Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2008, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก”

ฟังศาสนสุภาษิตบทนี้แล้ว แม้เข้าใจ และปฏิบัติให้ถูก
ไม่ทำตามใจตนเป็นสำคัญ ย่อมไม่ลำบาก

คือต้องสนใจดูใจตนเองให้รู้ให้เห็นอำนาจภายนอกที่เข้าไปครองใจอยู่
ใจจะต้องไม่ยอมพ่ายแพ้แก่อำนาจไม่ดีงามที่เข้าไปครองใจต้องมีสติรู้ให้ได้ว่า
อำนาจดีหรืออำนาจไม่ดีกำลังเข้าไปครองใจ
เพราะใจของเราทั้งหลายไม่พ้นจากอำนาจภายนอกได้เลย
อำนาจภายนอกจะเข้าไปทำอำนาจในใจเราทุกคนอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้เกิดความปรารถนาที่จะคิดพูดทำไปตามอำนาจนั้น


ท่านว่าท่านผู้หมดกิเลสแล้วเท่านั้นที่ไม่มีความปรารถนาใดๆ
อำนาจเลวร้ายใดใดไม่มีที่ที่จะเข้าบัญชาใจท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว
ให้คิดให้พูดให้ทำความไม่ถูกต้องไม่ดีงามทั้งหลายได้


แต่จะทำอาจหนักหนาอยู่เหนือผู้มีกิเลส
โดยเฉพาะผู้ที่กิเลสท่วมท้นจนขับไล่สติให้พ้นไปอย่างไม่หลงเหลือ
จะยอมตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสที่ครองใจอยู่
และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเป็นไปตามพระพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกมาแล้ว
คือ “ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก”

พระพุทธศาสนสุภาษิต “ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก” มีผลจริง

คือเป็นจริงเสมอไป ไม่มียกเว้นที่การประพฤติตามอำนาจจิตจะไม่ลำบาก
อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจพระพุทธศาสนสุภาษิตนี้ให้ดีว่า
หมายถึง อำนาจจิตที่เข้าบัญชาใจนั้นเป็นอำนาจที่เกิดจากความไม่ดีงามทั้งหลาย
คือเกิดจากกิเลส ความโลภความโกรธความหลง ที่เป็นไปในทางไม่ดี

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะมีความจริงที่ทางพระพุทธศาสนายอมรับ
เป็นความประณีตลึกล้ำของพระพุทธศาสนา
คือกิเลสบางตัวคือความโลภ
มีทั้งโลภในทางเลวร้าย และทั้งโลภในทางไม่เลวร้าย

แต่สำหรับความหมายสูงสุดแล้ว
ความโลภที่ไม่เป็นความเลวร้ายที่ถนัดชัดแจ้ง
เป็นความโลภที่ไม่ทำร้ายผู้ใดอื่น
นอกจากสามารถจะขวางกั้นผู้มีความโลภนั้น
มิให้เข้าถึงความไม่กลับเกิดอีกต่อไปได้

: แสงส่องใจ วันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๐
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2008, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อำนาจจิตที่เข้าบัญชาใจนั้นเป็นอำนาจที่เกิดจากความไม่ดีงามทั้งหลาย
คือเกิดจากกิเลส ความโลภความโกรธความหลง ที่เป็นไปในทางไม่ดี


สาธุ....สาธุ..สาธุค่ะคุณ I am สาธุ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง