Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องของวิเวก : นาวาเอก (พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.พ.2008, 10:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เ รื่ อ ง ข อ ง วิ เ ว ก
นาวาเอก (พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ

คำว่า “วิเวก” ในพจนานุกรม
หมายถึง ความเงียบสงัด การปลีกตัวไปอยู่ที่ที่สงัด
ทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวแต่สงบใจ


ในทางศาสนาแยกวิเวกเป็น ๓ ลักษณะ คือ

กายวิเวก : ความสงัดกาย

หมายถึงการปลีกตัวไปอยู่ในสถานที่สงัด

จิตวิเวก : ความสงบทางจิต ไม่ฟุ้งซ่าน

และ

อุปธิวิเวก : ความสงบจากกิเลสทั้งปวง

ในชีวิตฆราวาส มองเผินๆ ก็ดูเหมือนว่าไม่จำเป็น

แต่ถ้าพิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนแล้ว
การดำเนินชีวิตแบบผู้ครองเรือนยังต้องการวิเวก และจิตวิเวกอยู่ไม่น้อย
ยิ่ง อุปธิวิเวก คือการไม่ปล่อยให้กิเลสท่วมทับตัวเองเกินไป
เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง


เมื่อเวลาทุกข์หนัก อยากแก้ปัญหาชีวิต
เรามักปลีกตัวไปอยู่ที่สงัดตามลำพัง ลูกเมีย ตลอดเพื่อนฝูง
มักถูกปฏิเสธด้วยคำว่า “ผมอยากอยู่คนเดียวสักพัก”
แล้วปิดประตูขังตัวเองแสดงว่านั่น คือ

ความวิเวกทางกายเป็นความสุขอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ยังครองเรือน
และเมื่อหาความสงบทางกายได้
ความสงบทางจิตที่ฟุ้งซ่านก็ทำได้ง่ายขึ้น
และเป็นผลทำให้บรรเทากิเลสความฟุ้งซ่านลงได้ด้วย

การอยู่ร่วมเป็นสังคม คนมีกายวิเวกและจิตวิเวก
ทำให้เกิดความรู้เขารู้เรา
และเกิดความสว่างในการแก้ปัญหาต่างๆ


พระพุทธองค์จึงสอนให้ฝึกทางวิเวก
คือความสงบกายสงบใจบ้าง
มิใช่ฟุ้งฟูไปตามกิเลสอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งจะทำให้ตนเองเดือดร้อน เป็นทุกข์กระวนกระวาย
มีจิตซัดส่ายคล้ายวิกลจริตจนไม่สามารถแก้ไขได้

ดังนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
เว้นจิตวิเวกเสีย จะไม่พบกับความสงบสุขเลย


การปลีกวิเวก คือหลีกจากสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายเพื่อไปหาความสงบนั้น
อาจได้รับรสความสงบชั่วคราว
เมื่อกลับมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมอีก ก็อาจฟุ้งซ่านเหมือนเดิม

แต่ถ้าจะให้เกิดวิเวกถาวร
ก็ต้องทำให้กายวาจาสงบด้วยการรักษาศีล
และทำจิตให้สงบด้วยบำเพ็ญสมาธิ


ถ้าปฏิบัติมั่นคงอยู่ในศีล สมาธิตลอดไป
แม้จะอยู่ในท่านกลางสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายก็จะอยู่ได้อย่างสงบสุข
และจะได้รับรสวิเวกอย่างถาวร


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : “เรื่องของวิเวก” ใน นิตยสาร “ธรรมจักษุ” ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖)
http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/november-46.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.พ.2008, 2:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุจ้า...คุณกุหลาบสีชา

ถ้าปฏิบัติมั่นคงอยู่ในศีล สมาธิตลอดไป
แม้จะอยู่ในท่านกลางสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายก็จะอยู่ได้อย่างสงบสุข
และจะได้รับรสวิเวกอย่างถาวร


ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.พ.2008, 3:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุครับ.. ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง