Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การทานเนื้อสัตว์เป็นบาปหรือไม่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
muntana
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 ม.ค. 2008
ตอบ: 108
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok , Thailand

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 2:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำตอบมีอยู่แล้วในท้ายบทความนี้
มารู้จักศีลกันดีกว่า


ชีวิต คือ.......
..........ความเป็นอยู่ที่ควรดำเนินตามหลักแห่งจริยธรรมในการประพฤติที่ถูกต้องจึงจะมีความสุขเป็นส่งที่มนุษย์ทกคนปรารถนาอันเป็นผลที่จะพึงได้ แต่จะเกิดผลได้จะต้องมีหลักการที่จะต้องปฏิบัติ
ในทางพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สั่งสอนให้มนุษย์ตั้งอยู่ในคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมแก่การประพฤติปฏิบัติ พระพุทธองค์จึงได้กำหนดวางแบบแผนแห่งการประพฤติปฏิบัติไว้เป็นหลักฐาน แบบแผนที่พระพุทธองค์ได้วางไว้เป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติ คือ หลักของเบญจศีล หรือ ศีล ๕ ประการนั้นเอง
การตั้งใจประพฤติปฏิบัติงดเว้นในศีล ๕ ประการนี้ ชื่อว่า เป็นการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย เบญจศีลนั้นเป็น จริยธรรมในระดับต้น หรือขั้นพื้นฐาน สำหรับให้มนุษย์ประพฤติความดีให้คงที่ ดังนั้นมนุษย์ทั้งหลายผู้ต้องการความสุข จะต้องพยายามปฏิบัติตามหลักแห่งเบญจศีลและหลักของเบญจธรรมซึ่งเป็นหลักธรรมที่เป็นของคู่กัน
การปฏิบัติตามหลักแห่งเบญจศีลนี้ได้เรียกว่า ผู้มีมนุษยธรรม คือเป็นผู้มีธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์


การรักษาศีล



รักษาศีลข้อที่ ๑ คือข้อ ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปังทังสัมมาฐิยามิ

การรักษาศีลข้อนี้คือห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ด้วย การฆ่าสัตว์ทำให้ศีลขาดนั้นมีองค์ประกอบ ๕ อย่าง ดังนี้

๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีความตั้งใจที่จะฆ่า
๔. มีความพยายามที่จะฆ่า
๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

เมื่อครบด้วยองค์ ๕ นี้ศีลจึงขาด แต่ถ้า ๑ - ๔ ศีลยังไม่ขาด แต่มีความเศร้าหมองไม่สมบูรณ์ การฆ่าสัตว์นั้นทำให้ศีลขาดเท่ากัน แต่บาปกรรมนั้นไม่เท่ากัน

สมมุติว่าฆ่าสัตว์ตัวที่มีบุญคุณแก่เรา มีส่วนช่วยเหลือช่วยงานแก่เรา ทำประโยชน์ให้แก่เรา เช่น วัว ควาย ช้าง ม้า เป็นต้น ถ้าฆ่าธรรมดาก็มีบาปมากอยู่แล้ว ถ้าฆ่าด้วยความโกรธก็จะได้รับผลของบาปมากขึ้นเท่าตัว

แต่ถ้าสัตว์ตัวที่ถูกฆ่านั้นเป็นพระโพธิสัตว์ลงมาใช้ชาติ ก็จะได้รับผลของบาปนั้น ๑๐ เท่าทีเดียว เมื่อตายไปก็จะได้ลงไปสู่นรกทันที จะได้รับกรรมถูกไฟนรกแผดเผาให้เกิดความทุกข์ทรมานยาวนานทีเดียว เมื่อพ้นจากนรกแล้วก็จะได้มาเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ให้เขาฆ่ามาเป็นอาหารหลายร้ายชาติ

ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะยังมีวิบากกรรมติดตามมาสนองได้อีก เช่นทำให้อวัยวะไม่สมประกอบ จะทำให้ตาบอด หูหนวก ง่อยเปลี้ยเสียขา แขนหัก ขาขาด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามร่างกาย หาความสุขไม่ได้เลย หรือเป็นโรคนานาชนิด ทำให้ชีวิตทนทุกข์ทรมาน หรือเกิดมาแล้วมีอายุสั้นพลันตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ นี้คือผลกรรมที่ตามสนอง

ถ้าฆ่าสัตว์อื่นที่ไม่มีบุญคุณแก่เรา ถ้าฆ่ามากไปก็ตกนรกได้ เมื่อพ้นจากนรกแล้วจะเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ทำให้ชีวิตหาความสุขไม่ได้ อายุยังไม่ถึงกาลเวลาของอายุขัยก็ตายไปเสีย

ถ้าฆ่าสัตว์เล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดมาในชาติหน้าผลของบาปกรรมนั้นจะทำให้ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณหยาบกร้านมีโรคผิดหนังประจำตัว มีการเจ็บป่วยเมื่อยตัวเป็นประจำ ดังที่ได้อธิบายมานี้เป็นผลบาปกรรมในการฆ่าสัตว์นั่นเอง



การใช้ปัญญาพิจารณาในผลของบาปกรรมที่ผิดศีลข้อ ๑ นี้ ก็เพื่อให้เข้าใจในผลของกรรมที่ตามสนองให้ได้เกิดความกลัวในบาปกรรมนั้น ๆ ให้เกิดความสำนึกในชีวิตเขาและชีวิตเรา ที่มีความรักความหวงแหนในชีวิตเหมือนกับเรา

สัตว์ทุกตัวตลอดเราด้วยก็ไม่อยากตายเพราะถูกฆ่าเหมือนกัน ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะอ้างว่า สัตว์เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ แต่ถ้าจับตัวมนุษย์ที่ชอบพูดอย่างนี้ไปให้เสือกินไปให้จระเข้กินดูซิเขาจะว่าอย่างไร สัตว์ทุกตัวมีความกลัวต่อความตายทั้งนั้น เห็นมนุษย์อยู่ที่ไหนก็ต้องหลบหลีกปลีกตัวเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตของเขา ถึงขนาดนั้นก็พ้นเงื้อมมือมนุษย์ใจบาปนี้ไปไม่ได้ พากันตามไล่ตามฆ่าเอามาเป็นอาหาร ไม่มีความเมตตาสงสารเขาบ้างเลย แต่ละวันมีความสะดุ้งหวาดผวากลัวต่อความตายอยู่ตลอดเวลา ไม่กล้าที่จะออกหากินอะไรได้ตามใจ

ถ้าเราตกอยู่ในสภาพอย่างนี้จะมีความทนทุกข์ทรมานขนาดไหน ถึงอย่างไรก็ขอให้คิดถึงชีวิตเขาชีวิตเราดูบ้าง หัวอกเขาอย่างไรหัวอกเราก็เป็นอย่างนั้น ไม่ควรเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ให้ถือว่าเขาเป็นญาติเป็นเพื่อนที่เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันกับเรา มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตใจสูง แต่ขอให้สูงด้วยความรัก ให้สูงด้วยความสงสารต่อสัตว์ทั้งหลาย จึงจะชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม ให้สัตว์อื่นได้พึ่งบารมีสมกับที่ว่ามนุษย์มีจิตใจสูงนี้ด้วยเถิด

ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณาในลักษณะนี้อยู่บ่อย ๆ ใจเราก็จะค่อยเปลี่ยนแปลงไปในทางดี จะมีความเมตตาต่อสัตว์ มีความสงสารสัตว์มากขึ้น ในที่สุดเราก็จะไม่กล้าฆ่าสัตว์อีกเลย นี่คือมีปัญญาในการรักษาศีล หรือศีลเกิดขึ้นจากปัญญาก็ว่าได้

ถ้ารับศีลมาแล้ว แต่ขาดปัญญาในการรักษา ศีลนั้นจะขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น สุตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ต้องเกิดมาก่อนศีลแน่นอน นี้คือสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาความเห็นชอบในการรักษาศีลนั้นเอง



รักษาศีลข้อ ๒ คือ อะทินนา เวรมณี สิกขาปะทังสัมมาฐิยามิ

ศีลข้อนี้ก็เกิดขึ้นจากปัญญาเช่นกัน จงใช้ปัญญาพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ว่า สิ่งของของคนอื่นเขาได้มาด้วยความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินด้วยแรงงานด้วยหยาดเหงื่อของเขาเอง หวังว่าจะได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้หล่อเลี้ยงชีวิตต่อไป มีความรักทะนุถนอมดูแลเพื่อหวังความสุขในทรัพย์สินเหล่านั้น ถ้าเราไปลักไปปล้นเอาสิ่งของจากเขามาแล้ว เขาก็จะมีความเสียดาย คิดถึงสิ่งของของเขามาแล้ว เขาก็จะมีความเสียดาย คิดถึงสิ่งของของเขามากทีเดียว สมมุติว่ามีคนใดมาลักมาปล้นเอาสิ่งของของเราไป เราก็จะมีความเสียดายและคิดถึงเช่นกัน

ให้คิดถึงหัวอกเขาหัวอกเราดูบ้าง เพราะของทุกอย่างใคร ๆ ก็มีความหวงแหนด้วยกันทั้งนั้น ไม่อยากให้คนใดมาลักเอาทรัพย์สินจากตัวเราไป เมื่อเราคิดได้อย่างนี้เราก็จะไม่กล้าไปลักเอาสิ่งของของผู้ใดทั้งสิ้น ศีลข้อนี้ก็จะอยู่เป็นคู่ของกายของใจเราตลอดไป นี้คือผู้มีปัญญาฉลาดในการรักษาศีล



ต้องใช้ปัญญาอบรมใจตัวเอง และสอนใจตัวเองอยู่เสมอ ให้คิดถึงบาปกรรม ที่จะตามสนองในชาติหน้าว่า จะเกิดในสถานที่ทุกข์จนขาดแคลนมาก ความสะดวกความสบายในทรัพย์ไม่มีเลย ตลอดที่อยู่อาศัยบ้านเรือน ที่จะซุกหัวนอนก็ไม่มี อาหารการกินสิ่งที่ดี ๆ มีโอชารสจะไม่ได้กินเลย มีแต่ไปหาเก็บเอาอาหารในถึงขยะกินไปพอประทังชีวิตเท่านั้น จะหางานหาเงินพอจะเป็นไปได้ก็ไม่ได้ พอจะก็มีไม่มี เหมือนคำว่า นกคาบมา อีกาคาบหนี

ถึงจะมีทรัพย์สินอยู่บ้างแต่ก็จะถูกคนมาลักคนมาปล้นจากตัวเราไป หรือเกิดความฉิบหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ก็ผลของกรรมในการลักเอาสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตน ให้เราพิจารณาในลักษณะนี้อยู่บ่อย ๆ ใจก็จะค่อยเห็นโทษภัยที่จะมาถึงตนทีหลัง ใจก็จะเกิดความละอายและเกิดความกลัวต่อกรรมชั่วมากขึ้น นี้เรียกว่าตนเตือนตนด้วยตนเอง ฉะนั้นผู้รักษาศีลก็ต้องมีปัญญาในการรักษาดังนี้



ศีลข้อ ๓ คือข้อ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทังสัมมาฐิยามิ

ศีลข้อนี้ก็ต้องมีปัญญารักษาเช่นกันใช้ปัญญาพิจารณาว่าเราเป็นมนุษย์ รู้จักความละอายในการกระทำของตนเอง ไม่ควรประพฤติตัวเหมือนสัตว์ดิรัจฉาน เพราะสัตว์ดิรัจฉานไม่มีปัญญาไม่มีความละอายในความประพฤติ เขาจึงทำกันไปแบบภาษาสัตว์ ใครเป็นพ่อใครเป็นแม่ใครเป็นลูกเขาไม่ถือกัน จะล่วงเกินเมียใครลูกใครเขาก็ไม่ละอาย

เขาไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร นี่เราเป็นมนุษย์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มีสติมีปัญญาที่ดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ จึงไม่ควรฝึกตัวเอาแบบอย่างของสัตว์ดิรัจฉาน ความพอดีของมนุษย์คือผัวเดียวเมียเดียวก็พอแล้ว ถ้ามาฝึกตัวเหมือนสัตว์ เกิดชาติหน้าก็จะได้ไปเกิดเป็นสัตว์อีกต่อไป ดังภาษิตว่า มนุสฺสติรจฺฉาโน ถึงร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเหมือนสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อตายไปก็จะได้ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานต่อไป

เมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์วิบากกรรมก็ยังตามมา กรรมจะบันดาลให้ได้แต่คนนอกใจ ถ้ามีสามี สามีก็จะนอกใจ ถ้ามีภรรยา ภรรยาก็จะนอกใจ ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน เผลอเมื่อไร เป็นอันเกิดเรื่องทันที ถ้าเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ จะไม่มีความสุขในครอบครัวนั้นเลย มีแต่ทะเลาะเบาะแว้งตีกันฆ่ากันเดือดร้อนวุ่นวายกันไปหมด

นี้คือบาปกรรมตามสนองผู้ชอบล่วงละเมิดศีลข้อกาเมฯ ฉะนั้นเราเป็นมนุษย์ผู้มีจิตใจสูงมีสติปัญญาที่ดี ก็ให้มีศีลข้อนี้ประดับใจประดับกาย ใช้เป็นอุบายสอนใจอยู่เสมอ ๆ อีกสักวันหนึ่งใจก็จะเกิดความสำนึกตัวมีความละอายในการกระทำในสิ่งที่ผิดจากจารีตประเพณี

นี้คือรักษาศีลด้วยปัญญา ถ้าปัญญาได้อบรมสอนใจตัวเองอยู่บ่อย ๆ อย่างนี้ ผู้นั้นจะไม่ผิดศีลข้อกาเมฯ นี้อย่างแน่นอน



ศีลข้อที่ ๔ คือข้อ มุสาวาทา เวรมณี

ศีลข้อนี้จะขาดไปเพราะคำพูด ฉะนั้นก่อนจะพูดต้องตรึกตรองใคร่ครวญในคำพูดให้ดีเสียก่อนจึงพูดออกไป ว่าการพูดในประโยคนี้จะเกิดความเสียหายกับตัวเองและคนอื่นหรือไม่ ถ้าเราพูดความไม่จริงออกไปจะเกิดความรู้สึกแก่ผู้รับฟังอย่างไร หรือเราได้รับฟังคำพูดไม่จริงจากคนอื่น

ในความรู้สึกของเราก็จะขาดความเชื่อถือจากคนนั้นทันที หรือพูดส่อเสียดเบียดบังเปรียบเปรยในลักษณะเสียดแทงให้คนอื่นไม่สบายใจ การพูดออกไปอย่างนี้จะก่อให้เกิดความแตกแยกกัน สมมุติว่าแต่ก่อนมามีความรักกันมีอะไรก็ช่วยเหลือกัน เหมือนกับว่าฝากเป็นฝากตายกันได้ มีความเคารพเชื่อถือกันมาตลอด ไปไหนไปด้วยกันอยู่ด้วยกัน

ความรักสมัครสมานสามัคคีมีต่อกันอย่างมั่นคง เป็นเพื่อนสนิทมิตรที่รักต่อกันมาแล้วตาม เมื่อได้รับฟังคำพูดที่ไม่จริง หรือเป็นคำพูดส่อเสียดเปรียบเปรยไปในทางทีเสียหาย ความรักกันความไว้ใจกันที่เคยมีมาทั้งหมดนั้นก็พังทลายลงทันที ความสามัคคีที่เคยมีต่อกันมาก็แตกแยกกัน แต่ก่อนเคยแสดงกิริยาในความรักความเคารพต่อกัน และมีความเชื่อถือต่อกันมายาวนานก็ตาม ความรู้สึกทั้งหมดนี้ก็หมดสภาพไป

ถึงจะมีภาระหน้าที่พูดคุยกันก็ไม่สนิทสนมกันเหมือนที่เคยเป็นมา ถึงจะมีกิริยาออกมาในทางที่ดีต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนตัว อกิริยา ที่เจ็บใจฝังลึก ๆ ในความรู้สึกนั้นยังมีอยู่ อีกสักวันหนึ่งก็จะหาช่องทางระบายอารมณ์แห่งความแค้นนี้ออกไปให้ได้ จะเพ่งเล็งหาจุดอ่อนซึ่งกันและกันออกมาตอบโต้กัน ถ้าพูดต่อหน้าไม่ได้ก็ต้องพูดลับหลัง อาศัยคนใดคนหนึ่งเป็นสุขภัณฑ์เป็นผู้รับถ่ายเท ระบายความในในที่ไม่พอใจกับคนคนนั้น ด้วยวิธีใดก็จะระบายออกมาอย่างเต็มที่ นี้เรียกว่าพูดโจมตีกันลับหลัง หรือกล่าวคำนินทาว่าร้ายออกมาให้สนใจ

เมื่อเริ่มต้นเป็นมาอย่างนี้ ต่อไปนี้จะเกิดความอิจฉาตาร้อนต่อกัน หาคำพูดที่จะเอาชนะกันด้วยวิธีต่าง ๆ ในที่สุดก็กลายเป็นพยาบาทอาฆาตจองเวรต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด



ศีลข้อที่ ๕ คือ สุราเมระยะ มัชปมา

ศีลข้อนี้ก็มีความสำคัญอยู่มากทีเดียว จึงได้บัญญัติเอาไว้ เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นทีหลัง เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ยาม้า เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ใจเกิดความลืมตัว กล้าทำกล้าพูดในสิ่งที่ไม่ควรทำควรพูด

ถ้าเมาลงไปเมื่อไรจะไม่คิดถึงในคุณธรรมที่ดีงาม จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดโกหกมดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเหลวไหลไม่มีสาระ หมดความละอาย จะทำจะพูดอะไรไม่มีความสำนึก ไม่มีความรับผิดชอบในการทำการพูดของตนเอง

ตามปกติแล้วมนุษย์เรามีนิสัยบ้าบอคอแตกอยู่ในตัวอยู่แล้ว เมื่อได้เสพสิ่งที่ว่ามาผสมลงไป ใจก็จะเกิดเป็นบ้าเพิ่มขึ้นหลายท่า มีกิริยาทางกาย กิริยาทางวาจา ที่แสดงออกมานั้นไม่น่าดูไม่น่าฟัง ดังเห็นกันอยู่ในที่ทั่วไป ย่อมก่อเหตุก่อภัยขึ้นมานานาประการ เกิดความเสียหายให้แก่ตัวเองและคนอื่นเป็นอย่างมาก

จะเป็นผู้นำในครอบครัวหรือเป็นผู้นำในการบริหารงานต่าง ๆ ไม่ได้เลย พวกขี้เมาทั้งหลายนี้จะพัฒนาในสิ่งใดให้ดีขึ้นไม่ได้เลย มีแต่จะก่อให้เกิดความหายนะล้มเหลวล่มจม เสียหายในทรัพย์สินเงินทอง ไม่รู้จักในการเก็บรักษาและไม่รู้จักหาสมบัติเข้ามาเพิ่มเติม มีแต่จ่ายให้หมดไป ไม่รู้อนาคตของตนเองว่าจะเป็นไปอย่างไร การกระทำของคนประเภทนี้ นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายไม่มีความสรรเสริญอีกต่อไป ในชาติหน้าเขาก็จะได้รับกรรมชั่วอย่างแน่นอน



เมื่อคนประเภทนี้ตายไปย่อมลงสู่อบายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์วิบากกรรมย่อมตามมาให้ผล เช่นเป็นคนที่เสียจริตผิดมนุษย์ธรรมดา ที่เรียกว่าคนไม่เต็มบาทนั่นเอง คนประเภทนี้จะเห็นกันอยู่ทั่วไป คนพวกนี้หารู้ตัวไม่ว่าแต่ก่อนได้ทำกรรมอะไรมา ไม่รู้ตัวเลยเพราะกรรมมาปิดบังเอาไว้ เมื่อใครไม่อยากเป็นคนประเภทนี้ในชาติหน้า ในชาตินี้ก็อย่ากินเหล้าเมายาดังที่ได้อธิบายมาแล้ว หรือเคยกินอยู่แล้วก็ขอให้ลดน้อยลง ๆ จนน้อยที่สุด และจะไม่กินต่อไปจนตลอดวันตาย

ถ้าคิดไว้อย่างนี้ ก็เริ่มจะเป็นคนดีได้บ้าง ถ้าไม่กินจริง ๆ ก็จะเป็นคนดีมีคุณค่าแก่ตัวเอง



ดังที่ได้อธิบายวิธีในการรักษาศีล ๕ มานี้เป็นเพียงหลักการเท่านั้น ส่วนวิธีการและระเบียบในการรักษาศีลนั้นเราจะตั้งขึ้นมาเอง ตามปกติแล้วการจะรักษาศีล ๕ ให้มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์พร้อมกันทั้ง ๕ ข้อนั้นรักษาได้ยากมาก เพราะสติปัญญาศรัทธาความเพียรเรายังไม่พร้อม การรักษาศีลกับการรับศีลนั้นต่างกัน การรับศีลนั้นรับเอาเวลาไหนก็ได้ แต่ถ้ารับไปแล้วไม่รักษาจะหาคุณค่าจากศีลได้อย่างไร จะรับศีลวันหนึ่งหลาย ๆ ครั้งย่อมทำได้แต่ก็เป็นพิธีรับศีลเท่านั้นเอง ส่วนการรักษาศีลนั้นต้องมี สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรให้พร้อม

เริ่มต้นจะรักษาศีลสัก ๑ - ๒ ข้อก็ได้ เพื่อฝึกความพร้อมของตัวเองให้มีความกล้าหาญขึ้น จะรักษาศีลข้อใดข้อหนึ่งก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นจะรักษาเรียงตามตำรา ศีลข้อไหนที่จะรักษาได้ง่ายที่สุดก็ต้องรักษาข้อนั้น จะทิ้งช่วงในการรักษาห่างกันอย่างไร ก็ให้อยู่กับความสามารถของตัวเราเอง ต่อไปจะเพิ่มการรักษาข้อไหน ก็ให้เราเลือกเอง

ใช้เวลาไม่นานนักเราก็จะมีศีล ๕ ได้อย่างสมบูรณ์ การรักษาศีลด้วยวิธีนี้จะไม่มีการเสื่อม และศีลก็ไม่ขาดด้วย เพราะมีสติปัญญาในการรักษา มีศรัทธาความเชื่อมั่นว่า กรรมชั่วย่อมเกิดขึ้นจากผู้ไม่มีศีล ความเพียรพยายามจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ก็เพียรพยายามอยู่เสมอ ดังคำว่าความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น นี้เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับศีล ๕ นั่นเอง



ศีล ๘ มีความแตกต่างกันดังนี้ สำหรับศีลข้อกาเมฯ ในศีล ๕ นั้น ศีล ๘ ให้เปลี่ยนเป็นอพรหมจริยาฯ ศีลข้อนี้ไม่เหมือนศีลข้อกาเมฯ เพราะศีลข้อกาเมฯ ร่วมกันได้เฉพาะคู่สามีภรรยาของตัวเอง ส่วนศีลข้ออพรหมจริยานั้นร่วมไม่ได้เลย ถ้าร่วมศีลก็ต้องขาดไป บางแห่งห้ามผู้หญิงและผู้ชายยื่นสิ่งของให้กัน ถ้ายื่นสิ่งของต่อมือกันถือว่าศีลขาด บางแห่งก็ว่ายื่นสิ่งของต่อมือกันได้ศีลไม่ขาด เพราะไม่ได้ร่วมกัน ศีลข้อนี้ห้ามร่วมกันเท่านั้น ทั้งสองอย่างนี้จะปฏิบัติต่อศีลข้อนี้อย่างไร

ให้พิจารณาด้วยความเหมาะสมก็แล้วกัน ข้อสำคัญอย่าได้เกิดสีลพตปรามาสความลูบคลำความสงสัยในศีลของตน เมื่อความสงสัยเกิดขึ้นเมื่อไร ความเศร้าหมองของใจย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น หรือทำให้ศีลขาดไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง



ศีลข้อที่ ๖ วิกาลโภชนาฯ

ห้ามรับประทานอาหาร หรือสิ่งของที่จะแทนอาหารได้นับแต่ตะวันบ่ายไปแล้ว ขณะนี้ยังมีผู้ไม่เข้าใจในศีลข้อนี้เป็นจำนวนมาก คำว่าอาหารก็คืออาหารที่เรารับประทานกันตามปกตินั้นเอง จะรับประทานได้แต่เช้าถึงเที่ยงเท่านั้น ถ้าตะวันบ่ายแล้วรับประทาน ศีลข้อนี้ขาดไป คำว่าอาหารรวมทั้งอาหารเสริมด้วย เช่น โอวัลติน นมสด นมส้ม นมกล่อง นมกระป๋อง ที่เขาผสมแป้งมันถั่วต่าง ๆ ไว้แล้ว ตลอดทั้งน้ำเต้าหู้ที่ผสมถั่วต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ถ้ารับประทานในตะวันบ่ายเมื่อไร ศีลจะขาดทันที เพราะเป็นอาหารเสริมสำเร็จ จึงไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้



ศีลข้อที่ ๗ นัจจคีตวาฑิตะ - มาลาฯ

ตามปกติแล้วเป็นศีลคนละข้อกัน แต่นักปราชญ์เจ้าทั้งหลายพิจารณาเห็นสมควรเอามารวมกัน วิธีรักษาก็ใกล้เคียงกัน การรักษาศีลข้อนัจจคีตวาฑิตะฯ นั้นห้ามมีการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ให้เกิดความสนุกสนานร่าเริงอันเป็นเหตุเกิดความลืมตัว เช่น ร้อง รำ ทำเพลง ดีด สี ตี เป่า เป็นต้น คำว่า ร้อง คือตะโกนเสียงยาว ๆ ทำเป็นเสียงเล็กเสียงใหญ่ เรียกว่าร้องโห่ คำว่า รำ คือ เต้นรำในท่าต่าง ๆ หรือรำเป็นบทเป็นกลอน เพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเรียกว่าหมอลำ คำว่า ทำเพลง คือร้องเพลงในบทเพลงต่าง ๆ ที่เห็นกันในที่ทั่วไป คำว่า ดีด คือดีดพิณหรือกีตาร์ คำว่า สี คือสีซอ คำว่า ตำ คือ ตำฆ้อง ตีกลอง ตีระนาคฆ้องวง เป็นต้น คำว่า เป่า คือ เป่าขลุ่ย เป่าแคน เป่าปี่ หรือเป่าอะไรก็ตาม ถ้าเพื่อความเพลิดเพลินไม่ได้เลย ข้อห้ามในศีลข้อนี้ คือห้ามทำอะไรเป็นสื่อเพื่อความสนุกรื่นเริงนั่นเอง



บทข้อ มาลาคันธวิเลปนะฯ

การรักษาศีลในบทนี้ คือห้ามแต่งตัวประดับประดา ทัดดอกไม้ ทาหน้า เจิมหน้าในลักษณะต่าง ๆ อันเป็นสิ่งจะก่อให้เกิดความรักสวยรักงาม และหลงตัวเองว่าเราสวยอย่างนี้ เรามีความงามอย่างนั้นไป และจะก่อให้เกิดความหลงรูปกายของตัวเอง และจะทำให้ไปหลงรูปกายของคนอื่นด้วย แต่ถ้าหากมีกิจในสังคม ที่จะต้องไปร่วมกับเขา ก็ให้รู้ว่า ปริสัญญู ในสังคมเขาแต่งตัวอย่างไร เราก็แต่งตัวไปตามนั้น เราไม่ได้ติดใจในการแต่งตัวของเรา แต่เราทำเพื่อสังคมบางครั้งบางคราวเท่านั้น การทำลักษณะอย่างนี้ศีลไม่ขาด



ศีลข้อที่ ๘ อุจจาสยนะฯ

ในศีลข้อนี้ ห้ามนั่งนอนในที่สูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี ศีลข้อนี้เดิมเป็นศีลของสามเณรและสามเณรี เมื่อมาถึงในยุคนี้ไม่มีสามเณรี (หมายถึงผู้หญิงบวชรักษาศีล ๑๐) แต่มีผู้หญิงต้องการจะออกบวช นักปราชญ์เจ้าทั้งหลายเห็นสมควรให้รักษาเพียงศีล ๘ เท่านั้นและสมควรว่าศีลข้ออุจจาสยนะฯ นี้ให้รวมอยู่กับศีล ๘ ด้วย ในคำว่าห้ามนั่งนอนในอาสนะใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลีนั้น มีคำถามว่า ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ก็ตาม แต่ภายในยัดด้วยของอย่างอื่น เช่นใบไม้ เศษผ้า ฟองน้ำ เหล่านี้จะนั่งนอนได้ไหม ข้าพเจ้าก็จะตอบว่าได้ เพราะภายในไม่ได้ยัดนุ่นและสำลี จะยัดด้วยอย่างอื่นไม่เป็นไร ให้ข้อสังเกตว่า ทำไมจึงห้ามอย่างนี้ จะตีความหมายไว้ ๓ ประเด็น ๑. จะทำให้ติดที่นอนมากเกินไปจนลืมตัวลืมเวลาในการภาวนาปฏิบัติ เพราะที่นอนอ่อนนุ่มอบอุ่นในช่วงฤดูหนาวไม่อยากจะลุกขึ้นปฏิบัติภาวนา นี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในศีลข้อนี้ ๒. เป็นเพราะที่นั่งที่นอนดีเกินไป และเป็นสิ่งที่หายากมากในยุคนั้น แต่ถ้ามีแล้วจะทำให้ติดในที่นอนนั้น จะออกไปเที่ยวธุดงค์ภาวนาปฏิบัติในที่ต่าง ๆ ก็จะเกิดความกังวลในใจเรื่องสถานที่หลับนอน กลัวจะนั่งไม่เป็นสุข นอนไม่สบาย จึงได้ห้ามนั่งนอนในอาสนะที่ยัดด้วยนุ่นและสำลี นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการห้ามในศีลข้อนี้ ๓. เมื่อติดใจในการนั่งนอนอย่างนี้ ก็จะเกิดลืมตัวไปได้ ก็จะแสวงหานุ่นและสำลีมาทำเป็นที่นอนเป็นการใหญ่จนเกิดติดใจจนลืมตัว ในช่วงนั้นถ้าหากใจมีความกำเริบในเรื่องราคะตัณหาเกิดขึ้น ก็จะเอาที่นอนเป็นนิมิตหมาย สมมุติไปในเรื่องอารมณ์ที่มีความกำหนัด อยากจะสัมผัสนั่นสัมผัสนี่ไป และสมมุติไปต่าง ๆ นานานอกขอบเขต ในที่สุดก็อยู่ไม่ได้รีบสิกขาลาเพศไปเสีย การเป็นไปในลักษณะนี้ย่อมเป็นไปได้ ถ้าสติปัญญาไม่ดีก็จะเพิ่มปัญหากับสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ฉะนั้นการสัมผัสทางกายในลักษณะนี้ก็มีผลสะท้อนเข้าถึงใจได้ การห้ามในศีลข้อนี้ก็เพื่อตัดกระแสไฟแห่งราคะแต่ต้นมือนี้ก็เป็นไปได้เช่นกัน



ดังได้อธิบายวิธีการรักษาศีลมาในหมวดศีล ๕ และ ศีล ๘ นี้คิดว่านักปฏิบัติทั้งหลายพอจะเข้าใจ ถ้าเป็นศีล ๒๒๗ ของพระก็ต้องศึกษาวินัยให้เข้าใจ คำว่าศึกษาก็หมายถึงสุตมยปัญญา คือปัญญาในขั้นศึกษาตามปริยัตินั่นเอง ถ้าไม่มีปัญญาในการศึกษาจะเข้าใจในอาบัติได้อย่างไร อาบัติหนัก เมื่อต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นพระทันที ไม่มีกฎหมายรองรับสู้คดีเหมือนในยุคนี้ เพราะรู้อยู่แก่ใจตัวเอง อีกอาบัติหนึ่งอยู่ปริวาสกรรมจึงพ้นจากอาบัติได้ อาบัติอีกอย่างหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติ คือประจานตัวเองรับสารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์หรือบุคคล จึงพ้นจากอาบัติได้ ฉะนั้นการรักษาศีลจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ตาม ก็ต้องมีสติปัญญาในการรักษาทั้งนั้น แม้แต่ทรัพย์สมบัติทางโลกก็ต้องมีปัญญาในการแสวงหา และมีปัญญาในการเก็บรักษาด้วย ศีลก็เช่นกัน เมื่อรับจากพระท่านมาแล้วก็ต้องมีปัญญาในการรักษาเช่นกัน



การรักษาศีลนั้นมิใช่ว่าจะรักษาเพียงกายและวาจาเท่านั้น เพราะต้นของศีลจริง ๆ แล้วอยู่ที่ใจ เรียกว่า เจตนา ส่วนรักษากายวาจานั้นเป็นเพียงให้เกิดกิริยาสวยงามให้เหมาะสมกับเพศที่แสดงออกมาภายนอกเท่านั้น ที่จริงแล้วศีลมีต้นเหตุอยู่ที่ใจ จึงเรียกว่า มูลฐานของศีลมี ๓ อย่าง ๑. ใจกับกาย ๒. ใจกับวาจา ๓. ใจ กาย วาจา ฉะนั้นใจจึงเป็น หลักใหญ่ให้ศีลเกิดขึ้น คำว่ารักษาศีลก็คือปัญญาความรอบรู้ในศีลของตนจึงจะรักษาได้ จึงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาความเห็นชอบ ความรอบรู้และฉลาดในการรักษาศีล สัมมาสังกัปโป คือใช้ปัญญาดำริพิจารณาตรึกตรองในศีลข้อนั้น ๆ ว่าจะรักษาอย่างไรศีลจะมีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันโต การงานชอบ สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ คำว่า ชอบคำเดียวนี้ก็มีความหมาย คือต้องมีปัญญาพิจารณาก่อนจึงพูด จึงเป็นวาจาชอบ มีปัญญาพิจารณาก่อนจึงทำงานนั้นจะไม่ผิดพลาด จึงเป็นการงานชอบ สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ คือ มีปัญญารอบรู้ในการเลี้ยงชีวิต จะหาอย่างไรจึงจะได้มาด้วยความชอบธรรมและเลี้ยงชีวิตอย่างชอบธรรม ฉะนั้น ปัญญาในสัมมาทิฏฐิจึงเป็นขั้นเริ่มต้นที่สำคัญ ถ้าเริ่มต้นถูกต้องชอบธรรมอันดับต่อไปก็จะถูกต้องชอบธรรม และจะเป็นแนวทางที่ชอบธรรมจนถึงที่สุด ถ้าเห็นผิดในขั้นเริ่มต้นนี้ ต่อไปก็จะเห็นผิดไปเรื่อย ๆ และเห็นผิดจนถึงที่สุดเช่นกัน ฉะนั้นการเรียนปริยัติ ต้องตีความหมายให้ชัดเจน ให้เข้าใจในเหตุผลและหลักความจริงอย่างแจ่มแจ้ง จึงจะไม่มีปัญหาในการภาวนาปฏิบัติต่อไป.



คัดลอกจากหนังสือสัมมาทิฏฐิ
โดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ


เฉลยคำตอบ
กระเพาของคนไงครับ เพราะมีซากศพนับล้านๆร่างอยู่ในนั้น


"ชีวิตใครใครก็รัก ไม่ว่าคนหรือสัตว์
ทำไม ถึงต้องเบียดเบียนกัน"

เป็นมนุษย์ เป็นได้ด้วยใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง มีดีที่แววขน
เข้าใจต่ำ เป็นได้แต่เพียงคน
ย่อมเสียที ที่ตนได้เกิดมา
(พระพุทธทาส ภิกขุ)


(ที่มา จากหนังสือธรรม และบทความธรรมของวัพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก http://mcu.rip.ac.th/watraj/sil1.in.html
และรวมทั้งขอบคุณพี่ผ่องศรี ประกรแก้ว ที่ส่งบทความดีๆมาฝากครับ)












แก้ที่แต่ละคนด้วยการ ที่เราแต่ละคน ไม่เป็นต้นเหตุของการเบียดเบียน และเหตุของการเบียนใหญ่ที่สุด คือการกิน











 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
muntana
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 ม.ค. 2008
ตอบ: 108
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok , Thailand

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 3:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



milk_r9.jpg


ข่าวด่วน


จาก คณะกรรมการ องค์กรรับผิดชอบ

เรื่องยา และผลิตภัณฑ์ยา แห่ง สหรัฐ อเมริกา

จากผลวิจัยล่าสุด เรื่องอาหารจานเนื้อ และผลิตภัณฑ์อาหาร

จากเนื้อสัตว์ มีส่วนสำคัญ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก

ของโรคมะเร็งเต้านม จากผลวิจัย ตัวอย่าง กว่า 24,697

สตรี ชาวเดนมาร์ค

มีหลักฐานพบว่า ยิ่งมีการบริโภคเนื้อแดง และผลิตภัณฑ์

จากเนื้อสัตว์ จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นต่อการเกิด

โรคมะเร็ง เต้านม และมะเร็งลำไส้


คณะกรรมการประกอบด้วย นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีชื่อเสียงก้องโลกจาก

มหาวิทยาลัยหลากหลายสถาบันชั้นระดับชั้นแนวหน้าของโลก ร่วมกับสถาบัน

วิจัยโรคมะเร็งนานาชาติหลาย ๆ แห่ง




























Meat Consumption Increases Risk of Breast Cancer and Colon cancer
posted 1/08/08

A substudy of the Diet, Cancer and Health study, a prospective cohort study established to evaluate the role of diet and cancer among 24,697 postmenopausal Danish women, was set up to evaluate the relationship between meat consumption and risk of breast cancer and colob cancer . This nested study looked at 378 women who developed breast cancer and matched them to controls who did not develop breast cancer. A higher intake of meat (red meat, poultry, fish, and processed meat) was associated with a significantly higher breast cancer incidence rate. Every 25 gram increase in consumption of total meat, red meat, and processed meat led to a 9, 15, and 23 percent increase in risk of breast cancer, respectively. However, the degree of risk may depend on genetics. Certain genes activate the carcinogens (heterocyclic amines) found in cooked meat. The study showed women with genes that rapidly activate these carcinogens are at particular risk of breast cancer if they eat meat.

Egeberg R, Olsen A, Autrup H, et al. Meat consumption, N-acetyl transferase 1 and 2 polymorphism and risk of breast cancer in Danish postmenopausal women. Eur J Canc Prev. 2008;17:39-47.

Breaking Medical News is a service of the Physicians Committee for Responsible Medicine, 5100 Wisconsin Avenue, Suite 400, Washington, DC 20016, 202-686-2210.

Leadership
PCRM Board of Directors: Neal D. Barnard, M.D., President; Mark Sklar, M.D., Secretary; Russell Bunai, M.D., Director.

PCRM’s advisory board includes 11 health care professionals from a broad range of specialties:

T. Colin Campbell, Ph.D. Cornell University
Caldwell B. Esselstyn, Jr., M.D. The Cleveland Clinic
Suzanne Havala Hobbs, Dr.PH., M.S., R.D. The Vegetarian Resource Group
Henry J. Heimlich, M.D., Sc.D. The Heimlich Institute
Lawrence Kushi, Sc.D. Division of Research, Kaiser Permanente
Virginia Messina, M.P.H., R.D. Nutrition Matters, Inc.
John McDougall, M.D. McDougall Program, St. Helena Hospital
Milton Mills, M.D. Gilead Medical Group
Myriam Parham, R.D., L.D., C.D.E. East Pasco Medical Center
William Roberts, M.D. Baylor Cardiovascular Institute
Andrew Weil, M.D. University of Arizona


--------------------------------------------------------------------------------

The site does not provide medical or legal advice. This Web site is for information purposes only.



Physicians Committee for Responsible Medicine
5100 Wisconsin Ave., N.W., Ste. 400, Washington, DC 20016 Phone: 202-686-2210
Email: pcrm@pcrm.org



ยิ้มแก้มปริ

































 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ช้างชูธง
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2007
ตอบ: 50

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 3:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีคุณ muntana


คนที่ทานเนื้อสัตว์เป็นบาปหรือไม่ คงตัดสินยากอ่ะครับ แต่ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยง

การตั้งหัวข้อแบบนี้ มักจะต้องเจอกับคำถามที่ตอกกลับมามากมาย ซึ่งผมได้รวบรวมไว้บางส่วน

ดังต่อไปนี้ -
/////////

ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ไปเพื่อความอยู่รอด มิใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย ย่อมไม่มีส่วนในบาปกรรมที่ผู้อื่นก่อ

ถึงมนุษย์ทั้งโลก จะไม่กินเนื้อสัตว์ ก็ใช่ว่าการฆ่าจะหมดไป

การทำบุญมิได้ขึ้นอยู่กับการกิน
ถ้าอย่างนั้น วัว ควาย ก็ไปนิพพานกันหมดแล้วสิ


คนกินเจ ก็กินใบไม้แบบเดียวนี้
จะลองไปถามคนกินเจว่า เอ...พืชที่คุณกินไปนี่ปลูกโดยใช้ดินที่มีซากสัตว์ตายมา หรือเปล่านะ

เนื้อมีขายอยู่แล้วในตลาด เราจึงไปซื้อมาทำอาหาร
ถึงวันนี้เราไม่ไปที่เขียงหมู พ่อค้าขายหมูก็ขายให้คนอื่นอยู่ดี เขาก็ขายไปตามปกติ อะไรๆ ก็ไปตามครรลองของมัน

คุณจะนำเนื้อที่ถูกฆ่า เหล่านั้น มาใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ดีกว่าหรือ ?
หรือคุณจะปล่อยให้เนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าจนกินไม่หมดหล่านั้น เน่าทิ้งไปเฉยๆ เหรอ ?
เพราะยังไงๆ 50 คนที่เขาไม่ใช่ชาวพุทธ เขาก็ยังคงฆ่าเหมือนเดิม

เมื่อไม่มีเจตนาที่จะฆ่า===> มันก็ไม่บาปครับ


แน่ใจหรือว่า "หากชาวพุทธไม่กินเนื้อ" แล้วการฆ่าจะหมดไป ถ้าในโลกมีแต่คนดี โดยไม่มีคนชั่ว เป็นไปได้ ก็อาจเป็นได้ที่การฆ่าจะหมดไป ดี - ชั่ว ถูก - ผิด มันเป็นของอยู่คู่โลกอยู่อย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้นเอง

****
และตรงนี้หนักที่สุด ถึงกับ....กันเลย

เคยได้ฟังพระรูปอื่น ไม่รู้ว่าที่วัดอะไร ก็มีญาติโยมถามเรื่องทำไมพระไม่ฉันเจเป็นนิจ
พระรูปนั้นก็บอกกับโยมท่านนั้นไปว่า
"พระผู้ใดเห็นเรื่องการฉันเจเป็นนิจ ผู้นั้นถือว่าเป็นพวกพระเทวทัต"

“การทำบุญมิได้ขึ้นอยู่กับการกิน
ถ้าอย่างนั้น วัว ควาย ก็ไปนิพพานกันหมดแล้วสิ”

****

ทั้งหมดไม่ได้แต่งเองนะครับ เจอจากที่ต่างๆ จึงเอามารวมกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ช้างชูธง
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2007
ตอบ: 50

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องการไม่กินเนื้อ เป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหาญาณ โดยมีเหตุผลที่ลึกซึ้งนัก ก่อนอื่นขอถามทุกท่านว่า

ถ้าท่านมีความเมตตาในสัตว์เลี้ยงตัวใดตัวหนึ่งของท่าน ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว ไก่ ปลา นก เป็ด และอื่นๆ ที่ท่านเลี้ยงไว้เพราะเอ็นดู แล้วอยู่ๆ ก็มีคนนำอาหารจานหนึ่งซึ่งมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน แต่คนที่นำมาบอกว่า ขอเชิญท่านรับประทานอาหารจานนี้ ที่ทำมาจาก เนื้อสัตว์ ตัวนั้น ตัวนี้ ที่ท่านเลี้ยง

เมื่อนั้น ถ้าเป็นท่าน จะสามารถรับประทานอาหารจานนั้นลงหรือไม่
คนทั่วไปมักตอบว่า ทานไม่ลง เพราะเมตตามันลงไปในสัตว์ตัวนั้น แต่ทำไมคนที่ตอบอย่างนี้ก็ยังสามารถรับประทาน เนื้อสัตว์ที่มาจากร้านตลาดได้
คำตอบก็คือ เพราะเมตตาไม่ได้ไปในสัตว์อื่นๆ ที่ตนไม่รู้จัก

แต่ทางมหาญาณ หรือ พระมหาโพธิสัตว์ ผู้มีใจเสมอ มักไม่กินเนื้อสัตว์มาตั้งแต่เกิด มีครูบาทางภาคเหนือ เช่นครูบาศรีวิชัย ครูชัยวงศาพัฒนา ครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น
และทางธิเบต ก็มีอีกมาก เพราะเมื่อจิตเสมอในสัตว์ทั้งหมดทั่วโลกมีเมตตาเท่ากันหมด คนที่ปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ โดยธรรมชาติเขาก็ไม่กินเนื้อแน่นอนครับ ยิ่งบางท่านมีบุญมาก เกิดมาไม่ต้องให้ใครสอนก็เป็นเองไม่กินเองโดยธรรมชาติ

มีคำถามว่า การซื้อของโจรผิดกฏหมายหรือไม่
ผิด

แล้วการกินเนื้อสัตว์ผิดหรือไม่
บางท่านว่า ผิด บางท่านว่า ไม่ผิด

แต่ลองคิดถึงเหตุผลนี้น่ะครับว่า เนื้อสัตว์ที่เราท่านทานนี้ ใครเป็นเจ้าของที่แท่จริง
เจ้าของที่แท่จริงก็คือ ตัวสัตว์นั้นเพราะสังขารของมัน แล้วมันถูกฆ่า ถูกนำมาทาน มันอนุญาตหรือไม่
อันนี้ขอผู้อ่าน โปรดพิจารณาเอง

แต่อย่าลืมน่ะครับ สัตว์โลกมีกิเลส มีความยึดมั่น ขนาดคนที่ตาย แล้วมีผู้มาลักเอาสมบัติที่เป็นของนอกตัวไป ยังกลายเป็นผีอาฆาต จองเวร ตามทวงของคน อันนี้ก็มีให้เห็นกันมาก

แล้วเราทานเนื้อสัตว์โดยไม่รู้ว่าสัตว์ตัวที่เราทานไปนั้น มันยินดีในการถูกฆ่าหรือเปล่า มันยินดีในการถูกกินหรือเป่ล่า แล้วมันจะจองเวรหรือเปล่า อันนี้เราท่านก็ไม่ทราบ แต่ลองตรึกตรองดูน่ะครับ

คนที่ทานมังสวิรัต หรือทานเจ มักมีสุขภาพที่แข็งแรง โรคน้อย กว่าคนทั่วไป แล้วที่สำคัญอาหารก็มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอารมณ์
แม้ร่างทรง(ของจริงน่ะครับเพราะปลอมมีมาก) เทพที่สูงๆ มีเจ้าแม่กวนอิมเป็นต้น ล้วนเป็นร่างที่ถือศีล กินเจ ทั้งนั้น

คนที่เว้นเนื้อสัตว์ จะมีเวรกรรมเรื้องปาณาติบาต เบาบางกว่าคนที่ยังทานเนื้อสัตว์อยู่ (โดยมากน่ะครับ)
การปฏิบัติภาวนาสมาธิจึงไปได้ดี เร็ว สะดวก อันนี้อย่าเพิ่งคัดค้นน่ะครับ ขอท่านผู้ไม่เชื่อลองปฏิบัติดูก่อน
แล้วท่านจะทราบด้วยของท่านเอง

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่มีตำรามาอ้างอิงน่ะครับ
แต่ขอใหทุกท่านโปรดพิจารณาด้วยเหตุและผลก็แล้วกัน
มีเหตุผลใดก็ขอคำชี้แนะด้วยน่ะครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ป.ล.ยุคพระศรีอริยเมตไตรย์ ไม่มีเนื้อทานน่ะครับ ถ้าฝึกไว้ก็ดีจะได้ไม่อยากทานเนื้อจะได้อยู่ได้ ความอยากเป็นทุกข์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dhammavoice
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): Bkk

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การรับประทานอาหารมังสวิรัติ ได้บุญ หรือ ไม่ ?


http://www.wattham.org/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=27
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ช้างชูธง
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2007
ตอบ: 50

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 4:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความรู้สึกจริง ของคนที่ทานมังสวิรัติ

http://www.prajan.com/webboard/view.php?id=10126&PHPSESSID=5e0708b402e407b8b9f4244ea44755eb
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
muntana
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 ม.ค. 2008
ตอบ: 108
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok , Thailand

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 5:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



b-cry.gif


สุดยอดพระมหาเถระ นักเผยแผ่ธรรม

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2550 14:56 น.





“อ้า... ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย บัดนี้ ถึงเวลาแห่งการฟังธรรมปาฐกถาแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งอยู่ในความสงบ แล้วตั้งอกตั้งใจ ฟังด้วยดี เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยสมควรแก่การฟัง”

นี่คือถ้อยคำสำเนียงที่กล่าวเกริ่นนำในการแสดงธรรมปาฐกถาของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมมังคลาจารย์หรือที่รู้จักกันดีในนามของ ‘หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ’ หรือ ‘ภิกขุปัญญานันทะ’ สุดยอดพระมหาเถรนักเผยแผ่ธรรม แห่งวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี อันนำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างยิ่ง

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นพระมหาเถระที่มีศีลและอาจาระงดงาม มีปกติพูดอย่างไรทำอย่างนั้น เป็นผู้เปิดเผยตรงไปตรงมา จึงนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธอย่างแนบแน่นสนิทใจ และท่านได้ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามาตลอดเวลาอันยาวนานจวบบั้นปลายของชีวิต ด้วยอุดมคติที่ว่า ‘งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน’

การแสดงธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนยากที่ใครจะเลียนแบบได้ เพราะท่านมีถ้อยสำเนียงทางใต้ มีความไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ สั้นยาว เป็นจังหวะของการแสดงธรรม การพูดของท่านไม่เร็วไม่ช้าจนเกินไป แต่ว่าลื่นไหลติดต่อกันไปไม่ขาดสาย เหมือนน้ำไหลจากลำธาร มีเนื้อหาสาระน่าฟัง ชวนให้ติดตามฟังอย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย แรงในเรื่องควรแรง แต่นุ่มนวลลุ่มลึกในข้อธรรม ที่จะสะกดผู้ฟังให้คล้อยตาม อย่างน่าอัศจรรย์

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งทางราชการนิมนต์ท่านไปแสดงธรรมโปรดชาวบ้านแหลมตะลุมพุก ที่ถูกมหาวาตภัยคุกคาม และร้ายแรงครั้งแรกของประเทศไทย ผู้คนสูญหายล้มตายกันไปหลายคน ทรัพย์สินเรือนชานสูญหายพังพินาศ ความเศร้าโศกมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทำอย่างไรชาวบ้านจะคลายความเศร้าโศกลงได้ และมองเห็นความจริงของชีวิต นี่คือโจทย์ที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุต้องตอบให้ได้

ครั้นถึงเวลาแสดงธรรม หลวงพ่อได้พูดถึงภัยพิบัติที่ชาวบ้านได้รับ พร้อมทั้งกล่าวพรรณนาถึงความวิบัติที่เกิดขึ้น แสดงความเห็นอกเห็นใจ คนที่เศร้าโศกอยู่แล้ว ก็ยิ่งเศร้าโศกเพิ่มขึ้น ร้องไห้กันระงมไปทั้งศาลา พอท่านเห็นว่าคนโศกเศร้ากันสุดๆแล้ว ท่านก็เทศน์เปลี่ยนอารมณ์ของคนฟังทันที โดยบอกว่า ที่ญาติโยมทั้งหลายประสบภัยพิบัติครั้งนี้ ไม่น่าเสียใจและก็สมควรจะได้รับความพิบัติ คนฟังหยุดร้องไห้ ฉงนใจว่า ตอนแรกท่านก็บอกว่าน่าสงสารญาติ โยม แต่มาตอนนี้ท่านกลับพูดว่า สมควรจะได้รับภัยพิบัติ พอฟังๆไป ท่านถามว่าพวกเราทำประมงมากี่ปีแล้ว ทำกันมานานตั้งแต่ก่อนปู่ย่าตายายหลายชั่วคน จับปลาเอาชีวิตเขาไปขายเลี้ยงชีพไม่รู้เท่าใดเป็นเท่าใด เวลานี้กรรมที่ทำไว้กลับมาสนองคืนบ้าง คนตายไปไม่เท่าใด ถ้าเทียบกับปลาที่ถูกจับไปแต่ละวันแต่ละปี แล้วก็จับกันมาเป็นสิบๆปี เสียหายกันแค่นี้ จะเศร้าโศกไปทำไม ควรจะตั้งตนต่อสู้กับชีวิต ต่อไปอย่าท้อถอย ปรากฏว่าได้ผล ไม่มีใครในศาลาและในลานวัดวันนั้นร้องไห้กันอีก เพราะหลักธรรมของท่านเข้าไปแทนที่ความเศร้าโศกที่มีอยู่ในหัวใจ
นี่คือ การเทศน์หักมุม ผู้เทศน์ต้องมีศักยภาพในตนเองเต็มพิกัด จึงจะทำได้สำเร็จ เพราะการเบนเบี่ยงความรู้สึกของคนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่งที่ตรงข้ามกัน ทำได้ไม่ง่ายเลย แต่ท่านก็ทำได้

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ สอนให้คนรู้จักพึ่งตนเองตามหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มนุษย์ต้องมีศักยภาพในตนเอง ในการดำเนินชีวิตตามวิถีแห่งพุทธ จึงไม่ควรไปกราบไหว้อ้อนวอนขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ เป็นการดูถูกตนเอง ทำให้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ลดน้อยลง เพราะมีแต่ความหลงงมงายไร้สาระ การใช้ไสยศาสตร์มาเป็นสื่อให้คนบริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ท่านตำหนิติเตียนอย่างมาก และคนที่เป็นชาวพุทธไม่ควรกระทำ

เพราะฉะนั้น เมื่อท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างโรงพยาบาลชลประทาน และการก่อสร้างอาคารเรียน และอุโบสถกลางน้ำของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ท่านได้รับบริจาคมากมายมหาศาล โดยไม่ต้องใช้ไสยศาสตร์เครื่องรางของขลังเป็นสื่อชักชวนผู้คนให้มาบริจาคแต่อย่างใด และก็เป็นบทพิสูจน์ว่า พระนักเผยแผ่ธรรมอย่างท่านก็สามารถจะสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ โดยไม่ต้องพึ่งไสยศาสตร์ตามที่นิยมทำกัน

นอกจากนั้นท่านยังไม่นิยมถือฤกษ์ยาม โดยมีอยู่คราวหนึ่ง พระที่วัดของท่านจะลาสิกขา โยมแม่ไปให้พระวัดไหน ไม่ทราบผูกดวงแล้วเอามาให้ท่านดู บอกว่าต้องสึกเวลา ๑๑.๐๐ น. สึกแล้วจะกลับบ้านให้เดินหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลวงพ่อท่านบอกว่าพระที่ดูดวงนั้นโง่ ๑๑.๐๐ น. พระฉันเพลกัน จะไปสึกได้อย่างไร แล้วที่บอกว่า สึกแล้ว เวลาจะกลับบ้านให้เดินหันหน้าไปทิศตะวันออก วัดชลประทานหันหน้าไปตะวันตก ถ้าเดินหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก็ต้องเดินถอยหลัง รถชนตายพอดี ท่านไม่ยอมสึกให้ตามฤกษ์ แต่ให้สึกตอนเช้ามืด สึกแล้วสมาทานศีล ฟังเทศน์อีกกัณฑ์ แค่นั้นเป็นเสร็จพิธี

สุดยอดพระนักเทศน์เช่นนี้ หาได้ยากยิ่งแล้วในสังคมปัจจุบัน

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย. 50 โดย ธมฺมจรถ)












ร้องไห้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 5:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ได้อ่านนะ มันยาว
ดูจากหัวข้อ ขอเล่าอะไรให้ฟังนิสสส หนึ่ง ขำๆ

(จำรายละเอียดไม่ได้) มีคนไปถามหลวงปู่แหวน ว่ากินเนื้อบาป กินผักได้บุญ หลวงปู่ท่านคงพูดขำๆว่า"ฮา ก็บ่ เห็นว่า ควายมันบรรลุอรหันต์จักตัว"

ควายมันก็กินแต่หญ้า ไม่ได้กินเนื้อ มันก็ไม่เห็นว่าจะสำเร็จธรรมอะไร แปลได้ประมาณนี้

ขำๆ นะท่าน อย่าใส่ใจเลย

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ดุสิตธานี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตกใจ
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชัยพร พอกพูล
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2006
ตอบ: 73
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2008, 1:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

ผมเห็นว่าคน(ส่วนท่านที่จิตใจดี จิตในสูงก็มนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องกินทั้งเนื้อและพืชคละเคล้ากันไป หากกินอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว ร่างกายจะเสื่อมโทรมเสียหาย ซึ่งเป็นการทำบาปแก่ตนเองเปล่า ๆ กินให้รู้จักพอดีไม่กินทิ้งกินขว้าง เนื้อสัตว์ที่ตายเพื่อให้เรากินนั้นก็กินให้หมด อย่างเหลือทิ้ง พืชผักที่ตายเพื่อเราก็เช่นกัน ผมเห็นว่าทุกชีวิตมีค่าเท่ากันไม่ว่าพืชหรือคน เป็นสิ่งมีชีวิตทั้งนั้น หากแบ่งแยกว่านี่สัตว์ใหญ่ฆ่าแล้วบาปมากพืชผักกินไปเถอะ ไม่ก่อบาปกรรมใดๆ จ้องจะกินเจกันอย่างเดียว ก็ต้องเที่ยวไปหาวิตามินและสารอาหารอื่นเพิ่ม สิ้นเปลืองกันไปอีก

สำคัญที่ว่าเราต้องอยู่ต่อไปเพื่อสร้างประโยชน์แก่ตนและสังคมเพื่อให้การอยู่ต่อไปของเรานั้นคุ้มค่ากับการแลกมาด้วยชีวิตของสัตว์และพืชเหล่านั้น
 

_________________
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ม.ค. 2008, 1:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....กินเนื้อสัตว์.....ใจกิน หรือ กายกิน.......

....กินเนื้อสัตว์....กายต้องการ หรือ ใจต้องการ.....

...ผลของบาป......ใจรับผล หรือ กายรับผล......
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1เอง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 29 ม.ค. 2008, 10:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 1:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง