Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การให้อามิสทานหรือวัตถุทานมีสองลักษณะ (ท่านพุทธทาสภิกขุ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 4:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ในสังคมไทยพุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญสุนทานกัน ตามวัดที่มีงานบุญต่างๆ จะมีผู้คนไปทำบุญสุนทานกันมากมาย แต่ขณะเดียวกันผู้ที่ไปทำบุญนั้นก็มีจิตในการไปร่วมงานบุญต่างกันไป ตามความคิดตามเจตนาตามความรู้หรือทำตามๆ กันไปก็ตาม เป็นไปด้วยความเข้าใจในการทำบุญให้ทานบ้างไม่เข้าใจในเรื่องการทำบุญให้ทานบ้าง ว่าทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องการทำบุญให้ทานนั้นเพื่ออะไร มีจุดประสงค์อย่างไรในการที่ให้ทำทาน

หลายคนไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการให้วัตถุทาน บางคนเอากิเลสตนไปรวมปะปนกับการให้ทาน ไม่เข้าใจว่าพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ให้ทานไปเพื่ออะไร ดังนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุท่านได้แจงอธิบายให้เข้าใจเรื่องการทำทาน การให้วัตถุทานนี้เป็นไปเพื่ออาสวะก็มี ,ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะก็มี

การให้อามิสทานหรือวัตถุทานมีสองลักษณะ
โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)


การให้ทานนั้นประกอบด้วยความพอใจยินดีในการให้ ทั้งสามเวลาคือก่อนให้ กำลังให้ และเมื่อให้แล้ว คือเมื่อคิดว่าจะให้ทานก็ต้องอิ่มอกอิ่มใจที่จะให้ เมื่อกำลังให้อยู่ก็มีความอิ่มอกอิ่มใจ และเมื่อให้ไปแล้วก็ยังอิ่มใจอยู่ นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าให้ทานดีแล้วเหมาะแล้ว

การให้ทานที่ดีต้องมีการเลือกเฟ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของรวมทั้งเรื่องของกาลเวลาที่เหมาะสม ถ้าเราไม่เลือกเรื่องเวลาแล้วมันจะประดังกันเข้ามา คนรับจะเอาไปเททิ้งได้เมื่อของนั้นล้นเหลือเกินและเสียแล้วไม่เป็นประโยชน์ อย่างการทำบุญทำทานของเราบางโอกาสเหลือมากจนไม่รู้จะเอาไปไหน อย่างนี้มันผิดเวลา ควรทำให้ถูกเวลา

มีคนเล่าให้ฟังว่าที่ไปฮัจยีกันที่เมืองเมกกะนั้น เขามีระเบียบธรรมเนียมให้ทานเหมือนกัน คือแต่ละคนที่ไปที่นั่นจะต้องบริจาคเงินค่าแพะหนึ่งตัวบ้างสองตัวบ้าง แล้วฆ่าแพะนั้นไว้เป็นทานเพื่อว่าคนไม่มีเงินได้อาศัยเป็นอาหาร แต่ก็มีคนบริจาคมากเกินควรแพะที่ถูกฆ่านี้กองเป็นภูเขาแล้วไม่มีใครกินหวาดไหว แพะเลยเน่าเหม็นคุ้งไปหมด

นี่เป็นการให้ทานผิดเวลาผิดสถานที่มักจะมีด้วยกันทุกศาสนา เพราะว่าศรัทธามากเกินไป ฉะนั้นจึงต้องเลือกสิ่งของเลือกเวลา เลือกสถานการณ์ให้ดี เลือกอะไร เลือกให้ดี ไม่งั้นจะเป็นเหมือนตักน้ำใส่ตุ่มเมื่อน้ำเต็มตุ่มแล้วก็ยังพากันตักน้ำใส่ตุ่มนั้นอีก จนน้ำล้นแล้วล้นอีกไม่เป็นประโยชน์ สูญเสียน้ำไปโดยไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งที่ตุ่มอื่นๆ ก็ยังว่างสามารถใส่น้ำได้ก็ไม่ตักใส่ตุ่มที่ว่างนั้น เพราะชอบตุ่มไหนก็ตักใส่อยู่ตุ่มเดียวจนน้ำล้นแล้วล้นอีก

ทีนี้เราต้องเลือกให้เป็น เลือกให้ที่ที่มีประโยชน์กว้างขวาง ดังนั้นมันจึงเกิดมีการให้ที่เป็นสังฆทาน (คือการให้ส่วนรวม แก่คณะสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เป็นต้น) และ ปุคคลิกทาน (คือการให้แก่คนที่เรารัก เราชอบเป็นคนๆ ไป เป็นต้น) ส่วนการให้สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าปุคคลิกทาน

ทีนี้ขอเตือนว่าให้ระวังให้ดีอีกอย่างหนึ่งคือการให้อามิสทานหรือวัตถุทานอย่างนี้มันเป็นไปเพื่ออาสวะก็มี ไม่เป็นไปเพื่ออาสาวะก็มี

การให้อามิสทานหรือวัตถุทานมีสองลักษณะดังนี้

๑. คือการให้ทานที่เป็นไปเพื่ออาสวะ นั้นมันเพิ่มกิเลสเป็นเจตนาค้ากำไรเกินควร การทำบุญให้ทานแล้วจบแล้วจบเล่า ขอผลเป็นร้อยเป็นพันเท่าคล้ายกับว่าทำบุญหนึ่งบาทให้ได้วิมานหนึ่งหลัง นี่เป็นทานที่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือเพิ่มความเห็นแก่ตัวให้มีมากขึ้น

เขาไม่ได้ตำหนิว่าผิดอะไรนัก แต่ระบุให้เห็นว่านี้เป็นอาสวัฏฐานียะ คือเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสแห่งอาสวะที่มากออกไป ทานชนิดนี้เขาเรียกว่าเป็นไปเพื่ออาสวะ

๒. ทานที่ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือให้มันหมดไปทำลายความยึดมั่นถือมั่น ทำลายความเห็นแก่ตัว ไม่บริจาคหรือทำบุญด้วยการหวังผลตอบแทนในทางที่เป็นไปซึ่งกิเลส แต่บริจาคหรือทำบุญไปโดยคิดว่าให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยเราไม่ต้องการอะไรตอบแทน ให้ทานไปเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวของเรา ไม่ต้องการผลตอบแทนร้อยเท่าพันเท่า

การทำบุญค้ากำไรเกินควรนั่นแหละคือการเวียนว่ายตายเกิดไปในวัฏสงสารอีก แล้วก็เป็นอุปธิคือของหนักจะต้องแบกเอาไป รวยกว่าเก่าต้องแบกเอาไปมากกว่าเก่า รวยมากกิเลสก็มากหวงห่วงทรัพย์มากแบกภาระมาก มันจึงเป็นของหนัก

แต่ถ้าให้ทานโดยไม่เอาอะไรตอบแทนทำนองนี้มันเป็นของเบา เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นทานที่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน การให้ทานที่เป็นไปเพื่อละกิเลส เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ต้องเบา อยากให้ทานชนิดไหนก็เลือกเอาเองแล้วกัน
 


แก้ไขล่าสุดโดย poivang เมื่อ 16 พ.ค.2008, 3:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ค.2008, 3:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตที่คิด "สละออก" ....ไม่ยึดตึดคาดหวังกับสิ่งตอบแทนใดใด
เป็นการฝึกหัดคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน
ย่อมได้รับการยกระดับและชำระให้บริสุทธิ์ขึ้นโดยลำดับ


อนุโมทนาสาธุด้วยนะคะคุณ poivang สาธุ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
สบายดีรึเปล่าคะ.... ยิ้มแก้มปริ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ค.2008, 2:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ...คุณpoivang

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ค.2008, 2:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญในสุขเจริญในธรรมค่ะคุณกุหลาบสีชา คุณลูกโป่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 8:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทานที่เป็นของเบา ต้องดีแน่ ใช่ไหมท่าน poivang

เจริญในธรรมค่ะ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 8:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุจ้า
อืมม์ สู้ สู้ สาธุ
 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง