Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิจจสมุปบาท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 8:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


8. ตัณหา=> อุปาทาน:
เมื่ออยากได้สิ่งใด ก็ยึดมั่นเกาะติดเหนียวแน่น

ผูกมัดตัวตนติดกับสิ่งนั้น ยิ่งอยากได้มากเท่าใด ก็ยิ่งยึดมั่นแรงขึ้นเท่านั้น

ในกรณีที่ประสบทุกขเวทนา อยากพ้นไปจากสิ่งนั้น ก็มีความยึดมั่นในแง่ชิง

ชังต่อสิ่งนั้นอย่างรุนแรง พร้อมกับมีความยึดมั่นในสิ่งอื่นที่ตนจะดิ้นรนไปหา

รุนแรงขึ้นในอัตราเท่าๆกัน จึงเกิดความ ยึดมั่นในสิ่งความต้องการต่างๆ ยึดมั่น

ในภาวะชีวิตที่จะอำนวยสิ่งที่ปรารถนา ยึดมั่นในตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างนั้น

อย่างนี้ ยึดมั่นในความเห็น ความเข้าใจ ทฤษฎี และหลักการอย่างใด

อย่างหนึ่งที่สนองตัณหาของตน ตลอดจนยึดมั่นในแบบแผน วิธีการต่างๆ

ที่สนองความต้องการของตน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 11:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


9.อุปาทาน=> ภพ :
ความยึดมั่น ย่อมเกี่ยวข้องไปถึงภาวะชีวิต
อย่างใดอย่างหนึ่ง ความยึดมั่นนั้น แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสอง
สิ่ง คือ เป็นการนำเอาตัวตนไปผูกมัดไว้ หรือทำให้เป็นสิ่งเดียวกันกับ
ภาวะชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นภาวะชีวิตที่จะอำนวยสิ่งที่ปรารถนา
หรือเป็นภาวะชีวิตที่ช่วยให้พ้นไปจากสิ่งที่ไม่ปรารถนา
ในเวลาเดียวกันเมื่อมีภาวะชีวิตที่ต้องการ ก็ย่อมมีภาวะชีวิตไม่ต้องการอยู่ด้วยพร้อมกัน ภาวะชีวิตที่ถูกยึดเกี่ยวเกาะไว้นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ


เมื่อยึดมั่นในภาวะชีวิตนั้น จึงคิดมุ่งหมายหรือมีเจตจำนงเพื่อเป็นอย่างนั้นๆ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นอย่างนั้นๆ แล้วลงมือกระทำการต่างๆ เริ่มแต่คิดสร้างสรรค์ปรุงแต่งแสวงวิธีการต่างๆ ดำเนินการตามจุดมุ่งหมาย แต่ความคิดและการกระทำทั้งหมดนั้น ย่อมถูกผลักดันให้ดำเนินไปในทิศทาง และในรูปแบบที่อุปาทานกำหนด คือ เป็นไปตามอำนาจของความเชื่อถือ ความคิดเห็น ความเข้าใจ ทฤษฎี วิธีการ ความพอใจ ชอบใจอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ตนยึดถือไว้ จึงแสดงออกซึ่งพฤติกรรมและกระทำการต่างๆโดยสอดคล้องกับอุปาทานนั้น

ตัวอย่างในขั้นหยาบ เช่น อยากเกิดเป็นเทวดา จึงยึดถือในลัทธิคำสอน ประเพณี พิธีกรรม หรือแบบแผนความประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เชื่อว่าจะให้ไปเกิดได้อย่างนั้น จึงคิด มุ่งหมาย กระทำการต่างๆไปตามความเชื่อมั่น จนถึงว่าถ้าความยึดมั่นรุนแรง ก็ทำให้มีระบบพฤติกรรมที่เป็นลักษณะพิเศษจำเพาะตัวเกิดขึ้นแบบใดแบบหนึ่ง

หรือตัวอย่างใกล้เข้ามา เช่น อยากเป็นคนมีเกียรติก็ย่อมยึดมั่นเอาคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นความมีเกียรติ ยึดมั่นในแบบแผนความประพฤติที่สอดคล้องกับคุณค่านั้น ยึดมั่นในตัวตนที่จะมีเกียรติอย่างนั้นๆ เจตจำนง และการกระทำ ก็มุ่งไปในทิศทางและรูปแบบที่ยึดไว้นั้น พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกก็มีรูปลักษณะสอดคล้องกัน

อีกตัวอย่างหนึ่ง อยากได้ของมีค่าของผู้อื่น จึงยึดมั่นในภาวะที่ตนจะเป็นเจ้าของสิ่งของนั้น จึงยึดมั่นในความเคยชิน หรือวิธีการที่จะได้ได้สิ่งของนั้นมา ไม่รู้โทษและความบกพร่องของวิธีการที่ผิด จึงคิดนึก มุ่งหมาย และกระทำการตามความเคยชิน หรือ วิธีการที่ยึดไว้ กลายเป็นการลักขโมย หรือการทุจริตขึ้น ความเป็นเจ้าของที่ยึดไว้เดิมกลายเป็นความเป็นโจรไป
โดยนัยนี้ เพื่อผลที่ปรารถนา มนุษย์จึงทำกรรมชั่วเป็นบาป เป็นอกุศลบ้าง
ทำกรรมดี เป็นบุญ เป็นกุศลบ้าง ตามอำนาจความเชื่อถือความยึดมั่นที่ผิดพลาดหรือถูกต้องในกรณีนั้นๆ กระบวนพฤติกรรมที่ดำเนินไปในทิศทางแห่งแรงผลักดันของอุปาทานนั้น และปรากฏรูปลักษณะอาการสอดคล้องกันกับอุปาทานนั้น เป็นกรรมภพ

ภาวะแห่งชีวิตที่สืบเนื่องมาจากกระบวนพฤติกรรมนั้น เช่น ความเป็นเทวดา ความเป็นคนมีเกียรติ ความเป็นเจ้าของ และความเป็นโจร เป็นต้น เป็น
อุปปัตติภพ อาจเป็นภพ (ภาวะแห่งชีวิต) ที่ตรงกับความต้องการ หรือภพที่ไม่ต้องการก็ได้

ปฏิจจสมุปบาทช่วงนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำกรรมและรับผลของกรรม การก่อนิสัยและการสร้างบุคลิกภาพ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 7:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


10. ภพ => ชาติ :
จากนั้น ก็เกิดมีตัวตนซึ่งสำนึกตระหนักขึ้นมา

ว่า “เรา” ได้เป็นนั่นเป็นนี่ อยู่ในภาวะชีวิตอันนั้นอันนี้ ซึ่งตรงกับความต้อง

การ หรือไม่ตรงกับความต้องการ กล่าวตามภาษาธรรมว่า ตัวตนเกิดขึ้นในภพ

นั้น จึงมีตัวเราที่เป็นเจ้าของ ตัวเราที่เป็นโจร ตัวเราที่เป็นคนมีเกียรติ

ตัวเราที่เป็นผู้แพ้ ฯลฯ ในชีวิตประจำวันของบุถุชน ชาติ หรือความเกิด

ของตัวตนจะเห็นได้เด่นชัดในกรณีความขัดแย้ง ซึ่งทำให้ความยึดมั่นถือมั่น

เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เช่น การถกเถียง แม้ในการเถียงหาเหตุผล

ถ้าใช้กิเลส ไม่ใช้ปัญญา ก็จะเกิดตัวตนที่เป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมาชัดว่า เราเป็น

นาย เราเป็นผู้มีเกียรติ (พร้อมกับเขาเป็นลูกน้อง เขาเป็นคนชั้นต่ำ)

นี่เป็นความเห็นของเรา เราถูกขัดแย้ง ทำให้ความเป็นนั่นเป็นนี่ด้อยลง

พร่องลง หรือ จะสูญสลายไป ชาติจึงมักปรากฏชัด เมื่อมีชรามรณะ

แต่เพราะมีชาติจึงมีชรามรณะได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


11. ชาติ => ชรามรณะ :
เมื่อตัวตนที่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมมี
ตัวตนที่ไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตัวตนที่ขาด พลาด หรือ พรากจากความ
เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตัวตนที่ถูกคุกคามด้วยความขาด พลาด หรือ พรากไปจาก
ความเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และตัวตนที่ถูกกระทบกระทั่ง ถูกขัดขวาง ขัดแย้ง
ให้กระแสความเป็นอย่างนั้นๆ สะดุด หวั่นไหว สะเทือน ลดด้อยลง
พร่องลง เสื่อมลงไป ไม่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมอย่างที่อยากให้เป็นและอย่าง
ที่ยึดถือยู่ เมื่อตัวตนเกิดมีขึ้นแล้ว ก็อยากจะดำรงอยู่ตลอดไป อยากจะเป็น
อย่างนั้นอย่างนี้อย่างที่ต้องการ หรืออยากให้ภาวะแห่งชีวิตนั้นอยู่กับตัวตนตลอดไป

แต่เมื่อตัวตนมีขึ้นได้ ตัวตนก็ย่อมเสื่อมสลายไป แม้เมื่อยังไม่สูญสลาย ก็ถูกคุกคามด้วยความพร่องตัว และความสูญสลายที่จะมีมา จึงเกิดความหวาดกลัวต่อความถูกหวั่นไหว กระทบกระแทก และความสูญ
สลาย และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันตัวตนไว้ กับภาวะชีวิตนั้นให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น

ความกลัวต่อความสูญสลายแห่งตัวตนนี้ เกิดสืบเนื่องมาจากความรู้สึกถูกคุกคาม และ หวาดกลัวต่อความตายของชีวิตนี้นั่นเอง ซึ่งแฝงอยู่ในจิตใจอย่างละเอียดลึกซึ้งตลอดเวลา และคอยบีบคั้นพฤติกรรมทั่วๆไปของมนุษย์ ทำให้หวาดกลัวต่อความพลัดพราก สูญสลาย ทำให้ดิ้นรนไขว่คว้าภาวะชีวิตที่ต้องการอย่างเร้าร้อน ทำให้เกรงกลัวและผิดหวังเมื่อได้รับทุกขเวทนา และทำให้เสวยสุขเวทนาอย่างกระวนกระวาย และด้วยความหวาดกลัวความพลัดพราก

โดยนัยนี้ เมื่อตัวตนเกิดขึ้นในภาวะชีวิตที่ไม่ต้องการ ไม่เกิดในภาวะชีวิตที่ต้องการก็ดี เมื่อตัวเกิดได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยู่ในภาวะชีวิตที่ต้องการ แต่ต้องสูญสลายพรากไปก็ดี ถูกคุกคามด้วยความขาดพลาด และพรากจากภาวะชีวิตที่ต้องการที่ดี

ความทุกข์แบบต่างๆก็ย่อมเกิดขึ้น คือ เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และในภาวะแห่งความทุกข์เช่นนี้ ย่อมมีแต่ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ในสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง มีความขัดข้องขุ่นมัว ความหลงใหล และความมืดบอด อันเป็นลักษณะของ อวิชชา จึงเกิดการดิ้นรนหาทางออก ด้วยวิธีการแห่ง อวิชชา ตามวงจรต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(เพื่อให้เห็นภาพปฏิจจสมุปบาทชัดขึ้นพอจะสรุปด้วยพุทธพจน์นี้)



เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม

ได้ทรงมีพุทธดำริว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก

หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกหยั่งไม่ถึง (ไม่ใช่วิสัย

ของตรรกะ) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงทราบ”

(วินย.4/7/8 ; ม.มู.12/321/323)


ธรรม
ในที่นี้หมาย ถึงปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน (จะว่าอริยสัจ 4 ก็ได้

ใจความเท่ากัน)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17297&postdays=0&postorder=asc&start=0



ที่ผ่านมาท่านกล่าวไว้ว่า


ปฏิจจสมุปบาทตั้งแต่หัวข้อที่ 3 ถึง 7 คือ วิญญาณ ถึง เวทนา

เป็นกระบวนการในช่วงวิบาก คือ ผลของกรรม

โดยเฉพาะข้อ 5-6-7 (สฬายตนะ - ผัสสะ - เวทนา)

ไม่เป็นบุญเป็นบาป ไม่ดีไม่ชั่ว โดยตัวของมันเอง

แต่เป็นเหตุแห่งความดี ความชั่วได้ต่อไป


เขียนปฏิจจสมุปบาทให้ดู (โดยภาพเป็นวงกลม) ดังนี้



(อาสวะ) อวิชชา => สังขาร => วิญญาณ => นามรูป => สฬายตนะ =>

ผัสสะ=>เวทนา
=> ตัณหา=> อุปาทาน => ภพ => ชาติ => ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 7:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ขอทวนย้ำความหมายของความเป็นปัจจยาการไว้อีก เช่น อาศัยเวทนาจึงมี

ตัณหา หรือเพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ข้อความนี้หมายความ

ด้วยว่า ตัณหาจะมีต้องอาศัยเวทนา หรือต้องมีเวทนา ตัณหาจึงมีได้

แต่เมื่อมีเวทนาแล้วไม่จำเป็นต้องมีตัณหาเสมอไป

การเข้าใจความหมายนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และจุดนี้เป็นช่วงตอนสำคัญ ที่จะ

ทำลายวงจรปฏิจจสมุปบาท หรือตัดวัฏฏะให้ขาดตอน ท่านกล่าวถึงการ

เสวยเวทนาโดยไม่ให้เกิดตัณหา ซึ่งอาศัยสติสัมปชัญญะ หรือสติปัญญา

คือ เสวยเวทนามีสติสัมปชัญญะตัดตอนไม่ให้เกิดตัณหา


ช่วงเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหานี้ เป็นช่วงสำคัญยิ่งฝ่ายภายใน ในการส่งผล

สืบเนื่องออกมาบันดาลพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ตลอดจนวิวัฒนาการ

ของสังคมทั้งหมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 6:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

^

ดังกล่าวข้างบนแสดงให้เห็นว่า การฝึกอบรมสติสัมปชัญญะหรือสติ

ปัญญาสำคัญอย่างยิ่ง จะเปรียบก็เหมือนประตูไขเข้าสู่อริยธรรม ผู้ที่

เข้าใจแนวทางปฏิบัติสติปัฏฐานเท่านั้น จึงเป็นผู้เปิดประตูนี้ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 7:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ตัวอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เมื่อมีการแข่งขัน และมีการชนะเกิดขึ้น สำหรับบุถุชนจะไม่มีเพียงการชนะที่เป็นเหตุการณ์ทางสังคม ซึ่งมีความหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ตกลงกำหนดวางกัน (สมมุติ) ไว้เท่านั้น

แต่จะมีความเป็นผู้ชนะที่ยึดมั่นไว้กับความหมายพิเศษบางอย่างเฉพาะตัวด้วยอุปาทาน (ภพ) ด้วย ในบางโอกาส โดยกรณีของคนมักหยิ่งผยอง หรือในกรณีเกิดเรื่องกระทบกระเทือนใจ ก็จะเกิดความรู้สึกโผล่ขึ้นมาว่า เราเป็นผู้ชนะ = ตัวเราเกิดขึ้นในความเป็นเป็นผู้ชนะ (ชาติ)

แต่ความเป็นเป็นผู้ชนะของเราในความหมายสมบูรณ์เต็มตัวต้องพ่วงเอาความ
มีเกียรติ ความยกย่องเยินยอ ความได้ผลประโยชน์ ความนิยมชมชอบ
การยอมรับของผู้อื่น เป็นต้นไว้ด้วย

ความเกิดของตัวเราในความชนะ หรือความชนะของเราจึงเกิดพร้อมกับการจะต้อง
มีผู้ยอมรับ ยกย่องเชิดชู การทำให้ผู้ใดผู้หนึ่งแพ้ไปได้ การได้ทำ หรือ
แสดงออกอะไรสักอย่างที่สุดขีดของความอยาก ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง

จากนั้น ในขณะเดียวกับที่ตัวเราในฐานะผู้ชนะพร้อมทั้งความหมายต่างๆ ที่พ่วงอยู่กับมัน เกิดขึ้น ความสมหวัง หรือไม่ความสมหวังก็เกิดขึ้น เมื่อสมหวัง ก็จะตามมาด้วยความรู้สึกที่จะต้องผูกพันมัดตัวไว้กับความเป็นผู้ชนะนั้นให้แน่นแฟ้น เพราะกลัวความเป็นผู้ชนะจะสูญสิ้นไปจากตน

กลัวว่า ความยอมรับนิยมยกย่องเชิดชูที่ได้รับในฐานนั้น จะไม่คงอยู่อย่างเดิม จะลดน้อยลง เสื่อมไป หรือหมดไปจากตน เมื่อพบเห็นผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอาการไม่เชิดชูให้เกียรติอย่างที่หวัง หรือเท่าที่หวัง หรือการยกย่องเชิดชูเกียรติที่เคยได้อยู่มาลดน้อยลง ก็ย่อมเกิดความขุ่นมัวหม่นหมองใจและอุปายาส เพราะตัวตนในภาวะผู้ชนะนั้นกำลังถูกกระทบกระแทก หรือ ถูกบีบคั้นกำจัดให้พรากไปเสียจากภาวะผู้ชนะคือ กำลังถูกคุกคามด้วยความเสื่อมโทรม (ชรา) และความสูญสลาย (มรณะ) จากความเป็นผู้ชนะพร้อมทั้งคุณค่าผนวกต่างๆ ที่ยึดไว้ (ภพ)

เมื่อภาวการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ ความรู้สึกขุ่นมัวหม่นหมอง กังวล ผิดหวังต่างๆ
ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งมิได้ถูกขุดทิ้งโดยสติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) ก็จะ
เข้าหมักหมมทับถมในสันดาน มีผลต่อบุคลิกภาพ และพฤติกรรมของบุคคล
นั้น ตามวงจรปฏิจจสมุปบาทต่อไป
เป็นการเสวยเวทนาอย่างที่เรียกว่าหมกตัวหรือผูกมัดตัว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 7:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอให้ตั้งข้อสังเกตง่ายๆว่า เมื่อมีตัวตน (ในความรู้สึก) เกิดขึ้น ก็ย่อมมีความกินเนื้อที่
เมื่อกินเนื้อที่ ก็มีขอบเขตหรือถูกกำจัด เมื่อถูกกำจัด ก็มีการแยกตัวออกต่างหาก เมื่อมีการแยกตัวออกต่างหาก ก็มีการแบ่งว่าตัวเราและมิใช่ตัวเรา เมื่อตัวตนของเราเกิดขึ้นแล้ว
ก็ขยายตัวเบ่งพองออกพร้อมด้วยความอยากได้อยากทำอยากแสดงต่อตัวตนอื่นๆ พลุ่งออกมา แต่ตัวตนและความอยากนั้น ไม่สามารถขยายออกไปอย่างอิสระไม่มีที่สุด ต้องถูกฝืน กดหรือข่มไว้ โดยบุคคลนั้นเอง

ในกรณีที่เขามีความสำนึกในการแสดงตัวแก่ผู้อื่นว่าตนเป็นคนดี หรือถ้าตนเองไม่กดหรือข่มไว้ ปล่อยให้แสดงออกเต็มที่ ก็ย่อมเกิดการปะทะขัดแย้งในภายนอก และแม้แสดงออกได้เต็มที่ก็ทำให้พลังในตนเองลดน้อยลง เสริมกำลังความอยากให้แรงยิ่งๆขึ้น และความรู้สึกพร่องให้มากขึ้นๆในคราวต่อๆไป เป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่ความขัดแย้งและการปะทะที่จะแรงยิ่งๆขึ้น และหมดความเป็นตัวของตัวเองลงไปทุกที ความสมบูรณ์เต็มอยากจึงไม่มี และความกดดันขัดแย้งกระทบกระทั่ง บีบคั้น ย่อมเกิดขึ้นในทุกกรณี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 7:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สังเกตตัวอย่างกรณีปลีกย่อย (ปฏิจจสมุปบาท) ในชีวิตประจำวัน



- ก. กับ ข. เป็นเพื่อนนักเรียนที่รักและสนิทสนมกัน ทุกวันมาโรงเรียน พบกันก็ยิ้มแย้มทักทายกัน
วันหนึ่ง ก. เห็น ข. ก็ยิ้มแย้ม เข้าไปทักทาย
แต่ ข. หน้าบึ้งไม่ยิ้มด้วย ไม่พูดตอบ
ก. จึงโกรธไม่พูดกับ ข. บ้าง

ในกรณีนี้กระบวนธรรมจะดำเนินไปในรูปต่อไปนี้

1. อวิชชา: เมื่อเห็น ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มตอบ ไม่พูดตอบ ก. ไม่รู้ความจริงว่าเหตุผลต้นปลายเป็นอย่างไร และไม่ใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อหาข้อเท็จจริงว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ มีอารมณ์ค้างอะไรมาจากที่อื่น

2. สังขาร: ก. จึงคิดนึกปรุงแต่งสร้างภาพในใจไปต่างๆ ตามพื้นนิสัย ตามทัศนคติ หรือตามกระแสความคิดที่เคยชินของตนว่า ข. จะต้องรู้สึกนึกคิดต่อตนอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเกิดความฟุ้งซ่าน โกรธ มีมานะเป็นต้น ตามพื้นกิเลสของตน

3. วิญญาณ: จิตของ ก. ขุ่นมัวไปตามตามกิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาปรุงแต่งเหล่านั้น คอยรับรู้การกระทำและอากัปกิริยาของ ข. ในแง่ความหมายที่จะมาป้อนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอยู่ในเวลานั้น เหมือนอย่างที่พูดกันว่า ยิ่งนึกก็ยิ่งเห็น ยิ่งคิดก็ยิ่งเป็นอย่างนั้น สีหน้ากิริยาท่าทางต่างๆของ ข. ดูจะเป็นเรื่องที่กระทบกระทั่ง ก. ไปเสียทั้งนั้น

4. นามรูป: ความรู้สึก ภาพที่คิด ภาวะต่างๆของจิตใจ สีหน้า กิริยาท่าทาง คือทั้งกายและใจทั้งหมดของ ก. คล้อยไปด้วยกันในทางที่จะแสดงออกมาเป็นผลรวมคือ ภาวะอาการของคนโกรธ คนปั้นปึ่ง คนงอน เป็นต้น (สุดแต่สังขาร) พร้อมที่จะทำงานร่วมไปกับวิญญาณนั้น

5. สฬายตนะ: อายตะต่างๆ มี ตา หู เป็นต้นของ ก. เฉพาะที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้รับรู้เรื่องราวในกรณีนี้ ตื่นตัว พร้อมที่จะทำหน้าที่รับความรู้กันเต็มที่

6.ผัสสะ: สัมผัสกับลักษณะอาการแสดงออกต่างๆของ ข. ที่เด่น น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น เช่น ความบูดบึ้ง ความกระด้าง ท่าทางดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ หรือเหยียดศักดิ์ศรี เป็นต้น

7. เวทนา: รู้สึกไม่สบายใจ บีบคั้นใจ เจ็บปวดรวดร้าว หรือเหี่ยวแห้งใจ

8. ตัณหา: เกิดวิภวตัณหา อยากให้ภาพที่บีบคั้น ทำให้ไม่สบายใจนั้น พ้นหายอันตรธาน ถูกกด ถูกปราบ ถูกทำลายให้พินาศไปเสีย

9. อุปาทาน: เกิดความยึดถือผูกใจต่อพฤติกรรมของ ข. ว่าเป็นสิ่งเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับตน กระทบต่อตน เป็นคู่กรณีกับตน ซึ่งจะต้องจัดการเอากันอย่างใดอย่างหนึ่ง

10. ภพ: พฤติกรรมที่สืบเนื่องต่อไปของ ก. ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอุปาทาน เกิดเป็นกระบวนพฤติกรรมจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สนองอุปาทานนั้น คือพฤติกรรมปฏิปักข์กับ ข. (กรรมภพ) ภาวะชีวิต ทั้งทางกายทางใจที่รองรับกระบวนพฤติกรรมนั้น ก็สอดคล้องกันด้วย คือ เป็นภาวะแห่งความเป็นปฏิปักข์กับ ข. (อุปัตติภพ)

11. ชาติ: เข้าสวมรับเอาภาวะชีวิตที่เป็นปฏิปักข์นั้น โดยมองเห็นความเป็นปฏิปักข์ระหว่างตนกับ ข. ชัดเจนลงไป แยกออกเป็นเรา –เขา มีตัวตนที่เข้าไปกระทำและถูกกระทบกระแทกกับ ข.

12. ชรามรณะ: ตัวตนที่เกิดขึ้นในภาวะปฏิปักข์นั้น จะดำรงอยู่และเติบโตขึ้นได้ต้องอาศัยความหมายต่างๆ ที่พ่วงติดมา เช่น ความเก่ง ความสามารถ ความมีเกียรติ ความมีศักดิ์ศรี และความเป็นผู้ชนะ เป็นต้น ซึ่งมีภาวะฝ่ายตรงข้ามขัดแย้งอยู่ในตัว คือ ความด้อย ความไร้ค่า ไร้เกียรติ ความแพ้ เป็นต้น ทันทีที่ตัวตนนั้นเกิดขึ้น ก็ต้องถูกคุมคามด้วยภาวะขาดหลักประกันว่าตนจะได้เป็นอย่างที่ต้องการ และหากได้เป็นภาวะนั้นจะยั่งยืน หรือ ทรงคุณค่าอยู่ได้ยาวนานเท่าใด คือ อาจไม่ได้เป็น ก. ในฐานะ
ปฏิปักข์ที่เก่ง ที่มีศักดิ์ศรี ที่ชนะ แต่เป็นปฏิปักข์ที่แพ้ ที่อ่อนแอ หรือที่ไม่สามารถรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความชนะไว้ได้ เป็นต้น

ความทุกข์ในรูปต่างๆ จึงเกิดแทรกอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ทุกข์จากความหวั่นกลัวว่าอาจจะไม่สมหวัง ความเครียดและกระวนกระวายในการดิ้นรนเพื่อให้ตัวตนอยู่ในภาวะที่ต้องการ ตลอดจนความผิดหวัง หรือแม้สมหวังถึงที่สุดแล้ว แต่คุณค่าของมันก็ต้องจืดจางไปจากความชื่นชม ความทุกข์ในรูปต่างๆเหล่านี้ ปกคลุมห่อหุ้มจิตใจให้หม่นหมองมืดมัวเป็นปัจจัยแก่อวิชชาที่จะเริ่มต้นวงจรต่อไปอีก

นอกจากนั้น ทุกข์เหล่านี้ ยังเป็นเหมือนของเสียที่ระบายออกไม่หมด คั่งค้างหมักหมมอยู่ในวงจรคอยระบายพิษออกในรูปต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาต่อๆไปแก่ชีวิตของตนและผู้อื่น มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมครั้งต่อๆไป และการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเขา

ดังในกรณีของ ก. อาจใจไม่สบายขุ่นมัวไปทั้งวัน เรียนหนังสือและใช้ความคิดในวันนั้นทั้งหมดไม่ได้ผลดี พลอยแสดงกิริยาอาการไม่งาม วาจาไม่สุภาพต่อคนอื่นๆ เกิดความขัดแย้งกับคนเพิ่มขึ้นอีกหลายคน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2008, 9:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธพจน์ที่ตรัสถึงการเกิดและตายในปัจจุบัน


เกิดและตายแบบปัจจุบัน


ผู้ต้องการสืบความในบาลีเกี่ยวกับสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิด แบบที่เป็นไปในปัจจุบัน ภายในชาตินี้ อาจศึกษาพระสูตรตอนหนึ่ง ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง

“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ คือ- (คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ) เมื่อไม่มีความสำคัญตน ที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ “ ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ? (ชี้แจงว่า) ความสำคัญตนย่อมมีว่า เราเป็นบ้าง เราไม่เป็นบ้าง
เราจักเป็นบ้าง เราจักไม่เป็นบ้าง
เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง
เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง
เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง

ดูกรภิกษุ ความสำคัญตน เป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เป็นศรร้าย เพราะก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่าเป็นมุนีผู้สงบ
ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย
ย่อมไม่วุ่นใจ ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี
เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร
เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร
เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร
เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร “ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไป แก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ
เมื่อไม่มีความสำคัญตน ที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ก็เรียกได้ว่าเป็นมุนีผู้สงบ”
ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้ ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ 6 โดยย่อ แห่งเราดังนี้

.........

(บาลีนี้มาใน ม.อุ. 14/693/443 นอกนี้ พึงดูประกอบที่

ม.อุ. 14/643/415 ฯลฯ

(แก่ = เสื่อม หรือ สูญเสีย)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ย. 2008, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ถ้า ก. ปฏิบัติถูกต้องตั้งแต่ต้น วงจรปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น คือ ก. เห็น ข. ไม่ยิ้มตอบ ไม่ทักตอบแล้วใช้ปัญญาจึงคิดว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ เช่น ถูกผู้ปกครองดุมา ไม่มีเงินใช้ หรือมีเรื่องกลุ้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ค้างอยู่ พอคิดอย่างนี้ก็ไม่มีอะไรกระทบกระทั่งตัว จิตใจยังกว้างขวางเป็นอิสระและกลับเกิดความกรุณา รู้สึกสงสารคิดช่วยเหลือ ข. อาจเข้าไปสอบถามปลอมโยน ช่วยหาทางแก้ปัญหาหรือให้โอกาสเขาที่จะอยู่สงบ เป็นต้น
หรือแม้แต่วงจรร้ายเริ่มขึ้นแล้ว ก็ยังอาจแก้ไขได้ เช่น วงจรหมุนไปถึงผัสสะ ได้รับรู้อาการกิริยาที่ไม่พอใจของ ข. ทำให้ ก. เกิดทุกข์บีบคั้นใจขึ้นแล้ว แต่ ก. มีสติเกิดขึ้น แทนที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิภวตัณหาที่จะตามมาต่อไป ก็ตัดวงจรเสียโดยใช้ปัญญาพิจารณาข้อเท็จจริง และเกิดความรับรู้อย่างใหม่เกี่ยวกับการแสดงออกของ ข. คิดเหตุผลทั้งที่เกี่ยวกับการกระทำของ ข. และข้อปฏิบัติของตนเอง จิตใจก็จะหายบีบคั้นขุนมัว กลับปลอดโปร่งและคิดช่วยเหลือแก้ไขทุกข์ของ ข. ได้อีก

ดังนั้น เมื่อปัญญาหรือวิชชาเกิดขึ้น จึงทำให้จิตใจเป็นอิสระไม่เกิดตัวตนขึ้นมาสำหรับให้ถูกกระทบกระแทก นอกจากจะไม่เกิดปัญหาสร้างทุกข์แก่ตนแล้ว ยังทำให้เกิดกรุณาที่จะไปช่วยแก้ปัญหาคลายทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วย

ตรงข้ามกับอวิชชา ซึ่งเป็นตัวชักนำเข้าสู่สังสารวัฏ ทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน สร้างตัวตนขึ้นมาจำกัดตัวเองสำหรับให้ถูกกระทบกระแทก เกิดความทุกข์ เป็นปัญหาแก่ตนเองและมักขยายทุกข์ก่อปัญหาให้แก่ผู้อื่นกว้างขวางออกไปด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 9:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-เพื่อให้มองเห็นหลักปฏิจจสมุปบาทรอบด้านมากขึ้น เห็นควรย้ำข้อควรระลึกบางอย่างไว้ ดังนี้

-ในสถานการณ์จริง วงจรหรือกระบวนธรรมทั้งหมดที่กล่าวถึงในตัวอย่างข้างต้น เป็นไปได้อย่างรวดเร็วตลอดสายเพียงชั่วแวบเดียว ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนทราบข่าวสอบตก คนทราบข่าวการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก หญิงเห็นชายคนรักอยู่กับหญิงอื่น เป็นต้น เสียใจมาก ตกใจมาก อาจเข่าอ่อนทรงตัวไม่อยู่ อาจร้องกรี๊ด หรืออาจเป็นลมล้มพับไปทันที ยิ่งความยึดติดถือมั่นรุนแรงเท่าใด ผลก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

-ขอย้ำว่า ความเป็นปัจจัยในกระบวนธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปอย่างเรียงลำดับกาล

-การอธิบายปฏิจจสมุปบาท มุ่งให้เข้าใจกฎธรรมดา หรือกระบวนธรรมที่เป็นไปอยู่ตามธรรมชาติเป็นสำคัญ เพื่อให้มองเห็นสาเหตุและจุดที่ต้องแก้ไข ส่วนรายละเอียดของการแก้ไขหรือวิธีปฏิบัติไม่ใช่เรื่องของปฏิจจสมุปบาทโดยตรง แต่เป็นเรื่องของมรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทา


อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ มุ่งความเข้าใจง่ายเป็นสำคัญ บางตอนจึงมีความหมายผิวเผินไม่ให้ความเข้าใจแจ่มแจ้งลึกซึ้งเพียงพอ โดยเฉพาะหัวข้อที่ยากๆ เช่น อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร และโสกะปริเทวะทำให้วงจรเริ่มต้นใหม่ เป็นต้น
ตัวอย่าง ที่แสดงในข้อ อวิชชา เป็นเรื่องที่มิได้เกิดขึ้นเป็นสามัญ ในทุกช่วงขณะของชีวิต ชวนให้เห็นได้ว่า มนุษย์บุถุชนสามารถเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยไม่มี อวิชชาเกิดขึ้นเลย หรือเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่หลักธรรมที่แสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตอย่างจริง

จึงเห็นว่าควรอธิบายความหมายลึกซึ้งของบางหัวข้อที่ยากให้ละเอียดออกไปอีก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 9:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายลึกซึ้งขององค์ธรรมบางข้อ



-ตามปกติ มนุษย์บุถุชนทุกคน เมื่อประสบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ อยู่ในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะแปลความหมาย ตัดสินสิ่งหรือเหตุการณ์นั้น พร้อมทั้งคิดหมายตั้งเจตจำนง แสดงออกซึ่งพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามความโน้มเอียง หรือตามแรงผลักดันต่อไปนี้ คือ

1. ความใฝ่การสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 (=กาม)

2. ความใฝ่หรือห่วงในความมีอยู่คงอยู่ของตัวตน ตลอดจนการที่ตัวตน
จะได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และการที่จะดำรงคงอยู่ในภาวะที่อยากเป็น
นั้นยังยืนตลอดไป (=ภพ)

3. ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ ทฤษฎี แนวความคิดอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่สั่งสมอบรมมาและยึดถือเชิดชูไว้ (=ทิฏฐิ)

4. ความหลง ความไม่เข้าใจ คือ ความไม่ตระหนักรู้และไม่กำหนดรู้
ความเป็นมาเป็นไป เหตุผล ความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์
ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือ เหตุการณ์ทั้งหลายตามสภาวะ
โดยธรรมชาติของมันเอง ความหลงผิดว่า มีตัวตนที่เข้าไปกระทำ
และถูกกระทำกับสิ่งต่างๆ ไม่มองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหลายในรูป
ของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

พูดสั้นๆว่า ไม่รู้เห็นตามที่มันเป็น แต่รู้เห็นตามที่คิดว่ามันเป็น
หรือ คิดให้มันเป็น
(=อวิชชา)

โดยเฉพาะข้อ 3 และ 4 จะเห็นได้ว่าเป็นสภาพที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน คือ
เมื่อไม่ได้กำหนดรู้ ไม่เข้าใจชัด หรือหลงเพลินไป ก็ย่อมทำไปตาม
ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจที่สั่งสมอบรมมาก่อน
หรือแนวความคิดความประพฤติที่ยึดถือเคยชินอยู่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 10:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนึ่ง ข้อ 3-4 นี้ มีความหมายกว้างขวางมาก รวมไปถึง ทัศนคติ
แบบแผน ความประพฤติต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการศึกษาอบรม นิสัย ความเคยชิน ค่านิยมหรือคตินิยมทางสังคม การถ่ายทอด
ทางวัฒนธรรม เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ แสดงอิทธิพลสัมพันธ์กับข้อที่ 1 และ 2 กลายเป็นตัวการ
กำหนดและควบคุมความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล
ตั้งต้นแต่ว่าจะให้ชอบอะไร ต้องการอะไร จะสนองความต้องการของตน ในรูปแบบและทิศทางใด แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไร คือเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ลึกซึ้งในบุคคลและคอยบัญชาพฤติกรรมของบุคคลนั้น โดยเจ้าตัวไม่รู้ตัวเลย

ในความเข้าใจตามปกติ บุคคลนั้นย่อมรู้สึกว่าตัวเขากำลังทำ
กำลังประพฤติอย่างนั้นๆ ด้วยตนเอง ตามความต้องการของตน
เองอย่างเต็มที่

แต่แท้ที่จริงแล้ว นับเป็นความหลงผิดทั้งสิ้น เพราะถ้าสืบสาวลงไปให้ชัดว่า เขา
ต้องการอะไรแน่ ทำไมเขาจึงต้องการสิ่งที่เขาต้องการอยู่นั้น
ทำไมเขาจึงกระทำอย่างที่กระทำอยู่นั้น ทำไมจึงประพฤติ
อย่างที่ประพฤตินั้น ก็จะเห็นได้ว่า ไม่มีอะไรที่เป็นตัวของเขาเองเลย
เป็นแบบแผนความประพฤติที่เขาได้รับถ่ายทอดมาในการศึกษาอบรมบ้าง
วัฒนธรรมบ้าง ความเชื่อถือทางศาสนาบ้าง เป็นความนิยมในทางสังคมบ้าง
เขาเพียงแต่เลือกและกระทำในขอบเขตแนวทางของสิ่งเหล่านี้ หรือ
ทำให้แปลกไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นหลักคิด แยกออกไปและ
สำหรับเทียบเคียงเท่านั้นเอง สิ่งที่เขายึดถือว่าเป็นตัวตนของเขานั้น จึงไม่มีอะไร
นอกไปจากสิ่งที่อยู่ในข้อ 1 ถึง ข้อ 4 เท่านั้นเอง สิ่งเหล่านี้นอกจากไม่มี
ตัวมีตนแล้ว ยังเป็นพลังผลักดันที่อยู่พ้นอำนาจควบคุมของเขาด้วย จึงไม่มี
ทางเป็นตัวตนของเขาได้เลย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในทางธรรมเรียกสิ่งทั้ง 4 นี้ว่า อาสวะ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว
หรืออีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมม หรือหมักดอง
หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตไว้ และเป็นสิ่ง
ที่ไหลซ่านไปอาบย้อมจิตใจ เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้
อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด อาสวะ เหล่านี้ก็เที่ยวกำซาบ
ซ่านไปแสดงอิทธิพลอาบย้อมมอมมัว สิ่งที่รับรู้เข้ามาและความนึกคิด
นั้นๆ แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิตและปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็น
อารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็น
เหตุก่อทุกข์ก่อปัญหาเรื่อยไป

อาสวะ อย่างที่ 1 เรียก กามาสวะ
ที่ 2 เรียก ภวาสวะ
ที่ 3 เรียก ทิฏฐาสวะ
ที่ 4 เรียก อวิชชาสวะ

อาสวะ 4 นี้ เป็นการแสดงตามแนวอภิธรรม ในพระสูตรท่านนิยมแบ่งอาสวะเพียง 3 คือ ไม่มีทิฏฐาสวะ ทั้งนี้พอจับเหตุผลได้ว่า เป็นเพราะใน
พระสูตรท่านกำหนดเฉพาะอาสวะที่เป็นตัวเจ้าของบทบาทเด่นชัด ท่านไม่ระบุทิฏฐาสวะ เพราะอยู่ระหว่างอวิชชากับภวาสวะ กล่าวคือทิฏฐาสวะ อาศัยอวิชชาเป็นฐานก่อตัวแล้วแสดงอิทธิพลออกทางภวาสวะ

ส่วนในอภิธรรม ท่านต้องการจำแนกให้ละเอียดจึงแสดงเป็น 4
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 9:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาสวะ 3 = กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดู ที.ม. 10/76/96 ฯลฯ
อาสวะ 4 = กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
ดู อภิ. วิ.35/961/504 ฯลฯ

ในภาษาอังกฤษ แปลอาสวะกันต่างๆ เช่น ว่า inflowing impulses หรือ influxes หรือ biases หรือ cankers
และแปลอาสวะ 4 นั้นว่า sense – gratification, becoming หรือ self - centered pursuits, views และ ignorance ตามลำดับ

ม.อ. 1/93 ว่า ทิฏฐาสวะรวมลงในภวาสวะ เพราะความอยากในภพก็ดี ความติดใจในฌานก็ดี ย่อมมีสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิประกอบอยู่ด้วย...ขุ.จู.30/70/15 ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 9:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จึงเห็นได้ว่า อาสวะ ต่างๆเหล่านี้ เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของ

มนุษย์บุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่ง

หนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาชั้นพื้นฐานที่สุด แล้วบังคับบัญชา

ให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตาม

อำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้น วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ

เมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิดขึ้นแล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร


ในภาวะ ที่แสดงพฤติกรรมด้วยความหลงว่าตัวตนทำเช่นนี้

จะพูดแย้งย้อนความเสียก็ได้ว่า มนุษย์ไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะ

พฤติกรรมถูกบังคับบัญชาด้วยสังขารที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 9:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กล่าวโดยสรุปเพื่อตัดตอนให้ชัด ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือ การไม่มอง

เห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตาตามแนวปฏิจจสมุปบาท
คือ

ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น

เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อยต่างๆ มากมาย ที่สัมพันธ์

เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้

กระแสนั้นอยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา หรือพูดให้ง่ายขึ้นว่า

บุคคลก็คือผลรวมแห่งความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน

ความโน้มเอียง ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อถือ-

(ตั้งแต่ขั้นหยาบที่ผิด หรือไม่มีเหตุผล จนถึงขั้นละเอียดที่ถูกต้องและมี

เหตุผล) ความคิดเห็น ความรู้สึกในคุณค่าต่างๆ ทั้งหมดในขณะนั้นๆ

ที่เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การศึกษาอบรม

และปฏิกิริยาต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายใน และที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหลาย อันกำลังดำเนินไปอยู่ตลอดเวลาเมื่อไม่ตระหนักรู้เช่นนี้

จึงยึดถือเอาสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวตนของตนในขณะหนึ่งๆ

เมื่อยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน ก็คือ ถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกเอา จึงเท่ากับ

ตกอยู่ในอำนาจของมัน ถูกมันชักจูงบังคับเอาให้เห็นว่า ตัวตนนั้นเป็น

ไปต่างๆ พร้อมทั้งความเข้าใจว่า ตนเองกำลังทำการต่างๆ ตามความ

ต้องการของตน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2008, 7:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นคำอธิบายในหัวข้ออวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

ในระดับที่จัดว่าละเอียดลึกซึ้งกว่าก่อน

ส่วนหัวข้อต่อจากนี้ไปถึงเวทนา เห็นว่าไม่ยากนัก พอจะมองเห็นได้

ตามคำอธิบายที่กล่าวมาแล้ว จึงข้ามมาถึงตอนสำคัญอีกช่วงหนึ่ง คือ

ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ซึ่งเป็นช่วงของกิเลสเหมือนกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง