Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิ-วิปัสสนาต่างกันอย่างไร ? โดยผู้ทรงพระไตรปิฏก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 5:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยพระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)
http://www.abhidhamonline.org/sw.htm

สมถะ --- วิปัสสนา

๑. สมถะ คือ ตัวสมาธิ ส่วน วิปัสสนา ก็คือ ตัวปัญญา (ที่เห็นลักษณะต่างๆ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น)

๒. ศีลธรรมดา มีอารมณ์เป็นภายนอก ส่วนศีลที่เกิดร่วมกับวิปัสสนานั้น เป็นศีลที่มีอารมณ์เป็นภายใน หมายถึง อินทรีย์สังวรศีลนั่นเอง เพราะอินทรีย์สังวรศีล เป็นศีลที่มีประสิทธิภาพในอันที่จะกางกั้น อาสวธรรมที่จะไหลเข้าทางตา เป็นต้นได้

๓. สมถะ มีประสิทธิภาพ ในการกำจัดกิเลสอย่างกลาง ด้วยอำนาจของวิกขัมภนปหาน ส่วนวิปัสสนานั้น มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุสัยกิเลสอย่างละเอียด ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้ด้วยอำนาจของตทังคปหาน

๔. สมถะ ไม่สามารถจะละหรือทำลายอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดได้ เพราะแม้ในฌานสมาบัติเอง ก็ยังมีอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องอยู่ เหตุนั้นจึงทำให้ผู้ได้ฌานสมาบัติยังมีความชื่นชมยินดี ในความสุขที่เกิดจากฌานนั้นอยู่ ส่วนวิปัสสนานั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเปิดเผยความจริงของนามรูป ที่อวิชชา คือ ความไม่รู้ อันเป็นตัวปิดบังความจริงไว้ เมื่ออวิชชาทำกิจปกปิดความจริงไม่ได้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า “กำลังถูกวิปัสสนาทำลายให้หมดไปในตัวอีกส่วนหนึ่งด้วย”

๕. สมถะ เมื่อทำไปจนเกิดผลก็ทำให้เกิดความสงบสุข ส่วนวิปัสสนานั้นเมื่อทำไปจนเกิดวิปัสสนา(ปัญญา)แล้ว ก็ทำให้เห็นแต่ทุกข์อย่างเดียว เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นทุกข์แล้ว ตัณหาและทิฏฐิ ก็ไม่อาจจะอาศัยเกิดได้ในอารมณ์เช่นที่ว่านั้น

๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และ อัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะ คือ สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะ เพื่อให้เกิดสมาบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และ ประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาเพ่งดูกสิณหรืออสุภะ เป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจเพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตู ทีเดียว

๘. การทำสมถะ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไป เป็นชั่วโมง หรือ ๒ ชั่วโมง ก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

๙. สมถะ ใช้อารมณ์เป็นบัญญัติ เช่น บัญญัติกสิณหรืออสุภะเป็นต้น ส่วนวิปัสสนานั้น ต้องใช้สภาวะ คือ นามรูป มาเป็นอารมณ์จึงจะใช้ได้

๑๐. อานิสงส์ของสมถะกับวิปัสสนา ที่จะพึงได้จากการปฏิบัติ ก็แตกต่างกันทั้งในส่วนปัจจุบัน และอนาคต คืออานิสงส์ของสมถะในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ได้อภิญญา เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือ ดำไปในดินดุจดำน้ำเป็นต้นก็ได้ อานิสงส์ของสมถะในอนาคตชาติ คือ ชาติหน้านั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็ช่วยให้ได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่ในพรหมโลก ตามอำนาจของฌานนั้นๆ ส่วนอานิสงส์ของวิปัสสนั้น ในชาติปัจจุบัน ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้สิ้นจากอาสวะกิเลส คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และ อวิชชาสวะ หรือสิ้นจากกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดนั่นเอง ส่วนอานิสงส์ในอนาคตชาตินั้น ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากชาติกันดาร ชรากันดาร และมรณกันดาร ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตายในชาติอื่นๆ อีกต่อไป ดังนั้นสมถะกับวิปัสสนา จึงมีความแตกต่างกันดังแสดงมาโดยสังเขปนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 6:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิจัยเกี่ยวกับเรื่องสมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10082

ตามที่ได้อธิบาย พร้อมทั้งยกเอาหลักฐานมาเป็นเครื่องยืนยันทั้งหมดนี้ จะเห็นได้แล้วว่าเป็นเรื่องที่น่าระมัดระวัง ในการเผยแผ่ธรรมะชั้นสูงเป็นกรณีพิเศษทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นแล้วขออย่าได้ผลีผลามใช้ความเห็นของตนแสดงออกเป็นอันขาด เพราะถ้านักปราชญ์ที่เขาคงแก่เรียนไปรู้เข้า มิใช่จะเสียหายเฉพาะตัวเองเท่านั้น ยังเสียไปถึงคนที่หลงเดินตามปฏิปทาที่ตัวสอนอีกมากมายด้วย จึงขอสะกิดใจไว้เพียงเท่านี้ฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 6:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักของสมถะและวิปัสสนาโดยพระมหาประกอบ สำนักวิปัสสนาขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา


หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้

ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย

หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ

หลักของวิปัสสนา ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความจริงและสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น

หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิด ก็จะยิ่งหมดไปเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิดและความสงสัย ถูกละไปหมดเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น

ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือหลักการของ วิปัสสนา

สมถะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาอย่างไร ?
สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติเพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่น การปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลมโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้

เมื่อไม่รู้ว่า รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนามาจนสำเร็จฌานชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌานคือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก วิจาร ปิติ สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนิชำนาญในวสี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้

อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌานหรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาจึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้ โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า สมถยานิกกะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า วิปัสสนายานิกกะ

แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน

นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา

ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

ความแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา

๑. โดยปรารภผล
สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด – ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง

๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. โดยการละกิเลส
สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส

๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. โดยอานิสงส์
สมถะ ให้อยู่เป็นสุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาตถามคุณ เฉลิมศักดิ์ 1 ว่า ใช่คนๆเดียวกันกับคุณเฉลิมศักดิ์ ไม่มี 1 ต่อท้าย ที่เคยเห็นจากบอร์ดลานธรรม หรือไม่ครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2008, 7:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สวัสดีครับคุณกรัชกาย ใช่คนเดียวกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง