Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.พ.2008, 9:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 842 เป็นต้น)

การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท

อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ (อิทธิ ฤทธิ์ หรือ ความสำเร็จ)

หรือ ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ

หรือแปลง่ายๆว่า ทางแห่งความสำเร็จ มี 4 อย่าง คือ

-ฉันทะ ความพอใจ

-วิริยะ ความเพียร

-จิตตะ ความคิดจดจ่อ

-วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง

แปลให้จำง่ายตามลำดับว่า

-มีใจรัก

- พากเพียรทำ

- เอาจิตฝักใฝ่

-ใช้ปัญญาสอบสวน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.พ.2008, 9:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิทธิบาทนั้น


พระพุทธเจ้าตรัสพัวพันไว้กับเรื่องสมาธิ เพราะอิทธิบาท เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ

และนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นจุดหมายของสมาธิ

สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตามอิทธิบาทข้อนั้น

โดยนัยนี้จึงมีสมาธิ 4 ข้อ (สํ.ม.19/1150/343) คือ


1. ฉันทสมาธิ สมาธิที่เกิดจากฉันทะ หรือสมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่

2. วิริยสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิริยะ หรือสมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่

3. จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ หรือสมาธิที่มีจิตตะเป็นใหญ่

4. วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา หรือสมาธิที่มีวิมังสาเป็นใหญ่


สมาธิเหล่านี้ จะเกิดมีควบคู่ไปด้วยกันกับความเพียรพยายาม ที่เรียกว่า ปธานสังขาร

ปธานสังขาร แปลว่า สังขารที่เป็นตัวความเพียร หรือ ความเพียรที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง

แปลง่ายๆว่า ความเพียรที่เป็นแรงสร้างสรรค์ หรือความเพียรสร้างสรรค์

(อิทธิบาท 4 ก็เป็นธรรมหมวดหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 11:09 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.พ.2008, 5:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิเกิดจาก ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

หรือจากความมีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน ได้อย่างไร

มีแนวความเข้าใจ ดังนี้


1. ฉันทะ ความพอใจ

ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น

อยากทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ อยากให้งานนั้นหรือสิ่งนั้นบรรลุถึงจุดหมาย

พูดง่ายๆว่า รักงานและรักจุดหมายของงาน


พูดให้ลึกลงไปในทางธรรมว่า ความรักความใฝ่ใจปรารถนาต่อภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์

ซึ่งเป็นจุดหมายของสิ่งที่กระทำ หรือซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำนั้น

อยากให้สิ่งนั้นๆ เข้าถึง หรือดำรงอยู่ในภาวะที่ดีที่งดงามที่ประณีต ที่สมบูรณ์ที่สุดของมัน

หรืออยากให้ภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ของงานนั้น เกิดมีเป็นจริงขึ้น

อยากทำให้สำเร็จผลตามจุดหมายที่ดีงามนั้น


ความอยากที่เป็น ฉันทะ นี้เป็นคนละอย่างกันกับความอยากได้สิ่งนั้นๆ มาเสพเสวย

หรืออยากเอามาเพื่อตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็น ตัณหา


ความอยากที่เป็นฉันทะนั้น ให้เกิดความสุข ความชื่นชมเมื่อเห็นสิ่งนั้นๆ งานนั้นๆ

บรรลุความสำเร็จ เข้าถึงความสมบูรณ์ อยู่ในภาวะอันดีงามของมัน

หรือพูดแยกออกไปว่า ขณะเมื่อสิ่งนั้นหรืองานนั้นกำลังเดินหน้าไปสู่จุดหมาย ก็เกิดปีติ

เป็นความเอิบอิ่มใจ

ครั้นสิ่งหรืองานที่ทำบรรลุจุดหมาย ก็ได้รับความโสมนัสเป็นความฉ่ำชื่นใจ

ที่พร้อมด้วยความรู้สึกโปร่งโล่ง ผ่องใสเบิกบานแผ่ออกไปเป็นอิสระไร้ขอบเขต




ส่วนความอยากที่เป็นตัณหา ให้เกิดความสุขความชื่นชมเมื่อได้สิ่งนั้นมาให้ตนเสพเสวย

รสอร่อย หรือปรนเปรอความยิ่งใหญ่พองขยายของตัวตน เป็นความฉ่ำชื่นใจที่เศร้าหมอง

หมกหมักตัว กีดกั้นกักตนไว้ในความคับแคบ และมักติดตามมาด้วยความหวงแหนห่วงกังวล

เศร้าเสียดายและหวั่นกลัวหวาดระแวง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 8:49 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 7:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(กรณีตัวอย่างปลูกฉันทะ)

-เมื่อเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่งอยู่ตามลำพัง เด็กนั้นอาจกำลังเขียนภาพอย่างประณีตบรรจง

ด้วยใจรัก ตั้งใจให้ภาพนั้นดีงามสมบูรณ์ที่สุด หรืออาจกำลังเอาของเล่นที่เป็นชิ้นส่วน

มาต่อเข้าเป็นรูปร่างต่างๆ อย่างระมัดระวังให้เรียบร้อยดีที่สุดของรูปร่างที่หมายใจไว้นั้น

เด็กนี้มีความสุขเมื่องานเขียนหรืองานต่อชิ้นส่วนนั้นดำเนินไปด้วยดี มีความสำเร็จทีละน้อยๆ

ไปเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อการเขียนหรือต่อชิ้นส่วนนั้นเสร็จสิ้นบรรลุจุดหมาย เขาจะดีใจมีความสุข

มาก อาจถึงโลดเต้น

เด็กนี้ทำงานั้นด้วยจิตใจแน่วแน่ ตั้งมั่น พุ่งตรงต่อจุดหมาย เขามีความสุขด้วยงานและ

ความสำเร็จของงานนั้นเอง เป็นความสุขที่มิใช่เกิดจากการเสพเสวยรสสิ่งใด ไม่จำเป็นต้อง

อาศัยอามิสตอบแทน และไม่จำเป็นต้องมีใครอื่นมาคอยดูแล คอยชมพะนอตัวตนของเขา

คือไม่ต้องอาศัยรางวัลทั้งที่เป็นกาม และ ที่เป็น ภพ

แต่เมื่อทำสำเร็จแล้ว เขาอาจอยากเรียกให้ใครๆมาดู หรือเอาภาพนั้นไปอวด (เผื่อแผ่)

ให้คนอื่นได้ชื่นชมกับความดีงามความประณีตสมบูรณ์ของภาพหรือรูปที่เขาต่อขึ้นนั้นบ้าง


ในกรณีนี้ ถ้าผู้ใหญ่ที่ดูหรือรับการอวดนั้น จะแสดงความชื่นชมต่อความดีงามสมบูรณ์ของ

ภาพหรือสิ่งนั้นด้วย หรือแสดงความเอาใจใส่ต่อคุณค่าของสิ่งนั้นตามสมควร

หรือเสริมบ้างว่า น่าทำอย่างนี้อีก และหนุนให้ทำดียิ่งขึ้นไป ก็น่าจะเป็นการถูกต้องเพียงพอ

แต่การที่จะมาหรือเอาใจใส่เกินเลยไป จนกลายเป็นการหันจากความดีงาม

ความสำเร็จของงานไปเป็นการพะนอ (ความยึดมันใน) ตัวตนของเด็กในรูปใดรูปหนึ่ง

น่าจะไม่เป็นการถูกต้อง เพราะจะกลายเป็นการแปร ฉันทะ ของเด็กให้กลายเป็น ตัณหา

เปลี่ยนจากกุศลธรรม เป็นอกุศลธรรมไป

อาจเป็นการสร้างนิสัยเสียให้แก่เด็ก คือเมื่อเกิดฉันทะขึ้นเมื่อใด ก็จะเกิดตัณหาตามมาด้วย

ทำให้ฉันทะของเด็กนั้นเป็นปัจจัยของตัณหาสืบต่อไป

การฝึกอบรมเด็กในลักษณะเช่นนี้ คงจะมีอยู่มิใช่น้อย


ถ้าสังคมเป็นเช่นนี้ คนที่จะมีความสุขได้ด้วย ฉันทะ จะมีน้อยลง และคนที่จะมีความสุขได้

ต่อเมื่อมีความสนองตัณหา จะมีจำนวนมากขึ้น และสังคมก็จะเดือดร้อนมากขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 8:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


การที่เด็ก อยากชวนคนอื่นมาชื่นชม สิ่งที่พบเห็นหรืออยากอวดแสดงนั้น

ไม่จำกัดเฉพาะสิ่งที่เป็นความสำเร็จของเด็กเองเท่านั้น แต่จะมีต่อสิ่งทั้งหลายโดยทั่วไป

ทั้งที่เป็นของมนุษย์ปรุงแต่งและที่เป็นธรรมชาติ แม้แต่เม็ดหินกรวดทราย ใบหญ้า

และแมลงเล็กๆ ที่เขามองเห็นความดีงามสมบูรณ์แฝงอยู่

ความรู้สึกเช่นนี้ จะเห็นได้ไม่ยากแม้ในผู้ใหญ่ทั่วไป เมื่อมองเห็นธรรมชาติอันงดงาม

ผลงานที่ประณีตน่าชื่นชม การแสดงออกของคนซึ่งทำได้อย่างยอดเยี่ยมสมบูรณ์เป็นต้น

คนมักจะอยากชวนคนอื่นให้มาดูมาชม มาสร้างความรู้สึกที่เป็นกุศลอย่างที่ตนได้รับด้วย

ในการชวนใครๆนั้น เขามิได้ต้องการจะเสพเสวยอะไร หรือจะเอาอะไรเพื่อตนเลย


คนที่ได้มองเห็นคุณค่าความจริงแท้ของธรรม ก็จะมีความรู้สึกทำนองเดียวกันนี้

อันทำให้ธรรมมีคุณสมบัติเป็น เอหิปัสสิโก คือ ชวนให้เชิญกันมาดู



(ความรู้สึกประมาณนั้น ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานจนสมาธิเกิด นิวรณ์ระงับแล้ว

จิตใจมีสุขสงบเย็น คิดอยากจะชักชวนพ่อแม่ เป็นต้น มาปฏิบัติธรรมบ้าง

เพราะตนเห็นคุณค่าของธรรมที่ประสบในขณะนั้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 8:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ถ้าสามารถปลุกเร้าฉันทะให้เกิดขึ้นอย่างแรงกล้า เกิดความรักในคุณค่าความดีงาม

ความสมบูรณ์ของสิ่งนั้น หรือจุดหมายนั้นอย่างเต็มที่แล้ว

คนก็จะทุ่มเทชีวิตจิตใจอุทิศให้แก่สิ่งนั้น เมื่อรักแท้ก็มอบใจให้ อาจถึงขนาดยอมสละชีวิต

เพื่อสิ่งนั้นได้ เจ้า ขุนนาง เศรษฐี พราหมณ์ คนหนุ่มสาวมากมายในพุทธกาล

ยอมสละวัง ทรัพย์สมบัติ และอามิสมากมายออกบวชได้ ก็เพราะเกิดฉันทะในธรรม

เมื่อได้สดับซาบซึ้งคำสอนของพระพุทธเจ้า


แม้คนทั้งหลายที่ทำงานด้วยใจรัก ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีฉันทะนำแล้ว ก็ต้องการทำสิ่งนั้น

ให้ดีที่สุด ให้สำเร็จผลอย่างดีที่สุดของสิ่งนั้น ของงานนั้น ไม่ห่วงพะวงกับสิ่งล่อเร้า

หรือผลตอบแทนทั้งหลาย จิตใจก็มุ่งแน่วแน่มั่นคงในการดำเนินสู่จุดหมาย เดินเรียบ

สม่ำเสมอ ไม่ซ่าน ไม่ส่าย

ฉันทะสมาธิจึงเกิดขึ้นโดยนัยนี้ และพร้อมนั้นปธานสังขาร คือความเพียรสร้างสรรค์

ก็ย่อมเกิดควบคู่มาด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 1:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. วิริยะ ความเพียร

ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ

ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรค และ ความยากลำบาก

เมื่อคนรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง ถ้าวิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว

แม้ได้ยินว่าจุดหมายนั้นจะลุถึงได้ยากนัก มีอุปสรรคมาก หรืออาจใช้เวลายาวนานเท่านั้นปี

เท่านี้เดือน เขาก็ไม่ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทายที่เขาจะเอาชนะให้ได้ทำให้สำเร็จ

เช่นนักบวชนอกศาสนาหลายท่านในสมัยพุทธกาล เมื่อสดับพุทธธรรมแล้วเลื่อมใส

ขอบรรพชาอุปสมบท


ครั้นได้รับทราบว่า ผู้เคยเป็นนักบวชนอกศาสนาจะต้องประพฤติวัตรทดสอบตนเองก่อน

เรียกว่าปริวาส (ติตถิยปริวาส) เป็นเวลา 4 เดือน ใจก็ไม่ท้อถอย

กลับกล้าเสนอตัวประพฤติทดสอบเพิ่มเป็นเวลา ถึง 4 ปี (ดูเรื่องอเจลกัสสปะ)


ส่วนผู้ขาดความเพียร อยากบรรลุความสำเร็จเหมือนกัน

แต่พอได้ยินว่าต้องใช้เวลานานเป็นปีก็หมดแรง ถอยหลัง

ถ้าอยู่ระหว่างปฏิบัติก็ฟุ้งซ่าน จิตใจวุ่นวาย ปฏิบัติได้ผลยาก



คนที่มีความเพียร เท่ากับมีแรงหนุน เวลาทำงาน หรือ ปฏิบัติธรรมก็ตาม

จิตใจจะแน่วแน่ มั่นคง พุ่งตรงต่อจุดหมาย สมาธิก็เกิดขึ้นได้ เรียกว่าวิริยสมาธิ

พร้อมทั้งปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์เข้าประกอบคู่ไปด้วยกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. จิตตะ ความคิดจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่

ได้แก่ ความมีใจผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน

ถ้าจิตตะเป็นไปอย่างแรงกล้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง

คนผู้นั้นจะไม่สนใจไม่รับรู้เรื่องอื่นๆ ใครพูดอะไรเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจ

แต่ถ้าพูดเรื่องนั้นงานนั้นจะสนใจเป็นพิเศษทันที

บางทีจัดทำเรื่องนั้น งานนั้น ขลุกง่วนอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่เอาใจใส่ร่างกาย

การแต่งเนื้อแต่งตัว อะไรเกิดขึ้นก็ไม่สนใจ

เรื่องอื่นเกิดขึ้นใกล้ๆ บางทีก็ไม่รู้ ทำจนลืมวันลืมคืน ลืมกินลืมนอน


ความมีใจจดจ่อฝักใฝ่เช่นนี้ ย่อมนำในสมาธิเกิดขึ้น จิตจะแน่วแน่ แนบสนิทในกิจที่ทำ

มีกำลังมากเฉพาะสำหรับกิจนั้น เรียกว่าเป็นจิตตสมาธิ

พร้อมนั้นก็เกิดปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ร่วมสนับสนุนไปด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 6:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


4. วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง

ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณาหมั่นใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบ

ข้อที่ยิ่งหย่อน เกินเลยบกพร่อง หรือ ขัดข้องเป็นต้นในกิจที่ทำ รู้จักทดลอง

และค้นหาทางแก้ไขปรับปรุง

ข้อนี้

เป็นการใช้ปัญญาชักนำสมาธิ ซึ่งจะเห็นได้ไม่ยาก คนที่มีวิมังสาชอบคิดค้นหาเหตุผล

ชอบสอบสวนทดลอง เมื่อทำอะไร ก็คิดพิจารณาทดสอบไป

เช่นคิดว่า ผลนี้เกิดจากเหตุอะไร ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

ผลคราวนี้ เกิดจากปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้เท่านี้

ถ้าชักองค์ประกอบนี้ออกเสียจะเป็นอย่างนี้

ถ้าเพิ่มองค์ประกอบนี้เข้าไปแทน จะเกิดผลอย่างนี้

ลองเปลี่ยนองค์ประกอบนั้นแล้ว ไม่เกิดผลอย่างที่คาดหมาย เป็นเพราะอะไร

จะแก้ไขที่จุดไหน ฯลฯ


หรือในการปฏิบัติธรรม

ก็ชอบพิจารณาใคร่ครวญสอบสวนเช่นว่า

ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างไร

มีความมุ่งหมายอย่างไร

ควรใช้ในโอกาสอย่างใด

ควบคู่สัมพันธ์กับข้อธรรมอื่นข้อใด

ปฏิบัติธรรมคราวนี้ไม่ค่อยก้าวหน้า

อินทรีย์ใดอ่อนไป

อินทรีย์ใดเกินไป

คนสมัยปัจจุบันอยู่ในสภาพอย่างนี้ ขาดแคลนธรรมข้อใดมาก จะนำธรรมข้อนี้เข้าไป

ควรใช้วิธีอย่างใด ควรเน้นความหมายด้านไหน เป็นต้น


การคิดหาเหตุผลและสอบสวนทดลองอย่างนี้ ย่อมช่วยรวมจิตให้คอยกำหนด

และติดตามเรื่องที่พิจารณาอย่างติดแจตลอดเวลา

เป็นเหตุให้จิตแน่วแน่แล่นดิ่งไปกับเรื่องที่พิจารณา ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก

และมีกำลัง เรียกว่าวิมังสาสมาธิ

ซึ่งก็จะมีปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ เกิดมาด้วย เช่นเดียวกับสมาธิข้ออื่นๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความจริงอิทธิบาท 4 อย่างนี้ เกื้อหนุนกัน และมักมาด้วยกัน เช่น

เกิดฉันทะ มีใจรัก แล้วก็ทำให้พวกเพียร เมื่อพากเพียร ก็เอาใจจดจ่อใฝ่ใจอยู่เสมอ

และเปิดช่องให้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง

แต่ที่แยกพิจารณาแต่ละข้ออย่างนี้ ก็ด้วยถือเอาภาวะที่เด่นเป็นใหญ่ เป็นตัวนำ

เป็นตัวชักจูงข้ออื่นๆ ในแต่ละกรณี เช่น เมื่อฟังธรรมด้วยกัน

คนหนึ่ง

ชอบศึกษาธรรม ฟังด้วยความรักความพอใจในธรรม อยากรู้อยากเข้าใจธรรม

ให้ยิ่งๆขึ้นไป- (หรือแม้เพียงแต่ชอบใจธรรมที่แสดงในคราวนั้น หรือชอบผู้แสดงคราวนั้น)

จึงฟังด้วยจิตแน่วแน่ ก็มีฉันทะเป็นตัวเด่น ชักนำสมาธิและกุศลธรรมอื่นๆ

อีกคนหนึ่ง

มีนิสัย หรือความรู้สึกเกิดขึ้นในขณะนั้นว่า เมื่อพบอะไรที่พึงทำก็ต้องสู้ต้องเอาชนะ

ต้องเข้าเผชิญและทำให้สำเร็จ จึงฟังด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งท้าทาย

จะต้องพยายามเข้าใจให้ได้ ก็มีวิริยะเป็นธรรมเด่น

อีกคนหนึ่ง

มีนิสัยเอาใจใส่รับผิดชอบ ไม่ว่าอะไรที่ตนเกี่ยวข้องก็จะต้องใส่ใจเอาจิตจดจ่อติดตาม

จึงตั้งใจฟัง เอาจิตติดตามเนื้อความไป ก็มีจิตตะเป็นใหญ่

อีกคนหนึ่ง

คิดจะตรวจสอบว่า ธรรมที่แสดงนั้น จริงหรือไม่ ดีหรือไม่ หรือจะค้นหาเหตุผลในธรรม

ที่ฟัง ฟังไปก็คิดใคร่ครวญพิจารณาสอบสวนไป ใจจึงแน่วแน่อยู่กับธรรมที่ฟัง

ก็มีวิมังสาเป็นใหญ่

ด้วยเหตุนี้

บางแห่ง ท่านจึงเรียกอิทธิบาท 4 นี้ว่า เป็นอธิบดี หรือ อธิปไตย 4

โดยกำหนดเอาภาวะที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ในกรณีนั้นๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 6:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สาระของการสร้างสมาธิตามหลักอิทธิบาท ก็ คือ เอางาน สิ่งที่ทำ

หรือ จุดหมายที่ต้องการเป็นอารมณ์ของจิต แล้วปลุกเร้าระดม ฉันทะ วิริยะ จิตตะ

หรือ วิมังสา เข้าหนุน สมาธิก็เกิดขึ้นและมีกำลังแข็งกล้า ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข

และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยนัยนี้

ในการปฏิบัติธรรมก็ดี

ในการเล่าเรียนศึกษา

หรือประกอบกิจการงานอื่นใดก็ดี

เมื่อต้องการสมาธิ เพื่อให้กิจที่ทำนั้น ดำเนินไปอย่างได้ผลดี

ก็พึงปลุกเร้าและชักจูงอิทธิบาท 4 อย่างนี้ ให้เกิดเป็นองค์ธรรมเด่นนำขึ้นสักข้อหนึ่ง

แล้วสมาธิความสุขสบายใจและการทำงานที่ได้ผล ก็เป็นอันหวังได้เป็นอย่างมากว่า

จะเกิดมีตามมาเอง

พร้อมกันนั้น การฝึกสมาธิหรือการปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่งก็จะเกิดมีขึ้นในห้องเรียน ในบ้าน

ในทุ่งนา ในที่ทำงาน และในสถานที่ทุกๆแห่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่างเช่น

เมื่อจะสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ครูก็ทำตนเป็นกัลยาณมิตร

โดยอาจชี้แจงให้นักเรียนเห็นคุณค่าความดีของวิชานั้นหรือเรื่องราวนั้น

ให้มองเห็นผลตอบแทน หรือความเจริญก้าวหน้าในชีวิตเป็นต้น

(ใช้โลภะเป็นปัจจัยแก่ฉันทะ) ก็ได้

หรือ ถ้าจะให้ดีควรเป็นประโยชน์ของส่วนรวม เช่น ความเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์

(ฉันทะบริสุทธิ์) ก็ได้

จนทำให้นักเรียนเกิดความรักความพอใจอยากเรียน เพราะอยากรู้วิชานั้น

เรียกว่าปลุกฉันทะให้เกิดขึ้น


หรือ อาจพูดปลุกเร้าในแง่ที่เป็นสิ่งท้าทายสติปัญญาความสามารถ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง

คึกคักที่จะเรียน หรือกล่าวถึงตัวอย่างการกระทำสำเร็จของผู้อื่น ให้เกิดกำลังใจสู้ เป็นต้น

เรียกว่าปลุกเร้าวิริยะขึ้นมา


หรือ อาจปลุกเร้าในแง่ของความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ หรือความรับผิดชอบ ให้เห็นความเกี่ยวข้อง

และความสำคัญของเรื่องนั้นต่อชีวิตหรือต่อสังคม เช่น เรื่องเกี่ยวกับภัยอันตรายและความ

ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งแม้นักเรียนจะมิได้ชอบมิได้รักเรื่องนั้น แต่ก็จะเอาใจใส่ตั้งจิตจดจ่อ

เรียนอย่างแน่วแน่ เรียกว่า ทำจิตตะให้เกิดมีขึ้น


หรือ ครูอาจสอนตามแนวของการสำรวจตรวจสอบสืบสวนทดลอง

หรือค้นคว้าหาเหตุผล เช่น ตั้งเป็นปัญหาหรือคำถาม เป็นต้น

ซึ่งทำให้นักเรียนต้องใช้วิมังสา นักเรียนก็จะเรียนอย่างมีสมาธิได้เหมือนกัน

เรียกว่าใช้วิธีวิมังสา


ยิ่งถ้าครูจับลักษณะนิสัยของนักเรียนได้ แล้วปลุกเร้าอิทธิบาท

ข้อที่ตรงกับลักษณะนิสัยอย่างนั้น ก็ยิ่งดี

หรือ อาจปลุกเร้าอิทธิบาทหลายๆ ข้อไปพร้อมกันก็ได้


นอกจากนี้ ผู้เรียนหรือผู้ทำงานที่ฉลาดอาจใช้โยนิโสมนสิการปลุกเร้าอิทธิบาทขึ้น

มาใช้สร้างผลสำเร็จได้ด้วยตนเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โยนิโสมนสิการ

เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ตามความหมายที่กล่าวมานี้

เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา

โยนิโสมนสิการ อยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเอง

เป็นอิสระ

ส่วนในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการ เป็นการฝึกการใช้ความคิด

ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี

คิดอย่างมีระเบียบ

รู้จักคิดวิเคราะห์

ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์เป็นอิสระ

ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 8:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ

โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ, ต้นเค้า, แหล่งเกิด, ปัญญา, อุบาย, วิธี, ทาง

ส่วน มนสิการ แปลว่า การทำในใจ, การคิด, คำนึง, นึกถึง, ใส่ใจ, พิจารณา

เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย


การทำในใจโดยแยบคายนี้ มีความหมายแค่ไหนเพียงใด

คัมภีร์ชั้นอรรถถาและฎีกาได้ไขความไว้ โดยวิธีแสดงไวพจน์ให้เห็นความหมาย

แยกเป็นแง่ๆ ดังต่อไปนี้

1. อุบายมนสิการ

แปลว่า คิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือคิดอย่างมีวิธี หรือคิดถูกวิธี

หมายถึงคิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวกับสัจจะ

ทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย


2. ปะถะมนสิการ

แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือคิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับ จัดลำดับได้หรือมีลำดับ

มีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว

หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล เป็นต้น

ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่ประเดี๋ยววกเวียนติดพันเรื่องนี้ ที่นี้ เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้นที่โน้น

หรือกระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้

ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง


3. การะณะมนสิการ

แปลว่า คิดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดตามเหตุผล

หรือ คิดอย่างมีเหตุผล หมายถึงการคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกัน

แห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผล

ต่อเนื่องมาตามลำดับ


4. อุปปาทะกะมนสิการ

แปลว่า คิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์

เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย

ท่านหมายถึง การคิดพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม เช่น ปลุกเร้าให้เกิดความเพียร

การรู้จักคิดในทางที่ทำให้หายหวาดกลัว ให้หายโกรธ การพิจารณาที่ทำให้มีสติ

หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคงเป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2008, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดที่เรียกว่า

โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ อาจมีลักษณะครบทีเดียวทั้ง 4 ข้อ

หรือเกือบครบทั้งหมดนั้น

หากจะเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนั้นสั้นๆ คงได้ความว่า

คิดถูกวิธี, คิดมีระเบียบ, คิดมีเหตุผล, คิดเร้ากุศล


แต่ถ้าจะสรุปเป็นคำจำกัดความ ก็เห็นจะยากสักหน่อย มักจับเอาไปได้แต่บางแง่บางด้าน

ไม่ครอบคลุมทั้งหมด


แต่ถ้าเข้าใจความหมายดีแล้ว จะถือตามคำแปลสืบๆกันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย

ก็ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 11:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ต่อไปจะยกข้อความจากบาลีมาเป็นเครื่องทบทวนความเข้าใจ

เริ่มตั้งแต่ความหมายของคำว่า อิทธิไป

อิทธิแปลว่า ความสำเร็จ:

“คำว่า อิทธิ หมายความว่า ความสำเร็จ, ความสัมฤทธิ์, การสำเร็จ, การสำเร็จด้วยดี,

การได้, การได้จำเพาะ, การถึง, สมบัติ, การถูกต้อง, การประจักษ์แจ้ง,

การบำเพ็ญให้ถึงพร้อมซึ่งธรรมเหล่านั้น”


(อภิ. วิ.35/508/293)

(อิทธิ ในความหมายนี้ ชาวพุทธไม่ค่อยเข้าใจ แต่จะให้ความสนใจความหมายแผลงๆ

เกี่ยวกับเหาะเหิรเดินอากาศ ซึ่งเป็นอีกความหมายหนึ่ง

ซึ่งจะไม่นำมาลงให้ เพราะเท่าที่คิดๆ กันอยู่นั่นก็เกินพอแล้ว)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 11:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ข้ามมาที่พุทธพจน์นี้เลย)


"ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาทเป็นไฉน ?

มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อการได้อิทธิ เพื่อประสบอิทธิ

มรรคา ปฏิปทานี้ เรียกว่า อิทธิบาท"


"การเจริญอิทธิบาท (อิทธิบาทภาวนา) เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทะสมาธิ และ ปธานสังขาร

ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยะสมาธิ และ ปธานสังขาร

ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตะสมาธิ และ ปธานสังขาร

ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร

นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา


(สํ.ม. 19/1175-6/355)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


"ภิกษุทั้งหลาย หากว่า ภิกษุอาศัยฉันทะ จึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิต

มีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่า ฉันทะสมาธิ

ภิกษุนั้น ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ประคับประคอง

ตั้งจิตไว้เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วร้ายที่ยังไม่เกิดขึ้น...

เพื่อละอกุศลธรรมอันชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว...

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น...

เพื่อความตั้งอยู่ได้ ไม่เลือนหาย เพื่อภิยโยภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

เพื่อบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว

เหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร

ฉันทะนี้ด้วย

ฉันทะสมาธิด้วย

ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย

นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทะสมาธิ (สมาธิที่เกิดจากฉันทะ)

และปธานสังขาร (ความเพียรสร้างสรรค์ )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.พ.2008, 3:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(แต่วิริยะสมาธินี้ไปจะตัดเนื้อความที่ซ้ำกันออก เอาแต่ที่ต่างกัน)


หากว่า ภิกษุอาศัยวิริยะจึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว

นี้เรียกว่า วิริยะสมาธิ...

วิริยะนี้ด้วย

วิริยะสมาธินี้ด้วย

ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย

นี้เรียกว่าอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิริยะสมาธิ และ ปธานสังขาร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง