่งนั้นซึ่งปรากฏอยู่ในใจของตน คือ การเลื่อนไหลลงสู่

อดีต

การคิดปรุงแต่งต่อไปเกี่ยวกับสิ่งนั้น คือ การเลื่อนลอยไปในอนาคต

ความรู้ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือภาพของสิ่งนั้น ณ จุดหรือ

ตอนที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ หรือซึ่งเขาได้คิดปรุงแต่งต่อไปแล้ว ไม่ใช่

สิ่งนั้นตามที่มันเป็นของมันเองในขณะนั้นๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 7:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ตกอยู่ในอำนาจของความคิดปรุงแต่ง จึงแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้

หรือประสบการณ์นั้นๆ ไปตามแนวทางของภูมิหลัง หรือความเคยชิน

ที่ได้สั่งสมไว้ เช่น ค่านิยม ทัศนคติ หรือทิฏฐิที่ตนยึดถือนิยม

เชิดชู เรียกว่าจิตตกอยู่ในภาวะถูกปรุงแต่ง ไม่อาจมองอย่าง

เป็นกลางให้เห็นประสบการณ์ล้วนๆ ตามที่มันเป็น


-นอกจากถูกปรุงแต่งแล้ว ก็จะนำเอาภาพปรุงแต่งของประสบการณ์ใหม่

นั้นเข้าไปร่วมในการปรุงแต่งต่อไปอีก เป็นการเสริมซ้ำการสั่งสมนิสัย

ความเคยชินของจิตให้แน่นหนายิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 5:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ต่อ

ความเป็นไปเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆ ตื้นๆ ในการ

ดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมทั่วไปเท่านั้น

แต่ท่านมุ่งเน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้ปุถุชน

มองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชิ้นเป็นอัน มีสวยงาม

น่าเกลียด

ติดในสมมุติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่

ตลอดเวลา

อย่างไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้ เป็นความเคยชินหรือนิสัย

ของจิตที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละนานๆ เกือบจะว่าตั้งแต่เกิด

ทีเดียว 20-30 ปีบ้าง 40-50 ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคย

หัดตัดวงจรลบกระบวนกันมาเลย

การจัดการแก้ไข จึงมิใช่จะทำได้ง่ายนัก ในทันทีที่รับรู้อารมณ์

หรือมีประสบการณ์ ยังไม่ทันตั้งตัวที่จะยั้งกระบวน จิตก็แล่นไป

ตามความเคยชินของมันเสียก่อน

ดังนั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรม

นั้นลงเท่านั้น

แต่จะต้องแก้ไขความเคยชิน หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีก

ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 5:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


องค์ธรรมสำคัญที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง และเป็นหลักรวมพลทั้งสอง

กรณี ก็คือสติ

การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ กล่าวคือ

เมื่อมีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่

ในขณะนั้นๆ ตลอดเวลา ย่อมสามารถตัดวงจรทำลายกระบวนธรรม

ฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆ แก้ไขความเคยชินเก่าๆ พร้อมกับสร้าง

แนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จิตที่มีสติกำกับ ให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบัน จะมีสภาพตรงข้าม

กับจิตที่เป็นตามกระบวนธรรมข้างต้น คือ

-ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจหรือ

ขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ จุดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่

คือตกลงในอดีต

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 5:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบ

ใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีต เป็นอาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อ

ไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะที่กำลังเป็นไปอยู่ การตก

อดีต ลอยอนาคต ก็ไม่มี

-ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงแปล

ประสบการณ์หรือสิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียงบิดเบือนหรือย้อมสีไปตามอำนาจ

ของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ

-ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ำหรือเพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสม

เรื่อยมา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-เมื่อตามรู้ดูทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็น

สภาพจิตนิสัย เป็นต้นของตนที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนเองไม่ยอมรับ

ปรากฏออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้า เผชิญสภาพที่เป็นจริงของตน

เองตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกตนเอง และทำให้สามารถ

ชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย

นอกจากนั้น ในด้านคุณภาพจิต ก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิก

บาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบ และไม่ถูกเคลือบคุลมให้

หมองมัว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 4:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาต แนะนำให้คุณกรัชกาย อ้างอิงแหล่งที่มา ด้วยทุกทุกความเห็นที่คัดลอกมา

อ่านไปมาเดี่ยวจะเข้าใจผิดว่า เป็นคำอธิบายของคุณ กรัชกาย เอง

แต่ที่ผมอ่านดู เป็นคำอธิบาย จากหนังสือ พุทธธรรม ฉบับขยายความ

คุณกรัชกาย ควรตั้งชื่อกระทู้ สติปัฏฐาน ๔ จากหนังสือ พุทธธรรม น่าจะดีกว่า

เพราะตามแบบของพระพุทธเจ้านั้นตรัสไว้ใน มหาสติปัฏฐานสูตร พร้อมอรรถาธิบายไว้ที่

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

มหาสติปัฏฐานสูตร
เนื้อความในพระไตรปิฎก
เนื้อความในอรรถกถา มีทั้งหมด ๖ หน้าต่าง
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร หน้าต่างที่
มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร ๑.
เรื่องลูกนกแขกเต้า
อธิบายความตามลำดับบท
ธรรมสากัจฉาของพระมหาเถระ
เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ
เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป
เรื่องทุกข์ของพระปีติมัลลเถระ
เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ
เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร
บาลีวิภังค์ ๒.
อุทเทสวารแห่งเวทนาจิตตธัมมานุปัสสนา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อธิบายศัพท์ในปุจฉวาร
อานาปานบรรพ
เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
อานาปานสติเป็นอริยสัจ ๔
อิริยาบถบรรพ
อิริยาบถภายในภายนอก
สติกำหนดอิริยาบถเป็นอริยสัจ ๔
สัมปชัญญบรรพ
สติกำหนดสัมปชัญญะเป็นอริยสัจ ๔
ปฏิกูลมนสิการบรรพ
ธาตุมนสิการบรรพ
กายสักว่าธาตุ ๔
นวสีวถิกาบรรพ
กายที่ปราศจากอายุไออุ่นวิญญาณเป็นซากศพ
เทียบกายด้วยซากศพ
จัดเป็นบรรพ
สติกำหนดซากศพเป็นอริยสัจ ๔
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓.
สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา
เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน
เวทนาที่เป็นสามิสและนิรามิส
เวทนาในเวทนานอก
สติกำหนดเวทนาเป็นอริยสัจ ๔
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จำแนกอารมณ์ของจิต
จิตในจิตนอก
สติกำหนดจิตเป็นอริยสัจ ๔
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔.
นีวรณบรรพ
เหตุเกิดกามฉันท์
เหตุละกามฉันท์
ธรรมสำหรับละกามฉันท์
เหตุเกิดพยาบาท
เหตุละพยาบาท
ธรรมสำหรับละพยาบาท
เหตุเกิดถีนมิทธะ
เหตุละถีนมิทธะ
ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ
เหตุเกิดอุทธัจจกุกกุจจะ
เหตุละอุทธัจจกุกกุจจะ
ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ
เหตุเกิดวิจิกิจฉา
เหตุละวิจิกิจฉา
ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา
สติกำหนดนีวรณ์เป็นอริยสัจ ๔
ขันธบรรพ
สติกำหนดขันธ์ ๕ เป็นอริยสัจ ๔
อายตนบรรพ
เหตุเกิดสังโยชน์
ความรู้เหตุละสังโยชน์
สติกำหนดอายตนะเป็นอริยสัจ ๔
โพชฌงคบรรพ ๕.
ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์
เหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์
๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย
๒. การเห็นอานิสงส์
๓. การพิจารณาวิถีทางดำเนิน
๔. การเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาต
เรื่องพระมหามิตตเถระ
๕. การพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่
๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่
๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่
๘. การพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่
๙. การงดเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
๑๐. การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร
๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น
ปีติสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
อธิบายธรรม ๑๑ ประการ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อธิบายธรรม ๕ ประการ
สติกำหนดโพชฌงค์เป็นอริยสัจ ๔
สัจจบรรพ ๖.
อริยสัจ ๔
อธิบายบทภาชนะ
ชาติ
ชรา
มรณะ
โสกะ
ปริเทวะ
ทุกขโทมนัส
อุปายาส
การไม่สมความปรารถนาเป็นทุกข์
สมุทัยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ
สติกำหนดสัจจะ ๔ เป็นอริยสัจ
สรุปความ
อานิสงส์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 8:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์ดูเริ่มต้นจากลิงค์นี้ก่อนครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497

สติปัฏฐานมีรายละเอียดมาก และผลจากการปฏิบัติก็มีมากเช่นกัน
จึงแยกออกมาเป็นอีกกระทู้หนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 9:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พิจารณาพุทธพจน์ที่สรุปธรรมทั้งหมดดังนี้ครับ

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงตอบชี้แจงแก่เหล่าอัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า แนะท่านผู้อายุ

1. ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา)
2. ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นต้นกำเนิด (มนสิการสมฺภวา)
3. ธรรมทั้งปวง มีผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น (ผสฺสสมุทยา)
4. ธรรมทั้งปวง มีเวทนาเป็นที่ชุมนุม (เวทนาสโมสรณา)
5. ธรรมทั้งปวง มีสมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา)
6. ธรรมทั้งปวง มีสติเป็นเจ้าใหญ่ (สตาธิปเตยฺยา)
7. ธรรมทั้งปวง มีปัญญาเป็นยิ่งยอด (ปญฺญุตฺตรา)
8. ธรรมทั้งปวง มีวิมุตติเป็นแก่น (วิมุตฺติสารา)
9. ธรรมทั้งปวง มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา)
10. ธรรมทั้งปวง มีนิพพานเป็นสุดท้าย (นิพฺพานปริโยสาน)”

องฺ.ทสก. 24/58/113)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 10:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

สิ่งทั้งหลายตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน
พูดเป็นภาพพจน์ว่า ความจริงเปิดเผยตัวมันอยู่ตลอดเวลา
แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป
หรือไม่ก็ถึงกับหลอกลวงตัวของมนุษย์เอง

ตัวการที่ปิดบัง บิดเบือน หรือ หลอกลวง ก็คือ การตกลงไป
ในการแสของกระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้น เครื่องปิดบัง
บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชิน
คอยชักลากให้เสียอีก โอกาสที่จะรู้ความจริงก็แทบไม่มี
ในเมื่อความเคยชินหรือติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมต่อเนื่อง
กันมานานนักหนา
การปฏิบัติเพื่อแก้ไขและสร้างนิสัยใหม่
ก็ควรจะต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง