Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 5:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

---------------------------------------------

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5846&Z=5888&pagebreak=0


[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๘๔๖ - ๕๘๘๘. หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๔๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5846&Z=5888&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531
---------------------------------------------------------------
๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า
ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา
โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก
ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา
กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7046&Z=7066&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672
-------------------------------------------------------------------



อ้างอิงจาก:
[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการ




คุณ mes ครับ พิจารณาดูให้ดี คำสอนของใครที่คอยจ้องจะแก้ไขพระไตรปิฏก ยกเลิกในส่วนที่ไม่เข้ากับทิฏฐิของตนเอง ใส่ร้ายอรรถกถาจารย์ พระโบราณาจารย์

สำหรับผมก็มี 2 สำนักใหญ่ ๆ คือ ท่านพุทธทาส และ สำนักธรรมกาย นี้แหละ

ที่จะทำให้พระสัทธรรมเลือนหายเร็วขึ้น

คุณ mes สังเกตดูทิฏฐิของตนเองไหมครับ อ่านหนังสือท่านพุทธทาสแล้ว ไม่อยากจะอ่านพระไตรปิฏก อรรถกถา เลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 5:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ mes ครับ เหตุที่ท่านพุทธทาส กล่าวตู่ พระอภิธรรม, พระสูตร อรรถกถาจารย์ ส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยมีการอธิบาย วิถีจิต ขณะจุติ และ ปฏิสนธิ ซึ่งมีปฏิสนธิวิญญาณ ร่วมด้วย

แต่ท่านพุทธทาสไม่เห็นด้วย จึงตามไปวิจารณ์ พระไตรปิฏก อรรถกถา จารย์

ปฏิจจสมุปบาทที่ท่านพุทธทาสเข้าใจผิด
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/05/Y5403398/Y5403398.html

------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก:
จึงขอแถมท้ายด้วย
การพูดส่อเสียด (ปิสุณวาจา)
การพูดส่อเสียด ได้แก่ การพูดที่ทำให้เขาแตกแยกกัน เป็นการพูดทำลายความ สามัคคีในหมู่คณะ ทำให้คนที่รักกันต้องเลิกล้างจากกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน โดยหวัง ผลประโยชน์ของตน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เป็นต้น


องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ
๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก
๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก
๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก
๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด



ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือพูดส่อเสียดนั้นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)


ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีกทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณา อารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกบัณฑิตติเตียน มักถูกกล่าวหาโดยที่ไม่เป็นจริง จะเป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอ ๆ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล


http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm


ขอบคุณมากครับ คุณ mes กับ สัมมาทิฏฐิในเรื่องกรรมและวิบาก (ใน ศรัทธา ๔)

แต่คำสอนเรื่อง กรรมและวิบากเหล่านี้ มีอธิบายอย่างละเอียดในพระอภิธรรม

ซึ่ง ท่านพุทธทาสไม่เคยสอนเลยครับ มีแต่กล่าวโจมตีว่า ทำให้คนเป็นมิจฉาทิฏฐิ

หากท่านพุทธทาสได้อ่านเรื่องกรรมและวิบาก เรื่อง การเกิดเป็น เปรต อสุรกาย ฯลฯ คงถูกท่านกล่าวตู่อีกแน่

ดังที่ท่านพุทธทาสได้แสดงมิจฉาทิฏฐิไว้ว่า

จากหนังสือ อภิธรรม คืออะไร โดยท่านพุทธทาส

หน้า ๒๒ -"นี่สอนไปสอนมา เดี๋ยวสอนให้เป็นจิตดวงนี้ไปเกิดชาติโน้นๆๆๆ เป็นจิตดวงนี้จุติแล้วปฏิสนธิไปเกิด หอบเอามหากุศลไปด้วย อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัสสตทิฏฐิ แล้วในที่สุดไปหลงมหากุศล แล้วบางคนอธิบายว่า เป็นพระโสดาบันเกิด ๗ ชาติ แล้วก็คนๆนั้นเองเกิด ๗ ชาติ เข้าโลงแล้วเกิดอีก แล้วความเป็นพระโสดาบันหอบหิ้วเอาไปได้อย่างไร ถ้าหอบหิ้วไปได้มันก็เป็นโสดาบันมาแต่ในท้อง แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไร"
---------------------------------------------------------

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท หน้า ๒๑ ท่านพุทธทาสแสดงความเห็นเกี่ยวกับ เปรต อสุรกาย เทวดา ว่า

ถ้าเวทนาหรือความทุกข์นั้นเต็มไปด้วยความกลัว ก็เป็นอสุรกาย, ถ้าเต็มไปด้วยความหิวดังใจจะขาด ก็คือเปรต, โง่ก็คือสัตว์เดรัจฉาน, ทุกข์พอประมาณอย่างมนุษย์ก็เป็นมนุษย์, อร่อยด้วยกามารมณ์นานาชนิด นานาระดับ ก็คือสวรรค์ชั้นต่าง ๆ กัน, และเมื่ออิ่มอยู่ด้วยสุขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ในรูปฌาน และอรูปฌานนานาชนิด ก็คือความเป็นพรหมนานาชนิดอีกนั่นเอง, เป็นของจริงยิ่งกว่าที่กล่าวว่าจะได้ถึงต่อเมื่อเข้าโลงแล้ว, ทั้งนี้เพราะตีความหมายของคำว่า โอปปาติกะ ในพุทธศาสนาผิดไปนั่นเอง

คุณ mes ครับ การที่คุณนำคำสอนเรื่อง วิบากกรรม ภายหลังปวัตติกาล ( ภายหลังการตายเข้าโลง) มาเสนอ แสดงว่า คุณไม่เชื่อท่านพุทธทาสนะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 5:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีกทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณา อารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกบัณฑิตติเตียน มักถูกกล่าวหาโดยที่ไม่เป็นจริง จะเป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอ ๆ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล


http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm



คุณ mes ครับ หลักธรรมที่คุณยกมานั้น เป็นการสรุปและอธิบายเพิ่มเติม ตามแนว พระสูตร พระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ผลที่อกุสลกรรมบถ ๑๐ ส่งให้ในปวัตติกาล จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/072.htm

--------------------------------------------------------

ซึ่งท่านพุทธทาสกล่าวคัดค้านตลอดชีวิตของท่านว่า สอนให้คนเป็นมิจฉาทิฏฐิ

หากคุณจะนำหลักธรรมเหล่านี้ มาเตือนศิษย์ท่านพุทธทาส จึงควรระมัดระวังให้ดี

เพราะเข้ากับทิฏฐิของท่านพุทธทาสไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมสังสัยว่า

ตามคำกล่าวหาของคุณเฉลิมศักดิ์หากเป็นจริง

มหาเถระสมาคม ทำไมไม่มีการดำเนินการ

อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านเสถียร์พงษ์ วรรณปก ท่านสุชีพ ปุญญานุภาพ ท่านเหล่านี้ไม่เคยออกมาคัดค้านต่อต้านท่านพุทธทาส

ท่าน ป.อ. ปยุตโต อ้างถึงคำสอนของท่านพุทธทาสในหนังสือพุทธธรรม

มหามงกุฎราชวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ไม่เคยต่อต้านท่าน

คุณเฉลิมศักดิ์ กับ คุณบรรพต อ. พยายามปลุกระดมแต่ไม่มีใครสนใจพวกคุณ

ทุกคนส่วนมากล้วนเคารพและเชื่อในคำเทศนาสั่งสอนของท่านพุทธทาส

ผมเองก็นับว่าก้าวพลาดไปก้าวหนึ่งที่เผลอตกเข้ามาในขบวบการอกุศล

ผมจึงจะไม่ร่วมสนทนาต่อไป

เพราะรังแต่จะสร้างอกุศลกรรม บาปหนัก บาปหนาแก่ตนเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 9:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การศึกษาธรรมะเริ่มต้นที่ศรัทธา

จากนั้นจึงหาแหล่งความรู้คือปรโตโฆษะ ได้แก่กัลยาณมิตร โรงเรียนปริยัติธรรม มหาวิทยาลัยสงฆ์ คณะพุทธศาสนามหาวิทยาลัย หรือสถาบันสอนศาสนา

และไม่จำเป็ต้องเป็นตำราเรียนหรือเรียนพระไตรปิฎก

อาจเป็นแค่คำชี้แนะเป็นคราวๆไปก็ได้

ศึกษาหรือสิกขาในทางพุทธศาสนานั้นใช้วิธีการด้วยการโยนิโสมนสิการ

ขั้นต่อมาก็มาถึงปฏิบัติ หรือที่ท่านพุทธทาสท่านเรียกว่าประยุกต์

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 9:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่มีนักเรียนพระอภิธรรมบางพวกอ่อนปฏิบัติแต่เก่งปริยัติ

เรียกว่าเถียงเก่งเถียงคำไม่ตกฟากนั่นแหละ

เมื่อท่านพุทธทาสเน้นแนวในทางปฏิบัติไม่ยึดถือว่าจะต้องรู้เรืองปริยัติมาก่อนหรือไม่

ปรากฎว่าแนวทางของท่านพุทธทาสเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นทุกทีๆ จนกระจายไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ต่างศาสนาก็ยอมรับในแนวทางของท่าน

ใครไปของเรียนธรรมะกับท่านที่วัดธารน้ำไหลท่านจะบอกว่าให้ปฏิบัติศึกษาเอาน่ะไม่มีตำราบอก

มีปัญญาชน นักศึกษาไปปฏิบัติธรรมหรือนำเอาแนวทางคำสอนจากหนังสือที่ท่านเขียนเกือบทุกสถาบันการศึกษา

จนท่านได้กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลก

ท่านพุทธทาสใหญด้วยปัญญา ใหญด้วยความดี ใหญ่ด้วยคุณธรรม ใหญ่ด้วยเมตตาธรรม

แต่ความนิยมในตัวท่านกลับทำให้มีบางฝ่ายที่เสียผลประโยชน์ออกมาต่อต้านท่าน

ท่ายผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมตามธรรมชาติที่แท้ มนุษย์ที่แท้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระไตรปิฎกบิดเบือนได้แต่พระพุทธธรรมบิดเบือนไม่ได้

คนที่อ่านหนังสือไม่ออกสามารถบรรลุอรหันต์ได้เช่นเดียวกับผู้เรียนปริยติ

ทางแห่งการบรรลุอรหันต์คืออริยมรรคที่มีองค์8

องค์ธรรมที่ต้องปฏิบัติในอริยะมรรคคือ สัมมาสมาธิ

หมายถึงสติปัฏฐาน4

นักเรียนปริยัติหรือพระอภิธรรมมักอ่อนในด้านนี้

ดังตัวอย่าง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้าว..คุณเฉลิมศักดิ์ครับ คุณจะตัดบทเอาดื้อๆ โดยทิ้งปัญหาคาใจ

เอาไว้อย่างนี้หรอครับ

ก่อนไปอย่างน้อยควรเฉลยปัญหาให้กระจ่างก่อน

ที่คุณกล่าวว่า


สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้าง ขวา
ทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรง กำหนดลมหายใจ
เข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับ
อารมณ์นั้น

กรัชกายไม่เข้าใจจึงถาม ว่าที่เค้านั่งขัดสมาธิเอาเท้าขวาทับเท้า

ซ้าย ฯลฯ เป็นสมถกรรมฐานหรอ

ถามเพราะอยากรู้นะครับ กลับมาเช็ดสิ่งที่คุณทำเปื้อนไว้ด้วย

ครับ



แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ด้วยครับ เมื่อนั่งอย่างนั้น เป็นสมถกรรม

ฐานแล้ว นั่งวิปัสสนากรรมฐานที่คุณทำอยู่ล่ะนั่งท่าไหน ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออภัยคุณเฉลิม หลีกเลียงไม่ได้ครับในกรณีสถานการณ์อย่างนี้




ผู้ที่เรียนปริยัติมักเก่งแต่ท่องจำ ไม่รู้จริง

คือตอบตามตำรา

แท้จริงการทำสมาธิภาวนาอยู่ที่สติสมาธิเป็นสำคัญมิใช่รูปแบบ

สติปํฏฐาน4ทำได้ทุกที่ ทำได้ทุกอริยาบถ ทุกเวลา

ข้อสำคัญคือต้องรู้ลึกตัว ตามดูรู้ทันอารมณ์ของตน

ต้องรู้จักยกจิต ประคองจิต และข่มจิต

จะมีกล่าวเอาไว้อย่างละเอียดยาวมากในหลายบทหลายตอนในหนังสือพุทธธรรมของท่านป.อ.ปยุตโต ซึงจะไม่นำมากล่าวเพราะไม่จำเป็น

หรือหาอ่านได้จาก

http://www.free-webboard.com/index.php?user=vipassanatipani
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิภาวนาประกอบด้วยสมถ กับ วิปัสสนา

พระอรหันต์ที่บรรลุธรรมมีอยู่4ประเภทคือ

เลิมศักดิ์ พิมพ์ว่า:
มรรค 4 สู่อรหัตตผล แนวทางปฏิบัติสู่นิพพาน 4 ทาง ได้แก่
1. สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า
2. วิปัสสนาปุพพังคสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า
3. ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน(ควบคู่ไปด้วยกัน)
4. ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ (เข้าใจผิดคิดว่าผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)


ผมไปก๊อปมาจากลานธรรมเสวนา

เพื่อให้เห็นว่า การบรรลุธรรมไม่ขึ้นอยู่กับการอ่านท่องจำพระไตรปิฎก

ไม่ว่าฉบับถูกต้อง หรือ ฉบับบิดเบือน

ในสมัยพุทธกาล หรือก่อนพุทธกาลก็ไม่มีพระไตรปิฎก ไม่มีพระอภิธรรม

แต่มีปัจเจกพุทธเกิดมายมาย รวมถึงพระพุทธเจ้า


เพืออ้างอิงว่า

การสำเร็จพระอรหันต์สำเร็จได้ด้วนวิธีการใด

ปฏิบัติประการเดียวครับ

จะเดินทางไปอินเดียต้องเดินทาง

อ่าภูมิประเทศของอินเดียไปไม่ถึงหรอกครับ

ไม่ว่าคนเขียนจะเขียนถูกหรือบิดเบือน
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 19 ส.ค. 2008, 10:36 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาคือการยึดติดหรือเกิดอุปทานในตัวอักษร

ไม่รู้ว่าอันไหนคือสมมุติ

อันไหนคือสภาวะ

ผมจึงสารภาพบาปกับทุกท่านว่าผมก้าวผิดไปก้าวหนึ่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในที่นี้ผมบังอาจกล่าวว่า

พระไตรปิฎกคือหลักฐานชิ้นหนึ่ง ที่บันทึกสมมุติโวหารเอาไว้เท่านั้น

การปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน4คือสภาวะ

มีทางปฏิบัติตามสติปัฏฐาน4เท่านั้นที่จากนำไปสู่ปรมัตถ์

นอกนั้นมองไม่เห็นทางอืนอีกเลย

แล้วออกมาปลุกระดมให้เป็นอกุศลเบียดเบียนตนเองทำไม

ใช้ปัญญาแสวงหาทางวิมุติไม่ดีกว่าหรือ

หรือเป็นเรืองของวิบาก

ก็ขอเชิญตามอัธยาศรัยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมครับ

สิ่งที่คุณยกมาอ้างอิงข้างบน

เพือโจมตีท่านพุทธทาสนั้น

ไม่เกิดประโยชน์กับใครเลยครับ

ไม่ยังประโยชน์ให้สิ้นอาสวะ

หรือทำให้กิเลสคนน้อยลงไปเลย

คุณเรียนธรรมะมาเป็นอาจารย์ผมได้สบายๆ

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตคุณ

ถึงได้เป็นเช่นนี้

ด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 4:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
ปัญหาคือการยึดติดหรือเกิดอุปทานในตัวอักษร

ไม่รู้ว่าอันไหนคือสมมุติ

อันไหนคือสภาวะ

ผมจึงสารภาพบาปกับทุกท่านว่าผมก้าวผิดไปก้าวหนึ่ง


นี้คือพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่ท่านพุทธทาส พยายามชี้นำทิฏฐิของท่าน โดยเฉพาะอักษรที่อยู่ในพระไตรปิฏก อรรถกถา

ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ผู้ที่ศึกษางานของท่านพุทธทาสจะมีทิฏฐิเช่นนี้

เพราะท่านได้เปิดช่องให้ไว้แล้วว่า ให้วิจารณ์พระไตรปิฏก ( พระธรรมวินัย ตัวแทนของพระพุทธองค์) ได้อย่างอิสระ ตามทิฏฐิของตนเองที่คิดนึกได้

ดังทิฏฐิของท่านพุทธทาสที่กล่าวตู่พระพุทธองค์ ว่าทรงเออวยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง ผีสาง เทวดา พรหม เพราะพิสูจน์ให้คนโง่เห็นไม่ได้
(คงมีคนเชื่อท่านพุทธทาสบ้าง ว่าศาสนาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทสอนให้คนโง่ )

อ้างอิงจาก:

http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html



----------------------------------
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร โดยท่านพุทธทาส

อ้างอิงจาก:
ทีนี้จะพูดเรื่อยๆ ไปตามที่เห็นว่าสมควรจะพูด ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์ขนาดนี้ ?จะชอบไหม ว่าทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันอย่างอิสระเช่นนี้? ในข้อนี้จะขอพูดไว้ทีเดียวหมดเลย สำหรับใช้ได้ทุกๆคราวทุกๆเรื่องว่า ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันขนาดนี้
ข้อหนึ่ง ก็เพราะว่าพระไตรปิฏกทีแรกจำกันมาด้วยปาก ฟังด้วยหู บอกกันด้วยปากเรื่อยมาเป็นเวลาตั้ง ๔๐๐- ๕๐๐ ปี จึงได้เขียนเป็นตัวหนังสือ มันอาจจะมีผิดเพี้ยนหลงลืมโดยไม่เจตนาในชั่ว ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องกล้าวิจารณ์
อีกข้อหนึ่งแม้เป็นตัวหนังสือแล้ว มันก็ตั้ง ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วเมื่อ พศ. ๕๐๐ มาถึงเดี๋ยวนี้มัน ๒๐๐๐ ปีแล้ว ฉะนั้นมันอาจจะมีอะไรสูญหาย หรือเพิ่มเข้ามาชดเชยหรือว่าเพิ่มเติมเข้าไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง อย่างนี้มันอาจจะมี แม้แต่คัดลอกผิดมันก็มี ฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์
ทีนี้การกล้าวิจารณ์นี้ไม่ใช่เราอวดดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้โดยกาลามสูตร อย่าเชื่อแม้แต่เพราะเหตุว่าสมณะองค์นี้เป็นครูของข้าพเจ้า แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง อย่าเชื่อเพราะมันมีในพระไตรปิฏก, อย่าเชื่อเพราะมันน่าเชื่อ,อย่าเชื่อเพราะมันมีเหตุผลทางตรรก ทาง Logic ทางปรัชญา เป็นต้น ให้เชื่อเมื่อมันปรากฏแก่ใจแล้วว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้าทรงเปิดให้อย่างอิสระถึงที่สุดอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์ แม้แต่วิจารณ์พระพุทธเจ้าเอง นี่พูดอย่างนี้บาปหรือไม่บาปก็ไปคิดเอาเองเถอะ บางคนคิดว่าพูดจาบจ้วงพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสั่งว่าอย่างนั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 5:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16059&postdays=0&postorder=asc&start=0

อ้างอิงจาก:
พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ
และผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหาย

ก.ทำตัวอ่อนต่ออุปนิสัย เป็นคนเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้น ในการทำกิจต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและดียิ่งขึ้น กลายเป็นคนอ่อนศักยภาพ ที่เรียกว่า ถูกพระสัทธรรมเหยียบ เหมือนถูกมนต์สะกด บางคนบางท่าน เกิดจิตวิปลาส เป็นผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ เพราะประพฤติปฏิบัติผิดต่อพระธรรมวินัย นั่นเอง

ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น
๑)อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้
๒)โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล
๓)พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ
!
!
๘)สทฺธมฺมปฏิมุขี หันหลังให้พระสัทธรรม คือ ไม่ชอบฟังพระสัทธรรม ชอบหมกหมุ่นแต่ในเรื่องเดรัจฉานกถา หรือ ไม่ให้ความสำคัญแก่พระสัทธรรม สนใจและให้ความสำคัญแต่ในเรื่องทางโลก (โลกาธิปไตย หรือ โลกานุวัฒน์ ) หรือเอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นเครื่องตัดสิน (อัตตาธิปไตย) ขาดความมั่นคงและความเคารพยำเกรง ในพระสัทธรรม

---------------------------------------------------------

คุณ mes ครับ ตอนนี้คุณเริ่มแสดงพฤติกรรม ที่หันหลังให้พระสัทธรรม แล้วครับ เริ่มเห็นคล้อยตามว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา ไม่น่าเชื่อถือ แล้วครับ
เชื่อนักปฏิบัติอย่างครูบาอาจารย์ที่เราเชื่อถือจะดีกว่า


อ้างอิงจาก:
ในที่นี้ผมบังอาจกล่าวว่า

พระไตรปิฎกคือหลักฐานชิ้นหนึ่ง ที่บันทึกสมมุติโวหารเอาไว้เท่านั้น

การปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน4คือสภาวะ
จากคุณ mes



สมมุติโวหาร ในพระไตรปิฏก ท่านพุทธทาสเรียกว่า ภาษาคน หรือ บุคคลาธิษฐาน

ส่วนทิฏฐิที่ท่านแสดงทั่วไป เขียนหนังสือ วิจารณ์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ท่านชี้เสมอว่า เป็น ภาษาธรรม , ธรรมาธิษฐาน

http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

--------------------------------------------

เชื่อว่า คุณ mes และศิษย์ท่านพุทธทาส คงจะเชื่อตามทั้งหมด ว่าท่านสอนแต่ ปรมัตถธรรม ไม่เจือด้วยสมมุติโวหารแบบพระไตรปิฏก อรรถกถา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 5:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องพระไตรปิฏกนี้
สามารถชำระให้แจ่มชัดได้ด้วยวิธีเดียว คือพระอรหันต์

ลองนำความสงสัย ไปกราบเรียนถามพระอริยะเจ้าเหล่านั้น
ท่านก้จะได้คำตอบ

แล้วใครล่ะพระอรหันต์ ?
- เมื่อไหร่ท่านรู้แจ้งว่าใครคือพระอรหันต์ ใครไม่ใช่ .... ท่านก็ถามตัวเองได้เลย

- ปัญหาคือ เรารู้วิธี แล้วเราจะทำไหม?


ดังคำหลวงปู่ดุลย์พูดไว้ว่า

อ้างอิงจาก:
ผู้ที่ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น
ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลัง หรือนรก สวรรค์อะไรก็ได้

ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ

ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามมตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมได้เลื่อนฐานะของตนโดยลำดับ

หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วในขณะนี้ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ


ผมขออนุญาตสรุปง่ายๆว่า
ถ้าปฏิบัติ ถึงขนาด จะรู้เองได้
ไม่จำเป้นต้องสงสัยในเวลานี้


ด้วยความเคารพคับผม
สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ


แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 20 ส.ค. 2008, 5:20 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 5:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
คุณเฉลิมครับ

สิ่งที่คุณยกมาอ้างอิงข้างบน

เพือโจมตีท่านพุทธทาสนั้น

ไม่เกิดประโยชน์กับใครเลยครับ

ไม่ยังประโยชน์ให้สิ้นอาสวะ

หรือทำให้กิเลสคนน้อยลงไปเลย

คุณเรียนธรรมะมาเป็นอาจารย์ผมได้สบายๆ

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตคุณ

ถึงได้เป็นเช่นนี้

ด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆ


คุณ mes ครับ มีพี่น้องชาวไทย จำนวนมาก ที่มีมิจฉาทิฏฐิ ปฏิเสธในเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เชื่อว่าตายแล้วสูญ

ส่วนหนึ่งมาจากการศึกษาทิฏฐิของท่านพุทธทาส เช่น

อ้างอิงจาก:


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16994



เมื่อก่อนผมก็ชอบอ่านงานของท่านพุทธทาสครับ แน่นอนว่าท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่จะเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่านเข้าใจผิดในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดปฏิเสธโลกหน้า แต่รู้สึกว่าช่วงปลายของชีวิตท่านก็ทราบถึงความจริง แต่ก็สายไปแล้ว เพราะผลงานของท่านก้ได้แพร่หลายไปทั่วแล้ว หัวหน้าโคที่นำฝูงโคไปผิด ฝูงโคก็จะเดินผิดทางไปด้วย น่าเศร้าใจจริงๆ
-----------------------------------------




อ้างอิงจาก:
คุณเรียนธรรมะมาเป็นอาจารย์ผมได้สบายๆ

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตคุณ

ถึงได้เป็นเช่นนี้


ผมไม่อยากให้พี่น้องที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย มีมิจฉาทิฏฐิ เพิ่มมากขึ้นครับ


ในอดีตเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ผมเคยหลงใหลคิดเอาเองง่าย ๆ ตามประสาของผู้ที่ยังด้อยการศึกษาในพระสัทธรรม โดยหลงใหลคิดว่า ท่านผู้หนึ่ง คือท่านพุทธทาส เป็นพระสงฆ์ผู้มีความรู้ดี รู้ยิ่งกว่าท่านผู้ใดอย่างน้อยท่านคงจะได้เป็นโสดาบันบุคคล และมีความมั่นใจเช่นนี้อย่างจริงจังเสียด้วย สมัยเป็นนักศึกษาเคยร่วมกิจกรรมกับชมรมพุทธ ที่สวนโมกข์สมัยท่านมีชีวิตอยู่
แต่ครั้นมาศึกษาพระอภิธรรมเบื้องต้น จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ จึงได้มองเห็นท่านผู้ที่เราเคยยกย่องอย่างจริงจังมาแล้วในอดีตนั้นกลายเป็นเดียรถีย์ คือ ผู้ข้ามไม่ถูกท่าไป เพราะท่านคิดเอาเอง พูดเอาเอง ตัดสินตีความธรรมะเอาเองตามใจชอบ ราวกับว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒
ทั้งนี้ก็เพราะพระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ นั้น มีกฏเกณฑ์มีข้อบังคับและมีตัวเลขควบคุมเอาไว้ทั้งหมด ไม่ว่าธรรมข้อไหน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้ พระองค์ท่านทราบเป็นอย่างดีว่า จะมีผู้พูดแสดงพระธรรมออกไปตามชอบใจ พระธรรมของพระองค์นั้นไม่มีผู้ใดคิดค้นขึ้นมาเองได้ มีเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของชีวิตจิตใจและความพ้นทุกข์ที่ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจอย่างสุดที่พรรณาได้ ถ้าแสดงธรรมะเอาตามชอบใจแล้ว นอกจากจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ อาจผิดไปอย่างตรงกันข้ามเป็นฟ้ากับดินได้โดยง่าย ในวันข้างหน้าจากเดียรถีย์คือผู้ข้ามไม่ถูกท่า ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมได้ศึกษาพื้นฐานทางด้านพระอภิธรรมมีความเข้าใจบ้างเพียงเล็กน้อย หนังสือต่าง ๆ ของท่านพุทธทาสที่ผมได้รวบรวมสะสมไว้ทั้งหมดเป็นจำนวนมาก ผมไม่กล้าที่นำไปแจกเป็นธรรมทาน เกรงว่าจะเกิดความเข้าใจผิดในสภาวธรรมขึ้นได้กับเพื่อนผู้ร่วมทุกข์ทั้งหลาย แล้วความเสียหายก็จะติดตามตัวไปอีก และความเสียหายนี้ก็มิใช่เล็กน้อย ด้วยเป็นเรื่องของชีวิตจิตใจ
เพราะประมาทอะไร ก็ไม่ร้ายเท่ากับประมาทในเรื่องของชีวิตจิตใจ เรารักชีวิตของเรามากเท่าใด เราก็จะต้องเลือกหนทางเดินให้แก่ชีวิตของเราให้ดีที่สุดมากเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 5:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าต้องการทำเพื่อคนจำนวนมาก และคิดว่านี่เป็นหน้าที่ต้องทำ
คุณเฉลิมศักดิ์ลองทำเรื่องเข้าไปที่มหาเถระสมาคมสิครับ
ผมคิดว่าศักยภาพของคณะสงฆ์ สามารถให้ความสว่างในเรื่องนี้ได้

เห็นว่าอะไรผิด ไม่ถูกต้อง ก็ชี้แจงไปให้ละเอียด
็จะได้รอสงฆ์ชำระกันเอง


เรื่องข้อมูลที่ยกมา ถูก หรือ ผิด ไม่มีใครรู้หรอก
พวกเราก็ไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่สามารถชี้ขาดได้
เราได้แต่ใช้สัญญาในการวิเคราะห์
เมื่อพระพุทธเจ้าไม่อยู่ เราก้ต้องพึ่งลำดับรองลงมา คือพระอรหันตสาวก


แต่การกล่าวโทษอย่างที่ทำอยู่ ถ้าดูตามความเชื่อที่กล่าวกันมา
ถ้าวิบากเหล่านั้นมีจริง ผลของกรรมมันหนักมากๆ มากจริงๆ
ผมไม่อยากให้คุณเฉลิมศักดิ์ต้องพบกับวิบากแบบนั้น


พูดด้วยความคาระวะทุกท่านนะคับ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์ พิมพ์ว่า:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้ พระองค์ท่านทราบเป็นอย่างดีว่า จะมีผู้พูดแสดงพระธรรมออกไปตามชอบใจ พระธรรมของพระองค์นั้นไม่มีผู้ใดคิดค้นขึ้นมาเองได้ มีเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของชีวิตจิตใจและความพ้นทุกข์ที่ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจอย่างสุดที่พรรณาได้ ถ้าแสดงธรรมะเอาตามชอบใจแล้ว นอกจากจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ อาจผิดไปอย่างตรงกันข้ามเป็นฟ้ากับดินได้โดยง่าย ในวันข้างหน้าจากเดียรถีย์คือผู้ข้ามไม่ถูกท่า ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมได้


คุณเริ่มมั่วแล้ว

ขอหลักฐานอ้างอิงที่พระพุทธเจ้าตรัสเช่นข้างต้นด้วย

รวมถึงที่พระองค์ให้มีตัวเลขควบคุม

ประวัติพระอภิธรรมใครบันทึกยังเป็นปัญหาอยู่เลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 11:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เวลานี้คุณเฉลิมศักดิ์ตั้งศาลเตี้ยเองพิพากษาเอง

ที่ผมกล่าวว่าตนก้าวพลาดคือ

เมื่อเข้าม่แสดงเหตุผลและตั้งคำถามข้อเท็จจริง

คุณเฉลิมศักดิ์ไม่ตอบ

เลือกที่จะใช้เป็นโอกาสโจมตีท่านพุทธทาสประการเดียว

ซึงคงไม่มีสักกีคนที่เชื่อ

เพราะลำพังคุณเฉลิมศักดิ์ก็อ่อนปฏิบัติมาก

ผมไม่ได้หมายความว่าคุณเฉลิมศักดิ์ไม่ค่อยปฏิบัติธรรม

เพราะข้อนั้นผมไม่อาจทราบได้

แต่หมายถึง ปฏิบัติไปไม่ถึงไหน

ที่ผมเข้ามาก็เพือเช็ดสิ่งที่ผมทำเอาไว้ไม่ทิ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง