Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมู่เฮาเตียมโต๋
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออย่าเอาแต่อ้างว่าเป็นเพราะตัวเองรักพระพุทธเจ้า

ลุกขึ้นมาปกป้องพระพุทธธรรมพูดอะไรต้องถูกหมดแล้วยกมาเป็นแผ่นเสียงตกร่องเหมือนในเวปลานธรรมเสวนาก็แล้วกัน

เรื่องนี้เริ่มที่เวปพันธุ์ทิพย์เมื่อหลายปีก่อน

จุดประสงค์ที่แท้จริงของเจ้าของกระทู้ยังไม่ทราบ

มีแต่อ้างว่าเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา

มีข้อสังเกตุ

คนที่กล้าอ้างว่าตนเป็นผู้ปกปองพระพุทธศาสนาคนนั้นไม่รู้จักศาสนาพุทธ

เอาแค่นี้ก่อน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ความคิดเห็นที่ 5 : (เฉลิมศักดิ์) แจ้งลบ | อ้างอิง |


อ้างอิง
๑.นั่งสมาธินี่ความหมายจริงๆ คือนั่งไปเรื่อยๆ จนไม่คิดฟุ้งซ่านใช่ไหมครับ


นั่งเรื่อย ๆ ไม่ได้ครับ ต้องเพ่งสมมุติบัญญัติ อย่างต่อเนื่องครับ

จากท่านผู้รู้

ไขข้อข้องใจวิปัสสนา
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/vipass.doc


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น
ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ


ฉะนั้น สมาธิคือการที่จิตกำหนดอยู่ในอารมณ์ๆ เดียว
จะหาอะไรมากำหนดก็ได้เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้น เช่น ภาวนาว่า
"พุทโธ" "สัมมาอรหัง" หรือกสิณมีถึง ๔๐ อย่างที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้
จิตจะได้กำหนดอยู่กับสิ่งนั้น

---------------------------------------------------------------------
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11273

วิปัสสนานั้นจุดยืนของวิปัสสนาก็คือต้องเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เราจะต้องดำเนินไปสู่จุดนั้น ไปสู่จุดของการเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เป็นของจริง ๆ ที่นี้บางท่านกำหนดอยู่ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติอยู่ ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าสมมุติบัญญัตินั้นก็ทำให้เกิดสมาธิได้ เป็นการปลูกสร้างสมาธิให้เกิดขึ้น แต่เมื่อจะก้าวขึ้นสู่วิปัสสนาก็ต้องให้มีความลึกซึ้ง โดยการให้วางจากสมมุติอารมณ์เหล่านั้น ให้จรดสภาวปรมัตถ์รูปนาม

เป็นสมมุติบัญญัติ ทำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะของจริง ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เรากำหนดอย่างนั้นได้ในขั้นดำเนินขั้นต้นให้จิตได้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ให้จิตซัดส่ายไปนอกตัวเอง เมื่อจะขึ้นมาเพื่อปัญญาเกิดขึ้น กำหนดให้ลึกซึ้งลงไปถึงความรู้สึก ความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นเป็นตัวปรมัตถ์ อย่างที่หน้าท้องนี่ หายใจเข้าท้องตึง หายใจออกท้องหย่อน ที่จริงนั้นความจริง ๆ มันคือความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นแหละเป็นปรมัตถธรรม



เอาไว้รอสนทนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 4:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียน สมาชิกทุกท่าน


หากจะคุยเรื่องทิฏฐิของท่านพุทธทาส ขอเชิญในกระทู้

ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187&sid=2d3415ab03d424e11fa4a8dba061c875


อ้างอิงจาก:
จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ

มักมีแนวความคิดดังนี้

1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย)
(พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน)
-- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ

2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด)

3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์

ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 5:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/

ผู้กล่าวตู่พระตถาคต


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ประเภทเหล่านี้ ย่อมกล่าวตู่ (หาความ) ตถาคต คือบุคคลผู้คิดประทุษร้าย มีโทสะในภายใน ๑ ผู้มีศรัทธา กล่าวตู่ ด้วยถือเอาความหมายผิด (๑๐) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ประเภทเหล่านี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต."

ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๗๖

------------------------------------------------------

อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง (คลี่คลาย) เรื่องที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเรา ข้อนั้นไม่ปรากฏในพวกเรา ดังนี้."

พรหมชาลสูตร ๙/๓
-----------------------------------------

พระโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อย

[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า เอาเลื่อยที่มีที่จับ
ทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้นภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้าย
ต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อด-
กลั้นไม่ได้นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่
แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิตไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาอันไพบูลย์
ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์
ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๔๒๑๐ - ๔๔๔๒. หน้าที่ ๑๗๑ - ๑๘๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4210&Z=4442&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263
-----------------------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 5:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187

กระทู้ถูกปิดแล้วครับ

-----------------------------------------------------

อย่าได้โกรธเมื่อมีใครกล่าวตู่พระพุทธพจน์
แต่ควรชี้แจงตามหลักฐานที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก อรรถกถา

ดังเช่น เรื่องที่ท่านพุทธทาส กล่าวตู่พระพุทธองค์ว่าทรงเอออวยสวมรอยคำสอนในศาสนาพราหมณ์ เพราะพิสูจน์ให้คนโง่ในสมัยนั้น เห็นไม่ได้

อ้างอิงจาก:

http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย
---------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 5:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ
และผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหาย

ก.ทำตัวอ่อนต่ออุปนิสัย เป็นคนเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้น ในการทำกิจต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและดียิ่งขึ้น กลายเป็นคนอ่อนศักยภาพ ที่เรียกว่า ถูกพระสัทธรรมเหยียบ เหมือนถูกมนต์สะกด บางคนบางท่าน เกิดจิตวิปลาส เป็นผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ เพราะประพฤติปฏิบัติผิดต่อพระธรรมวินัย นั่นเอง

ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น
๑)อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้
๒)โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล
๓)พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ
๔)สาเถยยมายาวี เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนแก้อยาก
๕)ปาปิจฺโฉ มีความมักมาก แสวงหาปัจจัย โดยไม่ชอบธรรม ชอบคลุกคลี ในทางที่ไม่เหมาะสม
๖)ถทฺธี เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ชอบกอบโกย ชอบสะสม ชอบใช้อภิสิทธิ์ หรือวางอำนาจเหนือบุคคลอื่น มีอัธยาศัยคับแคบ ไม่ต้องการเห็นคนอื่นดีกว่าตน
๗)อามิสาภิมุขี เป็นคนเห็นแก่ประโยชน์จำเพาะหน้า มุ่งหน้าแต่เรื่องลาภสักการะ ชื่อเสียง ยศตำแหน่ง เป็นต้น
๘)สทฺธมฺมปฏิมุขี หันหลังให้พระสัทธรรม คือ ไม่ชอบฟังพระสัทธรรม ชอบหมกหมุ่นแต่ในเรื่องเดรัจฉานกถา หรือ ไม่ให้ความสำคัญแก่พระสัทธรรม สนใจและให้ความสำคัญแต่ในเรื่องทางโลก (โลกาธิปไตย หรือ โลกานุวัฒน์ ) หรือเอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นเครื่องตัดสิน (อัตตาธิปไตย) ขาดความมั่นคงและความเคารพยำเกรง ในพระสัทธรรม
๙)มุฏฐสฺสติ ขาดจิตสำนึกในความเป็นกัลยาณชน ขาดความยั้งคิด ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกระแสกิเลส
๑๐) อคมฺภีรปญฺโญ มีความคิดไม่เฉียบแหลม มีวิสัยทัศน์คับแคบ มองโลกในแง่ร้าย ขาดโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาเหตุผลและเหตุการณ์ให้รอบคอบ

-------------------------------------------------------------

การศึกษาพระธรรมวินัย ของเถรวาท บางครั้งอาจจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ อันเกิดจากการ ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง

แต่การศึกษา อัตตโนมติของบรรดาอาจารย์ทั้งหลาย ( อาจาริยวาท) ไม่ว่าจะเป็น พระวัดบ้าน วัดป่า ฯลฯ ที่ไม่ได้อ้างอิงจาก พระธรรมวินัย (พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ เถรวาท) พฤติกรรมเบี่ยงเบน ผมว่า ย่อมมีมากกว่า เช่น

-- ยึดถืออาจาริยวาท ยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ ใครมาวิจารณ์ไม่ได้
-- ยึดติดตัวบุคคล มากกว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา ถึงขั้นหันหลังให้พระสัทธรรม ไปเลย

ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 5:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
เรามาถกเรื่องเนื้อหาสาระ ไม่ยึดบุคลลาธิฐาน คงไม่กระทบกับอัตตาใครมากนัก

ผมเองศรัทธาท่านพุทธทาสเป้นการส่วนตัว

ท่านที่ไม่ศรัทธาก็แย้งได้

ผู้ศรัทธาก็มีสิทธิแสดงความคิดเห็น

บนเส้นทางปัญญา

เรียนถามท่านเฉลิมศักดิ์1ว่า

แล้วที่ท่านสอนเรื่องตัวกู ของกู กับเรื่อง อานาปานะสติ

ท่านเฉลิมศักดิ์1มีความคิดเห็นอย่างไร



สังเกตดูพฤติกรรม ของคุณ mes ที่เชื่อในคำสอนของท่านพุทธทาส ก็มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหลาย ๆ อย่าง

การที่จะกล่าวอ้าง พระพุทธพจน์แทบไม่มี มีแต่คำสอนท่านพุทธทาส

--------------------------------------------------

คุณ mes ครับ คุณไม่ควรใช้คำว่า ศรัทธา กับคำสอนท่านพุทธทาสครับ
เพราะคำสอนของท่านพุทธทาส ไม่เคยสอนเรื่อง กรรม และวิบาก เหมือนพระพุทธองค์เลยครับ มีแต่ตำหนิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบไปด้วยปัญญา ๔ ประการคือ

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธา_๔

สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
----------------------------------------------------------------------

คำอธิบายเพิ่มเติม โดย อ.บุษกร เมธางกูร

หลักแปดประการเป็นงบประมาณของความจริง (๒)
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10324

ทรัพย์ภายในหรืออริยทรัพย์มีอยู่ ๗ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา

ทำไมศรัทธาถึงจัดเป็นทรัพย์ภายใน


ศรัทธา คือ ความเชื่อ ชีวิตของเราเชื่อมามากแล้ว เชื่อนั่นเชื่อนี่สารพัด และสิ่งเหล่านี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงไป แต่ความเชื่อที่จะเป็นทรัพย์ภายใน คือ ศรัทธา ๔ ได้แก่


เชื่อเรื่องกรรม ว่าเรามีกรรมเป็นของตน


เชื่อเรื่องผลของกรรม ซึ่งเรียกว่า วิบาก คือ ทำอย่างไรต้องได้อย่างนั้น ไม่มีใครทำอะไรแทนกันได้ เราอยากได้ดีเราต้องสร้างเหตุดี เราไม่อยากได้ชั่วเราต้องหยุดความชั่ว


เราเชื่อเรื่องกรรม และเชื่อเรื่องผลของกรรม เพราะธรรมทั้งหลายย่อมต้องไหลมาจากเหตุ สร้างเหตุอย่างไรไว้ต้องได้เหตุอย่างนั้น และผลทุกอย่างต้องปรากฏตรงกับเหตุเสมอ ไม่มีอะไรในโลกนี้เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุฉันใด กรรมต้องให้ผลเป็นวิบากเสมอ


เมื่อเราเชื่อเรื่องผลของกรรม เราจะเลือกทำกรรมได้ถูกต้อง โดยยินยอมและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้อย่างหน้าชื่นตาบาน ไม่ใช่หน้าชื่นอกตรม และที่สำคัญเมื่อเรารู้แล้วว่า เป็นเรื่องของกรรมและวิบาก เราต้องมั่นใจในการทำความดีทำหน้าที่ของเราสุดความสามารถ อย่าทอดใจให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว

เชื่อเรื่องสัตว์โลกต่างมีกรรมเป็นของตน เพราะไม่มีใครหยิบยื่นกรรมแทนใครได้ ไม่มีใครมายอมรับผลของกรรมแทนกัน ไม่ว่าจะรักกันขนาดไหนก็ตายแทนกันไม่ได้ เจ็บป่วยแทนกันไม่ได้


เชื่อคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคำสั่งสอนของพระองค์นั้น คงทนต่อการพิสูจน์ว่าไม่มีวันวิปริตผันแปร เพราะพระองค์ไม่ได้เอาเรื่องใดมาสอน นอกจากเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในตัวเราซึ่งมีอยู่ทุกคนและทุกวันเวลาว่าธรรมชาตินั้นมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมชาติของรูปธรรมนามธรรม ธรรมชาติทั้งหลายที่เราสามารถมองเห็นได้เคลื่อนไหวได้เป็นรูปธรรม และส่วนการที่รู้เห็น เช่น จิตของเรา จัดว่าเป็นนามธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 5:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
mes พิมพ์ว่า:


เรียนถามท่านเฉลิมศักดิ์1ว่า

แล้วที่ท่านสอนเรื่องตัวกู ของกู

ท่านเฉลิมศักดิ์1มีความคิดเห็นอย่างไร



เป็นคำสอนที่เกิดจากความรู้สึกส่วนตัว นั่งนึกเอาเองว่า ไม่มีตัวกูของกู

ผมขอเรียกว่า วิปัสสนึกแล้วกัน

ต่างจากพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก


สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546

-------------------------------------------

แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 5:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
mes พิมพ์ว่า:


เรียนถามท่านเฉลิมศักดิ์1ว่า

แล้วที่ท่านสอนเรื่องตัวกู ของกู กับเรื่อง อานาปานะสติ

ท่านเฉลิมศักดิ์1มีความคิดเห็นอย่างไร


ส่วน อานาปานสติปัฏฐาน ที่ท่านคัดลอกบางส่วนมาจากพระไตรปิฏก แล้วมาอธิบายความเองนั้น

เทียบไม่ได้กับที่ อรรถกถา ท่านอธิบายไว้

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

มหาสติปัฏฐานสูตร
เนื้อความในพระไตรปิฎก
เนื้อความในอรรถกถา มีทั้งหมด ๖ หน้าต่าง
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร หน้าต่างที่
มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร ๑.
เรื่องลูกนกแขกเต้า
อธิบายความตามลำดับบท
ธรรมสากัจฉาของพระมหาเถระ
เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ
เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป
เรื่องทุกข์ของพระปีติมัลลเถระ
เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ
เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร
บาลีวิภังค์ ๒.
อุทเทสวารแห่งเวทนาจิตตธัมมานุปัสสนา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อธิบายศัพท์ในปุจฉวาร
อานาปานบรรพ
เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
อานาปานสติเป็นอริยสัจ ๔

----------------------------------------------
และอีกอย่าง อรรถกถาจารย์ท่านแยกการปฏิบัติออกเป็น สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ


ซึ่งตรงจุดนี้ท่านพุทธทาส ไม่เคยอธิบายไว้เลย ท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า สมถะ และ วิปัสสนา คือสิ่งเดียวกัน

ทำให้คนหลงผิดมามากแล้วครับ

นั่งหลับตานึกแต่ว่า ไม่มีตัวกู ของกู แต่เข้าใจว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่


สมถะ-วิปัสสนา (โดยพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก)
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546

-------------------------------------------

แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180



ท่านพุทธทาสได้โจมตีสำนักอื่น ๆ ที่สอนไม่เหมือนทิฏฐิของตนเอง

หวังว่า คุณ mes คงไม่มีพฤติกรรมเหมือนท่านพุทธทาสนะครับ

อ้างอิงจาก:
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร? โดยท่านพุทธทาส

ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.

ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเริ่มด้วย สีลัพพตปรามาสที่พลาดหลัก

จากพุทธธรรมหน้า301

ลักษณะสุดท้ายของการถือศีลพรตที่พลาดหลัก ก็คือ การถือที่เป็นเหตุให้มาทะเลาะวิวาทเกี่ยงแย้งกันว่ใครดีใครเลว ท่านผิด ฉันถูก หรือเป็นเหตุให้ยกตนข่มผู้อื่นว่าเราทำได้เคร่งครัดถูกต้อง คนอื่นเลวกว่าเรา ทำไม่ได้อย่างเราเป็นต้น

ดู ขุ.สุ.25/412/491 , 419/505
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 12:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ลักษณะสุดท้ายของการถือศีลพรตที่พลาดหลัก ก็คือ การถือที่เป็นเหตุให้มาทะเลาะวิวาทเกี่ยงแย้งกันว่ใครดีใครเลว ท่านผิด ฉันถูก หรือเป็นเหตุให้ยกตนข่มผู้อื่นว่าเราทำได้เคร่งครัดถูกต้อง คนอื่นเลวกว่าเรา ทำไม่ได้อย่างเราเป็นต้น


นั่นแหละ เอาไว้เตือน กันเองใน สามทหารเสือ
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 12:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สังเกตดูพฤติกรรม ของคุณ mes ที่เชื่อในคำสอนของท่านพุทธทาส ก็มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหลาย ๆ อย่าง

การที่จะกล่าวอ้าง พระพุทธพจน์แทบไม่มี มีแต่คำสอนท่านพุทธทาส

--------------------------------------------------



เรากำลังสนทนาถึงท่านพุทธทาสอยู่มิใช่หรือ

หรือจะให้ผมอ้างถึง

คำอธิบายเพิ่มเติม โดย อ.บุษกร เมธางกูร


แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ


อย่างที่คุณอ้างมาตลอด

ทีนี้มาถึงต้นเหตุแห่งปัญหาคืออะไร

ต้นเหตุคือท่านพทธทาสไม่ยอมรับยึดถือพระอภิธรรมปิฎกจึงทำให้นักศึกษาพระอภิธรรมอาฆาตมาดร้าย จนกลายเป็นพยาบาท

เรื่องนี้คุณเฉลิมศักดิ์เริ่มพยาบาทมาตั้งแต่เวปพันธุ์ทิพย์เมื่อหลายปีก่อน

ผ่านมาทีลานธรรมเสวนากระดานปริยัติ

แม้ว่าท่านพุทธทาสจะล่วงลับไปแล้วแต่ความพยาบาทคุณหาได้ล่วงลับไปไม่


ส่วนเรื่องพฤติกรรมของผมที่คุณยกขึ้นมากล่าวอ้าง

คุณต้องยกตัวอย่างด้วย

เป็นต้นว่าผมไปทำเปรื้อนเอาไว้ที่ไหนแล้ววิ่งหนีเหมือนคุณ

ดังตัวอย่างนี้[/quote]
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 1:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขออนุญาตท่านกรัชกายด้วยครับ

เพราะผมต้องการสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนที่ตั้งกระทู้กล่าวหาผู้อื่นว่าเป็นเช่นใด

ตนเองมีคุณธรรมมากกว่าท่านพุทธทาสที่ถูกกล่าวหาแล้วหรือ ก่อนจะตามไปกล่าวหาท่านพุทธทาสไม่เลิก

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
อ้าว..คุณเฉลิมศักดิ์ครับ คุณจะตัดบทเอาดื้อๆ โดยทิ้งปัญหาคาใจ

เอาไว้อย่างนี้หรอครับ

ก่อนไปอย่างน้อยควรเฉลยปัญหาให้กระจ่างก่อน

ที่คุณกล่าวว่า


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้าง ขวา
ทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรง กำหนดลมหายใจ
เข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับ
อารมณ์นั้น

กรัชกายไม่เข้าใจจึงถาม ว่าที่เค้านั่งขัดสมาธิเอาเท้าขวาทับเท้า

ซ้าย ฯลฯ เป็นสมถกรรมฐานหรอ

ถามเพราะอยากรู้นะครับ กลับมาเช็ดสิ่งที่คุณทำเปื้อนไว้ด้วย

ครับ



แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ด้วยครับ เมื่อนั่งอย่างนั้น เป็นสมถกรรม

ฐานแล้ว นั่งวิปัสสนากรรมฐานที่คุณทำอยู่ล่ะนั่งท่าไหน ?


โปรดตามมาอ่านรายละเอียดที่นี่ครับ


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=100
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 3:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
mes พิมพ์ว่า:


เรียนถามท่านเฉลิมศักดิ์1ว่า

แล้วที่ท่านสอนเรื่องตัวกู ของกู

ท่านเฉลิมศักดิ์1มีความคิดเห็นอย่างไร



เป็นคำสอนที่เกิดจากความรู้สึกส่วนตัว นั่งนึกเอาเองว่า ไม่มีตัวกูของกู

ผมขอเรียกว่า วิปัสสนึกแล้วกัน

ต่างจากพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก


สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546

-------------------------------------------

แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180


ตัวกูของกูท่านพุทธทาสท่านหมายถึงอุปทานที่เราไปยึดว่าอัตตามี

ในหลักอิทัปปจจยตา หรือ ปฏิจจสมุทบาทที่คุณเฉลิมศักดิ์แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ

นี่แหละหนา

ไปกระแนะกระแน่นท่านพุทธทาสทั้งที่ท่านล่วงลับไปแล้ว



แล้วอ้างแต่ท่านอาจารย์แนบอยู่เหมือนเดิมตั้งแต่โบราณกาล

ทั้งทั้งที่แก้ปัญหา พองยุบ กับพุทโธไม่ได้

http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=3

จึงขอแถมท้ายด้วย
การพูดส่อเสียด (ปิสุณวาจา)
การพูดส่อเสียด ได้แก่ การพูดที่ทำให้เขาแตกแยกกัน เป็นการพูดทำลายความ สามัคคีในหมู่คณะ ทำให้คนที่รักกันต้องเลิกล้างจากกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน โดยหวัง ผลประโยชน์ของตน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เป็นต้น


องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ
๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก
๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก
๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก
๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด



ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือพูดส่อเสียดนั้นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)


ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีกทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณา อารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกบัณฑิตติเตียน มักถูกกล่าวหาโดยที่ไม่เป็นจริง จะเป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอ ๆ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล


http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 3:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ส่วน อานาปานสติปัฏฐาน ที่ท่านคัดลอกบางส่วนมาจากพระไตรปิฏก แล้วมาอธิบายความเองนั้น

เทียบไม่ได้กับที่ อรรถกถา ท่านอธิบายไว้



สองท่านข้างล่างที่คุณเ
แลมศักดิ์กล่าวอ้างอิงถึงมากกว่าพระพุทธเจ้า นำแนวทางจากไหน ถ้าไม่ใช่พระไตรปิฎก

แล้วคุณเฉลิมศักดิ์รับประกันได้อย่างไรว่านั่นถูกต้องแล้ว

คุณเฉลิมศักดิ์ใช้หลักการอะไรตัดสินว่าท่านใดกล่าวถูกท่านใดกล่าวผิด

ถ้าหากท่านผู้ที่กล่าวเป็นผู้บรรลุอรหันต์กล่าวในสิ่งที่เป็นโลกุตระแล้วคุณเ
แลมศักดิ์จะเข้าถึงหรือครับ


แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180
คำอธิบายเพิ่มเติม โดย อ.บุษกร เมธางกูร

หลักแปดประการเป็นงบประมาณของความจริง (๒)
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10324
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ทำให้คนหลงผิดมามากแล้วครับ

นั่งหลับตานึกแต่ว่า ไม่มีตัวกู ของกู แต่เข้าใจว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่


ยกหลักฐานมาดูด้วย

ว่าท่านพุทธทาสสอนให้ปฏิบัติกรรมฐานด้วยวิธีนี้

ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าเป็นการให้ร้าย

ที่พบมา

ในการสอนสมาธิภาวนาในหนังสืออานาปานะสติของท่านไม่มีอย่างที่คุณอ้าง

จริงๆแล้วคุณเฉลิมศักดิ์ คุณมีจุดประสงค์ความต้องการอะไรกันแน่

ต้องการแก้แค้นที่ท่านพุทธทาสไม่ยึดถือพระอภิธรรม

หรือท่านพุทธทาสไปกระทบกัอัตตาของเจ้าลัทธิ "อภิธรรม"

คนที่คุเฉลิมศักดิ์อ้างถึงบ่อยกว่าพระพุทธเจ้านั่นแหละ

แล้วคุณก็ตามจองเวรไม่เลิก

จากเวปหนึ่งไปสู่อีกเวปหนึ่ง

ความจริงคุณทำอะไรผมก็ไม่น่าเดือดร้อนหรอก

เพราะเป็นวิบากของคุณเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ท่านพุทธทาสได้โจมตีสำนักอื่น ๆ ที่สอนไม่เหมือนทิฏฐิของตนเอง

หวังว่า คุณ mes คงไม่มีพฤติกรรมเหมือนท่านพุทธทาสนะครับ

อ้างอิงจาก:
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร? โดยท่านพุทธทาส

ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.

ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.





แล้วคุณเป็นดังสัจจวาจาที่ท่านกล่าวถึงหรือเปล่า

ถ้าไม่ก็ไม่ควรเดือดร้อน

ถ้าใชก็สมควรแก้ไขปรับปรุง

พระมาโปรดแล้วยังไม่รู้จัก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ท่านพุทธทาสได้โจมตีสำนักอื่น ๆ ที่สอนไม่เหมือนทิฏฐิของตนเอง

หวังว่า คุณ mes คงไม่มีพฤติกรรมเหมือนท่านพุทธทาสนะครับ


ผมเจอแต่พฤติกรรมของคุณต่างหากที่ตามจองเวรกับท่านพุทธทาส

ขอฝากเอาไว้

ทะเลทุกข์นั้นไร้ขอบ

หันหลังจะพบฝั่ง


คุณเฉลิมศักดิ์กับผมก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

ที่ผมก็กราบขออภัยด้วย

ในส่วนที่ผมล่วงเกินคุณเฉลิมศักดิ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 5:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปทุม


เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด
ทีนี้ของประหลาดๆในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นยังมีอีกบางเรื่องดังที่ผมพูดเมื่อตะกี้นี้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาตินี้ก็เรื่องหนึ่งแล้ว เราพูดกันเข้าใจแล้ว ทีนี้ก็เรื่องที่ท่านอธิบายอะไรๆในพระพุทธศาสนากลับกลายไปเป็นพราหมณ์อย่างนี้มันมีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่นเรื่องโลก ,หรือโลกวิทู
เมื่อท่านอธิบายโลกวิทู ซึ่งเป็นพระพุทธคุณบทนี้ ท่านอธิบายโลกแบบโลกอย่างพราหมณ์ไปหมด ตามที่เขาพูดกันอยู่ ท่านไม่อธิบายโลกอย่างที่พระพุทธเจ้าอธิบายโลกอย่างพระพุทธเจ้าอธิบายนั้น ท่านอธิบายโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ตถาคตได้บัญญัติไว้ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งที่ยังเป็น ๆ ที่มีสัญญาและใจ
ข้อนี้หมายความว่าในร่างกายที่ยาววาหนึ่งเท่านั้น มีทั้งโลก มีทั้งเหตุให้เกิดโลก มีทั้งความดับสนิทแห่งโลกและทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลก คือพรหมจรรย์ทั้งหมดมีอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง และเป็นร่างกายที่ยังเป็น ๆ อยู่ ตายแล้วไม่มี ในร่างกายที่มีชีวิตมีความรู้สึกปกตินี้ในนั้นมันมีครบ พระพุทธเจ้าท่านเป็น “โลกวิทู” เพราะท่านรู้โลกอันนี้ เพราะว่าโลกอันนี้คืออริยสัจจ์ทั้งสี่ โลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทของโลก, ทางให้ถึงความดับสนิทของโลก มันคือเรื่องอริยสัจจ์
ถึงทีจะอธิบายโลกวิทูให้พระพุทธเจ้าหรือถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธโฆษาจารย์ท่านไม่อธิบายโลกอย่างนี้ ที่ท่านอธิบายนั้นผมว่ามันไม่เป็นพุทธ คือท่านไปอธิบายโลกอย่างที่เป็นโอกาสโลกเหมือนที่เราได้ยินเรื่องปรัมปราในไตรภูมิพระร่วงอะไรทำนองนั้น มันมาจากความเชื่อปรัมปราของพวกพราหมณ์ว่าโลกกลมเท่าไร กว้างเท่าไร ลมหนาเท่าไร แผ่นดินหนาเท่าไร น้ำหนาเท่าไร ลมหนาเท่าไร เขาพระสุเมรุสูงเท่าไร เขาบริวารสูงเท่าไร หิมวันต์ใหญ่เท่าไร ต้นหว้าใหญ่เท่าไร ไม้ประจำโลก ๗ ต้นเป็นอย่างไร ดวงอาทิตย์ขนาดเท่าไร ดวงจันทร์ขนาดเท่าไร ทวีปอีก ๓ ทวีปใหญ่เท่าไร ฯลฯ นี่มันไม่ใช่เรื่องของพุทธเลย อธิบายโอกาสโลกอย่างนี้ เพื่ออธิบายคำว่าโลกวิทู ว่าพระพุทธเจ้ารู้เรื่องนี้อย่างนี้ นี่ผมไม่เชื่อเลย นี่ขอให้คิดดู อธิบายโอกาสโลก อย่างนี้มันเป็นพราหมณ์ เรื่องของฮินดูเก่าก่อนพุทธกาล
ทีนี้พออธิบายขึ้นมาถึงสัตว์โลก ท่านก็ไปอธิบายเรื่องว่าคือสัตว์ทั้งหลายมีอินทรีย์ต่างกัน มีธุลีในนัยน์ตาน้อยบ้างมากบ้าง, อินทรีย์กล้าอ่อนบ้าง, รู้ง่ายบ้าง, รู้ยากบ้าง, เป็นภัพพะบ้าง เป็นอภัพพะบ้าง ไม่มีโลกอริยสัจจ์ ๔ เลย
พออธิบายถึงสังขารโลก ท่านอธิบายแต่เพียงว่า พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนามรูป, เรื่องเวทนา เรื่องอาหาร, เรื่องอุปาทาน, เรื่องอายตนะ, เรื่องวิญญาณฐีติ, เรื่องโลกธรรม ๘, เรื่องสัตตาวาส ๙, เรื่องอายตนะ ๑๐, และอายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘ อย่างนี้ มันมีแต่เรื่องอย่างนี้ ไม่มีเรื่องอริยสัจจ์ซึ่งอธิบายโลกครบทั้ง ๔ ความหมาย
เพราะเหตุดังกล่าวมาจึงถือว่า พระพุทธโฆษาจารย์ อธิบายคำว่าโลกวิทู นี้เป็นพราหมณ์โต้ง ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่,


----------------------------------------------------------


อ้างอิงจาก:
เพราะผมต้องการสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนที่ตั้งกระทู้กล่าวหาผู้อื่นว่าเป็นเช่นใด

ตนเองมีคุณธรรมมากกว่าท่านพุทธทาสที่ถูกกล่าวหาแล้วหรือ ก่อนจะตามไปกล่าวหาท่านพุทธทาสไม่เลิก



อ้างอิงจาก:
อย่างที่คุณอ้างมาตลอด

ทีนี้มาถึงต้นเหตุแห่งปัญหาคืออะไร

ต้นเหตุคือท่านพทธทาสไม่ยอมรับยึดถือพระอภิธรรมปิฎกจึงทำให้นักศึกษาพระอภิธรรมอาฆาตมาดร้าย จนกลายเป็นพยาบาท

เรื่องนี้คุณเฉลิมศักดิ์เริ่มพยาบาทมาตั้งแต่เวปพันธุ์ทิพย์เมื่อหลายปีก่อน

ผ่านมาทีลานธรรมเสวนากระดานปริยัติ

แม้ว่าท่านพุทธทาสจะล่วงลับไปแล้วแต่ความพยาบาทคุณหาได้ล่วงลับไปไม่



คุณ mes ครับ เช่นกันครับ แม้ อรรถกถาจารย์ พระโบราณาจารย์ ต่าง ๆ ของนิกายเถรวาท ซึ่ง เป็นพระอรหันต์ จะดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ท่านพุทธทาสยังกล่าวตู่ว่าท่านเหล่านั้น อธิบายธรรมผิด, เป็นพราหมณ์ที่แฝงตัวเข้ามาทำลายพระศาสนา, ทำให้ศาสนาพุทธสูญหาย ฯลฯ

คุณ mes ครับ เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ผมคัดค้านคำสอนท่านพุทธทาส ก็เพราะผู้ศึกษามีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ยิ่งกว่าการศึกษาพระไตรปิฏก หันหลังให้พระสัทธรรมยึดถือ อาจาริยวาทเป็นใหญ่ ครับ

ควรศึกษาคำสอนของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


อ้างอิงจาก:
จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ

มักมีแนวความคิดดังนี้

1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย)
(พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน)
-- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ

2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด)

3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์

ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง