Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ตำนานพระปริตร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2008, 6:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

~โ ม ร ป ริ ต ร~

บทขัดโมรปริตร

พวกพรานไพร แม้พยายามอยู่ช้านานก็ไม่อาจจะจับพระมหาสัตว์
ผู้กำลังบำเพ็ญโพธิสมภาร ได้เกิดในกำเนิดแห่งนกยูง
พร้อมทั้งรักษาตัวด้วยการสาธยายพระปริตรใด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ขอได้โปรดสาธยายพระปริตรที่เรียกว่า พรหมมนต์ นั้นเทอญ


ตำนาน

ครั้งเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภถึงภิกษุผู้ตกอยู่ในอารมณ์กระสันรูปหนึ่ง
จึงทรงตรัสพระธรรมเทศนา พระปริตรนี้ให้แก่ภิกษุนั้นฟัง มีความว่า

อดีตกาลเนิ่นนานมา มีพระราชาทรงพระนามว่า พรหมทัตต์
ครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เจ้าได้บังเกิดในครรภ์นางนกยูง
อันอาศัยอยู่ในป่าชายแดนกรุงพาราณสี
เมื่อพระโพธิสัตว์ออกจากไข่แล้ว มีผิวพรรณและสีขนเป็นเงางาม เป็นสีทอง
พร้อมประกอบด้วยลักษณะอันเลิศกว่านกทั้งปวง
เมื่อเติบใหญ่เจริญวัย ก็ได้เป็นเจ้าแห่งนกยูงทั้งปวง

วันหนึ่งพญานกยูงทองนั้นได้ไปดื่มในสระแห่งหนึ่ง
มองเห็นเงาของตนในน้ำ จึงได้รู้ว่าตนนี้มีรูปงามยิ่งกว่านกยูงทั้งหลาย

จึงคิดว่า ถ้าเราขืนอยู่รวมกับหมู่นกยูงทั้งหลาย
อาจจะนำพาภัยมาถึงหมู่คณะแก่ตัวเอง
เห็นทีเราจะต้องหลีกออกเสียจากหมู่ ไปหาที่อยู่ใหม่
คงจะต้องไปให้ไกลจนถึง ป่าหิมพานต์ เราจึงจะพ้นภัย


พญายูงทองนั้นคิดเช่นนี้แล้ว จึงออกบินไปด้วยกำลัง
ไม่ช้านักก็ถึงป่าหิมพานต์นั้น เสาะแสวงหาได้ถ้ำแห่งหนึ่ง
ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชัน ณ ป่าหิมพานต์นั้น
เป็นที่อยู่อาศัย เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม และปลอดภัยจากสัตว์ร้ายทั้งหลาย

ครั้นรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์จึงได้ออกจากคูหา
บินไปจับบนยอดเขา หันหน้าไปสู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
แล้วเพ่งมองดวงสุริยะเมื่อยามเช้า พร้อมกับสาธยายพระปริตร
ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า

อุเทตยัญ จักขุมาเอกะราชา เป็นต้น
เพื่อป้องกันรักษาตนในเวลากลางวัน
แล้วจึงเที่ยวออกไปแสวงหาอาหาร

ครั้นถึงเวลาเย็น เมื่อจะบินกลับเข้าที่อยู่ พญานกยูงทอง
ก็ไม่ลืมที่จะบินขึ้นไปจับอยู่บนยอดเขา หันหน้าสู่ทิศตะวันตก
แหงนมองดวงอาทิตย์ที่กำลังอัสดงลับขอบฟ้าไป
แล้วสาธยายมนต์พระปริตรขึ้นว่า

อะเปตะยัญจักขุมาเอกะราชา เป็นต้น เพื่อที่จะป้องกันภัย
รักษาตนในเวลาตลอดราตรี แล้วจึงบินกลับเขาไป อาศัยอยู่ในถ้ำจนตลอดรุ่ง

เช้าตรู่ของวันใหม่ พญายูงทองก็ทำดังนี้ทุกวันมิได้ขาด
พร้อมได้สถิตสถาพรตั้งมั่นอยู่ในความสุขสำราญตลอดมา
โดยมิมีทุกข์ภัยใดๆ มากล้ำกรายได้เลย


กาลต่อมา มีพรานป่าผู้หนึ่งเดินทางหลงป่ามาจนได้พบเห็น
พญายูงทองที่เกาะอยู่บนยอดขุนเขานั้น
แต่ก็มิได้ทำประการใด เพราะมัวแต่พะวงกับการหาทางออกจากป่า
จนพรานผู้นั้นหาทางกลับมาถึงบ้านพักของตน ก็มิได้บอกเรื่องที่ได้พบเห็น

พญานกยูงทองนั้นแก่ใคร จวบจนเวลาที่นายพรานผู้นั้นแก่ใกล้ตาย
จึงได้บอกเรื่องพญายูงทองให้แก่บุตรของตนได้ทราบ
แล้วสั่งว่าควรจะนำข่าวนี้ไปแจ้งแก่พระราชาให้ทรงทราบ
สั่งแล้วก็สิ้นลมตาย

ต่อมาภายหลัง พระมเหสีของพระเจ้าพาราณสีทรงพระสุบินนิมิตรไปว่า

ขณะที่พระนางทรงประทับอยู่ภายในพระราชอุทยาน
ที่ประทับอยู่ ณ ริมสระปทุมชาติ
ได้มีนกยูงสีทองบินมาจากทิศอุดร
แล้วร่อนลงจับอยู่ ณ ขอนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง
แล้วนกยูงทองนั้นก็ได้ปราศรัย แสดงธรรมให้แก่พระนางฟัง

กาลต่อมา พระเทวีทรงฝันต่อไปว่า
เมื่อพญายูงทองนั้นแสดงธรรมจบแล้ว นกยูงทองนั้นก็จะบินกลับ
ในฝันพระนางได้ตะโกนร้องบอกแก่บริวารว่า

ช่วยกันจับนกยูงที ช่วยกันจับนกยูงที
พระนางตะโกนจนกระทั้งตื่นบรรทม
นับแต่นั้นมา พระเทวีก็ให้อาลัยปรารถนาจักได้นกยูงทองตัวนั้นมา
จึงออกอุบายแสร้งทำเป็นทรงพระประชวร ด้วยอาการแพ้พระครรภ์


แล้วทูลขอพระสวามีว่า

การแพ้ท้องครั้งนี้จักหายได้ ก็ด้วยได้มีโอกาสเห็นพญายูงทอง
และสดับธรรมที่พญานกยูงทองแสดง


พระราชาพรหมทัตต์ จึงทรงมีรับสั่งให้เกณฑ์เหล่าพรานไพรทั้งหลาย
ที่อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี และรอบอาณาเขตพระนคร
เมื่อบรรดาพรานไพรมาประชุมพร้อมกันแล้ว
พระราชาจึงทรงตรัสถามว่า มีใครรู้จักนกยูงสีทองบ้าง

ขณะนั้นพรานหนุ่มผู้ซึ่งเคยได้รับคำบอกเล่าจากบิดาว่า
ได้เคยเห็นนกยูงทอง
จึงลุกขึ้นกราบบังคมทูลเนื้อความนั้นแก่พระราชา
พร้อมทั้งกราบทูลแจ้งที่อยู่ของพญานกยูงทองแก่พระราชาด้วย

พระราชาพรหมทัตต์ จึงทรงมีพระบัญชาว่า

ดีหล่ะในเมื่อเจ้าพอจะรู้ถึงถิ่นที่อยู่ของพญายูงทอง
เราก็จะตั้งให้เจ้ามีหน้าที่เป็นพรานหลวง
ไปจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้เราและพระมเหสี


พรานหนุ่มก็รับพระบัญชาจากพระราชา
แล้วออกเดินทางไปสู่ป่าหิมพานต์
เพื่อที่จะจับยูงทองตัวนั้นมาถวายพระราชาให้จงได้

จวบจนวันเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี
พรานหนุ่มซึ่งบัดนี้แก่ชราลงแล้ว
ก็ยังมิสามารถจับพญานกยูงทองนั้นได้
ครั้นจะกลับไปยังบ้านเมืองก็เกรงจะต้องอาญา
จึงทนอยู่ในป่าหิมพานต์จนกระทั่งตาย

ส่วนพระเทวี เมื่อเฝ้ารอพญายูงทองที่ส่งนายพรานไปจับ
ก็ยังไม่เห็นมาจนกระทั่งตรอมพระทัยตายในที่สุด

พระราชาพรหมทัตต์ทรงเสียดายอาลัยรัก พระมเหสีเป็นที่ยิ่งนัก
จึงทรงดำริว่า พระมเหสีของเราต้องมาตายโดยยังมิถึงวัยอันควร
เหตุน่าจะมาจากพญานกยูงทองตัวนั้นเป็นแน่

บัดนี้เราก็แก่ชราลงมากแล้ว
คงจะไม่มีโอกาสเห็นนายพรานคนใดจับนกยูงทองตัวนั้นได้เป็นแน่

ดีหละถ้าเช่นนั้นเราจะผูกเวรแก่นกยูงตัวนี้ ทรงดำริดังนั้นแล้ว

พระราชาพรหมทัตต์มีรับสั่งให้นายช่างทอง สลักข้อความว่า

หากผู้ใด ใครได้กินเนื้อของพญานกยูงทองที่อาศัยอยู่ ณ ป่าหิมพานต์
จักมีอายุยืนยาวไม่แก่ ไม่ตาย ลงในแผ่นทอง
แล้วเก็บรักษาไว้ในท้องพระคลัง


ต่อมาไม่นานพระราชาพรหมทัตต์ ก็ถึงกาลทิวงคตลง
แผ่นทองจารึกนั้น ก็ตกถึงมือของยุวกษัตริย์องค์ต่อมา
เมื่อทรงรู้ข้อความในแผ่นทองจารึกนั้นก็หลงเชื่อ
มีรับสั่งให้พรานป่าออกไปตามจับพญานกยูงทองมาถวาย
และแล้วพรานไพรนั้น ก็ต้องไปตายเสียในป่าอีก

เหตุการณ์ได้ดำเนินไปเช่นนี้ จนสิ้นเวลาไป ๖๙๓ ปี
พระราชาในราชวงศ์นี้ก็ทิวงคตไป ๖ พระองค์

แม้ว่าจะสิ้นพรานป่าไป ๖ คน พระราชาทิวงคตไป ๖ พระองค์
ก็ยังหามีผู้ใดมีความสามารถจับพญายูงทองโพธิสัตว์ได้ไม่


จวบจนถึงรัชสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ ผู้ครองกรุงพาราณสี
ได้คัดสรรจัดหาพรานไพร
ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นคนละเอียดรู้จักสังเกต รู้กลอุบาย

นายพรานคนที่ ๗ เมื่อได้รับพระบัญชา แต่พระราชา
ให้ออกไปจับนกยูงทอง ณ ป่าหิมพานต์
ก็จัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมบ่วงบาศ เพื่อจะไปดักจับพญายูงทอง

พรานนั้นใช้เวลาในการดักจับพญายูงทองสิ้นเวลาไป ๗ ปี
พญายูงทองก็หาได้ติดบ่วงของนายพรานไม่

นายพรานจึงมาใคร่ครวญดูว่า

เอ..ทำไมบ่วงของเราจึงไม่รูดติดข้อเท้าของพญายูงทอง
แต่ก็หาคำตอบได้ไม่


พรานนั้น ก็มิได้ละความพยายาม เฝ้าสังเกตกิริยา
และกิจวัตรประจำวันของพญายูงทอง
จึงได้รู้ว่าทุกเช้าและทุกเย็น พญานกยูงทองจักเจริญมนต์พระปริตร
โดยช่วงเช้าบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกมองพระอาทิตย์
ตอนเย็นหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองพระอาทิตย์ แล้วสาธยายมนต์

พรานนั้นสังเกตต่อไปว่า ในที่นี้หาได้มีนกยูงตัวอื่นอยู่ไม่
แสดงว่าพญานกยูงนี้ยังรักษาพรหมจรรย์อยู่
คงด้วยอำนาจของการรักษาพรหมจรรย์ และมนต์พระปริตร
ทำให้บ่วงของเราไม่ติดเท้านกยูงทอง

ครั้นนายพรานได้ทราบมูลเหตุดังนั้นแล้ว
จึงคิดจะขจัดเครื่องคุ้มครองของพญานกยูงทองเสีย


นายพรานนั้นจึงเดินทางกลับสู่บ้านของตน
แล้วออกไปดักนกยูงตัวเมียที่มีลักษณะดีในป่าใกล้บ้าน
ได้มาหนึ่งตัว แล้วจึงทำการฝึกหัดให้นางนกนั้น รู้จักอาณัติสัญญา

เช่น ถ้านายพรานดีดนิ้วมือ นางนกยูงก็จะต้องร้องขึ้น
ถ้าปรบมือนางนกยูงก็จะทำการฟ้อนรำขึ้น

เมื่อฝึกสอนนางนกยูงจนชำนิชำนาญดีแล้ว
พรานนั้นก็พานางนกยูงเดินทางไปยังที่ที่พญานกยูงทองอาศัยอยู่
แล้วทำการวางบ่วงดักเอาไว้
ก่อนที่พญายูงทองจะเจริญมนต์พระปริตร

พรานได้วางนางนกยูงลงใกล้ๆ กับที่ดักบ่วง แล้วดีดมือขึ้น
นางนกยูงก็ส่งเสียงร้องด้วยสำเนียงอันไพเราะจับใจ
จนได้ยินไปถึงหูของพญายูงทองโพธิสัตว์

คราที่นั้น กิเลสกามที่ระงับด้วยอำนาจของตบะ
และหลบอยู่ในสันดาน ก็ได้ฟุ้งซ่านขึ้นในทันที


เสียงนางยูงทองนั้นทำให้พญายูงทองโพธิสัตว์
มีจิตกระสันฟุ้งซ่านเร่าร้อนไปด้วยไฟราคะ
ครอบงำเสียซึ่งตบะ
ไม่สามารถมีจิตคิดจะเจริญมนต์พระปริตรสำหรับป้องกันตนได้เลย

พญานกยูงทองโพธิสัตว์จึงได้ออกจากคูหา
แล้วโผผินบินไปสู่ที่ที่นางนกยูงยืนส่งเสียงร้องในทันที

ขณะที่มัวแต่สนใจแต่รูปโฉมของนางนกยูง
พลันเท้านั้น ก็เหยียบยืนเข้าไปในบ่วงบาศของพรานที่วางดักไว้
บ่วงใดๆ ที่มิได้เคยร้อยรัดพระมหาโพธิสัตว์ยูงทอง ตลอดเวลา ๗๐๐ ปี

บัดนี้พญายูงทองโพธิสัตว์ได้โดนบ่วงทั้งสองร้อยรัดสิ้นอิสระเสียแล้ว

บ่วงทั้งสองนั่นก็คือ

“บ่วงกาม”
“บ่วงบาศ”


โอ้หนอ บัดนี้ทุกข์ภัยได้บังเกิดต่อพญานกยูงทองโพธิสัตว์เสียแล้ว
เป็นเพราะเผลอสติแท้ๆ เพราะนางนกยูงตัวนี้เป็นเหตุ
จึงทำให้พญายูงทองมีจิตอันเร่าร้อนไปด้วยกิเลส
จนต้องมาติดบ่วงของเรา

การที่เรามาทำสัตว์ผู้มีศีลให้ลำบากเห็นปานนี้ เป็นการไม่สมควรเลย
จำเราจะต้องปล่อยพญานกนี้ไปเสียเถิด
แต่ถ้าเราจะเดินเข้าไปปล่อยพญานกยูงทองนั้น
ก็จะดิ้นรนจนได้รับความลำบาก เห็นทีเราจะต้องใช้ธนูยิงสายบ่วงนั้นให้ขาด
เพื่อพญานกจะได้หลุดจากบ่วงที่คล้องรัดอยู่ นายพรานคิด


ครั้นนายพรานไพรผู้มีใจเป็นธรรมคิดดังนั้นแล้ว
จึงจัดการนำลูกธนูมาขึ้นพาดสาย แล้วเล็งตรงไปยัง
เชือกบ่วงที่ผูกติดกับต้นไม้ เพื่อหมายใจจะให้เชือกขาด

พญานกยูงทองโพธิสัตว์ ครั้นได้แลเห็นนายพรานโก่งคันศร
ก็ตกใจกลัวว่านายพรานจะยิ่งตนตายด้วยลูกศร
จึงร้องวิงวอนขอชีวิตต่อนายพรานว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านจับเราเพราะต้องการทรัพย์แล้วหละก็
ขออย่าได้ฆ่าเราเลย จงจับเราเป็นๆ เอาไปถวายพระราชาเถิด
พระราชาจะปูนบำเหน็จให้ท่านอย่างงามทีเดียวหละ


พรานไพร เมื่อได้ฟังนกยูงทองร้องบอกและขอชีวิตดังนั้น

จึงกล่าวว่า เรามิได้มีความประสงค์จะฆ่าท่านหรอก
การที่เราเล็งศรไปยังท่าน ก็เพียงเพื่อจะยิงเชือกบ่วงให้ขาด
เพื่อปล่อยท่านให้เป็นอิสระ


พญานกยูงทองโพธิสัตว์จึงร้องขอบใจต่อนายพราน

พร้อมทั้ง แสดงอานิสงส์ของการไม่ฆ่าสัตว์
และผลของการฆ่าสัตว์ว่าจะได้รับโทษทุกข์ทัณฑกรรมนานา

อีกทั้งชี้แจงให้พรานไพรได้รู้ถึงผลของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฐิ
ว่ามีโทษทำให้ตนและคนอื่นเดือดร้อน
ส่วนผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมมีผลที่ให้เกิดสุขทั้งตนและคนอื่น

ทั้งยังได้บอกประโยชน์ของการไม่คบคนพาล คบบัณฑิต
และที่สุด พญานกยูงทอง
ก็ชี้ให้นายพรานได้เห็นทุกข์ภัยของสัตว์นรก
ว่าเกิดจากความเมาประมาทขาดสติ


เมื่อสิ้นสุดธรรมโอวาท
พรานนั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกโพธิญาณ
ส่วนพญายูงทองก็ได้พ้นจากบ่วงทั้งสอง
คือ บ่วงกาม และบ่วงบาศ ที่เกิดจากเครื่องดักจับ
ในขณะที่นายพรานตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า


พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทำการประทักษิณ แก่พญานกยูงทองโพธิสัตว์
แล้วก็เหาะขึ้นไปบนอากาศ ไปสถิตอยู่ ณ คูหาบน ยอดเขานันทมูลคีรี

จบความเดิมที่เกิดมนต์โมรปริตรแต่เพียงนี้

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2008, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

~วั ฏ ฏ ก ป ริ ต ร~

บทขัดวัฏฏกปริตร

ด้วยเดชแห่งพระปริตรใด ทำให้ไฟไม่เผาไหม้
ในที่ที่พระมหาสัตว์ถือกำหนดเกิดเป็นนกคุ้ม
ผู้กำลังบำเพ็ญบารมี เพื่อเสริญสร้างพระโพธิญาณ

ท่านทั้งหลายโปรดจงสาธยายพระปริตรนั้น
ซึ่งมีเดชมากมาย ตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์
ที่พระโลกนาถเจ้าทรงตรัสไว้แก่พระสารีบุตรนั้นเถิด


ตำนาน

สมัยหนึ่ง สมเด็จพระศาสดาเสด็จจาริกไปใน แว่นแคว้นมคธ
เพื่อบิณฑบาตพร้อมด้วยพระสาวกตามเสด็จเป็นอันมาก

ครั้นเสด็จกลับหลังจากทำภัตรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
พระผู้มีพระภาค พร้อมภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก
เสด็จเข้าไปทรงประทับเจริญสมณธรรมในป่าแห่งหนึ่ง

ขณะนั้นได้บังเกิดไฟป่าขึ้นในทิศทั้งสี่
ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายต่างพากันตื่นตระหนกตกใจ
บ้างก็บอกว่าจะพากันไปช่วยดับไฟ
บ้างก็บอกว่าเรามาช่วยกันจุดไฟเพื่อสกัดไฟกันดีกว่า

ยังมีพระภิกษุผู้เป็นเถระบางรูป กล่าวเตือนขึ้นว่า

พวกเราจะตระหนกตกใจไปไย
พระบรมสุคตเจ้าทรงประทับอยู่ด้วยกับเราที่นี่
เราควรจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เพื่อให้พระองค์ทรงแนะนำเรื่องนี้จะดีกว่า


ภิกษุทั้งหลายจึงพากันไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ณ โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง
แล้วทูลเรื่องไฟป่าให้พระบรมศาสดาทรงทราบ

พระบรมสุคตเจ้าเมื่อทรงทราบ
จึงได้ทรงเสด็จลุกขึ้นยืนทอดพระเนตรไฟในทิศทั้ง ๔

ในทันทีนั้นไฟป่าที่พระบรมสุคตเจ้า
ทรงหันไปทอดพระเนตร ได้ดับไป
ดุจดังบุคคลถือคบเพลิงที่มีไฟลุกอยู่ แล้วจุ่มลงไปในน้ำ
ไฟนั้นได้ดับลงในฉับพลันฉันนั้น
โดยรอบพื้นที่ ๑๖ กรีส หรือประมาณ ๑ กิโลครึ่ง


ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงกล่าวสรรเสริญพุทธธานุภาพ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเป็นที่มหัศจรรย์ยิ่งนัก


องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตรัสว่า

การที่ไฟไหม้มาถึงภูมิประเทศนี้ โดยรอบ ๑๖ กรีส
แล้วดับไปหาใช่พุทธานุภาพของพระองค์แต่ชาตินี้ไม่ ไฟป่าที่ไม่
มีชีวิตย่อมดับไปเพราะกำลังแห่งสัจจะวาจาของเราที่มีมาแล้วแต่อดีต


ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงเรื่องที่มีมาแล้วแต่อดีต ความว่า

ในอดีตสมัยเมื่อพระองค์ ยังทรงเสวยพระชาติเป็น พญานกคุ้มโพธิสัตว์
ครั้นเมื่อออกจากฟองไข่ ก็ได้อาศัยอยู่ในป่า แคว้นมคธ
วันหนึ่งพ่อและแม่พญานกคุ้มพากันออกไปหาอาหาร
ปล่อยให้ลูกนกคุ้มอยู่ในรังตามลำพัง

ขณะนั้นได้บังเกิดไฟป่า
ปรากฏขึ้นมาจากทิศทั้ง ๔ รอบรังของลูกนกคุ้ม
อยู่ห่างจากรัง ๑๖ กรีส หรือหนึ่งกิโลครึ่ง


ขณะนั้นลูกนกคุ้ม ได้รู้ตัวว่าตนตกอยู่ในวงรอบของไฟป่า
จึงเหลียวหาบิดามารดา ก็ไม่เห็นลูกนกคุ้มจึงคิดว่า

โดยปกติธรรมดาสัตว์ เมื่อตัวลูกมีภัยก็ต้องอาศัยพึ่งพิงพ่อแม่
แต่บัดนี้พ่อแม่เรามิได้อยู่เสียแล้ว
เราคงจะต้องพึ่งพิงอิงอาศัยตัวเอง
ลูกนกคุ้มนั้นจึงตั้งสัจจะวาจาว่า


คุณของศีลมีอยู่
คุณของธรรมมีอยู่
คุณของสัจจะวาจานี้ก็มีอยู่จริง

ปีกทั้งสองข้างเรามีอยู่ แต่ยังบินไม่ได้
เท้าเราทั้งสองข้างมีอยู่ แต่ยังเดินไม่ได้
บิดามารดาทั้งสองเรามีอยู่ แต่บัดนี้มิได้อยู่กับเรา

นี้เป็นสัจจะวาจาของเรา
ไฟป่าที่ไม่มีชีวิตเอ๋ย
ด้วยเดชแห่งสัจจะวาจานี้
ขอไฟป่าจงดับไป


ครั้นเมื่อสิ้นสัจจะอธิษฐานของลูกนกคุ้ม
ไฟป่าที่ไหม้มาทั้ง ๔ ทิศ ก็ดับลงโดยพลัน
ดุจดังบุคคลถือคบเพลิงที่มีเพลิงลุก แล้วจุ่มลงในน้ำฉะนั้น
ไฟนั้นก็พลันดับไปในทันที


องค์สมเด็จพระชินศรีจึงทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

แต่บัดนั้นจวบจนถึงกาลนี้
ไฟป่าก็มิอาจเผาไหม้เข้ามาถึงเขตนี้ได้อีกเลย
ซึ่งมีอาณาเขตโดยรอบ ๑๖ กรีส โดยประมาณ ๑ กิโลครึ่ง


นี้แหละภิกษุทั้งหลาย เป็นอานุภาพของพระโพธิสัตว์ที่มีอยู่ในตัวนกคุ้ม
ผู้บำเพ็ญบารมี จนได้มาเป็นเราตถาคตในปัจจุบัน


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2008, 6:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

~โ พ ช ฌ ง ค ป ริ ต ร~

ตำนาน

สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น พระมหากัสสปะ อาศัยอยู่ในปิปผลิคูหา
บัง เกิดโรคาพาธแรงกล้า อาการหนักขึ้นทุกวัน
ขณะที่พระผู้มีพระภาค ทรงสถิตอยู่ในสมาบัติ

เมื่อถึงกาลอันควร ทรงออกจากสมาบัติแล้ว
จึงทรงมีพระกรุณาโปรด
เสด็จไปเยี่ยมอาการไข้ของ พระมหากัสสปะเถระ
ทรงแสดง โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ
ให้ท่านพระมหากัสสปะได้รับฟัง

เมื่อจบพระธรรมเทศนานั้น
พระมหากัสสปะ มีจิตโสมนัสยินดีรื่นเริงในธรรม
ลุกขึ้นกราบพระบาท หายจากอาการไข้โดยพลัน


อีกครั้ง ขณะที่พระบรมศาสดา
ทรงประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์
ครานั้นพระมหาโมคคัลลานะ
อาศัยอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎ เกิดอาการอาพาธหนัก

พระบรมศาสดาเมื่อทรงออกจากสมาบัติแล้ว
ได้เสด็จไปเยี่ยมอาการป่วยของพระโมคคัลลานะ
แล้วทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้ พระมหาโมคคัลลานะ ฟัง
พระมหาโมคคัลลานะ นั้นก็หายจากอาการป่วยโดยพลัน

แม้พระบรมศาสดาเอง
เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงพระประชวรหนัก ด้วยโรคปวดท้อง
มิมียาใดๆ รักษาให้หายได้
จึงมีพระพุทธฎีการับสั่งให้พระจุนทะเถระ
แสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้พระองค์ทรงสดับ

เมื่อ พระจุนทะเถระแสดง โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จบลง
พระบรมศาสดาก็ทรงหายจากอาการประชวรโดยพลัน
ทรงเสด็จลุกขึ้นจากพระบรรทมได้ในทันที


กาลนี้ ขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย
สาธยายโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้แก่คนยาก
ได้สดับเพื่อความสวัสดี จะพึงมีแก่ข้าต่อไป

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2008, 6:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

~อ ภ ย ป ริ ต ร~

ตำนาน

ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิตถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง
แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น
จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง

พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์
มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย

ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี
คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ


พระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียมประจำพิธีและสิ่งของ
ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก

ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี
พระมเหสีของ พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า


เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใดๆ เลย
ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน
พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู
มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไปรู้


ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร
แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า

ดูก่อนมหาบพิตร
ภัยอันตรายใดๆ จะพึงบังเกิดมีแก่พระองค์
จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้นหามีไม่
สุบินนิมิตของพระองค์
เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หลังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว


และในที่สุดพระผู้มีพระภาค
จึงทรงขอให้ พระเจ้าปเสนทิโกศล
ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว
ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร
เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น
ให้พินาศไปด้วยเทอญ


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2008, 7:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

~ม ง ค ล จั ก ร ว า ฬ~

ตำนาน

ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาบุรุษลักษณ ๓๒ ประการ
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองแล้ว ผู้มีบุญญาธิการ
อันหาประมาณมิได้ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ แลพระคุณอันใหญ่
อันสำเร็จได้ด้วยพระสิริ ปัญญาเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเครื่องรู้
พระเดชและพระชัย ที่สามารถห้ามเสียซึ่งสรรพอันตรายทั้งหลาย


ด้วยอานุภาพแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐
ด้วยอานุภาพแห่งมงคลทั้ง ๑๐๘ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระรัศมี มีฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเกตุมาลา
ด้วยอานุภาพแห่งบารมี ๑๐ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งอุปบารมี ๑๐ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งปรมัตถบารมี ๑๐ ประการ


ด้วยอานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธรัตนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมรัตนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆรัตนะ


ด้วยอานุภาพแห่งเดช
ด้วยอานุภาพแห่งพระกำลัง
ด้วยอานุภาพแห่งเญยธรรม
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน
ด้วยอานุภาพแห่งโลกุตตรธรรม ๙ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งสมาบัติ ๘ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระอภิญญา ๖ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณในอริยสัจ ๔


ด้วยอานุภาพแห่งพระทศพลญาณ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตา กรุณา อุเบกขา
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตรทั้งปวง
ด้วยอานุภาพแห่งสรณะ คือพระรัตนตรัย


ขอสรรพโรค สรรพโศก สรรพอุบาทว์
และความทุกข์กายทุกข์ใจ
ความคับแค้นใจทั้งปวงของท่านจงสูญหายไป
แม้อันตรายทั้งปวงสูญหายไป
ขอความปรารถนาของท่าน จงสำเร็จโดยพลัน
ขอความอายุยืน จงมีแก่ท่าน


ขอท่านจงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีในกาลทั้งปวง
ขอเหล่าเทพยดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในอากาศ
อยู่ในภูเขา อยู่ในป่า อยู่บนภาคพื้นดิน อยู่ในแม่น้ำมหาสมุทร
จงตามรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อเทอญ


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๕)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2014, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

• ตำนานพระปริตร : เ จ็ ด ตำ น า น
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19722

• ตำนานพระปริตร : สิ บ ส อ ง ตำ น า น
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19723

• ความหมายและการสวดพระปริตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=44177

• พิธีสวดพระปริตรรามัญ : พระมหาจรูญ ญาณจารี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=30982

• ว่าด้วยโมรปริตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=30605
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง