Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วัดประจำรัชกาลที่ ๙ : วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 6:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดประจำรัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

เทียน กระทู้ในบอร์ดใหม่ค่ะ เทียน

วัดประจำรัชกาลที่ ๙ : วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19317
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 7:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


• วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ


วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ เริ่มมาจากที่แต่ก่อนนี้ชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ นี้ ต้องประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งน้ำในคลองนั้นเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองรังสิต ผ่านสะพานใหม่ดอนเมือง บางซื่อ สามเสน และมารวมที่คลองลาดพร้าว ก่อนที่จะไหลลงคลองแสนแสบต่อไป

จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม ๙ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์คือ ทำการทดสอบการบำบัดน้ำเน่าเสียที่ไหลมาตามคลองลาดพร้าวส่วนหนึ่งให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยวิธีการเติมอากาศลงไปในน้ำ แล้วปล่อยให้น้ำตกตะกอน และปรับสภาพน้ำก่อนระบายลงสู่คลองตามเดิม จากแนวพระราชดำรินี้เองทำให้ชาวชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ และมีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม ๙ เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ ร่วมกับทางโรงเรียนหรือส่วนราชการต่างๆ

Image
บรรยากาศร่มรื่นภายในวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


“วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาล ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ซอยพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑๙ ถนนพระราม ๙ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๒๐

วัดเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีผูกพัทธสีมา-ฝังลูกนิมิตตามประเพณี

บริเวณที่ตั้งของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘ ไร่ ๒ งาน ๕๔ ตารางวา ด้านทิศเหนือยาว ๒๓๔ เมตร ติดกับโรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น ด้านทิศตะวันออกยาว ๖๑.๕ เมตร ติดคลองลาดพร้าว ด้านทิศใต้ยาว ๒๑๗ เมตร ติดกับที่ดินที่กั้นไว้เป็นถนนทางเข้า ด้านทิศตะวันตกยาว ๖๕ เมตร ติดกับโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

Image
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ประทานอนุญาตให้พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชสุมนต์มุนี เลขานุการในพระองค์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นองค์ปฐมแห่งอาราม ตั้งแต่วันอาสาฬหบูชาที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา พร้อมด้วยคณะสงฆ์ภิกษุสามเณรจำนวนหนึ่ง

พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ได้เล่าให้เราฟังว่า เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายโครงการในพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และบริเวณข้างเคียง โดยให้ทำการปรับปรุงสภาพพื้นที่และพัฒนาชุมชน บริเวณบึงพระราม ๙ ดำเนินการจัดตั้งวัดเพื่อเป็นพุทธสถานในการประกอบกิจของสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎรที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ ร่วมกัน

สำหรับที่ดินของวัด น.ส.จวงจันทร์ สิงหเสนี เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินบริเวณดังกล่าวให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อดำเนินการสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ มูลนิธิชัยพัฒนาได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้จัดสร้างวัด โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วัดนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวัดอื่นหลายประการ ที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือวัดนี้เป็นวัดขนาดเล็ก ใช้งบประมาณอย่างประหยัด และเรียบง่ายที่สุด โดยยึดหลักความพอดีและพอเพียงเป็นพื้นฐาน ภายในวัดประกอบด้วยพระอุโบสถ ศาลาเอนกประสงค์ สระน้ำ กุฎิเจ้าอาวาส กุฏิพระจำนวน ๕ หลัง โรงครัว สระน้ำ กังหันน้ำชัยพัฒนา บ่อบำบัด ห้องสมุด และอาคารประกอบที่จำเป็นเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคืออาคารทุกหลังจะทาด้วยสีขาวทั้งหมด เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด สวยงาม

Image
ด้านหน้าพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


สำหรับ “พระอุโบสถ” ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาปฏิบัติธรรมหรือมาร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรือวันสำคัญของชาติ นับว่าเป็นพระอุโบสถเพียงวัดเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่ปลูกสร้างแบบสมัยใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ และบริเวณโดยรอบเป็นสีขาวทั้งหลังซึ่งสามารถจุคนได้ประมาณไม่เกิน ๑๐๐ คน

ส่วนรูปแบบทางศิลปกรรม เป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยโบราณกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เน้นความเป็นเฉพาะตัวในแบบอย่างสถาปัตยกรรมปัจจุบัน โดยได้ต้นเค้าของการออกแบบพระอุโบสถมาจากพระอุโบสถ ๓ แห่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระอุโบสถวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ในเรื่องรูปเสาของพระอุโบสถ สำหรับความเรียบง่าย ส่วนมุขประเจิดจำลองแบบมาจากพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และได้นำเอาต้นแบบในการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบันมาจากพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี วัสดุก่อสร้างทั้งหมดเป็นของที่ผลิตภายในประเทศ

โครงสร้างพระอุโบสถวัดพระราม ๙ หลังคามุงกระเบื้องทำด้วยแผ่นเหล็กสีขาว องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้นปิดทองเฉพาะที่ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ช่อฟ้าใบระกาเป็นลวดลายปูนปั้น ไม่ปิดทองประดับกระจก ผนังและเสาก่ออิฐฉาบปูนเรียบทาสีขาว หน้าต่างใช้กรอบอะลูมิเนียม ลูกฟักเป็นกระจก เพดานพระอุโบสถเป็นไม้แบบเรียบ ฝังไฟเป็นระยะ โคมไฟในแนวกลางเดิมออกแบบเป็นโคมหวดหรืออัจกลับแบบเรียบ แต่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายโคมระย้าเป็นพุทธบูชาประดับไว้แทนรวม ๔ ช่อ สำหรับส่วนพื้นพระอุโบสถเป็นพื้นปูนแกรนิต ตลอดถึงพื้นโถงและบันไดหน้าหลังดูเรียบง่ายแต่สวยงามคลาสสิคสมเป็นสถาปัตยกรรมปัจจุบัน

สำหรับการประดับ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ที่หน้าบันพระอุโบสถนั้น เป็นพระราชกระแสรับสั่งในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและแสดงถึงพระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์ รวมถึงเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

Image
พระพุทธกาญจนธรรมสถิต พระประธานในพระอุโบสถ


สำหรับพระประทานที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเลือกแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร) จากการออกแบบเสนอโดยนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร (ในขณะนั้น) และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ทั้งหมด ๗ แบบ โดยพระองค์ทรงแก้ไขแบบเล็กน้อยด้วยพระองค์เอง

พระพุทธรูปปางมารวิชัยนี้มีลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ มีขนาดความสูงจากทับเสร็จ (หน้ากระดาน) ถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ขนาดหน้าพระเพลา ๑๒๐ เซนติเมตร โดยมีพระพุทธสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวาของพระประธาน ฐานชุดชีทำด้วยหินอ่อน ส่วนองค์พระพุทธรูปทำด้วยทองเหลือผสมทองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอุดมคติ และเหมือนจริงด้วยการห่มจีวรแบบพระสงฆ์ แต่มีพระเกศาแบบอุดมคติ สวยงาม กลมกลืนและปราณีตยิ่งนัก และทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธกาญจนธรรมสถิต

และเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเททองหล่อองค์พระประธานประจำพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


(มีต่อ ๑)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ชุมชนที่ยึดแนว ๓ ประสาน “บ้าน-วัด-ราชการ” ในย่านพระราม ๙


เจ้าอาวาสกล่าวถึงบทบาทของวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ที่มีต่อสังคมไทยในอนาคตว่า เป็นวัดตัวอย่างในลักษณะรูปแบบ “บวร” ซึ่งคำนี้มาจาก “บ้าน-วัด-ราชการ” มารวมกันหรือเรียกว่า ๓ ประสาน เหมือนในสังคมไทยเมื่ออดีต ซึ่งเป็นการผสมผสานของวิถีความสัมพันธ์แห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เป็นแบบฉบับที่ยึดถือเป็นแนวทางการพัฒนาในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนเป็นศูนย์รวมของชุมชนเพื่อพัฒนาด้านจิตใจ และสร้างความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นของสังคมโดยส่วนรวม ถือเป็นวัดตัวอย่างขนาดเล็กในชุมชนเมือง ที่เน้นให้คนในชุมชนได้ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

แม้จะเป็นวัดขนาดเล็กที่มีภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา ในพรรษาแรกของการจัดตั้งวัดเพียงแค่ ๗ รูป แต่กิจวัตรที่ภิกษุสามเณรทุกรูปได้ร่วมกันปฏิบัตินั้น ล้วนแต่เพื่อนำพุทธศาสนิกชนให้เห็นความสำคัญของพุทธศาสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำนุบำรุงรักษาวัดให้เรียบร้อยและเงียบสงบ สร้างความสะดวกสบายแก่การปฏิบัติสมณธรรม และเอื้ออำนวยต่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมของสาธุชน การเทศนาสั่งสอนประชาชนทุกวันพระ และนำพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางศาสนา

Image
โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นวัดนิกายธรรมยุตที่เน้นการปฏิบัติและเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งการเผยแผ่คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา การวิปัสสนาธุระ จิตตภาวนา การประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพุทธและประเพณีไทย กิจกรรมปลูกรากแก้วศาสนทายาทของแผ่นดิน และกิจกรรมปลูกมโนธรรมสำนึกแทนคุณ เป็นต้น

ที่สำคัญการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและอบรมจริยธรรมของวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๔ ประการ คือ เพื่อเป็นแบบอย่างการก่อสร้างวัดขนาดเล็กเพื่อเป็นที่สั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา, เพื่อเป็นที่อบรมศีลธรรมจริยธรรม, เพื่อการพัฒนา และเพื่อเป็นตัวอย่างของการปลูกฝังความใกล้ชิดระหว่างวัด โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานราชการ ให้มีลักษณะเกื้อหนุนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน คือ

Image
โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


๑. จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน โดยให้ภิกษุสามเณรผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดพระราม ๙ กาญจนภิกเษก ในชั่วโมงเรียนวิชาพระพุทธศาสนาและจัดบรรยายพิเศษนอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อันเป็นฐานของการขัดเกลาจิตใจสำหรับเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติในอนาคต

๒. จัดฝึกอบรมศีลธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน เป็นการฝึกธรรมจิตด้วยสมาธิวิธีและพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสมาธิในการเรียน มีสำนึกในทางศีลธรรม มีมารยาทที่ ดีงาม รู้จักทั้งประโยชน์แก่ส่วนรวมตามควรแก่สถานภาพ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มี “ห้องสมุดธรรมะ” และ “ห้องโสตทัศนศึกษา” สำหรับฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

ในห้องสมุดธรรมะของวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกแห่งนี้ มีหนังสือหลายเล่มที่น่าสนใจ และหนังสือที่วางแจกไว้เป็นธรรมทานที่สะกิดนักอ่านก็คือ หนังสือธรรมะจากผลงานเขียนของ พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ซึ่งใช้นามปากกาว่า “ปิยโสภณ”

Image
พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


๑) เรื่อง “เสน่ห์ผ้าชี้ริ้ว” ซึ่งมีคำคมเตือนใจไว้ว่า

- ก่อนจะคิดการใหญ่ ต้องหัดคิดการเล็กให้ได้ก่อน จะเป็นผู้บริหารต้องยอมตัวเป็นผู้บริหาร เหมือนผ้าขี้ริ้ว

- ผู้บริหาร คือ ผู้ยอมรับใช้เหมือนผ้าขี้ริ้ว ถ้าผ้าขี้ริ้วไม่สะอาดเสียแล้ว จะนำไปเช็ดถูอะไร ที่ไหนก็มีแต่จะเพิ่มความสกปรกให้ที่นั่น

๒) เรื่อง “รากแก้วของชีวิต” ซึ่งมีบทความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

- การปลูกสำนึกดี ไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ แต่ต้องการจิตวิญญาณของพ่อแม่ เป็นน้ำ เป็นปุ๋ย

- รางวัลอันแท้จริงของชีวิต คือ ความรัก ความอบอุ่น ความอุดม ร่มเย็นเป็นสุขของคนส่วนใหญ่ในแผ่นดิน

- รอยเท้าของบรรพบุรุษ คือ รากแก้วทางความคิด

- “บ้าน” คือ เบ้าหลอมความรักที่ดีที่สุดในโลก

- ขอให้เรามาช่วยกันทำบ้านให้เป็นสวนสวรรค์ของชีวิต สร้างบ้านให้เป็นเรือนพักกาย พักใจ ยามอ่อนล้าหมดแรง

๓) เรื่อง “อ้อมกอดแม่” มีคำคมที่อ่านแล้วน้ำตาคลอ คือ

- ครอบครัว คือ จุดเริ่มต้นของความรัก
พ่อแม่ คือ ต้นกำเนิดศาสนา
หากรู้สึกมีทุกข์ กอดลูกไว้ให้แน่น และหากรู้สึกไม่สบายใจ อ้อมกอดแม่อบอุ่น

- ยามรู้สึกอ่อนล้า ยาวิเศษคือกำลังใจ
กำลังใจ คือ กำไรของชีวิต กำลังใจ คือ ทิพย์โอสถ
กำลังใจหาได้จากครอบครัว ความรักที่แม่มีต่อลูก ความเอื้ออาทรที่ลูกมอบให้แม่

- กำลังใจ คือ ทิพย์โอสถของชีวิต ที่สามารถขจัดโรคร้ายทุกชนิดไปจากชีวิตได้ จงใช้โอสถทิพย์ชโลมใจ

- เราอาจสูญเสียบางอย่างไป แต่ก็เป็นเพียงส่วนเกินที่เราได้มาเราอาจคิดว่าเราสูญเสียทุก อย่างแล้ว ความจริงเป็นเพียงบางส่วนที่เป็นกำไร มิใช่ “ต้นทุน”

- ต้นทุนแท้จริงคือตัวชีวิต ตราบใดที่เรามีชีวิตเรายังสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้

๔) “บ้านมีชีวิต”

- บ้านเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ บ้านเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เมื่อพิจารณาให้ดี “บ้าน” มิใช่เพียงที่พักกาย แต่เป็นที่พักใจ และเรือนตายของคนทุกคนอีกด้วย

- กระท่อมน้อยที่มีความรักความเข้าใจ อาจเป็นวิมาณแสนสุขของพ่อแม่ลูกได้ดีกว่าคฤหาสน์ที่ปราศจากความอ่อนโยน

๕) เทปชุด “คำสอนของแม่” เรื่อง “ชีวิตคืออะไร”

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ๗ ประเด็น คือ
- ชีวิตคือการแข่งขัน
- ชีวิตคือการเดินทาง
- ชีวิตคือการเปลี่ยนแปลง
- ชีวิตคือการต่อสู้
- ชีวิตคือการเรียนรู้
- ชีวิตคือการแสวงหา
- ชีวิตคือความพ่ายแพ้และชัยชนะ

Image
ทัศนียภาพวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


(มีต่อ ๒)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 7:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอุโบสถสีขาวสะอาดตาของวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
และโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ก็ตั้งอยู่ด้านหลังของพระอุโบสถ



สิ่งสำคัญที่สาธุชนพึงกระทำเมื่อไปถึงวัดพระราม ๙ กาญจนภิกเษก คือการกราบสักการะบูชา พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน ๘๕๘ องค์ ที่มัลลกษัตริย์เก็บรักษาไว้ในพระสถูปใกล้บริเวณสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมืองกุสินารา รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่ง พระญาเณศวร อัครมหาบัณฑิต พร้อมคณะสงฆ์พุทธศาสนิกชนชาวพม่า-ธิเบต-เนปาล พร้อมรัฐมนตรี ทูตานุทูต ประกอบพิธีมอบให้คณะสงฆ์ไทย ซึ่งมีพระครูภาวนาจิตสุนทร เป็นประธานสงฆ์ รับมอบเมื่อ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ โรงละครแห่งชาติประเทศเนปาล ขณะนี้ประดิษฐาน ณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

การที่ชาวพุทธได้มีโอกาสนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีอายุกว่า ๒๕๐๐ ปี นี้ นับว่าเป็นบุญยิ่งใหญ่ของชีวิต เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

ฉะนั้น ขณะบูชาขอให้ท่านทั้งหลายน้อมจิตอธิษฐานให้ชีวิตของท่าน มีแต่ความสุขความเจริญ ตั้งใจที่จะทำหน้าที่ด้วยความชื่อสัตว์สุจริตต่อประเทศชาติและแผ่นดิน รวมถึงมวลมนุษยชาติ อธิษฐานจิตที่จะเป็นพุทธศาสนิกชนคุณภาพในพุทธศาสนา เป็นผู้ทำนุบำรุงหลักธรรมอันดีงามของพระพุทธองค์ให้ดำรงมั่นคงยาวนาน เป็นยารักษาโรคร้ายของคนในโลก

อธิษฐานจิตที่จะอุปถัมภ์ให้กำลังแก่พระภิกษุสงห์สาวกผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และพิทักษ์รักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ ขอให้น้อมแผ่เมตตา อธิษฐานจิตถึงปวงสรรพสัตว์ทั้งหลาย อย่าได้เบียดเบียนกัน ขอให้สัตว์ทั้งปวงจงมีแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากทุกข์ ภัย โรค โศก ศัตรู ให้มีมิตรภาพอันงามต่อกัน สุดท้าย ขอให้ปวงสัตว์จงพ้นจากกองทุกข์ในวัฏสงสาร ดั่งที่พระพุทธองค์ทางพ้นทุกข์ได้สิ้นเชิงแล้วนั้น

Image
โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


การตั้งจิตแน่วแน่บูชาพระบรมสารีริกธาตุ มีผลเลิศต่อการดำรงชีวิตได้อย่างน่าอัศจรรย์เสมอ หากทำด้วยดวงใจหนักแน่นมั่นคง ก็เพราะแรงแห่งสัตยาธิษฐานต่อสิ่งอันเป็นอุดมมงคลสูงสุดเช่นนี้ ย่อมเป็นคำอธิษฐานที่มีพลังต่อดวงจิตโดยตรง คนเราถ้าจิตดีแล้ว ต่อให้พบอุปสรรคร้อยแปด ก็จะไม่หวั่นไหว ขอให้เราตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นสัจจบารมีเพื่อให้มีกำลังใจ มิใช่เพื่อให้เกิดอำนาจดลบันดาล การบูชาอธิษฐานจิตต่อพระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นสิ่งให้ผลเลิศเป็นที่ประจักษ์ ทำให้คนที่หมดกำลังใจ ต่อสู้ขึ้นมาได้ด้วยแรงสัตยาธิษฐานอันเป็นธรรม และผู้ใดก็ตามที่มีส่วนในการดูแล แบ่งปัน เชิดชู พระบรมสารีริกธาตุ ผู้นั้นก็จะมีความสุขความเจริญในชีวิต ในธุรกิจการงาน มีกำลังใจมั่นคง กายใจของผู้นั้นจะเป็นภาชนะรองรับความถูกต้องดีงามตลอดไป ไม่มีสิ่งใดจะทำให้หลงผิดไปได้

จึงขอให้ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายอธิษฐานจิตบูชาตั้งมั่นไว้ในใจว่า ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตของเรา ด้วยความมุมานะบากบั่นของเราอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยการเสียสละของเราที่มีต่อชาติ พระพุทธศาสนาและผืนแผ่นดิน ต่อผู้ยากไร้ด้อยโอกาสตลอดมา ขอพุทธบารมีได้เป็นประจักษ์พยานต่อคุณความดีนั้น ให้เราสามารถพึ่งตนได้และให้คนอื่นสัตว์อื่นบนผืนดินได้พึ่งพาอาศัยตลอดไป ให้ตั้งจิตมั่นคงทุกครั้งที่ก้มกราบ อธิษฐานว่าขอให้เรามีกำลังใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคปัญหาใดๆ ให้มีสติปัญญาดี ขอให้เรามีความสุขใจ และมีความสำเร็จในชีวิต

การตั้งสัจจะอธิษฐานต่อองค์พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในชีวิตที่เรารู้สึกอึดอัด ติดขัดและขัดข้องอยู่ในใจ และเราต้องการกำลังใจ ต้องการคนให้กำลังใจ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ กำลังภายในส่วนลึกนั้นเป็นความละเอียดอ่อนส่วนตัวของแต่ละบุคคล เราต้องลงมือเอง หากเราต้องการความแน่วแน่ในการตัดสินใจในบางเรื่องที่ใจกำลังมืดมน เมื่อบูชาแล้วก็จะปรากฏมีพุทธานุภาพช่วยเราได้จิรง จากแรงแห่งสัจจบารมี

Image
โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


ขอให้เราตั้งสัจจะเพื่อเราจะได้มั่นใจในการทำงาน มิใช่ขออำนาจดลบันดาลโดยไม่คิดจะทำอะไร เพราะหากทำเช่นนั้น ก็จะมิใช่การบูชา แต่เป็นการบวงสรวงต่อรอง ซึ่งผิดหลักพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระท่านบอกว่า ทุกครั้งที่ขอพรจากพระ ขอให้สักการบูชา ตั้งสัจจะอธิษฐาน เมื่อตั้งสัจจะอธิษฐานแล้ว ก็ให้ถือสัจจะนั้นเป็นหลักสำคัญในการทำหน้าที่ด้วยความมุมานะบากบั่น ด้วยความสุจริตเป็นธรรม แล้วทุกอย่างก็จะสำเร็จได้จริงตามที่จิตปรารถนา ความจริงแล้ว สัจจะนั่นเองเป็นพลังอันสำคัญของชีวิต โดยเฉพาะสัจจะที่ตั้งไว้ดีแล้วต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบแล้ว จะมีพลังส่องใจให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชีวิตได้เป็นที่อัศจรรย์

คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อธิษฐานจิต ๓ จบ, ๙ จบ หรือ ๑๐๘ จบ ดังนี้.....อิติปิ โส ภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง, ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง, อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวมนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ

ขอพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ พุทธบารมีพระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ผู้ทรงไว้ซึ่งพระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ ที่ข้าพเจ้าได้บูชาแล้ว จงมีอานุภาพ พลานุภาพ บุญญฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ อำนวยพรส่งผลให้ข้าพเจ้าตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิตลอดชีวิต ขอครอบครัวของข้าพเจ้า ตลอดทั้งธุรกิจการงานของข้าพเจ้า จงชนะตลอดปลอดภัย ร่ำรวยตลอด ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ธรรมอย่างไร ขอให้ข้าพระพุทธเจ้า จงรู้ตามธรามอย่างนั้นด้วยเทอญฯ

นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยน.ส.จวงจันทร์ สิงหเสนี ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินอีกจำนวน ๕ ไร่ ซึ่งอยู่ติดกับวัดแด่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเปิดทำการสอนในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา และขยายโอกาสไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” และได้เปิดดำเนินการสอนมาแล้วตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๙ เป็นต้นมา

Image
ภายในพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ซอยพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑๙ ถนนพระราม ๙ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๓๑๘-๕๙๒๖-๗ โทรสาร ๐-๒๓๑๙-๑๑๒๓ สำหรับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งการเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา การวิปัสสนาธุระ การเจริญจิตตภาวนา การประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา-วันสำคัญของชาติ กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพุทธและประเพณีไทย กิจกรรมปลูกรากแก้วศาสนทายาทของแผ่นดิน และกิจกรรมปลูกมโนธรรมสำนึกแทนคุณ เป็นต้น

ความสำคัญของวัด : พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

สังกัดคณะสงฆ์ : ธรรมยุต

ดอกไม้ ประวัติคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044

เจ้าอาวาส : พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)
เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก รูปแรกและรูปปัจจุบัน

ประวัติเจ้าอาวาส :


พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ประทานอนุญาตให้มาดำรงตำแหน่งนี้ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ครองสมณเพศมาได้ ๔๖ พรรษา (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑) ศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบเปรียญธรรม ๕ ประโยค ท่านเป็นชาวจังหวัดนครปฐมโดยกำเนิด ได้บรรพชาตั้งแต่เป็นสามเณร

ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่วัดบวรนิเวศวิหาร จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางปกครองเป็นเลขานุการเจ้าคณะภาคธรรมยุต ๔-๕-๖-๗ และต่อมาได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพญาณวิศิษฏ์

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมบัณฑิต


เว็บไซต์ :
http://www.rama9temple.com/
http://www.watpraram9.net/
http://www.piyasophon.org/

การเดินทาง :

แผนที่ :
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1980


Image
พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง