Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


"หากว่า ภิกษุอาศัยจิตต์ จึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว

นี้เรียกว่า จิตตะสมาธิ...

จิตตะนี้ด้วย

จิตตสมาธินี้ด้วย

ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย

นี้ เรียกว่าอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ และ ปธานสังขาร"
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 3:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


"หากว่า ภิกษุอาศัยวิมังสา จึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว

นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ...

วิมังสานี้ด้วย

วิมังสาสมาธินี้ด้วย

ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย

นี้ เรียกว่าอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร"




(สํ.ม.19/1150-3/343-6 ในอภิธรรมแสดงคำจำกัดความฉันทสมาธิเป็นต้นแปลกไปเล็กน้อย

เช่นว่า ภิกษุทำฉันทะให้เป็นใหญ่ จึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่า

ฉันทสมาธิ" ดังนี้ เป็นต้น อภิ.วิ.35/505-541/292-306)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 3:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ?

มรรคามีองค์ 8 ประการ อันเป็นอริยะนี้แหละ

กล่าว คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า ปฏิปทาให้ถึงอิทธิบาทภาวนา"


(สํ. ม. 19/1177/355)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 3:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


"ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 อย่างเหล่านี้ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไป เพื่อการไปจากที่มิใช่ฝั่ง (มิใช่จุดหมาย)

สู่ที่อันเป็นฝั่ง (คือ จุดหมาย)"



(สํ. ม. 19/1108/326)

(อิทธิบาท 4 และ มรรคมีองค์ 8 ต่างก็เป็นหมวดธรรมอยู่ในโพธิปักขิยธรรม)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.พ.2008, 7:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความมุ่งหมายของสมาธิ ได้แก่ การรู้เห็นตามเป็นจริง หรือ ยถาภูตญาณทัสสนะ

(องฺ.ทสก.24/1; 2-2)

หรืออาจอ้างพุทธพจน์ว่า “สมาหิโต...ยถาภูตํ ปชานาติ” แปลว่า ผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตาม

เป็นจริง

พูดไขความว่า เพื่อเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ให้ปัญญาเจริญจนบรรลุจุดหมายของมัน

อย่างไรก็ตาม

จะต้องไม่ลืมว่า ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างองค์ธรรม ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิเป็นเข็ม

ชี้ทิศ หรือเป็นไฟส่องทางอำนวยแสงสว่างช่วยให้องค์ธรรมทุกอย่างเดินหน้าไปได้ และแล่นไป

ถูกทาง

ความเจริญของปัญญาจึงสนับสนุนความเจริญของสมาธิด้วย เช่น รู้ชัดเห็นชัด ก็แน่วแน่มั่น

ใจยิ่งมีสมาธิมากกล้าแข็ง

ความเป็นไปขององค์ธรรมใหญ่สองอย่างนี้จึงมีลักษณะของการอาศัยและส่งเสริมกัน

ดังที่มักอ้างพุทธภาษิตว่า “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส” ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไร้ปัญญา

และ “นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน” ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไร้ฌาน

พร้อมทั้งสรุปว่า “ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญญฺจ ส เว นิพฺพานสนฺติเก” ผู้ใดมีทั้งฌาน

และปัญญา ผู้นั้นแลอยู่ใกล้นิพพาน (ขุ.ธ.25/25/65)

(ฌานในที่นี้ หมายถึง อารัมมณูปนิชฌาน-เพ่งอารมณ์ หรือ ลักขณูปนิชฌาน-เพ่งไตรลักษณ์

ก็ได้)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ค.2008, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ผู้เริ่มศึกษาธรรม อาจข้องใจว่า ธรรมะทำไมมีมากมายจัง เกินความจำเป็นหรือไม่

ความสงสัยนี้ขอให้นึกเปรียบเทียบอุปกรณ์เรือน เช่น บ้านหลังหนึ่งจะประกอบด้วยเสาเข็ม

ฐาน เสา คาน ฯลฯ หลังคา ทั้งหมดต่างก็มีความสำคัญด้วยกัน ช่วยค้ำหนุน

กันและกันให้ตั้งอยู่ด้วยดี ฉันใด

ธรรมะก็ฉันนั้น คือ หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ทั้งสิ้น เพราะแสดงถึง หรือสืบเนื่องมาจากหลักสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมาย

เดียวกัน แต่นำมาแสดง ในชื่อต่างๆ กัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง

คนละส่วนละตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว

เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง

ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นเพียงส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน

ครอบคลุมความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดงและความมุ่งหมาย

จำเพาะในการแสดงต่างกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ค.2008, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายขยันเพื่อปวงประชาจริงๆเลยนะครับ
ไม่รู้สึกว่ายาวเกินไปหน่อยหรอครับ
อ่านจนปวดตาจะเข้าใจสักครึ่งไหมครับ
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ค.2008, 7:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามรอย พิมพ์ว่า:
คุณกรัชกายขยันเพื่อปวงประชาจริงๆเลยนะครับ
ไม่รู้สึกว่ายาวเกินไปหน่อยหรอครับ
อ่านจนปวดตาจะเข้าใจสักครึ่งไหมครับ


อายหน้าแดง กระทู้นี้ว่าด้วยเรื่องอิทธิบาท 4 ครับ คุณตามรอย นำมาแค่ 4 เอง
ซอยๆ ให้สั้นแล้วนะครับนี่ ยิ้ม

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องสมาธิหรือเรื่องกรรมฐานโดยตรง ตั้งกระทู้สนทนากันที่นี่ครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php

จะตอบให้ทีละประโยคๆเฉพาะเรื่องครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:40 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 12:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิริยะ จิตตะ วิมังสา สาธุ ได้ความรู้เยอะเลย เจริญในธรรมค่ะ สาธุ พุทโธ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง