Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิจจสมุปบาท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2008, 11:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เห็นตามเว็บไซต์ธรรมหลายแห่งถาม-ตอบกัน ซึ่งก็ตรงกับที่บันทึกไว้

ในตำราอยู่ดอก แต่ยังยากจะรู้เข้าใจได้ เพราะเป็นภาษาธรรมล้วนๆ

จนดูประหนึ่งว่าไม่มีประโยชน์อะไรแก่ชีวิตในปัจจุบันนี้เลย

มีไว้พูดไว้คุยกันอย่างเดียวเท่านั้น


ผู้ไม่มีพื้นฐานทางบาลีเลย ก็อ่านออกแต่ไม่รู้ความหมาย ว่าได้แก่อะไร อย่างไร เป็นไง

ยิ่งเป็นเรื่องของจิตใจเข้าอีก จึงยิ่งยากเป็นทวีคูณ


ที่ลิงค์ด้านล่าง ถาม-ตอบ ปฏิจจสมุปบาทกันเหมือนกัน

เค้าถามว่า


กระผมอยากให้ท่านผู้รู้ให้อธิบายเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อเป็นธรรมทาน

ให้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมทั้งหลาย เพื่อคลายควาสงสัยทั้งหลาย โดยแบบละเอียด

และ แบบง่าย เพื่อไม่ให้อยากเกินไป ง่ายต่อการเข้าใจครับ



แต่อ่านที่ตอบแล้ว ลอกแบบมาลงทั้งดุ้นทั้งกระบวน

http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=8481
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2008, 2:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ต่อไปจะนำคำอธิบายปฏิจจสมุปบาทจากหนังสือพุทธธรรม หน้า 79...

จากง่ายไปหายาก

ก่อนอื่น ดูความหมายขององค์ธรรม ต่างๆ แห่งปฏิจจสมุปบาทโดยย่อ

เพื่อสะดวกแก่การทำความเข้าใจบทที่ยากๆก่อน




1. อวิชชา


- ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

2. สังขาร

- ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

3. วิญญาณ

-ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

4. นามรูป

-องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

5. สฬายตนะ

-สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

6.ผัสสะ

- การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

7. เวทนา

- การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

8.ตัณหา

- ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ

ทำลาย

9.อุปาทาน

-ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว

10.ภพ

-ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

11.ชาติ

- การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท

ความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

12.ชรามรณะ

-การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัวได้อยู่

ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

= ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว

น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆของความทุกข์ อันเป็น

ของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา

เป็นทั้งปัญหา และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ส.ค. 2009, 7:33 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2008, 2:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-อาสวะ แปล ตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว

หรือ อีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมม หรือหมักดอง

หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตใจ และ เป็นสิ่งที่ไหลซ่าน

ไปอาบย้อมจิตใจ

เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด

อาสวะเหล่านี้ ก็เที่ยวกำซาบซ่านไปแสดงอิทธิพล ย้อมมอมมัวสิ่งที่รับรู้เข้ามา

และ ความนึกคิดนั้นๆ แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิตและปัญญาล้วนๆ กลับเสมือน

เป็นอารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็นเหตุก่อทุกข์

ก่อปัญหาเรื่อยไป

อาสวะ อย่าง

ที่ 1 เรียกว่า กามาสวะ (กาม+อาสวะ)

ที่ 2 เรียกว่า ภวาสวะ (ภว+อาสวะ)

ที่ 3 เรียกว่า ทิฏฐาสวะ (ทิฏฐิ+อาสวะ)

ที่ 4 เรียกว่า อวิชชาสวะ (อวิชชา+อาสวะ)

-อาสวะต่างๆ เหล่านี้ เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์บุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำ

ให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาขั้นพื้นฐานที่สุด

แล้วบังคับบัญชาให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ

ตามอำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้นวงจรปฏิจจสมุปบาท

คือ เมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิด แล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร


ในภาวะที่แสดงพฤติกรรมถูกบังคับบัญชา ด้วยสังขาร ที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น



(สังขารในที่นี้ ได้แก่ สังขารขันธ์ ซึ่งได้แก่เจตสิก 50 ซึ่งเป็นตัวปรุงแต่งจิตให้ดี

ให้ชั่ว เป็นกุศล เป็น อกุศล หรือ เป็นบุญเป็นบาปนั่นเอง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2008, 3:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ทำความเข้าใจ กาม ภว ทิฏฐิ อวิชชา ที่เรียกว่า อาสวะ )


ตามปรกติ มนุษย์บุถุชนทุกคน เมื่อประสบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออยู่ในสถานการณ์

อย่างใดอย่างหนึ่ง จะแปลความหมาย ตัดสินสิ่งหรือเหตุการณ์นั้น พร้อมทั้งคิดหมาย

ตั้งเจตจำนง แสดงออกซึ่งพฤติกรรมและกระทำการต่างๆ ตามความโน้มเอียง

หรือตามแรงผลักดัน ต่อไปนี้ คือ


1. กาม


-ความใฝ่การสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)


2. ภว (ภพ)


- ความใฝ่หรือห่วงในความมีอยู่คงอยู่ของตัวตน ตลอดจนการที่ตัวตนจะได้เป็นอย่างนั้น

อย่างนี้ และ การที่จะดำรงคงอยู่ในภาวะที่อยากเป็นนั้นยั่งยืนตลอดไป


3. ทิฏฐิ


-ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ ทฤษฎี แนวความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งที่

สั่งสมอบรมมา และ ยึดถือเชิดชูไว้


4. อวิชชา


-ความหลง ความไม่เข้าใจ คือ ความไม่ตระหนักรู้และไม่กำหนดรู้ความเป็นมาเป็นไป

เหตุ ผล ความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

หรือ เหตุการณ์ทั้งหลาย ตามสภาวะโดยธรรมชาติของมันเอง

ความหลงผิดว่ามีตัวตนที่เข้าไปทำและถูกกระทำกับสิ่งต่างๆ ไม่มองเห็น

ความสัมพันธ์ทั้งหลายในรูปของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย


พูดสั้นๆ ว่า ไม่เห็นตามที่มันเป็น แต่รู้เห็นตามที่คิดว่ามันเป็น หรือคิดให้มันเป็น



โดยเฉพาะข้อ 3 และ 4 จะเห็นได้ว่าเป็นสภาพที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน คือ เมื่อไม่ได้กำหนดรู้

ไม่เข้าใจชัด หรือหลงเพลินไป ก็ย่อมทำไปตามความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ

ที่สั่งสมอบรมมาก่อน หรือแนวความคิดความประพฤติที่ยึดถือเคยชินอยู่ ซึ่งมีความ

หมายกว้างขวางมาก ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.พ.2008, 7:27 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2008, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัดตอนให้ชัดไว้ก่อนว่า ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือ การไม่มองเห็นไตรลักษณ์

โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา ตามแนวปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่า

เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรมนามธรรม

ส่วนย่อยต่างๆ มากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบต่อกัน

โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้กระแสนั้นอยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา



หรือ พูดให้ง่ายขึ้นว่า บุคคลก็คือผลรวมแห่งความรู้สึกนึกคิด

ความปรารถนา ความเคยชิน ความโน้มเอียง ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ

ความเชื่อถือ ความคิดเห็น ความรู้สึกในคุณค่าต่างๆ ทั้งหมดในขณะนั้นๆ

เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การศึกษาอบรม และปฏิกิริยาต่างๆ

ทั้งที่เกิดขึ้นภายใน และ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย อันกำลังดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่ตระหนักรู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นตัวตนของตน

ในขณะหนึ่งๆ เมื่อยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน ก็คือถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกเอา

จึงเท่ากับตกอยู่ในอำนาจของมัน ถูกมันชักจูงบังคับเอาให้เห็นว่า ตัวตนนั้นเป็นไปต่างๆ

พร้อมทั้งความเข้าใจว่า ตนเองกำลังทำการต่างๆ ตามความต้องการของตน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 8:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายเชิงอธิบาย


1. อวิชชา
(ignorance lack of knowledge) = ความไม่รู้

ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ หลงไปตามสมมุติบัญญัติ

ความไม่รู้ที่แฝงอยู่กับความเชื่อถือต่างๆ ภาวะขาดปัญญา ความไม่เข้าใจเหตุผล

การไม่ใช้ปัญญา หรือปัญญาไม่ทำงาน ในขณะนั้นๆ


2. สังขาร
(Volitional activities) = ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจ

มุ่งหมาย ตัดสินใจ และการที่จะแสดงเจตนาออกเป็นการกระทำ; การจัดสรรกระบวน

ตามความคิด และมองหาอารมณ์มาสนองความคิดโดยสอดคล้องกับพื้นนิสัย ความถนัด

ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ และทัศนคติ เป็นต้นของคน ตามที่ได้สั่งสมไว้;

การปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งความคิด หรือปรุงแต่งกรรม ด้วยเครื่องปรุง คือ คุณสมบัติ

ต่างๆ ที่เป็นความเคยชิน หรือได้สั่งสมไว้

(สังขารในกรณีนี้ คือ เจตสิก 50 มีทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายร้าย)

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 8:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน




3. วิญญาณ
(consciousness) = ความรู้ต่ออารมณ์ต่างๆ คือ เห็น ได้ยิน

ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้ต่ออารมณ์ที่มีในใจ ตลอดจนสภาพพื้นเพของจิตใจในขณะนั้นๆ


4. นามรูป
(animated organism) = ความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรม

ในความรับรู้ของบุคคล ภาวะที่ร่างกายและจิตใจทุกส่วนอยู่ในสภาพที่สอดคล้อง และปฏิบัติ

หน้าที่เพื่อตอบสนองในแนวทางของวิญญาณที่เกิดขึ้นนั้น

ส่วนต่างๆ ของร่างกายและจิตใจที่เจริญหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพจิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 8:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



5. สฬายตนะ
(the six sense-bases) = ภาวะที่อายตนะที่เกี่ยวข้อง

ปฏิบัติหน้าที่โดยสอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ


6. ผัสสะ
(contact) = การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้

อารมณ์ต่างๆ


7. เวทนา
(teeling) = ความรู้สึกสุขสบาย ถูกใจ หรือทุกข์ ไม่สบาย หรือเฉยๆ

ไม่สุข ไม่ทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 8:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



8. ตัณหา
(craving) = ความอยาก ทะยาน ร่านรนหาสิ่งอำนวยสุขเวทนา

หลีกหนีสิ่งที่ก่อทุกขเวทนา
โดยอาการ ได้แก่ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่อย่างนั้น ๆ

ยั่งยืนตลอดไป อยากให้ดับสูญ พินาศไปเสีย


9. อุปทาน
(attachment, clinging) = ความยึดติดถือมั่นในเวทนาที่ชอบ

หรือชัง รวบรั้งเอาสิ่งต่างๆ และภาวะชีวิตที่อำนวยเวทนานั้นเข้ามาผูกพันกับตัว

ความยึดมั่นต่อสิ่งซึ่งทำให้เกิดเวทนาที่ชอบหรือไม่ชอบ จนเกิดท่าทีหรือตีราคาต่อสิ่งต่างๆ

ในแนวทางที่เสริมหรือสนองตัณหาของตน


(ความอยากที่เป็น ตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ศึกษาที่ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590

คำจำกัดความของตัณหาสั้นๆ คือ ทยานอยากเสพสุข ร้อนรนอยากหนีทุกขเวทนา)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 9:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



10. ภพ
(process of becoming) = กระบวนพฤติกรรม

ทั้งหมดที่แสดงออก เพื่อสนองตัณหาอุปาทานนั้น (กรรมภพ – the active

process)

และ ภาวะชีวิตที่ปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่ง (อุปปัตติภพ- the passive process)

โดยสอดคล้องกับอุปาทานและกระบวนพฤติกรรมนั้น


(อุปัตติภพ เป็นศัพท์ฝ่ายอภิธรรม แต่ในพระสูตรรุ่นหลังเรียกปฏิสนธิปุนภพ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 9:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



11. ชาติ
(birth) = การเกิดความตระหนักในตัวตนว่าอยู่หรือไม่ได้อยู่ในภาวะ

ชีวิตนั้นๆ หรือไม่ได้มี ไม่ได้เป็นอย่างนั้นๆ

การเข้าครอบครองภาวะชีวิตนั้น หรือเข้าสวมเอากระบวนพฤติกรรมนั้น โดยการยอมรับ

ตระหนักชัดขึ้นมาว่า เป็นภาวะชีวิตของตน เป็นกระบวนพฤติกรรมของตน

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 9:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



12. ชรามรณะ
(decay and death) = ความสำนึกในความขาด พลาด

หรือ พรากแห่งตัวตนจากภาวะชีวิตอันนั้น ความรู้สึกว่าตัวตนถูกคุกคามด้วยความสูญสิ้น

สลาย หรือพลัดพรากจากภาวะชีวิตนั้นๆ หรือจากการได้มี ได้เป็นอย่างนั้นๆ

จึงเกิด โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส พ่วงมาด้วย คือ รู้สึกคับแคบ ขัดข้อง

ขุ่นมัว แห้งใจ หดหู่ ไม่สมหวัง กระวนกระวาย และทุกขเวทนาต่างๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำอธิบายแสดงความสัมพันธ์อย่างง่าย


1. อวิชชา เป็นปัจจัยแก่สังขาร


-เพราะไม่รู้ความจริง ไม่เห็นความจริง ไม่รู้ข้อเท็จจริง ไม่เข้าใจชัดเจน

หรือไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาในขณะที่ประสบสถานการณ์นั้นๆ จึงคิดปรุง

แต่งไปต่างๆ เดาเอาบ้าง คิดวาดภาพเอาเองต่างๆ ฟุ้งเฟ้อวุ่นวาย

ไปบ้าง นึกเห็นมั่นหมายไปตามความเชื่อ ความหวดระแวง

หรือแนวนิสัยของตนที่ได้สั่งสมไว้บ้าง ตลอดจนตั้งใจ คิดมุ่ง

หมายว่าจะเอาอย่างไร ๆ จะพูดจะทำอะไรๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ


เมื่อมีเจตนาคิดมุ่งหมายตั้งใจ หรือ ใจเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือ

รู้รับอะไรๆ จึงจะเกิด

มีวิญญาณ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้คิดต่อเรื่องนั้นๆ

สิ่งนั้นๆ โดยเฉพาะเจตนาจักจูงนำจิตนำวิญญาณให้คิด ให้รับรู้

ไปในเรื่องที่มันต้องการปรุงแต่งเรื่องไปไม่รู้จักจบสิ้น และพร้อมกัน

นั้น มันก็จะปรุงแต่งสภาพพื้นเพของจิต หรือ ของวิญญาณ

นั้น ให้กลายเป็นจิตที่ดีงามหรือชั่วร้าย มีคุณธรรม ไร้คุณธรรม

หรือ มีคุณสมบัติต่างๆ ตามแต่เจตนาที่ดี หรือ ชั่วนั้นๆ ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่นามรูป


เมื่อมีวิญญาณที่รู้เห็น ได้ยิน เป็นต้น ก็ต้องมีรูปธรรมนามธรรม

ต่างๆ ที่เป็นตัวร่วมงานร่วมอาศัยกันของวิญญาณนั้น เช่น

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย ต่างก็ต้องทำงาน

ร่วมไปด้วยตามหน้าที่ ยิ่งกว่านั้น วิญญาณขณะนั้นถูกปรุงแต่งให้

เป็นอย่างไร นามธรรมรูปธรรมทั้งหลายที่แสดงตัวออกมาร่วมงาน

ในขณะนั้นๆ ก็จะมีแต่จำพวกที่เป็นทำนองนั้น หรือ พลอยมีคุณสมบัติ

อย่างนั้นไปด้วย เช่นเมื่อวิญญาณ ประกอบด้วยสังขารจำพวกโกรธ

เป็นตัวปรุงแต่ง สัญญาที่ออกโรงด้วย ก็จะเป็นสัญญาเกี่ยวกับ

ถ้อยคำหยาบคาย คำด่า ตลอดจนมีดพร้าอาวุธเป็นต้น

รูปธรรม เช่น หน้าตาก็จะบูดบึ้ง กล้ามเนื้อเขม็งเครียด

เลือดไหลฉีดแรง เวทนาก็บีบคั้น เป็นทุกข์ เป็นต้น

เมื่อวิญญาณเป็นไปในสภาพอย่างใดซ้ำบ่อย นามธรรมและรูปธรรม

ที่เกิดดับสืบต่อก็จะก่อเป็นลักษณะกายใจจำเพาะตัวที่เรียกว่าบุคลิกภาพ

อย่างนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

4. นามรูป เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ

เมื่อนามรูปตื่นตัวทำงานพร้อมอยู่ในรูปแบบ ลักษณะ หรือ

ทิศทาง อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มันต้องอาศัยบริการของอายตนะ

ใดๆ เป็นสื่อป้อนความรู้หรือเป็นช่องทางดำเนินพฤติกรรม

อายตนะนั้นๆ ก็จะถูกปลุกเร้าให้พร้อมในการทำหน้าที่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5. สฬายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ

เมื่ออายตนะต่างๆ มี ผัสสะ การรับรู้รับอารมณ์ด้านต่างๆ เหล่านั้น

จึงมีได้ เมื่ออายตนะใดทำหน้าที่ ก็มีผัสสะคือการรับรู้รับอารมณ์

โดยอาศัยอายตนะนั้นได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

6. ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนา

เมื่อมีการรับรู้อารมณ์นั้นแล้ว ก็ต้องมีความรู้สึกที่เป็นเวทนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง ไม่สุขสบาย ก็ทุกข์ ไม่สบาย หรือ ไม่ก็เฉยๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

7. เวทนา เป็นปัจจัยแก่ตัณหา

เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ได้ความสุขสบายชื่นใจ ก็ชอบใจ ติดใจ อยากได้

อารมณ์นั้น เกิดเป็นกามตัณหา อยากคงอยู่ อยากเข้าอยู่ในภาวะ

ที่จะได้ครอบครองเสวยสุขเวทนาจากอารมณ์นั้น เกิดเป็นภวตัณหา

เมื่อรับรู้อารมณ์ใด เกิดความทุกข์บีบคั้นไม่สบาย ก็เกลียดชัง ชัดใจ

อยากพรากอยากพ้น อยากกำจัด ทำให้สูญหายไป เกิดเป็นวิภวตัณหา

ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เรื่อยๆ ซึมๆ เพลินๆ อยู่ในโมหะ และติดอยากได้สุข

เวทนาอ่อนๆ พร้อมที่จะขยายออกเป็นความอยากได้สุขเวทนาต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

8. ตัณหา เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน

เมื่อความอยากนั้นแรงขึ้น ก็กลายเป็นยึดติด เหมือนจับถือค้างอยู่

ในใจ วางไม่ลง เกิดมีท่าทีขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งนั้น

ถ้าชอบ ก็เอาตัวตนเข้าไปผูกติดเหมือนดังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ

มัน ใจคล้อยตามมันไป อะไรเกี่ยวกับมันเป็นเห็นดีเห็นงามไป

หมด อะไรกระทบมันเป็นกระทบถึงเราด้วย

ถ้าชัง ก็เกิดความรู้สึกปะทะกระทบเหมือนดังเป็นตัวปรปักษ์คู่กรณี

กับตน อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น บุคคลนั้น หรือ ภาวะนั้น ให้รู้สึก

กระทบกระแทกขัดผลักผละอยู่เรื่อย ไม่เห็นดีไม่เห็นงาม

มันขยับเขยื้อนทำอะไร เป็นดังกระทำต่อเราไปหมด พร้อมกัน

นี้ ท่าทีไม่ว่าในทางชอบหรือในทางชังก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องเสริม

ย้ำและเป็นไปด้วยกันกับความยึดติดถือมั่นเชิดชูคุณค่าความสำคัญ

ของสิ่งต่อไปนี้ คือ สิ่งปรนเปรออำนวยความสุขที่จะถูกได้ หรือ ถูก

ขัด ถูกแย่ง (กาม)

ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน

เกี่ยวกับโลกและชีวิต (ทิฏฐิ)

ระบบแบบแผน ข้อปฏิบัติ พิธีกรรม วิธีการต่างๆ ที่จะให้บรรลุ

ผลสำเร็จทั้งในทางที่จะได้และที่จะเลี่ยงพ้น (ศีลวัตร)

และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่จะได้ หรือ ที่ถูกปะทะขัดขวาง

(อัตตวาท)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง