Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ...กลยุทธ์การครองเรือนอย่างมีความสุข... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2008, 3:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมะหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้คือ ฆราวาสธรรม ๔ ประการ
ฆราวาสธรรม แปลว่า ธรรมสำหรับการครองเรือน มีอยู่ ๔ ข้อด้วยกัน
คือ หนึ่ง สัจจะ แปลว่าความจริง
สอง ทมะ แปลว่า การฝึกฝนปรับปรุงตน
สาม ขันติ ความอดทน
สี่ จาคะ ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ


จะขอกล่าวถึงธรรม ๔ ประการนี้โดยสังเขป

• สัจจะ
ประการที่ ๑ สัจจะ ความจริง อาจแบ่งแยกได้ ๓ ด้าน
ความจริงขั้นที่หนึ่ง คือ ความจริงใจ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด
และเป็นรากฐานที่มั่นคงของความสัมพันธ์ที่ดีงาม
ความจริงใจแสดงออกเป็นความซื่อสัตย์ต่อกัน
จากนั้นก็จริงวาจา คือพูดจริง
ขั้นที่ ๓ จริงการกระทำ คือ การทำจริงตามที่ใจคิดไว้ ตามที่วาจาพูดไว้
ตลอดจนกระทั่งว่าการดำเนินชีวิต ประกอบกิจกรรมต่างๆ
ก็ตั้งใจทำจริงดังที่ตั้งความมุ่งมาดปรารถนาไว้
แต่ทั้งหมดนี้ก็มีความจริงใจนั่นเองเป็นรากฐาน
ความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ ที่สุดที่จะทำให้ความสัมพันธ์มั่นคงยั่งยืน

• ทมะ
ประการที่ ๒ ทมะ แปลว่า การฝึกฝน ปรับปรุงตน
ทมะนี้เป็นข้อสำคัญในการที่จะให้เกิดความเจริญก้าวหน้า

ประการแรกที่สุดที่จะเห็นได้ง่ายในความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันก็คือ
บุคคลที่มาอยู่ร่วมสัมพันธ์กันนั้น ย่อมมีพื้นเพต่างๆ กัน
มีอุปนิสัยใจคอและสั่งสมประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน
แต่เมื่อมาอยู่ร่วมกันแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้าหากัน
ในเมื่อมีพื้นเพต่างกันสั่งสมมาคนละอย่าง
ก็อาจมีการแสดงออกที่ขัดแย้งกัน หรือไม่สอดคล้องกันได้บ้าง
การที่จะทำให้เกิดความราบรื่นเป็นไปด้วยดี
ก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเข้าหากัน
รู้จักที่จะข่มใจไว้ แล้วรู้จักที่จะสังเกต
ใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งที่ผิดแปลกไปจากความคิดนึก
ตามความหวังความปรารถนาของตน
เมื่อไม่วู่วาม ข่มใจไว้ก่อน และใช้สติปัญญาพิจารณา
ก็หาทางที่จะปรับตัวเข้าหากันด้วยวิธีที่เป็นความสงบ
และเป็นทางที่จะรักษาน้ำใจกันไว้ได้
มีความปรองดอง สามัคคี อันนี้ก็เป็นการปรับตัวอย่างหนึ่ง

นอกจากนั้น ในการอยู่ร่วมกับบุคคลภายนอก
หรือในกิจการงานและสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย
เราก็ต้องรู้จักปรับตัวเข้ากับบุคคล การงาน และสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น
และรู้จักปรับปรุงฝึกฝนตัวให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการขวนขวายหาความรู้ให้เท่าทันสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ เป็นต้น
ชีวิตจึงจะเจริญก้าวหน้าได้

ทมะนี้ต้องมีปัญญาเป็นแกนนำสำคัญ
เพราะต้องรู้จักคิดพิจารณา และมีความรู้ความเข้าใจ
จึงจะปรับตัวและฝึกฝนปรับปรุงตนได้

• ขันติ
ประการที่ ๓ คือขันติ ความอดทน
ความอดทนเป็นเรื่องของพลัง ความเข้มแข็ง ความทนทาน

คนเมื่ออยู่ร่วมกัน ท่านว่าเหมือนลิ้นกับฟัน ย่อมมีโอกาสที่จะกระทบกระทั่งกัน
จึงต้องมีความหนักแน่น ความเข้มแข็งในใจที่จะอดทนไว้ก่อน
เรียกว่า อดทนต่อสิ่งกระทบใจ
นอกจากนั้นก็อดทนต่อความเจ็บปวดเมื่อยล้าทางกาย
และอดทนต่อ ความลำบากตรากตรำในการทำการงาน เป็นต้น
ซึ่งจะทำให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรคลุล่วงไปได้

ถ้าหากว่าบุคคลสองคนหรือหลายคนมาอยู่ร่วมกันแล้ว
เอาความเข้มแข็งที่มีอยู่ของแต่ละคนมารวมกันเข้า
ก็จะเพิ่มกำลังความเข้มแข็งให้มากขึ้น จะสามารถร่วมฝ่าฟันอุปสรรค
และเพียรสร้างสรรค์รุดหน้าไปสู่ความสำเร็จ
อันนี้เป็นเรื่องของขันติ ความอดทนที่จะช่วยเสริม
ให้มีความก้าวหน้าเจริญมั่นคง และพรั่งพร้อมด้วยความสำเร็จ

• จาคะ
ประการที่ ๔ จาคะ แปลว่า ความเสียสละ เริ่มแต่ความมีน้ำใจ
คือ ความพร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่ผู้อื่น
โดยเฉพาะผู้อยู่ร่วมกันก็จะต้องมีความเสียสละต่อกัน
เช่น เวลาฝ่ายหนึ่งไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วย
อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้อง เสียสละความสุขของตนเองเพื่อช่วยรักษาพยาบาล
อย่างน้อยก็มีน้ำใจ ที่จะระลึกถึง
เมื่อจะทำอะไรก็ตามก็คำนึงถึงความสุขของอีกฝ่ายหนึ่ง
อย่างนี้ก็เรียกว่ามีจาคะ

จาคะก็พึงเผื่อแผ่ไปยังญาติมิตร บิดามารดา หรือผู้อยู่ใกล้ชิด
ตลอดจนกระทั่งถึงเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป
ถ้าหากว่ามีกำลังพอ ก็สละทรัพย์สิน
สิ่งที่ตนมีอยู่นี้ในการอนุเคราะห์สงเคราะห์ผู้อื่น

จาคะนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน
และของคนทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่ไว้ได้

นี่คือหลักธรรม ๔ ประการ
ซึ่งมีความสำคัญในการ ครองเรือนโดยสรุปก็คือ

สัจจะ ความจริง เป็นรากฐานให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน
ประการที่ ๒ ทมะ การฝึกฝนปรับปรุงตน
เป็นเครื่องนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ในชีวิตและการงาน
ประการที่ ๓ ขันติ ความอดทน
เป็นเครื่องช่วยให้ความเจริญก้าวหน้านั้นเป็นไปได้สำเร็จ
เพราะมีความเข้มแข็ง มีพลังที่จะ ช่วยเสริม
และประการที่ ๔ จาคะ ความเสียสละ
มีน้ำใจ เป็นเครื่องบำรุงหล่อเลี้ยง มนุษย์ช่วยให้เกิดความชุ่มฉ่ำสดชื่น

ธรรมะ ๔ ประการนี้เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในชีวิต
เหมือนกับต้นไม้จะเจริญ งอกงามต้องมีรากฐานที่มั่นคง คือสัจจะ
มีความเจริญเติบโต คือทมะ
มีความแข็งแรง ของกิ่งก้านสาขาตลอดจนลำต้น นั่นคือขันติ
ซึ่งจะทนต่อดินฟ้าอากาศ ทนต่อสัตว์ทั้งหลายที่จะมาเบียดเบียน
และมีเครื่องบำรุงหล่อเลี้ยง เช่น น้ำและอากาศ เป็นต้น
ซึ่งช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นสดชื่น กล่าวคือ จาคะ ความมีน้ำใจ

เมื่อต้นไม้นั้นมีทุนในตัว เช่น มีน้ำมีอาหารหล่อเลี้ยงดี
มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไป ต้นไม้นั้นเองก็กลับให้ความร่มเย็นแก่พื้นดิน
และแก่พืชสัตว์ที่มาอาศัยร่มเงา ตลอดจนช่วยรักษาน้ำในพื้นดินนี้ไว้ด้วย
เช่นเดียวกับคนเรานั้น เมื่อได้สร้างเนื้อสร้างตัวโดยกำลัง
และเครื่องหล่อเลี้ยงขึ้นแล้ว ก็ไม่ได้มีกำลังแต่เพียงตัวเองเท่านั้น
แต่กลับเอากำลังและสิ่งที่บำรุงเลี้ยงนั้น ออกมาช่วยเหลือส่งเสริมผู้อื่น
และสิ่งนี้ก็กลับมาเป็นผลดีแก่ตัวเองด้วยอำนาจของจาคะนั้น


ธรรมะ ๔ ประการนี้แหละจะเป็นเครื่องทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้สำหรับคฤหัสถ์
คือผู้ครองเรือนทั่วไปให้ดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ๔ ประการนี้
จึงเรียกว่า ฆราวาสธรรม
เมื่อดำเนินชีวิตได้ดังนี้ก็นับว่าได้ประสบสิริมงคลอย่างแท้จริง


(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของหนังสือ “รักนั้นดีแน่ แต่รักแท้ดีกว่า”
จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 87 ก.พ. 51
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม)



คัดลอกจาก...ผู้จัดการออนไลน์

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 20 มี.ค.2008, 8:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาสาธุจ้า..เจริญธรรมครับ คุณลูกโป่ง

สู้ สู้ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 มี.ค.2008, 5:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะคุณลูกโป่ง สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง