Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ...ทำบุญน้อยแต่ได้บุญมาก...(มาลาวชิโร) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 28 มี.ค.2008, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในสมัยพุทธกาล มีเพื่อนของวังคันตพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของพระสารีบุตรเถระ
ชื่อ มหาเสนพราหมณ์ อยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นคนยากจน ไม่มีสมบัติอะไรเลย
เช้าวันหนึ่ง พระสารีบุตรเถระได้ออกไปบิณฑบาตที่บ้านของพราหมณ์นั้น
เพื่ออนุเคราะห์เขา แต่เขาคิดว่า บุตรของเรามาบิณฑบาตที่บ้านเรา
ตอนนี้เราเป็นคนยากจน ทรัพย์สมบัติหรือวัตถุสิ่งของอะไรๆ ที่จะใส่บาตรก็ไม่มี
บุตรของเราอาจจะไม่รู้เรื่องนี้ก็ได้
เมื่อคิดได้ดังนั้นเขาจึงหลบหน้า ไม่กล้าออกมาพบพระเถระ
ในวันต่อมาพระเถระก็ได้ไปบิณฑบาตอีก
พราหมณ์ก็ได้หลบหน้าอีกเช่นเคย แต่ในใจเขาก็คิดอยู่ว่า
“ถ้าวันไหนเรามีอะไรที่จะถวายพระเถระ เราก็จะถวายแก่ท่าน”
แต่วันแล้ววันเล่าเขาก็ไม่ได้วัตถุสิ่งของอะไรที่จะถวายพระเถระเลย

ต่อมาวันหนึ่ง เขาได้ข้าวปายาสเต็มถาด
และผ้าสาฎกเนื้อหยาบผืนหนึ่งจากที่แห่งหนึ่ง
เมื่อกลับไปถึงบ้านจึงนึกถึงพระเถระขึ้นมาว่า
“เราควรจะถวายสิ่งของเหล่านี้แก่พระเถระ”
ในขณะเดียวกันนั่นเอง พระเถระซึ่งกำลังนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่
เห็นพราหมณ์ในนิมิต และคิดว่า “ขณะนี้พราหมณ์ได้ไทยธรรมแล้ว
และอยากถวายสิ่งของเหล่านั้นกับเรา เราควรจะไปที่นั่น”
คิดดังนั้นแล้วจึงลุกขึ้นห่มผ้าจีวรพร้อมพาดสังฆาฏิ
เดินอุ้มบาตรไปยืนอยู่ที่หน้าบ้านของพราหมณ์

ฝ่ายพราหมณ์เมื่อมองไปเห็นพระเถระยืนอุ้มบาตรอยู่หน้าบ้าน
ก็เกิดมีจิตเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง จึงเข้าไปไหว้และนิมนต์ให้เข้าไปนั่งในบ้าน
แล้วนำข้าวปายาสมาถวาย ขณะที่เขานำข้าวปายาสใส่ลงไปในบาตรอยู่นั้น
พอใส่ไปได้ครึ่งหนึ่งพระเถระก็เอามือปิดบาตรไว้คิดว่าน่าจะพอแล้ว
เหลือไว้ให้พราหมณ์ได้กินบ้าง
เพราะเขาเป็นคนจนไม่มีอะไรเลย แต่พราหมณ์กลับบอกว่า
“ข้าวปายาสนี้มีนิดเดียว ขอท่านจงสงเคราะห์ผมในโลกหน้าเถิด
อย่าสงเคราะห์ในโลกนี้เลย กระผมอยากจะถวายทั้งหมด”
กล่าวแล้ว พราหมณ์จึงตักข้าวปายาสทั้งหมดใส่ลงไปในบาตร

เมื่อพราหมณ์ใส่บาตรเรียบร้อยแล้ว
พระเถระก็นั่งฉันอยู่ที่บ้านของพราหมณ์นั่นเอง
หลังจากฉันเสร็จ พราหมณ์ก็นำผ้าสาฎกมาถวายอีก แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า
“ขอให้กระผมบรรลุธรรมเหมือนอย่างที่พระคุณเจ้าบรรลุเถิด”
พระเถระจึงให้พรว่า “จงสำเร็จอย่างนั้น พราหมณ์”

จากอานิสงส์ที่ได้ถวายทานด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง
จึงทำให้เกิดความอิ่มอก อิ่มใจมาก
และพราหมณ์นี้ก็มีความเคารพรักในพระเถระยิ่งนัก
ดังนั้น เมื่อตายไปจึงไปบังเกิดในตระกูลของคนที่เป็นผู้อุปัฏฐากพระเถระ ในกรุงสาวัตถี

ในขณะที่มารดาของเขาตั้งครรภ์ นางได้งดการบริโภคอาหารที่ร้อนจัด
เย็นจัด และเปรี้ยวจัด เป็นต้น
ในเวลาแพ้ท้อง นางคิดว่า อยากจะนิมนต์ภิกษุสัก ๕๐๐ รูป
มีพระสารี-บุตรเถระเป็นประธานมาที่บ้านแล้วถวายข้าวปายาส
แล้วตนเองก็บริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากที่พระฉัน
นางได้ทำอย่างที่คิดนั้นความแพ้ท้องจึงสงบลง

เมื่อทารกคลอดออกมา พวกญาติจึงอาบน้ำให้แล้วให้นอนบนผ้ากัมพล
ที่มีราคาแพงถึงหนึ่งแสน และในวันนั้นก็ได้นิมนต์พระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน
ทารกที่นอนอยู่บนผ้ากัมพลนั้น ก็ได้แลดูพระเถระและคิดว่า
พระเถระนี้เป็นบุรพจารย์ของเรา เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยพระเถระนี้
เราควรจะทำบุญด้วยการบริจาคทานอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ท่าน

ดังนั้นในขณะที่พวกญาติอุ้มทารกไปรับศีลจากพระ
ทารกน้อยได้เอานิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลนั้นไว้
พวกญาตินึกว่าผ้าไปเกี่ยวติดมือเด็กจึงเอาออก ทำให้ทารกร้องไห้
พวกญาติจึงพูดกันว่า “พาไปที่อื่นเถอะ อย่าให้เด็กมาร้องไห้แถวนี้เลย”
แต่ก่อนจะพาทารกน้อยออกไปนั้น ก็ได้พาไปกราบลาพระ
ขณะนั้นเอง ทารกก็ชักนิ้วมือออกจากผ้ากัมพล
ทำให้ผ้ากัมพลตกลงใกล้เท้าของพระเถระ พวกญาติจึงพูดขึ้นว่า
“ผ้านี้อันบุตรของพวกข้าพเจ้าถวายแล้ว จงเป็นอันบริจาคแล้วเถิด”

หลังจากนั้นต่อมาเมื่อทารกน้อยเจริญวัย อายุได้ ๗ ขวบ
จึงได้ขอบวชเป็นสามเณรในสำนักของพระเถระ
และกลายเป็นผู้มีลาภมากอย่างน่าอัศจรรย์
จากผลแห่งการทำทานในอดีตชาติเมื่อครั้งยังเป็นพราหมณ์ผู้ยากจนนั่นเอง
ในครั้งหนึ่งชาวเมืองสาวัตถีทราบข่าวว่า สามเณรจะเข้าไปบิณฑบาต
ได้พากันจัดเตรียมข้าวปลาอาหารและผ้าสาฎกไว้ถวายสามเณร
จำนวนมากถึง ๕๐๐ ผืน ในวันต่อมาก็ได้ตามมาถวายถึงวัดที่สามเณรพักอยู่
ซึ่งไม่ไกลจากวิหารอีก ๕๐๐ ผืน เป็นหนึ่งพันผืน

วันหนึ่งในช่วงฤดูหนาว สามเณรได้เที่ยวจาริกไปในวัดต่างๆ
เห็นพวกภิกษุพากันนั่งผิงไฟอยู่ จึงเรียนถามว่า
“ท่านขอรับ เหตุไรจึงนั่งผิงไฟ ทำไมไม่หาผ้ากัมพลมาห่ม”

พวกภิกษุกล่าวว่า
“สามเณร เธอมีบุญมาก มีผู้ถวายผ้ากัมพล แต่พวกเราไม่มีเลย”

สามเณรได้ฟังดังนั้นจึงคิดหาผ้ากัมพลมาถวายภิกษุทุกรูป
โดยสามเณรและพวกภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ได้เดินไปตามหมู่บ้าน
มีชาวบ้านนำผ้ากัมพลมาถวายถึง ๕๐๐ ผืน
และเมื่อเดินเข้าไปในตลาดก็มีพ่อค้าแม่ค้าเอาผ้ากัมพลมาถวายอีก ๕๐๐ ผืน

ในขณะที่สามเณรพาภิกษุเดินไปตามตลาดอยู่นั้น
มีชายตระหนี่คนหนึ่ง เมื่อรู้ว่าสามเณรและพวกภิกษุเดินมาทางบ้านของตัวเอง
จึงเอาผ้ากัมพลสองผืนซ่อนไว้ เพราะกลัวว่าเณรจะขอ
แต่พอสามเณรเดินมาถึงหน้าบ้าน เขาได้เห็นสามเณรก็เกิดความรักขึ้นมา
ราวกับว่าสามเณรน้อยเป็นบุตรของตน เขาจึงคิดว่า เราจะให้สามเณรนี้ทุกอย่าง
แล้วจึงไปเอาผ้ากัมพลสองผืนมาวางไว้แทบเท้าถวายแก่สามเณร
แล้วกล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า ขอผมพึงมีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว”

สามเณรได้ทำอนุโมทนาแก่เขาว่า “จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด”

หลังจากได้ผ้าครบแล้ว สามเณรจึงได้นำมาถวายแก่พระภิกษุทุกรูปตามที่ตั้งใจไว้
ต่อมาสามเณรรูปนี้ได้ไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง
ชาวบ้านบริเวณนั้นก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดีเช่นเคย
และในสามเดือนต่อมาสามเณรก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

..............................................................

จะเห็นได้ว่า สามเณรนั้นตอนที่ยังเป็นพราหมณ์ผู้ยากจน
ได้ถวายสิ่งของเพียงเล็กน้อย
แต่ผลบุญที่ได้นั้นมากมายยิ่งนัก นั่นก็เพราะว่า
๑. ได้ทำบุญด้วยจิตที่เลื่อมใส
๒. ของที่ถวายก็ได้มาด้วยความบริสุทธิ์
๓. พระสงฆ์ที่รับก็เป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์
ทั้งสามองค์ประกอบนี้เป็นสิ่งสำคัญในการทำบุญ
ตามหลักของพระพุทธศาสนา
หากจะทำบุญให้ได้บุญมากนั้นต้องมีองค์ประกอบทั้งสามนี้ครบ
เพราะการจะได้บุญมากหรือน้อย ไม่ได้อยู่ที่จำนวนวัตถุสิ่งของ

นอกจากนั้นการทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น
ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้ผู้ทำบุญได้บุญมาก
โดยไม่ต้องใช้วัตถุสิ่งของใดๆ เลย
เพียงแต่ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเท่านั้น
เช่น การทำบุญด้วยการรักษาศีล
ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
ทำบุญด้วยการประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
ทำบุญด้วยการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น
ทำบุญด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้อื่น
ทำบุญด้วยการอนุโมทนาในบุญที่ผู้อื่นทำ
ทำบุญด้วยการฟังธรรม
ทำบุญด้วยการบอกธรรมะแก่ผู้อื่น
และทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง

วิธีต่างๆ ทั้งหมดนี้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ
เป็นหลักการทำบุญในพระพุทธศาสนา
ซึ่งผู้ที่ไม่มีเงินทอง วัตถุสิ่งของอะไรก็สามารถทำบุญได้
และเป็นบุญที่ให้ผลบุญมากๆ เช่นเดียวกัน


คัดลอกจาก...
หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดย มาลาวชิโร
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 มกราคม 2551 10:45 น.


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2008, 7:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุๆๆ ครับ

เขินอาย
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง