Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง : พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 2:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



• คำพูดที่ว่ารสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง หมายความอย่างไรครับ

คำคำนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงตรัสเอาไว้ว่า

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

คือ เราชิมรสอย่างอื่นไม่ทางตา เห็นภาพ ได้ยินได้ฟังเสียง
มีกลิ่นหอม หรือได้สัมผัสนิ่มนวลอย่างไรก็ตาม
มันก็ยังไม่ได้ให้ความสุขที่แท้จริงกับคนเรา
มันเป็นความสุขที่ร้อนใจตามมา ได้แล้วก็อยากได้อีก ไม่มีความพอดี

• แสดงว่ารสพระธรรมทำให้เกิดสุขที่แท้จริงใช่ไหมครับ

รสต่างๆ เมื่อเราได้กินแล้วก็ต้องการต่อไป
มันก็ทำให้จิตใจของคนเรา มีความทะเยอทะยาน
มันไม่สงบ ไม่มีความสุขที่แท้จริง
ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสุขที่ไหม้

แต่สุขที่เกิดจากพระธรรมเป็นความสุขที่เยือกเย็น
เมื่อคนเราได้ปฏิบัติแล้วทำจิตใจเราได้รับความเยือกเย็น
ได้รับความสุขที่ลดละจากกิเลสเป็นความสุขที่เย็นใจ


เหมือนกับสิ่งที่เขาบอกว่า
เป็นความสุขที่หลุดพ้น เป็นความสุขที่สูงสุดอะไรทำนองนั้น

• วิปัสสนากรรมฐานช่วยลดในเรื่องความอยากได้อย่างไรครับ

วิปัสสนาก็คือ ปัญญา นั่นเอง
ได้แก่ ความเห็นแจ้ง เห็นจริง เห็นตามความเป็นจริง
เห็นวิเศษ ก็คือ เห็นรูปนามเกิดดับ
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เรียกว่า เห็นแจ้ง เห็นตามความเป็นจริง

อันนี้ถ้าหากว่าไม่รู้จัก ไม่เข้าใจเรื่องรูปนาม ไม่เข้าใจปรมัตถ์
เจริญสติไปสิบปี ยี่สิบปี หรือตลอดชีวิต ก็ไม่เป็นวิปัสสนา


• หลายคนเข้าปฏิบัติธรรมแล้วไม่เป็นสุข เป็นเพราะอะไรครับ

การปฏิบัติเท่าไหร่ๆ มันก็เกิดปัญญาไม่ได้
เพราะว่าระลึกไม่ตรง มันก็ได้แต่สมถะ


คือได้แต่สมาธิเท่านั้น ได้ความสงบ
ทำไปแล้วก็ได้ความสงบ ความสุข
ได้ความอิ่มเอิบจากสมาธิ

หรือได้ฤทธิ์ ได้เดช ได้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ เหล่านั้น
แต่ว่าไม่ได้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง
ก็ถอนกิเลสไปไม่ได้ ตัดกิเลสโดยเด็ดขาดไม่ได้
อย่างดีก็ได้แต่ข่มกิเลสเข้าไว้เรียกว่า วิกขัมภนปหาน

ตราบใดที่ยังสมาธิอยู่ก็รู้สึกว่า
จิตปลอดโปร่ง ไม่มีโลภโกรธหลง
แต่นั่นไม่ได้หมายความถึงว่า ตัดกิเลสขาด
เป็นเพียงแต่ว่ากิเลสนั่นถูกข่มเอาไว้เพราะมีสมาธิ

แต่ถ้าหากว่าสมาธิคลายลง
ได้รับอารมณ์ก็จะเกิดกิเลสขึ้นมาอีก
ทำบาปทำกรรมก็มีวิบากกรรมต่อไป ไม่จบสิ้น ไม่พ้นทุกข์

ถ้ามีกิเลสก็ทำกรรม
ถ้าทำกรรมก็มีวิบาก มีทุกข์ต่อไปไม่จบไม่สิ้น

• การวิปัสสนากรรมฐาน หากฝึกแล้วให้ได้ผลเป็นรูปธรรมจะเป็นอย่างไร

การเจริญวิปัสสนาก็ระลึก ทำหน้าที่ระลึก ตรงที่มันรู้สึก
เช่น เย็น มากระทบที่แขน มันรู้สึกเย็น
ก็ระลึกตรงที่มันรู้สึกเย็น แค่นั้นผ่านไป
พอมากระทบอีก ก็รู้อีก

หรือมันตึงขึ้นมาตรงขา ก็ระลึกตรงที่รู้สึกตึง
มันแข็งตรงไหน ก็ระลึกตรงนั้น
เย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง หย่อนบ้าง ตึงบ้าง

โดยเฉพาะทางกายมันปรากฏชัด
เหมาะกับการเจริญสติ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่
การกำหนดทางตา ทางหู กำหนดยากกว่าทางกาย


(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 26 เม.ย.2008, 3:51 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 3:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

• ครั้งแรกของการฝึกกรรมฐานควรเริ่มตรงไหนก่อนดีครับ

ถ้าฝึกใหม่ๆ อาตมาคิดว่าควรเริ่มระลึกทางกายไปก่อน
ระลึกรู้ความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่ปรากฏ
เพราะอันนี้มันเป็นรูปหยาบและปรากฏชัด
รูปที่มาปรากฏทางกายนี่มันหยาบ
มันเป็น มหาภูตรูป เป็นรูปใหญ่
เพราะฉะนั้นกำหนดได้ง่ายขึ้นตรงที่มันรู้สึก

พอกระทบมันก็รู้สึก ความรู้สึกเย็น ความรู้สึกร้อน
ความรู้สึกอ่อน ความรู้สึกหย่อน ความรู้สึกตึง
นี่เรียกว่า จิตที่เกิดทางกายทำนี่ ผุสสนะกิจ
ส่วนอารมณ์ทางจิตทางกาย
ก็คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบ
เป็นรูปสติระลึกไปเรื่อยๆ เป็นปรมัตถ์

• นอกเหนือวิปัสสนากรรมฐานแล้วยังมีอะไรอีกไหมครับ

คนเราไม่จำเป็นต้องฝึกกรรมฐานก็ได้
เพียงแต่ให้เรารู้จักการวิปัสสนาเจริญภาวนา
เป็นการฝึกจิตให้เป็นสมาธิเลย
แต่ถือว่าทำแล้วก็ยังไม่สามารถตัดกิเลสให้หมดไปได้

การวิปัสสนากรรมฐานหากทำแล้วจะทำให้คนเราเกิดปัญญา
รู้แจ้งเห็นจริง ทำให้เราละกิเลสได้
และดีกว่าเราเจริญภาวนาเพียงอย่างเดียว


เพราะในอดีตกาลเราจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้
พระองค์ท่านก็ฝึกวิปัสสนากรรมฐานให้จิตเป็นสมาธิดับทุกข์ได้


• แสดงว่าการปฏิบัติเช่นนี้ทำให้บวชไม่สึกหรือเปล่าครับ

ตอนที่อาตมาตัดสินใจบวชก็เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา
ตามความเชื่อของคนโบราณว่ามีลูกผู้ชายแล้วต้องให้บวชเรียน
อาตมาก็กะว่าบวชพรรษาเดียวก็จะสึกออกมา

กระทั่งอาตมาได้ฝึกปฏิบัติเจริญภาวนาทำให้ไม่คิดสึกอีกเลย
แต่ตอนพรรษาที่ ๑-๓ ก็มีเหมือนกันที่คิดจะสึก
เพราะว่าอาตมายังเป็นพระหนุ่ม
คิดว่าอนาคตเราน่าจะไปเป็นฆราวาสทำอาชีพเหมือนคนทั่วไป

เมื่อได้ปฏิบัตินานวันเข้าความรู้สึกจิตใจมันยิ่งสงบ
ทำให้เราเห็นคุณค่าของธรรมะในพระพุทธศาสนา
มีความสำคัญต่อสังคม
ความคิดจะสึกออกจากผ้าเหลืองก็เลือนหายไป


Image


• อย่างนั้นศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดมเหยงคณ์แห่งนี้
เป็นผลพวงมาจากการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อสิครับ


ใช่แล้ว อาตมาคิดว่าเราอยู่ในผ้าเหลืองสอนคนปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
ได้ดีกว่าสึกออกไปเป็นฆราวาส

วัดแห่งนี้ทรุดโทรมเป็นวัดร้างตั้งแต่ปี ๒๕๒๗
อาตมาเริ่มบูรณะด้วยการปลูกต้นไม้
ให้มีความร่มรื่นสร้างให้กับการปฏิบัติธรรม
จากคนเข้าร่วมปฏิบัติธรรมเริ่มต้นที่หลักสิบหลักร้อย
และเพิ่มเป็นหลักพัน

มีการแบ่งเขตปฏิบัติธรรมอกเป็นเขตกรรมฐานชาย กรรมฐานหญิง
เขตสำหรับผู้มาปฏิบัติแบบส่วนรวมซึ่งไม่ได้เข้ากรรมฐานเต็มที่
และเขตในส่วนของพระภิกษุ
จะเป็นการฝึกให้นอนไม้ นอนกลด กางเต๊นท์บ้าง ศาลาบ้าง


• ป้ายประกาศห้ามมีการเรี่ยไรเงินก่อนได้รับอนุญาตที่อยู่ภายในวัด
มีความเป็นมาอย่างไรครับ


อาตมาต้องการให้วัดมเหยงคณ์
เป็นวัดที่ให้คนเข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นหลัก
แต่ไม่มีการบอกบุญแจกซอง
มันก็จะทำให้วัดมีความวุ่นวาย

ซึ่งถ้าเป็นคนที่มีความศรัทธาก็จะไม่มีปัญหาเรื่องปัจจัย
แต่ถ้าคนไม่มีก็จะเดือดร้อน


ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงไม่แจกซองเรี่ยไรเงิน
ใครอยากทำบุญให้วัดก็ต้องไปที่สำนักงานของวัด
เพราะทางวัดจะมีคณะกรรมการงานวัดด้านการเงินเป็นผู้ดูแลรายรับรายจ่าย
มีฆราวาสช่วยทำบัญชีอย่างชัดเจน
โดยไม่มีพระภิกษุเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินปัจจัยใดใด

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 26 เม.ย.2008, 3:53 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2008, 3:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

• แล้วทำไมหลวงพ่อถึงไม่สร้างวัตถุมงคลอย่างวัดอื่นๆ บ้าง

ที่อาตมาไม่สร้างวัตถุมงคลก็เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในอุดมการณ์

จริงๆ แล้ววัตถุมงคลเรามีไว้เคารพบูชาเพื่อสื่อถึงพระพุทธเจ้า
ในสิ่งที่ดีงามก็เป็นสิ่งที่ดี
ซึ่งพระพุทธเจ้าเองก็มุ่งปฏิบัติให้ถึงหลักธรรม
คำสอนให้ตนเป็นที่พึงแห่งตน
ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
ให้คนเชื่อในหลักของกฏแห่งกรรม

อยากได้ความสุขความเจริญก็จะต้องทำความดี
และถ้าเราไม่ต้องการความหายนะ ก็อย่าไปทำความชั่ว

ความทุกข์ความสุขก็เกิดจากการกระทำของเรา
วัตถุมงคลจึงเป็นสิ่งของภายนอกที่ประกอบเท่านั้นเอง


• เพราะอะไรคนเราถึงยังยึดติดอยู่กับวัตถุมงคลครับ

คนใหม่ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรมมีวัตถุมงคลไว้เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ
ก็เป็นเรื่องดีไม่เสียหายอะไร
ถ้าเน้นวัตถุมากเกินไปก็จะเป็นธุรกิจ
แบบนี้ไม่ได้นำไปสู่หลักธรรมที่แท้จริง

ที่เรายังยึดติดอยู่กับพระเครื่อง
ก็เป็นแนวโน้วไม่อยากจะทำดี
ชอบความสบายอาศัยให้สิ่งเหล่านี้
ดลบันดาลเสียมากกว่าที่จะลงมือทำเอง

• วัตถุมงคลบันดาลหรือแสดงปาฏิหาริย์ได้อย่างไรครับ

ด้วยเหตุของการบันดาลที่เห็นกันนั้น
มันเกิดจากความดีของคนเราที่ได้ทำความดี มีกุศลไว้แล้ว
ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาอารักษ์
จะเป็นอุปกรณ์ของบุญได้สื่อออกมายังวัตถุมงคล
ให้ช่วยปกป้องจากภัยอันตราย

แต่ถ้าหากคนเราไม่มีบุญแล้ว
สิ่งศักดิ์เหล่านี้ก็จะช่วยไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นถ้าคนเรามั่นใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
ว่าบุญเกิดจากการกระทำ
เราก็ไม่ต้องไปให้ความสำคัญ
กับวัตถุมงคลมากกว่าการทำความดี


• หลวงพ่อให้ข้อคิดถึงหลักธรรมเพื่อนำไปใช้ในสังคมนี้อย่างไรบ้างครับ

อาตมาจะไม่ชี้ให้เห็นถึงนรก สวรรค์
ก็ไม่นำมาพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ว่ามีจริงหรืออย่างไร
ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้มุ่งหวัง
ให้ทุกคนต้องให้ความสำคัญกับนรกสวรรค์
หรือชาตินี้ชาติหน้า

แต่ถ้าใครบางคนบอกว่ายังพิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่ต้องเอาเรื่องนี้
ถึงแม้ว่าเรารู้ว่านรกสวรรค์มีจริง ก็ไม่ได้ทำให้เราดับทุกข์ได้

ดังนั้น การมาดับทุกข์ได้ดีต้องมาทำให้เรารู้ในความจริงในตนเอง
รู้จักข้อปฏิบัติของการดับทุกข์

คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นสัจธรรม
เรียกได้ว่าหลักธรรมะของท่านพิสูจน์ได้จากการกระทำ
เพราะความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น
มันเกิดจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง โมหะ
เป็นเรื่องก่อให้เกิดการฟุ้งซ่าน


ถ้าทดสอบตัวเราเองว่าเวลาโกรธเราทุกข์ไหม
ถ้าลองเอาหลักธรรมมาปฏิบัติสังเกตดูว่า
ความทุกข์ลดลงไหมหากทำได้เพียงเท่านี้
ก็ดำรงอยู่ในสงคมได้อย่างมีความสุข


Image


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา “รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง” ใน ธรรมดา ธรรมะตอบ ธรรมะสู่การรู้ตื่น
: พิมพ์ครั้งที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑, หน้า ๑๒๓-๑๒๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง