Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ประตูชีวิต ช่องทางกรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ค.2008, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ป ร ะ ตู ชี วิ ต ช่ อ ง ท า ง ก ร ร ม
มูลนิธิบรรจงสนิท สหปฏิบัติ

มนุษย์มีความจำเป็นต้องสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์เป็นความสำคัญยิ่งของชีวิต
สามารถสร้างมาตรฐานฐานะของตนของครอบครัว
ตลอดจนหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เป็นที่ยอมรับ

การพัฒนามีส่วนสำคัญเกี่ยวเนื่องกับร่างกาย
การพูดและความลุ่มลึกของความคิด
มนุษย์ต้องอาศัยอวัยวะภายนอก
และอายตนะภายในถึงสองภาคหรือสองแดน

ภาคแดนแห่งการรับรู้ (SENSE DOORS)
คือ ประตูของชีวิตที่เสพหรือรับรู้สิ่งทั้งหลายเข้าสู่ภายใน
และอีกภาคหนึ่งเป็นภาคแดนของการแสดงออกของการกระทำ
ที่เรียกว่ากรรม คือ กรรมทางกาย วาจา และใจ (CHANNELS OF ACTION)

การศึกษาเรื่องนี้ถือว่าสำคัญยิ่ง
ทั้งสองภาคและสองแดนอยู่ในตัวคนๆ เดียวกัน
มีการทำงานที่สัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน


ภาคแห่งการรับรู้หรือประตูทางเข้าของทวาร มีถึงหกอาการ
ประตูตาเปิดรับรู้เรื่องของรูป ประตูหูเปิดรับรู้เรื่องของเสียง
จมูกรับรู้เรื่องของกลิ่น กายรับรู้สัมผัสอันอ่อนแข็ง
ประตูใจซ่อนเร้นอยู่ภายใน ทำหน้าที่แสนหนักจนหนักใจ

เพราะต้องรับรู้เรื่อยไปจนถึงจิต
จิตที่รับจากใจต้องรับ ต้องรู้ ต้องคิด และต้องจำ
การจำยังต้องนำไปสู่การจำได้ หมายรู้
ในอารมณ์ของความชอบชัง ที่เรียกว่า ธรรมารมณ์

จิตต้องทั้งกลั่นทั้งกรอง
และพร้อมที่จะย้อนคำสั่งออกมาเป็นกายกรรม
และวจีกรรม คือ การกระทำและคำพูด


ภาคหรือแดนของการแสดงออก
เป็นการกระทำหลังจากที่จิตรับรู้ คิด จำ จนเกิดการจำได้ หมายรู้
ภาคนี้มีช่องทางออกเพียงสามช่อง คือ ช่องทางกาย ช่องทางวาจา
และช่องซึ่งแสดงออกทางใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด (มโนกรรม)

ช่องทางทางกาย
แสดงออกได้ก็เพียงแค่ทางสีหน้าและแววตา
มือเท้าเคลื่อนไหว ร่างกายยักเยื้องไม่นิ่งเฉย

ส่วนช่องทางทางจิต ก็ได้แต่รับรู้ คิด จำ
ทบทวนหวนวกวนอยู่ภายใน
จะแสดงอะไรด้วยตนเองแสนยากลำบาก
ต้องอาศัยให้กายแสดง วาจาชี้แจง จึงจะกระจ่าง


ในความแตกต่างระหว่างภาคที่รับเข้าหกประตู
และภาคของการถ่ายออกสามช่องทาง
มองเห็นความขาดดุลได้ชัดเจนว่า
ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
มีสิ่งประเคนประโคมเข้ามาสู่การรับรู้ของกายทั้งสาม
โดยผ่านประตูทั้งหกมากมาย

แต่ในทางสวนออกทั้งสาม
กายทำหน้าที่ได้เพียงเล็กน้อย
จิตก็ทำหน้าที่ได้เพียงภายใน
จึงตกเป็นภาระหนักของช่องทางแห่งวจีกรรม
ที่จะต้องทำหน้าที่หนักที่เรียกกันว่า
ต้องพูดกันจนปากเปียกปากแฉะ

แต่ถึงช่องทางแห่งวจีกรรม
คือ คำพูดจะทำหน้าที่หนักสักปานใด
ช่องทางทางกายจะสำแดงออกสักแค่ไหน
ก็ต้องให้สอดคล้องกันทั้งสามช่องทางกรรม
คือมีจิตเป็นผู้นำพาดังคำสอดคล้อง
ที่ว่าสมองไว กายคล่อง จิตต้องนิ่ง


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ค.2008, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ช่องทางวจีกรรม คือ คำพูด
เป็นการระบายได้ทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่งาม
ตามความเครียดขึงตึงหย่อนของจิต
เช่น การส่งเสียงร้องไห้ เสียงบ่นคร่ำครวญรำพัน
เสียงต่อว่าต่อขาน การด่าทอ
ล้วนเป็นช่องทางแห่งการระบายออกในทางลบ

ส่วนการแสดงออกในเชิงบวกของช่องทางวจีกรรม
คือการฝึกหัดคำพูดคำจาให้ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์
หมั่นอบรมสั่งสอนลูกหลาน ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหา
หัดการบรรยายเล่านิทาน สนทนาและปาฐกถาธรรม
ล้วนเป็นเรื่องคติพจน์คติธรรมให้คนรุ่นหลังได้รับรู้

ช่องทางแห่งวจีกรรมนี้
เป็นที่สั่งสม สร้างทักษะและปัญญาให้เกิดความแตกฉาน
ล้ำลึกลงได้ในการปฏิบัติสมาธิธรรม
เกิดนิมิตอันชอบด้วยเหตุผลในกัมมัฏฐาน


เหตุเพราะการทำสมาธิหรือกัมมัฏฐาน
หากเอาแต่ความเงียบสงบสงัดอย่างเดียว เป็นที่น่าห่วงใย
ขณะใดที่จิตตกอยู่ในภวังค์ อาจเกิดเป็นนิมิตที่เตลิด
ซึ่งเกิดจากจินตนาการที่ผิดๆ
ซึ่งปัจจุบันการทำสมาธิกำลังเป็นเรื่องที่สนใจกันในสังคม
ถ้าผิดพลาดอาจเกิดโทษหรือเกิดผลในทางลบ

การทำสมาธิเป็นฐานแห่งสุขภาพจิตและปัญญาที่หยั่งรู้
เพื่อให้รู้ซึ้งถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงแห่งชีวิต


ความรู้ซึ้งถึงชีวิตที่แท้จริง
เป็นสิ่งเสริมสร้างประตูชีวิตทั้งหกบาน
อีกทั้งช่องทางแห่งกรรมทั้งสามช่อง
ให้เกิดความสมดุลของภาครับและภาคส่ง


การรับเข้ามาหกประตู แต่ระบายออกได้เพียงแค่สามช่อง
เห็นได้ชัดว่าช่องทางวาจาเป็นช่องที่ควรแก่การพัฒนา
เพื่อใช้งานของชีวิตให้มากกว่า
เพราะความเข้าใจพูด เข้าใจศิลปะแห่งการเจรจา
เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมาย
และยังเป็นการระบายออกของอารมณ์

สำนวน วาจา ที่เตือนจิตใจของคนไทยมานานเกี่ยวกับการพูด
เช่น คำว่า “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดี เป็นตรา”
“พูดจาขวานผ่าซาก” “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง”
เน้นความสำคัญของการฝึกการพูด
อันเป็นการสร้างขีดความสามารถให้มนุษย์เข้าสู่สังคมได้เป็นอย่างดี

การสนทนาในยุคข่าวสารข้อมูล เทคโนโลยีก้าวหน้า สมัยแห่งโลกาภิวัตน์
สร้างโอกาสหนทางก้าวหน้าให้แก่ผู้บริหารได้ทุกระดับ
ดังความในพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ในเรื่องวิวาห์พระสมุทร

“ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่าหนังสือตรีมีปัญญาไม่เสียหาย
ถึงรู้มากไม่มีปาก ลำบากกาย มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ”


บรรยากาศของสังคมปัจจุบัน
มีสิ่งอุปโภคบริโภคนำมาเสนอสนองความต้องการกันมากมาย
เหตุเพราะมุ่งสนอง ความตึงเครียด
จึงต้องระบายด้วยการเสพ แต่เป็นการเสพทางวัตถุ

การพูดและการบรรยาย ระบายออกทางวาจาคือ การเสพทางนามธรรม
อีกทั้งได้เกิดความลึกล้ำแตกฉานทางปัญญา
เกิดความคิดสร้างสรรค์ บุคลิกภาพเกิดความสง่างาม
เพราะมีความมั่นใจในตนเอง ประตูชีวิต ช่องทางกรรม
จึงเป็นประตูและช่องทางออกและเข้าที่เหมาะสม


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : มูลนิธิบรรจงสนิท สหปฏิบัติ : http://www.sahapatibat.org/)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง