Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว-บุญ-บาป-กุศล-อกุศล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ปัญหาเรื่องความดี-ความชั่ว (บุญ-บาป กุศล-อกุศล) ชาวพุทธสนใจถาม-ตอบกันบ่อยๆ

พอๆ กับเรื่องกรรมเหมือนกัน แต่ยังลางเลือนในคำตอบ

ส่วนผู้ถามซึ่งกลัวบาปก็กลัวแบบมัวๆ ไม่ชัดเจน เมื่อไม่ชัดเจน เวลามีปัญหาทางความรู้สึก

(ทางใจ) ก็ประคับประคองหรือยกระดับจิตตนเองไม่ได้ คือช่วยตนเองไม่ได้

ก็จึงจมอยู่กับทุกข์โทมนัสนั้น

เรื่องบุญ-บาป หรือ กุศล-อกุศล ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ

พุทธธรรมหน้า 162 ต่อจากเรื่องกรรม (กรรมตามนัยพุทธศาสนา)

มีผู้ถามเรื่องนี้ไว้ที่กระทู้หนึ่งน่าสนใจ จึงจะลอกหนังสือมาให้พิจารณาด้วยตนเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 พ.ค.2008, 8:43 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 5:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำถามมีดังนี้


อยากทราบว่าถ้าเรามีจิตอกุศลเกิดขึ้น แต่เรารู้ตัว เช่นความโกรธ ความไม่พอใจ

หรือ นึกอยากไปทำร้ายร่างกายเขา แต่เรารู้ตัว แล้วพยายามระงับอารมณ์นั้น

แล้วนึกถึงคำสอนหลวงพ่อ ว่าอดีต และอนาคตไม่ควรคิดถึง

แล้วนึกขออโหสิกรรมในใจตอนนั้นเลย จะบาปมั๊ย

อยากทราบวิธีแก้ไม่ให้มีจิตอันเป็นอกุศล ระหว่าง การนึกคิด การพูดร้าย การกระทำ

ที่ไม่ดีทั้งปวง ตัวไหนบาปมากกว่ากัน

ถ้าคิดจะทำร้ายคนที่เราไม่ชอบ แต่ไม่ทำบาปมากแค่ไหนค่ะ


http://www.jarun.org/v6/board/viewtopic.php?t=9228
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 6:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว

กรรมเป็นเรื่องของความดีและความชั่วโดยตรง เมื่อพูดถึงกรรม จึงควรพูดถึงเรื่องความดี

และความชั่วไว้ด้วย เพื่อช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

เรื่องความดีและความชั่ว มักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัย

เช่น อะไรและอย่างไรจึงจะเรียกว่าดี อะไรและอย่างไรจึงจะเรียกว่าชั่ว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเช่นนี้มีมากเฉพาะในภาษาไทยเท่านั้น

ส่วนในทางธรรมที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลี ความหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้

นับได้ว่าชัดเจน ดังจะกล่าวต่อไป


(อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าเรื่องความดีและความชั่ว ท่านเจ้าคุณแสดงต่อจาก กรรม จึงขึ้นต้น

เช่นนั้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คำว่าดีว่าชั่ว ในภาษาไทยมีความหมายกว้างขวางมาก

โดยเฉพาะคำว่าดี มีความหมายกว้างยิ่งกว่าคำว่าชั่ว

คนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่า คน ดี

อาหารอร่อยถูกใจ ผู้ที่กินก็อาจพูดว่า อาหารมื้อนี้ ดี หรืออาหารร้านนี้ ดี

เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพหรือทำงานเรียบร้อยคนก็เรียกว่า เครื่องยนต์ ดี

ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่า ค้อนนี้ ดี

ภาพยนตร์ที่สนุกสนาน ถูกใจคนที่ชอบก็ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ ดี

ภาพเขียนสวยงามคนก็ว่า ภาพนี้ ดี หรือ ถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูงคนก็ว่าภาพนั้น ดี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงานและมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกกันว่า โรงเรียน ดี

โต๊ะตัวเดียวกัน คนสามคนบอกว่า ดี แต่ความหมายที่ว่า ดี นั้นอาจไม่เหมือนกันเลย

คนหนึ่งว่าดี เพราะสวยงามถูกใจเขา

อีกคนหนึ่งว่า ดี เพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขา

อีกคนหนึ่งว่าดี เพราะเขาจะขายได้กำไรมาก

ในทำนองเดียวกัน ของที่คนหนึ่งว่า ดี อีกหลายคนอาจบอกว่า ไม่ดี

ของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่า ดี มองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดี

ความประพฤติหรือการแสดงออกบางอย่างในถิ่นหนึ่ง หรือสังคมหนึ่งว่า ดี

อีกถิ่นหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งว่า ไม่ดี ดังนี้เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้

หรืออย่างน้อยไม่ชัดเจน อาจต้องจำแนกเป็นดีในทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพ

ดีในแง่เศรษฐกิจ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 6:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เหตุที่มีความยุ่งยากสับสนเช่นนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า

และคำว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” ในภาษาไทย ใช้กับเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าได้ทั่วไปหมด

ความหมายจึงกว้างขวางและผันแปรได้มากเกินไป

เพื่อตัดปัญหาเกี่ยวกับความยุ่งยากสับสนนี้ จึงจะไม่ใช้คำว่า ดี ไม่ดี ในภาษาไทย


และเป็นอันไม่ต้องพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับคุณค่าด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 6:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในการศึกษาเรื่องความดีความชั่วที่เกี่ยวกับกรรมนี้ มีข้อควรทราบดังนี้


ก. ความดีและความชั่ว ณ ที่นี้ เป็นการศึกษาในแง่ของกรรมนิยาม และมีคำเรียกโดยเฉพาะ

ว่ากุศล และ อกุศล
ตามลำดับ

คำทั้งสองนี้ มีความหมายและหลักเกณฑ์วินิจฉัยที่นับได้ว่าชัดเจน


ข. การศึกษาเรื่องกุศล และอกุศลนั้น มองในแง่จริยธรรมของพระพุทธศาสนา

เป็นเรื่องของกรรมนิยาม จึงเป็นการศึกษาในแง่สภาวะ

หาใช่เป็นการศึกษาในแง่คุณค่าอย่างที่มักเข้าใจกันไม่- (ถ้าจะใช้คำว่าคุณค่า ก็หมายถึงคุณ

ค่าโดยสภาวะ ไม่ใช่คุณค่าตามที่กำหนดให้)

การศึกษาในแง่คุณค่าเป็นเรื่องในระดับสังคมนิยมน์ หรือสังคมบัญญัติ ซึ่งมีขอบเขตที่แยก

จากกรรมนิยามได้ชัดเจน


ค. ความเป็นไปของกรรมนิยาม ย่อมสัมพันธ์กับนิยามและนิยมน์อื่นๆ ด้วย

โดยเฉพาะที่พึงใส่ใจพิเศษ คือ

ในด้านภายในบุคคล กรรมนิยาม อิงอยู่กับ จิตนิยาม

ในด้านภายนอก กรรมนิยาม สัมพันธ์กับ สังคมนิยมน์ หรือสังคมบัญญัติ


ข้อที่พึงเน้นก็คือ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง กรรมนิยามกับสังคมนิยมน์ จะต้องแยกขอบ

เขตระหว่างกันให้ชัดและจุดเชื่อมต่อซึ่งเป็นทั้งที่แยก และที่สัมพันธ์ระหว่างขอบเขตทั้งสอง

นั้นก็มีอยู่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


^
ข้างบนท่านกล่าวถึง กรรมนิยาม กับ จิตนิยามด้วย เพราะบุญ-บาป-กุศล-อกุศล

เนื่องอยู่กับนิยามทั้งสอง เป็นต้นนั้น เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจต่อไป เห็นควรนำ

ความหมายของกรรมนิยาม และจิตนิยามลงแทรกไว้ให้พอเห็นเค้าความด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 10:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จิตตนิยาม– กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต เช่น เมื่ออารมณ์ (สิ่งเร้า)

กระทบประสาท จะมีการรับรู้เกิดขึ้น จิตจะทำงานอย่างไร คือมีการไหวแห่งภวังคจิต

ภวังคจิตขาดตอน แล้วมีอาวัชชนะ แล้วมีการเห็น การได้ยิน ฯลฯ มีสัมปฏิจฉะนะ

สันตีระณะ ฯลฯ หรือเมื่อจิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เกิดขึ้น จะมีเจตสิกอะไรบ้างประกอบได้

หรือประกอบไม่ได้ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 10:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-กรรมนิยาม – กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการก่อการกระทำ

และการให้ผลของการกระทำ

หรือ พูดให้จำเพาะลงไปอีกว่า กระบวนการแห่งเจตน์จำนงหรือความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์

ต่างๆ พร้อมทั้งผลที่สืบเนื่องออกไปอันสอดคล้องสมกัน เช่น ทำกรรมดี มีผลดี

ทำกรรมชั่ว มีผลชั่ว เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 10:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ความหมายธรรมนิยามก็มีความสำคัญต่อการเข้าใจธรรมะจึงลงไว้ด้วย)


ธรรมนิยาม- กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่ง

ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างที่เรียกกันว่า ความเป็นไปตามธรรมดา เช่นว่า สิ่งทั้งหลายมีความ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดา

คนย่อมมีความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นธรรมดา

ธรรมดาของคนยุคนี้ มีอายุขัยประมาณร้อยปี ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม

ย่อมเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นสภาพไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น และไม่เป็นอัตตา

ดังนี้ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 10:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จิตตนิยาม -แปลกันว่า psychic law; psychological laws

กรรมนิยาม แปลกันว่า Law of karma; order of act and result; karmic laws;

moral laws

ธรรมนิยาม - แปลกันว่า the general law of cause and effect; order of the norm;
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายของกุศลและอกุศล


กุศล และ อกุศล แปลกันโดยทั่วไปว่า ดี และ ชั่วหรือไม่ดี ก็จริง

แต่แท้จริงแล้ว หาตรงกันทีเดียวไม่ สภาวะบางอย่างเป็นกุศล แต่อาจจะไม่เรียกว่าดี

ในภาษาไทย

สภาวะบางอย่างอาจเป็นอกุศล แต่ในภาษาไทยก็ไม่เรียกว่า ชั่ว

ดังจะเห็นต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


กุศล และ อกุศล เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ และมีผลต่อจิตใจก่อน แล้วจึงมีผลต่อ

บุคลิกภาพ และแสดงผลนั้นออกมาภายนอก

ความหมายของกุศล และ อกุศล จึงเพ่งไปที่พื้นฐาน คือเนื้อหาสาระและความเป็นไป

ภายในจิตใจเป็นหลัก


กุศล แปลตามศัพท์ว่า ฉลาด ชำนาญ สบาย เอื้อหรือเกื้อกูล เหมาะ ดีงาม เป็นบุญ

คล่องแคล่ว ตัดโรค หรือตัดสิ่งชั่วร้ายที่น่ารังเกียจ


ส่วน อกุศล ก็แปลว่า สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล หรือตรงข้ามกับกุศล

เช่นว่า ไม่ฉลาด ไม่สบาย เป็นต้น


(กุศล นิยมแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า wholesome; skilful; meritorious.)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายเชิงอธิบายในทางธรรมของกุศล ที่ถือได้ว่าเป็นหลักมี 4 อย่าง คือ


1. อาโรคยะ -

ความไม่มีโรค คือสภาพจิตที่ไม่มีโรค อย่างที่นิยมเรียกกันบัดนี้ว่าสุขภาพจิต

หมายถึง สภาวะหรือองค์ประกอบที่เกื้อกูลแก่สุขภาพจิต ทำให้จิตไม่ป่วยไข้ ไม่ถูกบีบคั้น

ไม่กระสับกระส่าย เป็นจิตแข็งแรง คล่องแคล่ว สบาย ใช้งานได้ดี เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. อนวัชชะ-

ไม่มีโทษหรือไร้ตำหนิ แสดงถึงภาวะที่จิตสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง ไม่เสียหาย หรือไม่มีของเสีย

ไม่มัวหมอง ไม่ขุ่นมัว สะอาด เกลี้ยงเกลา เอี่ยมอ่อง ผ่องแผ้ว เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. โกศลสัมภูต –

เกิดจากปัญญาหรือเกิดจากความฉลาด หมายถึง ภาวะที่จิตประกอบอยู่ด้วยปัญญา

หรือมีคุณสมบัติต่างๆ ซึ่งเกิดจากความรู้ความเข้าใจ สว่าง มองเห็นหรือรู้เท่าทัน

ความเป็นจริง สอดคล้องกับหลักที่ว่า กุศลธรรมมีโยนิโสมนสิการ คือความรู้จักคิดแยบคาย

หรือรู้จักทำใจอย่างฉลาดเป็นปทัฏฐาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


4. สุขวิบาก-

มีสุขเป็นวิบาก คือเป็นสภาพที่ทำให้มีความสุข เมื่อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ ย่อมเกิดความสุข

สบายคล่องใจในทันทีนั้นเอง ไม่ต้องรอว่าจะมีผลตอบแทนภายนอกหรือไม่

เหมือนกับว่า เมื่อร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคเบียดเบียน (อโรค)

ไม่มีสิ่งสกปรกเสียหาย มลทินหรือของที่เป็นพิษภัยมาพ้องพาน (อนวัชชะ)

และรู้ตัวว่าอยู่ในที่มั่นคงปลอดภัยถูกต้องเหมาะสม (โกศลสัมภูต) ถึงจะไม่ได้เสพเสวย

สิ่งใดพิเศษออกไป ก็ย่อมมีความสบาย ได้เสวยความสุขอยู่แล้วในตัว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายของอกุศล ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่กล่าวมานั้น

คือ เป็นสภาพจิตที่มีโรค ไร้สุขภาพ มีโทษ มีตำหนิ มีข้อเสียหาย เกิดจากอวิชชา

และมีทุกข์เป็นผล (วิบาก)

พูดสั้นๆ อีกนัยหนึ่งว่า เป็นสภาพที่ทำให้จิตเสียคุณภาพ และเสื่อมสมรรถภาพ ตรงข้ามกับ

กุศลซึ่งส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เพื่อให้เห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น อาจบรรยายลักษณะของจิตที่ดีงาม ไร้โรค ไม่มีโทษ

เป็นต้น ให้ดูก่อน

แล้วพิจารณาว่า กุศลธรรมคือสิ่งที่ทำให้จิตมีลักษณะเช่นนั้น หรือกุศลธรรมทำให้เกิด

สภาพจิตเช่นนั้นอย่างไร

อกุศลธรรมคือสิ่งที่ทำให้จิตขาดคุณลักษณะเช่นนั้น หรือทำให้จิตเสื่อมเสียสภาพจิต

เช่นนั้นอย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง