Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิจจสมุปบาท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

9. อุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพ

เมื่อมีความยึดถือ มีท่าทีต่อสิ่ง บุคคล หรือภาวะอันใดอันหนึ่ง

อย่างหนึ่งอย่างใด คนก็สร้างภพหรือ ภาวะชีวิตของเขาขึ้น

ตามความยึดถือ หรือ ท่าทีอย่างนั้น ทั้งในด้านกระบวนพฤติกรรม

ทั้งหมด (กรรมภพ)

เริ่มแต่ระบบความคิด หรือ นิสัยของความคิดออกมา และในด้าน

บุคลิกภาพ ทั้งรูปและนามธรรมที่เป็นลักษณะหรือภาวะแห่งชีวิตของเขา

ในเวลานั้น (อุปัตติภพ) เช่น กระบวนพฤติกรรมและ

บุคลิกภาพของคนอยากร่ำรวย คนชอบอำนาจ คนชอบเด่นดัง

คนชอบสวยงาม คนชอบโก้เก๋ คนเกลียดสังคม เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

10. ภพ เป็นปัจจัยแก่ชาติ

เมื่อเกิดมีภพ ที่จะเข้าอยู่เข้าครอบครองเฉพาะตัวแล้ว ก็ปรากฏตัวตน

เป็นความรู้สึกตระหนักอันชัดเจน ที่เข้าอยู่ครอบครองหรือสอดสวมรับ

เอาภพ หรือ ภาวะชีวิตนั้น โดยมีอาการถือหรือออกรับว่าเป็นเจ้า

ของภพ เป็นผู้เสวยผล เป็นผู้กระทำ เป็นผู้รับการกระทบกระแทก

เป็นผู้ชนะ ผู้แพ้ เป็นผู้ได้ ผู้เสีย เป็นต้น อยู่ในภพนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

11. ชาติ เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ

เมื่อเกิดมีตัวตน เข้าอยู่ครอบครอง หรือ ภาวะชีวิตนั้นแล้ว

การที่จะได้ประสบความเป็นไป ทั้งในทางเสื่อมถอยด้อยลง

ในภพนั้น การถูกกระแทกระเทือนและการที่จะสูญเสียหลุดหล่นออกไป

จากภพนั้นด้วย โดยเฉพาะ ที่ต้องถูกคุกคามห่วงกังวลเกี่ยวกับ

ความเสื่อมสูญจากภพนั้น และ การที่จะต้องคอยรักษาภพนั้นอยู่ตลอด

เวลา ความลดด้อยถอยเสื่อมสูญเสีย และการคอยถูกคุกคามเหล่านี้

ล้วนนำ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น คือ ความทุกข์มาให้ได้ตลอดทุก

เวลา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 8:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมมีข้อสงสัยใคร่ถาม

การเกิดปฏิจจสมุปบาท ตัวใดเป็นตัวแรกสุดที่ต้องเกิดก่อน ตัวอื่นทั้งหมด

ขอบคุณครับ

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบสั้นๆว่า อาสวะ ครับ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่

ฉะนั้นมาดูขยายความที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์อธิบายไว้ใน

หนังสือพุทธธรรมหน้า 122 จะคัดมาลงให้พอมองเห็นเค้าดังนี้


-ตามปกติ มนุษย์บุถุชนทุกคน เมื่อประสบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ

อยู่ในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะแปลความหมาย ตัดสินสิ่งหรือ

เหตุการณ์นั้น พร้อมทั้งคิดหมายตั้งเจตจำนง แสดงออกซึ่ง

พฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามความโน้มเอียง หรือ

ตามแรงผลักดันต่อไปนี้ คือ


1. ความใฝ่การสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 (=กาม)


2. ความใฝ่หรือห่วงในความมีอยู่คงอยู่ของตัวตน ตลอดจนการที่ตัวตน

จะได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และการที่จะดำรงคงอยู่ในภาวะที่อยากเป็น

นั้นยังยืนตลอดไป (=ภพ)


3. ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ ทฤษฎี แนวความคิดอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่สั่งสมอบรมมาและยึดถือเชิดชูไว้ (=ทิฏฐิ)


4. ความหลง ความไม่เข้าใจ คือ ความไม่ตระหนักรู้และไม่กำหนดรู้

ความเป็นมาเป็นไป เหตุ ผล ความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์

ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือ เหตุการณ์ทั้งหลายตามสภาวะ

โดยธรรมชาติของมันเอง ความหลงผิดว่า มีตัวตนที่เข้าไปกระทำ

และถูกกระทำกับสิ่งต่างๆ ไม่มองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหลายในรูป

ของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

พูดสั้นๆว่า ไม่รู้เห็นตามที่มันเป็น แต่รู้เห็นตามที่คิดว่ามันเป็น

หรือ คิดให้มันเป็น (=อวิชชา)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ก.ค.2008, 11:16 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 9:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

โดยเฉพาะข้อ 3 และ 4 จะเห็นได้ว่าเป็นสภาพที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน คือ

เมื่อไม่ได้กำหนดรู้ ไม่เข้าใจชัด หรือหลงเพลินไป ก็ย่อมทำไปตาม

ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจที่สั่งสมอบรมมาก่อนหรือแนว

ความคิดความประพฤติที่ยึดถือเคยชินอยู่

ข้อ3-4 นี้ มีความหมายกว้างขวางมาก รวมไปถึง ทัศนคติ แบบ

แผน ความประพฤติต่างๆที่เป็นผลมาจากการศึกษาอบรม นิสัย

ความเคยชิน ค่านิยมหรือคตินิยมทางสังคม การถ่ายทอดทาง

วัฒนธรรม เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ แสดงอิทธิพลสัมพันธ์กับข้อที่ 1 และ 2 กลายเป็นตัวการ

กำหนดและควบคุมความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคลตั้งแต่

ต้นแต่ว่าจะให้ชอบอะไร ต้องการอะไร จะสนองความต้องการของตนใน

รูปแบบและทิศทางใด แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไร คือเป็นสิ่งที่แฝง

อยู่ลึกซึ้งในบุคคลและคอยบัญชาพฤติกรรมของบุคคลนั้น โดยเจ้าตัวไม่รู้

ตัวเลย ในความเข้าใจตามปกติ บุคคลนั้นย่อมรู้สึกว่าตัวเขากำลังทำ

กำลังประพฤติอย่างนั้นๆ ด้วยตนเอง ตามความต้องการของตน

เองอย่างเต็มที่

แต่แท้ที่จริงแล้ว นับเป็นความหลงผิดทั้งสิ้น เพราถ้าสืบสาวลงไปให้ชัด

ว่า เขาต้องการอะไรแน่ ทำไมเขาจึงต้องการสิ่งที่เขาต้องการอยู่

นั้น ทำไมเขาจึงกระทำอย่างที่กระทำอยู่นั้น ทำไมจึงประพฤติ

อย่างที่ประพฤตินั้น ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรที่เป็นตัวของเขาเองเลย เป็น

แบบแผนความประพฤติที่เขาได้รับถ่ายทอดมาในการศึกษาอบรมบ้าง

วัฒนธรรมบ้าง ความเชื่อถือทางศาสนาบ้าง เป็นความนิยมในทางสังคม

บ้าง เขาเพียงแต่เลือกและกระทำในขอบเขตแนวทางของสิ่งเหล่า

นี้ หรือทำให้แปลกไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นหลักคิด

แยกออกไปและสำหรับเทียบเคียงเท่านั้นเอง สิ่งที่เขายึดถือว่าเป็นตัวตน

ของเขานั้น จึงไม่มีอะไรนอกไปจากสิ่งที่อยู่ในข้อ 1 ถึง ข้อ 4 เท่านั้น

เอง

สิ่งเหล่านี้นอกจากไม่มีตัวมีตนแล้ว ยังเป็นพลังผลักดันที่อยู่พ้น

อำนาจควบคุมของเขาด้วย จึงไม่มีทางเป็นตัวของเขาได้เลย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.ค.2008, 7:36 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 9:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ในทางธรรมเรียกสิ่งทั้ง 4 นี้ว่า อาสวะ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่

ไหลซ่านไปทั่ว หรืออีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมมหรือหมักดอง

หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตไว้ และเป็นสิ่ง

ที่ไหลซ่านไปอาบย้อมจิตใจ เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้

อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด อาสวะ เหล่านี้ก็เที่ยวกำซาบ

ซ่านไปแสดงอิทธิพลอาบย้อมมอมมัว สิ่งที่รับรู้เข้ามาและความนึกคิด

นั้นๆ แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิตและปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็น

อารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็น

เหตุก่อทุกข์ก่อปัญหาเรื่อยไป

อาสวะ อย่างที่ 1 เรียก กามาสวะ

ที่ 2 เรียก ภวาสวะ

ที่ 3 เรียก ทิฏฐาสวะ

ที่ 4 เรียก อวิชาสวะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

จึงเห็นได้ว่า อาสวะ ต่างๆเหล่านี้ เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์

บุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่ง

หนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาชั้นพื้นฐานที่สุด แล้วบังคับบัญชา

ให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามอำนาจของ

มันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้น วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่ออาสวะ

เกิดขึ้น อวิชชาก็เกิดขึ้น แล้ว อวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
ในภาวะ

ที่แสดงพฤติกรรมด้วยความหลงว่าตัวตนทำเช่นนี้

จะพูดแย้งย้อนความเสียก็ได้ว่า มนุษย์ไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะ

พฤติกรรมถูกบังคับบัญชาด้วยสังขารที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

กล่าวโดยสรุปเพื่อตัดตอนให้ชัด ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือ การไม่มอง

เห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา

ตามแนวปฏิจจสมุปบาท
คือ ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่าเป็น

สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรม

นามธรรมส่วนย่อยต่างๆ มากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบ

ต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้กระแสนั้นอยู่ในภาวะ

ที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา หรือ

พูดให้ง่ายขึ้นว่า บุคคลก็คือผลรวมแห่งความรู้สึกนึกคิด

ความปรารถนา ความเคยชิน ความโน้มเอียง ทัศนคติ ความรู้

ความเข้าใจ ความเชื่อถือ- (ตั้งแต่ขั้นหยาบที่ผิด หรือไม่มีเหตุผล

จนถึงขั้นละเอียดที่ถูกต้องและมีเหตุผล)

ความคิดเห็น ความรู้สึกในคุณค่าต่างๆ ทั้งหมดในขณะนั้นๆ

ที่เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การศึกษาอบรม

และปฏิกิริยาต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายใน และที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหลาย อันกำลังดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่ตระหนักรู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง

เป็นตัวตนของตนในขณะหนึ่งๆ เมื่อยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน ก็คือ

ถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกเอา

จึงเท่ากับตกอยู่ในอำนาจของมัน ถูกมันชักจูงบังคับเอาให้เห็น

ว่า ตัวตนนั้นเป็นไปต่างๆ พร้อมทั้งความเข้าใจว่า ตนเองกำลังทำ

การต่างๆ ตามความต้องการของตน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-พิจารณาทำความเข้าใจต่อไป อธิบายละเอียดขึ้นอีกนิดหนึ่ง




คำอธิบายแสดงความสัมพันธ์เชิงขยายความ



1. อวิชชา => สังขาร
เพราะไม่รู้ตามเป็นจริง ไม่เห็น

แจ้ง ไม่เข้าใจชัด จึงคิดปรุงแต่ง เดา คิดวาดภาพไปต่างๆ

เหมือนคนอยู่ในที่ความมืด เห็นแสงสะท้อนนัยน์ตาสัตว์ มีความเชื่อ

เรื่องผีอยู่แล้ว จึงคิดเห็นเป็นรูปหน้าตาหรือตัวผีขึ้นมาจริงๆ และเห็น

เป็นอาการต่างๆ เกิดความกลัว คิดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น วิ่งหนี เป็นต้น หรือเหมือนคนไม่เห็นของทายที่อยู่ใน

กำมือ จึงคิดหาเหตุผลมาทาย เดา และถกเถียงต่างๆ

คนที่เชื่อว่าเทวดาชอบใจจะบันดาลอะไรๆให้ได้ ก็คิดปรุงต่างคำอ้อน

วอน พิธีบวงสรวงสังเวยต่างๆ ขึ้น กระทำการเซ่นสรวงอ้อน

วอนต่างๆ

คนไม่รู้เท่าทันสภาวะของสังขารที่ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน เกิดจากการ

ปรุงแต่งขององค์ประกอบต่างๆ ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยจึงคิดเห็น

เป็นของดีงาม น่าเอา น่าครอบครอง คิดวาดภาพไปต่างๆ

ตั้งความมุ่งหมาย คิดหาทางและทำการต่างๆ ที่จะได้จะเอามา

ครอบครอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. สังขาร => วิญญาณ
เมื่อมีเจตนา คือ ตั้งใจ จงใจ มุ่งหมาย ใจเลือก ใจจะรับเอา หรือ ตกลงจะเกี่ยวข้อง วิญญาณ ที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น จึงจะเกิดขึ้น

แต่ถ้าไม่จำนง ไม่จงใจ ไม่เอาใจใส่ ใจไม่มุ่งออกรับ ถึงจะอยู่ในวิสัยที่จะรับรู้ได้ วิญญาณก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนคนกำลังคิดมุ่งหรือทำงานอะไรอย่างจดจ้องสนใจอยู่อย่างหนึ่ง จิตใจไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย เช่น อ่านหนังสืออย่างเพลิดเพลิน จิตรับรู้เฉพาะเรื่องที่อ่าน มีเสียงดังควรได้ยินก็ไม่ได้ยิน ยุงกัดก็ไม่รู้ตัว เป็นต้น

กำลังค้นหาของอย่างใดอย่างหนึ่ง มองไม่เห็นคนหรือของอื่นที่ผ่านมา
ในวิสัยที่จะพึงเห็น
มองของสิ่งเดียวกันคนละครั้งด้วยเจตนาคนละอย่าง เห็นไปตามแง่ของเจตนานั้น เช่น มองไปที่พื้นดินว่างแห่งหนึ่ง ด้วยความคิดของเด็กที่
จะเล่น ได้ความรับรู้และความหมายอย่างหนึ่ง

มองไปอีกครั้ง ด้วยความคิดจะปลูกสร้างบ้าน ได้ความรับรู้และความหมายอย่างหนึ่ง

มองไปอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความคิดของเกษตรกร ได้ความรับรู้และความหมายอย่างหนึ่ง

มองด้วยความคิดของอุตสาหกร ได้ความรับรู้และความหมายอย่างหนึ่ง

มองของสิ่งเดียวกันคนละครั้งด้วยความคิดนึกคนละอย่าง เกิดความรับรู้
คนละแง่ละด้าน เมื่อคิดนึกในเรื่องที่ดีงาม จิตก็รับรู้อารมณ์ที่ดีงาม และรับรู้ความหมายในแง่ที่ดีงามของอารมณ์นั้น

เมื่อคิดนึกในทางที่ชั่วร้าย จิตก็รับรู้อารมณ์ส่วนที่ชั่วร้าย และรับรู้ความหมายในแง่ที่ชั่วร้ายของอารมณ์นั้น โดยสองคล้องกัน เช่น ในกลุ่มของหลายอย่างที่วางอยู่ใกล้กัน และอยู่ในวิสัยของการเห็นครั้งเดียว
ทั้งหมด มีมีดกับดอกไม้อยู่ด้วย

คนที่รักดอกไม้มองเข้าไป จิตอาจรับรู้เห็นแต่ดอกไม้อย่างเดียว และการรับรู้จะเกิดซ้ำอยู่ที่ดอกไม้อย่างเดียว จนไม่ได้สังเกตเห็นของอื่นที่วางอยู่ใกล้ ยิ่งความสนใจชอบใจติดใจในดอกไม้มีมากเท่าใด การรับรู้ต่อดอกไม้ก็ยิ่งถี่ขึ้น และการรับรู้ต่อสิ่งของอื่นๆ น้อยลงไปเท่านั้น

ส่วนคนที่กำลังจะใช้อาวุธมองเข้าไป จิตก็จะรับรู้แต่มีดเช่นเดียวกัน และแม้ในกรณีเห็นมีดเป็นอารมณ์ด้วยกัน

สำหรับคนหนึ่ง อาจรับรู้มีดในฐานะอาวุธสำหรับประหารผู้อื่น

อีกคนหนึ่ง อาจรับรู้ในแง่สิ่งที่จะใช้ประโยชน์ในครัว

อีกคนหนึ่ง อาจรับรู้ในฐานะเป็นชิ้นโลหะชิ้นหนึ่ง

สุดแต่ผู้นั้นเป็นโจร เป็นคนครัว หรือเป็นคนรับซื้อโลหะเก่า

และอยู่ในภาวะแห่งความคิดนึกเจตจำนงอย่างใด ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. วิญญาณ=>นามรูป:
วิญญาณกับนามรูปอาศัยซึ่งกันและ

กัน อย่างที่พระสารีบุตรกล่าวว่า “ไม่อ้อ 2 กำ ตั้งอยู่ได้ เพราะต่าง

อาศัยซึ่งกันและกัน ฉันใด เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯลฯ ฉันนั้น ไม่อ้อ 2 กำนั้น

ถ้าเอาออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งย่อมล้ม ถ้าดึงอีกกำหนึ่งออก

อีกกำหนึ่งก็ล้ม ฉันใด

เพราะนามรูปดับ วิญญาณก็ดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ

ฯลฯ ฉันนั้น” (สํ.นิ. 16/266/138)

โดยนัยนี้ เมื่อวิญญาณเกิดมี นามรูปจึงเกิดมีได้ และต้องเกิดมีด้วย

ในกรณีที่สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

พร้อมกันไปด้วย แต่เพราะนามรูปจะมีได้ต้องอาศัยวิญญาณในฐานะ

ที่มันเป็นคุณสมบัติและเป็นตัวประกอบร่วมของวิญญาณ จึงกล่าวว่า

สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

ในที่นี้อาจแยกภาวะที่วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปได้ ดังนี้


1) ที่ว่าจิตรับรู้ต่ออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เห็นของสิ่งหนึ่ง
ได้ยินเสียงอย่างหนึ่ง เป็นต้นนั้น แท้จริงก็คือรับรู้ต่อนามรูป-
(ในที่นี้ หมายถึง รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
สังขารขันธ์) ต่างๆนั่นเอง สิ่งที่มีสำหรับบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ก็คือ
สิ่งที่มีอยู่ในความรับรู้ของเขาในขณะนั้นๆ หรือนามรูปที่ถูกวิญญาณ
รับรู้ในขณะนั้นๆ เท่านั้น เช่น ดอกกุหลาบที่มีอยู่ก็คือ ดอกกุหลาบ
ที่กำลังถูกรับรู้ทางจักษุประสาท หรือทางมโนทวารในขณะนั้นๆ เท่า
นั้น
นอกจากนี้ ดอกกุหลาบอย่างนั้นๆ ก็มิได้มีอยู่ต่างหากจากบัญญัติ
(concept) ในมโนทวาร และมิได้ผิดแปลกไปจากเวทนา สัญญา
และสังขารที่มีอยู่ในขณะนั้นๆ เลย
โดยนัยนี้ เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงอยู่พร้อมนั่นเอง และมีอยู่อย่าง
อิงอาศัยค้ำจุนซึ่งกันและกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


2) นามรูปที่เนื่องอาศัยวิญญาณ ย่อมมีคุณภาพสอดคล้องกับวิญญาณนั้นด้วย โดยเฉพาะนามทั้งหลายก็ คือ คุณสมบัติของจิตนั่นเอง เมื่อความคิดปรุงแต่ง- (= สังขาร) ดีงาม ก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณซึ่งรับรู้อารมณ์ที่ดีงามและในแง่ที่ดีงาม ในขณะนั้น จิตใจ
ก็ปลอดโปร่งผ่องใสไปตาม อากัปกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆ ทางด้านร่างกาย ก็แสดงออกหรือปรากฏรูปลักษณะในทางที่ดีงามสอดคล้องกัน

เมื่อคิดนึกในทางที่ชั่ว ก็เกิดความรับรู้อารมณ์ในส่วนและแง่ที่ชั่วร้าย จิตใจก็มีสภาพขุ่นมัวหม่นหมอง อากัปกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆ ทางด้านร่างกาย ก็แสดงออกหรือปรากฏรูปลักษณะเป็นความเครียดกระด้างหม่นหมองไปตาม

ในสภาพเช่นนี้ องค์ประกอบต่างๆทั้งในทางจิตใจและร่างกาย อยู่ในภาวะที่พร้อมหรืออยู่ในอาการที่กำลังปฏิบัติหน้าที่โดยสอดคล้องกับสังขาร หรือวิญญาณที่เกิดขึ้น
เมื่อรู้สึกรักใคร่ไมตรี (= สังขาร)
ก็เกิดความรับรู้อารมณ์ส่วนที่ดีงาม (=วิญญาณ)
จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน (= นาม)
สีหน้าก็สดชื่นยิ้มแย้มผ่องใส ตลอดจนกิริยาอาการต่างๆ ก็กลมกลืนกัน (= รูป) อยู่ในภาวะที่พร้อมจะแสดงออกในทางที่ดีงามต่อไป

เมื่อโกรธเคือง ก็เกิดความรู้อารมณ์แต่ส่วนที่เลว จิตใจก็ขุ่นมัวขัดข้อง สีหน้ากิริยาอาการก็บึ้งบูดเคร่งเครียด อยู่ในภาวะที่พร้อมจะแสดงอาการและกระทำการต่างๆ ในแนวทางนั้นต่อไป

นักกีฬาที่อยู่ในสนามเมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้น ความนึกคิดเจตจำนงต่างๆจะพุ่งไปในกีฬาที่แข่งขันอยู่นั้น ความรับรู้ต่างๆก็เกิดดับอยู่ในเรื่องนั้น ด้วยอัตราความถี่มากน้อยตามกำลังของเจตจำนงความสนใจที่พุ่งไปในกีฬานั้น
จิตใจและร่างกายทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก็อยู่ในภาวะพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่แสดงพฤติกรรมออกมาโดยสอดคล้องกัน ความเป็นปัจจัยในข้อนี้ หมายรวมไปถึง การเกิดดับสืบต่อของนามรูปใหม่ๆ คือ ส่วนต่างๆของร่างกาย และ จิตใจที่มาก่อหรือเสริมบุคลิกภาพให้เป็นไปตามสภาพของวิญญาณ ที่ถูกสังขารปรุงแต่งแล้วนั้น- (พึงสังเกตความสัมพันธ์กับภพ) ความเป็นไปในช่วงนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญส่วนหนึ่ง ในกระบวนแห่งกรรมและการให้ผลของกรรม วงจรแห่งวัฏฏะหมุนมาครบรอบเล็ก- (อวิชชา: กิเลส => สังขาร : กรรม => วิญญาณ และนามรูป: วิบาก=กิเลส-กรรม-วิบาก) และกำลังจะเริ่มตั้งต้นหมุนต่อไป
นับว่า เป็นขั้นตอนสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างนิสัย ความเคยชิน ความรู้ ความชำนาญและบุคลิกภาพทั้งหมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


4. นามรูป =>สฬายตนะ:
การที่นามรูปจะปฏิบัติหน้าที่ต่อๆ

ไป ต้องอาศัยความรู้ต่อโลกภายนอก หรือ ดึงความรู้ที่สะสมไว้แต่

เดิมมาเป็นเครื่องประกอบการตัดสิน หรือ เลือกว่าจะดำเนินพฤติกรรมใด

ต่อไป ในทิศทางใด ดังนั้น นามรูป ส่วนที่มีหน้าที่เป็นสื่อหรือ

ช่องทางติดต่อรับรู้อารมณ์ต่างๆ คือ อายตนะที่เกี่ยวข้องในกรณีนั้นๆ

จึงอยู่ในสภาพตื่นตัวและปฏิบัติหน้าที่สัมพันธ์สอดคล้องกับปัจจัย

ข้อก่อนๆตามลำดับมา เช่น ในกรณีของนักฟุตบอลในสนาม

อายตนะที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์อันเกี่ยวกับกีฬาที่เล่นอยู่นั้น เช่น

ประสาทตา ประสาทหู เป็นต้น ก็จะอยู่ในสภาพตื่นตัวที่จะรับรู้อารมณ์

ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่เล่นด้วยความไวเป็นพิเศษ

ในขณะเดียวกัน อายตนะที่ไม่เกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ที่มุ่งหมายนั้น

ก็จะไม่อยู่ในสภาพตื่นตัวที่จะให้เกิดการรับรู้อารมณ์

พูดง่ายๆ ว่าผ่อนการปฏิบัติหน้าที่ลงไปตามส่วน เช่น ความรู้สึก

กลิ่น และความรู้สึกรส อาจไม่เกิดขึ้นเลย ในขณะที่กำลังเล่น

อย่างกระชั้นชิดติดพัน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 7:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


5. สฬายตนะ => ผัสสะ:
เมื่ออายตนะปฏิบัติหน้าที่ การรับรู้ก็

เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบ 3 อย่างเข้าบรรจบกัน คือ อายตนะ

ภายใน (= ตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน อย่างใดอย่างหนึ่ง)

กับ อารมณ์ภายนอก (= รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง)

และวิญญาณ (= ทางจักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน

อย่างใดอย่างหนึ่ง) การรับรู้ก็เกิดขึ้นโดยสอดคล้องกับอายตนะนั้นๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


6. ผัสสะ => เวทนา :
เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องมี

ความรู้สึกเกี่ยวด้วยสุขทุกข์เกิดขึ้น อย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่าง คือ

สบาย ชื่นใจ เป็นสุข (สุขเวทนา)

หรือไม่ก็บีบคั้น ไม่สบาย เจ็บปวด เป็นทุกข์ (ทุกข์เวทนา)

หรือไม่ก็เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ (อุเบกขา หรือ อทุกขมสุขเวทนา)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ปฏิจจสมุปบาทตั้งแต่หัวข้อที่ 3 ถึง 7 คือ วิญญาณ ถึงเวทนานี้

เป็นกระบวนการในช่วงวิบาก คือ ผลของกรรม (กิเลส กรรม วิบาก)

โดยเฉพาะข้อ 5-6-7 (สฬายตนะ - ผัสสะ - เวทนา)

ไม่เป็นบุญเป็นบาป ไม่ดีไม่ชั่ว โดยตัวของมันเอง

แต่เป็นเหตุแห่งความดี ความชั่วได้ต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 8:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


7. เวทนา => ตัณหา :
เมื่อได้รับสุขเวทนา ก็พอใจ

ชอบใจ ติดใจ อยากได้ และอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไป


เมื่อได้รับทุกข์เวทนา ก็ขัดใจ อยากให้สิ่งนั้นสูญสิ้นพินาศไปเสีย

อยากให้ตนพ้นไปจากทุกข์เวทนานั้น และอยากได้แส่ดิ้นรนไปหาสิ่งอื่น

ที่จะให้สุขเวทนาต่อไป


เมื่อได้รับอุเบกขาเวทนา คือ รู้สึกเฉยๆ ก็ชวนให้เกิดอาการซึมๆ

เพลิน อย่างมีโมหะ และเป็นสุขเวทนาอย่างอ่อนๆ ที่ทำให้ติดใจได้

และเป็นเชื้อให้ขยายตัวออกเป็นความอยากได้สุขเวทนาต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 7:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ตัณหานั้น เมื่อแยกให้ชัดโดยอาการก็มี 3 อย่าง คือ

1) กามตัณหา (craving for sense-pleasure) ความอยากได้สิ่งสำหรับสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)

2) ภวตัณหา (craving for self-existence) ความอยากได้สิ่งต่างๆ โดยสัมพันธ์กับภาวะชีวิต อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือความอยากในภาวะชีวิตที่จะอำนวยสิ่งที่ปรารถนานั้นๆได้
ในความหมายที่ลึกซึ้ง คือ ความอยากในความมีอยู่ของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งยั่งยืนตลอดไป

3) วิภวตัณหา (craving for non- existence or self-annihilation)
ความอยากให้ตัวตนพ้นไป ขาดหาย พรากหรือสูญสิ้นไปเสียจากสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง หรือภาวะชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ปรารถนา ตัณหาชนิดนี้ แสดงออกในรูปที่หยาบ เช่น ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความเหงา ว้าเหว่ ความเบื่อตัวเอง ความชังตัวเอง ความสมเพชตนเอง ความอยากทำลาย เป็นต้น

ตัณหาจึงแสดงออกในรูปต่างๆเป็นความอยากได้กามคุณต่างๆบ้าง อยากได้ภาวะแห่งชีวิตบางอย่าง เช่น ความเป็นเศรษฐี ความเป็นผู้มีเกียรติ ความเป็นเทวดา เป็นต้น ซึ่งจะอำนวยสิ่งที่ปรารถนาให้บ้าง อยากพ้นไปจากภาวะที่ไม่ปรารถนา เบื่อหน่าย หมดอาลัยตายอยาก ตลอดจนถึงอยากตายบ้าง หรือในกรณีที่แสดงออกในภายนอก เมื่อถูกขัดหรือฝืนความปรารถนา ก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิฆะ ความขัดใจ ขัดเคือง โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดทำลายผู้อื่น สิ่งอื่น เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-การแปลความหมายตัณหา 3 อย่างนี้ โดยเฉพาะอย่างที่ 2 และ 3 (ภวตัณหา และ วิภวตัณหา) ยังมีความขัดแย้งกันอยู่เป็น 2-3 แบบ- (ดู อภิ.วิ.35/933/494; วิสุทธิ.3/179 เป็นต้น)

บางท่านเทียบ ภวตัณหา = life-instinct หรือ life-wish และ วิภวตัณหา = death-instinct หรือ death- wish ตามหลักจิตวิทยาของ Sigmund Freud (M.O.C. Walshe, Buddhism for Today, George Allen and Unwin, London, 1962, pp. 37-40) ความหมายภวตัณหา และ วิภวตัณหา ที่ชัดมากแห่งหนึ่ง คือ ขุ. อิติ. 25/227/263
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง