Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฟ้าสางทางความลับสุดยอด ๕ ท่านพุทธทาส ภิกขุ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2008, 5:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๕)

ทุกข์ในความหมายใดก็ตาม จะเกิดเป็นอาการทุกข์ทรมานขึ้นมา ก็ต่อเมื่อมีอุปาทานเข้าไปยึดถือ; ดังนั้น จงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) กันเสียให้ดีๆ เถิด (๘๑)

ความรู้สึกเป็นความทุกข์ ส่วนมากเกิดมาจากการทำเล่นๆ อย่างสะเพร่าๆ ให้กับภาวะที่ไม่เป็นทุกข์ ด้วยความขาดสติของท่านเอง; ดังนั้น เลิกการกระทำอย่างนั้นกันเสียเถิด (๘๒)

ความรู้สึกทุกข์นั้นเป็นนรก, ความรู้สึกสุขนั้นเป็นสวรรค์, เหนือทุกข์เหนือสุขนั้นเป็นนิพพาน; ขอให้รู้จักแยกแยะกันเสียอย่างถูกต้อง เพราะล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจ อย่างเป็นสันทิฏฐิโกด้วยกันทั้งนั้น (๘๓)

ความเจ็บของกาย กับความทุกข์ของใจ นั้นเป็นคนละเรื่องกัน แม้มันจะเนื่องกันอยู่; จงดูให้เห็นชัดจริงๆ, มิฉะนั้น ท่านจะไม่อาจจัดการอะไรกับมันได้เลย (๘๔)

"เราเป็นสุข" นั้นไม่อาจจะมีได้, มีได้เพียงแต่ว่า "จิตไม่รู้สึกเป็นทุกข์"; เพราะว่า สิ่งที่เรียกว่าเรานั้นเป็นเพียงมายา และสุขนั้นก็มิได้มีอยู่จริง, ไม่เหมือนสิ่งที่เรียกว่า "จิต" และ "ทุกข์" ซึ่งมีอยู่จริง (๘๕)

ถ้ามันแสดงลักษณะว่าจะไม่ได้ หรือจะต้องตาย, ก็สมัครที่จะไม่เอา หรือสมัครตายเสียก่อนที่จะตายจริง, ก่อนแต่ที่จะมีความทุกข์เกิดขึ้น เพราะความผิดหวัง; นี้เป็นหลักธรรมที่ดับทุกข์นั้นๆ ได้, เพราะไม่อยาก - ไม่หวัง - ไม่ยึดมั่น เพราะเห็นสุญญตา หรือ อนัตตา ในขั้นสูงสุด (๘๖)

ถ้าทำอะไรด้วยสติปัญญา มิใช่ด้วยความอยากหรือความหวัง, ก็ไม่มีทางที่จะเป็นทุกข์ เพราะความผิดหวัง; ดังนั้น เมื่อสิ่งใดแสดงอาการต่อต้านในลักษณะที่เรียกว่าผิดหวัง ก็รีบสลัดโยนทิ้งสิ่งนั้นออกไปเสียก่อน เพื่อไม่ต้องมีความผิดหวัง, แล้วก็ทำสิ่งนั้นต่อไปด้วยสติปัญญาล้วนๆ โดยไม่ต้องหวัง จนกว่าจะประสบความสำเร็จ (๘๗)

ตู้เย็นเกิดไม่เย็นขึ้นมา ก็เพราะขาดระบบปัจจัยแห่งความเย็น, ชีวิตนี้ก็เหมือนกัน เกิดไม่เย็นขึ้นมา ก็เพราะขาดปัจจัยแห่งความเย็น ตามกฏอิทัปปัจจยตา ฉันใดก็ฉันนั้น (๘๘)

จิตจะเย็นเป็นนิพพานอยู่ทุกเวลานาที ตลอดเวลาที่รู้สึกว่า "ทุกอย่างถูกต้องและเป็นไปดี" นี้เป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฏอิทัปปัจจยตา (๘๙)

จิตชนิดหนึ่งซึ่งเป็นทุกข์ไม่ได้ แม้ทางกายจะกำลังได้รับทุกขเวทนาสักปานใด ก็ยังไม่ผิดปกติหรือโทมนัสแม้แต่น้อย : นี้ก็ยังเป็นสิ่งที่มีได้ (๙๐)

แม้พระอรหันตเถรี ก็ยังกล่าวคำเยาะเย้ยความทุกข์ ในฐานะเป็นสิ่งที่ไม่มีพิษสงอะไร; ท้าให้ฝนตกเมื่อหลังคามุงดีแล้ว! (๙๑)

การนมัสการพระพุทธองค์ ควรจะเลยไปถึงสิ่งที่พระองค์ทรงเคารพ คือ พระเจ้าอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทด้วย จึงจะสมบูรณ์ (๙๒)

พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ตรัสพระไตรปิฎกไว้จริงหรือไม่ นี้ไม่เป็นปัญหา พักไว้ก่อนก็ได้; พิจารณากันแต่ว่า ถ้อยคำที่ตรัสไว้นั้น ครั้นปฏิบัติตามแล้ว ดับทุกข์ได้หรือไม่ (๙๓)

หลักกาลามสูตร (ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) เป็นเครื่องช่วยให้เราไม่ต้องมีปัญหาว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจริงหรือไม่? คัดลอกกันมาถูกต้องหรือไม่? มีปลอมปนหรือไม่? (๙๔)

เมื่อทรงพระชนม์อยู่ ได้ตรัสว่า การเห็นกายของพระองค์ แต่ไม่เห็นธรรม นั้นไม่ชื่อว่า เห็นพระองค์; บัดนี้เราจะเห็นอัฐิธาตุ รูปวาด รูปหล่อของพระองค์ ว่าเป็นพระองค์ได้อย่างไร รีบเห็นธรรมกันเสียเถิด! (๙๕)

คนแขวนพระเครื่อง คือคนไม่ถือพระพุทธศาสนา เพราะถือสีลพตปรามาส หวังพึ่งของขลังของศักดิ์สิทธิ์ ไม่พึ่งตัวเอง ไม่เชื่อกรรม หรือกฏอิทัปปัจจยตา ตามหลักพระพุทธศาสนา (๙๖)

ความถูกต้องแท้จริง คือถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ นั้นมิใช่ความถูกต้องของเรา ซึ่งมักจะเป็นความถูกต้องของกิเลส ตามทิฏฐิของเรา (๙๗)

หน้าที่ของเรา คือหน้าที่ที่จะต้องสอดส่องไปถึงว่า เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายของเรา เขาต้องการอะไรและเราจะช่วยเขาได้อย่างไรอีกด้วย แต่หน้าที่นี้ ไม่ค่อยมีใครชอบ (๙๘)

สิทธิที่จะเรียกร้องอย่างยุติธรรมนั้น จะเกิดต่อเมื่อได้ทำหน้าที่นั้นๆ แล้วจริงๆ ; แต่คนส่วนมาก เรียกร้องสิทธิก่อนการทำหน้าที่, และยังเรียกร้องมากเกินไปอีกด้วย (๙๙)

อย่าหลงไปคิดว่า "ตายดีตายร้ายก็ช่างหัวมันไหนๆ มันก็ตายเท่ากัน"; แต่จงตายให้ดี มีศิลป์ที่สุด คือตายอย่างรู้สึกว่าไม่มีใครตาย มีแต่สิ่งปรุงแต่งเปลี่ยนไป (๑๐๐)
 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ค.2008, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๖)

การกระทำของมนุษย์ตามธรรมดาที่เรียกว่า "การพัฒนาๆ" ย่อมมีการพัฒนาให้แก่กิเลสรวมอยู่ด้วยอย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่ง; ดังนั้น ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งเพิ่มปัญหา (๑๐๑)

คำว่า "พัฒนา" (วฑฺฒน) นั้นแปลว่า "รกหนาขึ้น" ดังนี้ก็ได้, ว่า "บ้ากว่าธรรมดา" ก็ได้ ดังนั้นควรระวังสิ่งที่เรียกว่า "การพัฒนา" นั้นให้ดีๆ มันจะเพิ่มปัญหาให้ (๑๐๒)

การพัฒนา เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยโพธิปัญญา; อย่าทำตามลำพังกิเลสตัณหา หรือแม้แต่สัญชาตญาณ; มันจะเลวร้ายกว่าการไม่พัฒนาอีกมากมายนัก (๑๐๓)

เพราะเขาเอากิเลสเป็นตัวเองโดยไม่รู้สึกตัว เขาจึงพัฒนาตัวเอง และช่วยผู้อื่นให้พัฒนาแต่ในทางเป็นทาส หรือเป็นปัจจัยแก่กิเลส ไม่เหมาะแก่ตัวที่เป็นธรรมเสียเลย (๑๐๔)

ถ้าท่านมองเห็นว่า พฤติกรรมต่างๆ ของท่านหรือเกี่ยวกับท่าน ได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏอิทัปปัจจยตาแล้ว ปรกติสุขจะมีแก่จิตใจของท่านทุกเวลานาที (๑๐๕)

อย่ามุ่งหมายความสุขอันประเสริฐอะไรๆ ให้มากไปกว่าความปกติของจิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขึ้นไม่ลงไปตามอารมณ์ที่กระทบ; เพราะไม่มีสุขอะไรประเสริฐยิ่งไปกว่าความปกติของจิตนั้น (๑๐๖)

ในโลกแห่งมนุษย์ยุคปัจจุบัน คนอยู่กันอย่างกิเลสบังคับคน, มิใช่คนบังคับกิเลส; ดังนั้น การกระทำตามอำนาจของกิเลส จึงเต็มไปทั้งโลก (๑๐๗)

สวรรค์อันแท้จริง มีได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ คือการกระทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ จนยกมือไหว้ตัวเองได้ สวรรค์อื่น - อย่างอื่น - คราวอื่น ทั้งหมด ถ้ามี ก็ขึ้นอยู่กับสวรรค์ที่ว่านี้ (๑๐๘)

นรกที่แท้จริง มีได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ คือบกพร่องผิดพลาดในหน้าที่อันแท้จริงของตน จนเกลียดน้ำหน้าตนเอง; นรกอื่น -อย่างอื่น -คราวอื่น ถ้ามี ก็ขึ้นอยู่กับนรกที่กล่าวนี้ (๑๐๙)

การอบรมจิตอย่างแท้จริง คือการรู้ความลับแห่งธรรมชาติของจิต แล้วสามารถควบคุมดำรงจิตไว้ในลักษณะที่ความรู้สึกอันเป็นทุกข์ เกิดขึ้นไม่ได้ (๑๑๐)

เราไม่ทำ และไม่ยอมทำ การศึกษาค้นคว้าเรื่องกิเลสและความทุกข์กันให้มาก เหมือนเรื่องโบราณคดี - วิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยี - เศรษฐกิจการเมือง ฯลฯ ดังนั้น ความเลวร้ายฝ่ายวิญญาณ จึงครองโลกทั้งส่วนบุคคลและสังคม อย่างมหาศาล (๑๑๑)

ตน มิใช่เป็นที่พึ่งแก่ตนอย่างเดียว หากแต่เป็นที่ตั้งแห่งความคิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัว แล้วทำตนให้เป็นทุกข์ด้วยในคราวเดียวกัน (๑๑๒)

ตน (ซึ่งเป็นผลของความยึดมั่นด้วยอุปาทาน) นั่นแหละเป็นสิ่งที่ทำความทุกข์ให้แก่ตน, และจะเปลื้องทุกข์ให้แก่ตนได้ด้วย; จงรู้จักมันให้ถึงที่สุด ทั้งสองทางเถิด (๑๑๓)

อย่าคิด - พูด - ทำ ไปในลักษณะที่เหยียดหยามใครๆ ว่าเป็นคนโง่; เพราะเราอาจจะเป็นคนโง่ เช่นนั้นเพราะเหตุนั้น - อยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว (๑๑๔)

ถ้าเราประมาทอย่างเต็มที่ขึ้นมาเมื่อไร ก็อาจจะเผลอรู้สึกว่า พี่ชาย - พี่สาว - ป้า - น้า - บิดา - มารดา - ครูบาอาจารย์ - พระสงฆ์องค์เจ้า - แม้กระทั่ง พระพุทธเจ้า เป็นคนโง่ไปทั้งหมดก็ได้ (๑๑๕)

คำพูดที่หยิ่งยโสสามหาว คือผลของความโง่ ในการโอ้อวดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องอวด; มันเกิดมาจากภวตัณหา ที่ปรุงขึ้นมาอย่างไม่ทันรู้สึกตัว (๑๑๖)

ความคิดที่ดำเนินไปมากกว่าเหตุ จนไม่คิดที่จะทำอะไร หรือรับผิดชอบอะไร นั้นมิใช่การปล่อยวาง; หากแต่เป็นกิเลสประเภทวิภวตัณหา ที่มีอยู่อย่างไม่รู้สึกตัว เดือดขึ้นมา (๑๑๗)

ความไม่รู้ว่า การงานคือการปฏิบัติธรรม, หรือไม่รู้ว่า ธรรมะนั้นหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิต : นี่แหละคือความรู้ที่พุทธบริษัทยังขาดอยู่ ในศาสนาของตน (๑๑๘)

มีใครสักกี่คน ที่ทำอะไรเป็นที่พอใจตนเอง จนยกมือไหว้ตนเองได้; เพราะรสนิยมของเขาอยู่ที่การบูชา และตกเป็นทาสของกามตัณหา โดยไม่รู้สึกตัว (๑๑๙)

เด็กๆ ในครอบครัวของพุทธบริษัท ต้องได้รับการอบรมให้รู้ว่า บิดามารดาเป็นพรหม - เทพ - ครูคนแรก - อาหุเนยบุคคล; มิฉะนั้นจะกลายเป็น เรือนมีนรกครอบครอง (๑๒๐)

 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง