Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฟ้าสางทางความลับสุดยอด ๗-๘ ท่านพุทธทาส ภิกขุ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ajarn14.jpg


ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๗)

แม้การจำลองศาลท้าวมหาพรหม ไปตั้งกันที่เมืองนอก (ลาสเวกัส อเมริกา) ก็ต้องเพื่อเสริมสร้าง - เร่งเร้า - ความรู้สึกเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ขึ้นในโลก; มิใช่เพื่อการอ้อนวอน อันเป็นลัทธิบูชารูปเคารพ (๑๒๑)

ความเคารพตัวเองที่แท้จริงนั้น ต้องยอมรับพิจารณาความคิดของผู้อื่นด้วย; ผิดจากความหยิ่งยโส ยกหูชูหาง ซึ่งไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของใครเอาเสียเลย (๑๒๒)

ในสมัยที่วัฒนธรรมพุทธ ยังเผยแผ่ประจำบ้านเรือนนั้น อาชญากรบ้าคลั่งอย่างเลวร้าย ก็ยังไม่มี; วิกฤตการณ์นี้จะหมดสิ้นไปเมื่อไร ก็แล้วแต่กฏอิทัปปัจจยตาจะเป็นที่รู้จักและนำมาใช้ (๑๒๓)

คนที่ถึงกับพูดเท็จได้แล้ว จะไม่ทำบาปอย่างอื่นๆ ทุกอย่างได้ นั้นเป็นไม่มี; เพราะเขาได้โกหกหลอกลวงตัวเองจนถึงที่สุด และขบถต่อตัวเองแล้วอย่างสิ้นเชิง (๑๒๔)

สิ่งที่เราเคยอยากได้ อยากจะให้เขาช่วยให้ได้ และพอใจอย่างยิ่งเมื่อได้ จะมีได้สักวันหนึ่งต่อเมื่อเหตุการณ์ภายในความรู้สึกของเรา ได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่ในความรู้สึกที่ตรงกันข้าม : คือมองเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าได้ - น่าเอา - น่าเป็น (๑๒๕)

สมาธิที่แท้จริง และไม่ต้องทำขึ้นมา แต่เป็นเอง ก็มีอยู่ คือ เมื่อจิตไม่ต้องการอะไร และรู้สึกอยู่ในความไม่ต้องการอะไรนั้น แม้ชั่วคราว (๑๒๖)

ความรู้และความหลุดพ้นแท้จริง ชนิดตัวอย่างนั้น มีอยู่ คือ เมื่อจิตไม่ต้องการอะไร และซึมซาบอยู่ในความรู้สึกนั้น แม้ชั่วคราว (๑๒๗)

เรากล่าวได้ว่า "จิตหลุดพ้น" แต่เราไม่อาจกล่าวได้ว่า "อัตตาหลุดพ้น"; เพราะว่า หลุดพ้นหมายถึงหลุดพ้นจากความยึดถือว่า "อัตตา" นั่นเอง (๑๒๘)

ความว่าง (สุญฺญตา) มิได้หมายถึงความไม่มีอะไรเลย แต่หมายถึงความที่จิตว่างจากความยึดถืออะไรๆ ว่าตัวตน, กำลังรู้สึกและเข้าถึงภาวะแห่งความว่างนั้นอยู่ นั่นแหละ คือความว่างของจิตที่กำลังว่าง (๑๒๙)

ความที่จิตว่างจากกิเลส หรือว่างจากนิวรณ์ทั้งห้าเพียงชั่วคราว ถ้ารู้สึกได้ ก็เป็นตัวอย่างแห่งนิพพานชั่วคราว ซึ่งจะจูงใจให้น้อมไปสู่นิพพานที่สมบูรณ์ได้ดี (๑๓๐)

เราสามารถทำงานหนักให้กลายเป็นของเล่นน่าสนุกได้ โดยทำอย่าให้มีความรู้สึกว่าตัวกู เป็นผู้กระทำให้ตัวกู แต่เป็นการกระทำของจิตที่ว่างจากตัวกู (๑๓๑)

ความหลุดพ้นของจิต เป็นคนละอย่าง ต่างจากความหลุดพ้นของอัตตา ซึ่งหลุดพ้นแล้ว ก็ยังมีอัตตาเหลืออยู่ ส่วนการหลุดพ้นของจิต ไมมีความหมายของอัตตา หรือว่า อัตตา (๑๓๒)

ความบริสุทธิ์ของจิต มี ๒ ชนิด : ชนิดแรก เมื่อก่อนเกิดอัตตา แต่ยังเปลี่ยนเป็นไม่บริสุทธิ์ได้ : บริสุทธิ์ชนิดหลัง คือเมื่อละอัตตาได้พร้อมทั้งเหตุ, จะเปลี่ยนไปเป็นไม่บริสุทธิ์อีกไม่ได้ (๑๓๓)

ความอร่อยและความไม่อร่อยนั้น เป็นเพียงความรู้สึก ยังไม่จัดเป็นกิเลส: ต่อเมื่อเกิดพอใจหรือไม่พอใจ จึงจะจัดเป็นกิเลส; ดังนั้น จะกินมันดูทั้งที่อร่อยหรือไม่อร่อย เพื่อการศึกษา หรือการทดสอบก็ยังได้ (๑๓๔)

การบวชที่แท้จริง อยู่ที่การบวชใจ คือหลบหลีกจากการเกิดกิเลสและการเกิดทุกข์; การบวชทางกายภายนอก เป็นเพียงการให้ความสะดวก หรือความง่ายแก่การบวชใจ (๑๓๕)

แม้บางคนจะมีนิสัยไม่รู้จักเสียดาย หรือประหยัดเอาเสียเลย นั่นก็มิใช่จะเหมาะสำหรับจะบวชเป็นนักบวช เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน (๑๓๖)

การเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งศาสนาในทุกวันนี้ เป็นเพียงพิธีรีตอง เสียเป็นส่วนมาก; จิตจึงยังมิได้เข้ามาสู่ร่มเงาของนิพพาน แม้ในขั้นตัวอย่างชิมลอง (๑๓๗)

ระบบการบวช มิได้ห้ามไม่ให้กินของอร่อยที่รู้จักอยู่, อาจจะกินเพื่อรู้จักละ หรือควบคุมฉันทราคะนั้นได้อยู่; ของไม่อร่อย ก็มีนัยะที่ต้องปฏิบัติทำนองเดียวกัน (๑๓๘)

การบำเพ็ญบารมีในทางธรรม หมายถึงการทำความดี - ความถูกต้อง - นั้นๆ จนเป็นนิสัย; ส่วนในทางโลก นั้นหมายถึงการสะสมอำนาจวาสนา, ทั้งสองอย่างนี้ ควรที่ใครๆ ก็ทำได้ (๑๓๙)

การปรับปรุงศีลธรรม ที่ต้องใช้พระเดชนั้น ต้องการผู้บังคับบัญชาที่กล้าหาญ - เฉียบขาด - เที่ยงธรรม - เต็มที่; มิฉะนั้นไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ (๑๔๐)
 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



Ajarn001.jpg


ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๘)

วัดประจำหมู่บ้าน ตั้งอยู่ได้, พุทธศาสนาประจำชาติ ตั้งอยู่ได้ โดยไม่เป็นภาระหนักแก่ใคร ดังที่กำลังเป็นอยู่นี้ นับเป็นสหกรณ์ และอภิมหาสหกรณ์ ที่ควรรู้จัก และนำเอาหลักการมาใช้ในกรณีอย่างอื่น (๑๔๑)

บุคคล หรือแม้สถาบันที่เผยแผ่ธรรมะอย่างเอาจริงเอาจัง ก็ยังเป็นเพียงธรรมะประเภทในทัสสนะ (ฟิโลโซฟี่) ไปเสียทั้งนั้น; ยังมิใช่เป็นการรู้แจ้งแทงตลอด (๑๔๒)

ผู้เผยแผ่ธรรมะประเภทธรรมทัสสนะ (ฟิโลโซฟี่) อยู่อย่างตัวเป็นเกลียว แต่กำลังทนทุกข์อยู่ในใจอย่างหนักหน่วง เนื่องจากสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก็ยังมี (๑๔๓)

นักบวชยังหลีกเลี่ยงการเมืองไปไม่ได้ เพราะมีนักบวชไว้ช่วยบรรเทาวิกฤตการณ์ อันเกิดจากการเมืองของโลกนั่นเอง; อย่าได้เข้าใจผิด (๑๔๔)

คำว่า "วัฒนา" มีความหมายเป็นกลางๆ ตามภาษาบาลี คือเพิ่มให้มากขึ้นเท่านั้น : ดีก็ได้ ร้ายก็ได้; ดังนั้น ท่านจึงสอนไว้ว่า น สิยา โลกวฑฺฒโน คือ อย่าทำโลกให้วัฒนา (รก) (๑๔๕)

ศิลปวัตถุชั้นประณีตศิลป์วิจิตรศิลป์ อันมากมายมหาศาล ตลอดกาลยาวนาน ในการสร้างและการรักษานั้น ทำให้มนุษย์เสียเวลาและแรงงาน ในการค้นหานิพพาน ไปสักเท่าใด เป็นสิ่งที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง (๑๔๖)

ยอดศิลปะของมนุษย์ เท่าที่ข้าพเจ้ารู้จัก คือ "การรู้จักตายเสียก่อนตาย" (ตัวกูตายก่อนร่างกายตาย); เพราะเป็นสิ่งที่สามารถดับทุกข์ทุกชนิด - ทุกเวลา - ทุกแห่งหน (๑๔๗)

ขึ้นชื่อว่า ศิลปะ ย่อมต้องการความฉลาด และฝีมืออันประณีต ทั้งทางกายและทางจิต; ดังนั้น การประพฤติธรรม จึงมีอาการที่รู้สึกกันว่า "ยาก" บ้างเป็นธรรมะดา อย่าได้สงสัยหรือประหลาดใจเลย (๑๔๘)

ในโลกปัจจุบัน ศิลปะเพื่อธรรมะ (คือโพธิสันติ) กำลังพ่ายแพ้แก่ศิลปะเพื่ออธรรม (โมหะ และวิกฤตการณ์) ซึ่งขยายตัวมากขึ้น จนมีฐานสำหรับผลิตเป็นเทคโนโลยี่อย่างมหาศาล (๑๔๙)

ศิลปวัตถุแห่งยุคปัจจุบันหลายประการ กำลังเป็นบาปกัดกร่อนทางวิญญาณ อยู่อย่างเร้นลับสำหรับมนุษย์ : ได้แก่ศิลปวัตถุที่กำลังนิยมกันยิ่งขึ้นทุกทีอย่างหลับหูหลับตานั่นเอง (๑๕๐)

สิ่งที่เรียกว่า ไสยศาสตร์ ยังต้องเก็บไว้ให้คนปัญญาอ่อน ที่ต้องถือไสยศาสตร์ไปพลางก่อน เพราะเขายังไม่อาจเข้าถึงและถือธรรมะได้ (๑๕๑)

ถ้าเราเข้าใจศาสนาผิด เราก็จะได้แต่นั่งอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนา โดยไม่มีการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องและเพียงพอ แก่การดับทุกข์เสียเลย (๑๕๒)

เรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์นั้น ยกถวายแก่พระเจ้าหรือเทพเจ้า ในการคาดคะเน อย่านำมาเกี่ยวข้องกับพวกเราที่มีธรรมะอันแท้จริงเป็นพระเจ้า มันจะเกิดความงมงายเลอะเลือนขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย (๑๕๓)

คำว่า "ขลัง" - "ศักดิ์สิทธิ์" ไม่มีในพระพุทธศาสนา แต่ก็ยังมีคำว่า "สีลพตปรามาส" อยู่แทนทั้งนี้ เพราะในพระพุทธศาสนาไม่มี หรือไม่ต้องการจะมีนั่นเอง (๑๕๔)

ความขลัง หรือ ศักดิ์สิทธิ์ ของท่านอาจารย์ผู้วิเศษนั้น ขึ้นอยู่กับความงมงายมากงมงายน้อย - โง่มากโง่น้อย ของผู้เป็นสาวกนั่นเอง จึงไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งมียถาภูตสัมมัปปัญญา เป็นหลัก (๑๕๕)

ถ้ายังชอบคำว่า ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ก็ยกให้เป็นอำนาจของกฏอิทัปปัจจยตา; อย่าให้เป็นความขลังศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งรากฐานอยู่บนความงมงายของประชาชนเลย (๑๕๖)

ถ้าเอาความขลังความศักดิ์สิทธิ์มาใส่ให้แก่ศาสนาแล้ว เราก็ไม่ต้องทำอะไรกัน; นอกจากนั่งอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันเรื่อยไป, แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร (๑๕๗)

ระวังให้ดี ในโบสถ์ที่มีแต่การอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเสี่ยงเซียมซี นั้นจะไม่มีธรรมะอะไรเลยก็ได้ นอกจากการขอทานทางวิญญาณ หรือการติดสินบนที่เอาเปรียบมากเกินไป (๑๕๘)

หนังสือไตรภูมิพระร่วงนั้น ถ้าศึกษาไม่ดี ก็จะกลายเป็นศาสนาฮินดู หรือ พราหมณ์ไป จะเข้าถึงอนัตตาหรือโลกุตตระไม่ได้; ต้องระวังกันให้มากจึงจะปลอดภัย (๑๕๙)

การเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องนั้น คือเพื่อการดำรงชีวิตชนิดที่ไม่รู้สึกเป็นทุกข์เลย และทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือโลกทั้งหมดด้วย (๑๖๐)
 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ...คุณชาญวิทย์

ขอบคุณมากนะคะที่นำธรรมะดีดีมาแบ่งปันกัน

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง