Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จุดแท้จริงของความเป็นคน ! (ท่านพุทธทาสภิกขุ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2005, 2:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

จุดแท้จริงของความเป็นคน !
โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ



ข้าพเจ้าเคยพบคนหลายคน ที่มีความรู้สึกภายในใจรุนแรง จนแสดงออกมาทางกายวาจา ว่า ท่านแน่ใจเป็นที่สุดแล้ว ว่า ท่านเป็นคนเต็มเปี่ยม ตามคำแปล หรือความหมายของคำว่าคน ท่านหยิ่งตัวเอง เพราะเหตุนี้ และเห็นว่า เรื่องที่พวกเพื่อนๆ นำมาคุย มาเล่าให้ฟังนั้น ยังต่ำเกินไป ไม่ถึงขีดของความเป็นคน หรือเป็นเรื่องลัทธิครึเก่าเกินสมัย เรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น

ทีนี้ ข้าพเจ้าตั้งอกตั้งใจพิจารณาดู จุดแท้แห่งความเป็นคนของท่านเหล่านั้นว่า คืออะไรกันแน่ ในที่สุดพบว่าจุดแห่งความเป็นคนของท่านเหล่านี้ ตามที่ท่านเข้าใจ ก็คือ การที่ท่านสามารถหารายได้ มากๆ ทำงานเบา มียศศักดิ์สูงๆ และสามารถหาความเพลิดเพลินทุกประการ มาให้แก่ตนได้ตามวิธี หรือลักษณะที่นิยมกัน ว่า เป็นการกระทำของคนชั้นสูง หรือจะสรุปให้สั้นที่สุด ความเป็นคนของท่าน ก็คือ ความมีเกียรติอันสูงสุดนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ เข็มอันชี้จุดแห่งความเป็นคน ของท่าน ก็ได้ชี้บ่งไปยังการได้ทำงานชนิดมีเกียรติมาก มีผลมากนั่นเอง และทำด้วยตัณหา คือ ความอยาก เป็นนั่น เป็นนี่

ความเห็นอย่างแจ่มแจ้งได้ขยายตัวออกไป ตามแนวนั้นอีกว่า คนคือสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นแก่ตัวจัด เป็นทาสแห่งความทะเยอทะยานของตัว ยิ่งกว่าสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด และคนคงมิใช่สัตว์ที่เกิดมาเพื่ออิสรภาพ และความสุขอันสงบ เพราะถ้าเกิดมาเพื่อความสุขสงบ ก็คงไม่ยอมตนเป็นทาสของความเห็นแก่ตัว ที่บังคับให้ทำ ให้คิด เพื่อตัว ทุกๆ ชั่วโมง แม้เวลาหลับ ก็ยังฝัน แม้บนเตียงที่นอนเจ็บ ก็ยังครุ่นคิด เพื่อการหาสิ่งบำเรอตัว สัตว์ที่ไม่ใช่คน ย่อมได้รับการพักผ่อน หรือความสงบยิ่งกว่า สัตว์ที่เรียกว่าคนประเภทนี้ มากนัก

อีกอย่างหนึ่ง คนคือสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งขยาย "พวงอัตตา" หรือ "พวงตัว" ออกเรื่อยๆ โดยไม่มีเวลาสิ้นสุด และการขยายนั้นก็เพื่อตนจะได้แบกไว้เองเท่านั้น ครั้งแรกมีอัตตาหรือตัวเพียงตัวเดียว พอ "ความเป็นคน" มากขึ้น ก็มี ภรรยา สามี ลูกหลาน ข้าทาสบริวาร หรือ อันเตวาสิก สัทธิวิหาริก พอกขึ้นเป็นพวง เมื่อสิ่งที่เรียกว่า "บุญบารมี" มากขึ้น บริวารเหล่านั้นต่างก็มีการขยายพวงของตัวออกไปๆ และพวงน้อยๆ เหล่านั้น รวมกันเป็น พวงใหญ่ พวงเดียว อีกต่อหนึ่ง โดยมี อัตตา ตัวแรกนั่นเอง อ้าออกรับเป็นเจ้าของพวง ผู้มีเกียรติ หยิ่งตัวเอง เสมอว่า การที่สามารถหิ้วพวงใหญ่ๆ เช่นนั้นไว้ได้นั้น เป็น "เกียรติอันสูงสุด" นี่เป็นจุดหมายของความเป็นคน ปริยายหนึ่งซึ่งน่าจะสรุปได้สั้นๆ ว่า เกียรติของความเป็นคน ก็คือ การเกิดมาเพื่อแบกพวงอัตตา พวงใหญ่ๆ นั่นเองกระมัง

อีกปริยายหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างจะเด่นอยู่มาก ก็คือว่า คนได้แก่สัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเอาเปรียบผู้อื่นเป็น และรู้สึกว่า ผู้อื่นเอาเปรียบตนก็เป็น ความรู้สึกเช่นนี้เป็นความรู้สึกที่หาได้ยากในสัตว์ จำพวกนกหนู เมื่อ "ความเป็นคน" ยังน้อยอยู่ ก็ไม่ค่อยรู้สึกว่าใครเอาเปรียบตน หรือลูบคมตน เมื่อความเป็นคนชนิดที่กล่าวนั้นมีมากขึ้น เรื่องนิดเดียว และชนิดเดียวกันนั่นเอง กลับเห็นเป็นเรื่องที่ผู้อื่นลูบคมตน เอาเปรียบตน ไม่เคารพตน ผู้เป็นหัวหน้าหมู่ อย่างใหญ่หลวง และมักหาเรื่องลงโทษลูกหมู่ หรือลูกพวง เป็นการประดับเกียรติของตน ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า คนคือสัตว์ที่รู้จักผูกโกรธ หรือแก้แค้นเพื่อนฝูงด้วยกัน ในกรณีที่สัตว์ซึ่งต่ำกว่าคน ทำเช่นนั้นไม่เป็น จุดหมายของความเป็นคนตามนัยนี้ น่าจะได้แก่ การไม่ยอมให้ใครมาลูบคมเล่นได้นั่นเอง

เมื่อข้าพเจ้าได้สังเกตลักษณะแห่งความเป็นคนของบรรดาท่าน ซึ่งท่านแน่ใจตัวเองว่า ถึงขีดสุด ของความเป็นคน จนพบว่า ท่านหมายถึงอะไร โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังไม่แน่ว่า ข้าพเจ้าเข้าใจ ท่านเหล่านั้นได้ถูกต้อง ทำให้ต้องซักซ้อมดูอีกเป็นหลายครั้ง แต่ในที่สุด ก็ไม่พบอะไรมากไปกว่านั้น จึงยุติว่า ความเป็นคน ตามความหมายธรรมดาเท่าที่มี ที่เป็น กันอยู่ ในจิตใจมนุษย์ เรานั้น ไปได้ไกลเพียงแค่นั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ายังไม่พอใจว่า ความเป็นคนมีเพียงเท่านั้นเอง น่าจะมีเป็นอย่างอื่น

ทีนี้ เราจงชวนกันมามองไปยัง บุคคลประเภทที่ไม่มีอัตตา เห็นตนเอง และผู้อื่น เป็นเช่นกับพืชพรรณ ธัญญชาติ ซึ่งต่างก็เกิดขึ้นแล้ว เจริญงอกงาม และดับไปในที่สุด ตามเรื่องของตนๆ พวงอัตตาของคนประเภทนี้ ก่อขึ้นไม่ติด ครั้นหนักเข้า ตัวเองก็ไม่มี คนหรือสัตว์ก็ไม่มี ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ถือพวกถือพวง ไม่รู้สึกว่าได้เกียรติ หรือเสียเกียรติ ทำงานเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้ของร่างกายนี้ เพียงเพื่อต้านทานธรรมชาติ ใช้หนี้ธรรมชาติ ตามที่ปัญญาบ่งให้ทำเฉพาะในด้านกาย เช่น พ่อแม่เลี้ยงตนมา ก็เลี้ยงตอบแทน เมื่อยังไม่หลุด ก็ต้องเลี้ยงลูกหลานของตนเอง ใช้หนี้ธรรมชาติ อันนี้ ไม่รู้สึกว่า มีใครเสียเปรียบ ได้เปรียบ

ในโลกนี้มีแต่สิ่งทั้งหลายที่หมุนไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ยินดีที่จะให้อภัยกันเสมอ ถือหลักความจริง เป็นแนวแห่งการครองชีพ ไม่แสวง "บุญบารมี" มาเพื่อใช้อำนวยการสำเร็จความใคร่ ให้แก่ ความทะเยอทะยานอยากของตน ไม่อ้าออกรับสิ่งทั้งหลายมาเป็นของตน เหล่านี้ เมื่อเรามองซึ้งลงไปถึงหัวใจของเขา เรากลับพบว่า จุดแห่งความเป็นคนของเขานั้น ตรงกันข้ามจากของคน จำพวก ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในที่สุด ข้าพเจ้าก็กระทบกันกับปัญหาว่า ถ้าเช่นนั้น พวกไหนเล่าเป็นคนที่แท้จริงตามความหมาย ซึ่งอาจเป็นที่พอใจได้ด้วยกันทุกฝ่าย


พุทธทาสภิกขุ
๒๐ กันยายน ๒๔๘๔



................................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือชุมนุมข้อคิดอิสระ พุทธทาสภิกขุ
พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง