Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มณฑป เรือนแห่งฐานานุศักดิ์ (นฤมล สารากรบริรักษ์) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมณฑปพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี


มณฑป เรือนแห่งฐานานุศักดิ์

เมื่อกล่าวถึง “มณฑป” คงเป็นที่รู้จักในฐานะอาคารหลังหนึ่งในเขตพุทธาวาส ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาคารหลังอื่นๆ อย่างอุโบสถหรือวิหาร แม้แต่น้อยเลย

โดยทั่วไป มณฑปมักสร้างเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหลังคาเป็นเรือนยอดแหลมซ้อนชั้นเรียกว่า “หลังคาทรงบุษบก”

Image

โดยโครงสร้างและรูปแบบของ “บุษบก” นั้น นับว่ามีความคล้ายคลึงกันกับมณฑปมาก แต่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของขนาด สัดส่วน และหน้าที่การใช้สอย นั่นคือ บุษบกนั้นมีองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กกว่า ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีขนาดเล็ก ในขณะที่มณฑปคืออาคารหลังหนึ่งที่สร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบว่ามณฑปยังเป็นที่ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทอีกด้วย

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มณฑปน่าจะมีการสร้างมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ และอาจเป็นเครื่องไม้ที่ผุพังไปหมดแล้ว แต่หลักฐานที่เป็นยุคแรกๆ ของการสร้างมณฑปที่ยังพบโครงสร้างมาจนถึงปัจจุบันนั้น พบได้ในสมัยสุโขทัย โดยสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิมาฆระ” ซึ่งรูปแบบดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วในศิลปะอินเดียและศรีลังกาด้วย ภายในมณฑปสมัยสุโขทัยดูคับแคบมากเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปที่มีขนาดเต็มพื้นที่ภายใน จึงมีนักวิชาการสันนิษฐานว่า อาคารหลังดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึง พระคันธกุฎี ที่ประทับส่วนพระองค์ของพระพุทธเจ้า เช่น มณฑปวัดศรีชุม จ.สุโขทัย ประดิษฐานพระอจนะ พระพุทธรูปปางมารวิชัยเอาไว้

Image
พระมณฑปที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ



นอกจากนี้ มณฑปยังใช้เป็นที่ประดิษฐานสิ่งอื่นที่นอกเหนือไปจากพระพุทธรูป อันได้แก่เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เช่นที่ พระมณฑปพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี ค้นพบในสมัยอยุธยา มณฑปที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ และ มณฑปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

Image
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์


ความหมายในทางสถาปัตยกรรมไทย เมื่อกล่าวถึง อาคารที่เป็นเรือนยอดหรือมีเครื่องยอดเป็นเรือนชั้นสูง เช่นเดียวกับการซ้อนชั้นของเครื่องยอดของมณฑปเหล่านี้ ล้วนมีความหมายสะท้อนถึงฐานันดร เป็นอาคารที่มีฐานานุศักดิ์สูงสุด จึงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท และพระไตรปิฎก และเมื่อนำทรงยอดมณฑปนี้ไปเป็นองค์ประกอบกับอาคารอื่นก็มีเฉพาะแต่พระราชวังเท่านั้น เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ (บางปะอิน) ซึ่งเป็นยอดบุษบก เป็นต้น

Image
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2008, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมณฑปวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ มณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ


เครื่องยอดของมณฑป

รูปแบบของมณฑปในประวัติศาสตร์ศิลปะไทย มีความหลากหลายไปตามค่านิยมของแต่ละยุค ซึ่งนั่นเป็นการยืนยันว่า มณฑปมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาอย่างมาก

ลักษณะโดยทั่วไปของมณฑป คือ อาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ที่มีความแตกต่างกันนั้นคือรูปแบบของหลังคา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกมณฑปทรงต่างๆ โดยนักวิชาการได้จำแนกไว้ ๙ รูปทรง ดังนี้

๑. มณฑปทรงคฤห์ เป็นมณฑปที่ใช้รูปทรงหลังคาเป็นจั่วแหลมอย่างหลังคาเรือน รูปแบบนี้พบในช่วงปลายสมัยสุโขทัยที่มีการสร้างด้วยศิลาแลงซ้อนเหลี่ยมขึ้นไปบรรจบที่กึ่งกลางหลังคา ได้แก่ มณฑปวัดกุฎีราย จ.สุโขทัย

๒. มณฑปทรงโรง มีลักษณะคล้ายทรงคฤห์ แต่สร้างจากโครงสร้างไม้ หลังคามุงกระเบื้อง และมีปีกนกชักคลุมโดยรอบ เช่น มณฑปวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

๓. มณฑปทรงจัตุรมุข เป็นรูปทรงที่พัฒนาจากทรงโรง โดยเพิ่มจั่วให้เชื่อมต่อกันอย่างรูปกากบาท เป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน เช่น มณฑปวัดพระเชตุพน จ.สุโขทัย และมณฑปวัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร

๔. มณฑปทรงกรวยเหลี่ยม เป็นรูปแบบหลังคาที่มีการลาดชั้นอย่างปิรามิด มีตับหลังคาซ้อนกัน ๓-๔ ชั้น มีการประดับปลายยอดด้วยปูนปั้นรูปดอกบัวตูม เช่น มณฑปวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

๕. มณฑปทรงบุษบก เป็นรูปแบบของทรงหลังคาเช่นเดียวกับหลังคาของบุษบก ใช้โครงสร้างไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบหรือหุ้มดีบุก มีความนิยมมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เช่น มณฑปวัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี

๖. มณฑปแบบทรงมงกุฎ ใช้รูปแบบของมงกุฎเป็นองค์ประกอบของทรงหลังคา มีโครงสร้างเป็นอาคารเครื่องก่อ ปั้นปูนประดับลายภายนอก เช่น มณฑปวัดพระงาม จ.พระนครศรีอยุธยา

๗. มณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ เป็นลักษณะผสมผสานกันระหว่างทรงมงกุฎและจัตุรมุข คือมีการก่อมุขยื่นออกไปอีกทั้งสี่ด้าน ยอดประดับด้วยมงกุฎเช่นกัน ดังมณฑปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ

Image
มณฑปวัดพิชยญาติการาม กรุงเทพฯ มณฑปทรงปราสาทยอดปรางค์


๘. มณฑปทรงปราสาทยอดปรางค์ มีลักษณะเช่นเดียวกันกับมณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ แตกต่างกันตรงที่ส่วนยอดสร้างอย่างเจดีย์ทรงปรางค์ทั้งห้ายอด เช่น มณฑปวัดพิชยญาติการาม กรุงเทพฯ

๙. มณฑปทรงเจดีย์ ๕ ยอด มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับทรงปราสาทยอดปรางค์ เพียงแต่ในส่วนยอดนั้น ประดิษฐานเจดีย์ทรงระฆังทั้ง ๕ ยอด เช่น มณฑปวัดพระฉาย จ.สระบุรี

จากที่กล่าวมาข้างต้น พบว่ารูปแบบที่มีความเรียบง่ายนั้น มักมีอายุที่เก่ากว่าสมัยหลัง ซึ่งมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ด้วยปัจจัยของวัสดุและแบบแผนของการก่อสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการตกแต่งและดูแลรักษา ซึ่งรูปแบบของทรงหลังคาที่มีความแตกต่างกันนี้ ได้สะท้อนรสนิยม และเอกลักษณ์ตามยุคสมัยเอาไว้


เอกสารอ่านประกอบ

• กรมศิลปากร. วัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๐.
• สมคิด จิระทัศนกุล. รูปแบบพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
• สมคิด จิระทัศนกุล. วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.



หนังสือธรรมลีลา โดย นฤมล สารากรบริรักษ์
คัดลอกมาจาก...หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง