Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บทอัญเชิญเทวดา ใช้สวดตอนไหนคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 4:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบว่า บทอัญเชิญเทวดานั้น แท้จริงแล้ว ใช้ในโอกาสไหนคะ แล้วถ้าเรานำมาสวดอยู่ที่บ้านก่อนที่จะสวดมนต์ ทำได้ไหมคะ ?

ถ้าเราอัญเชิญเทวดามา แล้วเราควรจะอันเชิญเทวดากลับตอนไหนคะ ก่อนหรือหลังปฏิบัติกรรมฐานสายสติปฐานสี่คะ ?

เคยมีคนแนะนำว่าถ้าเราอัญเชิญเทวดามาสวดมนต์ด้วยจะยิ่งทำให้ อานุภาพในการสวดมีมากขึ้นค่ะ

สงสัยมานานแล้วค่ะ ซึ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2008, 7:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อยากทราบว่า บทอัญเชิญเทวดานั้น แท้จริงแล้ว ใช้ในโอกาสไหนคะ แล้วถ้าเรานำมาสวดอยู่ที่บ้านก่อนที่จะสวดมนต์ ทำได้ไหมคะ ?


ทำได้ เชิญเทวดาก่อนสวดมนต์ครับ

หากมีหนังสือมนต์พิธีว่าตามลำดับนั้นเลยครับ

หากสังเกตในงานทำบุญตามบ้านเรือน ก่อนพระจะเจริญพุทธมนต์

จะชุมนุมเทวดา หรือ อัญเชิญเทวดาก่อน เวลาไปงานบุญสังเกตดูครับ

อ้างอิงจาก:

ถ้าเราอัญเชิญเทวดามา แล้วเราควรจะอันเชิญเทวดากลับตอนไหนคะ ก่อนหรือหลังปฏิบัติกรรมฐานสายสติปฐานสี่คะ ?


เชิญมาแล้วเชิญกลับยังไม่เคยได้ยินใครพูดหรือทำนะครับ

เชิญมาแล้วแล้วกันเถอะครับ เทวดาจะกลับตอนไหนเมื่อไหร่เป็นสิทธิ

ของเทวดาเองที่จะตัดสินใจ

อ้างอิงจาก:

เคยมีคนแนะนำว่าถ้าเราอัญเชิญเทวดามาสวดมนต์ด้วยจะยิ่งทำให้ อานุภาพในการสวดมีมากขึ้นค่ะ



โอ...อันนี้ไม่จริงครับ อานุภาพมากหรือน้อยอยู่ที่ผู้สวดเอง

หากผู้สวดๆไปสัปหงกไป หลับๆตื่นๆ เทวดาก็ช่วยอะไรไม่ได้ครับ


ศึกษาเกี่ยวกับเทวดาลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15783
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 10:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้ความกระจ่างแก่ดิฉัน
นี่ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็จะถามคุณแม่ไปแล้วค่ะ
แต่ตอนนี้ท่านเสียชีวิตได้ 2 เดือนแล้ว

ตอนนี้ก็ยังรู้สึกเศร้าใจอยู่เลย ที่ดิฉันตั้งใจปฏิบัติกรรมฐานสติปฐาน4 ก็เพราะคุณแม่นี่แหละค่ะ เป็นครูบาอาจารย์ของดิฉันคนแรกเลยหล่ะ

ขออนุโมทนาบุญค่ะ
กุลธินันท์ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 10:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

ขอให้ผลจากการปฏิบัติกรรมฐานนี้จงสำเร็จสมดังเจตนานะครับ

แม่กรัชกายเสียไปนานแล้ว เศร้า

แต่ธรรมชาติความเป็นแม่ลูกความผูกพันก็ยังนึกถึงอยู่ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 2:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะนำ และกำลังใจ

ไหนๆก็พูดถึงคุณแม่แล้ว
ก็ขอเล่าเรื่องของคุณแม่ให้ฟังนะ เผื่อคนอื่นๆ ได้อ่านแล้วจะได้เป็นวิทยาทานด้วยค่ะ

คือคุณแม่เคยพูดบ่อยๆ ตั้งแต่ดิฉันยังไม่ถึง 5 ขวบเลย ว่า.... ท่านฝันว่า ท่านจะสบาย และรวยมาก จะได้อยู่บ้านหลังใหญ่โตเหมือนวิมาน ตอนอายุ 50 ปี (ตอนนั้นคุณแม่ก็อายุประมาณ 24 ปี) ท่านก็จะชอบถามคุณยายว่า ความเป็นไปได้มีอยู่ 2 อย่างคือ
1. ท่านจะรวยเพราะถูกหวยรางวัลที่ 1
2. ท่านจะตาย แล้วได้ขึ้นสวรรค์

แต่คุณยายท่านไม่ชอบให้พูดเรื่องตายบ่อยๆ ท่านก็เลยบอกว่า อายุแค่ 50 ปี คงไม่ตายหรอก เพราะตอนนั้นคุณยายก็อายุ 66 แล้ว น่าจะถูกหวยมากกว่านะ ดังนั้นคุณแม่ก็เลยซื้อหวยเก็บไว้ทุกงวดเลย ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง แต่ส่วนน้อยที่จะถูกนะ เท่าที่ถูกมากที่สุดก็ได้เงินรางวัล 2 แสนบาท เมื่อ 7 ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากว่าอยากถูกเยอะๆ บ่อยๆ เลยไปรับขันธ์บูชาครูจากองค์เทพเจ้า ค่ะ เท่าที่รู้...

องค์แรกที่ไปรับก็เป็นพระแม่กวนอิม (รับจากศาลเจ้าจีน แถวๆบ้าน) หลังจากรับแล้ว จะเห็นว่าท่านใจเย็นขึ้นนะ แล้วชอบปฏิบัติธรรมมากๆ ไปนุ่งขาวห่มขาวบ่อยๆ แต่พอเวลาผ่านไปก็ไม่เห็นว่าจะถูกหวยมากดังที่หวังไว้ ก็เลยคิดว่าน่าจะเปลี่ยนเทพเจ้าที่เก่งกว่านี้
ก็ถึงเวลาเปลี่ยนเทพเจ้า

องค์ที่ 2 ไม่รู้ว่าเป็นองค์เทพอะไร แต่เป็นพวกองค์เจ้าของทางภาคเหนือ ก็ได้รับการชักชวนจากร่างทรงคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนกัน แต่พอบูชาไปแล้ว ก็ยังไม่ดีขึ้น ก็ทำเหมือนเดิมค่ะ

องค์ที่ 3 พระแม่อุมาเทวี องค์นี้รับมา เพราะ ร่างทรงของพระแม่อุมา ให้ซื้อหวย แล้วงวดนั้น ถูก 2 แสนบาท ก็เลยต้องบูชาขันธ์องค์เทพ ตามที่สัญญาเอาไว้

แต่ไม่รู้ว่าเป็นกรรม หรือเปล่า ทั้งที่สวดมนต์ทุกวัน ทั้งทำวัตรเช้า-เย็น แล้วยังบวชเนกขัมมะบ่อยๆ แต่ก็ไม่ทำให้เรื่องที่จะเร่งให้ตัวเองรวยเร็วๆ ก่อนอายุ 50 ปี ลดลงเลย มีแต่จะไปแสวงหาเลขเด็ดๆ และยังขอเข้าสมาธิ เพื่อให้ครูบาอาจารย์ที่ตัวเองบูชาอยู่บอกเลขหวยแม่นๆอีก

ดิฉันก็พูดเสมอว่า ถ้าคนมันจะถูก ซื้อแค่ใบเดียวก็ถูกได้ กลับโดนด่าว่า ..ไม่ต้องมาทักแบบนี้ เสียฤกษ์ เสียยามหมด

ท่านก็เป็นอย่างนี้มาตลอดเลยค่ะ ฝันหวานแต่เลขเด็ดๆ จนกระทั่งดิฉัน และน้องชายเรียนจบแล้ว ก็ทำงานกัน แต่ต้องขอบคุณคุณแม่นะ ที่ส่งเสียลูก 2 คนจนจบ ป.ตรี เอง เพราะท่านแยกทางกับคุณพ่อตั้งแต่ดิฉันยังเด็กๆค่ะ ท่านหาเงินเก่งมากเลย ..

แต่อยู่ๆ ธุรกิจที่ท่านทำก็ล้มละลายค่ะ น่าจะเป็นเพราะ ท่านเอาขันธ์บูชาพระแม่อุมา ไปทิ้งที่วัดป่าแห่งหนึ่ง แต่ขากลับ รถยนต์ก็พลิกคว่ำ เหมือนกับจะเตือนสั่งสอนว่า ... เราไม่ควรเป็นคนไม่มีสัจจะ ซึ่งตอนนั้นก็หาได้คิดอะไรไม่ ก็ใช้ชีวิตปกติ มิหนำซ้ำการค้าขายของคุณแม่ ยิ่งแย่ลง ขายของได้แต่ไม่รู้เงินหายไปไหนหมด แล้วยังเป็นหนี้สินอีกหลายล้านบาท ทำให้ชีวิตตกต่ำลงเรื่อยๆ ท่านกลุ้มใจมาก ก็เลยคลายเครียดโดยการ ไปดูดวงค่ะ ที่ไหนที่ว่าแม่นๆก็ไปมาหมดเลย ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อายุ 50 ปี รวยแน่ สบายแน่นอน แต่ควรไหว้พระสวดมนต์ทุกวันนะ จะได้เสริมดวง แล้วโชคดีที่คุณแม่ท่านเชื่อ ก็เลยปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะไปขึ้นศาล ที่ไหนก็ชนะความค่ะ

ท่านก็เลยยิ่งเชื่ออานิสงค์ ของการสวดมนต์ไหว้รพระ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านทำอย่างนี้อยู่ 4 ปี พออายุจะครบ 50 ปี ก็มีโอกาสไปอยู่วัดพระธาตุจอมทองที่เชียงใหม่ ตอนแรกกะบวชเนกขัมมะ เพื่อต้อนรับอายุ 50 ปี แต่พอเจอหน้ากับพระอาจารย์ทอง หรือดิฉันเรียกว่าหลวงปู่ เพราะปีนี้ท่านมีอายุ 90 แล้วค่ะ

ท่านบอกกับคุณแม่ว่า... โยม หลวงปู่อยากให้ โยมบวชชีเลยนะ สัก 3 เดือนก็ได้ ตอนแรกคุณแม่ ก็งงมากค่ะ ไม่คิดว่าจะมีพระเอ่ยปากให้บวชชี ก็โทรมาถามดิฉัน ซึ่งดิฉันก็ปลอบใจว่า ก็ดีนะ ท่านคงอยากให้แม่ได้บุญเยอะๆ คงอยากให้รวยมากๆ เหมือนที่แม่ตั้งใจไว้ไง

แม่ก็ตัดสินใจบวชชีค่ะ แล้วดิฉันกับน้องชาย ก็ถือโอกาศไปปฏิบัติธรรมกับคุณแม่ที่วัดค่ะ ได้ 4 วัน ช่วงนั้นรู้สึกอิมเอิบใจมากค่ะ รู้สึกภูมิใจที่มีแม่เป็นแม่ชี

พอครบ 3 เดือน คุณแม่ก็ขอลากับหลวงปู่ แต่หลวงปู่ไม่ค่อยอยากให้ลาค่ะ ท่านจะพูดเสมอว่า อยู่ต่อเถอะนะ เพราะท่านคงเห็นว่าคุณแม่เป็นคนตั้งใจปฏิบัติจริง สอบอารมณ์ทุกวันไม่ได้ขาด ทำให้การปฏิบัติรุดหน้าเร็วมากค่ะ คุณแม่บอกว่า ญาณขั้นสุดท้ายที่ท่านรู้ก็คือ ไม่ว่าจะนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม ท่านเห็นว่าตัวท่านเองมีจิตที่ใสมากเหมือนลูกแก้วค่ะ น่าจะเป็นญาณชั้นที่ละเอียดพอสมควรนะ

แต่คุณแม่ห่วงลูกมาก ก็เลยอาศัยช่วงที่คนขอลาเยอะๆ ไปลากับกลุ่มนั้นด้วย พอออกจากวัดได้ ก็มาหาดิฉันเลยค่ะ แต่เราอยู่กัน 2 แม่ลูกได้แค่ 6 เดือน อยู่ดีๆ ท่านก็เส้นเลือดในสมองแตกค่ะ นอนอยู่ I.C.U 3 คืนก็จากไปเลยค่ะ

ท่าจากไปของท่านนั้นเหมือนคนนอนหลับเลยค่ะ มีเลือดออกที่ปากเล็กน้อย ตัวอุ่นๆ ตาปิดสนิท คิดว่าคงไปสวรรค์แน่นอนค่ะ

แล้วที่น่าแปลกก็คือ งานศพท่านนะ บรรยากาศดูสบายๆมากค่ะ อบอุ่นมากๆเลย ไม่มีใครคร่ำครวญเลยค่ะ ตอนนี้คุณแม่ดิฉันอยู่สวรรค์ชั้นยามา แล้วค่ะ ก็เลยตั้งไจว่าต้องฝึกจิตให้แก่กล้าค่ะ เมื่อเวลาที่ลาโลกไปแล้ว อย่างน้อยก็ขอให้ได้อยู่สวรรค์ชั้นเดียวกับท่าน จะได้คุยกันค่ะ

ขออภัยหากเรื่องยาวเกินไปค่ะ แต่คงช่วยให้ใครอีกหลายคน มีกำลังใจฝึกจิตนะคะ

โชคดีค่ะ
กุลธินันท์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณนะครับ สาธุ

เล่าเรื่องของแม่ ไม่ยาวหรอกครับ อ่านสะเพลินเลย

แต่ไม่เห็นที่เล่าถึงการปฏิบัติส่วนคุณเองเลยล่ะครับ

เป็นไงบ้างครับ ตอนนี้ยังปฏิบัติอยู่ไหม แล้วเป็นไงบ้าง ยิ้ม


อ้อ..เกือบลืม ถามคุณกุลธินันท์นิดหนึ่ง อาจารย์ทองที่คุณพูดถึง

ใช่องค์เดียวกันกับอาจารย์ทองวัดลำเปิงไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 3:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวดิฉันเองก็ทำทุกวันค่ะ ล่าสุดก็ไปบวชเนกขัมมะที่วัดเหยงค์ ช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมานี่เอง ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้คุณแม่ค่ะ ไปอยู่ได้ 3 วัน

ตั้งแต่นั้นมาดิฉันเริ่มทานอะไรก็ไม่อร่อย รสชาติจืดไปหมดค่ะ กินเหมือนให้รู้ว่าถึงเวลากินนะ ร่างกายจะได้มีแรง แค่นั้นจริงๆ ขนาดดื่มเป็ปซี่ ยังไม่ค่อยจะรู้รสชาติเลยค่ะ

ล่าสุด ดูทีวี อยู่ที่บ้าน เป็นรายการของต่างประเทศ เขานำภาพบางส่วนในโบสถ์ ซึ่งกำลังการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ มีเสียงร้องเพลงสรรเสริญพระเยซู ไม่น่าเชื่อพอตัวเองได้ยินเสียงร้องก็เกิดปิติ ตัวเย็นวูบวาบไปทั้งตัว แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองเบามากกำลังลอยขึ้นไปในอากาศ เป็นความรู้สึกว่า ดิฉันกำลังอยู่ในสรวงสวรรค์จริงๆค่ะ ดีใจจนน้ำตาไหลเลย มันเป็นเองนะคะ ไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดในวลาเพียง 1-2 นาทีเท่านั้น

ไม่รู้ว่าดิฉันควรกำหนดจิตยังไงดีคะ เพราะจิตตอนนี้เบามากๆ ???

แล้วที่การที่เราเกิดปิติได้ ง่ายๆ บ่อยๆนั้น เป็นเพราะจิตของเราละเอียดขึ้น หรือเป็นเพราะจิตยังไม่แก่กล้าพอคะ ???

อ้อ พระอาจารย์ทอง คือองค์เดียวกับวัดรำเปิงนั่นแหละค่ะ
ท่านประจำอยู่วัดพระธาตุจอมทองค่ะ ส่วนเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง ก็คือลูกศิษ ของท่านทองเองค่ะ ปฏิบัติสายเดียวกัน ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ตั้งแต่นั้นมาดิฉันเริ่มทานอะไรก็ไม่อร่อย รสชาติจืดไปหมดค่ะ กินเหมือนให้รู้ว่าถึงเวลากินนะ ร่างกายจะได้มีแรง แค่นั้นจริงๆ ขนาดดื่มเป็ปซี่ ยังไม่ค่อยจะรู้รสชาติเลยค่ะ




ต่อไปมีอารมณ์ผ่านเข้ามาทางอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

พึงกำหนดอารมณ์นั้นตามที่รู้สึกนะครับ

ก็กำหนดตามที่รู้สึกนั่นแหละ รู้สึกอย่างไรก็อย่างนั้น

แล้วจิตจะไม่ยึดติดถือมั่นต่ออารมณ์ความรู้สึกเช่นว่านั้น

อ้างอิงจาก:

ได้ยินเสียงร้องก็เกิดปีติ ตัวเย็น วูบวาบไปทั้งตัว แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองเบามากกำลังลอยขึ้นไปในอากาศ เป็นความรู้สึกว่า ดิฉันกำลังอยู่ในสรวงสวรรค์จริงๆค่ะ ดีใจจนน้ำตาไหลเลย มันเป็นเองนะคะ ไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดในเวลาเพียง 1-2 นาทีเท่านั้น

ไม่รู้ว่าดิฉันควรกำหนดจิตยังไงดีคะ เพราะจิตตอนนี้เบามากๆ ???

แล้วที่การที่เราเกิดปิติได้ ง่ายๆ บ่อยๆนั้น เป็นเพราะจิตของเราละเอียดขึ้น หรือเป็นเพราะจิตยังไม่แก่กล้าพอคะ ???



ก็ละเอียดประณีตขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็หวั่นไหวต่ออารมณ์ที่กระทบทาง

อายตนะง่าย

ต่อไปเมื่อเห็น ได้ยิน ฯลฯ แล้วรู้สึก เช่นว่านั้น เป็นต้น

พึงกำหนดตามอาการนั้นๆเสีย ไม่พึงปล่อยให้อาการ-อารมณ์ผ่านไป

โดยไม่กำหนดตามที่มันเป็น เมื่อกำหนดตามนั้นแล้วจิตจะค่อยๆแก่กล้า

เข้มแข็งขึ้นตามลำดับ


ก่อนหน้านี้กรัชกายเพียงแค่อ่านกระทู้ ที่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานเล่ามา

ก็ขนลุกทั้งตัวเป็นตุ่มๆเลยน้ำตาซึม

ในรายที่ประสบสภาวะแรงๆ เล่ามาน้ำตาไหลเองเลย

แต่ใช้กระทู้เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์แก่ตน แก้อารมณ์กรรมฐานตนเอง

ด้วยการกำหนดสภาวะนั้นตามที่มันเป็น "ขนลุกหนอๆๆๆ" "น้ำซึม

หนอๆๆๆ" ฯลฯ เป็นยังไงกำหนดตามนั้น ตามที่รู้สึก

เดี๋ยวนี้สงบเรียบเกือบไม่มีอาการนั้นแล้วครับ ปีติก็พึงกำหนดละครับ

แล้วจิตจะไม่ยึดติดไม่พวงต่ออารมณ์-อาการนั้นๆ จะก้าวต่อไป


อุปมาก็เหมือนๆ คนเดินทางเมื่อหลงชื่นชมสิ่งสวยงามหรือสิ่งแปลกใหม่

ข้างทางอยู่ ก็ติดพันวกวนอยู่ตรงนั้น ฉันใดก็ฉันนั้นครับ


อ้างอิงจาก:

ฯลฯ เพราะจิตตอนนี้เบามากๆ ???


ที่ว่าจิตเบามากๆ

มีคำถามว่า ตอนนี้คุณเดินจงกรมระยะไหนครับ หนึ่ง สอง สาม ฯลฯ

แล้วเดินกี่นาที นั่งกี่นาทีครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 3:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะคุณกรัชกายที่ตอบทุกคำถามเลย

ตอนนี้ดิฉันเดินระยะ3 (ยก-ย่าง-เหยียบ) 30 นาที่
แล้วนั่งระยะ3 (ยุบ-พอง-นั่ง) 30 นาที่ค่ะ แล้วตอนนอนก็กำหนดด้วยค่ะ
เพราะปกติแล้วเป็นคนที่นอนยากมาก คุณแม่ก็เลยจะบอกให้กำหนดตลอดค่ะ

ตอนนี้เวลาที่นั่งได้สักระยะหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกตัวแล้วค่ะ เหมือนคนที่ใกล้จะหลับแล้วสมองไม่รับรู้อะไร พอรู้ตัวอีกที ตัวเองก็นั่งสัปหงกอยู่ค่ะ พอนึกขึ้นได้ ก็กำหนดลมหายใจใหม่ แต่ไม่ไหวค่ะ มันง่วงมากๆ ทั้งที่เป็นเวลากลางวันแสกๆเลย ก็เลยต้องลุกขึ้นมาเดินจงกรมค่ะ อาการก็ดีขึ้น แต่พอกลับลงไปนั่งอีก เหมือนเดิม.. ก็ยังง่วงอยู่ดี คราวนี้ก็เลยปล่อยไปเลยค่ะ ง่วงก็ให้รู้ว่าง่วง พอสมองไม่รู้สึกอะไรสักพัก อยู่ๆก็ตื่นเองอีกค่ะ

เราควรจะทำยังไงกับอาการที่หลับ-ตื่น สลับกันตลอดเวลาคะ ??

แล้วเวลาที่เดิน พอเดินได้สักระยะก็รู้สึกว่าการสัมผัสของเท้าที่พื้นนั้นนุ่มมากๆ เบามากๆ แล้วความยาวของก้าวก็ค่อยๆสั้นลงด้วยค่ะ เหมือนกับร่างกายกำลังหาความยาวที่เหมาะสมในการก้าวให้เลย พอได้ระยะสั้นพอควร ทีนี้การเดินเป็นไปโดยอัตโนมัติค่ะ แทบไม่ต้องออกแรงยกเลยค่ะ

จากอาการที่ปรากฎทั้งการนั่งและเดินที่เล่ามานี้คุณกรัชกายคิดว่า ดิฉันควรกำหนดอะไรเพิ่มอีกไหมคะ ???

ขอบคุณค่ะ
กุลธินันท์ สงสัย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 5:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ตอนนี้ดิฉันเดินระยะ3 (ยก-ย่าง-เหยียบ) 30 นาที่
แล้วนั่งระยะ3 (ยุบ-พอง-นั่ง) 30 นาที่ค่ะ แล้วตอนนอนก็กำหนดด้วยค่ะ

ตอนนี้เวลาที่นั่งได้สักระยะหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกตัวแล้วค่ะ เหมือนคนที่ใกล้จะหลับแล้วสมองไม่รับรู้อะไร พอรู้ตัวอีกที ตัวเองก็นั่งสัปหงกอยู่ค่ะ พอนึกขึ้นได้ ก็กำหนดลมหายใจใหม่ แต่ไม่ไหวค่ะ มันง่วงมากๆ ทั้งที่เป็นเวลากลางวันแสกๆเลย ก็เลยต้องลุกขึ้นมาเดินจงกรมค่ะ อาการก็ดีขึ้น แต่พอกลับลงไปนั่งอีก เหมือนเดิม.. ก็ยังง่วงอยู่ดี คราวนี้ก็เลยปล่อยไปเลยค่ะ ง่วงก็ให้รู้ว่าง่วง
พอสมองไม่รู้สึกอะไรสักพัก อยู่ๆก็ตื่นเองอีกค่ะ

เราควรจะทำยังไงกับอาการที่หลับ-ตื่น สลับกันตลอดเวลาคะ ??



กรณีนี้พึงทำความเข้าใจเบื้องก่อน

จงกรมระยะ 1-3 เพิ่มวิริยะบรรเทาความง่วง

ระยะ 4-6 + นั่ง เพิ่มสมาธิบรรเทาฟุ้งซ่าน

ง่วงเหงาหาวนอน หรือที่เรียกว่า ถีนมิทธะเป็นกิเลสนิวรณ์ ขณะใด

จิตถูกนิวรณ์ตัวนี้ครองงำ มันง่วงไม่เลือกเวลาและสถานที่ครับ

ต่อให้อดข้าวอดน้ำหรือนอนเต็มอิ่มก็ตามมันหลับได้หมดแระ


พึงแก้ด้วยวิธีปรับอินทรีย์ คือ จงกรมให้มากกว่านั่งซัก 10 นาที เป็น 40

นาที นั่ง 30 นาที 40/30

เดินระยะ 1-3 คละๆ กัน ตัวอย่าง เช่น เดินระยะที่หนึ่ง 15 นาท

ที่เหลือระยะ 2-3 ปรับเอาครับ

หรือเอา ง่ายๆ จงกรม ระยะหนึ่ง 15 นาที ระยะสอง 15 นาที

ระยะสาม 15 นาที ก็ได้

ให้แนวทางกว้างๆไว้ปรับเอาเองครับ


ข้อสังเกตตนเอง ขณะใดจิตฟุ้งซ่านมาก ก็นั่งมากกว่าจงกรม หรือ

จงกรม ระยะ 4 หรือ 5 หรือ 6

หรือ เดินคละๆ กันจนกว่าจะครบเวลา


นั่งคุณกุลธินันท์ควรเพิ่มจุดกำหนดอีก เป็น 4 จุด ตัวอย่างเช่น พอง

หนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ

จุดถูก เลือกเอาเองว่าจุดไหนที่ปรากฏชัดในความรู้สึกเราก็เอาตรงนั้น


ส่วนกรัชกายเองเลือกตรงก้นกบที่กดกับพื้นเวลานั่ง


ให้กำหนดกว้างๆ ว่า 4 จุด แต่ปรับได้อีก เช่น ขณะใดท้องพองท้องยุบ

ปรากฏเร็ว ไม่ต้องกำหนดครบ 4 จุด ปรับให้เหมาะกับตนในขณะนั้น

หลักปฏิบัติยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวครับ


อนึ่ง ในขณะที่นั่งกำหนดนามรูปตามวิธีดังกล่าวอยู่ ยังไม่ถึงเวลาที่

ตั้งใจไว้ 30 นาที มันจะง่วงจนตายก็ไม่ลุกไปจงกรม นั่งอยู่อย่าง

นั้น รู้สึกง่วง “ง่วงหนอๆๆๆๆๆ” กำหนดในใจด้วยครับ “ง่วงหนอๆๆๆ”

อ้างอิงจาก:
“ง่วงก็ให้รู้ว่าง่วง”


คิดรู้แค่นี้กำลังไม่พอครับ ต้องกำหนดจิตลงไปเลยว่า “ง่วงหนอๆๆๆ”

อ้างอิงจาก:

พอสมองไม่รู้สึกอะไรสักพัก อยู่ๆก็ตื่นเองอีกค่ะ


นี่แหละธรรมชาติธรรมดาของมัน เมื่อถีนมิทธะดับง่วงก็หาย

จิตก็เป็นอิสระไม่ถูกกดทับด้วยกิเลสนิวรณ์

เมื่อไหร่เรากำหนดทันกิเลส ๆจะครอบงำจิตไม่ได้ นั่งทั้งวันก็ไม่ง่วง

เพราะมันรู้ทันกัน เมื่อถูกเรารู้ทันมันก็เข้ามาย่ำยีไม่ได้


กำหนดรู้ดูทันสภาวะทุกอย่างที่กระทบกายใจครับ

อ้างอิงจาก:

แล้วเวลาที่เดิน พอเดินได้สักระยะก็รู้สึกว่าการสัมผัสของเท้าที่พื้นนั้นนุ่มมากๆ เบามากๆ แล้วความยาวของก้าวก็ค่อยๆสั้นลงด้วยค่ะ เหมือนกับร่างกายกำลังหาความยาวที่เหมาะสมในการก้าวให้เลย พอได้ระยะสั้นพอควร ทีนี้การเดินเป็นไปโดยอัตโนมัติค่ะ แทบไม่ต้องออกแรงยกเลยค่ะ
จากอาการที่ปรากฎทั้งการนั่งและเดินที่เล่ามานี้คุณกรัชกายคิดว่า ดิฉันควรกำหนดอะไรเพิ่มอีกไหมคะ ??



มันเป็นอย่างนั้นเองครับ

ต่อไปกำหนดความรู้สึกเช่นนั้นด้วย ตัวอย่าง เช่น กำลังเดินๆอยู่ รู้สึกตัว

เบานุ่มนวล ฯลฯ กำหนดความรู้สึกนั้นด้วย หรือแค่ “รู้หนอ”

วิบเดียวแล้วตั้งสติจงกรมต่อ

สมาธิมากไปหน่อย แต่ไม่เสียหายนะครับ ยิ้ม

หมั่นสังเกตกายใจต่อไปนะครับ สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 7:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะคุณกรัชกาย

ขออนุโมทนาบุญค่ะ

คืนนี้ดิฉันจะไปเริ่มเลยนะคะ

แต่ขอสารภาพว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ห่างหายจากการปฏิบัติ 2 วันติดกันเลยค่ะ เพราะเกิดการสงสัยในตัวเอง อยู่ดีๆมันมีคำถามอยู่ในหัว ว่า.. ตกลงที่เราทำไปนี่มันถูกต้องแล้วหรือ แล้วเราต้องทำไป แล้วมันทรมานตัวเองอย่างนี้เพื่ออะไร กินก็ไม่ค่อยรู้รส นอนก็ไม่เต็มอิ่ม มันหลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืนค่ะ (ทั้งที่ภาวนาแล้วนะ) เป็นมาหลายวันติดกัน ก็เลยลองพักดูค่ะ

แต่ก็ไม่ใช่ว่าหนีไปเที่ยวที่ไหนนะ ก็เปลี่ยนมาอ่านหนังสือธรรมะ ก่อนนอนแทน อ่านจนหลับคาหนังสือเลย มันได้ผลค่ะ หลับสนิทมากๆ พอพักได้ 2 วันก็มีแรงมาปฏิบัติใหม่

อาการง่วงแล้วตื่นเองนี่ อารมณ์นี้ยังค้างอยู่จนถึงตอนที่เราหลับได้ด้วยหรือคะ ??

เพราะเมื่อคืนก็หลับๆตื่นๆ ทั้งคืน แล้วตื่นเช้าด้วยนะ(นอนเที่ยงคืน ตื่น 6 โมงครึ่ง)

แทนที่นอนหลับได้ไม่เต็มอิ่มจะรู้สึกหงุดหงิดง่าย แต่เปล่าเลยค่ะ ใครมากวนอารมณ์ให้ขุ่น ก็ไม่รู้สึกอะไรเลย น่าแปลกมาก เพราะอะไรคะ ??

ขอบคุณค่ะ
กุลธินันท์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 10:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แต่ขอสารภาพว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ห่างหายจากการปฏิบัติ 2 วันติดกันเลยค่ะ เพราะเกิดการสงสัยในตัวเอง อยู่ดีๆมันมีคำถามอยู่ในหัว ว่า.. ตกลงที่เราทำไปนี่มันถูกต้องแล้วหรือ แล้วเราต้องทำไป แล้วมันทรมานตัวเองอย่างนี้เพื่ออะไร กินก็ไม่ค่อยรู้รส นอนก็ไม่เต็มอิ่ม มันหลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืนค่ะ (ทั้งที่ภาวนาแล้วนะ) เป็นมาหลายวันติดกัน ก็เลยลองพักดูค่ะ



สังขารธรรมปรุงแต่งความคิดนานาประการเพื่อลวงเรา

ต่อไปเกิดรู้สึกอย่างไรคิดอย่างไรให้กำหนดอย่างนั้นเสีย กำหนดเสร็จ

ปล่อยความคิดเช่นว่านั้น


กินอาหารก็เช่นกัน ลิ้มรสแล้วรู้สึกอย่างไรกำหนดอย่างนั้น จะจืดชืด

ไร้รสชาด หรือรู้สึกเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กำหนดแล้วปล่อย


วิธีเจริญสติสัมปชัญญะ ฝึกได้ทำได้ทุกขณะไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน

ดื่ม ทำ นุ่งห่มเสื้อผ้าอาภรณ์ ซักผ้า หุงข้าวทำอาหาร กวาดบ้าน

เดินไปนั่นมานี่ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ

แม้แต่กำลังพิมพ์ข้อความนี้อยู่ ก็ใช้งานเหล่านั้นฝึกสติทำความรู้สึกตัว

ได้

ลิงค์อิทธิบาท 4 กับการทำงาน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744



เมื่อจะจงกรมก็ใช้กาย-เท้าก้าวไปเป็นสนามฝึกสติ ฯลฯ เมื่อทำสมาธิ

ก็ใช้ท้องพองและท้องยุบ ฯลฯ เป็นสนามฝึก


ว่างๆ ศึกษาแนวทางปฏิบัติสติปัฏฐานลิงค์นี้ ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497


อ้างอิงจาก:

อาการง่วงแล้วตื่นเองนี่ อารมณ์นี้ยังค้างอยู่จนถึงตอนที่เราหลับได้ด้วยหรือคะ ??

เพราะเมื่อคืนก็หลับๆตื่นๆ ทั้งคืน แล้วตื่นเช้าด้วยนะ - (นอนเที่ยงคืน ตื่น 6 โมงครึ่ง)

แทนที่นอนหลับได้ไม่เต็มอิ่มจะรู้สึกหงุดหงิดง่าย แต่เปล่าเลยค่ะ ใครมากวนอารมณ์ให้ขุ่น ก็ไม่รู้สึกอะไรเลย น่าแปลกมาก เพราะอะไรคะ ??



ได้ครับ

ตั้งข้อสังเกตให้ ขณะเดินจงกรมได้เรียบดี ก็ส่งผลถึงตอนนั่งภาวนาได้

เรียบด้วย


เมื่อฝึกจิตถึงระดับหนึ่งแล้วถึงเวลาคิดนึกให้นอนมันก็นอน

ถึงเวลาตื่นก็ตื่น นอนตื่นเดียวก็รู้สึกอิ่มสดชื่นเหมือนคนนอนมาทั้งคืน


เป็นธรรมดา จิตที่ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ที่กระทบทางตา ทางหู เป็น

ต้น มีผลมาจากการปฏิบัติกรรมนี้เอง

สังเกตความเปลี่ยนแปลงของกายใจต่อไปครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เสริมประเด็นที่เคยกล่าวว่านอนหลับยากหน่อยนะครับ

ตอนนอนไม่ต้องถึงกำหนดพอง-ยุบจริงจังนะครับ

ใช้สติคุมกายหลวมๆเบาๆผ่อนคลาย

โดยทำในใจว่าจะนอนหลับล่ะนะปล่อยให้มันหลับไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 1:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

ขอชมว่าคุณกรัชกายเป็นคนที่มีสามารถอธิบายหลักธรรมแล้ว สามารถเข้าใจได้ง่ายมากเลยค่ะ

ในโลกนี้ยังมีคนอีกมากมายเลยนะคะ ที่ตั้งใจปฏิบัติ แต่ยังไม่ก้าวหน้า พอไปสอบถามกับพระอาจารย์ ก็ฟังเข้าใจยาก เพราะเป็นภาษาของพระค่ะทำให้คนส่วนมากยังไม่ก้าวไปไหนเลย มีอีกเยอะนะคะ เพราะเจอมาแล้วกับตัวเอง

ขออนุโมทนาบุญค่ะ
กุลธินันท์

พุทโธ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 3:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

kunthinan พิมพ์ว่า:
ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอชมว่าคุณกรัชกายเป็นคนที่มีสามารถอธิบายหลักธรรมแล้ว สามารถเข้าใจได้ง่ายมากเลยค่ะ

ในโลกนี้ยังมีคนอีกมากมายเลยนะคะ ที่ตั้งใจปฏิบัติ แต่ยังไม่ก้าวหน้า พอไปสอบถามกับพระอาจารย์ ก็ฟังเข้าใจยาก เพราะเป็นภาษาของพระค่ะทำให้คนส่วนมากยังไม่ก้าวไปไหนเลย มีอีกเยอะนะคะ เพราะเจอมาแล้วกับตัวเอง

ขออนุโมทนาบุญค่ะ
กุลธินันท์
พุทโธ


ขอบคุณครับ สาธุ

(ในโลกเลยหรอครับ) มีไม่น้อยผู้ต้องการเปลื้องตนออกจากทุกข์

โทมนัสแล้วพากันปฏิบัติกรรมฐานรูปแบบต่างๆ แล้วติดวน


จะไม่กล่าวอะไรมาก เอาเป็นว่ากรัชกายขอฝากเรื่องนี้คุณกุลธินันท์หากมี

โอกาสก็ช่วยแนะนำท่านผู้ปฏิบัติแนวนี้ที่กำลังหลงสภาวะอารมณ์

ตามสำนักหรือวัดที่คุณไปมาด้วยนะครับ


ว่างๆก็อ่านสภาวะของจิตที่แสดงออกมาในรูปต่างๆกันที่นี่ครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=28&topic=รวมสภาวะของผู้เริ่มภาวนา

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=27&topic=คำบริกรรมภาวนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kunthinan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 20 ส.ค. 2008
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): AYUTHAYA

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 11:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะคุณกรัชกาย

ดิฉันได้ลงมือปฏิบัติ แก้ไขตามที่คุณกรัชกายแนะนำได้ 2 คืนแล้วค่ะ

ปรากฎว่าอาการที่ง่วงนั้นได้หายไปแล้ว เพราะเพิ่มการเดินมากว่านั่ง อีก 10 นาที

แต่ปรากฎว่า ตอนนี้ ดิฉันปวดขามากๆ เกร็งไปทั้งขาเลยค่ะ
ตอนที่นอน ก็นอนไม่หลับอีกแล้ว มันร้อนทั้งคืนเลย หลับๆ ตื่นๆ อีกแล้วค่ะ

ดิฉันควรแก้ไขยังไงดีคะ ทรมารสังขารมากๆ รู้สึกเพลียสุดๆ เลยค่ะ ??

ขอบคุณค่ะ
กุลธินันท์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 6:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ดิฉันได้ลงมือปฏิบัติ แก้ไขตามที่คุณกรัชกายแนะนำได้ 2 คืนแล้วค่ะ

ปรากฎว่าอาการที่ง่วงนั้นได้หายไปแล้ว เพราะเพิ่มการเดินมากว่านั่ง อีก 10 นาที

แต่ปรากฎว่า ตอนนี้ ดิฉันปวดขามากๆ เกร็งไปทั้งขาเลยค่ะ
ตอนที่นอน ก็นอนไม่หลับอีกแล้ว มันร้อนทั้งคืนเลย หลับๆ ตื่นๆ อีกแล้วค่ะ

ดิฉันควรแก้ไขยังไงดีคะ ทรมารสังขารมากๆ รู้สึกเพลียสุดๆ เลยค่ะ ??



สภาวธรรม คือ สิ่งเป็นเอง หรือสิ่งเกิดเองตามเหตุปัจจัยของนามรูป

กล่าวคือสิ่งนั้นเกิดสิ่งนี้ดับ เกิดๆ ดับๆ เพราะเป็นไตรลักษณ์


เมื่อธรรมะธรรมดาเป็นอย่างนั้นตามวิถีของมัน โดยไม่ฟังคำทัดทานหรือ

ข้อเรียกร้องของใครๆ

คุณกุลธินันท์ก็พึงเรียนรู้กายใจนี้ตามเป็นจริง

การปฏิบัติธรรมเพื่อเรียนรู้รู้เห็นความจริงนี้ครับ

ตัวอย่างที่ว่า
อ้างอิงจาก:

ปรากฎว่าอาการที่ง่วงนั้นได้หายไปแล้ว

แต่ปรากฎว่า ตอนนี้ ดิฉันปวดขามากๆ เกร็งไปทั้งขาเลยค่ะ
ตอนที่นอน ก็นอนไม่หลับอีกแล้ว มันร้อนทั้งคืนเลย หลับๆ ตื่นๆ อีกแล้วค่ะ


รูปนามแสดงความจริงของมัน แต่จิตเรายังรับความจริงนั้นยังไม่ได้

ก็จึงทุกข์ เพราะฝืนกระแสธรรมครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 6:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

แต่ปรากฎว่า ตอนนี้ ดิฉันปวดขามากๆ เกร็งไปทั้งขาเลยค่ะ
ตอนที่นอน ก็นอนไม่หลับอีกแล้ว มันร้อนทั้งคืนเลย หลับๆ ตื่นๆ อีกแล้วค่ะ

ดิฉันควรแก้ไขยังไงดีคะ ทรมารสังขารมากๆ รู้สึกเพลียสุดๆ เลยค่ะ ??


ก่อนหน้านี้เคยปวดแบบนั้นไหมครับ

อ้างอิงจาก:

ดิฉันควรแก้ไขยังไงดีคะ ทรมารสังขารมากๆ รู้สึกเพลียสุดๆ


หากสภาวะเกิดแรงดังกล่าว จะพักปฏิบ้ติสักระยะก่อนก็ได้ครับ

เมื่อกำลังใจมาแล้วค่อยเริ่มใหม่ ยิ้ม


กรัชกายก็เคยได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์เช่นกัน เพราะสภาวะทุกข์

เกิดแรง

แต่ได้ข้อคิดว่า เมื่อปฏิบัติติดตรงไหนแล้วหยุดเสีย

โดยยังแทงตลอดสภาวะนั้นไม่ได้ เมื่อหันมาปฏิบัติต่ออีก

ก็จะติดตรงนั้นแหละ จนกว่าจะกำหนดผ่านสภาวะนั้นได้

อ้างอิงจาก:


ตอนที่นอน ก็นอนไม่หลับอีกแล้ว มันร้อนทั้งคืนเลย หลับๆ ตื่นๆ อีกแล้ว
ค่ะ


คุณปฏิบัติเสร็จแล้วนอนเลยหรอครับ

หากเป็นอย่างนั้น ควรทิ้งช่วงสัก 2-3 ชม. ก่อนแล้วค่อยเข้านอน

เพื่อให้สภาวะคลายตัว

แล้วใช้วิธีดูร่างกายตอนนอนเบาๆหลวมๆ ดังกล่าวก่อนหน้าครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 6:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัจธรรมเป็นกฎธรรมชาติหรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา
พระพุทธเจ้าหรือศาสดามีฐานะเป็นผู้ค้นพบหลักความจริงนั้น แล้วนำมาเปิดเผยแก่ผู้อื่น
การได้รับผลจากการปฏิบัติ เป็นเรื่องของความเป็นไปอันเที่ยงธรรมตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ศาสดามิใช่ผู้บันดาล เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนจึง
จำเป็นต้องเพียรพยายามสร้างผลสำเร็จด้วยเรี่ยวแรงของตน ไม่ควรคิดหวังและอ้อนวอนขอผลที่ต้องการโดยไม่ทำ หลักพุทธศาสนาในเรื่องนี้ จึงมีว่า

“ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา - ความเพียร

ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก (ทาง) ให้”

(ขุ.ธ. 25-30/51)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่างไรก็ตาม การทำความเพียร ก็เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรม
ข้ออื่นๆ จะต้องเริ่มก่อตัวขึ้นในใจให้พร้อมและถูกต้องก่อน แล้วจึงขยายออกไปในการกระทำในภายนอกให้ประสานกลมกลืนกัน มิใช่คิดอยากทำความเพียร ก็สักแต่ว่าระดมใช้กำลังกายเอาแรงเข้าทุ่ม
ซึ่งอาจกลายเป็นการทรมานตนเองทำให้เกิดผลเสียได้มาก โดยนัยนี้
การทำความเพียรจึงต้องสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับธรรมข้ออื่นๆด้วย โดยเฉพาะสติสัมปชัญญะ มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ปัญญาดำเนินความเพียรให้พอเหมาะ อย่างที่เรียกว่าไม่ตึง และไม่หย่อนเกินไป
ดังเรื่องต่อไปนี้

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะพำนึกอยู่ในป่าสีตวัน ใกล้เมืองราชคฤห์ ท่านได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้าเดินจงกรมจนเท้าแตกทั้งสองข้าง แต่ไม่สำเร็จผล
คราวหนึ่ง ขณะอยู่ในที่สงัด จึงเกิดความคิดขึ้นว่า “บรรดาสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เราก็เป็นผู้หนึ่ง ถึงกระนั้น จิตของเราก็หาหลุดพ้นจากอาสวะหมดอุปาทานไม่
ก็แหละ ตระกูลของเราก็มีโภคะ เราจะใช้จ่ายโภคสมบัติและทำความดีต่างๆไปด้วยก็ได้
อย่ากระนั้นเลย เราลาสิกขา ไปใช้จ่ายโภคสมบัติและบำเพ็ญเพียรความดีต่างๆ เสียเถิด”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง