Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เพ็ญเดือน ๓ - ต๋ามหน้าบุญเต๊อะ ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 10:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เพ็ญเดือน ๓ - ต๋ามหน้าบุญเต๊อะ
ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย

ธรรมะสวัสดีค่ะ กัลยาณมิตร ญาติธรรม และเพื่อนๆ ชาวธรรมจักรทุกท่าน สาธุ

ช่วงวันมาฆบูชาปีนี้ที่ผ่านมา
ทีแรกกุหลาบสีชาตั้งใจว่าจะไปบวชเนกขัมมภาวนา
ปฏิบัตธรรมที่ วัดมเหยงคณ์ อยุธยา เช่นที่ผ่านมาทุกครั้ง

แต่ก็ไม่รู้ว่าอะไรมาดลใจให้แปรเปลี่ยน
คงเป็นทั้งแรงยุยงส่งเสริมจากคำบอกเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์
และประสบการณ์เฉพาะตัวในการปฏิบัติธรรมของผู้เป็นทั้งกัลยาณมิตร
และช่างภาพกิตติมศักดิ์ของกุหลาบสีชา

ที่บอกทำนองว่า

ครั้งหนึ่งในชีวิตของพุทธศาสนิกชน
....คนที่ต้องมีบุญเท่านั้นนะ
จึงจะได้มีโอกาสไปกราบสักการะและปฏิบัติธรรมที่นั่น
....พระพุทธบาทสี่รอย


ถามตัวเองในใจว่า “แล้วเราจะบุญถึงมั้ยนะ” อืมม์

ยิ่งพูดก็เหมือนยิ่งยุ
เพราะพ่อเจ้าประคุณทั้งเล่าทั้งพูดถึงประสบการณ์
กรอกหูอยู่เกือบทุกครั้งที่เจอกัน

ก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแรงศรัทธา
บวกกับความปรารถนาอยากรู้อยากเห็นของตนเองที่ตั้งใจว่า
ยังไงๆ ปีนี้ฉันก็จะหาโอกาสขึ้นไปให้ได้
ก็เลยตัดสินใจแบบฉับพลันว่า

ไหนๆ มาฆบูชานี้ก็ตรงกับวันพฤหัสบดี หยุดยาว
(คิดเข้าข้างตัวเองว่าเป็น long weekend
เพราะตั้งใจลางานตั้งแต่วันพุธอยู่แล้ว)
ก็ขึ้นดอยที่เจียงใหม่....
ไปปฏิบัติธรรมที่พระพุทธบาทสี่รอย ซะเลย....เป็นไง
สงสัย

คงม่วนอกม่วนใจ๋...ดีแต๊เลยนะเจ้า ขำ

ตัดสินใจเรียบร้อย ไม่รอช้า
เตรียมความพร้อมทุกอย่าง ทั้งรถ ทั้งคน

เรื่องรถไม่ต้องเป็นห่วง ไม่ได้ขับเองหรอกค่ะ
เพราะถึงเป็นสาวซิ่งในกรุงแค่ไหน
แต่รู้อยู่เต็มอกว่า ตัวเองคงต้องถอดใจไม่สามารถขับไต่ขึ้นดอย
ที่เขาเล่าว่า ทั้งสูงชันและหักศอกจนชวนอาเจียนได้


งานนี้คงต้องอาศัยใบบุญของคุณกัลยาณมิตรคนเดิมอีกแล้ว
อยากชวนดีนัก ขับไปให้หน่อยอีกรอบก็แล้วกันนะ

ส่วนเรื่องคน ก็เตรียมความพร้อมทางร่างกาย
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ชุดขาว เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม

ล่าสุดตอนปลายเดือนมกรา
เขาว่าอุณหภูมิบนนั้นไม่เท่าไหร่ แค่ ๑๖ องศา (ตอนกลางวัน) เท่านั้น
เพราะที่นั่นมีแค่ ๒ ฤดู คือ หนาว กับหนาวจับจิต...!


เอ...แต่ที่เราจะไปมันก็เข้ากุมภาแล้ว คงไม่เท่าไหร่
เรามันคนขี้ร้อน เสื้อหนาวก็ไม่ได้ใส่มาเป็นสิบปีแล้วล่ะมั้ง
ก็กรุงเทพมันไม่เคยหนาวเลยนี่นา

แต่เพื่อความไม่ประมาท เตรียมเต็มที่เลยดีกว่า
เพราะคุณแม่ที่เป็นคนขี้หนาวมากๆ ไปด้วย
งานนี้ก็เลยอุ่นใจ เพราะคุณแม่จัดการให้ไม่ต้องเตรียมเอง

พร้อมแล้ว แค่รอเวลาเดินทาง
กำหนดการ พุธที่ ๒๐ กุมภา เช้าเก้าโมง...ล้อหมุน

แต่...เหมือนมารมาผจญ ....ให้หวั่นใจ
สายวันอังคารคุณกัลยาณมิตรโทรมาบอกว่า
พาหนะคู่ใจมีอาการไม่สบาย ต้องเข้าโรงหมอด่วน .....
ยังไม่รู้ว่าวันเดียวจะซ่อมเสร็จมั้ย


เวรกรรม.. ใจคอมารจะขวาง
ไม่ยอมให้เราสร้างบุญจริงๆ เหรอเนี่ยะ
เศร้า ร้องไห้

คิดในใจถ้ารถไม่เสร็จจะทำไง เอารถที่บ้านไปก็แล้วกัน
แต่คนขับจะคุ้นมือรึเปล่า ถ้าจำเป็นก็ต้องไปกันล่ะ
ล้มเลิกได้ไง ตั้งใจแล้วนี่นา ให้มันรู้ไปสิ....
งานนี้วัดดวง...วัดบุญกันเลยก็แล้วกัน

เย็นๆ มีเสียงตามสายโทรมาบอกว่า
รถเรียบร้อยแล้ว สายไมล์ขาด
เลยถือโอกาสเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
และเช็คอีกสารพัดอย่าง หายห่วง...โล่งอกแล้วเรา ยิ้ม

วันพุธที่ ๒๐ กุมภา ๕๑

ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตอนเช้า
ไปเรื่อยๆ สบายๆ ไม่รีบร้อน
เพราะ plan กันไว้ว่า
จะหาที่พักในเมืองเจียงใหม่ก่อน....หนึ่งคืน

รุ่งเช้าวันมาฆบูชา ค่อยไต่ขึ้นดอย
เพื่อไปเวียนเทียนและปฏิบัติธรรมที่นั่น ....วัดพระพุทธบาทสี่รอย

(มีต่อค่ะ : วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 2:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[เจดีย์วัดเจ็ดยอดมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น คือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยม
ถึงเจ็ดยอด เหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย]



วัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดโพธารามหาวรวิหาร

รุ่งเช้า ตื่นขึ้นมาด้วยความแช่มชื่นสดใส
ร่างกายฟิตเปรี๊ยะเต็มร้อย
อากาศที่เมืองเจียงใหม่กำลังสบาย ไม่ร้อน ไม่หนาว....ดีจัง

เก็บของจากที่พักในตัวเมืองเชียงใหม่แล้ว
ก็เริ่มการเดินทาง
โชเฟอร์กิตติมศักดิ์ แนะนำว่า...

ถ้ายังไม่หิวข้าว
ก่อนถึงแม่ริม และขึ้นดอยไปพระพุทธบาทสี่รอย
จะพาไปชมวัดสำคัญที่สุดที่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ก่อน

เป็นวัดที่นอกจากจะความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีแล้ว
ยังเป็นศาสนสถาน และมีศาสนวัตถุที่มีคติในการสร้าง
จำลองพุทธสถานตามพุทธประวัติมาให้อนุชนได้ศึกษากันอีกด้วย
ชาวเชียงใหม่ เรียกศาสนสถานแห่งนี้ว่า “วัดเจ็ดยอด”


“ตกลงเลย ! คุณโชเฟอร์”

เล่าถึงขนาดนี้....ไม่ไปได้ไง
เรามันคนชอบเที่ยววัดและโบราณสถานอยู่แล้ว ว่าไงก็ว่ากันเลยค่ะ สู้ สู้

และต่อไปนี้....คือประวัติความเป็นมาของวัด
ที่กุหลาบสีชารวบรวมและเรียบเรียงมาจากทั้ง
ข้อมูลของกรมศิลปากร และที่สืบค้นได้จากอินเตอร์เน็ตค่ะ
เลยถือโอกาสมาเล่าสู่กันฟังให้เพื่อนๆ ได้ทราบโดยทั่วถึงกันนะคะ
ยิ้มเห็นฟัน

Image
[พระอุโบสถใหม่ของวัดเจ็ดยอด]


วัด “เจ็ดยอด” ตั้งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง
นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทนา ปกป้อง กล่าวถึงประวัติวัดนี้ว่า
เป็นวัดที่ยังหายุติเกี่ยวกับผู้สร้างอยู่หลายประเด็นไม่ได้ด้วยกัน

กล่าวคือ ตาม ทฤษฎีของ Reinald Le May
นักปราชญ์ทางด้านโบราณคดีได้เสนอข้อคิดเห็นในข้อนี้ว่า
พญาเม็งราย เป็นผู้สร้าง เหตุผลก็คือ

พญาเม็งราย เป็นกษัตริย์เชียงใหม่เพียงพระองค์เดียว
ที่เคยเสด็จไปเยือนพุกามถึง ๒ ครั้ง

ซึ่งที่เมืองพุกามนั้น มีเจดีย์ที่ชื่อว่า มหาวิหารโพธิแห่งเมืองพุกาม
ซึ่ง พระเจ้าติโลมินโล (กษัตริย์พม่าซึ่งขึ้นครองราชย์ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘)
เป็นผู้ถ่ายแบบจากเจดีย์พุทธคยาได้สร้างขึ้นไว้
พญาเม็งราย ทรงเห็นแบบอย่างจึงได้ถ่ายแบบมาสร้าง


Image
[เจดีย์เก็บพระอัฐิธาตุของพระเจ้าติโลกราช ในวัดเจ็ดยอด]


อย่างไรก็ตาม ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ หรือพงศาวดารโยนก
ได้ระบุเอาไว้ว่า พระเจ้าติโลกราช หรือพญาติโลกราช
(กษัตริย์ลำดับที่ ๑๒ : พ.ศ. ๑๙๘๕ - พ.ศ. ๒๐๓๐)
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่จำพรรษา
ของ พระอุตตมะปัญญามหาเถระ เจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๙๘

พร้อมกับปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ให้เหมือนเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงผจญมาร
อีกทั้งจำลอง สตตมหาสถาน
คือสถานที่สำคัญ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยวิมุตติ แห่งละ ๗ วัน
ก่อนการเผยแผ่ศาสนา ได้แก่ โพธิบัลลังก์
(เจดีย์เจ็ดยอดในปัจจุบัน ซึ่งถ่ายแบบศิลปกรรมจากเจดีย์มหาโพธิวิหารพุทธคยา
ในประเทศอินเดีย ผนังวิหารด้านนอกประดับปูนปั้นเทพชุมนุม)


Image
[ต้นพระศรีมหาโพธิ ภายในวัดเจ็ดยอด]


อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรม รัตนฆรเจดีย์ ราชยตนเจดีย์
อาชปาลนิโครธ และมณฑปสระมุจลินทร์


(ปัจจุบันเหลืออยู่ที่วัดเจ็ดยอดเพียงสามแห่ง
คือ อนิมิสเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ มุจจลินทเจดีย์)


แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
และเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐
ใช้เวลาประชุมสังคยานานาน ๓ ปี

โดยมีพระธรรมทินมหาเถระ สำนักวัดป่าตาลเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
และพญาติโลกราชเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระราชทานนามว่า
“โพธารามมหาวิหาร” เพราะมีต้นศรีมหาโพธิและวิหารใหญ่
แต่เนื่องจากวิหารมียอดเป็นเจดีย์เจ็ดองค์
คนทั่วไปจึงนิยมเรียกกันว่า “วัดเจ็ดยอด”

นอกจากเจดีย์เจ็ดยอด ดังกล่าวแล้ว
ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้แก่ พระวิหารกำแพง ซุ้มประตู (ประตูโขง)
รวมทั้งลวดลายปูนปั้น ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช
หลังสร้างเสร็จ โปรดเกล้าฯ ให้ทำการฉลองพระอารามนั้นเป็นการใหญ่


Image
[งานปะติมากรรมนูนต่ำ : ภาพปูนปั้นเทพยดาขณะนั่งขัดสมาธิเพชร
ประนมหัตถ์อยู่กลางพระอุระ ทรงเครื่องภูษาภรณ์ อันเป็นสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยโบราณ]



ปี พ.ศ. ๒๐๕๓ ในสมัยพระเมืองแก้ว
มีการสร้างอุโบสถขึ้นด้านทิศตะวันออกมีขนาดเล็ก
ด้านหลังอุโบสถเป็นจิตกาธานที่ถวายพระเพลิงพระเจ้าติโลกราช
ก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นเหลืออยู่ตามเสาซุ้มประตูมีลวดลายสวยงามมาก

จิตกาธานนี้ถือเป็นของแปลก
โดยปกติแล้ว การถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์
เขามักจะทำเป็นเมรุชั่วคราวที่ประดับประดาเป็นรูปนกหัสดีลิงค์
รูปช้างเอราวัณบ้าง หรือรูปปราสาท
เวลาเผาจะเผาพร้อมไปกับศพด้วย
ซึ่งนับได้ว่าจิตกาธานแห่งนี้เป็น เมรุเผาศพที่ถาวรแห่งแรกของภาคเหนือ

ปัจจุบัน ทางกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะบริเวณโดยรอบ
ของวัดโพธารามมหาวิหาร และได้จัดเป็น “สวนประวัติศาสตร์”
เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าติโลกราช
และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน ทำให้บริเวณนี้น่าดูชมยิ่งขึ้น


Image
[ทางเดินในสวนประวัติศาสตร์ที่เริ่มชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
เข้าใจว่าเป็นเพราะขาดงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมจากภาครัฐ]


(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 01 มี.ค.2008, 5:38 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 3:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระอุโบสถแก่นจันทร์

นอกจากศาสนาสถานที่สำคัญต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว
วัดเจ็ดยอดยังมีพระอุโบสถเก่าที่ถือเป็นเอกลักษณ์
และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย

ชมภาพและอ่านประวัติที่คัดลอกมาจาก
แผ่นป้ายที่แสดงประวัติไว้โดยกรมศิลปากร ได้ตามนี้เลยค่ะ


Image
[พระอุโบสถแก่นจันทร์องค์ใหม่ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้น
เมื่อครั้งพระเจ้ากาวิละมาบูรณะปฏิสังขรณ์ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์]



พญาเมืองแก้วโปรดให้สร้างพระอุโบสถขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๕๕
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๙ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ
พระพุทธปฏิมากรแก่นจันทร์จากเมืองพะเยามาประดิษฐาน

พระอุโบสถองค์ปัจจุบันขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐.๕๕ เมตร
ศิลปะแบบล้านนา สร้างขึ้นบนฐานเดิมของพระอุโบสถเก่า
ซึ่งมีลานประทักษิณขนาดกว้าง ๑๖.๒๐ เมตร ยาว ๔๖.๖๕ เมตร
ยกพื้นสูงด้วยกำแพงเตี้ยโดยรอบ


Image
[มณฑปพระแก่นจันทร์]


ด้านหลังพระอุโบสถเป็นมณฑปพระแก่นจันทร์สร้างขึ้นภายหลัง
ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง ๕.๗๐ เมตร ยาว ๖ เมตร
ด้านบนเป็นซุ้มคูหาทะลุถึงกันถึง ๔ ด้าน
ภายในประดิษฐานพระแก่นจันทร์องค์จำลอง
สันนิษฐานว่าพระอุโบสถองค์ใหม่นี้น่าจะสร้างขึ้น
เมื่อครั้งพระเจ้ากาวิละมาบูรณะปฏิสังขรณ์ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์


Image

แต่ทว่า...น่าเสียดายจัง !
ที่ทางวัดไม่อนุญาต ให้เข้าไปชมในพระอุโบสถแก่นจันทร์
เพราะขณะนี้ประตูพระอุโบสถถูกล้อคกุญแจแน่นหนาสนิท หมดสิทธิ์เลยค่ะเพื่อนๆ เศร้า

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระประธาน ในพระอุโบสถใหม่ วัดเจ็ดยอด]


ไม่เป็นไร...เข้าไปในพระอุโบสถแก่นจันทร์ไม่ได้
เราก็เข้าไปกราบสักการะพระประธานในพระอุโบสถใหม่ของวัดกันก่อน
เพื่อความสิริมงคลก่อนจะพาชมวัดกันต่อ...นะคะ สาธุ

ในพระอุโบสถ...วิจิตรงดงามด้วยการตกแต่งแบบศิลปะล้านนา
มีการลงรัก ปิดทอง ล่องชาด ทั้งในส่วนของเสาพระอุโบสถ และซุ้มประตู...งามแต๊ สู้ สู้

ขณะนั้น เข้าใจทางวัดคงกำลังประกอบพิธีสืบชะตาเมืองกันอยู่
เพราะเห็นมีการนำต้นกล้วย และมะพร้าวมาก่อรูปขึ้นเป็นไม้ค้ำชะตา
วางอยู่กลางพระอุโบสถค่ะ


Image
[ไม้ค้ำชะตา : ในพิธีสืบชะตาเมืองที่ทางวัดเจ็ดยอดจัดขึ้น]


ภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ
และเวสสันดรชาดกอยู่รายรอบผนัง
ดังที่นำภาพตัวอย่างมาให้ชมกันด้านล่างนี้ เป็นภาพจากกัณฑ์จุลพน และมหาพนค่ะ


Image
[ภาพจิตรกรรมฝาผนังเวสสันดรชาดก : กัณฑ์จุลพนและมหาพน]


มองออกไปจากบานประตูพระอุโบสถ
จะเห็นพระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระเจ้าติโลกราช หรือพญาติโลกราช
เข้าใจเลือกมุมถ่ายดีจริงๆ นะคะ คุณช่างภาพ (ชมกันเอง...ซะแล้ว)
สู้ สู้ ขำ

Image
[พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิ พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. ๒๐๓๐]

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 01 มี.ค.2008, 5:36 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิ พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. ๒๐๓๐]


กราบนมัสการขอพรพระในพระอุโบสถ
ให้เดินทางขึ้นดอยโดยสวัสดิภาพแล้ว
เราก็ออกมาชมกันวัดกันต่อนะคะ...

ต่อไปนี้ขอให้ภาพทำหน้าที่บรรยายแทน...ดีกว่าค่ะ


Image
[พระพุทธรูปสีขาวบริสุทธิ์ปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนธาตุเจ็ดยอด]

Image
[คติธรรมประจำต้นไม้...ที่พบได้ทั่ววัด]

Image
[ทางเดินด้านข้างวัด มีช่องประตูเล็กๆ ขนาดเพียงคนผอมๆ พอเดินผ่านได้
ไม่ทราบว่ามีไว้ทำอะไรเหมือนกัน]


Image
[ทางวัดจะมีเทียนไว้ให้เลือกจุดสักการะบูชาตามปีนักษัตร และวันเกิด :
ก่อนจุดทางวัดแนะนำว่า ควรจารึกชื่อ-สกุลของตนเองลงบนเนื้อเทียนก่อน ตามธรรมเนียม]


Image
[เลือกได้ตามปีและวันเกิด และจารึกชื่อ-สกุลของตัวเองแล้ว
ก็นำมาจุดและสวดพระคาถาซึ่งห่อมาพร้อมกับเทียน ๓ รอบ]


Image
[ใบโพธิ์โลหะประจำปีนักษัตร กับเม็ดพระเจ้า ๕ พระองค์ : วัตถุมงคลที่กล่าวกันว่า
มีพุทธคุณทางเคล้วคลาด ปลอดภัย ที่ทางวัดมีไว้ให้พุทธศาสนิกชนบูชาเป็นที่ระลึก]



ก่อนออกจากวัด ก็ได้บูชาไปฝากน้องๆ เพื่อนฝูง หลายใบด้วยกัน...

ได้เวลาต้องอำลาที่นี่แล้วล่ะค่ะ

ท้องส่งสัญญาณว่า...คงต้องหาอะไรรับประทานกันก่อน
เพราะเกือบเพลแล้ว
เนื่องจากวันนี้ ตั้งใจจะถือศีล ๘
สงสัยวันนี้ได้ทานข้าวมื้อเดียวแน่นอน
ทั้งเช้า+กลางวัน รวมกันเป็น brunch เลยก็แล้วกัน

(มีต่อ : วัดบ้านเด่น)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2008, 1:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดบ้านเด่น

เมื่อออกมาจากวัดเจ็ดยอด
ก็มองหาอะไรใส่ท้องพอให้อิ่ม...

แล้วหลังจากนั้นโชเฟอร์กิตติมศักดิ์ก็บอกว่า
จากที่นี่ก่อนเข้าแม่ริม และขึ้นพระพุทธบาทสี่รอย
จะพาไปชมวัดนึงไปทางเส้นแยกเขื่อนแม่งัด
มีศาสนสถาน และศาสนวัตถุที่งดงามอลังการ์งานสร้าง...เกินบรรยาย

โฆษณาซะขนาดนี้...มีหรือจะปฏิเสธ

แต่ก็อดนึกในใจไม่ได้ว่า

“แล้วกว่าจะไต่ขึ้นดอย..จะถึงกันซักกันกี่โมงกันล่ะนี่”

โชเฟอร์เหมือนรู้ว่าเราคิดอะไรอยู่...หันกลับมาบอกว่า

“ยังไงก็เป็นเส้นทางที่ผ่าน...แวะดูไม่นานหรอก
ถ้าไม่ไปจะเสียใจนะ...

ยังไงคืนนี้
เราก็ต้องอยู่ปฏิบัติกันตลอดคืนที่พระพุทธบาทสี่รอยอยู่แล้วมิใช่เหรอ
(โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าสังขาร ขันติ และความเพียรถึงพร้อม)”


“โอเค...ไปไหนไปกันเลยค่ะ”

จากถนนสายแม่ริม-แม่แตง
จนมาถึงสามแยกจะไปเขื่อนแม่งัด
แล้วเลี้ยวขวาตรงไปทางเขื่อนแม่งัดประมาณ ๗ กิโล
ก็ถึงปากทางเข้าวัดบ้านเด่น
ผ่านทุ่งนาและป่าละเมาะ...เข้าไปอีกประมาณกิโลกว่า....

แล้วฉับพลันสายตาก็ไปปะทะกับภาพที่เกินคาด!!!

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 05 มี.ค.2008, 2:41 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2008, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[หอพระธรรม หรือหอพระไตรปิฎก สร้างขึ้นแบบศิลปะล้านนา]


“โอ้ !..คุณพระช่วย !”
(ต้องอุทานอย่างนี้จริงๆ ค่ะ เพื่อนๆ)

ใครเลยจะรู้ว่า จะมีวัดที่ใหญ่โตมโหฬาร
งดงามอลังการ์งานสร้างซ่อนตัวตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่งนาป่าเขา...ขนาดนี้ !!!


ชมภาพที่เก็บมาฝาก พร้อมอ่านประวัติของวัดและท่านเจ้าอาวาสโดยสังเขป
จากการสืบค้น และรวบรวมมากันเอาเองก็แล้วกันนะค่ะ


Image
[พระอุโบสถ (ซ้ายมือ) ผนังเป็นลายปูนปั้นงดงาม ซุ้มประตูและหน้าบันมีสีทองเหลืองอร่าม
แกะและปิดทองเป็นลวดลายแบบล้านนาอย่างวิจิตรบรรจง]



ภาพเหล่านี้...คงทำหน้าที่ได้ดีกว่าการบรรยายของกุหลาบสีชาหลายร้อยพันเท่า

พูดเดียวคำเดียวว่า

“สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น....เหนือคำบรรยายเลยจริงๆ เลยค่ะ”

Image

ประวัติวัดบ้านเด่น

เดิมชื่อวัด “หรีบุญเรือง” สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗
บริเวณที่ตั้งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ซึ่งเป็นที่สูงกว่าพื้นที่ในหมู่บ้าน
ภายใต้เนินเขามีถ้ำซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ชาวบ้านละแวกนั้นมีความเคารพนับถือจึงเรียกว่า “วัดบ้านเด่น”


Image
[หอกลองงามโดดเด่น อย่างเป็นเอกลักษณ์ ด้วยงานแกะสลักไม้อย่างวิจิตรงดงาม]


ครูบาไชยา วัดป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ได้มาเป็นองค์ประธานริเริ่มก่อสร้างวัดบ้านเด่น
ได้กราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล
วัดหัวคง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
มาเป็น ประธานในการก่อสร้างศาสนสถาน
และศาสนสมบัติทั้งหมดภายในวัดตลอดจนถึงปัจจุบัน


Image
[บันไดนาคที่ทอดตัวขึ้นสู่ศาลาไม้สักทองที่สร้างอยู่บนเนินเขา]


ประวัติครูบาเทือง โดยสังเขป

Image
[ครูบาเทือง : เจ้าอาวาสวัดบ้านเด่น (ซ้าย) และครูบาบุญชุ่ม (ขวา)]


ครูบาเทือง นาถสีโล (พระครูไพศาลพัฒนโกวิท)
เจ้าอาวาสวัดเด่นสะหรีศรีเมืองแคน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
อายุ ๔๓ ปี พรรษา ๒๓ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑)
แม้ว่าทั้งอายุและพรรษาไม่มาก แต่ท่านมีปฏิปทาน่ากราบไหว้ สงบเสงี่ยม
หากจะประมวลภาพรวมความเป็นครูบาของท่านจะได้ดังนี้


Image
[บันไดนาคที่ทอดตัวขึ้นสู่ศาลาไม้สักทองบนเนินเขา]


“ครูบาอ่อนน้อมถ่อมตน-ฝึกฝนปฏิบัติ-เคร่งครัดพระธรรมวินัย-
จิตใจสุขุมเยือกเย็น-บำเพ็ญบารมี-ทำความดีเป็นนิจ-จิตเมตตาเสมอ”

ตั้งแต่บวชเป็นสามเณรจนกระทั่งบวชเป็นพระ
ครูบาเทืองได้บำเพ็ญบุญบารมี
ตามรอยแห่งครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาทุกประการ


Image
[ภาพท่านครูบาศรีวิชัย]


ถ้าพูดถึงทานการบริจาค ครูบาสามารถสร้างศาสนสถาน ถาวรวัตถุ
ไม่แต่เฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น ทุกจังหวัดในภาคเหนือ
ครูบาได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึงและมั่นคง
ท่านสร้างทั้งโบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธปฏิมา ศาลากุฏิสงฆ์ ฯลฯ


Image
[หอพระธรรม หรือหอพระไตรปิฎก]


ในด้านการปฏิบัติ ครูบานับเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่เข้าถึงธรรม
โดยวิธีปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเคร่งครัด โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน

ในด้านการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ครูบาเสียสละปัจจัยไทยธรรม
ที่มีผู้ถวายบริจาคช่วยเหลือแก่ส่วนราชการ องค์กร ชมรม สโมสร ประชาชนทั่วไป
โดยเฉพาะชาวไทยภูเขา ตั้งแต่ข้าว ผ้า ยา บ้าน การศึกษา น้ำประปา
ไฟฟ้า ถนนหนทาง มากมายมหาศาล


Image
[ศาลาที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง]


“เป็นพระต้องพูดจริง ต้องทำจริง และต้องรู้จริง”

เป็นคติธรรมที่ครูบาเทืองยึดปฏิบัติเรื่อยมาผลจาก
ความจริงที่ท่านบำเพ็ญเพียรภาวนา ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา
พัฒนาชุมชนบนพื้นฐานของข้อวัตรปฏิบัติที่ปราศจากการใส่ร้ายป้ายสีโจมตีบีทา

ครูบารักษาศีล ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน ฝึกสอนใจตนเองตลอดเวลา
รวมทั้งการเสียสละสร้างศรัทธา นำพาถูกต้องปรองดองให้เห็น ดีเด่นในคุณธรรม


Image

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : สาธุ
http://www.muangkaen.org/
http://www.komchadluek.net

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 05 มี.ค.2008, 4:05 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2008, 2:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อลังการ์ศาสนสถาน : วิจิตรตระการด้วยศิลปะล้านนาประยุกต์

เท่าที่ทราบจากการสืบค้น และสอบถามข้อมูลจากผู้รู้นั้น

ทำให้ได้ทราบว่าวัดนี้มีศิลปะการสร้างแบบล้านนาประยุกต์
และได้รับอิทธิพลศิลปะแบบพม่าผสมผสานอยู่ด้วย


เนื่องจากในขณะที่มีการก่อสร้างวัดครั้งนี้
มีช่างชาวพม่าจำนวนไม่น้อยต้องมาพักอยู่ที่วัดเป็นเวลานาน


Image
[บันไดนาคคู่สีมรกตทอดตัวอยู่ ณ ประตูด้านข้างของพระอุโบสถ]

Image
[บน-ล่าง : หน้าบันของซุ้มประตูพระอุโบสถที่แกะสลักและปิดทองอย่างวิจิตรงดงามเกินพรรณา]

Image

Image
[ช่อฟ้า และใบระกาของหลังคาพระอุโบสถ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคติการสร้างของวัดไทยในภาคกลาง
ที่พบเห็นกันทั่วไป คือมีการนำทั้งนาคและศีรษะช้าง รวมทั้งหงส์มาประกอบกันดูงามแปลกตา]


Image
[พระประธานในพระอุโบสถ วัดบ้านเด่น]

Image
[ภาพจิตรกรรมฝาผนังตอน “พระพุทธเจ้าพิชิตมาร” ในพระอุโบสถ]

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 05 มี.ค.2008, 4:45 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2008, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหล่าผู้พิทักษ์ศาสนาสถาน

Image
[ผู้พิทักษ์พระศาสนาตัวนี้มีสีคลาสิคมาก เฝ้าอยู่ ณ บันไดด้านข้างทางขึ้นสู่ศาลาอีกหลังหนึ่ง]

Image
[พญายักษ์ตนนี้ มีนามว่า “พญาปราบทั่วจักรวาล”]

Image
[๒ จตุโลกบาลผู้เป็นทวารบาลสถิตย์อยู่ที่ประตูทางเข้าด้านในพระอุโบสถ :
(ซ้าย) ท้าววิรุฬหก จ้าวแห่งกุมภัณฑ์ จตุโลกบาลผู้ดูแลทิศทักษิณ
และ (ขวา) ท้าวกุเวรนุราช (ท้าวเวสสุวรรณ) จตุโลกบาลผู้ดูแลทิศอุดร]


Image
[สิงห์ : ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา]

Image
[เทพนรสิงห์ หรือนรสีห์ : สัตว์ในหิมพานต์ตามคติแบบล้านนา]

Image
[อัปสรสีหะ หรือนรสีห์ (เพศเมีย) : สัตว์ในหิมพานต์ตามคติแบบล้านนา]

Image
[“ครูธรรม” : ผู้รักษาธรรมฝ่ายมนุษย์ กับ สิงห์]

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2008, 11:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระเจดีย์สิบสองนักษัตร : วัดบ้านเด่น

นอกจากศาสนาสถาน และศาสนวัตถุที่ยิ่งใหญ่งดงาม
สะท้อนให้เห็นพลังบุญ และแรงศรัทธาของมหาชนผู้เป็นญาติโยม
ที่ปรารถนาจะประกอบทานบารมีเป็นมหากุศลแล้ว

วัดบ้านเด่นยังมีเอกลักษณ์อันโดดเด่นอีกประการหนึ่ง
ที่เป็นประจักษ์พยานถึง...จิตศรัทธาในข้อนี้เป็นอย่างดี

ภาพต่อไปนี้คือเจดีย์ที่กล่าวกันว่า

ได้รับแรงบันดาลใจและคติในการสร้างมาจาก
เจดีย์ชเวดากอง ในประเทศพม่า
ที่จะมีรูปปั้นสัญลักษณ์สิบสองนักษัตรเรียงรายอยู่ล้อมเจดีย์

ต่างกันอยู่เพียงว่า
ปีนักษัตรสุดท้ายของไทยคือ “ปีกุน”
ในขณะที่ปีนักษัตรสุดท้ายตามคติความเชื่อของชนชาวพม่า คือ “ช้าง”


ส่วนลักษณะการออกแบบนั้น
ยังคงความเป็นศิลปะแบบไทยมากกว่า
สังเกตจากลักษณะขององค์พระเจดีย์
ที่เป็นแบบระฆังคว่ำ และมีฐานเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง

อาณาบริเวณเฉพาะฐานเจดีย์ทั้งหมด
กล่าวกันว่ากินพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่ (เท่านั้นเองค่ะ)
ตื่นเต้น ตกใจ

Image
Image
Image
Image
Image

หลังจากดื่มด่ำและตะลึงตะลาน
กับความวิจิตรงดงามของศาสนสถานแห่งนี้
พอสมควรแก่เวลาแล้ว....

คณะทัวร์ธรรมของเรา
ก็ได้เวลาบ่ายหน้าเข้าสู่อำเภอแม่ริม
เพื่อขึ้นดอยไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย
อันเป็นเป้าหมายของการมาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้....(ซะที) ยิ้มเห็นฟัน

(มีต่อ : วัดพระพุทธบาทสี่รอย)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2008, 9:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เส้นทางสู่วัดพระพุทธบาทสี่รอย

เที่ยงกว่า คณะทัวร์ธรรมของเราก็ออกจากอำเภอแม่แตง
มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ริม ราว ๒๐ กิโล
โชเฟอร์กิตติมศักดิ์บอกกล่าวให้เตรียมตัวล่วงหน้าว่า

“จากนี่ ๒๐ กิโล ก็ถึงเชิงดอย ใช้เวลาแป็ปเดียว
และจากเชิงดอยอีกประมาณ ๘ กิโล เท่านั้น
จึงจะถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอย.....
แต่จะใช้เวลาอีกประมาณ ๑ ชั่วโมงเศษ....จึงจะถึงที่หมาย”


“ขนาดนั้นเชียวเหรอ”

"ก็หนทางมันทั้งสูงชัน
ลัดเลาะไปตามไปสันเขา ประมาณ ๓ ลูกเท่านั้น
จะให้ถึงเร็วกว่านั้นได้ไงล่ะ จริงมั้ย”

“จะงีบเอาแรงก่อนก็ได้นะ ถึงแล้วจะปลุกครับ”


โชเฟอร์กิตติมศักดิ์อุตส่าห์บอกกุหลาบสีชากับคุณแม่อย่างหวังดี

“ไม่ชอบนอนหลับระหว่างเดินทาง....”
“แต่ไม่อยากปฏิเสธความหวังดี งีบเอาแรงหน่อยก็ได้”
อืมม์

(แต่เหตุผลที่มากไปกว่านั้นคือ ท้องตึงหน้าตาชักหย่อนแล้วสิเรา) ขำ

เวลาผ่านไปไม่นาน....

เมื่อความรู้สึกภายในบอกกับตัวเองว่า
รถกำลังไต่ขึ้นที่สูงด้วยกำลังเกียร์ที่ต้องใช้แรงลากจูงมาก
ทำให้เราต้องลืมตาดูเส้นทางที่กำลังปรากฏอยู่ข้างหน้า

แล้วหลังจากนั้น...จนถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอย
กุหลาบสีชาก็หลับตาไม่ลงตลอดทางอีกเลยค่ะ...
. ตื่นเต้น

นึกในใจ...

“ถึงง่วงแค่ไหน...ใครจะหลับตาลงเข้าไปได้”

ก็ต้องคอยนั่งลุ้นเสียตัวโก่ง
ประหนึ่งว่าต้องใช้แรงกายแรงใจในการขับเสียเองซะขนาดนั้น

ก็จะไม่ให้ลุ้นได้อย่างไร
ขึ้นเขาลงห้วยมาก็มากต่อมาก
แต่ขอบอกว่า...ที่ไหนที่ไหนก็ต้องชิดซ้าย เมื่อเจอที่นี่

เพราะตลอดเส้นทางหลายต่อหลายช่วง
มีความสูงชันประมาณ เกือบ ๔๕ องศา
แถมหักศอกกะทันหันทันที
คนขับรถที่ไม่เชี่ยวชาญจริงๆ เห็นทีจะต้องบาย


(ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ...เพื่อนๆ
ปกติเป็นคนที่กลัวความสูงอยู่แล้ว
มาเจอทางอย่างนี้ก็เกร็งเป็นธรรมดา อายหน้าแดง

แต่ก็แอบขอบคุณคุณโชเฟอร์อยู่ในใจว่า
เป็นบุญเหลือเกินที่มีเขาช่วยมาขับรถให้
ถ้าต้องขับมาเอง ตัวเองจะมีวิริยะ
และมีปัญญาถ่อสังขารขึ้นมาเองไหวมั้ยเนี่ยะ)
ขำ

แต่ระหว่างทาง...
ก็ยังอดแอบมองลงไปข้างล่างซึ่งเป็นเหวลึกไม่ได้
แต่มองไม่เห็นพื้นเบื้องล่าง
เพราะมียอดไม่หลายชั้นขึ้นสลับปกคลุมอยู่

นึกในใจว่า

เรานี่โชคดีกว่าอีกหลายคนนะ
ที่เค้าได้ถากถางเส้นทางเอาไว้ให้แล้ว
ถ้าเป็นสมัยก่อนยังไม่มีถนนหนทาง
อยากขึ้นมาจะต้องวิริยะอุตสาหะขนาดไหนกันนะ


ระหว่างเส้นทางก็มีชุมชนหมู่บ้านของชาวเขาปรากฏให้เห็นเป็นระยะๆ

ภูที่นี่เป็นภูเขาดิน
ถูกปกคลุมด้วยไม้เบญจพรรณ
ที่เริ่มจะไม่เขียวเท่าไหร่
เพราะเข้าใกล้หน้าแล้งเขาไปทุกทีแล้ว

คิดในใจ คงไม่หนาวสักเท่าไหร่หรอกน่า...

“ข้างบนคงไม่หนาวเท่าไหร่แล้ว ...ว่ามั้ย จะหน้าแล้งแล้วนี่”

ผู้โดยสารจำเป็นอย่างเราชวนคนขับคุย

โชเฟอร์ไม่ตอบ...แต่กลับบอกว่า

“ลองเปิดกระจกดูสิ”

เมื่อกระจกเคลื่อนลง
สิ่งที่ได้สัมผัสทางกายและจมูก
คือความเย็นของอากาศภายนอกที่สดชื่นบริสุทธิ์
มีกลิ่นไอดินระเหยอยู่จางๆ
ที่ สำคัญเย็นกว่าอากาศภายในรถที่ติดแอร์เย็นฉ่ำอยู่ขณะนี้ !

นี่แค่ครึ่งทางเอง...แล้วข้างบนจะแค่ไหน

หมายเหตุ : ขออภัยที่ไม่สามารถเก็บรูประหว่างเส้นทางมาให้ชมได้
เนื่องจากสถานการณ์ไม่อำนวยจริงๆ ค่ะ:
สาธุ ตื่นเต้น

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2008, 11:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เพ็ญเดือน ๓ ต๋ามหน้าบุญเต๊อะ ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย

๑ ชัวโมงเศษ ผ่านไป
ในที่สุด....เจ้าพาหนะคู่ใจ
ก็พาเราทั้งสามคนมาถึงจุดหมายโดยปลอดภัย

ทางเข้าบริเวณวัดพระพุทธบาทสี่รอย
เป็นซุ้มประตูไม้ใหญ่ที่บอกร่องรอยของความเก่าแก่พอสมควร

เมื่อผ่านเข้าไปจะเป็นลานกว้างที่สามารถจอดรถได้มากมาย
ด้านซ้ายมีร้านสหกรณ์ที่จำหน่ายของชำ
และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของป่าสมุนไพร
ของกลุ่มแม่บ้านในชุมชนแถบนั้น


Image
[พญานาค ๗ เศียรคู่นี้ทอดตัวเฝ้าอยู่ตรงเชิงบันไดทางขึ้น
พระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทอย่างสง่างาม]



ส่วนด้านขวาเป็นพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาท
มีพญานาคคู่ทอดตัวเฝ้าอยู่ตรงเชิงบันไดอย่างสง่างาม


มีป้ายบอกกล่าวให้รู้ว่า....

นี่คือวัดพระพุทธบาทสี่รอยอยู่ด้านหน้า

เราทั้งสามยกมือวันทาท่วมหัว พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

สาธุ สาธุ สาธุ ...สาธุ...สาธุ...สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ


Image
[ป้ายวัดพระพุทธบาทสี่รอย อยู่ด้านขวาขอบันไดทางงขึ้นพระวิหารฯ]


ในที่สุดชีวิตของข้าพเจ้าก็มีบุญพอ
ที่จะได้มากราบนมัสการรอยพระพุทธบาทอันศักดิ์สิทธิ์
ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์...แล้ว
ซึ้ง ยิ้ม

โชเฟอร์กิตติมศักดิ์...รีบบอกกับกุหลาบสีชาว่า

เดี๋ยวจะพาไปเราไปกราบพระประธาน
และกราบนมัสการท่านเจ้าอาวาส
เพื่อกราบเรียนและขออนุญาตท่านมาพักปฏิบัติธรรมค้างคืนที่นี่ก่อน


คิดว่าวันนี้เป็นวันมาฆบูชา
ท่านน่าจะจำวัดอยู่ที่นี่แหละไม่ได้ไปไหน
เดี๋ยวลองถามดูว่าท่านอยู่ที่กุฏิเจ้าอาวาสรึเปล่า...
หรืออยู่ที่ไหนตอนนี้?

แล้วรถก็เคลื่อนตัวต่อไปยังเนินสูง
และและจอดลงหน้าลานทางขึ้นพระอุโบสถทรงจตุรมุขของวัดหลังงามตระการตา
ด้วยเอกลักษณ์ของพญานาคสีมรกต ๒ ตัวที่โอบพิทักษ์รอบพระอุโบสถ


Image
[พระอุโบสถทรงจตุรมุขของวัดพระพุทธบาทสี่รอย หรือโบสถ์นาคอันงามสง่าและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
: กล่าวกันว่า พระอุโบสถนาคหลังงามตระการตานี้ ท่านเจ้าอาวาสได้รับแรงบันดาลใจจากนิมิต
ที่พญานาคได้มาบอกกล่าวให้สร้าง และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานปิดทองฝังลูกนิมิต]



เมื่อเปิดประตูรถลงมา ก็ได้สัมผัสกับ “ความเย็น” สมใจ
(น่าจะประมาณ ๒๐ องศา ได้....กำลังเย็นสบายทีเดียว)

เป็นความเย็นที่ไม่ใช่เพียงแต่กายที่สัมผัสได้
แต่เป็นกระแส "ความสงบเย็น” ที่ “บริสุทธิ์...สะอาด”
ซึ่งต้องใช้ “จิต” สัมผัส
สาธุ ซึ้ง

อย่างไรก็ตาม....
ใครจะไปเชื่อว่าอากาศเย็นๆ อย่างนี้...
ยังอุตส่าห์มีแม่ค้าส่งสำเนียงเสียงใส
อู้คำเมืองเรียกให้เราลิ้มรสไอติมหวานเย็นอยู่หน้าโบสถ์ ! สงสัย


Image
[ด้านหน้าพระอุโบสถวัดพระพุทธบาทสี่รอย]


(บอกกับเธอว่า วันนี้ทานบ่ได้แล้วเจ้า ข้าเจ้าถือศีล ๘
เดี๋ยววันกลับ...จะมาอุดหนุนนะเจ้า)
ขำ

พร้อมกับเชิญชวนให้ทำบุญบูชาดอกไม้ธูปเทียน
เอนำไปสักการะรอบพระพุทธบาทไปด้วย...

(ทราบมาภายหลังว่าแม่ค้าน่ารักคนนี้
เธอไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของวัดแต่อย่างใด
เป็นชาวบ้านแถบนั้นที่รับไอติมโบราณมาขาย
แต่ก็รับอาสาทำหน้าที่ช่วยจำหน่ายดอกไม้บูชาของวัดให้ด้วย)


น้ำใจงามแต๊...โมทนาด้วยนะ...เจ้าสาธุ

แล้วเราทั้งสามก็เดินหน้าเข้าไปสักการะพระประธานวันโบสถ์


Image
[พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทสี่รอย]


และเป็นความโชคดีอย่างมากที่เวลานั้น

เราได้พบกับท่านเจ้าอาวาส...ท่านครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ
ซึ่งท่านกำลังแสดงธรรมโปรดญาติโยมบางส่วนที่ไปทำบุญกับท่านอยู่ในนั้นพอดี

เราจึงเข้าไปกราบนมัสการท่าน
และแจ้งความจำนงค์ให้ท่านได้ทราบว่า

เราทั้งสามตั้งใจขึ้นมาถือศีล เจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม
ในช่วงวันมาฆบูชา จะขอพักค้างคืนอยู่ประมาณ ๑-๒ วัน


ความเมตตาของท่านนั้นได้สะท้อนออกมาจากปฏิปทาที่เลื่อมใสหลายประการ
(ทราบมาว่า ท่านบวชมาตั้งแต่เมื่อยังเป็นเณร และไม่ฉันเนื้อสัตว์เลย)


Image
[ท่านครูบาพรชัย เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอย : ขณะกำลังให้พรคณะทัวร์ธรรมของเรา]


ท่านถามพวกเราว่า

“มาจากไหนก๊ะ”

เราก็บอกท่านไปว่า

คณะของเรามาจากกรุงเทพเจ้าค่ะ

ท่านก็บอกว่า

พักได้ตามสบาย
ที่พักมีเหลือเฟือเป็นศาลาใหญ่พักได้ ๓๐-๔๐ คน
ปกติไม่ค่อยมากันมาก
แต่วันนี้อาจมากหน่อยเพราะเป็นวันพระใหญ่

ตอนกลางคืนประมาณ ๒ ทุ่ม
จะมีพิธีเวียนเทียนรอบวิหารพระพุทธบาทสี่รอย


ให้เราไปหาที่พัก และเก็บข้าวเก็บของกันก่อน
อาบน้ำอาบท่าซะเลย
เพราะว่าถ้าเย็นหรือค่ำ คงอาบไม่ไหว จะหนาวมาก
(ทราบมาภายหลังว่า...น้ำปะปาที่นี่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากน้ำตกบนภู...
น้ำจึงเย็น.....มากๆ)



และตอนกลางคืน ปกติจะไม่มีไฟฟ้า
เพราะที่นี่ใช้แผงโซล่าเซลส์
นอกจากวันสำคัญๆ ที่อาจใช้เครื่องปั่นไฟ

(แอบนึก ! แล้ววันนี้...จะมีมั้ยหนอ) สงสัย

เรื่องนี้เรารับทราบมาก่อนแล้ว....จึงไม่หวั่นไหว
เพราะได้เตรียมไฟฉาย แบตเตอรี่ มาด้วย (ตามปกติ) สู้ สู้

หลังจากนั้นเราทั้งสาม
ก็ได้ถวายสังฆทานที่เตรียมมาจากบ้านพร้อมปัจจัยแด่ท่าน


ที่สำคัญ....คุณแม่ได้ถวายผ้าพันคอสีเหลือง
ที่อุตส่าห์นั่งหลังขดหลังแข็งถักนิตติ้งด้วยฝีมือของตัวเอง ถึง ๒ ผืน
หลังจากไม่ได้ถักมาประมาณ ๓๐ ปี
(แม่บอกยังงั้น...สงสัยเหมือนกันว่าเหตุใดแม่ยังจำได้ว่าถักยังไง..เก่งจังแม่เรา)

คุณแม่เลยปลื้มมากเลยค่ะ...
ที่มีโอกาสได้ถวายงานฝีมือของตนแด่พระสุปฏิปันโน
และทราบว่าท่านก็จะได้นำไปใช้ได้อย่างแท้จริง


หลังจากนั้นท่านก็ให้ศีลให้พรเรา
เราทั้งสามก็กราบลาท่าน เพื่อเข้าที่พักต่อไป


Image
[เรือนพักของคณะเรา และผู้มาปฏิบัติธรรมอื่นๆ : ขออภัยที่ภาพถ่ายไม่ค่อยชัดเจน
เนื่องจากช่างภาพกิตติมศักดิ์ของเรา เริ่มหนาวจนมือสั่นแล้วค่ะ ทั้งที่เวลาในขณะนั้น
ประมาณ ๖ โมงเย็นเท่านั้น....นะคะ]



ที่พักที่นี่เป็นเรือนนอน ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒ เรือน
เรือนหนึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ห้องใหญ่
แต่ละห้องรองรับผู้มาพักปฏิบัติธรรมได้ประมาณ ๓๐-๔๐ คน
แถมพร้อมสรรพด้วยผ้าห่มนวมหลากสี
ที่มีไว้ให้อุ่นกายอุ่นใจมากมายกองสุมอยู่ตรงมุมด้านใน

ส่วนห้องน้ำ...อยู่ลงมาจากเนินที่พัก
เพราะทางวัดไม่อยากสร้างให้อยู่ในระดับที่สูงกว่า
พระวิหารครอบรอยพระพุทธบาท และพระอุโบสถ

หลังจากนำข้าวของเข้าที่พักเรียบร้อยแล้ว
ตัวเองไม่ได้ใส่ใจกับคำเตือนเรื่องความเย็นเท่าไหร่
(เพราะสำหรับเราอากาศตอนนั้น...กำลังเย็นสบายดีจัง)
จึงปฏิเสธที่จะอาบน้ำตั้งแต่บ่ายสามโมง....ก็มันยังหัววันไปนี่นา
(คิดเข้าข้างตัวเองเข้าไป หารู้ไม่ว่าประมาทนัก....เดี๋ยวก็รู้สึก)

จึงได้ชักชวนกันไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาท
และเยี่ยมชมสถานที่ต่าง....ในวัด เช่น หอเทวดา ฯลฯ
ตามวิสัยของคนมีจริตอยากรู้อยากเห็น (เป็นปกติ) ขำ สาธุ

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 16 มี.ค.2008, 3:45 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 มี.ค.2008, 3:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอย พระวิหารหอเทวดา
พระเจดีย์ศรีวิชัย วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่]



พระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย

เราจากนั้นเราทั้งสามก็ได้เดินลงเนินจากเรือนพัก
มาสู่วิหารครอบรอยพระพุทธบาท
เพื่อขึ้นไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาท
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์แห่งมหาภัทรกัป
ตามที่ได้ตั้งใจไว้....ในที่สุด
ซึ้ง ตื่นเต้น ซึ้ง

สาธุ สาธุ สาธุ

Image
[พญานาคเจ็ดเศียรเฝ้าอยู่หน้าบันไดทางขึ้นพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย]


ชมภาพตั้งแต่เชิงบันไดทางขึ้นจนถึงรอยพระพุทธบาท
พร้อมเก็บเกี่ยวสาระความรู้ที่คัดลอกเรียบเรียงมาจาก
ทั้ง “หนังสือพระพุทธบาทสี่รอย”
และตำนานที่เล่าขานต่อๆ กันมาได้ตามนี้เลย...นะคะ

ตามตำนานของวัดพระพุทธบาทสี่รอยกล่าวไว้ว่า

พระยาธรรมช้างเผือก ผู้ครองนครเชียงใหม่
พร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คน
ก็เสด็จขึ้นไปกราบสักการะบูชารอยพระพุทธบาทสี่รอย
และได้สร้างครอบพระวิหารรอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว


โดยแต่เดิม ถ้าใครจะดูรอยพระพุทธบาทสี่รอย
จะต้องใช้บันไดพาดขึ้นไปดู
ซึ่งก็คงขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น

ดังนั้น พระยาธรรมช้างเผือก
จึงรับสั่งให้สร้างแท่นยืนคล้ายๆ นั่งร้าน
รอบก้อนหินที่มีพระพุทธบาทสี่รอย
เพื่อที่ผู้หญิงจะได้เห็นรอยพระพุทธบาทด้วย
และได้สร้างหลังคาชั่วคาราวมุงไว้


Image
[ทางขึ้นสู่พระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย]


ต่อมา พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
พระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้เสด็จขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย
และได้มีศรัทธาสร้างวิหารเพื่อเป็นการสักการบูชารอยพระพุทธบาทไว้ ๑ หลัง
หลังเล็กถวายเป็นพุทธบูชา


Image
[พระรูปของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ภายในพระวิหารที่ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา]


หลังจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒
ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย
ก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย
และได้รื้อพระวิหารที่ เจ้าพระยาธรรมช้างเผือก สร้างไว้ชั่วคราวนั้นเสีย
แล้วได้สร้างวิหารใหม่ครอบรอยพระพุทธบาทไว้
และได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย
เพื่อรักษาให้อยู่ค้ำชูพระศาสนาสืบไปตลอดกาลนาน


Image
[อนุสาวรีย์พระรูปของครูบาศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่ด้านซ้ายมือ
บริเวณทางขึ้นพระวิหาร วัดพระพุทธบาทสี่รอย]



(โชเฟอร์กิตติมศักดิ์ ได้เล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมว่า
ผู้ที่มาปฏิบัติที่นี่ นิยมมาขอธิษฐานจิตต่อท่านครูบาศรีวิชัยว่า...


“หากข้าพเจ้ามีวาสนาบารมีของเก่าที่เคยสะสมเป็นมูลเดิมมาแต่อดีตชาติ
ขอให้ได้สามารถนำ “ของเก่า” มาสานต่อเพื่อปฏิบัติต่อไป
จนตราบเข้าสู่นิพพานในอนาคตกาลด้วยเทอญ”)


ปัจจุบันได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหาร
ที่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้สร้างไว้แล้วทั้งหลัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖
จะเหลือไว้แต่ผนังวิหาร พื้นวิหาร และแท่นพระ ซึ่งยังเป็นของเดิมอยู่
ถ้าหากท่านมีโอกาสขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย ก็จะเห็นวิหารแห่งนี้


Image
[ภายในวิหารเล็กของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี อยู่ด้านข้างของทางขึ้นสู่พระวิหารฯ]

Image
[รูปสักการะขององค์ปู่ฤาษีนารอด ประดิษฐานอยู่ ณ ด้านซ้ายของทางขึ้นส่วนสุดท้าย
ก่อนถึงตัวพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย]



เรื่องเล่าของหินผาด้านข้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาท

มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า....

ก่อนที่จะมีคนอาราธนานิมนต์ท่าน ครูบาพรชัย เจ้าอาวาสมาจำวัด
เมื่อประมาณหลายปีที่ผ่านมานี้....

หินก้อนนี้เป็นหินผาใหญ่ ตั้งติดกับพระพุทธบาท ๔ รอย
ความใกล้ขนาดมือเอื้อมไปแตะกันได้


Image
[หินผาที่ถูกผ้าตาก อยู่ด้านข้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาท
ถัดจากองค์สักการะปู่ฤาษีนารอดเข้าไป]



แต่อยู่มาวันหนึ่ง
มีแม่ชีท่านหนึ่งเอาผ้านุ่งไปตากบนก้อนหินผาก้อนนี้
เพียงเท่านั้น.... หินผาก้อนนี้ก็แยกออกเป็นสองเสี่ยง
พร้อมขยับตัวออกห่างจากหินของพระพุทธบาทสี่รอย

เท่านั้นยังไม่พอ....

ต่อมาอีกวันหนึ่งเกิดพายุกระหน่ำ
พัดโหมประหนึ่งว่าฉุดจะกระชากวัดนี้ให้พังทะลายลง

ทันใดนั้น... เสียงฟ้าผ่าก็ดังกึกก้องลั่นพื้นพสุธา
สายฟ้าลำใหญ่พุ่งตรงลงมายังหินก้อนที่แยกเป็นสองส่วนนี้... เปรี้ยง!!!!!
มีผลทำให้หินก้อนนี้กลายเป็นหลุมโพรงขนาดใหญ่


และปรากฏให้เห็นว่าใต้หินนี้มีถ้ำ
ซึ่งในภายหลังท่านเจ้าอาวาสได้ใช้หินและปูนโบกปิดไว้แล้ว....
(อยากรู้จัง....ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น ?) อืมม์ ขำ

เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ตื่นเต้น

แต่ผลของการกระทำเช่นนี้ของแม่ชีท่านนั้น
จะด้วยความบังเอิญหรือไม่
หรือเป็นเหตุปัจจัยที่เกียวเนื่องกัน
ก็สุดจะคาดเดา....

ก็ส่งผลทำให้ท่านต้องเสียชีวิตลงในเวลาไม่นานนับแต่วันที่เกิดเหตุ
น่าเศร้าใจจังเลย.....
เศร้า

หรือเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่อันเป็นพุทธภูมิแห่งนี้
อันเป็นที่สถิตย์ของทั้ง พรหม ยม ยักษ์ เทพเทวา ฤาษี และโอปปาติกะชั้นสูง
ที่คอยอารักษ์ดูแลอยู่มากมาย....ก็เป็นได้
สาธุ

Image
[รูปปั้นนายนิรยบาลที่มีผู้นำมาตั้งไว้ในรอยหินผาที่แตกแยกออกมา...ในเวลาต่อมา]

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 17 มี.ค.2008, 3:55 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2008, 1:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระคาถาสักการะรอยพระพุทธบาทสี่รอย

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุ โกสัมพิยัง อะวิทูเร เวภาระ ปัพะเต
กะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม
ปาทะเจิตยัง ชินะธาตุ จะฐะ เปตวา อะหัง วันทามิ ทูระโต


สาธุ สาธุ สาธุ

รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์นี้
เป็นรอยที่บริสุทธิ์หมดจดพิเศษบริบูรณ์
จะเสด็จไปประทับไว้ ณ แห่งหนตำบลใด
ก็มีผู้ไปเคารพกราบไหว้เป็นสิริมงคลตลอดกาล
กล่าวกันว่าเป็น “ทัสสนานุตริยะ” (การเห็นอันเยี่ยม)
แก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง


Image
[รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ที่ล่วงมาแล้ว ในภัทรกัป ประทับซ้อนกัน]


ลักษณะของรอยพระพุทธบาท
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์แห่งมหาภัทรกัป อันได้แก่

พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคมโน
พระพุทธเจ้ากัสสโป พระพุทธเจ้าโคตโม (องค์ปัจจุบัน)


มีลักษณะประทับซ้อนกันตามลำดับดังนี้

๑. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
ซึ่งเป็นรอยแรก เป็นรอยใหญ่ยาว ๑๒ ศอก

๒. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมโน
ซึ่งเป็นรอยที่ ๒ ยาว ๙ ศอก

๓. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสโป
ซึ่งเป็นรอยที่ ๓ ยาว ๗ ศอก

๔. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตโม (องค์ปัจจุบัน)
ซึ่งเป็นรอยที่ ๔ ยาว ๔ ศอก


Image
[รอยพระพุทธบาทที่ประทับซ้อนกันของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์]


พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาล
ล้วนได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นี้ ทุกพระองค์

และแม้ พระศรีอริยเมตไตรย
ก็จะเสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นี้
และจักประทับรอยพระพุทธบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
(คือ ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว)...ในอนาคตกาลเช่นกัน


ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน
รอยพระพุทธบาทสี่รอยเป็นโบราณวัตถุ
ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖


อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่า การบูรณะพระพุทธบาทนี้
ท่านครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ เจ้าอาวาส
ท่านไม่ได้ทำการบอกบุญ แต่ประการใด

แต่อาศัยบารมีของพระพุทธบาท
และอธิษฐานบอกกล่าวเทพเทวาว่า
จะสร้างโบสถ์ก็เป็นไปตาม “ต๋ า ม ห น้ า บุ ญ เ ต๊ อ ะ”


คือมีก็ฉัน ไม่มีก็ฉัน มีก็เอา ไม่มีก็ไม่เอา ใครจะมาทำบุญก็มา
โดยอธิษฐานต่อจากครูบาเจ้าศรีวิชัย เทพเทวา
โดยไม่วุ่นวาย ไม่ต้องยึดติดกังวลทั้งปวง

นอกจากนี้ ยังมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า
ใต้ฐานพระของพระพุทธบาทมีทรัพย์สมบัติของคนโบราณฝังไว้
พอยุคของพระศรีอาริยเมตไตรยจึงจะเปิดออกมาได้


Image
[ภาพรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในภัทรกัปนี้]


วิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องในการสักการะรอยพระพุทธบาทสี่รอย

บุคคลใดที่จักขึ้นไปนมัสการกราบไหว้พระพุทธบาทสี่รอยอันประเสริฐ
ถ้าเป็นพระภิกษุก็ให้ชำระสิกขาบทและจตุปาริสุทธิศีลให้บริสุทธิ์เสียก่อน

ถ้าเป็นสามเณรก็ให้ชำระสังคหะศีลให้บริสุทธิ์เสียก่อน
ถ้าเป็นผ้าขาว (ชี) หรือคนผู้หญิงผู้ชายทั้งหลาย
ก็ควรสังวรรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ให้บริสุทธิ์เสียก่อน

หากว่าเป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์
ย่อมไม่เป็นที่พอใจแห่งเทวดาทั้งหลาย....


จงเป็นผู้สังวรในอินทรีย์ทั้ง ๖

คือ รักษาปาก หู ตา รักษา จมูก ลิ้น รักษากายและใจ
อย่าให้บาปบังเกิดขึ้นโดยแท้ อย่าทะเลาะวิวาทกัน
อย่าฆ่าสัตว์ อย่าลักของท่าน อย่ามายาสาไถย อย่าเล่นชู้
อย่าพูดเท็จโกหก อย่ากล่าวคำผรุสวาท อย่ากล่าวคำที่หาประโยชน์มิได้
อย่าดื่มสุรายาเมา และอย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะ สั่งน้ำมูกน้ำลาย
ที่เชิงเขาพระพุทธบาทด้านตะวันตก
ให้ไปถ่ายหรือถ่มด้านตะวันออกของพระพุทธบาทโน้นเถิด

ประการหนึ่ง ถ้าเป็นผู้หญิงขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้น
ห้ามล่วงล้ำเข้าไปในเขตรั้วล้อมพระพุทธบาท


ห้ามโปรยข้าวตอก ดอกไม้หรือสิ่งของต่างๆ เช่น เหรียญบาท เป็นต้น
บนรอยพระพุทธบาท และรูธาตุ ให้ไว้ที่พระอรหันต์นั่งนั้น
หากสมควรแล อย่าเอาเทียนติดก้อนหิน ที่พระพุทธเจ้าประทับนั้น
อย่าตีกลองสะบัดชัย อย่ากางทุงแร (ธงแพร) ใกล้พระบาท
เพราะลมจะเพิกพัดถูกใส่ไฟ
ไฟจะไหม้รอยพระพุทธบาทจะเป็นบาปมากนัก


Image
[ภาพแสดงการประทับซ้อนรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ในมหาภัทรกัป]


ซึ้ง สาธุ สาธุ สาธุ ซึ้ง

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2008, 4:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ห อ เ ท ว ด า

เมื่อคณะทัวร์ธรรมของเราได้ขึ้นไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาท
พร้อมถวายดอกไม้เพื่อเป็นพุทธบูชา ด้วยความปลื้มปิติแล้ว

ก็ชักชวนกันลงไปจากวิหารครอบรอยพระพุทธบาท
เพื่อเดินอ้อมลงทางด้านหลังเยื้องไปซ้ายของพระวิหาร
มุ่งไปยัง “ห อ เ ท ว ด า”
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความร่ำลือกันว่า....

ผู้ใดได้ไปนั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนาที่นี่
จะต้องได้รับประสบการณ์ปาฏิหาริย์กันทุกคน!!!


Image
[รูปปั้นท้าวเวสสุวัณคู่ยืนพิทักษ์อยู่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระในหอเทวดาอย่างน่าเกรงขาม]

Image
[รูปปั้นท้าวเวสสุวัณคู่ยืนพิทักษ์อยู่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระในหอเทวดาอย่างน่าเกรงขาม]

Image
[พระศรีอาริยเมตไตรย]

Image
[ท่านครูบาศรีวิชัย]

Image
[หลวงปู่แหวน สุจิณโณ]

Image
[ดอกบัวแก้ว ดอกบัวทอง อันงดงามที่มีผู้นำมาสักการะบูชาหลวงปู่แหวน สุจิณโณ]


หอเทวดา นามนี้ คงสันนิษฐานได้ว่า
ณ ที่แห่งนี้น่าจะเป็นที่สถิตย์ของเหล่าเทพเทวา และโอปปาติกะชั้นสูง
ซึ่งทำหน้าที่อภิบาลรอยพระพุทธบาทไว้
ตั้งอยู่ด้านหลังเยื้องไปทางซ้ายของวิหารครอบรอยพระพุทธบาท
เป็นศาลาสร้างด้วยไม้สัก
แต่ปูพื้นด้วยกระเบื้อง และซีเมนต์บางส่วน

ภายในได้รับการประดิษฐานไปด้วยรูปพระปฏิมากร
รูปสักการะของพระอริยะเจ้า
พระเกจิอาจารย์องค์สำคัญๆ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวล้านนา
และเหล่ารูปสักการะขอผู้พิทักษ์สถานที่แห่งนี้

แล้วจะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับประสบการณ์ของการนั่งกรรมฐานที่นี่..
ในคืนที่สอง...ในโอกาสต่อไป..นะคะ
ตื่นเต้น สงสัย

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2008, 12:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย ในคืนเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๓, ๒๕๕๑]


ประทักษิณ ๓ รอบ...ถวายสักการะเป็นพุทธบูชาในคืนมาฆบูชา

บ่ายสี่โมงกว่า หลังจากที่ลงจากหอเทวดาแล้ว
เราทั้งสามก็จำต้องกลับมาที่พักเพื่อทะยอยกันอาบน้ำ
เพราะสัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลงๆ....อีก

ขอบอกว่า...ขันแรกที่รดลงก็ไม่รู้สึกอะไรเลย
เพราะมันเย็นเยียบจนชาไปหมดทั้งตัวเลยค่ะ


มาคราวนี้ต้องแต่งชุดขาวอย่างรัดกุมทะมัดทะแมงหน่อย
เลยไม่ได้นุ่งซิ่นห่มสะไบเหมือนที่ไปวัดมเหยงคณ์
เสื้อยืด และกางเกงขาวทั้งชุด
แถมแจ๊กเก็ตกันลมและผ้าพันคออีกผืน
ก็น่าจะเหมาะ และเอาอยู่กับสภาพอากาศคืนนี้....
ที่เราจะไปเวียนเทียนและเจริญกรรมฐาน
ที่วิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย

(ประมาทเป็นครั้งที่ ๒...จนได้) ขำ

จัดเตรียมอาสนะ กระติกน้ำดื่ม
ราว ๖ โมงกว่าเรา ทั้งสามก็มุ่งหน้าขึ้นสู่พระวิหาร
มีผู้ปฏิบัติบางท่านเริ่มจับจองที่นั่งด้านล่างรอบพระวิหารกันบ้างแล้ว
ทุกคนล้วนเตรียมกายเตรียมใจ
เพื่อพิธีเวียนเทียนสักการะรอยพระพุทธบาท
ในคืนเพ็ญอันเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต...มาฆบูชา

ระหว่างที่นั่งรอท่านครูบาพรชัยเริ่มพิธีที่จะมีขึ้นราว ๒ ทุ่ม
ทุกคนก็ต่างปฏิบัติของตนไปตามจริต
และวิธีเจริญกรรมฐานที่ได้ร่ำเรียนฝึกฝนมา
บ้างก็สวดมนต์ บ้างก็เดินจงกรม....เพื่อคลายหนาวไปด้วย
บ้างก็นั่งสมาธิเจริญสมถะ...บ้างก็เจริญสติปัฏฐาน
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม...ไปเช่นเรา
ด้วยการเดินจงกรม และนั่งสลับกันไป


Image

เมื่อเริ่มพิธี ท่านครูบาพรชัย ก็ได้นำสวดบูชาและสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
สวดบารมี ๓๐ ทัศ สวดคาถาบูชาสักการะรอยพระพุทธบาท ฯลฯ
รวมทั้งสวดมนต์แบบล้านนาที่มีสำเนียงลีลาที่แปลกหู
ด้วยพลังเสียงที่กังวานไม่มีตก....ติดต่อกัน
รวมเวลาก่อนที่จะได้เวียนเทียนราว ๒ ชั่วโมงเห็นจะได้!!!

(มีผู้ปฏิบัติแถวนั้นบอกว่า....ท่านไม่ได้สวดเองคนเดียวหรอก...
มี “ผู้อื่น” มาช่วยสวด....แล้วผู้ได๋กันที่ช่วยสวด)
สงสัย

อยากบอกว่า.....

เหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น
ขณะที่ทำสมาธิฟังเสียงสวดมนต์ไปด้วย
ทำให้เรามีโอกาสได้พิจารณาทั้งเวทนาที่เกิดขึ้น
และพิจารณาจิตของตนที่กำลังเริ่มถูกก่อกวน
ด้วยความกระวนกระวายได้ดีเหลือเกินค่ะ


เพราะด้วยอุณหภูมิของอากาศที่ลดลงอย่างรวดเร็วทุกขณะ
เหมย.....(น้ำค้าง) ก็กำลังลง
ประกอบกับความต้องการของร่างกาย
ที่เรียกร้องให้เข้าห้องน้ำซึ่งทวีขึ้นทุกๆวินาที
แต่ตั้งใจว่าจะไม่ลุกขึ้นไประหว่างนี้อย่างเด็ดขาด
จนกว่าท่านจะสวดจบ....

Image

แต่....ดูเหมือนเวลาในขณะนั้นก็ช่างเคลื่อนไปอย่างเชื่องช้า
กว่าจะผ่านไปแต่ละนาที
โอ้ละหนอ....ตัวเรา
ต้องใช้ขันติและความเพียรพยายาม
ในการต่อสู้กับมันอย่างอย่างสูงทีเดียว


สาธุ....เมื่อเสียงสวดมนต์หยุดลง
ในที่สุดความทุกข์ทรมานนี้ก็คลี่คลายไปเป็นธรรมดา
เพราะจุดมุ่งหมายที่ตรงกันของทุกคนในช่วงนี้
ล้วนมุ่งหน้าตรงดิ่งไปยังห้องน้ำ....เหมือนกัน

(แต่กว่าได้ขยับขยายค่อยๆ เปลี่ยนอริยาบถได้
ก็แทบแย่เพราะเหน็บได้รับประทานขาเราจนแข็งไปหมดแล้ว)....


(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 18 มี.ค.2008, 3:21 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2008, 3:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประมวลภาพการเวียนเทียนบูชารอยพระพุทธบาทสี่รอย

พักได้ประมาณ ๑๐ นาที ก็ได้เวลาเริ่มพิธีเวียนเทียน
ท่านครูบาพรชัย นำสวดอติปิโสตลอด ๓ รอบประทักษิณ

..เอ! มีพระ ๔ รูป
ที่ท่านห่มจีวรสีแตกต่างจากครูบาพรชัยมาร่วมพิธีนี้ด้วย
แต่ทำไมช่างคุ้นหน้าท่านเหลือเกิน
เราว่าเราเคยเห็นท่านที่อยุธยา....นี่นา....


มองไปมองมา...ก็ถึงบางอ้อ!!!
ที่แท้ท่านก็เป็นพระจาก สำนักวิปัสสนากรรมฐานปรมัตถภาวนา
ดอยภูโอบ
ซึ่งเป็นสาขาของ วัดมเหยงคณ์ นั้นเอง
ท่านก็มาร่วมในพิธีเวียนเทียนครั้งนี้ด้วย!!!...ดีจังเลย
สู้ สู้ ซึ้ง สาธุ

(และแล้วโปรแกรมของวันรุ่งขึ้น ก็ถูกบรรจุไว้ในหัวสมองทันทีเลยค่ะ)
ยิ้มเห็นฟัน เจ๋ง ขำ

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image

เมื่อพิธีเวียนเทียนครบ ๓ รอบพระวิหารแล้ว
สาธุชนก็พากันนำดอกไม้ธุปเทียน
ขึ้นไปวางสักการะที่รอยพระพุทธบาทบนพระวิหาร

ท่านครูบาพรชัยก็ได้แสดงธรรมโอวาท
เกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา
และการสำรวมปาติโมกข์อีกพักใหญ่


หลังจากนั้นหลายคนก็เริ่มทะยอยกลับ
มีสาธุชนบางท่านที่ตั้งใจเดินทางขึ้นมาพระพุทธบาทสี่รอย
เพียงเพื่อขอให้ได้ร่วมพิธีเวียนเทียน
สักการะบูชารอยพระพุทธบาทในวันสำคัญเช่นนี้
แล้วเดินทางกลับลงไปคืนนี้เลย

สำหรับอีกหลายคนก็อยู่ค้างคืนกันที่นี่

ส่วนคณะทัวร์ธรรมของเรา
ก็เจริญจิตภาวนานั่งสมาธิ พิจารณากายใจกันต่อไป
จนเกือบตีหนึ่งบนพระวิหาร
และตัดสินใจกลับไปพักผ่อนกันในที่สุด


ไม่ใช่เพราะง่วง....
ไม่ใช่เพราะเพลีย....
ไม่ใช่เพราะเมื่อย
ไม่ใช่เพราะกลัว....


แต่เพราะ...จำต้องยอมจำนนต่ออุณหภูมิ
ที่ลดลงเหลือเพียง ๑๑-๑๒ องศา ต่างหากค่ะ


ที่นี่...ทำให้เราค้นพบสัจจธรรมว่า
เหมาะสำหรับการฝึกฝน & เสริมสร้างขันติ และวิริยะบารมี....
อย่างหาที่เปรียบมิได้...จริงจริง


สาธุ สาธุ สาธุ

(มีต่อ : สำนักวิปัสสนากรรมฐานปรมัตถภาวนา สาขาวัดมเหยงคณ์)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2008, 11:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[พระพุทธรูปศิลาปางนาคปรก ณ ลานปฏฺบัติธรรม สำนักปรมัตถภาวนา ดอยภูโอบ
(สาขาวัดมเหยงคณ์) อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่]



เยือนสำนักวิปัสสนากรรมฐานปรมัตถภาวนา สาขาวัดมเหยงคณ์

ตลอดระยะเวลาของคืนแรกที่นี่
เพิ่งซาบซึ้งและเข้าใจในความหมายของคำว่า
“หนาวจับจิต” ก็คราวนี้แหละค่ะเพื่อนๆ

ขนาดใส่เสื้อกันหนาวเข้าไปอีก ๑ ตัว
เพิ่มผ้านวมทับลงไปอีก ๒ ผืน
ยังนอนกระสับส่ายเพราะความหนาว
ที่ประหนึ่งว่ามันได้เสียดแทงเข้าไปในทุกอณูของกระดูก


ถึงแม้ว่า...
เมื่อคืนกว่าจะหลับลงได้ก็ปาเข้าไปเกือบตีสอง....
รุ่งขึ้นเราก็ตื่นขึ้นด้วยความกระปรี้ประเปร่าสดใส

เรื่องอาบน้ำตอนเช้าน่ะเหรอคะ...ลืมไปเลย
อย่างดีก็ล้างหน้าแปรงฟัน..ก็เกินพอ

รีบลงมาหาซื้อภัตตาหารที่ทางโรงครัวเค้าเตรียมทำไว้
เพื่อให้ผู้มาปฏิบัติธรรมได้ทำบุญตักบาตรพระ...
และเลี้ยงตัวเองตามกำลังศรัทธา....
อยากทำเท่าไหร่ ก็ทำไปลงในกล่องที่เค้าตั้งไว้รับบริจาค

เป็นอาหารง่ายๆ ตามสไตล์พื้นเมือง...รสชาวเหนือ

ในที่สุด...เราทั้งสามก็ได้ตักบาตรพระสงฆ์จาก อยุธยา...
ที่ เจียงใหม่...สมใจ


หลังจากนั้น....ก็พักผ่อนกันตามสบาย
ใครใคร่ทำอะไรทำ ใครใคร่ปฏิบัติ
เดินจงกรม นั่งสมาธิ ก็ทำไปตามอัธยาศัย

รอจนสายหน่อย ค่อยตัดใจอาบน้ำ
พอหาอะไรทานตอนเพลเสร็จแล้ว

อย่ากระนั้นเลย...มาถึงที่นี่แล้ว
จะอยู่เฉยได้ไง
ทราบมาว่าเป้าหมายของวันนี้ที่เราตั้งใจไว้
ก็ตั้งอยู่ถัดขึ้นไปจากวัดพระพุทธบาทสี่รอยอีกเพียงกิโลเดียว
จะไม่ไปเยือนก็เสียชื่อศิษย์วัดมเหยงคณ์แย่น่ะสิ...!


Image
[มุมหนึ่งของทัศนียภาพเมื่อมองจากลานปฏิบัติธรรม สำนักปรมัตถภาวนา ดอยภูโอบ]


ทราบมานานแล้วว่าวัดมเหยงคณ์มีสาขาอีก ๒ แห่ง
สาขาแรกก็คือที่ วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
สาขาที่ ๒ ก็คือที่นี่...ดอยภูโอบ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
และสาขาที่ ๓ ก็อยู่ที่ อ. เถิน จ.ลำปาง

(ถือโอกาสประชาสัมพันธ์...ซะเลย คงไม่ว่ากันนะคะ) ขำ ยิ้มเห็นฟัน

แต่ไม่คิดเลยว่าตัวเองจะมีโอกาสได้มาสัมผัส....ที่นี่ในวันนี้
วันที่...ที่นี่ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี
วันที่...ยังไม่ได้เปิดรับผู้ให้เข้าอบรมกรรมฐานอย่างเป็นทางการ....


อย่างไรก็ตามทราบอีกว่า
ในราววันที่ ๒๑ มีนาคมศกนี้
จะมี การเปิดอบรมวิปัสนากรรมฐานปิดวาจา ๙ วัน เป็นรุ่นแรก


จากวัดพระพุทธบาทสี่รอยชั่วไม่ถึงอึดใจ
เราทั้งสามก็มาถึงสำนักปรมัตถภาวนา ดอยภูโอบ...สาขาวัดมเหยงคณ์
สู้ สู้ ยิ้ม

ทันทีที่เราลงจากรถ ....

ถ้าไม่รู้มาก่อนว่าที่นี่คือสถานที่ปฏิบัติธรรม
ภาพและบรรยากาศที่ประจักษ์แก่สายตา
ท่ามกลางภูเขาและเงาไม้ที่โอบล้อมอยู่ขณะนี้
คงทำให้เราเข้าใจว่ากำลังอยู่ในรีสอร์ทขนาดเล็ก
ที่เรียบง่ายด้วยการปลูกสร้าง และซ่อนตัวอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ...
สงบ....สะอาด...สัปปะยะ...อะไรเช่นนี้
เหมาะแก่ปลีกวิเวก....การเจริญจิตภาวนา...จริงจริง
สู้ สู้ เจ๋ง

Image
[กุฏิหญิงของผู้มาอบรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานปิดวาจา ๙ วัน]

Image
[ทัศนียภาพเมื่อมองจากลานปฏิบัติธรรม จะเห็นหลังคาของกุฏิหญิงของผู้มาอบรมเจริญวิปัสสนา]


กวาดสายตาไปรอบๆ อย่างคร่าวๆ
ก็พบว่าที่นี่มีกุฏิรองรับผู้มาปฏิบัติราว ๒๐ กว่าหลัง


ยังไม่ทันได้ดูอะไร...เท่าไหร่เลย
ก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง
เดินออกมาจากกุฏิไม้ไผ่ฝาขัดแตะบริเวณหน้าวัด
(เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปไว้ค่ะ)

ออกมาถามเราว่า

“มาหาใครกันรึโยม”

เราก็กราบนมัสการท่าน พร้อมแนะนำตัวเองว่า

“เราสามคนเคยไปปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมภาวนา
ที่วัดมเหยงคณ์ อยุธยา อยู่บ่อยๆ เจ้าค่ะ
มาฆบูชานี้ได้มาปฏิบัติที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย
ทราบว่าสาขาของวัดมเหยงคณ์ที่ ๒ อยู่ที่นี่
เลยขอมาเยี่ยมชมและขอถวายสังฆทานด้วยเจ้าค่ะ”


ท่านก็รับประเคนสังฆทาน
และอนุโมทนาสาธุ พร้อมให้พรพวกเราใหญ่
จากนั้นก็เอาเสื่อมาให้เราปูนั่ง....สนทนากัน


Image
[โรงทานของสำนักปรมัตถภาวนา ดอยภูโอบ]


ท่าน “ประเทิน” เล่าให้เราฟังว่า
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ อยุธยา
มอบหมายให้ท่านพร้อมกับพระอีก ๓ รูปมาอยู่ดูแลที่นี่

แรกเริ่มเดิมที
พระอาจารย์เองท่านก็ประสงค์จะให้มีการขยับขยาย
สถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อรองรับปริมาณของผู้มาปฏิบัติที่มากขึ้นๆ ที่อยุธยา
แต่ท่านอยากให้เป็นไปในลักษณะ
ของการอบรมกรรมฐานแบบต่อเนื่องระยะยาว...มากกว่า


แล้วไม่นาน
ก็มีโยมอุปัฏฐากของวัดผู้มีจิตศรัทธา
ถวายที่ดินผืนนี้ที่ดอยภูโอบ...ให้แก่วัดเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว
จากนั้นก็มีผู้บริจาคปัจจัยค่อยๆ สร้างพัฒนาวัดขึ้นเป็นลำดับ
จนเป็นอย่างที่เห็น...


แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี
เพราะยังต้องใช้ปัจจัยในการปรับแต่งพื้นที่ภูมิทัศน์อีกพอสมควร


ท่านได้พาเราไปดูระบบน้ำประปาของที่นี่
ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากตาน้ำใต้ดินที่ผุดขึ้นมา
และทางวัดได้ขุดท่อรองรับเพื่อเก็บกักน้ำไว้
ส่วนไฟฟ้าก็ยังไม่มี

คงต้องใช้แผงโซล่าส์เซลส์และเครื่องปั่นไฟ
เหมือนวัดพระพุทธบาทสี่รอยเช่นกัน


Image
[โชเฟอร์ หรือช่างภาพกิตติมศักดิ์ที่ตอนนี้ขอแอ๊คท่าบ้าง เพื่อเป็นโฟรกราวด์
ให้เห็นภาพบรรยากาศของ “ดอยภูโอบ” เบื้องหลัง....]



ท่านบอกว่าที่นี่หนาวทั้งปี

เพราะอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร
ช่วงนี้ยังดีหนาวน้อยกว่าเดือนมกรา
เมื่อคืนก็ประมาณ ๑๑-๑๒ องศา...เท่านั้น
(แล้วถ้าช่วงหนาวมากจะกี่องศากันล่ะคะท่าน) ตกใจ

เราเรียนถามท่านว่า

แถวนี้หาบ้านคนได้ยาก
ปกติท่านบิณฑบาตเส้นทางไหน....เจ้าคะ?


ท่านบอกว่า....

เลยขึ้นไปเป็นป่าล้วนๆ...ไม่มีบ้านคนเลย
ต้องเดินลงไปบิณฑบาต...ผ่านวัดพระพุทธบาทสี่รอยลงไปอีก


(ดีล่ะ....พรุ่งนี้เราจะรอใส่บาตรให้ท่านอีก...
ท่านคงจำเราไม่ได้ว่าเมื่อเช้าเราก็ใส่ท่าน
เพราะเมื่อเวลารับบาตร...
ทุกท่านล้วนสำรวมไม่เงยหน้าขึ้นมามองผู้ใส่คนใดเลย)
สู้ สู้

สนทนากันสักพักเราก็ขอตัวไปเก็บภาพสถานที่มาให้ชม...ดังที่เห็นกัน


Image
[ทางเดินขึ้นเนินไปสู่เขตสังฆาวาส และกุฏิของอุบาสกที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง]


ก่อนกลับท่านบอกพวกเราว่า

ถ้าวันหลังขึ้นมาที่พระพุทธบาทสี่รอย
จะมาพักที่นี่ก็ได้
จะให้คนเปิดกุฏิให้

กุฏิสำหรับอุบาสิกา
พักได้หลังละ ๒ คน มีห้องน้ำในตัว
ส่วนที่พักของอุบาสกอยู่ทางด้านหลัง
ติดกับเขตสังฆาวาสที่ต้องเดินขึ้นเนินไปอีก


บอกกับตัวเองในใจว่า

แน่นอนค่ะท่าน
ยังไงโยมก็ต้องมาอีก
รอก่อนนะ...ดอยภูโอบ


อีกไม่นาน....เราคงได้พบกันอีก
ยิ้ม ยิ้ม

Image
[ทำความสะอาด และกราบพระปฏิมาที่ได้รับการประดิษฐานไว้
ณ ลานปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนกลับ]


สาธุ สาธุ สาธุ

(มีต่อ : คืนที่สอง กรรมฐานที่หอเทวดา)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[“นาคเกี้ยว” : บริเวณด้านข้างของพระอุโบสถนาค
ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการฝังลูกนิมิต]



กลับมาจาก สำนักปรมัตถภาวนา ดอยภูโอบ
ถึงวัดพระพุทธบาทแล้ว
ช่วงบ่ายๆ อย่างนี้เราทั้งสามก็ไปหาไปที่ปฏิบัติตามอัธยาศัยกัน

คุณแม่ชอบสวดมนต์
จึงไปนั่งสวดมนต์ที่พระอุโบสถนาค
เราก็ตามไปด้วย....
เพื่อไปเดินจงกรมรอบโบสถ์ ๓ รอบ ตามที่ตั้งในไว้

เชื่อมั้ยคะ...แดดแรงฟ้าแจ้งจางปางอย่างนี้
แต่เมื่อเท้าเปลือยเปล่าของเราสัมผัสกับพื้นหินอ่อนของโบสถ์
ก็พบว่าไม่ร้อนอย่างที่คิดเลย
สู้ สู้

เราจึงเดินจงกรม สำรวมสติ
ได้อย่างไม่ต้องผจญกับเวทนา (ที่น่าจะเกิดขึ้น) แต่อย่างใด
อากาศดี สถานที่สงบ สัปปายะ...อย่างนี้
จิตก็สุขสงบเร็วไปด้วยโดยปริยาย

ครบ ๓ รอบก็เข้ามานั่งกรรมฐานที่โบสถ์นาคกันอีกพักใหญ่


Image
[พระพุทธรูปในพระอุโบสถนาค วัดพระพุทธบาทสี่รอย]


บ่ายแก่ๆ ได้เวลาต้องอาบน้ำกันแล้ว
เพราะคืนนี้เรามีนัดกันว่าจะไปนั่งกรรมฐานที่หอเทวดา
จึงต้องเตรียมพร้อมกันให้มากกว่าเดิม
เพื่อผจญกับความหนาวเหน็บ
ที่มอบให้เราได้ซาบซึ้งแล้วเมื่อคืน

แต่งตัวเสร็จ..ก็ให้สงสัยเป็นกำลังว่า
อันตัวเรานี้....สงสัยกำลังจะไปรบกับความหนาวหรืออย่างไร!?!?
ขำ สงสัย

เพราะทั้งเสื้อยืดสีขาว สเว็ตเตอร์ แถมแจ็คเก็ตกันลม และผ้าพันคอ อีกผืน
ที่สำคัญ ทั้งสามไม่ลืมที่จะแบกผ้าขนหนูผืนใหญ่คนละ ๑ ผืน
ที่ตั้งใจเอาไว้คลุมตัวตัวกันลมหนาวและน้ำค้างยามดึกไปด้วย

ให้มันรู้กันไป...ว่าพร้อมสรรพขนาดนี้จะเอาไม่อยู่

หกโมงกว่าก็ได้เวลาเคลื่อนทัพไปผจญกับ
กิเลสและความหนาวที่วิหารพระพุทธบาทสี่รอย

ข้อดีของที่นี่ประการหนึ่งที่เราค้นพบก็คือ

แม้ว่าเหน็บหนาวเพียงใด
แต่ก็หามีเจ้ายุงป่าสักตัวมากล้ำกรายให้เราต้องระคายผิวไม่
ฉะนั้น....เป็นอันว่าสเปรย์กันยุงที่เราอุตส่าห์เตรียมไป
จึงไม่ต้องใช้กันล่ะงานนี้

ที่นี่เราปฏิบัติกันอย่างเป็นอิสระ
ไม่มีการทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นอย่างเป็นทางการพร้อมกัน
ท่านเจ้าอาวาสท่านให้ญาติโยมผู้มาปฏิบัติ
ต่างคนต่างคนต่างทำกันเองตามอัธยาศัย

เท่าที่เห็นวันนี้มีผู้คนเหลือประปรายบางตา
มีเพียงอุบาสิกา ๒ ท่านที่มานั่งสมาธิอยู่ก่อนแล้ว
และมีอุบาสก ๑ ท่านที่กำลังเดินจงกรมรอบพระวิหารอยู่

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2008, 3:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ก ร ร ม ฐ า น ที่ ห อ เ ท ว ด า

เราทั้งสามเข้าไปจับจองที่เพื่อปูอาสนะ
บนลานหินอ่อนด้านล่างของวิหารพระพุทธบาทสี่รอย

คุณแม่นั่งสวด ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ไป
เราและโชเฟอร์กิตติมศักดิ์ก็ไปเดินจงกรม
พิจารณากาย ใจ ตามหลัก สติปัฏฐาน ๔
บริเวณลานด้านล่างพระวิหารซึ่งติดกับหอเทวดาตามอัธยาศัย

เดินไปเดินมาสักพักใหญ่
ไม่รู้ว่า....เวลาผ่านไปนานแค่ไหนแล้ว
รู้แต่ว่าอุณหภูมิน่าจะเริ่มจะลดลงอย่างรวดเร็ว
เพราะเท้าเปล่าเริ่มสัมผัสได้ถึงความเยียบเย็นของพื้นหินอ่อน
ที่เย็นจนคิดไปว่ากำลังย่ำอยู่บนก้อนน้ำแข็งอยู่ก็ไม่ปาน!!!

สักพักโชเฟอร์กิตติมศักดิ์
ก็เดินตรงรี่เข้ามาหา
กล่าวกับเราว่า.....


(คำเตือน : โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและไตร่ตรองก่อนเชื่อ)

“เมื่อสักครู่....ปู่ฤาษีนารอดได้มาบอกผ่านเขาว่า
ให้บอกอีหนูคนนั้นด้วยว่า
ให้บริกรรมมนต์ คำว่า “XXXXX XXX”
ต่อไปนี้ทุกครั้งที่จะเจริญสมณกรรมฐานด้วยแล้วจะดีเอง....”


(ขออภัยที่ไม่สามารถบอกล่าวแก่สาธารณะได้
ว่าคำที่ปู่ฤาษีท่านบอกเราคืออะไร
เพราะท่านให้สงวนไว้เป็นคำมนต์เฉพาะตัว
และไม่อนุญาตให้เผยแผ่ค่ะ
ซึ่งก่อนนี้ที่กัลยาณมิตรผู้นี้ได้มาปฏิบัติธรรมที่นี่
ก็ได้รับการชี้แนะจากท่านเช่นกัน....
เป็นอีกคำที่จนบัดนี้เขาก็ไม่ได้บอกเราเลย)


เราก็รับทราบ
ถามว่าลังเลสงสัยหรือไม่
กับสิ่งที่โชเฟอร์กิตติมศักดิ์ได้บอกกล่าว

ตอบไม่ได้...แต่ต้องพิสูจน์ สู้ สู้ สาธุ

เพราะเรามิได้เป็นผู้มีอภิญญา
ยังมิสามารถสื่อสัมผัส กับโอปปาติกะชั้นสูงได้ด้วยตาในเช่นเขา
(ถ้าจะเห็นขอเห็นได้ด้วยตาเนื้อดีกว่า...
จะได้ไม่หลงคิดว่านี่คือนิมิตที่ปรุงแต่งไปเองรึเปล่า)
ยิ้มเห็นฟัน

อย่างไรก็ตาม....จากประสบการณ์ที่ได้รู้จักกันมานาน
เราตระหนักดีว่ากัลยาณมิตรผู้นี้มี “ตาดี” อยู่ในตัว

และจากการไปปฏิบัติธรรมมาด้วยกันมากมายหลายครั้ง
ก็ทำให้เรา....ผู้มักมีวิจิกิจฉากับเรื่องอภิญญาปาฏิหาริย์เสมอ
ต้องยอมจำนนให้กับความลังเลสงสัยของตนเองหลายประการ
ที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว...จากเขา


ดีล่ะ....คืนนี้จะได้พิสูจน์กัน

เรื่องอย่างนี้...เป็นปัจจัตตัง....รู้ได้เฉพาะตน

พักยกกับการเดินจงกรม
เราก็ต่างไปทำธุระที่ห้องน้ำกันเรียบร้อย

จากนั้นก็กลับมาที่พระวิหารอีกครั้ง
เพื่อไปนั่งกรรมฐานที่หอเทวดาตามที่ตั้งใจไว้

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง