Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีแก้กรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2004, 11:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดย สาระ
ปรับปรุง ๒๑ ก.ค. ๒๕๕๐

แก้วิบากกรรมด้วยสติปัญญา

เมื่อถึงช่วงที่ความทุกข์เข้าถาโถม
การแก้ไขพลิกฟื้นสถานการณ์ ดีกว่าการยอมทุกข์ทรมาน!

เตรียมพร้อม

พยายามมีสติอย่าเผลอ สำรวมระวังในอากัปกิริยาต่าง ๆ สม่ำเสมอเป็นนิสัย ได้แก่

๑) คิดดี
- ไม่ควรเชื่อความรู้สึกนึกคิดและทำตามนั้นทันที แต่ควรตรวจสอบความคิดก่อนพูดก่อนทำ ความคิดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น อยาก ไม่อยาก
ต้องการ จำเป็น ดีใจ ประทับใจ เหลิง ชื่นชม ชอบ ไม่ชอบ ง่วง จำได้ว่า เคยชิน เผลอ งง หงุดหงิด ใจร้อน ใจเย็น อารมณ์ชั่ววูบ หุนหันพลันแล่น
มุ่งมั่นตั้งใจ คิดที่จะเดินทาง ฯลฯ

- ระวังหลงทาง วิธีป้องกันการหลงทางมีหลากหลาย ผู้เขียนเองก็ยังชนะไม่ได้หมดทุกกรณี จึงเลือกเขียนบางส่วน คือพยายามรักษา
ความสนใจให้อยู่กับ เป้าหมายที่ต้องการ หนทางที่คิดไว้ดีแล้ว หรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน
- มีทัศนคติไม่เบียดเบียน
- คิดกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มคุณค่าในตนเอง
- ตื่นตัว ตรวจสอบให้รู้เกี่ยวกับ งานหรือกิจกรรมที่ต้องติดตาม งานที่จะต้องทำ เวลาที่มีสำหรับงานที่กำลังทำอยู่ นัดหมาย หนี้สินที่ถึงกำหนดชำระ
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบ
- ทำใจสงบ สบาย ๆ

๒) ติดต่อสื่อสารดี
- โดยปกติพูดน้อยไว้ดีกว่า การพูดน้อยทำให้รับข้อมูลข่าวสารทางหูทางตาดีขึ้น สติ ปัญญา และสมาธิในขณะนั้นดีขึ้น และลดโอกาสที่
เราจะเบียดเบียนหรือถูกเบียดเบียนด้วยคำพูด แต่เมื่อถึงเวลาต้องพูดต้องสื่อสารก็ควรพูด
- ก่อนจะพูดหรือเขียนข้อความถึงใคร ควรตรวจสอบคำพูดหรือข้อความของตน ว่าจะกระทบกับตัวเองและกับใครอย่างไร
- ตั้งใจฟัง เพื่อที่จะเข้าใจได้ถูกต้องขึ้น
- รับรู้สัญญาณเตือนภัยว่าจะมีปัญหาความเดือดร้อนเกิดขึ้น ยิ่งถ้าสัญญาณนั้นมาจากกัลญาณมิตรก็ควรหยุดคิดและปรับเปลี่ยนสิ่งที่กำลังจะทำ
- สังเกตวัตถุกรรมและสถานการณ์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป
- สนใจผู้ใกล้ชิด เช่น สมาชิกในครอบครัว หรือผู้ที่เราดูแลรับผิดชอบ ว่าเขาเป็นสุขเป็นทุกข์อย่างไร

๓) ทำดี
- ทำตามหนทางที่คิดไว้ดีแล้วนั้น
- เผื่อเวลาสำหรับการเตรียมตัว การตรวจสอบ และการเสียเวลากับข้อขัดข้องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ช่วงเวลาที่เรายังมีเวลา มีความสะดวกสบาย
และมีความสามารถที่จะทำอะไรต่ออะไรได้ ควรเร่งรีบทำให้บรรลุเป้าหมาย
- ทำความดี
- รักษาสุขภาพ ไม่ควรใช้ร่างกายมากเกินไป เพื่อรักษาประสิทธิภาพของสติปัญญา โอกาสเจ็บป่วยน้อย สุดท้ายก็จะไม่กระทบต่อความสำเร็จใน
การเรียนการทำงาน
- แต่งกายและดูแลบุคลิกให้เหมาะสม
- จัด ดูแล และเก็บรักษา สิ่งของสำคัญหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ด้วยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวก
- รวมทั้งไม่ควรอยู่ที่ใดที่หนึ่งนาน

กระบวนการ

กระบวนการตอบแทนต่อผลกรรมดีและกรรมชั่วหรือในที่นี้เรียกสั้น ๆ ว่า "กระบวนการ"

กระบวนการหรือขั้นตอน มีโครงเรื่อง วัตถุกรรม และสถานการณ์

โครงเรื่องอาจจะยาวสั้นยากง่าย

วัตถุกรรมคือสิ่งที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ประสานให้กระบวนการสมบูรณ์ วัตถุกรรมอาจจะเป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ
หรือนามธรรมจับต้องไม่ได้ เช่น ความรู้สึกนึกคิด เวลา คำสรรเสริญ ฯลฯ

วัตถุกรรมเป็นเส้นทางนำพาผู้นั้นไปสู่ความสุขหรือความทุกข์ในรูปแบบและระดับต่าง ๆ และเป็นบันไดเป็นโอกาสให้ผู้นั้นทำดีหรือทำชั่วต่อไปอีก

นอกจากนี้ ยังมีการเกิดขึ้นของสถานการณ์ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบฉับพลันทันด่วน จนกระทั่งเหตุปัจจัยพร้อมสำหรับให้คนหรือสัตว์ใช้
ผลกรรม โดยที่มักจะไม่รู้ตัวล่วงหน้า หรือรู้ตัวแต่ก็หลีกพ้นยาก เพราะกฎแห่งกรรมมักจะเหนือกว่าคนฉลาด สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมักชี้บอก
ให้เรารู้ว่าอะไรเป็นวัตถุกรรม

ดังนั้น การเห็นกระบวนการโดยเฉพาะวัตถุกรรมหรือสถานการณ์ จะช่วยให้จัดการกับกระบวนการได้ดีขึ้น

วัตถุกรรม
วัตถุกรรมมีพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุกรรมแห่งความดีหรือความชั่ว

ดังนั้น การระบุวัตถุกรรมใดว่าเป็นดีหรือไม่ดีจึงไม่แน่นอน บางสิ่งต้นร้ายปลายดี ต้นร้ายปลายร้าย ต้นดีปลายร้าย ต้นดีปลายดี หรือปนเปสลับ
ไปมาตลอด

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป วัตถุกรรมดีจะนำมาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายอันดีงามยิ่ง หรือความสงบสุขของจิตใจ ส่วนวัตถุกรรมแห่ง
ความไม่ดีจะขัดขวางความสำเร็จตามเป้าหมายอันดีงามยิ่ง หรือเพื่อทำให้จิตใจไม่สงบสุข

เมื่อสังเกตเห็นวัตถุกรรมใดแล้ว

กับวัตถุกรรมแห่งความดี ไม่ควรยินดีจนเพลิน หรือย่อท้อต่ออุปสรรค ระวังเข้าใจผิดมองเป็นวัตถุกรรมร้ายไปเสียน่ะ

กับวัตถุกรรมแห่งความไม่ดี ควรระมัดระวังอารมณ์ มีสติ พยายามทำความเข้าใจ และจัดการด้วยปัญญา คำนึงถึงความเหมาะสม หลีกเลี่ยง
การตำหนิซ้ำเติม โดยไม่ลืมว่าสิ่งที่เราจะทำนั้นก็เป็นการสร้างกรรมใหม่ที่เราอาจจะต้องรับผลอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน

ความคิด

ความคิดหรือการตัดสินใจของเรานั้น เป็นวัตถุกรรมที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่ง ที่จะนำพาชีวิตของเราให้ไปในทิศทางใด โอกาสดี ๆ ถ้าความคิด
บอกว่าไม่ดี แล้วเราเชื่อ เราก็จะสูญเสียโอกาสที่ดีงามนั้นไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำอย่างไร? คำตอบคือยากที่สุดหากยังอยู่
ในช่วงที่จะต้องรับผลกรรม หรือจนกว่า ๑. มีกัลยาณมิตรผู้มีปัญญาดีและมีคุณธรรมดี มาช่วย และ ๒. ไม่ดื้อ ปรึกษาและรับฟังคำแนะนำจาก
กัลยาณมิตรเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นที่สุดคือตนเองต้อง เพิ่มพูนปัญญา ละทิฐิ ละความเห็น มีปัญญาเหนือความคิดของตนเอง
ก็จะสามารถชนะได้เช่นกัน

นอกจากวิธี ๑. และ ๒. ที่กล่าวนี้ ยังมีวิธีอื่น ๆ อีกที่จะสามารถช่วย ให้ทุเลา หรือลดความเสียหาย เช่น การมีฝ่ายตรวจสอบ การทักท้วง
จากฝ่ายค้าน การมีภาระเพิ่มขึ้น เป็นต้น วิธีเหล่านี้เพื่อคานความคิด ซึ่งมักจะลดทอนความสุขในทางโลกและอิสระของผู้มีเคราะห์
ซ้ำยังอาจกระทบต่อความก้าวหน้าของส่วนรวมด้วย

มันมีเหตุ
ความดีและความชั่วเป็นเหตุให้เกิดกระบวนการชดใช้กรรม

การที่เราจะต้องพานพบและทุกข์เดือดร้อนเพราะใครนั้น มักจะมีวิบากกรรมเป็นเหตุให้เราเจอเขา แล้วมีปัญหากัน เดือดร้อนกันทั้งสองฝ่าย
ในหลายกรณีเขาไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับเรา แต่เนื่องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีอุปนิสัยหรือความรู้สึกนึกคิดในขณะนั้น หรือเหตุ-
ปัจจัยแวดล้อม พร้อมที่จะให้กระบวนการชดใช้กรรมเกิดขึ้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เหตุปัจจัยครบถ้วนจนกระบวนการเกิดขึ้นจะเป็น
ความโชคดีของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าเมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วก็ควรจัดการด้วยความเหมาะสม ให้จบกระบวนการไปได้โดยไม่ติดใจเขา
อโหสิกรรม ไม่เคียดแค้น จะได้ไม่วุ่นวายใจ ไม่หนัก ให้มันจบที่เรานั้นดีหนอ

อย่างไรก็ตาม การอโหสิกรรมคือการที่จิตไม่คิดอาฆาต ยกโทษให้ ถ้ายกโทษให้ต้องยกให้จริง เมื่อเวลาผ่านล่วงเลยไปแล้ว ก็ไม่ควรพูดถึง
ไม่ควรเอ่ยชื่อเขา ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเล่าให้ใครฟัง การเล่านั้นมักจะทำให้รื้อฟื้นเรื่องราวความรู้สึกเดิม ว่าเขาได้ทำกับเราอย่างนั้นอย่างนี้
จะทำให้ใจเราไม่สงบ นั่นก็ไม่ควรเล่า ประสบการณ์เหล่านั้นจะทำให้เราระวังตัวมากขึ้นโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกใครทำให้
เดือดร้อนแล้วไม่ต่อสู้ ไม่พูดออกมา หรือไม่บอกใคร ต่างไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกปัญหา

ถ้าเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง ก็ควรปกป้องตัวเองครอบครัวและผู้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ และแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น

และอีกกรณีหนึ่ง เราอาจจะได้เจอะเจอกับผู้ที่เคยทำให้เราเดือดร้อน ก็ควรมีใจเป็นกลาง ไม่เกลียด และไม่ใกล้ชิดด้วยความประมาท

เผชิญวิบากกรรม

ขณะเผชิญกับปัญหาความเดือดร้อน ให้มีสติอยู่เสมอ ประคับประคองเพื่อให้ผ่านพ้นไปด้วยดี ถ้าทำได้ให้ใช้ปัญญาคิดหาหนทางแก้ไขไปใน
เวลานั้นด้วย แล้วเรียนรู้ถึงความเจ็บปวด และจะไม่ทำกับใครอย่างที่ถูกทำ

ถ้าวิบากกรรมหนักหนาจนเหนื่อยล้าอ่อนแรง ให้พักผ่อน ทำให้ตัวเองมีกำลังกาย กำลังใจ เมื่อร่างกายมีพลังงานสดชื่นขึ้นมาบ้างแล้ว
จึงนำปัญหานั้นมาคิดแก้ไขด้วยปัญญา

วิบากกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นระยะ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือเมื่อเผลอ ดังนั้นจึงควรคิดหาวิธีหลีกเลี่ยง ป้องกัน แก้ไข ซักซ้อม
ไว้ก่อนที่วิบากกรรมจะมารอบใหม่

วิบากกรรมบางอย่างเกิดขึ้นถาวรแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว แต่เราต้องอยู่กับผลกรรมนั้น อาจจะใช้จิตจดจ่อพิจารณาอยู่กับผลกรรมนั้น
พิจารณาเพื่อให้เข้าใจพระไตรลักษณ์ โดยมีวิบากกรรมเป็นหลักฐานยืนยัน

สรุป

สติและปัญญาสำคัญ มีสติอย่าเผลอ ตื่นตัว ตั้งหลัก โดยเฉพาะก่อนกระบวนการชดใช้กรรมจะเกิดขึ้นอีกรอบ จะเป็นผลให้เราหลีกเลี่ยง
หรือเผชิญวิบากกรรมผ่านไปได้ และที่สำคัญต้องพิจารณาย้อนดูว่าสาเหตุมาจากเราทำกรรมอะไรไว้ จึงได้เป็นเช่นนี้ เมื่อรู้แล้วก็
ปรับเปลี่ยนปิดทางแห่งวิบากกรรมนั้นเสีย


.......... <br>
ข้อมูลจาก <br> <a href="http://www.hehasara.com" target="_blank">http://www.hehasara.com</a><br>
<br>
<img src="pic/b12.gif"> <br>
 
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ ขอบคุณครับ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง