Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องเหนือสามัญวิสัย: ปาฏิหาริย์-เทวดา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 6:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-มงคล เป็นละอย่างกันกับเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะเมื่อพูดในทางปฏิบัติแล้วก็มีข้อพิจารณาคล้ายคลึงกัน เช่น ในแง่ผลดีผลเสียและ
การวางท่าทีที่ถูกต้อง เป็นต้น
แต่ว่าโดยความหมาย อิทธิปาฏิหาริย์เป็นเรื่องของความสามารถ
พิเศษของตัวผู้ทำ อิทธิปาฏิหาริย์เอง

ส่วนมงคลมีที่มาหลายแง่ เช่น อาจเชื่อว่าบุคคลหรือสิ่งที่ให้มงคลนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์อิทธานุภาพหรืออำนาจพิเศษเป็นของตนเองก็ได้ อาจเชื่อว่าบุคคลหรือสิ่งนั้นเป็นสื่อหรือทางผ่านของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เร้นลับอยู่ต่างหากก็ได้ หรืออาจเชื่ออย่างประณีตขึ้นมาอีกว่า บุคคลหรือสิ่งนั้นทรงไว้ซึ่งคุณธรรมความดีงาม ความสุข ความบริสุทธิ์ จึงเกิดเป็นความศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นมงคลขึ้นมาในตัวเอง อย่างที่ชาวบ้านจำนวนมากเชื่อต่อพระสงฆ์เป็นต้นก็ได้

มงคล นี้มีส่วนไปเกี่ยวข้องอยู่ในเรื่องติรัจฉานวิชาไม่น้อย (ติรัจฉานวิชาเป็นคนละเรื่องกันกับอิทธิปาฏิหาริย์) เพราะคนเห็นติรัจฉานวิชาบางอย่างเป็นแหล่งที่มาของมงคล

ติรัจฉานวิชานั้นถ้าภิกษุใช้เป็นเครื่องเลี้ยงชีพแสวงหาลาภ ก็เป็นมิจฉาชีพ จัดเป็นความบกพร่องด้านศีล (โดยมากรวมอยู่ในมหาศีล)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 9:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัจกิริยา ทางออกที่ดีสำหรับผู้ยังหวังอำนาจดลบันดาล


สำหรับชาวพุทธในระยะพัฒนาขั้นต้น ผู้ยังห่วง ยังหวัง หรือยังมีเยื่อใย

ที่ตัดไม่ค่อยขาด ในเรื่อแรงดลบันดาล หรืออำนาจอัศจรรย์ต่างๆ

ประเพณีพุทธแต่เดิมมา ยังมีวิธีปฏิบัติที่เป็นทางออกให้อีกอย่างหนึ่ง

คือ "สัจกิริยา" แปลว่า การกระทำสัจจะ หมายถึงการอ้างพลังสัจจะ

หรือการอ้างเอาความจริงเป็นพลังบันดาล คือ ยกเอาคุณธรรมที่ตนได้ประพฤติ

ปฏิบัติบำเพ็ญมา หรือมีอยู่ตามความจริง หรือแม้แต่สภาพของตนเองที่เป็น

อยู่จริงในเวลานั้นขึ้นมาอ้าง เป็นพลังอำนาจสำหรับขจัดปัดเป่าภยันตราย

ที่ได้ประสบในเมื่อหมดทางแก้ไขอย่างอื่น

วิธีนี้ ไม่กระทบกระเทือนต่อความเพียรพยายาม และไม่เป็นการขอร้องวิงวอนต่อ

อำนาจดลบันดาลจากภายนอกอย่างใดๆ ตรงข้าม กลับเป็นการเสริมย้ำความมั่น

ใจในคุณธรรม และ ความเพียรพยายามของตน และทำให้มีกำลังใจเข็มแข็ง

ยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับวัตถุ หรือ พิธีที่จะเป็นช่องให้ขยายกลายรูป

ฟั่นเฝือออกไปได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 11:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องนี้ ว่าตามแนวปฏิบัติของชาวพุทธ ยอมรับความจริงว่า เมื่อยังไม่

เป็นโสดาบัน ย่อมเป็นการยากนักที่คนจะช่วยตัวเองในทางจิตใจได้ตลอดไป

ทุกเวลา ดังนั้น สำหรับคนที่ยังหวังพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดลบันดาล

และโชคชะตา ท่านจึงใช้วิธีเบนทิศทางเข้ามาสู่ธรรม ด้วยการแปรวิธีแก้

แทนที่จะให้ไปสะเดาะเคราะห์บวงสรวงอ้อนวอน ก็ให้สะเดาะอย่างใหม่

โดยให้ผู้นั้นทำการเสียสละตนในทางที่เป็นคุณประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

ไปบริจาคบำรุงสาธารณกุศล ไปสละแรงงานทำสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

แม้แต่หมอดูที่ใจมาทางพุทธ ก็จะแนะนำให้แก้ไขโชคชะตา ด้วยการไปทำ

บุญทำทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ เป็นต้น

การที่ทำเช่นนั้น บางทีสืบลึกลงไปถึงว่า บัดนี้ เทพไท้เทวาที่เขาอ้อนวอน

หวังพึ่งนั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยนี้ ล้วนเป็นผู้ที่ได้นับถือ

พระพุทธศาสนากันทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว (ส่วนมากก็เป็นชาวพุทธตั้งแต่ครั้งยังเป็น

มนุษย์)

ดังนั้น เทพเหล่านั้นจึงพอพระทัยที่จะเห็นคนทำสิ่งที่ดีงามเป็น

คุณประโยชน์ ยิ่งกว่าจะไปทำอะไรที่เหลวไหลไร้สาระ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 12:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาสาธุท่านกรัชกาย ใครอ่านได้ครบ 5 หน้า ขอนับถือ ๆ
เป็นยอดแห่งความเพียร สาธุ สาธุ สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2008, 10:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอนับถือ คุณบัวหิมะ ที่อ่านจนจบ ยิ้ม ยิ้มเห็นฟัน

นี่ขนาดตัดออกบ้างแล้วนะครับเนี่ย

หากต้องการอ่านความเต็มๆที่นี่ครับ

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=inhale&id=14
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ต.ค.2008, 11:18 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2008, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้

แต่อาจเป็นทางเชื่อมต่อนำไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่งและอาศัยความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน

ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้นก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญาและการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือ แหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา


แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง