Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ต้องการ - ไม่ต้องการ : ไชย ณ พล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2008, 10:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ต้องการ : ไม่ต้องการ
ไชย ณ พล

ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความไม่ต้องการ
แท้จริงแล้ว ความต้องการนั้นมีอำนาจบั่นทอนความสุข
และความไม่ต้องการนั้นมีพลังปิดกั้นความสุข
ขณะที่ต้องการหรือไม่ต้องการสิ่งใด
ความสุขจะหลบไปชั่วขณะไม่ปรากฏที่ใจ

หากไม่รีบคลี่คลายสู่ภาวะอันควร ความสุขอาจจะหายไปเลย
ดังนั้น หากมีความต้องการหรือความไม่ต้องการ ต้องรีบบริหารใจโดยด่วน

ความต้องการของมนุษย์มีหลายชั้น คือ

• ความต้องการที่จินตนาการผสมแต่งต่อ
• ความต้องการที่ตลาดโน้มน้าว
• ความต้องการที่สังคมยัดเยียดให้
• ความต้องการที่ตนปรารถนา
• ความต้องการตามธรรมชาติ


ความต้องการเหล่านี้ทุกชั้นสามารถแตกตัวได้ไม่รู้จบ
ความต้องการของมนุษย์และสังคมมนุษย์เพิ่มขึ้นทุกปี
ทุกยุค ไม่เคยลดลง มีแต่เพิ่มขึ้น

ความต้องการจึงมีธรรมชาติขยายพันธุ์ไม่สิ้นสุด
การวิ่งตามความต้องการจึงไม่เคยจบหรือสำเร็จบริบูรณ์
ทั้งนี้ไม่ว่ามนุษย์คนใดในโลก หรือพระเจ้าองค์ใดในสวรรค์

ชีวิตที่โลดแล่นตามความต้องการ
จึงเป็นชีวิตที่ลอยละล่องอยู่บนริ้วคลื่นแห่งปรารถนาที่ไม่มีวันจบสิ้น

การกลั่นกรองความต้องการ

แท้จริงแล้ว ในบรรดาความต้องการทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวันนั้น
มีเพียงไม่กี่ความต้องการที่มีคุณสมบัติควรค่าแก่การพิจารณาปฏิบัติตาม

ความต้องการที่ควรดำเนินตามคือ

• ความต้องการที่ยังคุณค่าให้เกิดแก่ตนเองและคนอื่นจริง
• ความต้องการที่ยังประโยชน์ทั้งปัจจุบันและอนาคต
• ความต้องการที่ไม่นำผลร้ายใดๆ ต่อเนื่องตามมา
แม้นหากมีอยู่ ก็อยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้
• ความต้องการที่มีความเป็นไปได้จริง
• ความต้องการที่เหมาะสมกับกาลเวลาและสถานการณ์
• ความต้องการที่ไม่ทำให้สูญเสียความสุขปัจจุบันและความสุขในอนาคต


ต่อไปนี้เมื่อมีความต้องการใด
จงเอามาตรเหล่านี้ไปกลั่นกรองดูเถิด
จะพบว่าในบรรดาความต้องการทั้งหมดที่ปรากฏต่อชีวิต
และที่สังคมยัดเยียดให้
ให้ถึง ๕ เปอร์เซ็นต์ที่ควรดำเนินตาม

คนที่จะประสบความสำเร็จสุขได้
ต้องไม่วิ่งตามความต้องการสะเปะสะปะ
ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของคนอื่น
แต่ต้องกลั่นกรองเฟ้นหาความต้องการที่ดีจริง
คุ้มค่าจริงอย่างแม่นๆ ไม่กี่อย่าง
แล้วทุ่มเททำจริงๆ จังๆ ก็จะประสบความสำเร็จได้


ส่วนคนที่ปรนเปรอความต้องการอันไม่รู้จบทั้งของตนหรือของคนอื่น
คือข้าทาสผู้วิ่งตามกระแสอารมณ์และปรารถนา
ที่ในที่สุดก็ไม่รู้ว่าพาไปไหนกัน
เพราะมนุษย์เกือบทั้งโลกวิ่งตามความต้องการกัน
อย่างไม่ได้ประเมินผลสุดท้าย ณ ปลายทางเลย

ดังนั้น อยากมีความสุข อย่าวิ่งตามความต้องการอันไม่รู้จบ
ไม่ว่าของตนหรือของคนอื่น
แต่จงกลั่นกรองเลือกเฟ้นให้แม่นๆ
และทำให้เหมาะๆ ก็จักสำเร็จได้จริง


มีต่อ >>>>>
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 25 ม.ค. 2008, 10:40 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2008, 10:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ความไม่ต้องการ

ในขณะที่ความต้องการนำไปสู่ความเพ้อเจ้อและไม่คุ้มค่า
ความไม่ต้องการก็นำไปสู่ความคับแคบและไร้ค่า ได้เช่นกัน
ความไม่ต้องการเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

• ปัญญาเห็นความไม่คุ้มค่า จึงไม่ต้องการ
• ขี้เกียจ จึงไม่ต้องการ
• กลัว จึงไม่ต้องการ
• เคยเสียใจ จึงไม่ต้องการ
• ถูกเสี้ยมสอนผิดๆ หรือได้ข้อมูลผิดๆ จึงไม่ต้องการ
• ถูกตีกรอบปิดกั้นห้ามปรามจึงไม่ต้องการ


จะเห็นได้ว่า เหตุแห่งความไม่ต้องการหลายประการทีเดียว
ที่เป็นกิเลสหรืออวิชชา
มีเพียงความไม่ต้องการจากเหตุแห่งปัญญาประเมินผลแจ้งชัด
ในความคุ้มค่าตลอดสายแล้วเท่านั้นที่ควรนำมาพิจารณา

ดังนั้น เมื่อมีความไม่ต้องการเกิดขึ้น
จงวิเคราะห์เสียก่อนว่าความไม่ต้องการนี้มาจากสาเหตุใด
หากเป็นความไม่ต้องการจากกิเลสหรืออวิชชา
ก็จงขจัดความไม่ต้องการนั้นออกไป

เพราะไม่เช่นนั้น ความไม่ต้องการเหล่านั้นจะบีบชีวิตจิตใจให้คับแคบ
จนอาจต้องขุดรูอยู่อย่างขลาดกลัวในที่สุด
เมื่อชีวิตลอยคออยู่กลางสมุทรแห่งโลก
ที่ปรุงแต่งความต้องการตลอดเวลา
อยู่ๆ จะบอกว่าฉันไม่ต้องการอะไรเลยก็จะจมน้ำตายเสียก่อน
คือถูกความจำเป็นบีบรัดและระบบรอบด้านท่วมทับเอาได้

ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีความต้องการ
ที่จะออกจากระบบทั้งหลายที่เห็นว่าไร้สาระ
ต้องการอย่างกลางก็พึงต้องการสรรหาสาระ
เพื่อพัฒนาชีวิตจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

หากต้องการอย่างมาก
ก็ต้องการบริหารคุณค่าให้เกิดประโยชน์สุขสูงสุดที่เป็นไปได้ตามกำลัง


เพราะต้องการจึงมีการใคร่ครวญหาทาง
เพราะปัญญาใคร่ครวญจึงเกิดความรู้
เพราะความรู้ จึงเกิดการตกลงใจ
เพราะการตัดสินใจ จึงเกิดการกระทำ
เพราะการกระทำ จึงเกิดการพัฒนา
เพราะการพัฒนา จึงเกิดความสำเร็จ
เพราะความสำเร็จ จึงมีสิทธิ์เสวยผลอันคือประโยชน์สุขที่ยิ่ง


ความต้องการที่แม่นยำและชอบธรรม
จึงคือปฐมบทแห่งความสำเร็จทั้งหลายในโลก
ดังนั้น อย่าปิดประตูชีวิตไว้ในกรงแห่งความไม่ต้องการตลอดไป
ชีวิตจะเฉาตาย


สรุป

ด้วยเหตุนี้ อย่าขังตนไว้ในคุกความไม่ต้องการทั้งของตนและของใครๆ
โดยไม่ได้พิจารณา จะติดกับดับวิภวตัณหา
กระนั้นการพลัดเข้าไปสู่กระแสความต้องการไม่รู้จบ
ก็จะหลุดเข้าสู่ทะเลแห่งภวตัณหาอันเสี่ยงภัย เหนื่อยยาก และไม่คุ้มค่า
ลองประเมินเข้าไปในชีวิตจริงดู

การมีในสิ่งที่ไม่ควรมีล้วนนำมาซึ่งความเหนื่อย เดือดร้อน ทุกข์ระทม
และการไม่มีในสิ่งที่ควรมี
ก็นำมาซึ่งความอัตคัด ฝืดเคือง แห้งแล้ง ทุกข์ระทวย

ด้วยเหตุนี้ การทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ จึงเป็นความผิด
และการไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ จึงเป็นความพลาด


หากไม่อยากให้ชีวิตผิดพลาด
ต้องกลั่นกรองความต้องการให้ดี
จนเหลือแต่ความต้องการที่น้อยๆ และแม่นๆ
หาไม่จะเป็นชีวิตดักแด้
เริ่มต้นใหม่ไม่รู้จบกับความต้องการที่ไม่รู้สิ้น

และอย่าเหวี่ยงจนตกขอบไปติดคุกตามความไม่ต้องการ
เพราะจะทำให้ชีวิตดักดาน ไม่พัฒนา


เพราะเมื่อความไม่ต้องการครอบงำแล้ว
อะไรที่ควรคิดก็จะไม่คิด
อะไรที่ควรทำก็จะไม่ทำ
อะไรที่ต้องการเพียรก็จะไม่เพียร
ก็จะสูญพันธุ์ไปแบบไดโนเสาร์อย่างไร้ค่า


ภาวะที่ดีที่สุดคือปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ
ทั้งจากความต้องการและความไม่ต้องการก่อน
เมื่อใจเป็นอิสระแล้ว ปัญญาจะกว้างใหญ่มาก
แล้วใช้ปัญญาไร้ขอบเขตกอปรจิตใจอิสระนั้น
วินิจฉัยโอกาสและข้อจำกัด
รวมทั้งผลต่อเนื่องรอบด้านอย่างตรงไปตรงมา
เมื่อเห็นชัดแจ้งดีแล้ว จึงตัดสินใจอย่างแม่นยำ


จำไว้ว่า คนประสบความสำเร็จ
ไม่ใช่คนทำมากหรือทำน้อย
แต่คือคนที่ทำพอดีๆ อย่างแม่นยำเท่านั้น


สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา : จากหนังสือธรรมลีลา ปีที่ ๖ ฉบับ ๖๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ โดย ไชย ณ พล
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara75.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2008, 4:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุจ้า...คุณกุหลาบสีชา

จำไว้ว่า คนประสบความสำเร็จ
ไม่ใช่คนทำมากหรือทำน้อย
แต่คือคนที่ทำพอดีๆ อย่างแม่นยำเท่านั้น


ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง