Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมศาสตรา...ของ เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 11:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“ธ ร ร ม ศ า ส ต ร า
ของ...เ จ้ า ชี วิ ต - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น”

คนไทยรุ่นใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า ๗๕ ปี ลงมา
โดยเฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก จากต่างประเทศ
จะมองภาพลักษณ์ของเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน ผิดไปจากความเป็นจริง
และจะทราบถึงคุณสมบัติ วัตรปฏิบัติ การใช้อำนาจ
ของพระเจ้าแผ่นดินในประวัติศาสตร์ของตนเองน้อยมาก

อาจจะมีความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเลยไปว่า
พระเจ้าแผ่นดินของไทยในอดีต ใช้อำนาจปกครองราษฎรด้วยการบังคับ
กดขี่ ข่มเหง ย่ำยีประชาชน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
ลองพิจารณาจากงานเขียนชุดนี้และพระบรมราโชวาท
ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถึงเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรส
เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒ ว่า

“การที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินไม่ใช่สำหรับมั่งมี
ไม่ใช่สำหรับคุมเหงคนเล่นตามชอบใจ
มิใช่เกลียดไว้แล้ว จะได้แก้เผ็ด
มิใช่เป็นผู้สำหรับจะกินนอนสบาย...

เป็นเจ้าแผ่นดินสำหรับแต่เป็นคนจน
และเป็นคนที่อดกลั้นต่อสุขต่อทุกข์
อดกลั้นต่อความรักและความชัง
อันจะเกิดฉิวขึ้นมาในใจ หรือมีผู้ยุยง
เป็นผู้ปราศจากความเกียจคร้าน...
และเป็นผู้ป้องกันความทุกข์ของราษฎรซึ่งอยู่ในอำนาจปกครอง...”


• ส ม บู ร ณ า ญ า สิ ท ธิ์

อดีตอำนาจสูงสุดในแผ่นดินเป็นของพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นเจ้าชีวิตที่ทรงมีพระราชอำนาจเหนือชีวิตของคนทุกคน
จะให้ประหารชีวิต ลงโทษราษฎรใดๆ ได้ตามพระราชอัธยาศัย

และทรงเป็นเจ้าแผ่นดิน
หรือเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักร
ราษฎรทั้งหลายเป็นข้าของแผ่นดินจะมีสิทธิครอบครองที่ดินได้
ต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน
นั่นคือ ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระเจ้าแผ่นดิน

การดำรงฐานะของเจ้าชีวิตเจ้าแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต
มีรูปแบบการใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์แตกต่างกันไปบ้างตามกาลสมัย
แต่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม
ของผู้คนตลอดทั่วพระราชอาณาจักร
และทรงเป็นผู้นำทางจิตใจของคนไทย
โดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลากว่า ๑,๐๐๐ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน


Image
[พระบรมราชานุสาวรีย์ พุ่อขุนรามคำแหงมหาราช]


• ในสมัยกรุงสุโขทัย

มีพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่า “พ่อขุน”
เป็นเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นผู้ครองนครที่ดูแลทุกข์สุข
ปกครองบ้านเมืองให้อยู่อย่างปลอดภัย
คอยปกป้องดูแลราษฎรให้มีความสุข
ได้รับความยุติธรรมเสมอหน้ากัน
ราษฎรมีสิทธิในการร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์
และมีเสรีภาพในการทำมาค้าขาย
เป็นการปกครองเยี่ยงบิดากับบุตรหรือ “พ่อปกครองลูก”


Image
[พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]


• ในสมัยอยุธยา

พระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน
ทรงเป็นสมมติเทพของคนไทยตามอิทธิพลลัทธิมหายานปนลัทธิพราหมณ์
ที่มีความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็น พระจักรพรรดิ
และได้มีการยกฐานะพระมหากษัตริย์เท่ากับพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ในเทวภูมิ

(ราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์เหมือนแท่นบัลลังก์ของพระอินทร์
ประดับด้วยรูปสิงห์และครุฑตามความเชื่อในเทพต่างๆ
เช่น พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์)


พระนามของพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์
จึงทรงพระนามตามชื่อเทพพรหมเหล่านั้น
(เช่น พระนารายณ์มหาราช พระรามาธิบดี)

ขณะเดียวกัน “พระมหากษัตริย์” ในสมัยอยุธยา
ก็ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนา
คนไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ของตนคือพระ “ธรรมราชา”
เป็นผู้มีพระบรมเดชานุภาพทรงความเข้มแข็งเด็ดขาด
ควบคู่ไปกับทรงต้องบำรุงพระพุทธศาสนา


Image
[พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ประดิษฐาน ณ ทุ่งภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา]



หลังจากพระนเรศวรมหาราชทรงขับไล่พม่าข้าศึกไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว
พระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลต่อๆ มา ก็หันไปบำรุงด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
มิได้บำรุงด้านทหารให้เข้มแข็งเหมือนเดิม
มินานก็เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่าอีกครั้งหนึ่ง
จนอยุธยาต้องล่มสลายลงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐

• ในสมัยกรุงธนบุรี

สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์
ต้องใช้พระราชอำนาจเด็ดขาดกอบกู้บ้านเมือง
ขับไล่ศัตรูจนสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี กอบกู้เอกราชได้สำเร็จ
ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงรักษาความเป็นธรรมราชาด้วย
แต่พระองค์ก็ทรงครองราชย์อยู่ในช่วงเวลาอันสั้น


Image
[พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]


• ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ความเป็นเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน
เปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้ง จากเทพสมมติ
มาเป็น “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ”
คือ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ประชาชนทั้งปวงยอมรับ
ด้วยการที่ข้าราชการและราษฎรทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลวิงวอน
เชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ

นอกจากประชาชนจะยอมรับในองค์พระมหากษัตริย์แล้ว
ประชาชนยังมีความเชื่ออีกว่า
พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องทรงตั้งมั่นในหลักธรรมะ
คือ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และ จักรวรรดิวัตร
ที่จะทรงใช้ในการทรงคุ้มครอง
และทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดินและราษฎร


Image
[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
: องค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์]


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 11:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙]



• ธ ร ร ม ะ ศ า ส ต ร า

ลักษณะและรูปแบบการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็น เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน ของคนไทยที่ผ่านมา
มิได้ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์หรือพระแสงราชศาสตรา
มาเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับราษฎร
หรือประชาชนในปกครองตามอำเภอใจ

การใช้พระราชอำนาจทั้งปวงมี ธรรมะศาสตรา เป็นอาวุธ
คือ การใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือเป็นอาวุธ
เป็นเครื่องกำกับการใช้อำนาจในการปกครอง
ปกป้องรักษาคุ้มครองไพร่ฟ้าประชาชน


ดั่ง “บิดาปกครองบุตร”
ดั่ง สมมติเทพและธรรมราชา
ดั่ง อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ


วิชาธรรมศาสตร์
เป็นวิชาทางการปกครองบ้านเมืองที่มีมาช้านานตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
เป็นไปตามลัทธิพราหมณ์ที่สอนไว้ว่า
ผู้จะทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์จะต้องเรียนรู้วิชาการต่างๆ

ดั่งมีตำนานเล่าขานว่า

ฤาษีมโนสารเหาะไปนำคัมภีร์ธรรมศาสตร์มาจากกำแพงจักรวาล
(ไม่ปรากฏรายละเอียดของคัมภีร์)


และในศาสนาพราหมณ์กำหนดหน้าที่ของบุคคลในวรรณะกษัตริย์ไว้
ให้ทำหน้าที่ป้องกันประชาชนและทำหน้าที่บริจาคทาน บูชายัญ ศึกษา เป็นต้น

นอกจากคัมภีร์ธรรมศาสตร์จะบอกเล่ากล่าวขาน
ถึงหลักปฏิบัติการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้ต่างๆ
เป็นเครื่องยึดถือของพระมหากษัตริย์ของไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
พระมหากษัตริย์ของไทยยังได้มีการออกกฎมณเฑียรบาล
ป้องกันมิให้พระองค์ทรงใช้อำนาจในทางที่ผิดไว้เป็น พระราชศาสตร์ ดังความว่า

“...พระเจ้าอยู่หัวดำรัสด้วยกิจการคดีถ้อยความประการใดๆ
ต้องกฎหมายประเพณีเป็นยุติธรรมแล้ว ให้กระทำตาม ถ้ามิชอบ
จงอาจเพ็ดทูลทัดทานครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง
ถ้ามิฟังให้รอไว้อย่าเพิ่งสั่งไป ให้ทูลในที่รโหฐาน
ถ้ามิฟังจึงให้กระทำตาม ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระอัยการดั่งนี้
ท่านว่าผู้นั้นละเมิดพระราชอาญา”


หรือ

“อนึ่ง ทรงพระโกรธแก่ผู้ใดและตรัสเรียกพระแสง
อย่าให้เจ้าพนักงานยื่น ถ้ายื่นโทษถึงตาย”


หลักฐานข้อมูลที่นำมาเสนอไว้นี้เป็นเครื่องยืนยันว่า

“เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน” ของไทย
ได้ใช้พระราชอำนาจด้วยความระมัดระวัง
ด้วยความเที่ยงธรรม มิได้ลุแก่พระราชอำนาจ
กดขี่ รังแก ข่มเหง ราษฎรแต่อย่างใด


นอกจากนี้ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงกษัตริย์ว่า

เกิดจากการที่มหาชนได้สมมติบุคคลผู้หนึ่ง
ขึ้นเป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ
ติเตียน ผู้ควรติเตียนได้โดยชอบ
และขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ
ให้บุคคลนั้นเป็นหัวหน้าเป็นใหญ่ จึงเรียกว่า “กษัตริย์”


เมื่อกษัตริย์ได้ทำให้ชนเหล่านั้นมีความสุขใจได้โดยธรรม
จึงเรียกว่า “ราชา”

คติทางพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดิน
จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจมาจากประชาชน
ปกครองเพื่อให้ประชาชนพอใจ

นอกจากนี้ พระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลต่อการใช้พระราชอำนาจของ
เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน ของไทยเป็นอย่างยิ่ง
คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ปรากฏใน พระบาลีสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย ว่า

พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่าตนกำลังกริ้วจัดจะไม่พึงลงอาชญาแก่ใคร

พระเจ้าแผ่นดินพึงรู้ว่าจิตใจของตนผ่องใส
จึงใคร่ครวญความผิดที่ผู้อื่นทำไว้
พิจารณาให้เห็นแจ่มแจ้งด้วยการมองว่า
มีส่วนที่เป็นประโยชน์เป็นโทษ
แล้วจึงลงโทษบุคคลนั้นๆ ตามสมควร

กษัตริย์เหล่าใดถูกอคติครอบงำ
ไม่ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้วทำไป
ทรงลงอาชญาโดยผลุนผลัน
กษัตริย์เหล่านั้นปกครองด้วยโทษน่าติเตียน
เมื่อทิ้งชีวิตไปพ้นจากโลกนี้แล้วย่อมไปสู่ทุคติ

พระราชาที่ทรงยึดถือในทศพิธราชธรรม
เป็นผู้บำเพ็ญด้วย กาย วาจา ใจ
และดำรงมั่นอยู่ในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ

พระราชาที่ครองราชย์ด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
ย่อมจะทำให้มหาชน ผู้กำเริบร้อนกายและจิตให้ดับหายไปได้
เหมือนมหาเมฆยังแผ่นดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำ


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 11:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
: พระปิยะมหาราชแห่งราชจักรีวงศ์]



นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ
ยังต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในราชธรรม ๓๘ ประการ
เช่น ต้องดูแลรักษาประชาชนดุจครูรักษาศิษย์
หรือมารดารักษาลูกของตน ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์ของไทยตั้งแต่อดีตมา
แม้จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แต่ก็มิได้ใช้พระแสงราชศาสตราปกครองเข่นฆ่าข่มเหงรังแกประชาชน
กลับใช้ธรรมะคือ ทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ และ จักรวรรดิวัตร
เป็นอาวุธ ใช้ปัญญาปกครองบ้านเมือง


• ทศพิธราชธรรม

คือ ทาน (การให้), ศีล (การตั้งสังวรกาย-ใจให้สุจริต),
ปริจจาคะ (การบริจาค), อาชชวะ (ความซื่อตรง),
มัททวะ (ความอ่อนโยน), ตปะ (ทำหน้าที่ครบถ้วนไม่หลีกเลี่ยงเกียจคร้าน),
อักโกธะ (ความไม่โกรธ), อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียนมนุษย์และสัตว์),
ขันติ (ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทน),
และอวิโรธนะ (การคิดการกระทำที่ถูกต้องดีงาม ปราศจากอารมณ์ยินดียินร้าย)

• ราชสังคหวัตถุ ๔

คือ สัสสเมธัง (ความรู้ในการบำรุงพืชผลในประเทศให้สมบูรณ์),
ปุริสเมธัง (รู้จักสงเคราะห์ หรือชุบเลี้ยงคนที่ควร) ,
สัมมาปาสัง (รู้จักผูกใจคนให้จงรักภักดีด้วยการปกครองที่ทำให้เกิดความสุข ความเจริญ),
และวาจาเปยยัง (คำพูดอันอ่อนหวานไพเราะ)

• จักรวรรดิวัตร ๑๒

ได้แก่
๑. พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่าตนกำลังกริ้วจัดจะไม่พึงลงอาชญาแก่ใคร
๒. ปกป้องคุ้มครองกษัตริย์เมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองประเทศราช
๓. ปกป้องคุ้มครองพระราชวงศ์และบริวาร
๔. ปกป้องคุ้มครองพราหมณ์และคหบดี
๕. ปกป้องคุ้มครองชาวชนบท
๖. ปกป้องคุ้มครองสมณพราหมณ์
๗. ปกป้องคุ้มครองสัตว์ทั้งหลาย
๘. ห้ามปรามราษฎรมิให้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม
๙. พระราชทานทรัพย์แก่ผู้ไร้ทรัพย์
๑๐. สอบถามธรรมจากสมณพราหมณ์
เพื่อขจัดสิ่งที่เป็นโทษเป็นบาปให้กระทำสิ่งที่เป็นคุณเป็นบุญ
๑๑. ละความยินดีใคร่ติดในอธรรม
๑๒. ละความละโมบโลภ

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 11:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก]


• พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือมาตั้งแต่ พ.ศ. ๖๐๐
สมัยขุนหลวงเม้า กษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานตอนใต้ของจีน
ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะนับถือพระพุทธศาสนา

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็ยืนยันว่า
พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทาน
แก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนปิฎกไตร
ซึ่งเป็นการเอาใจลงปลงใจเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

คนในเมืองสุโขทัยมักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน
พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัย ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า
ท้วยปั่ว ท้วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย
ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงศีลในพรรษาทุกคน

ในไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถาของพระเจ้าลิไท
ยืนยันว่าคนไทยในสมัยนั้นยึดมั่นในพระพุทธศาสนาถึงขั้น

“เอาใจลง ปลงใจเชื่อแก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์”

รู้จักผิดและชอบ รู้จักบาปและบุญ รู้จักประโยชน์ในชั่วนี้ชั่วหน้า
รู้จักกลัวแก่บาปและอายแก่บาป

ซึ่งแตกต่างจากคนไทยในปัจจุบันที่ไม่ค่อยรู้จักบุญ รู้จักบาป
ไม่ปลงใจเชื่อในพระรัตนตรัยอย่างจริงจัง


โดยที่พระมหากษัตริย์ผู้เป็นเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดินของคนไทย
มั่นคงในพระพุทธศาสนา
คอยส่งเสริมบำรุงพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปี

เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดินของคนไทย
ยังได้พยายามให้คนไทยยำเกรงต่อการทำผิดศีล
ดังปรากฏตามคำสอนของ พระเจ้าลิไท ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ว่า

ผู้ใดฆ่าสัตว์ ไปเกิดในโลหะกุมภีนรก
ยมบาลลงโทษเอาเชือกเหล็กรัดคอขาดแล้วเอาหัวไปทอดในหม้อเหล็กที่ลุกเป็นไฟ

ผู้ใดเป็นข้าราชการ พระเจ้าแผ่นดินใช้ให้ไปเอาส่วยสาอากรจากราษฎร
แล้วทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงเก็บภาษีอากรมากกว่ากำหนด
ตายไปเกิดในโบราณมิฬหนรก
ถูกลงโทษให้ลงไปอยู่ในแม่น้ำที่เต็มไปด้วยอาจม
และกินอาจมนั้นต่างข้าวทุกวัน


ด้วยอิทธิพลของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาที่ได้ยกตัวอย่างมา
พระพุทธศาสนาจึงเป็นศูนย์รวมของจิตใจคนไทย
สร้างความสามัคคีในหมู่ชนชาวไทย
แต่ก็ช่วยให้คนไทยสามารถอยู่ร่วมกับศาสนิกชนอื่นๆ ได้ด้วยความสันติสุข


ช่วยให้การใช้พระราชอำนาจของ เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน ของไทยเกือบทุกพระองค์
อยู่ในแนวทางของราชธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชสังคหวัตถุ

ความยึดมั่นผูกพันกันเช่นนี้ เราจึงได้เห็นการสร้างวัด สร้างสถูปเจดีย์
ถวายพระพุทธศาสนาภายหลังที่ทำศึกสงครามชนะมา
เพื่อเป็นการถ่ายกรรมในการฆ่าข้าศึกศัตรู

เจตจำนงอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์
เช่นที่กล่าวมานี้มีมาโดยต่อเนื่อง
ดังตัวอย่างกรณีของพระเจ้าตากสินมหาราช ที่มีจารึกไว้ว่า

“อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก
ทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนา
ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา
แด่ศาสนาสมณะพระพุทธโคดม” ฯลฯ


หรือพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ว่า

“ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี” ฯลฯ


ต่อมาพระมหากษัตริย์ในสมัยที่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญใช้บังคับ
รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ประกาศใช้ก็กำหนดให้พระมหากษัตริย์
ต้องเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 11:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

• วั ฒ น ธ ร ร ม อำ น า จ

ด้วยอิทธิพลของพระพุทธศาสนา
และความสืบทอดของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
มีมาอย่างยาวนานนับพันปี ทำให้เกิดวัฒนธรรมการใช้อำนาจของ
พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ผู้เป็นเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดินของคนไทยทั่วราชอาณาจักร
ที่คนไทยได้ยกย่องเทิดทูนนับถือ
และมีปฏิสัมพันธ์ต่อองค์พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมหากษัตริย์ ดังนี้

• สมัยก่อนสุโขทัย

คนไทยมีทัศนะต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้นำ
ที่จะทำให้เกิดพิธีกรรมในการแก้ไขปัญหาความอดอยากแร้นแค้น
ที่เกิดจากภัยธรรมชาติและการรุกรานจากชนกลุ่มอื่นๆ
ในขณะเดียวกันก็ถือเอาพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำหรือ
หัวหน้าในการรบพุ่งป้องกันข้าศึกศัตรู

• สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ครองนคร
ทรงอำนาจเหนืออาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง
แต่มีวัฒนธรรมการใช้อำนาจแบบ “พ่อปกครองลูก” ที่ใกล้ชิดกับราษฎร
ทรงอบรมสั่งสอนราษฎรให้อยู่ในศีลธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา
ให้สิทธิแก่ราษฎรสั่นกระดิ่งร้องทุกข์
และทรงพิจารณาด้วยความยุติธรรมเสมอกันไม่ว่าไพร่หรือขุนนาง
และที่สำคัญคนไทยในสมัยนั้นมีเสรีภาพในการค้าขาย ทำมาหากิน

• สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ๔๑๗ ปี

ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการใช้พระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดินไปมาก
จากวัฒนธรรมพ่อปกครองลูก
เข้ามาสู่วัฒนธรรมของเทพสมมติปนกับวัฒนธรรมธรรมราชา

เทพสมมติ เป็นอิทธิพลความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นเทวราช
หรือสมมติเทพที่จุติลงมาปกครองมนุษย์
แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากลำเค็ญของมนุษย์

เทียบฐานะพระมหากษัตริย์เท่ากับพระอินทร์
สถาปัตยกรรมก็สะท้อนถึงวัฒนธรรมเทพสมมติหรือเทวราชา
แม้แต่พระนามของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์
ก็สะท้อนมาจากวัฒนธรรมเทพสมมติ
เช่น พระนารายณ์มหาราช พระรามาธิบดี

วัฒนธรรมการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์
จึงค่อนข้างจะสมบูรณ์เด็ดขาด
แต่ก็มี พระธรรมศาสตร์ พระราชศาสตร์
คอยเป็นเครื่องกำกับป้องกันการข่มเหงรังแกประชาชน


Image
[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ภายในพระบรมมหาราชวัง
บริเวณปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑปซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก
และพระศรีรัตนเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พ.ศ.๒๔๒๓ : ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕]



นอกจากนี้ธรรมราชาก็เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น
จากการที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก
ที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
วัดวาอารามต่างๆ ทรงสังคยานาพระไตรปิฎก

มีการยกย่องพระมหากษัตริย์ว่าเป็น พระโพธิสัตว์
มีการสร้างพระราชวังกับวัดอยู่ใกล้กัน
เช่น พระบรมมหาราชวังกับวัดพระแก้ว
แสดงว่าพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก


วัฒนธรรม “ธรรมราชา” นี้ชัดเจน
เข้ามาปนเปในบางส่วนของวัฒนธรรม “เทวราชา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
แต่ศูนย์กลางแห่งอำนาจยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ราษฎรมีฐานะเป็นข้าแผ่นดิน

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทั้งทางจิตวิญญาณและทางทหาร
แต่ทรงประพฤติปฏิบัติพระองค์เอง
และทรงใช้พระราชอำนาจอยู่ภายใต้กรอบของธรรมะ
จึงไม่ทำให้ราษฎรเดือดร้อนต่อต้านขัดขวาง

• สมัยรัตนโกสินทร์

ได้เกิดวัฒนธรรมใหม่เกิดขึ้นในสถาบันพระมหากษัตริย์
ที่ยอมรับกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็น “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ”
กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ต้องเป็นบุคคลที่ประชาชนทั้งปวงยอมรับ

เริ่มต้นตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบปรามจลาจลในกรุงธนบุรีแล้ว
บรรดาข้าราชการและราษฎรทั้งปวงก็พร้อมกันกราบทูลวิงวอน
อัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นเสวยสวรรยาธิปัตย์ดำรงแผ่นดินสืบไป

วัฒนธรรมนี้ตกทอดเป็นมรดกมาถึงรัชกาลที่ ๒-๓-๔ และ ๕
ที่ข้าราชการและราษฎรได้ช่วยกันเลือกสรรบุคคล
ขึ้นมาดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น

มีรัชกาลที่ ๖ ที่ ๗ ที่แตกต่างไปบ้าง
แต่ ๒ รัชกาลถัดมาก็ใช้วัฒนธรรมเดียวกัน
(ในสมัยรัชกาลที่ ๘-๙ รัฐสภาในขณะนั้นได้ลงมติเห็นชอบให้อัญเชิญขึ้นครองราชย์)

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 11:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์]


เช่น

รัชกาลที่ ๑ ทรงใช้พระราชอำนาจในการสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้กับคนไทยทุกด้าน

รัชกาลที่ ๒ ทรงส่งเสริมกวีและศิลปะ

รัชกาลที่ ๓ ทรงส่งเสริมพาณิชยกรรมและสถาปัตยกรรม

รัชกาลที่ ๔ ทรงริเริ่มนำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้

รัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปการปกครอง การบริหาร
การสร้างสาธารณูปการ การเลิกทาส ฯลฯ

รัชกาลที่ ๖ ทรงเตรียมการมอบอำนาจอธิปไตยให้คนไทยต่อจากรัชกาลที่ ๕
และทรงสามารถในทางปราชญ์และกวี

รัชกาลที่ ๗ ทรงมอบอำนาจอธิปไตยให้ปวงชนชาวไทย

รัชกาลที่ ๘ ยังไม่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เอง
ก็สิ้นพระชนม์ชีพเสียก่อน

และ รัชกาลที่ ๙ ปัจจุบันก็ทรงงานอย่างอเนกคุณูปการต่อคนไทย


Image

• ส รุ ป

พระมหากษัตริย์ของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ได้ผ่านกาลเวลามานานนับ ๑,๐๐๐ ปี
แม้จะทรงมีพระราชอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
แต่ลักษณะการใช้พระราชอำนาจของแต่ละยุคแต่ละสมัย
ไม่ได้เป็นไปเพื่อกดขี่ข่มเหงรังแกประชาชนแม้แต่น้อย

• สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี

ก็ทรงใช้อำนาจแบบพ่อปกครองลูก
ให้ความยุติธรรมแก่ราษฎรอย่างเสมอหน้า
ให้สิทธิเสรีภาพในการค้าขาย
และส่งเสริมให้ราษฎรคนไทยมั่นคงในพระพุทธศาสนา

• สมัยอยุธยาเป็นราชธานี

แม้จะมีอิทธิพลของวัฒนธรรมในลัทธิพราหมณ์ที่หลั่งไหลมาจากเขมร
คือ วัฒนธรรมเทวราชา หรือ เทพสมมติ
ก็ไม่ปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงกดขี่ข่มเหงรังแกประชาชน
กลับนำประชาชนให้มีความเข้มแข็ง และขยายพระราชอาณาจักรออกไป
และทรงใช้พระราชอำนาจอยู่ในกรอบของธรรมะ

ทั้งลัทธิ “ธรรมศาสตร์” และ “ราชศาสตร์”
อันได้แก่ กฎมณเฑียรบาล
จำกัดการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ป้องกันการกดขี่ข่มเหงใช้อำนาจรังแก
และลงโทษประชาชนให้รอบคอบ รัดกุม


ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนามาเข้มแข็งขึ้นในหมู่คนไทย
ก็หันมาใช้อำนาจแบบพระธรรมราชาและจักรพรรดิราชา
ภายใต้ทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร ๑๒


• สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

แม้พระมหากษัตริย์จะยังเป็นเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน
ก็มิได้ทรงใช้อำนาจกดขี่รังแกประชาชนคนไทยแต่อย่างใด
กลับนำคนไทย ต่อสู้ข้าศึกศัตรูกอบกู้บ้านเมืองขึ้นมาจนได้รับการยกย่อง
เชื่อถือและถึงกับกราบบังคมทูลให้ทั้ง ๒ พระองค์ขึ้น
เป็นพระมหากษัตริย์ในวาระเวลาที่ต่างกัน

ได้เกิดวัฒนธรรมอำนาจใหม่ขึ้นมาเป็น
อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ มาถึงปัจจุบัน


Image
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัตร
ในวันที่โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราช



ด้วยความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและปรัชญาการปกครองต่างๆ
ที่มุ่งต่อความมั่นคงของชาติบ้านเมืองและความอยู่ดีมีสุขของราษฎร
มิได้มุ่งสั่งสมทรัพย์ศฤงคาร ความร่ำรวย
หรือความสุขสบายเหมือนพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นๆ
จึงทำให้คนไทยมีความยึดมั่นจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
และแยกจากกันไม่ออก.....
สาธุ

สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา “เจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน” : http://www.watraja.org)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 12:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

งดงาม หาใดเทียบเทียม สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง