Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 11:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ผู้ที่ศึกษางานของท่านพุทธทาสจะมีทิฏฐิเช่นนี้

เพราะท่านได้เปิดช่องให้ไว้แล้วว่า ให้วิจารณ์พระไตรปิฏก ( พระธรรมวินัย ตัวแทนของพระพุทธองค์) ได้อย่างอิสระ ตามทิฏฐิของตนเองที่คิดนึกได้


อย่างนี้คนที่เขียนอรรถกถา ฎีกาทั้งหลายต้องจับมาลงโทษให้หมด

เหลือไว้แต่ท่านบุญมี เมธางกูลท่านเดียวก็พอ

ดีไหมคุณเฉลอมศักดิ์

คุณตอบคำถามผมหน่อยซิ อย่าเลือกเอาบางคำถามแล้วเอาคำโจมตีเก่าๆมาใช้
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 26 ส.ค. 2008, 9:16 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 11:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณ mes ครับ พิจารณาดูให้ดี คำสอนของใครที่คอยจ้องจะแก้ไขพระไตรปิฏก ยกเลิกในส่วนที่ไม่เข้ากับทิฏฐิของตนเอง ใส่ร้ายอรรถกถาจารย์ พระโบราณาจารย์


ถึงได้ถามคุณว่าพระอรรถกถาจารย์คือใคร

มีสิทธิอะไรมาวิจารณ์ มาอธิบายพระไตรปิฎก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คำอธิบายเพิ่มเติม โดย อ.บุษกร เมธางกูร


แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ



เอาแค่สองท่านนี้เป็นตัวอย่างที่คุณเฉลิมศักดิ์อ้างถึงบ่อยมาก

ทไมสองท่านนี้จึงมีคุณสมบัติอธิบายพระไตรปิฎกได้

แล้วคุเฉลิมศักดิ์ไม่ตำหนอว่าเป็นมิจฉทิฏฐิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 11:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องจุติ ปฏิสนธินั้น

คุณเฉลิมศักดิ์กับผมต่างก็ยังไม่จุติคงยืนยันไม่ได้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด

ผู้ที่จุติแล้วก็ไม่เห็นมีใครกลับมาบอกสักคน

ต่างคนก็ยึดทิฏฐิของตนอยู่

หรือคุณเฉลิมศักดิ์มีพยานบุคคลมายืนยัน

ขอชมหน่อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 12:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเสนอว่าเราม่คุญเรื่องธรรมะกันดีกว่า

ผมบอกแล้ว่าผมเป็นคนอ่อนธรรมะ

ความรู้ทางธรรมะของคุณเฉลิมศักดิ์เป็นอาจารย์สอนผมได้อย่างสบายๆ

ตอนนี้ผมอยากบรรลุโสดาบัน

คุณเฉลิมศักดิ์ช่วยสอนผมที

ผมทราบมาว่าการการบรรลุโสดาบันได้นั้นต้องปฏิบัติตามหลัก สติปัฎฐาน4

หมายถึงการทำสมาธิภาวนา

มี2ประเภทคือ สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา

คุณเฉลิมศักดิ์กรุณาช่วยอธิบายแนะนำข้อปฏิบัติทั้งสองแนวทางให้เป็นวิทยาทานแก่ผมอย่างละเอียด

เอาให้บรรลุถึงขั้นอรหันต์เลยก็ได้
ผมจะได้ละทิฏฐิจากแนวทางของท่านพุทธทาส

ตกลงน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 12:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอาวิธีปฎิบัติเป็นขั้นๆอย่างละเอียดเลยครับ

อย่างเช่นการยกจิตต้องทำอย่างไร การประคองจิตต้องทำอย่างไร การข่มจิตต้องทำอย่างไร

ปัญหาอะไรที่นักปฏิบัติมักเจอ และมีแนวทางวิธีการแก้ไขอย่างไร

อย่าเสียเวลาโจมตีท่านผู้ล่วงลับอยู่เลย

เสียรางวัดคนปริยัติเปล่าๆ

ผมรอรับคำชี้แนะอยู่ครับ


ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า

เขาชั่วอย่างไรชั่งเขาเถอะ จงเอาแต่ส่วนที่ดีของเขาไว้

จะหาคนดีไม่มีชั่ว เหมือนหาหนวดเต่า เขากระต่าย ตายเปล่าเอย

อะไรทำนองนี้แหละ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 5:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
คุณ mes ครับ พิจารณาดูให้ดี คำสอนของใครที่คอยจ้องจะแก้ไขพระไตรปิฏก ยกเลิกในส่วนที่ไม่เข้ากับทิฏฐิของตนเอง ใส่ร้ายอรรถกถาจารย์ พระโบราณาจารย์


ถึงได้ถามคุณว่าพระอรรถกถาจารย์คือใคร

มีสิทธิอะไรมาวิจารณ์ มาอธิบายพระไตรปิฎก



http://abhidhamonline.org/aphi/p1/001.htm


บรรดาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลา ๔๕ ปี รวมได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อประมวลและจัดสรรสงเคราะห์เป็นหมวดหมู่ได้ ๓ หมวด

๑. พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้เป็นข้อบังคับ เป็นระเบียบแบบแผนให้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ล่วงละเมิดหรือไม่ปฏิบัติจะต้องมีโทษตามชั้น ๆ ที่กำหนดไว้

๒. พระสุตตันตปิฏก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้ โดยยกบุคคลขึ้นเป็นตัวอย่างทั้งในทางดีและทางชั่ว มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาได้รู้ถึงสมมุติสัจจะรู้ความจริงตามความเป็นไปของโลก พระสูตรนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ให้อัธยาศัยสงบ และมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง

๓. พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่ล้วนเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นความจริงอันมีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงผันแปร เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นแจ้งในสภาวธรรมนั้น ๆ โดยไม่กล่าวอ้างบุคคล พระอภิธรรมนี้เป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์ให้มีสติว่องไว และมีปัญญาหลักแหลม

๑. บาลี หมายถึง พระพุทธพจน์ คือถ้อยคำที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาโดยตรง

๒. อรรถกถา หมายถึง คำอธิบาย หรือขยายความของท่านอรรถกถาจารย์ เพื่อให้คำหรือเนื้อความในบาลีให้ละเอียดชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น

๓. ฎีกา หมายถึง คำอธิบายขยายความในอรรถกถาให้ชัดเจนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งท่านฎีกาจารย์ได้อธิบายไว้

๔. อนุฎีกาจารย์ คือ ผู้ที่อธิบายข้อสงสัยในฎีกา

๕. เกจิอาจารย์ คือ อาจารย์อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นในข้อธรรม เพื่ออธิบายขยายความในข้อธรรมโดยทั่ว ๆ ไป

---------------------------------------------------------


อ้างอิงจาก:
ถึงได้ถามคุณว่าพระอรรถกถาจารย์คือใคร

มีสิทธิอะไรมาวิจารณ์ มาอธิบายพระไตรปิฎก


คุณ mes ครับ อรรถกถา ท่านเพียงอธิบายความเพิ่มเติมครับ ไม่ได้วิพากวิจารณ์ พระไตรปิฏก ตามใจชอบ อย่างท่านพุทธทาสแต่อย่างใด


เช่น ท่านพุทธทาส ไม่เชื่อเรื่อง ผีสาง เทวดา หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ก็เลยวิจารณ์ว่า พระพุทธองค์ทรงเอออวยกับศาสนาพราหมณ์สมัยนั้น เพราะคนโง่เยอะพิสูจน์ไม่ไหว

อ้างอิงจาก:


http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html


นอกจากเรื่องพื้นฐานเหล่านี้แล้ว หลักธรรมที่สำคัญ อย่าง ปฏิจจสมุปบาท(ต้องไม่มีปฏิสนธิวิญญาณร่วมด้วยอย่างเด็ดขาด) , พระนิพพาน ท่านก็อธิบาย วิจารณ์แบบผิด ๆ
------------------------------------------------------------


คุณ mes ลองศึกษา การอธิบาย ของอรรถกถาดูครับ

เช่นเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทธรรม, มหาสติปัฏฐาน เป็นต้น

ปฏิจจสมุปบาท

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
------------------------------------------------------

มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 6:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:



แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ




เอาแค่สองท่านนี้เป็นตัวอย่างที่คุณเฉลิมศักดิ์อ้างถึงบ่อยมาก

ทไมสองท่านนี้จึงมีคุณสมบัติอธิบายพระไตรปิฎกได้

แล้วคุเฉลิมศักดิ์ไม่ตำหนอว่าเป็นมิจฉทิฏฐิ


คุณ mes ครับ การอธิบายธรรมของอาจารย์แนบ มีจุดไหน ที่ขัดแย้งกับพระไตรปิฏก อรรถกถา (เถรวาท) บ้าง ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

ซึ่งถูกรวบรวมไว้ที่

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-preach-index.htm

-----------------------------------------
แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป และ ปรมัตถธรรม http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16261&start=0




------------------------------------------

ท่านพุทธทาส ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ต้องศึกษาปรมัตถธรรมในเรื่อง รูป นาม ( จิต เจตสิก รูป ) ในพระอภิธรรมประกอบด้วย เพราะขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องจิตว่างของท่าน จึงตั้งข้อสังเกตว่า

พระวิปัสสนาจารย์สายนี้ ตั้งสำนักปฏิบัติขึ้นมาเพื่อ กิน กาม เกียรติ ตามที่ท่านคิดไปเอง

อ้างอิงจาก:
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร? โดยท่านพุทธทาส

ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.

ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 1:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีการของคุณเฉลิมศักดิ์คื่อกล่าวหาโจมตีไปเรื่อยๆ

พร้อมกับยกเอาพระไตรปิกฎมาขู่ โดยนำมากอ้างให้มากๆยาวๆ

ให้ไม่กล้าคัดค้านเพราะเป็นพระไตรปิฎก

กับเพื่อให้ดูเหมือนว่าตัวเองเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก



ขอถามว่าคุณเฉลิมศักดิ์ไปได้ยินมากับหูตัวเองจากพระพุทธเจ้าหรือไม่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เฉลิมศักดิ์ พิมพ์ว่า:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้ พระองค์ท่านทราบเป็นอย่างดีว่า จะมีผู้พูดแสดงพระธรรมออกไปตามชอบใจ พระธรรมของพระองค์นั้นไม่มีผู้ใดคิดค้นขึ้นมาเองได้ มีเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของชีวิตจิตใจและความพ้นทุกข์ที่ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจอย่างสุดที่พรรณาได้ ถ้าแสดงธรรมะเอาตามชอบใจแล้ว นอกจากจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ อาจผิดไปอย่างตรงกันข้ามเป็นฟ้ากับดินได้โดยง่าย ในวันข้างหน้าจากเดียรถีย์คือผู้ข้ามไม่ถูกท่า ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมได้


คุณเริ่มมั่วแล้ว

ขอหลักฐานอ้างอิงที่พระพุทธเจ้าตรัสเช่นข้างต้นด้วย

รวมถึงที่พระองค์ให้มีตัวเลขควบคุม

ประวัติพระอภิธรรมใครบันทึกยังเป็นปัญหาอยู่เลย


ตรงนี้คุณเฉลิมศักดิ์จะทำเป็นไขสือไม่ตอบไม่ได้

เพราะเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

ไม่ใช่พอไม่พอใจอะไรก็ยกคำพูดตนเองขึ้นมาแล้วอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า


อย่ามีพฤติกรรมขี้แล้วทิ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 1:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:



แนะแนวทาง วิปัสสนา (สติปัฏฐาน ) โดย อาจารย์แนบ




เอาแค่สองท่านนี้เป็นตัวอย่างที่คุณเฉลิมศักดิ์อ้างถึงบ่อยมาก

ทไมสองท่านนี้จึงมีคุณสมบัติอธิบายพระไตรปิฎกได้

แล้วคุเฉลิมศักดิ์ไม่ตำหนอว่าเป็นมิจฉทิฏฐิ


คุณ mes ครับ การอธิบายธรรมของอาจารย์แนบ มีจุดไหน ที่ขัดแย้งกับพระไตรปิฏก อรรถกถา (เถรวาท) บ้าง ช่วยแนะนำด้วยนะครับ




ไปอ่านที่ตรงนี้ครับ คุณเฉลิมศักดิ์ต้องยังจำได้ เพราะเพิ่งวิ่งหนีมาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง

ชื่อกระทู้ว่า

แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=100

แล้วคุณเฉลิมศักดิ์เชื่อพระพุทธเจ้าหรือเชื่ออาจารย์แนบ

ถ้าถูกต้องจริงทำไมมีปัญหา

หรือพระไตรปิฎกเขียนผิด
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 21 ส.ค. 2008, 2:03 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 2:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณเฉลิมศักดิ์

ตอบกระทู้หน่อย

อย่าโย้เย้

ไม่ต้องก๊อปอะไรมาอีกขี้เกียจอ่านแล้ว

ข้อมูลเก่าๆทั้งนั้น

ส่วนที่เขาด่าคุณเป็นกระบุ้งไม่เห็นเอามาให้อ่านบ้าง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 2:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า:

..... ท่านพุทธทาส ไม่เชื่อเรื่อง ผีสาง เทวดา หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ก็เลยวิจารณ์ว่า พระพุทธองค์ทรงเอออวยกับศาสนาพราหมณ์สมัยนั้น เพราะคนโง่เยอะพิสูจน์ไม่ไหว

http://www.buddhadasa.com/index_subj.html
เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html


- คุณเฉลิมศักดิ์คับ ผมได้ลองอ่านดูแล้ว
ไม่มีข้อความไหนเลย ที่ท่านพุทธทาสบอกว่าท่านไม่เชื่อ
- เทวดา
- หลักกรรม

แต่ผมขอพูดเฉพาะข้อเทวดาก่อนนะคับ
(เรื่องกรรมผมยังไม่มีเวลาอ่าน)

ที่คุณเฉลิมศักดิ์กล่าวว่าท่านพุทธทาส"ไม่เชื่อ" ว่าสวรรค์ นรก มีจริงหรือเปล่า

ผมไม่เห็นว่าท่านปฏิเสธ ตรงไหนเลยนะคับ

ปฏิเสธ ต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่าไม่มีอยู่จริง เป้นเรื่องโกหก
ไม่มีอยู่จริง ... อันนั้นถึงเรียกว่าปฏิเสธ

ท่านชี้ให้เห็นว่า มันมีความสำคัญอยู่ในพระไตรปิกอย่างไร
มันมีประโยชน์อย่างไรกับคนประเภทไหน
และในระดับภาพรวม ท่านยังบอกด้วยว่า มันไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แต่ท่านไม่ได้บอกว่ามันไม่มี
"ท่านไม่ได้ปฏิเสธ"


เขาเรียก แบ่งรับ แบ่งสู้
ซึ่งท่านอธิบายไว้ละเอียดดีแล้ว




ขนาดหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ยังไม่ตอบเลยว่าสวรรค์มีจริงไหม
ท่านบอกโดยสรุปว่า ให้มุ่งปฏิบัติไปเถอะ
ถ้าสวรรค์มีครบ 16 ชั้นจริง ก็ได้กำไร
ถ้าสวรรค์ไม่มี ก็ยังได้กำไร ไม่สูญเปล่า

ดูเอาเถิดครับ พระอรหันต์ ยังไม่ตอบตรงๆฟันธงว่าสวรรค์มีจริงไหม นรกมีจริงไหม

ทั้งท่านพุทธทาส และ หลวงปู่ดุลย์
พูดเหมือนกัน คือ สวรรค์-นรก ไม่ใช่เรื่องหลัก
เรื่องหลักคือ ปฏิบัติ

การพิสูจน์ว่านรกสวรรค์ 16 ชั้นนั้น
มีจริงหรือไม่ .... เป้นเรื่องรอง ไม่ต้องไปสนใจ
ท่านหลวงพ่อทั้งสอง บอกเหมืิอนกันว่าไม่ต้องสนใจมัน


ที่สำคัญ พระพุทธเจ้า ก้ตรัสเหมือนกันในกาลามสุตร
หัวใจกาลามะสูตรมีนิดเดียว คือ
ว่าอย่าเชื่อ ..... ไม่สอนให้เชื่อ ....

แล้วคำว่าพุทธ คือ คำว่า "รู้"
ศาสนาพูทธสอนให้ "รู้" ไม่ใช่ให้ "เชื่อ"
(แต่ให้พิสูจน์รู้ด้วยธรรม .... จนเห็นจริง....)

พระไตรปิฏกเองก้อยู่ในข่ายนั้นว่า .... ."ไม่ควรเชื่อ เพราะเป้นตำรา"
ให้ปฏิบัตเอง จะแจ้งในทุกสิ่ง



พระไตรปิฏกถูกหรือผิดตรงไหน ผู้เป้นอรหันต์จะสามารถรู้ได้ทั้งหมดทั้งสิ้น
8400 พระธรรมขันธ์ ล้วนแตกออก จากจิต
8400 พระธรรมขันธ์ ล้วนรวมแล้ว ก็ลงที่จิต
เพราะท่านมีจิตอันสิ้นอาสวะกิเลสของท่าน เป้นประจักษ์พยาน
เนื้องอกของพระไตรปิฏก หรือเนื้อส่วนที่ขาดไปของพระไตรปิฏก
ล้วนแล้วแต่อยู่ในวิสัยชี้ขาดได้ของพระอรหันต์


และจุดยืนสำคัญอันหนึ่ง ในการทำความเข้าใจท่านพุทธทาส
ท่านเน้นย้ำเสมอ ว่าคนมีปัญญาหลายแบบ
ปัญญามาก ก็รู้จักหาเงินมาซื้อตั๋วนั่งเรือบินไปกรุงเทพ
ปัญญาน้อย ก้มีกำลังแค่เดินบ้าง เกวียนบ้าง
ปัญญาต่ำ พวกหอยพวกทาก คลานไปก็มี

สอนทาก สอนหนอน ก้สอนแบบหนึ่ง
สอนคนมีปัญญาก้สอนแบบหนึ่ง

สวรรค์-นรก ไม่ใช้สำหรับคนมีปัญญาจะไปสนใจ
พระอรหันต์ ไม่ได้สนใจสวรรค์นรก
หรือแม้แต่การทำบุญทำทาน
เพราะนิพพานมันยิ่งใหญ่กว่าสวรรค์นรกและบุญทาน

การสอนเรื่องสวรรค์ นรก สำหรับคนมีปัญญาน้อยเท่านั้น

ท่านถึงบอกให้ฉีกพระไตรปิฏกออก 60 % ... ถ้าอยากจะเอาไปสอนพวกนักวิทยาศาสตร์
ไม่งั้นก้อย่าหวังว่าเขาจะมานับถือเลื่อใส

ในทางตรงกันข้า ไปสอนพวกคนที่ต้นทุนต่ำ สอนทาก สอนหอย
ลองไปสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทกับเขา
ผมว่า คนสอนนั้น โง่กว่าคนเรียนมาก


......................


อีกข้อสังเหตุหนึ่ง ผมอยากจะชี้ถึงความ "เอออวย"
ผมยกตัวอย่างคำว่า "พรหมวิหารธรรม"
ธรรมะ-ของพระพรหม-ที่ใช้ในวิหารของตน
พูดง่ายๆว่า พระพรหม ใช้ธรรมะอะไร ปกครองวิหารของตน
ทั้งๆที่ใจความของธรรมะข้อนี้ เป้นธรรมะ ของการปกครอง
ใช้ได้ทังในบ้านจันทาล และใช้ได้ทั้งพระพรหม
ธรรมะเป้นสากล


---------------------
อีกตัวอย่าง
การมีพระพุทธรูป ก็เกิดจาก 300 ปี (มั๊ง) หลังพระพุทธเจ้าดับไปแล้ว
พระชายาของพระเจ้าอโศก (มั๊ง หรือพระเจ้าอชาตศัตรู ไม่แน่ใจ ที่พระชายาท่านนับถือพุทธ)

พระชายาของพระเจ้าอโศก
ได้นำจริตความเชื่อในรูปเคารพที่ติดมาจากศาสนาเดิมของท่าน
ท่านจึงทำรูปเคารพขึ้นมา ไหว้ด้วยของหอม
ปัจจุบันเรายังกราบหินดินทรายกันอยู่ เอาของหอมไปไหว้


และไม่มีใครเอาพระไตรปิฏกไปจัดการหลวงพ่อเกษมได้!!!

เพราะไม่มีตรงไหนในพระไตรปิฏก สอนให้กราบไหว้รูปเคารพ
มีเหรอ กราบพระ 3 ที ศอกตอกเข่า ... หงายมือ ? ไม่มี..หรอก
หาไม่เจอจริงๆ
นี่คือตัวอย่างของการเอออวย



/////////////////////////////////


ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์ ต้องการปกป้องพระไตรปิฏกจริงๆ
ต้องการปกป้องไม่ให้มีใคร ทำเพิ่ม
ต้องการปกป้องไม่ให้มีมา ลบออก
คุณเฉลิมศักดิ์ควรเริ่มทำลายพระพุทธรูปได้แล้ว

ทำลายระะบบคณะสงฆ์ไทยด้วย
มหาเถระสมาคมอย่างนี้ ไปประท้วงให้ยุบได้เลย
พระพุทธเจ้าไม่่ได้บัญญัติเลย
ของพวกนี้มันไม่เคยมีในพระไตรปิฏก

บทชินบัญชร.. ไม่มีในพระไตรปิฏก เป็นเนื้องอก ต้องทำลายเสีย

อีกทั้งนิกายอื่นๆ ที่เขามีอะไรแปลกปลอม ต้องทำลายให้หมด
พวกวัชรวาท ขี้เกียจสวดมนต์จนต้องสร้างกระดิ่งหมุนมาสวดแทนงี้ ลุยเลย

พวกผ้าเหลืองที่สวมๆกันอยู่ ไม่ได้เอามาจากศพ ไม่ได้ต้มเอง ไม่ได้มัดย้อมเอง
ต้องทำลายให้หมด เพราะมันไม่มีในพระไตรปิฏก


แต่ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์ไม่คิดว่า ต้องทำลาย
และคิดว่ามันบ้า ถ้าเราทำอย่างนั้น


ก้ให้กลับมาคิดใหม่ ว่าเพราะอะไร เราไม่ยอมทำลายเนื้องอกเหล่านี้

นั่นอาจจะเป้นวิธีคิดเดียวกับพระพุทธเจ้า ที่ใช้เป้นอุบาย เอออวย แบ่งรับแบ่งสู้ ให้คนที่ปัญญาน้อย มีกำลังใจขึ้นมาว่า
ศาสนาพุทธก็มีสวรรค์นะ

อุปมาเหมือนสอนเด็ก
เราขู่ว่าแกล้งน้องไม่ดี ตำรวจจับ
ใช้อุบายหลอกไป ให้เด็กมันทำดี

พอมันโตขึ้นมาถึงมา ถึงเริ่มสอนสิทธิและหน้าที่

โตขึ้นไปอีก ถึงสอนเรื่องประชาธิปไตย

โตขึ้นไปอีก ถึงสอนเรื่อง ธรรมาธิปไตย

โตขึ้นไปอีก ถึงสอนให้ทิ้งหมดทุกอย่าง
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ


แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 21 ส.ค. 2008, 3:20 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 3:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
187 ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
“ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
“ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
“ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
“ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
“อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ”


http://www.84000.org/true/187.html


ดั่งตัวอย่างนี้พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงตอบรับหรือปฏิเสธ

แล้วคุณเฉลิมศักดิ์ใยฟันธงเสียเองเล่า
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 21 ส.ค. 2008, 3:39 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 3:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว

ขอถามเสียเลย

ว่า

อธิบายกับตีความแตกต่างกันตรงไหน

ถ้าอธิบายผิดละ

แล้วใครจะตัดสินว่าถูกหรือผิดนอกจากพระอรหันต์

หรือว่าคุณเฉลิมศักดิ์สามารถ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านพระไตรปิฎกให้เกิดผลต้อง

อ่านประวิติศาสตร์

ภูมิศาสตร์

นิรุติศาสตร์

ฯลฯ

ประกอบด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 5:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

543 อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส
http://84000.org/true/543.html

----------------------------------------------------------------
021 มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/021.html
-------------------------------------------------------
073 คนเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/073.html
------------------------------------------------------
074 คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก
http://www.84000.org/true/074.html
------------------------------------------------------
072 นรกมีจริงหรือ
http://84000.org/true/072.html
---------------------------------------------------
495 ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง
http://www.84000.org/true/495.html
----------------------------------------------------
526 พระพุทธองค์ทรงรับรองการตายแล้วเกิด
http://www.84000.org/true/526.html
-----------------------------------------------------
061 เหตุให้เชื่อชาติหน้า
http://www.84000.org/true/061.html
--------------------------------------------------------
037 โลกหน้ามีจริงหรือไม่
http://www.84000.org/true/037.html
-----------------------------------------------------------
166 เหตุให้เกิดในภพ
http://www.84000.org/true/166.html
------------------------------------------------------------
046 พุทธทำนาย
http://www.84000.org/true/046.html
-------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/083.htm
--------------------------------------------------
กรรมอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/084.htm
-------------------------------------------------------
กรรมนิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/085.htm

-----------------------------------------------------------
คตินิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/086.htm

-----------------------------------------------------------
จากหนังสือ พุทธธรรม

กาลามชนทั้งหลาย เป็นการสมควรที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลง
สมควรที่จะสงสัย ความเคลือบแคลงสงสัยของพวกท่านเกิดขึ้นในฐานะ
กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการฟัง (เรียน) ตามกันมา (อนุสสวะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการถือสืบๆ กันมา (ปรัมปรา)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการเล่าลือ (อิติกิรา)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการอ้างตำรา (ปิฏกสัมปทาน)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยตรรก (ตักกะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการอนุมาน (นยะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (อาการปริวิตักกะ)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน (ทิฏฐินิชฌานักขันติ)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ (ภัพพรูปตา)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (สมโณ
โน ครูติ)
เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรม
เหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติ
ถ้วนถึงแล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น
ท่านทั้งหลายพึงละเสีย ฯลฯ
เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม
เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือ
ปฏิบัติถ้วนถึงแล้ว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น
ท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ (ธรรมเหล่านั้น)
ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใดๆ ก็ไม่
ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขา
เห็นได้ด้วยตนเอง เช่น ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับชาตินี้ชาติหน้าในแง่จริย-
ธรรม ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า
กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิต
ปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิต
บริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ใน
ปัจจุบันนี้แล้ว คือ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่า
เมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็น
สิ่งที่เป็นไปได้ นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครอง
ตนอยู่ โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติ
ปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่วก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อ
ใครๆ ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่น
ใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มอง
เห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ


สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์
จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความ
ปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็น
ของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อหรือเลื่อมใส
ต่อพระองค์ หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์
พึงสังเกตด้วยว่า จะไม่ทรงอ้างพระองค์ หรืออ้างอำนาจเหนือธรรม
ชาติพิเศษอันใด เป็นเครื่องยืนยันคำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผลและ
ข้อเท็จจริงที่ให้เขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาของเขาเอง เช่น เรื่องใน
อปัณณกสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นเหตุผลที่ควรประพฤติธรรม โดยไม่ต้องใช้วิธี
ขู่ด้วยการลงโทษและล่อด้วยการให้รางวัล

--------------------------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๔๙๓๐ - ๕๐๙๒. หน้าที่ ๒๑๒ - ๒๑๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z=5092&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=505

----------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก:

http://www.84000.org/true/187.html


ดั่งตัวอย่างนี้พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงตอบรับหรือปฏิเสธ

แล้วคุณเฉลิมศักดิ์ใยฟันธงเสียเองเล่า


คุณ mes ครับ ต้องศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา ประกอบด้วย

บางพระสูตรพระพุทธองค์ทรงไม่ตรัสพยากรณ์ ก็มี ( บัวใต้ดิน โปรดไม่ได้แล้ว)

บางพระสูตรก็ทรง ตรัสเป็นกลาง ๆ ให้ผู้ฟังพิจารณาเอง ดังเรื่องความอุ่นใจ ถ้าเชื่อว่า ชาติหน้ามีจริงนี้ ( พอจะโปรดได้ )

บางพระสูตรก็ทรงตรัสพยากรณ์ในเรื่อง ชาตินี้ ชาติหน้า



แต่พฤติกรรมของ ท่านพุทธทาส มักจะกล่าวอ้างพระสูตรที่ แล้วฟันธง พระองค์ไม่ตรัสพยากรณ์ แล้วกล่าวตู่พระพุทธองค์ว่า ไม่สอนเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด และหลักกรรม

พฤติกรรมแบบนี้ จึงถ่ายทอดมาสู่ผู้ที่ศึกษางานของท่านเพียงอย่างเดียว

คุณ mes คงฟันธงตามท่านพุทธทาสแน่ ๆ เลย

คุณ mes ครับ มีความเห็นของท่านพุทธทาส ที่กล่าวอ้างถึง หลักกาลามสูตร แบบเต็ม ๆ ซึ่งรวมเอาความอุ่นใจ ๔ ประการหากเชื่อชาติหน้ามีจริง

อยู่ตรงไหน ช่วยนำมาแสดงด้วยนะครับ ถ้าท่านพุทธทาสนำพระพุทธพจน์มาแสดงแบบเต็มพระสูตร ความเห็นของผมที่ว่าท่านปฏิเสธเรื่องชาติหน้า เทวดา เปรต ฯลฯ อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 6:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
วิธีการของคุณเฉลิมศักดิ์คื่อกล่าวหาโจมตีไปเรื่อยๆ

พร้อมกับยกเอาพระไตรปิกฎมาขู่ โดยนำมากอ้างให้มากๆยาวๆ

ให้ไม่กล้าคัดค้านเพราะเป็นพระไตรปิฎก

กับเพื่อให้ดูเหมือนว่าตัวเองเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก



ขอถามว่าคุณเฉลิมศักดิ์ไปได้ยินมากับหูตัวเองจากพระพุทธเจ้าหรือไม่


แม้ไม่เคยได้ฟังจากพระโอษฐ์โดยตรง ก็อาศัยศึกษาจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา และครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก

จึงเกิดความอุ่นใจขึ้นมาบ้าง

ต่างจากสมัยที่ฟังจากท่านพุทธทาส

ผู้ที่ศึกษา พระไตรปิฏก อาจจะมีโอกาสพฤติกรรมเบี่ยงเบนบ้าง

แต่ผู้ที่เชื่อตามท่านพุทธทาสทุกอย่าง ดูจะมีพฤติกรรม หันหลังให้พระสัทธรรมทุกคน เศร้าใจจริง ๆ ครับ ร้องไห้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 8:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกาลามชน อยู่ที่ทำปัจจุบันนี้เดี๋ยวนี้

ให้ดี เมื่อทำปัจจุบันนี้ดีแล้ว ถ้าโลกหน้ามีหรือไม่มี ฯลฯ

ก็ไม่ต้องกังวลเพราะเป็นผลจากการกระทำในปัจจุบันเป็นเหตุ

ดูท่อนดังกล่าว

ฯลฯ

ในเรื่องความเชื่อทางจริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องชาตินี้ ชาติหน้า

ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า

“กาลามชนทั้งหลายอริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวร

อย่างนี้

มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้

มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้

มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้


ย่อมได้ประสบความอุ่นใจ

ถึง 4 ประการ ตั้งแต่ในปัจจุบันนี้แล้ว

ฯลฯ

ถึงตอนนี้พระองค์ก็ยังไม่ได้ยืนยืนตรงไหนว่านรกสวรรค์มีหรือไม่มี

เพียงตรัสแก่พวกเขาว่า ถ้ามี...ก็อุ่นใจ เพราะทำดีในปัจจุบันอนาตต

ก็คงไปดี

ถ้าไม่มี...ก็อุ่นใจว่าในปัจจุบันเราไม่ก่อเวรก่อภัยแก่ผู้ใด ไฉนบาปกรรม

จะตกต้องตัว ผู้ไม่มีเวรแก่ใคร ๆ ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แม้ไม่เคยได้ฟังจากพระโอษฐ์โดยตรง ก็อาศัยศึกษาจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา และครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก


คุณเฉลิมศักดิ์รู้ได้อย่างไรว่าอรรถกถาจารย์ ครูบาอาจารย์เหล่านั้นเป็นอรหันต์

แล้วถ้าอรรถกถาจารย์ ครูบาอาจารย์เหล่านั้นสอนผิดคุณจะรู้ไหม

ดุตัวอย่างต่อไปนี้แล้วคุณเฉลิมศักดิ์ลองตอบดู

เราสมารถทำวิปัสสนาในฌานสมาบัติหรือไม่
ในอรรถกถานั้นขัดแย้งกันอยู่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง