Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องเหนือสามัญวิสัย: ปาฏิหาริย์-เทวดา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 7:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อิทธิปาฏิหาริย์


อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอภิญญา คือความรู้ความสามารถพิเศษยวดยิ่งอย่างหนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า

อิทธิวิธิ หรือ อิทธิวิธา (การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ) แต่เป็นโลกียอภิญญา คือ อภิญญาระดับโลกีย์

ซึ่งพัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่ในโลก เป็นวิสัยของปุถุชน ยังอยู่ในอำนาจของกิเลส เช่นเดียวกับ

โลกียอภิญญาอื่นๆ ทั้งหลาย คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ การรู้ใจคนอื่น และระลึกชาติได้

โลกียอภิญญาทั้ง 5 อย่างนี้ มีคนทำได้ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของ

พระพุทธศาสนา คือพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม โลกียอภิญญาเหล่านี้ก็เกิดมีได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา และไม่จำเป็นสำหรับการ

เข้าถึงพระพุทธศาสนา สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเกิดของพระพุทธศาสนา และเป็นตัว

พระพุทธศาสนา คือ ความรู้ที่ทำให้ดับกิเลสดับทุกได้ เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า

อาสวักขยญาณ แปลว่า ญาณที่ทำให้อาสวะให้สิ้นไป จัดเข้าเป็นอภิญญาข้อสุดท้าย

เป็นโลกุตรอภิญญา ซึ่งทำให้มีจิตใจเป็นอิสระปลอดโปร่งผ่องใส พ้นจากอำนาจครอบงำ

ของเรื่องโลกๆ หรือสิ่งที่เป็นวิสัยโลก ทำให้ปุถุชนกลายเป็นอริยะชนโดยสมบูรณ์

โลกียอภิญญาทั้งหลายเสื่อมถอยได้ แต่โลกุตรอภิญญาไม่กลับกลาย ได้โลกุตรอภิญญา

อย่างเดียว ประเสริฐกว่าได้โลกียอภิญญาทั้ง 5 อย่างรวมกัน

แต่ถ้าได้โลกุตรอภิญญา โดยได้โลกียอภิญญาด้วย ก็เป็นคุณสมบัติส่วนพิเศษเสริมให้ดีพร้อม

ยิ่งขึ้น

โลกุตรอภิญญาเท่านั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ซึ่งทุกคนควรได้ควรถึง

ส่วนโลกียอภิญญาทั้งหลาย มิใช่สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงาม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อิทธิปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าทรงจัดเป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ

1. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆ

2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การทายใจคนอื่นได้

3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง

และนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 8:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในสมัยพุทธกาล เคยมีบุตรคฤหบดีผู้หนึ่งทูลให้พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

เขากราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้เจริญรุ่งเรือง มีประชาชนมาก มีผู้คนกระจายอยู่ทั่ว

ต่างเลื่อมใสนักในองค์พระผู้มีพระภาค ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรด

ทรงรับสั่งพระภิกษุไว้สักรูปหนึ่งที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์

โดยการกระทำเช่นนี้ ชาวเมืองนาลันทานี้ก็จักเลื่อมใสยิ่งนักในองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า

สุดที่จะประมาณ”


พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบบุตรคฤหบดีผู้นั้นว่า

“นี่แน่ะเกวัฏฏ์ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์ แก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2008, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พระองค์ได้ตรัสแสดงเหตุผลต่อไปว่า ในบรรดาปาฏิหาริย์ 3 อย่างนั้น ทรงรังเกียจ ไม่โปรด

ไม่โปร่ง พระทัยต่ออิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ เพราะทรงเห็นโทษว่า คนที่เชื่อ

ก็เห็นจริงตามไป

ส่วนคนที่ไม่เชื่อได้ฟังแล้วก็หาช่องขัดแย้งคัดค้านเอาได้ว่า ภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น

คงใช้คันธารีวิทยา และมณิกาวิทยา ทำให้คนมัวทุ่มเถียงทะเลาะกัน

และได้ทรงชี้แจงความหมายและคุณค่าของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ได้เห็นว่า เอามาใช้ปฏิบัติ

เป็นประโยชน์ประจักษ์ได้ภายในตนเองจนบรรลุถึงอาสวักขัยอันเป็นจุดหมายของ

พระพุทธศาสนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2008, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บาลีแห่งหนึ่งชี้แจงเรื่องอิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ) ว่ามี 2 ประเภทคือ

1. ฤทธิ์ ที่มิใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ (มีกิเลสและทำให้เกิดทุกข์

ได้) ได้แก่ ฤทธิ์ อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆไป คือ การที่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่ง

บำเพ็ญเพียรจนได้เจโตสมาธิ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น แปลงตัวเป็นคนหลายคน เป็นต้น


2. ฤทธิ์ ที่เป็นอริยะ คือ ฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ

(ไม่มีกิเลสไม่ทำให้เกิดทุกข์) ได้แก่ การที่ภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายได้ตามต้องการ

บังคับความรู้สึกของตนได้ จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียดเป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคน

หน้าตาน่าเกลียดชัง ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไมตรีได้ เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวน

ให้เกิดราคะจะมองเป็นอสุภะก็ได้ หรือจะวางใจเป็นกลาง เฉยเสีย ปล่อยวางทั้งสิ่ง

ที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดก็ได้ (ที.ปา.11/90/122)

เช่น ในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2008, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ฤทธิ์ที่สูงส่งดีงามตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ฤทธิ์ที่ไม่มีพิษมีภัยแก่ใครๆ ได้แก่

การบังคับความรู้สึกของตนเองได้ หรือบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจของตนได้

ผู้ซึ่งได้ ฤทธิ์อย่างที่หนึ่ง อาจทำไม่ได้ ตรงข้ามกับ ฤทธิ์อย่างที่สอง ที่เป็นเครื่องสร้าง

คุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ

(ฤทธิ์ประเภทที่สองนี้เป็นพวกเมตตาเจโตวิมุตติ ซึ่งถึงขั้นเป็นสุภวิโมกข์ เกิดจากเจริญ

โพชฌงค์ประกอบด้วยเมตตาก็ได้-สํ.ม.19/597/164

เป็นผลของการเจริญสติปัฏฐาน 4 (อย่างถูกวิธี) ก็ได้-สํ.ม.19/1253-1262/376-9

เป็นผลของการเจริญสมาธิก็ได้- สํ.ม.19/1332-6/401-3

บางแห่งเรียกผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ว่า อริยชนผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ม.อุ.14/863-546)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2008, 8:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อว่าตามรูปศัพท์ คำว่า ปาฏิหาริย์ แปลว่า การกระทำที่ตีกลับ ขับไล่ หรือ

กำจัดเสียได้ซึ่งปฏิปักษ์

อิทธิ หรือ ฤทธิ์ แปลว่า ความสำเร็จ

อาเทศนา แปลว่า ระบุ อ้าง สำแดง ชี้บ่ง

อนุสาสนี แปลว่า คำพร่ำสอน โดยถือความหมายอย่างนี้ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ได้แปล

ความหมาย ปาฏิหาริย์ทั้งสาม นั้นออกไปให้เห็นเพิ่มขึ้นอีกแนวหนึ่งว่า

คุณธรรมต่างๆ เช่น เนกขัมมะ เมตตา ฌาน อนัตตานุปัสสนา ตลอดจนถึงอรหัตมรรค

เรียกว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้น โดยความหมายว่า สำเร็จผลตามหน้าที่และกำจัด

ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของมัน เช่น กามฉันท์ พยาบาท ตลอดจนกิเลสทั้งปวงได้

เรียกว่าเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ได้ โดยความหมายว่า ผู้ที่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ทุกคน

ย่อมมีจิตบริสุทธิ์ มีความคิดไม่ขุ่นมัว เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ได้ โดยความหมายของ

การสั่งสอนว่า ธรรมข้อนั้นๆ ควรปฏิบัติ ควรฝึกอบรม ควรเพิ่มพูน ควรตั้งสติให้เหมาะ

อย่างไร เป็นต้น (ขุ.ปฏิ.31/718-722/616-620)

คำอธิบายอย่างนี้ แม้จะไม่ใช่ความหมายอย่างที่ใช้ทั่วไป แต่ก็เป็นความรู้ประกอบที่น่าสนใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 2:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เทวดา


ว่าโดยภาวะพื้นฐาน เทวดาทุกประเภทตลอดจนถึงพรหมที่สูงสุด ล้วนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์

เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย และส่วนใหญ่ก็เป็น

ปุถุชนยังมีกิเลสคล้ายมนุษย์ แม้ว่าจะมีเทพที่เป็นอริยบุคคลบ้าง ส่วนมากก็เป็นอริยะมาก่อน

ตั้งแต่ครั้งยังเป็นมนุษย์ แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบโดยเฉลี่ยตามลำดับฐานะ เทวดาจะเป็นผู้มี

คุณธรรมสูงกว่า แต่ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน จนพูดรวมๆได้ว่า เป็นระดับสุคติด้วยกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 2:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในแง่ความได้เปรียบเสียเปรียบ บางอย่างเทวดาดีกว่า แต่บางอย่างมนุษย์ก็ดีกว่า เช่น

ท่านเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์ชาวชมพูทวีปกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า เทพชั้นดาวดึงส์เหนือกว่า

มนุษย์ 3 อย่าง คือ ด้านอายุทิพย์ ผิวพรรณทิพย์ และความสุขทิพย์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 2:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


แต่มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ 3 ด้าน คือ กล้าหาญกว่า มีสติดีกว่า

และมีการประพฤติพรหมจรรย์ (หมายถึงการปฏิบัติตามอริยมรรค) องฺ.นวก. 23/225/409
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 2:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


แม้ว่าตามปกติ พวกมนุษย์จะถือว่าเทวดาสูงกว่าพวกตน และพากันอยากไปเกิดในสวรรค์

แต่สำหรับพวกเทวดา เขาถือกันว่า การเกิดเป็นมนุษย์เป็นสุคติภูมิของพวกเขา

ดังพุทธพจน์ยืนยันว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์นี่แล นับว่าเป็นการไป

สุคติของเทพทั้งหลาย


(ขุ.อิติ.25/261-2/289-290)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งจะจุติ เพื่อเทพชาวสวรรค์จะพากันอวยพรว่า ให้ไปสุคติคือ

ไปเกิดในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะโลกมนุษย์เป็นถิ่นที่มีโอกาสเลือกประกอบกุศลกรรมทำ

ความดีงามต่างๆ และประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ (ขุ.อิติ.25/261-2/289-290)

(ความชั่วหรืออกุศลกรรมต่างๆ ก็เลือกทำได้เต็มที่เช่นเดียวกัน)

การเกิดเป็นเทวดาที่มีอายุยืนยาว ท่านถือว่าเป็นการเสียหรือพลาดโอกาสอย่างหนึ่ง

ในการที่จะได้ประพฤติพรหมจรรย์ (องฺ.อฏฺฐก.23/119/229)

เรียกอย่างสามัญว่าเป็นโชคไม่ดี

พวกชาวสวรรค์มีแต่ความสุข ชวนให้เกิดความประมาทมัวเมา สติไม่มั่น

ส่วนโลกมนุษย์มีสุขบ้างทุกข์บ้างเคล้าระคน มีประสบการณ์หลากหลายเป็นบทเรียนได้มาก

เมื่อรู้จักกำหนดจิตให้ได้เรียนรู้ ช่วยให้สติเจริญว่องไวทำงานได้ดี (ดู เค้า องฺ.อ.3/345)

เกื้อกูลแก่การฝึกตนและการที่จะก้าวไปข้างหน้าในอารยธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 8:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อพิจารณาในแง่ระดับแห่งคุณธรรมให้ละเอียดลงไปอีก จะเห็นว่า

มนุษย์ภูมินั้น อยู่กลางระหว่างเทวภูมิ หรือสวรรค์ กับ อบายภูมิมีนรกเป็นต้น

พวกอบาย เช่นนรกนั้น เป็นแดนของคนบาปด้อยคุณธรรม

แม้ชาวอบายบางส่วนจะจัดได้ว่าเป็นคนดี แต่ก็ตกไปอยู่ในนั้น เพราะความชั่วบางอย่าง

ให้ผลถ่วงดึงลงไป

ส่วนสวรรค์ก็เป็นแดนของคนดีค่อนข้างมีคุณธรรม แม้ว่าชาวสวรรค์บางส่วนจะเป็นคนชั่ว

แต่ก็ได้ขึ้นไปอยู่ในแดนนั้น เพราะมีความดีบางอย่างที่ประทุแรงช่วยผลักดันหรือฉุดขึ้นไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2008, 8:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนโลกมนุษย์ ที่อยู่ระหว่างกลาง ก็เป็นประดุจชุมทางที่ผ่านหมุนเวียนกันไปมา

ทั้งชาวสวรรค์และชาวอบาย เป็นแหล่งที่สัตว์โลกทุกพวกทุกชนิดมา ทำมา หากรรม

เป็นที่คนชั่ว มาสร้างตัว ให้เป็นคนดี เตรียมไปสวรรค์

หรือคนดี มาสุมตัว ให้เป็นคนชั่ว เตรียมไปนรก

ตลอดจนเป็นที่ผู้รู้ จะมาสะสางตัวให้เป็นคนอิสระ เลิกทำมาหากรรม เปลี่ยนเป็นผู้หว่าน

ธรรม ลอยพ้นเหนือการเดินทางหมุนเวียนต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ค.2008, 10:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พวกอบายมีหลายชั้น (มี 4 ชั้น คือ นรก เปรต อสุรกาย ติรัจฉาน) ชั้นเดียวกันก็มีบาป

ธรรมใกล้เคียงกัน

พวกเทพก็มีหลายชั้นซอยละเอียดกว่าอบาย มีคุณธรรมพื้นฐานประณีตลดหลั่นกันไปตาม

ลำดับ ชั้นเดียวกันก็มีคุณธรรมใกล้เคียงกัน

ส่วนโลกมนุษย์แดนเดียวนี้ เป็นที่รวมของบาปธรรมและคุณธรรมทุกอย่างทุกระดับ

มีคนชั่วซึ่งมีบาปธรรมหยาบหนาเหมือนดังชาวนรกชั้นต่ำสุด และมีคนดี ซึ่งมีคุณธรรม

ประณีตเท่ากับพรหมผู้สูงสุด ตลอดจนท่านผู้พ้นแล้วจากภพภูมิทั้งหลาย ซึ่งแม้แต่เหล่า

เทพมารพรหมก็เคารพบูชา

ภาวะเช่นนี้นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของโลกมนุษย์ที่เป็นวิสัยกว้างสุดแห่งบาปอุกศลและ

คุณธรรม เพราะเป็นที่ทำมาหากรรม และเป็นที่หว่านธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ค.2008, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เท่าที่กล่าวมานี้ จะเห็นข้อเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเทวดาได้ว่า เมื่อเทียบโดยคุณธรรม

และความสามารถทั่วไปแล้ว ทั้งมนุษย์และเทวดาต่างก็มีได้เท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงกัน

เป็นระดับเดียวกัน แต่มนุษย์มีวิสัยแห่งการสร้างปรับปรุงมากกว่า ข้อแตกต่างสำคัญ

จึงอยู่ที่โอกาส

กล่าวคือมนุษย์มีโอกาสมากกว่าในการที่จะพัฒนาคุณธรรมและความสามารถของตน

ถ้ามองในแง่แข่งขัน (ทางธรรมไม่สนับสนุนให้มอง) ก็ว่า ตามปกติธรรมดาถ้าอยู่กันเฉยๆ

เทวดาทั่วไปสูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่ามนุษย์

แต่ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวเมื่อไร ก็จะขึ้นไปเทียมเท่าหรือแม้แต่สูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่าเทวดา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2008, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อทราบฐานะของเทวดาแล้ว พึงทราบความสัมพันธ์ที่ควรและไม่ควรระหว่างเทวดากับ

มนุษย์ต่อไป

ในลัทธิศาสนา ที่มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธศาสนา เขาเชื่อว่ามีเทวดาใหญ่น้อยมากมาย

และมีเทพสูงสุดเป็นผู้สร้างโลกและบันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ไม่มีทางจะเจริญ

เลิศล้ำกว่าเทพนั้นได้

มนุษย์จึงสร้างความสัมพันธ์กับเทพ ด้วยวิธีอ้อนวอนขอความช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ

เช่น สวดสรรเสริญ ยกย่อง สดุดี บวงสรวง สังเวย บูชายัญ เป็นการปรนเปรอเอาอก

เอาใจ หรือไม่ก็ใช้วิธีเรียกร้องความสนใจ บีบบังคับให้เห็นใจ เชิงเร้าให้เกิดความร้อน

ใจจนเทพทนนิ่งอยู่ไม่ได้ ต้องหันมาดูแลหาทางแก้ไขหรือสนองความต้องการให้

ทั้งนี้ โดยใช้วิธีข่มขี่บีบคั้นลงโทษทรมานตนเอง ที่เรียกว่าประพฤติพรตและบำเพ็ญตบะ

ต่างๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 6:54 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สรุปให้เห็นชัดถึงวิธีสัมพันธ์กับเทพเจ้าเป็น 2 อย่าง คือ


1. วิธีอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ด้วยการเซ่นสรวง สังเวย บูชายัญ ดังลูกอ้อนวอนขอ

ต่อพ่อแม่ บางทีเลยไปเป็นดังประจบและแม้ติดสินบนต่อผู้มีอำนาจเหนือ

2. วิธีบีบบังคับให้ทำตามความประสงค์ ด้วยการบำเพ็ญพรตทำตบะ ดังลูกที่ตีอกชกหัว

กัดทึ้งตนเอง เรียกร้องเชิงบีบบังคับให้พ่อแม่หันมาใส่ใจความประสงค์ของตน


แต่จะเป็นวิธีใดก็ตาม ย่อมรวมลงในการมุ่งหวังผลประโยชน์แก่ตน ด้วยการพึ่งพา

สิ่งภายนอกทั้งสิ้น

เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ได้สอนให้เลิกเสียทั้งสองวิธี

และการเลิกวิธีปฏิบัติทั้งสองนี้แหละ ที่เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้

ในการสอนให้เลิกวิธีปฏิบัติเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสามารถแสดงเหตุผล ชี้ให้เห็นคุณ

โทษ และวางวิธีปฏิบัติที่สมควรให้ใหม่ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ย. 2008, 8:48 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


การหวังพึ่งเทวดาย่อมมีผลในขอบเขตจำกัด หรือมีจุดติดตันอย่างเดียวกับในเรื่อง

อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ในทางปัญญา เทวดาทั่วๆไปยังมีอวิชชา ไม่รู้สัจธรรม เช่นเดียวกับ

มนุษย์ ดังเรื่องพระภิกษุรูปที่เหาะไปถามปัญหากะเทวดาจนแม้แต่พระพรหมก็ตอบไม่ได้

และเรื่องพระพุทธเจ้าทรมานพกพรหม

ส่วนในด้านจิตใจ เทวดาก็เหมือนกับมนุษย์ คือ ส่วนใหญ่เป็นปุถุชนยังมีกิเลส

มีเชื้อความทุกข์มากบ้างน้อยบ้าง ยังหมุนเวียนขึ้นๆลงๆ อยู่ในสังสารวัฏ ดังเช่น

พระพรหมแม้มีคุณธรรมสูง แต่ก็ยังประมาทเมาว่าตนอยู่เที่ยงแท้นิรันดร

(สํ.ส.15/586/215)

พระอินทร์เมาประมาทในทิพย์สมบัติ (ม.มู.12/467/468)

คนอื่นหวังพึ่งพระอินทร์ แต่พระอินทร์เองยังไม่หมด ราคะ โทสะ โมหะ ยังมีความหวาด

กลัวสะดุ้งหวั่นไหว- (สํ.ส.15/864/322)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 7:04 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง