Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ข้าพเจ้านั่งสมาธิเพราะอยากได้อภินิหาร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 17 ม.ค. 2008, 2:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เดิมทีข้าพเจ้านั่งสมาธิเป็นประจำ วันละครึ่งชั่วโมงบ้าง สิบยี่สิบนาทีบ้าง พอให้นอนหลับ เพราะภาวะรอบข้างมันเครียด ก็หลับสบายดี สงบดีนะ แต่แหม พอมาอ่านหลายๆ ท่านที่ทำกัมฐานแล้วเห็นนั้น เจอนี้ โอ้โฮ ตื่นเต้นจัง อยากได้บ้าง ก็เร่งศึกษา เขาเพ่ง เราก็เพ่ง เขาอะไรเราก็ทำตาม วุ่นวายไปหมด สมาธิไม่มีเลยละตอนนี้

ผลที่ได้ คือ เครียดกว่าเดิม เพราะทำไม่ได้เหมือนเขา นอนไม่หลับ เพราะมัวคิดแต่อยากมีฤทธิ์

ท่านอื่นเป็นอย่างไรกันบ้าง ได้ หรือ เครียดเหมือนข้าพเจ้า สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nai
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 14 ธ.ค. 2007
ตอบ: 19

ตอบตอบเมื่อ: 17 ม.ค. 2008, 3:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การนั่งสมาธิ ..มิได้ให้เห็น...ถ้าเห็นก็ไม่ให้ยึดติด.....นั่งเพื่อให้จิตสงบ..สว่าง และเกิดปัญญา : สู้ สู้
 

_________________
โทษคนอื่นแก้ไขไม่ได้ โทษตนเองแก้ไขได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 17 ม.ค. 2008, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านเห็นอะไรหรือยัง ท่าน นัย ก็ข้าพเจ้ายังไม่เห็นนี้สิ ถ้าเห็นสักหน่อยนะ จะไม่ยึดติดเลยละ จะทำให้จิตสงบ สว่าง เกิดปัญญาไปเลย ติดอยู่อย่างเดียว มันไม่เห็นอะไรสักที สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 17 ม.ค. 2008, 10:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สี บุญมา พิมพ์ว่า:
เดิมทีข้าพเจ้านั่งสมาธิเป็นประจำ วันละครึ่งชั่วโมงบ้าง สิบยี่สิบนาทีบ้าง พอให้นอนหลับ เพราะภาวะรอบข้างมันเครียด ก็หลับสบายดี สงบดีนะ แต่แหม พอมาอ่านหลายๆ ท่านที่ทำกัมฐานแล้วเห็นนั้น เจอนี้ โอ้โฮ ตื่นเต้นจัง อยากได้บ้าง ก็เร่งศึกษา เขาเพ่ง เราก็เพ่ง เขาอะไรเราก็ทำตาม วุ่นวายไปหมด สมาธิไม่มีเลยละตอนนี้

ผลที่ได้ คือ เครียดกว่าเดิม เพราะทำไม่ได้เหมือนเขา นอนไม่หลับ เพราะมัวคิดแต่อยากมีฤทธิ์

ท่านอื่นเป็นอย่างไรกันบ้าง ได้ หรือ เครียดเหมือนข้าพเจ้า สาธุ


ก่อนจะฝึกสมาธิ น่าจะได้รู้ความหมายของคำว่าสมาธิ หรือรู้ความหมายของกรรมฐาน หรือส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสมาธิให้ถี่ถ้วนจะได้เกิดความเข้าใจไม่หลงผิด สมัยนี้ความรู้หาง่ายขอรับ ถ้ารู้แล้วว่าการฝึกสมาธิ กรรมฐานหมายถึงอะไร ทำอย่างไร คุณก็ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องบ้า อยากเห็นโน่นเห็นนี่
คนที่เขาบอกว่า นั่งสมาธิ กรรมฐานแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มีสองอย่างครับ
1. โรคจิตประสาท
2. หลอกลวง
จบขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 4:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
คนที่เขาบอกว่า นั่งสมาธิ กรรมฐานแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มีสองอย่างครับ
1. โรคจิตประสาท
2. หลอกลวง
จบขอรับ

Buddha
17 ม.ค.2008, 10:01 pm


ขอเรียนถามนอกประเด็นเพื่อประดับความรู้ก่อนครับ ชื่อ Buddha ผู้ตั้งได้แรงบันดาลใจมา

จากไหนหรอครับ สื่อถึงอะไร

ต่อไปจะได้เรียกได้อย่างสนิทใจ ซึ้ง

แล้วที่ว่า => คนที่เขาบอกว่า นั่งสมาธิ กรรมฐานแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มีสองอย่างครับ

1. โรคจิตประสาท

2. หลอกลวง


กรัชกายจึงมีคำถามว่า แล้วคนที่เห็นร่างกายของตนโปร่งแสงประเทืองเรืองรอง ฯลฯ

จัดเข้าข้อไหน ใน สองข้อนั้นครับ

หรือไม่เข้าข้อใดเลย หรือ เข้าทั้งสองข้อ ครับ


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ดุสิตธานี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 8:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขำ พระพุทธเจ้าท่านให้แนวทางไว้หลายทาง
ลองเลือกหาวิธีทำให้ตรงกับตัวเองจะดีที่สุด
จริตคนเราหลากหลาย..............................

แต่ไม่ว่าทางใดก็ตาม หากไม่ใช่วิธีที่เป็นธรรมชาติของเราเอง
ก็กลายเป็นว่าเราเข้าไปฝืนบังคับร่างกาย
.........ธรรมะคือธรรมชาติ........................
หากพอรู้จักธรรมะได้สมควร เห็นอะไรก็เป็นได้หมด
นำมาพิจารณาให้ดีได้

นั่งสมาธิมาไม่เคยเห็นอะไร อยากเห็นเหมือนกัน เกิดตัณหาขึ้นมา
ก็คล้ายๆจะเห็นเหมือนกันมันมีอาการแปลกๆตรงเบ้าตาคืออะไรไม่ทราบ
มีแสงสีนิดหน่อย พอนั่งดูมันเฉยๆ ก็หายไป
หายก็หายไปไม่อยากตามมัน อะไรจะมา-จะไปก็ช่างเขาจะเป็น

ดูลมหายใจนิ่งๆ ปล่อยลมเข้า-ลมออก
หรือจะเอาคำใดสักคำยกมาบริกรรมก็ดี "พุทโธ"
ไม่มีอะไรมาใช้เลย จิตมันวิ่งวุ่น
ขนาดมีมาใช้มันจะดิ้นไปจนได้ อิอิ................

ธรรมสวัสดี เจริญในธรรม ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nop 9
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 11 ม.ค. 2008
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหมือนกันเลยแรก ๆ ก็เป็นอย่างนั้นแต่พอศึกษาธรรมมาก ๆ แล้ว นั่งให้นอนหลับ สบายใจก็พอนะและชีวิตประจำวันมีสติมากขึ้น เลิก ลดละ โทสะ โมหะ โลภะ ได้มากขึ้นอย่างนี้ถูกทางและ ดีมี๊ยหน้อ ผู้รู้ช่วยให้ความเห็นด้วยค่ะ ขออนุโมทนามาล่วงหน้า อายหน้าแดง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 5:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คุณ nop 9

กรัชกายช่วยให้ความเห็น ตามพุทธพจน์ 4 ข้อ ดังนี้ ก่อนครับ


“ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ

1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร

(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)

2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ

3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ

4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

วัตถุประสงค์ในการเจริญสมาธิมีอย่างนั้น

ส่วนเรื่องอยากได้อยากมีอภินิหาริย์ หรืออยากร้อยแปด รอคำตอบที่ชัดเจนจากห้องถัดขึ้นไป

ก่อนครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 6:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ข้าพเจ้ากระทู้นี้ขึ้นมา ไม่ได้แปลว่าข้าพเจ้าไม่ได้อ่านตำรามานะ อ่านมาหมด(มั่ง) จะลอกมาให้ดูก็ยังได้นะ มีตั้งหลายตำรา แต่ที่ข้าพเจ้าตั้งกระทู้เพียงต้องการท่านที่ปฏิบัติจริงๆมาแนะนำนะจ๊ะ ไม่ต้องลอกจากตำรามาโพสหรอก ข้าพเจ้าก็อ่านมาพอสมควรแล้ว สาธุ

แต่ก็ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น ร่วมแซร์ประสบการณ์กันนะ ทั้งที่อ้างตำรา และผู้ที่มีประสบการณ์จริง สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 6:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอดูตัวอย่างซักตำราสิครับ คุณ สี บุญมา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 18 ม.ค. 2008, 10:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:

อ้างอิงจาก:
คนที่เขาบอกว่า นั่งสมาธิ กรรมฐานแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มีสองอย่างครับ
1. โรคจิตประสาท
2. หลอกลวง
จบขอรับ

Buddha
17 ม.ค.2008, 10:01 pm


ขอเรียนถามนอกประเด็นเพื่อประดับความรู้ก่อนครับ ชื่อ Buddha ผู้ตั้งได้แรงบันดาลใจมา

จากไหนหรอครับ สื่อถึงอะไร

ต่อไปจะได้เรียกได้อย่างสนิทใจ ซึ้ง

แล้วที่ว่า => คนที่เขาบอกว่า นั่งสมาธิ กรรมฐานแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มีสองอย่างครับ

1. โรคจิตประสาท

2. หลอกลวง


กรัชกายจึงมีคำถามว่า แล้วคนที่เห็นร่างกายของตนโปร่งแสงประเทืองเรืองรอง ฯลฯ

จัดเข้าข้อไหน ใน สองข้อนั้นครับ

หรือไม่เข้าข้อใดเลย หรือ เข้าทั้งสองข้อ ครับ




ตอบ.. ชื่อก็คือชื่อ จะสื่อถึงอะไรหรือไม่สื่อถึงสิ่งใด ก็แล้วแต่ความคิดของคน และไม่มีแรงบันดาลใจอะไรทั้งสิ้น อยากใช้ชื่อไหนก็ใช้ ไม่ใช่เรื่องแปลกดอกนะคุณ


ถาม...แล้วที่ว่า => คนที่เขาบอกว่า นั่งสมาธิ กรรมฐานแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มีสองอย่างครับ

1. โรคจิตประสาท

2. หลอกลวง


กรัชกายจึงมีคำถามว่า แล้วคนที่เห็นร่างกายของตนโปร่งแสงประเทืองเรืองรอง ฯลฯ

จัดเข้าข้อไหน ใน สองข้อนั้นครับ

หรือไม่เข้าข้อใดเลย หรือ เข้าทั้งสองข้อ ครับ

ตอบ... โรคจิตประสาท ขั้นเริ่มแรก คือประสาทหลอน คุณเห็นความคิดของคุณ ร่างกายของคุณจะโปร่งแสงประเทืองเรืองรองได้อย่างไร มันเป็นเพียงแค่นั่งสมาธิ ไปพิจารณาให้ดี อย่าหลงผิดคิดว่า นั่งสมาธิแล้วเห็นร่างกายโปร่งแสงประเทืองเรืองรอง จะแถมว่า หลอกลวงอีกคำหนึ่งก็ได้ เพราะไม่มีจริง แล้วมากล่าว ใครเห็นกับคุณ คุณก็เห็นของคุณคนเดียว มันเป็นความคิด หรือความต้องการของคุณ แปลงเป็นภาพให้คุณเห็น อันตรายนะคุณ บ้าไม่รู้ตัวนะคุณ

และ คุณไปศึกษา ในเรื่องของสมาธิ และกรรมฐานให้ดี บิดเบือนกันมานักต่อนัก สอนกันมั่ว แบบอวดรู้ อวดเก่ง แต่ไม่เอาอ่าวสักราย คือ รู้ไม่จริงสักรายนะคุณ นี้ไม่ใช่กล่าวดูหมิ่นเขาเหล่านั้นนะขอรับ เรื่องจริง นะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลุงดำ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 12:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอ้อ...เอ้อ...ขำ...ขำ...
ในนี้ มีอยู่คนหนึ่ง จำความหลัง ของตนเอง ไม่ได้
ว่า เคยเขียนอะไร ไว้
เอ้อ......เอ้อ......ช่างมันเถอะ
ขำขำ เอ้อ
ก็ดี ก็ดี สติอยู่กับปัจจุบัน สติเขาอยู่กับปัจจุบัน
ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
สาธุ สาธุ
 

_________________
ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 4:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
ตอบ.. ชื่อก็คือชื่อ จะสื่อถึงอะไรหรือไม่สื่อถึงสิ่งใด ก็แล้วแต่ความคิดของคน และไม่มีแรงบันดาลใจอะไรทั้งสิ้น อยากใช้ชื่อไหนก็ใช้ ไม่ใช่เรื่องแปลกดอกนะคุณ

Buddha
18 ม.ค.2008, 10:07 pm



ครับๆ เรื่องชื่อ แล้วแต่ความคิดของคน โอ ครับท่าน

เมื่อเป็นดังนั้น

ต่อไปกรัชกายเห็นชื่อนี้ ณ ที่แห่งนี้อีก จะไม่เรียก (Buddha)

หากสนทนาด้วย ขออนุญาตเรียก “ลุงใหญ่” หรือ “ลุงเทวดา” แทนนะครับ โอ เค นะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 5:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:

ตอบ... โรคจิตประสาท ขั้นเริ่มแรก
คือประสาทหลอน
คุณเห็นความคิดของคุณ ร่างกายของคุณจะโปร่งแสงประเทืองเรืองรองได้อย่างไร
มันเป็นเพียงแค่นั่งสมาธิ ไปพิจารณาให้ดี
อย่าหลงผิดคิดว่า นั่งสมาธิแล้วเห็นร่างกายโปร่งแสงประเทืองเรืองรอง จะแถมว่า หลอกลวงอีกคำหนึ่งก็ได้ เพราะไม่มีจริง แล้วมากล่าว
ใคร เห็นกับคุณ คุณก็เห็นของคุณคนเดียว
มันเป็นความคิด หรือความต้องการของคุณ แปลงเป็นภาพให้คุณเห็น

อันตรายนะคุณ บ้าไม่รู้ตัวนะคุณ

Buddha
18 ม.ค.2008, 10:07 pm



อ่านแล้ว... ตกใจ

ขี้เกียจตามหลักฐานมายันว่าใครคนหนึ่งพูดเรื่องนี้เกี่ยวกับตนเองไว้

ไม่มีประโยชน์แล้วแบบนี้

แต่ก็ขออนุโมทนา ใครคนหนึ่งอุตส่าห์ช่วยจำความหลังไว้ให้ สาธุ สาธุ

สรุป สั้นๆ ประเด็นนั่งสมาธิเห็นกายตนเปล่งรัศมีโปร่งแสงประเทืองเรืองรองผ่องอำไพ

ว่า “บ้าไม่รู้ตัวนะคุณ” “อันตรายนะคุณ”

ตัวจริงชัดเจนครับ ลุงใหญ่

ส่วนประเด็นที่ว่า

คุณไปศึกษา ในเรื่องของสมาธิ และกรรมฐานให้ดี บิดเบือนกันมานักต่อนัก สอนกันมั่ว

แบบอวดรู้ อวดเก่ง แต่ไม่เอาอ่าวสักราย คือ รู้ไม่จริงสักรายนะคุณ


นี้ จะกล่าวในโอกาสต่อไปครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 11:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องของสมาธิ สมาบัติ กัมมัตฐาน(ฝากให้ กัส ชะ กาย 1)

คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ
เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

ขณิกสมาธิ

ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

ฌาน

ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

อุปจารสมาธิ

อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
ดังต่อไปนี้
๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
อย่างนี้เรียกว่าวิตก
๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
เรียกว่า วิจาร
๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
โดยย่อมีดังนี้
๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
ประณีต
๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
แทรกแซง
องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน


นิวรณ์ ๕

อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
เพียงใด
อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
จนเสียผลฌาน


ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

อารมณ์ทุติยฌานมี ๓
๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ
เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์
วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้ เคยฟังท่านสอน
เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร

ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ

ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา
มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒
ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา

อานิสงส์ทุติยฌาน

ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
ให้ผลดังนี้
ก. ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔
ข. ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๕
ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๖
ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง


ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
ที่เนื่องด้วยกาย
๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
อาการของฌานที่ ๓ นี้ เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว


เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓

อานิสงส์ฌานที่ ๓

ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
๑. ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
๒. ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
ฌาน ๓ ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่

อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง

ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
๒. อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย

อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
ได้โดยตรง

เสี้ยนหนามของฌาน ๔

เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
ลมหายใจเลยเป็นอันขาด

อานิสงส์ของฌาน ๔

๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
๓. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑

รูปสมาบัติหรือรูปฌาน

ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
ต่อไป


อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
อะไรเลยเป็นสำคัญ
ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก

สมาบัติ ๘
ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

ผลสมาบัติ

คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
ท่านเรียกว่าเข้าฌาน เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

นิโรธสมาบัติ

นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

เข้าผลสมาบัติ

ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
สมาบัตินั้น เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 11:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือ ท่านจะเพ่งกสินก็ได้(ฝากให้ กรัซกาย 2)

ปฐวีกสิณ

กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า
"ดิน" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ความว่า "เพ่งดิน"

อุปกรณ์กสิณ

ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาด
จากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปยกมาได้ ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น
ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดิน
สีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหาได้จาก
ดินขุยปู เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตาม
ขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน

ขนาดดวงกสิณ

วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔
นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว
ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้
ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้
มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

กิจก่อนการเพ่งกสิณ

เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาด แล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่ง
สำหรับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการ ตามนัยที่กล่าวในอสุภกรรมฐาน ต้องการ
ทราบละเอียดโปรดเปิดไปที่ บทว่าด้วยอสุภกรรมฐาน จะทราบละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของ
กามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้วให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณจดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ก็หลับตาใหม่
กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพเลือนไปก็ลืมตา
ดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพัน
ครั้งเท่าใดไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่
ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจ
ตลอดเวลา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" แปลว่า นิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณ
โทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้ และขอบวงกลมของสะดึง ย่อมปรากฏริ้วรอย
ต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่า
จะได้ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วย
ดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้ง อยู่ในใบบัว ฉะนั้น
รูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่าย ๆ ก็คือ เหมือน
แก้วที่สะอาดนั่นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตาม ความประสงค์
อย่างนี้ท่านเรียกปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับ
นักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์ รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่า สนใจใน
อารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์ สมาธิที่กำลัง
จะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลัน ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษา
ปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น



จิตเข้าสู่ระดับฌาน

เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่างนั้น
มีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกว่าฌาน ๔ บ้าง ฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการ
เข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และ ฌาน ๕ ให้เข้าใจเสียก่อน

ฌาน ๔

ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓ คือ ปีติ สุข
เอกัคคตา
๓. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำรงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา
กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึง ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำหรับในที่บางแห่ง
ท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดของท่านดังต่อไปนี้

ฌาน ๕

๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือ ละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
๕. ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌาน มีองค์สองเหมือนกันคือ ละวิตก วิจาร ปีติ
สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
เมื่อพิจารณาดูแล้ว ฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่
ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือน
ฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์มีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ท่านแยกเรียก
เป็นฌาน ๔ ฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือ
ฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญ
ในกสิณนั้นเอง เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลา
ออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อเข้าเมื่อไร ออกเมื่อไรได้ตามใจนึก การ เข้า
ฌานต้องคล่องไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละก็เข้าได้ทันที ต้องยึด
ฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือเอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจ
กสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงจะชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ควรย้ายไปปฏิบัติ
ในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็ว กลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่
เก่าก็จะหาย ใหม่ก็จะไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิต อธิษฐานแล้ว
เพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกันต่างแต่สีเท่านั้น
จะเสียเวลาฝึกกองต่อๆ ไป ไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็นอย่างสูง จะนิรมิตอธิษฐานได้
สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน
จึงค่อยย้ายกองต่อไป



องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง

ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิต
นั้นเป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงาม คล้าย
แว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ

ปีติ มีประเภท ๕ คือ

๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน
ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่
สูงขึ้นกว่าปกติ

สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่าย
อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต
ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้
มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือ
ปัญจมฌาน
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณ
จะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงาม
วิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็น สมาธิ
มากกว่า
ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ
คือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่
ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมา อารมณ์ของจิตไม่สนใจ
กับอาการทางกายเลย
จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุข
และความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลง
คล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆ ดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่ เสียงลมหายใจ
สงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆ
ไว้ว่า เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี
ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึง
ฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณ ก็เป็น
เสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย



อาโปกสิณ

อาโปกสิณ อาโป แปลว่า น้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณ แปลว่า เพ่งน้ำ
กสิณน้ำ มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอา
น้ำที่ใสแกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่างๆ มา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้
ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิด
อุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิต
ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญ
ต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง

เตโชกสิณ

เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้
จุดไฟให้ลุกโชน แล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้น
ไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกับปฐวีกสิณ
การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็น
อารมณ์ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง ๆๆๆ หลาย ๆ ร้อยหลายพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต
และปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้าย
ผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้
ปฏิภาคนิมิตแล้ว ท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา

วาโยกสิณ

วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการ
เห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้
เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้
การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทนพัดลม หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะ
ลมพัด จะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ ให้ภาวนาว่า
วาโยกสิณัง ๆๆๆ
อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มี
ไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้ว
นั่นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือ
คล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ



นีลกสิณ

นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้ แล้วเอา
สีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ

อุคคหนิมิต

เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณัง ๆๆๆๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง

ปีตกสิณ

ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็น
สีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนา ภาวนาว่า ปีตกสิณังๆๆ

โลหิตกสิณ

โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง ๆๆๆๆ นิมิตที่จัดหา
มาเพ่ง จะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดง ปฏิภาคนิมิต
เหมือนนีลกสิณ

โอทาตกสิณ

โอทาตกสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ๆๆๆๆ สีขาวที่
จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
นิมิตทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง

อาโลกกสิณ

อาโลกกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่อง
หลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ
แล้วภาวนาว่า อาโลกกสิณัง ๆๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ อุคคหนิมิตของอาโลกกสิณ
มีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบเหมือนกับ
เอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั้น แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน
เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไป ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ

อากาสกสิณ

อากาสกสิน แปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณัง ๆๆ ท่าน
ให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมา
ตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อและผืนหนัง โดยกำหนดว่า อากาศ ๆๆ จนเกิดอุคคหนิมิต
ซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้
ขยายตัวออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่นๆ



อานุภาพกสิณ ๑๐

กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ
เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณ
กองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ
ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้

ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียว
ได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่
กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้
เป็นต้น

เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้
เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในทุก
สถานที่ได้

วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้
สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้

นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็น
กรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
กรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง
สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่
ความต้องการได้

วิธีอธิษฐานฤทธิ์

วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔
ก่อน แล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔ อีก
ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา


(จบกสิณ ๑๐ แต่เพียงเท่านี้)



--------------------------------------------------------------------------------


แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ

ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าประสงค์จะให้ได้อภิญญาหก ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง ๑๐ กอง
ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณ หรือ
โอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ แต่ท่านที่มีความประสงค์จะเร่งรัดให้เข้าสู่
พระนิพพานเร็วๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษเพราะเกรงจะล่าช้าหรืออัชฌาสัยไม่ ปรารถนา
รู้อะไรจุกจิก ชอบลัดตัดทางเพื่อถึงจุดหมายปลายทางขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์ ๕ เป็นเรา
เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีในขันธ์ ๕
หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์อันเกิดจาก
โรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยนแปลง เราไม่
ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่สลายตัว แต่นี่หาเป็น
เช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการ และ
พยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความปรารถนา ในที่สุดก็สลายตัว
จนได้ เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา กฎธรรมดาต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใคร
มีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดา ไม่หวั่นไหว
ในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุ
เกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือว่า ธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้
โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลก ก็เป็น
ความสุขที่มีผีสิง คือสุขไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุข
ความทุกข์ก็ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะ
การมีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องมีทุกข์
ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือ
สูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้แต่ตัวเองก็แบกทุกข์
เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้จริงจัง ไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่
ในอำนาจของกฎธรรมดาสิ้น จิตเมื่อเห็นอย่างนี้ ความสงบระงับจากความหวั่นไหวของการ
เปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติ
หรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตายกำลัง คืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับ
ความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎของธรรมดา รู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความ
ทุกข์และความตายอย่างไม่มีอะไรหนักใจ จิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ละสักกายทิฏฐิ
ได้แล้ว ได้คุณสมบัติของพระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง

๒. วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคงว่า
ผลของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง

๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอมให้ศีล
บกพร่อง เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครบอก
และออกใบประกาศโฆษณา
องค์ของพระโสดาบัน

เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็น
คู่มือพิจารณาตัวเอง
๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย แม้แต่จะพูด
เล่นๆ ก็ไม่พูด
๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจาก
พระนิพพาน

พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้ ถ้าท่านได้ ท่านเป็น
พระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนัก แต่ถ้าอารมณ์
อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบันเสียก่อน
สำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควรก้าวต่อไปอย่า
หยุดยั้งเพียงนี้ เพราะ มรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก



(จบกสิณ ๑๐)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 11:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือท่านจะดูของไม่สวยงามก็ได้(ฝากให้ กรัซกาย3)

อสุภกรรมฐาน


อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน
รวมความแล้วได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยสดงดงาม
มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน

กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ มีกำลังสมาธิเพียงปฐมฌานเป็นอย่างสูงสุด ไม่สามารถ
จะทรงฌานให้มีกำลังให้สูงกว่านั้นได้ เพราะเป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์ด้านพิจารณามากกว่า
การเพ่ง ใช้อารมณ์จิตใคร่ครวญพิจารณาอยู่เป็นปกติ จึงทรงสมาธิได้อย่างสูงก็เพียงปฐมฌาน
เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คล้ายคลึงกับวิปัสสนาญาณมาก นักปฏิบัติที่พิจารณาอสุภกรรมฐาน
จนทรงปฐมฌานได้ดีแล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป จะบังเกิดผลรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์
วิปัสสนาญาณได้อย่างไม่ยากนัก สำหรับอสุภกรรมฐานนี้เป็นสมถกรรมฐานที่ให้ผลในทางกำจัด
ราคจริตเหมือนกันทั้ง ๑๐ กอง คือค้นคว้าหาความจริงจากวัตถุที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่นิยมชมชอบ
กันว่าสวยสดงดงามที่บรรดามวลชนทั้งหลายพากันมัวเมา หลงไหลใฝ่ฝันว่าสวยสดงดงามจนเป็นเหตุ
ให้เกิดภยันตรายแก่ตน ลืมชีวิตความเป็นอยู่ของตน มอบหมายความรักความปรารถนาให้แก่วัตถุ
ที่ตนหลงรัก เป็นการประพฤติที่ฝืนต่อกฎของความเป็นจริง เป็นเหตุของความทุกข์ที่ไม่รู้จักจบสิ้น
กรรมฐานนี้จะค้นคว้าหาความจริงจากสรรพวัสดุต่างๆ ที่เห็นว่าสวยสดงดงามเอามาตีแผ่ให้เห็นเหตุ
เห็นผลว่า สิ่งที่สัตว์และคนหลงไหลใฝ่ฝันนั้น ความจริงไม่มีอะไรสวย ไม่มีอะไรงาม เป็นของน่าเกลียด
โสโครกทั้งสิ้น กรรมฐานในหมวดอสุภกรรมฐานมีความหมายในรูปนี้ จึงเป็นกรรมฐานที่ระงับ
ดับอารมณ์ที่ใคร่อยู่ในกามารมณ์เสียได้ ท่านที่เจริญกรรมฐานหมวดอสุภนี้ชำนาญเป็นพื้นฐานแล้ว
ต่อไปเจริญวิปัสสนาญาณ จะเข้าถึงการบรรลุเป็นพระอนาคามีผลไม่ยากนักเพราะพระอนาคามี
ผลเป็นพระอริยบุคคลที่มีความสงบ ระงับดับความรู้สึกในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ท่านที่เจริญกรรมฐาน
หมวดอสุภนี้ ก็เป็นการเริ่มต้นในการเจริญฌานด้านที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกามารมณ์ ฉะนั้น นักปฏิบัติ-
กรรมฐานที่มีความชำนาญในอสุภกรรมฐานจึงเป็นของง่ายในการเจริญวิปัสสนาญาณ เพื่อให้บรรลุุ
เป็น อนาคามีผลและอรหัตตผล

อสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง

อสุภกรรมฐาน ท่านจำแนกไว้เป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ
๑. อุทธุมาตกอสุภ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป
มีร่างกายขึ้นบวม พองไปด้วยลม ที่เรียกกันว่า ผีตายขึ้นอืดนั่นเอง
๒. วินิลกอสุภ เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อ
มาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวที่มีผ้าสีเขียวคลุมไว้ อาศัยที่ร่างกายของผู้ตาย
ส่วนใหญ่ก็ปกคลุมด้วยผ้า ฉะนั้น สีเขียวตามร่างกายของผู้ตายจึงมีสีเขียวมาก ท่านจึงเรียกว่า
วินีลกะ แปลว่าสีเขียว
๓. วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลาง มีกายขาด
ออกจากกัน
๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน
๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจายมีมือ แขน
ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๘. โลหิตกอสุภ คือซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๙. ปุฬุวกอสุภ คือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๑๐. อัฏฐิกอสุภ คือซากศพที่มีแต่กระดูก


อสุภกรรมฐานนี้ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์เจ้า ได้พรรณนาไว้ในวิสุทธิมรรครวมเป็นอสุภที่มี
อาการ ๑๐ อย่างตามที่กล่าวมาแล้ว



การพิจารณาอสุภ

การพิจารณาอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ท่านสอนให้พิจารณาเพื่อถือเอานิมิตโดยอาการ ๖ อย่าง
ดังต่อไปนี้
๑. พิจารณาโดยสี คือให้กำหนดว่า ซากศพนี้เป็นร่างกายของคนดำหรือคนขาวหรือเป็น
ร่างกายของคนที่มีผิวด่างพร้อย คือผิวไม่เกลี้ยงเกลา
๒. พิจารณาโดยเพศ อย่ากำหนดว่า ร่างกายนี้เป็นหญิงหรือชาย พึงพิจารณาว่าซากศพ
นี้เป็นร่างกายของคนที่มีอายุน้อย มีอายุกลางคน หรือเป็นคนแก่
๓. กำหนดพิจารณาโดยสัณฐาน คือกำหนดพิจารณาว่า นี่เป็นคอ เป็นศีรษะ เป็นท้อง
เป็นเอว เป็นขา เป็นเท้า เป็นแขน เป็นมือ ดังนี้เป็นต้น
๔. กำหนดโดยทิศ ทิศนี้ท่านหมายเอาสองทิศ คือ ทิศเบื้องบน ได้แก่ทางด้านศีรษะ
ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ทางด้านปลายเท้าของซากศพ ท่านมิได้หมายถึงทิศเหนือทิศใต้ตามที่นิยมกัน
ท่านให้สังเกตว่า ที่เห็นอยู่นั้นเป็นทางศีรษะ หรือด้านปลายเท้า
๕. กำหนดพิจารณาโดยที่ตั้ง ท่านให้พิจารณากำหนดจดจำว่า ซากศพนี้ศีรษะวางอยู่ที่
ตรงนี้ มือวางอยู่ตรงนี้ เท้าวางอยู่ตรงนี้ ตัวเราเอง เวลาที่พิจารณาอสุภนี้ เรายืนอยู่ตรงนี้
๖. กำหนดพิจารณาโดยกำหนดรู้ หมายถึงการกำหนดรู้ว่า ร่างกายสัตว์และมนุษย์นี้
มีอาการ ๓๒ เป็นที่สุด ไม่มีอะไรสวยสดงดงามจริงตามที่ชาวโลกผู้มัวเมาไปด้วยกิเลสหลงใหล
ใฝ่ฝันอยู่ ความจริงแล้วก็เป็นของน่าเกลียดโสโครก มีกลิ่นเหม็นคุ้งมีสภาพขึ้นอืดพอง มีน้ำเลือด
น้ำหนองเต็มร่างกาย หาอะไรที่จะพอพิสูจน์ได้ว่า น่ารักน่าชมไม่มีเลย สภาพของ ร่างกายที่พอจะ
มองเห็นว่าสวยสดงดงามพอที่จะอวดได้ก็มีนิดเดียว คือ หนังกำพร้าที่ปกปิด อวัยวะภายในทำให้มอง
ไม่เห็นสิ่งโสโครก คือ น้ำเลือด น้ำหนอง ดี เสลด ไขมัน อุจจาระ ปัสสาวะ ที่ปรากฏอยู่ภายในแต่
ทว่าหนังกำพร้านั้นใช่ว่าจะสวยสดงดงามจริงเสมอไปก็หาไม่ ถ้าไม่คอยขัดถูแล้ว ไม่นานเท่าใด
คือไม่เกินสองวันที่ไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกาย หนังที่สดใส ก็กลายเป็นสิ่งโสโครก เหม็นสาบ
เหม็นสาง ตัวเองก็รังเกียจตัวเอง เมื่อมีชีวิตอยู่ก็เอาดีไม่ได้ พอตายแล้วยิ่งโสโครกใหญ่ร่างกาย
ที่เคยผ่องใส ก็กลายเป็นซากศพที่ขึ้นอืดพอง น้ำเหลืองไหลมีกลิ่นเหม็นตลบไปทั่วบริเวณ
คนที่เคยรักกันปานจะกลืน พอสิ้นลมปราณลงไปในทันทีก็พลันเกลียดกัน แม้แต่จะเอามือเข้าไป
แตะต้องก็ไม่ต้องการ บางรายแม้แต่จะมองก็ไม่อยากมอง มีความรังเกียจซากศพ ซ้ำร้ายกว่านั้น
เมื่ออยู่รักและหวงแหน จะไปสังคมสมาคมคบหา สมาคมกับใครอื่นไม่ได้ ทราบเข้าเมื่อไรเป็น
มีเรื่อง แต่พอตายจากกันวันเดียวก็มองเห็นคนที่แสนรักกลายเป็นศัตรูกัน กลัววิญญาณคนตาย
จะมาหลอกมาหลอน เกรงคนที่แสนรักจะมาทำอันตราย ความเลวร้ายของสังขารร่างกายเป็น
อย่างนี้ เมื่อพิจารณากำหนดทราบร่างกายของซากศพทั้งหลายที่พิจารณาเห็นแล้วก็น้อมนึกถึง
สิ่งที่ตนรัก คือคนที่รัก ที่ปรารถนา ที่เราเห็น ว่าเขาสวยเขางาม เอาความจริงจากซากอสุภ
เข้าไปเปรียบเทียบดู พิจารณาว่า คนที่เรารักแสนรัก ที่เห็นว่าเขาสวยสดงดงามนั้นเขากับ
ซากศพนี้มีอะไรแตกต่างกันบ้าง เดิมซากศพนี้ก็มีชีวิตเหมือนเขา พูดได้ เดินได้ ทำงานได้
แสดงความรักได้ เอาอกเอาใจได้ แต่งตัวให้สวยสดงดงามได้ ทำอะไร ๆ ได้ทุกอย่างตามที่
คนรักของเราทำ แต่บัดนี้เขาเป็นอย่างนี้ คนรักของเราก็เป็นอย่างเขา เราจะมานั่งหลอกตนเอง
ว่าเขาสวย เขางาม น่ารัก น่าปรารถนาอยู่เพื่อเหตุใด แม้แต่ตัวเราเอง สิ่งที่เรามัวเมากาย
เมาชีวิต หลงใหลว่า ร่างกายเราสวยสดงามวิไล ไม่ว่าอะไรน่ารักน่าชมไปหมด ผิวที่เต็มไปด้วย
เหงื่อไคล เราก็เอาน้ำมาล้าง เอาสบู่มาฟอก นำแป้งมาทา เอาน้ำหอมมาพรมแล้วก็เอาผ้าที่เต็มไป
ด้วยสีมาหุ้มห่อเอาวัตถุมีสีต่างๆ มาห้อยมาคล้องมองดูคล้ายบ้าหอบฟางแล้วก็ชมตัวเองว่าสวยสด
งดงามลืมคิดถึงสภาพความเป็นจริง ที่เราเองก็หอบเอาความโสโครกเข้าไว้พอแรงเราเองเรารู้ว่า
ในกายเราสะอาดหรือสกปรก ปากเราที่ชมว่าปากสวย ในปากเต็มไปด้วยเสลดน้ำลาย น้ำลายของ
เราเองเมื่ออยู่ในปากอมได้ กลืนได้ แต่พอบ้วนออกมาแล้ว กลับรังเกียจไม่กล้าแม้แต่จะเอามือแตะ
นี่เป็นสิ่งสกปรกที่เรามีหนึ่งอย่างละ

ต่อไปก็อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด น้ำเหลือง ที่หลั่งไหลอยู่ในร่างกาย พอไหลออกมานอก
กายเราก็รังเกียจทั้ง ๆ ที่เป็นตัวของเราเอง นี้ก็เป็นสิ่งโสโครกที่เป็นสมบัติของเราเองอีก
น้ำเลือด น้ำเหลือง ของซากศพที่เรามองเห็นนั้น ซากศพนั้นมีสภาพอย่างไร เมื่อตาย
ไปแล้วจากความเป็นคนหรือสัตว์ เราเรียกกันว่าผีตาย เขามีสภาพอย่างไร คือตายแล้วมีน้ำเลือด
น้ำเหลืองหลั่งไหลออกจากร่างกายฉันใด เราแม้ยังไม่ตาย สิ่งเหล่านั้นก็มีครบแล้ว คนที่เราคิดว่า
สวยสดงดงามตามที่นิยมกัน ก็เต็มไปด้วยความโสโครกที่น่ารังเกียจเหมือนกัน เอาอะไร มาเป็น
ของน่ารักน่าปรารถนา เรารักคนก็มีสภาพเท่ารักศพ ศพนี้น่าเกลียดน่าชังเพียงใด คนรักที่เรารัก
ก็มีสภาพอย่างนั้น พยายามพิจารณาใคร่ครวญให้เห็นติดอกติดใจจนกระทั่งเห็นสภาพของผู้ใด
ก็ตามที่เขานิยมกันว่า น่ารัก น่าชมนั้น เห็นแล้วมีความรู้สึกว่าเป็นซากศพทันที มีความรังเกียจ
สะอิดสะเอียนขึ้นมาทันทีทันใด เห็นคนหรือสัตว์มีสภาพเป็นซากศพไปหมด เต็มไปด้วยความ
รังเกียจที่จะสัมผัสถูกต้อง รังเกียจที่จะคิดว่าน่ารักน่าเอ็นดู เพราะความสวยสดงดงามเห็นผิว
ภายนอกก็มองเห็นภายใน คือเห็นเป็นสภาพถุงน้ำเลือด น้ำหนอง ถุงอุจจาระปัสสาวะที่เคลื่อนที่ได้
พูดด้วยสนทนาด้วย ก็เห็นสภาพผู้ที่พูดจาสนทนาด้วย เป็นถุงอุจจาระปัสสาวะ และถุงน้ำเลือด
น้ำหนองมาพูดคุยด้วย คิดว่าขณะนี้มีสภาพเป็นถุงน้ำเลือดน้ำหนอง มาสนทนาปราศรัยกับเรา
ต่อไปเขาก็จะกลายเป็นซากศพที่มีร่างกายอืดพอง น้ำเหลืองไหล ต่อไปกายก็จะขาดจากกัน
เป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ สัตว์จะกัดกิน และในที่สุด ก็จะเหลือแต่กระดูกกระจัดกระจายไป
เขานี่เป็นผีตายชัดๆ เราก็เช่นเดียวกัน เขามีสภาพเช่นไร เราก็มีสภาพเช่นนั้น กายนี้ล้วนแต่
เป็นอนิจจัง หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สะสมของโสโครกแล้ว แต่ถ้า
จะยังยืนคู่ฟ้าคู่ดินก็พอที่จะทนรักทนชอบได้บ้าง แต่นี่เปล่าเลยท่านหลงว่าสวยสดงดงามนั้น
ก็เป็นสิ่งหลอกลวง เต็มไปด้วยความโสโครกเท่านั้นยังไม่พอ กลับหาความเที่ยงแท้แน่นอน
ไม่ได้อีก ดิ้นรนกลับกลอกทรุดโทรมลงทุกวันทุกเวลาเคลื่อนเข้าไปหาความแก่ทุกวันทุกนาที
ยิ่งมากวันความเสื่อมโทรมของร่างกายก็ทวีมากขึ้น จากความเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ มาเป็นคนหนุ่ม
คนสาว จากความเป็นคนหนุ่มคนสาวมาเป็นคนแก่ การเคลื่อนไปนั้นมิใช่เคลื่อนเปล่า ยังนำเอา
โรคภัยไข้เจ็บมาทับถมให้ไม่เว้นแต่ละวัน ปวดที่โน่น ปวดที่นี่ โรคแน่น โรคจุกเสียด ปวดร้าว
มีตลอดเวลา อวัยวะที่เคยใช้คล่องแคล่วสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยกำลัง ก็ง่อนแง่นคลอนแคลน กำลัง
วังชาหมดไป ทำอะไรไม่ได้สะดวก หูก็หนัก ตาก็ฟาง ได้ยินเห็นอะไรไม่ถนัดเต็มไปด้วยความ
ทุกข์ จะห้ามปรามรักษาด้วยหมอวิเศษ ท่านใดก็ไม่สามารถจะยับยั้งความเคลื่อนความทรุดโทรม
นี้ได้ ในที่สุดก็พังทลายกลายเป็นซากศพที่ชาวโลกรังเกียจอย่างนี้ อัตภาพนี้เป็นสภาพโสโครก
อย่างนี้ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงอย่างนี้ เป็นทุกขัง ความทุกข์อันเกิดแต่ความเคลื่อนไหวไปหาความ
เสื่อมอย่างนี้ เป็นอนัตตา เพราะเราจะบังคับบัญชาควบคุมไม่ให้เคลื่อนไปไม่ได้ ต้องเป็นไปตาม
กฎธรรมดา

พิจารณาเห็นโทษเห็นทุกข์อันเกิดแต่ร่างกาย เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในร่างกาย
ของตนเองและร่างกายของผู้อื่น เห็นสภาพร่างกายของตนเองและของผู้อื่นเป็นซากศพ หมด
ความพิสมัยรักใคร่ โดยเห็นว่าไม่มีอะไรสวยงาม เห็นเมื่อไรเบื่อหน่ายหมดความพอใจเมื่อนั้น
เห็นคนมีสภาพเป็นศพทุกขณะที่เห็นอย่างนี้ท่านเรียกว่าได้อสุภกรรมฐานในส่วนของสมถภาวนา

เห็นร่างกายเป็นซากศพ เบื่อหน่ายในร่างกาย และเห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยความ
ไม่เที่ยง สกปรกโสมมแล้วยังหาความแน่นอนไม่ได้อีก เคลื่อนไปหาความแก่ตายทุกวันเวลา
ขณะที่เคลื่อนไปก็เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะต้องได้รับทุกข์จากโรค รับทุกข์จากการบริหาร
ร่างกาย มีการประกอบการงานเป็นต้น ทุกข์เพราะมีลาภแล้วลาภหมดไป มียศแล้ว ยศสิ้นไป
มีสุขแล้วก็มีทุกข์มาทับถม เดี๋ยวมีคำสรรเสริญมาป้อยอ แต่ก็ไม่นานก็ถูกนินทา เป็นเหตุให้ใจ
เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะความเสื่อมโทรมของร่างกายมีอวัยวะทุพพลภาพ หูหนัก ตาฟาง ฟันหัก
ร่างกายร่วงโรย ความจำเสื่อม ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนของความทุกข์ทั้งสิ้น
เห็นร่างกายเป็นทุกข์แล้ว ก็เห็นความดื้อด้านของสังขารร่างกายที่บังคับบัญชาไม่ได้
คือเห็นว่าความเสื่อมโทรมอย่างนี้เราไม่ต้องการ ก็บังคับไม่ได้ ไม่ต้องการให้ปวดเจ็บเมื่อยล้า
แต่มันก็จะเป็น ไม่มีใครห้ามได้ ไม่ต้องการให้ระบบประสาทเสื่อมมันก็จะเสื่อม ใครก็ห้ามไม่ได้
ไม่ต้องการตาย มันก็ต้องตาย ไม่มีใครห้ามได้ สิ่งที่ห้ามไม่ได้นี้ ท่านเรียกว่า อนัตตา แปลว่า
เป็นสิ่งเหลือวิสัยที่จะบังคับ ที่ท่านแปล อนัตตาว่า ไม่ใช่ตัวตนนั่นเอง เพราะถ้าเป็นตัวตนของเรา
จริงแล้ว เราก็บังคับได้ ถ้าบังคับไม่ได้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเราแน่

อารมณ์ที่เห็นว่า ร่างกายนอกจากจะโสโครกน่าสะอิดสะเอียนเป็นซากศพแล้ว ยังไม่
เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความเบื่อหน่ายในการทรงสังขารร่างกาย เบื่อที่จะเกิดต่อไป
เพราะถ้าเกิดมีร่างกายในภพใด ร่างกายก็จะมีสภาพโสโครกสกปรกเป็นซากศพและไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้อย่างนี้อีก ความเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อในการเกิด เป็น
นิพพิทาญาณในวิปัสสนาญาณ ถ้าท่านคิดใคร่ครวญในรูปสมถะให้เห็นซากศพอยู่เสมอ และใคร่
ครวญหากฎธรรมดาควบคู่กันไป คือ เมื่อเกิดความทุกข์อันเกิดแต่การป่วยไข้ หรืออารมณ์ที่
ไม่พอใจหรือความแก่เฒ่าเข้ารบกวน ท่านก็วางใจเฉยเสียไม่ดิ้นรนกระเสือกกระสน โดยคิดว่า
นี่เป็นเรื่องของธรรมดาเกิดมามันก็ต้องเจ็บไข้ไม่สบาย มีลาภแล้วลาภมันก็เสื่อมได้ มียศแล้ว
ยศมันก็สิ้นได้ มีสุขแล้วทุกข์มันก็มีได้ มีคนสรรเสริญแล้วคนนินทาก็มีได้ เกิดแล้วก็ต้องตายได้
ทุกอย่างมันธรรมดาแท้ๆ จนจิตชินต่ออารมณ์ มีอะไรที่เป็นทุกข์เกิดขึ้นก็รู้สึกว่าเป็นปกติ ไม่
ดิ้นรนหวั่นไหวอย่างนี้ ท่านเรียกว่าได้สังขารุเปกขาญาณในวิปัสสนาญาณ เป็นคุณธรรมที่ใกล้
ความเป็นผู้บรรลุพระโสดาบันแล้ว หมั่นคิดนึกไปเสมอ ๆ ถึงร่างกายที่มี สภาพเป็นซากศพ
ร่างกายที่ไม่มีอะไรแน่นอนจนจิตคิดเป็นปกติว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มี
ในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไม่หวั่นไหวต่อมรณภัย มีจิตใจศรัทธาเชื่อมั่นในคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า จิตว่างจากกรรมชั่วครู่ คือรักษาศีล ๕ ได้เป็นปกติ มีอารมณ์รักพระนิพพาน
เป็นปกติ คือ ใคร่ครวญปรารถนาแต่พระนิพพานไม่ต้องการความเกิดต่อไปอีก อย่างนี้ท่านว่า
ทรงคุณได้ในระดับพระโสดาบัน
ฉะนั้น ขอให้นักปฏิบัติที่ปฏิบัติในอสุภกรรมฐาน จงอุตส่าห์พยายามกำหนดพิจารณาให้
ขึ้นใจจนได้ปฏิภาคนิมิตในที่สุด แล้วรักษานิมิตนั้นไว้อย่าให้เสื่อม ต่อไปก็ยกเอานิมิตนั้นขึ้นสู่
อารมณ์วิปัสสนาญาณ ท่านจะเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ภายในไม่ช้าเลย การพิจารณาอย่างนี้
เรียกว่า พิจารณากำหนดรู้

นิมิตในอสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐานก็มีนิมิตเป็นเครื่องกำหนดในการเข้าถึงเหมือนกสิณ แต่ต่างจากกสิณตรง
ที่เอารูปซากศพเป็นนิมิต ไม่ยกเอาธาตุหรือสีภายนอกเป็นนิมิต นิมิตในอสุภนี้ก็มีเป็นสองระดับ
เหมือนกัน คือ
๑. อุคคหนิมิต ได้แก่ นิมิตติดตา คือ รูปเดิมที่กำหนดจดจำไว้ และ
๒. ปฏิภาคนิมิตได้แก่ นิมิตที่เป็นอัปปนาสมาธิ คือ รูปต่างจากภาพเดิมดังจะได้ยกมา
เขียนไว้ดังต่อไปนี้

๑. อุทธุมาตกอสุภ

อสุภที่มีร่างกายขึ้นอืดพอง อสุภนี้เมื่อเริ่มปฏิบัติ เมื่อเห็นภาพอสุภที่เป็นนิมิต ท่านให้
กำหนดรูปแล้วภาวนา " อุทธุมาตะกัง ปะฏิกุลัง " ภาวนาอย่างนี้ตลอดไป เมื่อเพ่งพิจารณา
จนจำรูปได้ชัดเจนแล้ว ให้หลับตาภาวนาพร้อมด้วยกำหนดจดจำรูปไปด้วยตามที่กล่าวไว้แล้วใน
กสิณ จนรูปอสุภนั้นติดตาติดใจ จะนึกเมื่อไรก็เห็นภาพนั้นได้ทันที ภาพนั้นเกิดขึ้นแก่จิต คือ อยู่ใน
ความทรงจำ ไม่ใช่ภาพลอยมาให้เห็นเหมือนภาพที่ลอยในอากาศ เกิดจากการกำหนดรู้โดยเฉพาะ
เมื่อภาพนั้นติดใจจนชินตามที่กำหนดจดจำไว้ได้แล้ว ท่านเรียกว่า " อุคคหนิมิต " แปลว่า
นิมิตติดตา
สำหรับปฏิภาคนิมิตนี้ รูปที่ปรากฏนั้นผิดไปจากเดิม คือรูปเปลี่ยนไปเสมือนคนอ้วนพี
ผ่องใสผิวสดสวย อารมณ์จิตใจเป็นสมาธิตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ท่านเรียกว่าเข้าถึง อัปปนาสมาธิ
ได้ปฐมฌาน

ปฏิภาคนิมิตกำจัดนิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ ก็คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธิ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ตามที่กล่าว
มาแล้วนั่นเอง เมื่อท่านนักปฏิบัติทรงสมาธิได้ถึง อัปปนาสมาธิ มีนิมิตเข้าถึงปฏิภาค คือเข้าถึงปฐม-
ฌานแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการก็ระงับไปเอง ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนว่าด้วยฌาน

๒. วินีลกอสุภ

อสุภนี้ ปกติพิจารณาสี มีสีแดง สีเขียว สีขาวปนกัน เมื่อขณะกำหนดภาวนาว่า
"วินีละกัง ปะฏิกุลัง" จนภาพนิมิตที่มีสี แดง ขาว เขียว เกิดติดตาติดใจคละกันอย่างนี้
ท่านเรียกว่า อุคคหนิมิต
ต่อไปถ้าปรากฏว่าในจำนวนสีสามสีนั้น สีใดสีหนึ่งแผ่ปกคลุมสีอีกสองสีนั้นจนหนาทึบ
ปิดบังสีอื่นหมดแล้วทรงสภาพอยู่ได้นาน ท่านเรียกนิมิตอย่างนี้ว่า ปฏิภาคนิมิต ทางสมาธิเรียกว่า
อัปปนาสมาธิ ทางฌานเรียกว่า ปฐมฌาน

๓. วิปุพพกอสุภ

อสุภนี้ ท่านให้พิจารณาน้ำเหลืองน้ำหนองเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า" วิปุพพะกัง ปะฏิกุลัง"
จนเกิดอุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอสุภนี้มีลักษณะดังนี้ ปรากฏเห็นเป็นน้ำหนองไหลอยู่เป็นปกติ
สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีสภาพเป็นนิมิตตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่มีอาการไหลออกเหมือนอุคคหนิมิต


๔. วิฉิททกอสุภ

อสุภนี้ ท่านให้พิจารณาซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ ขณะพิจารณา
ให้ท่านภาวนาว่า " วิฉิททะกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับอุคคหนิมิตในอสุภนี้ท่านว่ามีรูปซากศพขาด
เป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปเป็นบริบูรณ์ เสมือนมีอวัยวะครบถ้วนบริบูรณ์

๕. วิกขายิตกอสุภ

อสุภนี้ ท่านให้พิจารณาอสุภที่ถูกสัตว์กัดกินเป็นซากศพที่แหว่งเว้าทั้งด้านหน้าหลัง
และในฐานต่างๆ ขณะพิจารณา ท่านให้ภาวนาว่า " วิกขายิตตะกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับ
อุคคหนิมิตในอสุภนี้ ปรากฏเป็นรูปซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็น
รูปซากศพที่มีร่างกายบริบูรณ์

๖. วิกขิตตกอสุภ

วิกขิตตกอสุภนี้ ท่านให้รวบรวมเอาซากศพที่กระจัดกระจายพลัดพรากกันในป่าช้า
มาวางรวมเข้าแล้วพิจารณา ขณะพิจารณา ท่านให้ภาวนาว่าดังนี้ " วิกขิตตะกัง ปะฏิกุลัง "
สำหรับอุคคหนิมิตในอสุภนี้ มีรูปเป็นอสุภนั้นตามที่นำมาวางไว้ วางไว้มีรูปอย่างไร อุคคหนิมิต
ก็มีรูปร่างอย่างนั้น ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น เห็นเป็นรูปมีร่างกายบริบูรณ์ไม่บกพร่อง จะได้มีช่องว่าง
ก็หามิได้

๗. หตวิกขิตตกอสุภ

ท่านให้พิจารณาซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนๆ แล้วเอามาวางห่างกันท่อนละ ๑ นิ้ว
แล้วเพ่งพิจารณา ขณะพิจารณาท่านให้ภาวนาว่า " หะตะวิกขิตตะกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับนิมิต
คืออุคคหนิมิตในอสุภนี้ ปรากฏเป็นปากแผลที่ถูกสับฟัน ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นร่างบริบูรณ์
จะปรากฏริ้วรอยที่ถูกสับฟันนั้นหามิได้

๘. โลหิตกอสุภ

อสุภนี้ ท่านให้พิจารณาซากศพที่ถูกประหาร มีมือเท้าขาดเลือดไหล ขณะพิจารณา
ท่านให้ภาวนาว่า "โลหิตะกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับอุคคหนิมิตในอสุภนี้ ปรากฏเหมือนผ้าแดง
ที่ถูกลมปลิวไสวอยู่ ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นสีแดงนิ่งสงบไม่เคลื่อนไหว

๙. ปุฬุวกอสุภ

อสุภนี้ ท่านให้พิจารณาซากศพที่ตายมาแล้วสองสามวัน มีหนอนคลานอยู่บนซากศพนั้น
ขณะพิจารณา ท่านให้ภาวนาว่า " ปุฬุวะกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับอุคคหนิมิตใน อสุภนี้ ปรากฏเป็น
รูปซากศพที่มีหนอนคลานอยู่บนซากศพ แต่สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นภาพนิ่งคล้ายกองสำลี
ที่กองอยู่เป็นปกติ

๑๐. อัฏฐิกอสุภ

อัฏฐิกอสุภนี้ ท่านให้เอากระดูกของซากศพเท่าที่พึงหาได้ จะเป็นกระดูกที่มี เนื้อ เลือด
เส้น เอ็น รัดรึงอยู่ก็ตาม หรือจะเป็นกระดูกล้วนก็ตาม หรือจะเป็นกระดูกบางส่วนของร่างกายมี
เพียงส่วนน้อยหรือท่อนเดียวก็ตาม เอามาเป็นวัตถุพิจารณา เวลาพิจารณา ท่านให้ภาวนาว่าดังนี้
" อัฏฐิกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับอุคคหนิมิตในอัฏฐิกอสุภนี้ จะมีรูปเป็นกระดูกเคลื่อนไหวไปมา
สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น จะมีสภาพเป็นกระดูกวางเฉยเป็นปกติ


(จบนิมิตในอสุภ ๑๐ อย่างเพียงเท่านี้)



การพิจารณา


การเพ่ง

เมื่อจะเข้าไปเพ่งดูซากศพ ท่านให้เข้าไปยืนไม่ให้ห่างเกินไป และไม่ชิดเกินไป การยืน
อย่ายืนใต้ลม เพราะกลิ่นอสุภจะทำให้ไม่สบาย จะเกิดการอาเจียน และเดือดร้อน เพราะกลิ่นอาจทำ
ให้เกิดโรค มีอาการทางท้อง หรือปวดศีรษะได้ อย่ายืนเหนือลมเกินไปเพราะพวกอมนุษย์ที่กำลัง
กัดกินเนื้ออสุภนั้นจะโกรธ จงยืนเฉียงอสุภด้านเหนือลม ลืมตาเพ่งจดจำรูปอสุภ นั้นด้วย สี สัณฐาน
อาการที่วางอยู่ จำให้ได้ครบถ้วน แล้วหลับตานึกถึงภาพนั้น ถ้าภาพนั้นเลอะเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่
จำได้แล้วก็หลับตานึกคิดถึงภาพนั้นใหม่ เมื่อจำได้แล้วให้กลับมาที่อยู่ นั่งเพ่งรูปอสุภนั้นให้ติดตา
ติดใจ จนภาพนั้นเกิดเป็นอุคคหนิมิต คือภาพที่เห็นมานั้นติดอารมณ์อยู่เสมอ จะหลับตาหรือลืมตา
ก็คิดเห็นภาพนั้นเป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่าได้อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตา คือติดใจนั่นเอง
ต่ออารมณ์ที่กำหนดนั้นมั่นคงแจ่มใสขึ้น ภาพที่จำได้นั้นมีสภาพแจ่มใสชัดเจนคล้ายกับ
เห็นด้วยตา และภาพนั้นก็มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากรูปเดิม มีสภาพผุดผ่องเป็นร่างบริบูรณ์
หรือผ่องใสกว่าภาพที่เพ่งมา อย่างนี้ท่านเรียกว่าปฏิภาคนิมิต

พิจารณา

การเจริญอสุภกรรมฐาน ต้องหนักไปในทางพิจารณา เพราะถ้าใช้แต่การเพ่งจำภาพ
เฉยๆ จะกลายเป็นกสิณไป ในขณะที่เพ่งจำภาพนั้น ท่านให้พิจารณาพร้อมๆ กันไปด้วย โดย
พิจารณาตามความรู้สึกที่แท้จริงว่า อสุภ คือซากศพนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน ไม่มี
อะไรเป็นที่น่ารักน่าปรารถนาเลย ร่างกายคนและสัตว์ทั้งสิ้น มีสภาพน่าสะอิดสะเอียนอย่างนี้ แล้ว
น้อมภาพนั้นเข้าไปเทียบเคียงกับคนที่มีชีวิตอยู่ โดยคิดแสวงหาความเป็นจริงว่า ร่างที่เพริศพริ้ง
แพรวพราวไปด้วยทรวดทรง และตระการตาไปด้วยเครื่องประดับนั้น ความจริงไม่มีอะไรสวยงาม
เลย ภายใต้หนังกำพร้ามีแต่ความโสโครก น่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน เลอะเทอะโสมมไปด้วย
กลิ่นคาวที่เหม็นคลุ้งไปทั่วบริเวณร่างกาย ไม่มีส่วนใดที่จะหาว่า สะอาด น่ารัก แม้แต่น้อยหนึ่ง
ก็หาไม่ได้ เมื่อเทียบกับร่างของผู้อื่นแล้วก็เอามาเทียบกับตนเอง พิจารณาให้เห็นชัดว่า เราเอง
ก็เป็นซากศพเคลื่อนที่ เป็นผีเน่าเดินได้ดี ๆ นั่นเอง ซากศพนี้มีสภาพเช่นใด เราเองก็มีสภาพ
เช่นนั้นที่ยังมองไม่ชัดเพราะหนังกำพร้าหุ้มห่อไว้ แต่ทว่าสภาพที่เลอะเทอะน่าเกลียดโสโครก
นี้ใช่ว่าจะพ้นการพิจารณาใคร่ครวญของท่านผู้มีปัญญาก็หาไม่ ความจริงสิ่งโสโครกที่ปรากฏ
ภายในก็หลั่งไหลออกมาปรากฏทุกวันคืน เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด เสลด น้ำหนอง เหงื่อไคล
สิ่งเหล่านี้เมื่อหลั่งไหลออกมาจากร่างกาย เราเองผู้เป็นเจ้าของก็ไม่ปรารถนาจะแตะต้อง
เพราะรังเกียจว่าเป็นสิ่งสกปรกโสโครก ความจริงสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ในกายของเราเอง ฉะนั้น
อสุภ คือ สิ่งที่น่าเกลียดนี้มีอยู่ในร่างกายของเราครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว เราก็คือส้วมเคลื่อนที่
หรือป่าช้า ที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่นั่นเองที่ยังไม่ปรากฏแก่ตาชาวโลกก็เพราะหนังกำพร้ายัง
หุ้มไว้ ถ้าหนังกำพร้าขาดเมื่อไร เมื่อนั้นแหละความศิวิไลซ์ก็จะสิ้นซากเมื่อนั้น สภาพที่แท้จริง
จะปรากฏเช่นซากศพที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ จงพยายามพิจารณาให้เห็นชัดเจนตามความเป็นจริง
ก่อนพิจารณาต้องเพ่งรูปให้อารมณ์จิตมีสมาธิสมบูรณ์บริบูรณ์เสียก่อน เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ตนของตนเองไม่สวยไม่งามแล้ว ก็เห็นคนอื่นว่าไม่สวยไม่งามได้ง่าย การเห็นตนเองเป็นความ
เห็นที่เกิดได้ยาก แต่ถ้าพยายามฝึกฝนเสมอ ๆ แล้ว อารมณ์จะเคยชิน จะเห็นว่าการพิจารณา
ตนนี้ง่าย เมื่อเห็นตนแล้วก็เห็นคนอื่นชัด ถ้าเห็นตนชัดว่าไม่มีอะไรสวย เพราะมีแต่ของน่าเกลียด
โสโครก เราก็มองเห็นคนอื่นเป็นอย่างนั้น พยายามทำให้ชิน ให้ขึ้นใจจนมองเห็นไม่ว่าใคร
มีสภาพเป็นซากศพ ตัดความกำหนัดยินดีในส่วนกามารมณ์เสียได้แล้วชื่อว่าท่านได้อสุภกรรมฐาน
ในส่วนของสมถภาวนาแล้ว การได้อสุภกรรมฐานในส่วนสมถะนี้เป็นผลได้ที่อยู่ในสภาพง่อนแง่น
คลอนแคลน อารมณ์ความเบื่อหน่ายจะเสื่อมทรามลงเมื่อไรก็ได้ เพราะปกติของอารมณ์จิต
มีปกติฝักใฝ่ฝ่ายต่ำอยู่แล้ว หากไปกระทบความยั่วยุเพียงเล็กน้อย อารมณ์ฌานเพียงแค่
ปฐมฌานก็จะพลันสลายตัวลงอย่างไม่ยากนัก เพื่อรักษาอารมณ์ฌานที่หามาได้ยากอย่างยิ่งนี้
ไม่ให้เสื่อมเสียไป เมื่ออารมณ์จิตหมด ความหวั่นไหวนี้ ท่านให้ใช้วิปัสสนาญาณเข้าสนับสนุน
เพื่อทรงพลังสมาธิให้มั่นคง เพราะฌานใดที่ได้ไว้แล้ว และมีอารมณ์วิปัสสนาญาณสนับสนุน
ฌานนั้นท่านว่าไม่มีวันที่จะเสื่อมสลายการเจริญวิปัสสนาญาณต่อจากอสุภฌานนี้ ท่านสอนให้
พิจารณาดังต่อไปนี้


ยกนิมิตอสุภเป็นวิปัสสนา

ธรรมดาของนิมิตที่เกิดจากอารมณ์ของสมาธิ จะเป็นนิมิตของอุปจารฌานหรือที่เรียกว่า
อุคคหนิมิต หรือขั้นอัปปนาสมาธิ ที่เป็นอารมณ์ปฐมฌานก็ตาม จะเกิดยืนสภาพตลอดกาลตลอดสมัย
นั้นไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วชั่วครู่ชั่วพักก็หายไป ทั้งนี้ก็เพราะจิตไม่สามารถจะทรงสมาธิไว้ได้นานมากนัก
จิตก็จะเคลื่อนจากฌาน ตอนที่จิตเคลื่อนจากฌานนี่แหละภาพนิมิตก็จะเลือนหายไป ถ้าต้องการเห็น
ภาพใหม่ ก็ต้องตั้งต้นสมาธิกันใหม่ ถ้าประสงค์จะเอานิมิตเป็นวิปัสสนา เมื่อเพ่งพินิจอยู่ พอนิมิต
หายไปก็ยกอารมณ์เข้าสู่ระดับวิปัสสนาโดยพิจารณาว่า นิมิตนี้ เราพยายามรักษาด้วยอารมณ์ใจ โดย
ควบคุมสมาธิจนเต็มกำลังอย่างนี้ แต่นิมิตนี้จะได้เห็นใจเรา จะอยู่กับเราโดยที่เราหรืออุตสาห์ประคับ
ประคองจนอย่างยิ่งอย่างนี้ นิมิตนี้จะเห็นอกเห็นใจเราก็หาไม่ กลับมาอันตรธานหายไปเสียทั้ง ๆ ที่
เรายังต้องการ ยังมีความปรารถนา นิมิตนี้มีสภาพที่จะต้องเคลื่อนหายไปตามกฎของธรรมดาฉันใด
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่มีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมีอันตรธานไปในที่สุด ฉะนั้น ความไม่เที่ยงของ
ชีวิตที่มีความเกิดขึ้นนี้ มีความตายเป็นที่สุด เช่นเดียวกับนิมิตนี้ ขึ้นชื่อว่าความเกิด ไม่ว่าจะเกิด
เป็นอะไร เป็นสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม ต่างก็มีความไม่เที่ยงเสมอเหมือนกันหมดเมื่อเกิดแล้ว
ก็มีอันที่จะต้องตายเหมือนกันหมด เอาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย เมื่อความไม่เที่ยงมีอยู่
ความทุกข์ก็ต้องมี เพราะการต้องการให้คงอยู่ยังมีตราบใด ความทุกข์ก็มีอยู่ตราบนั้น เพราะ
ความปรารถนาให้คงอยู่โดยไม่ต้องการให้เสื่อมสิ้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ฝืนต่อกฎของความเป็นจริง
การทรงชีวิตนั้น ไม่ว่าจะทรงอยู่ในสภาพใด ๆ ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ทั้งสิ้น เพราะทุกข์จาก
การแสวงหาอาหาร และเครื่องอุปโภคมาเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ทุกข์เพราะโรคภัยไข้เจ็บรบกวน
ทุกข์เพราะไม่อยากให้ของรักของชอบใจ แม้ในที่สุดชีวิตที่จะต้องแตกทำลายนั้นต้องอันตรธานไป
ความปรารถนาที่ฝืนความจริงตามกฎธรรมดานี้เป็นเหตุของความทุกข์ แต่ในที่สุดก็ฝืนไม่ไหว
ต้องแตกทำลายอย่างนิมิตอสุภนี้เหมือนกัน นิมิตอสุภนี้ เดิมทีก็มีปัญจขันธ์เช่นเรา บัดนี้เขาต้อง
กระจัดพลัดพรากแตกกายทำลายขันธ์ออกเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่อย่างนี้ ความที่ขันธ์เป็นอย่างนี้
เขาจะมีความปรารถนาให้เป็นอย่างนี้ก็หาไม่ แม้เขาจะฝืนอย่างไร ก็ฝืนกฎธรรมดาไม่ได้
ในที่สุดก็ต้องสลายอย่างนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า โลก เป็น อนัตตา คือไม่มีอะไรทรงสภาพ
ไม่มีใครบังคับการสิ้นไปของชาวโลกนั้นเป็นความจริง สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่มีความทุกข์
์มีแต่ความสุขทรงสภาพปกตินั้นมีพระนิพพานแห่งเดียว ผู้ที่จะถึงพระนิพพานได้ ท่านปฏิบัติอย่าง
เรานี้ ท่านเห็นสังขารทั้งหลายเป็นของน่าเกลียด เห็นสังขารทั้งหลายเป็นแดนของความทุกข์
เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความรู้ความคิด สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ท่านไม่ยึดมั่นในสังขาร
ท่านเบื่อในสังขาร โดยท่านถือว่าธรรมดาของการเกิดมามีสังขารต้องเป็นทุกข์อย่างนี้ ท่านไม่
ปรารถนาการเกิดอีก ท่านไม่ต้องการชาติภพใดๆ อีก ท่านหวังนิพพานเป็นอารมณ์ คือท่าน
คิดนึกถึงพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์รัก ความเกิด รักสมบัติ รักยศ รักสรรเสริญ ไม่รัก
แม้แต่สุขที่เกิดแต่ลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ท่านตัด ฉันทะ ความพอใจในโลกทั้งสิ้น ท่านตัด
ราคะ ความกำหนัดยินดีในโลกทั้งสิ้น ท่านพอใจในพระนิพพาน เมื่อทรงชีวิตอยู่ท่านก็ทรงเมตตา
เป็นปุเรจาริกคือมีเมตตาเป็นปกติ ท่านไม่ติดโลกามีสคือสมบัติของโลก ท่านที่เข้า พระนิพพาน
ท่านมีอารมณ์เป็นอย่างไร บัดนี้เราผู้เป็นพุทธสาวกก็กำลังทรงอารมณ์อย่างนั้นเราเห็นความ
ไม่เที่ยงของสังขารแล้ว เพราะมีอสุภเป็นพยาน เราเห็นความทุกข์เพราะการเกิดแล้ว เพราะมี
อสุภเป็นพยาน เราเห็นอนัตตาแล้ว เพราะมีอสุภเป็นพยาน เราจะพยายามตัดความไม่พอใจ
ในโลกามีสทั้งหมดเพื่อได้ถึงพระนิพพานเป็นที่สุด

จงคิดอย่างนี้ พิจารณาอย่างนี้เนืองๆ ทุกวันทุกลมหายใจเข้าออกท่านจะเข้าถึงนิพพาน
ในชาติปัจจุบัน พระนิพพานเป็นของมีจริง พระนิพพานเป็นสุขไม่มีทุกข์เจือปน ผู้ที่มีจิตผูกพัน
พระนิพพานเป็นปกติ จะมีความสุขในสมัยที่ทรงชีวิตอยู่ ความสุขนี้อธิบายให้สมเหตุสมผลไม่ได้
เพราะเป็นสุขประณีต สุขยิ่งกว่าความสุขใด ๆ ที่เจือด้วยอามิส ท่านที่เข้าถึงแล้วเท่านั้นที่ท่านจะ
ทราบความสุขใจของท่านที่เข้าถึงพระนิพพานได้จริง ขออธิบายวิปัสสนาญาณโดยอาศัยนิมิต
อสุภกรรมฐานเป็นบาทไว้โดยย่อเพียงเท่านี้ ขอนักปฏิบัติจงคิดคำนึงเป็นปกติ ท่าน จะเข้าถึง
พระนิพพานได้อย่างคาดไม่ถึง


ภาพประสาทหลอน

นักปฏิบัติกรรมฐานในอสุภกรรมฐานนี้ มักจะถูกอารมณ์อย่างหนึ่งที่คอยหลอกหลอน
อยู่เสมอ อารมณ์ที่คอยหลอกหลอนนั้นคืออารมณ์อุปทาน อารมณ์อุปทานนี้มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า
จะถูกอสุภคือซากศพนั้นคอยหลอกหลอน การที่ออกไปเยี่ยมป่าช้าเพื่อพิจารณาอสุภ ก็ดี หรือกำลัง
ที่พิจารณาอสุภอยู่ที่วิหารก็ดี ในกาลบางครั้งอารมณ์จะหลอนตนเองว่าเหมือนมี ภาพซากศพที่
พิจารณานั้นบ้างมีภาพปีศาจจากที่อื่นบ้างแสดงอาการต่างๆ จะเข้ามาทำร้ายตน บางรายถึงกับ
ตกใจกลายเป็นคนเสียสติไปก็มี ที่เป็นดังนี้ความจริงซากศพนั้นไม่ได้หลอกหลอน ผีปีศาจอื่นใด
ก็มิได้หลอกหลอน ที่เป็นดังนั้นก็อาศัยอุปทาน การยึดถือเดิมที่มีประจำจิตใจคนเรามาแต่อดีตว่า
ผีทำร้ายหลอกหลอน
ถ้าอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว ท่านให้ตัดใจว่านี่เราจะฝึกเพื่อมรรคผลความดีเพื่อพ้น
จากทุกข์ ซากศพที่ตายแล้วไม่มีวันจะลุกขึ้นมาทำร้ายได้ และปีศาจใดที่จะทำอันตรายแก่
พระโยคาวจรอย่างเรานี้ก็ไม่มี พระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่านได้สำเร็จมรรคผลนับไม่ถ้วน ไม่มี
พระอริยเจ้าแม้แต่องค์เดียวที่ท่านไม่ได้ เจริญอสุภกรรมฐานแล้วสำเร็จมรรคผลทุกท่านต่างก็
สำเร็จมรรคผลมาด้วยผ่านการเจริญอสุภกรรมฐานมาแล้วทั้งสิ้น ทุกท่านผ่านมาได้ไม่มีอันตราย
ต่อชีวิต เพราะซากศพหรือปีศาจเลย ภาพที่ปรากฏต่อหน้าเรานี้เป็นภาพประสาทหลอนเป็นอารมณ์
ของอุปทาน ไม่มีอะไรจริงจัง แล้วตัดใจปฏิบัติต่อไปด้วยการทรงสมาธิมั่นเพียงเท่านี้ภาพหลอน
ที่เห็นนั้นก็จะอันตรธานหายไป บางรายตัดสินใจด้วยเอาชีวิตเป็นเดิมพันคือจะเห็นภาพหลอกหลอน
หรือเกิดอารมณ์กลัวขึ้นมาก็ตามท่านตัดสินใจ เชิญเถิด ถ้าเราจะต้องตายเสีย ในระหว่างปฏิบัติ
ความดีนี้จะตายเมื่อสิ้นลมปราณก็ดี จะตายเพราะถูกปีศาจทำอันตรายก็ดี เราพร้อมที่จะตาย
เพราะเราไม่ ปรารถนาการเกิด และไม่ปรารถนาจะอยู่คู่กับโลกที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อน เต็ม
ไปด้วยความทุกข์ มีแต่ความหลอกหลอนปลิ้นปล้อน หาความจริงที่เป็นเหตุของความสุขไม่ได้
ใครต้องการชีวิตก็เชิญเถิดแล้วท่านก็ทำไม่รู้ไม่ชี้เสีย จะมีเสียงมีอาการอะไรปรากฏท่านไม่สนใจ
เท่านี้ ภาพหลอนและอารมณ์กลัวก็จะหายไป ท่านก็กลับได้สมาธิตั้งมั่นอย่างคาดไม่ถึงและมีผลทาง
วิปัสสนาญาณอย่างเลิศ ท่านที่ตัดสินใจเอาชีวิตเป็นเดิมพันนี้ นอกจากจะหมดความกลัวแล้ว ถ้าทำ
ถูกทางรู้สึกว่าฌานและวิปัสสนาญาณไม่มีอะไรยากสำหรับท่าน ทำได้ดี ได้รับผลรวดเร็วเกินกว่า
ที่คาดคิดไว้ ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจและนำไปปฏิบัติท่านจะได้รับผลสมความตั้งใจ

ภาพหลอน


นอกจากอารมณ์หลอน ก็ยังมีภาพหลอนอีก ภาพหลอนนี้ไม่มีอะไรน่ากลัว แต่เป็นภาพ
ที่น่ารัก เป็นภาพคนสวยๆ บ้าง เป็นเทวดาบ้างเป็นภาพปราสาท หรือวิมานบ้างเมื่อปรากฏขึ้นก็
สร้างอารมณ์ปลาบปลื้มแก่ท่านที่ได้เห็น ขอเตือนนักปฏิบัติว่าภาพอื่นนอกจากภาพนิมิตที่ท่านกำหนด
ไว้เดิมแล้วท่านอย่าสนใจเป็นอันขาด เพราะจะทำให้จิตซ่านออกจากอารมณ์สมาธิเป็นภาพลวงตา
จงรักษาแต่ภาพนิมิตที่กำหนดแล้วเท่านั้น จงทิ้งภาพอื่นเสียเพราะจะทำให้สมาธิเสีย

ความมุ่งหมายในอสุภ


อสุภกรรมฐานนี้ ท่านสอนไว้ถึง ๑๐ อย่าง ก็ด้วยมีความมุ่งหมายดังต่อไปนี้
๑. อุทธุมาตกอสุภ ท่านสอนไว้เพื่อเป็นที่สบายของบุคคลผู้มีความกำหนัดยินดีใน
ทรวดทรงสัณฐาน เพราะอสุภกรรมฐานข้อนี้แสดงให้เห็นเนื้อแท้ของทรวดทรงสัณฐานว่า
ไม่มีสภาพคงที่ในที่สุดก็ต้องอืดพองเหม็นเน่าเป็นสิ่งโสโครกที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจอย่างนี้
๒. วินีลกอสุภ เป็นที่น่าสบายของบุคคลที่หนักไปในทางมีความใคร่พอใจในผิวพรรณ
ที่ผุดผ่อง เพราะอสุภกรรมฐานข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ผิวพรรณนั้นไม่สวยจริงในที่สุดก็จะกลายเป็นผิว
ที่มีสีสันวรรณะ ที่เขียว ขาว แดง เละเทะ เลอะเลือน แปดเปื้อนไป ด้วยสิ่งโสโครกที่มีอยู่ภายใน
ผิวพรรณที่หุ้มห่อไว้นั้นจะหลั่งไหลออกมาให้กลายเป็นของ น่าเกลียดโสโครก
๓. วิปุพพกอสุภ เป็นที่สบายของบุคคลที่มีความยินดีในผิวพรรณที่ปรุงด้วยเครื่องหอมเอา
มาฉาบทาไว้ อสุภนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องหอมที่ฉาบทาประทินผิวไว้นั้นไม่มี ความหมาย ในที่สุดก็ต้าน
ทานสิ่งโสโครกที่อยู่ภายในไม่ได้ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ที่มีอยู่ภายในก็จะทะลักออกมาทับถม
เครื่องประทินผิวเหล่านั้นให้หายไป ร่างกายจะเต็มไปด้วยสิ่งโสโครกที่สิงอยู่ภายใน
๔. วิฉิททกอสุภ เป็นที่สบายของผู้ที่มีความกำหนัดยินดีร่างกายที่มีแท่งทึบมีเนื้อล่ำที่พอก
นูนออกมา เป็นเครื่องบำรุงราคะของผู้ที่มักมากในเนื้อแท่งที่กำเริบกรรมฐานนี้แสดงให้เห็นว่าร่างกาย
นี้มิใช่เป็นแท่งทึบตามที่คิดไว้ ความจริงเป็นโพรงโปร่งอยู่ภายในและเต็มไปด้วยของโสโครก
๕. วิกขายิตกอสุภ กรรมฐานนี้เป็นที่สบายของผู้ที่มีความกำหนัดยินดีในเนื้อกล้ามบางส่วน
ของร่างกาย กรรมฐานนี้แสดงให้เห็นว่าส่วนของกล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกายที่ตนใคร่และปรารถนา
อย่างแรงกล้านั้น ในไม่ช้าก็ต้องวิปริตสลายตัวไปและเป็นกล้ามเนื้อที่เต็มไปด้วยสิ่งโสโครกไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ
๖. วิกขิตตกอสุภ อสุภนี้เป็นที่สบายของผู้ที่มีความกำหนัดยินดี ในลีลาอิริยาบถ
มีการยกย่าง ก้าวไป ถอยกลับ และการคู้แขนเหยียดแขน ของเพศตรงข้าม เรียกว่า เป็น
ผู้ใคร่ในอิริยาบถ พอใจกำหนัดยินดีในในท่อนแห่งกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน
ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าอวัยวะต่างๆ ที่เคลื่อนไหวในอิริยาบถนั้นไม่มีอะไรแน่นอน ไม่สามารถจะ
รวมกลุ่มกันได้ตลอดกาลตลอดสมัย ในที่สุดก็ต้องกระจัดพลัดพรากจากกันไปเป็นท่อนน้อย
ท่อนใหญ่ตามที่ปรากฏนี้
๗. หตวิขิตตกอสุภ เป็นที่สบายของผู้ที่มีความกำหนัดยินดีในข้อต่อ คือร่างกาย
ที่มีอาการ ๓๒ ครบถ้วน คนประเภทนี้รักไม่เลือก ถ้าเห็นว่าเป็นคนที่มีอวัยวะไม่บกพร่อง
แล้วเป็นรักได้ กรรมฐานนี้แสดงให้เห็นว่า การติดต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ ไม่จีรังยั่งยืน
ในไม่ช้าก็จะต้องพลัดพรากจากกันตามกฎของธรรมดา
๘. โลหิตกอสุภ เป็นที่สบายของคนรักความงามของร่างกายที่ตกแต่งด้วยเครื่อง
ประดับ คือเป็นคนที่บูชาเครื่องอาภรณ์มากกว่าเนื้อแท้ กรรมฐานนี้แสดงให้เห็นว่า
อาภรณ์นั้นไม่สามารถจะรักษาแท่งทึบของก้อนเนื้อที่รับรองเครื่องประดับไว้ได้ ในไม่ช้า
สิ่งโสโครกภายในก็จะหลั่งไหลออกมา เครื่องประดับที่เป็นเครื่องเจริญตามิได้มีอำนาจ
ต้านทานกฎธรรมดาไว้ได้เลย
๙. ปุฬุวกอสุภ เป็นที่สบายของคนที่ยึดถือว่า ร่างกายนี้เป็นของเรา แต่กรรมฐาน
นี้แสดงว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้เป็นสาธารณะแก่หมู่หนอนที่กำลังกินอยู่ ถ้า
ร่างกายเป็นของเราจริง เจ้าของร่างคงไม่ปล่อยให้หนอนกัดกินเป็นอาหารได้
๑๐. อัฎฐิกอสุภ เป็นที่สบายของผู้มีความกำหนัดยินดีในฟันที่ราบเรียบขาวเป็น
เงางาม กรรมฐานนี้แสดงให้เห็นว่า กระดูกฟันนี้ก็ต้องหลุดถอนเป็นธรรมดาไม่คงสภาพ
สวยสดงดงามให้ชมอยู่ตลอดกาล ตลอดสมัยได้ ตัวไม่ทันตาย ฟันก็หลุดออกก่อนแล้วและ
ความศิวิไลซ์ของฟันที่ว่าสวยนั้นก็ไม่จริง ถ้าปล่อยไว้ไม่ชำระขัดสีเพียงวันเดียวสีขาวไข่มุก
นั้นก็จะเริ่มกลายเป็นสีเหลืองเพราะสิ่งโสโครกที่ฟันเกาะไว้นอกจากจะโสโครกแล้ว ฟันก็
จะปรากฏกลิ่นเหม็นจนเจ้าของเองทนไม่ไหว
อสุภกรรมฐานที่ท่านกล่าวสอนไว้ถึง ๑๐ อย่าง มีความหมายอย่างที่ว่ามานี้แล้วของ
ท่านนักปฏิบัติ ที่จะฝึกหัดกำจัดอำนาจราคะ คือความกำหนัดยินดีในเพศตรงข้าม หรือ
เป็นนักนิยมสีสันวรรณะแล้ว ท่านจงเลือกฝึกในอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งที่
เหมาะสมแก่ความรู้สึกเดิม ที่มีความกำหนัดยินดีอยู่นั้น เพื่อผลในการปฏิบัติในส่วน
วิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลต่อไปเถิด



(จบอสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่างแต่เพียงเท่านี้)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 11:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือ จะอนุสติ 10 ก็ได้ (ฝากให้กรัซกาย 4)

อนุสสติ ๑๐


อนุสสติ แปลว่า "ตามระลึกถึง" กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน ๔ และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ เมื่อถึง
กรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใด จะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ก็เหมาะแก่อารมณ์
ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวด
ก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปใน ราคจริตกองใด
หมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใด ก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ อนุสสตินี้
มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
(อนุสสติทั้ง ๖ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
(อนุสสติ ๒ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต
อนุสสติทั้ง ๑๐ นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฏิบัติแต่ละอย่างดังนี้ ขอท่านนักปฏิบัติ
พึงทราบ และเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยของตน จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ตั้งมั่น
รวดเร็ว ไม่ล่าช้า

กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐

กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐ มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้
พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติ
ทั้ง ๗ นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ
สีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษถึงปฐมฌาน ทั้งนี้ถ้าท่าน
นักปฏิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้ แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้
เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียง
ปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฏิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอาสีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฏใน
อารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ ท่านว่า กรรมฐานกองนี้
ก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๔ ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น


อานาปานานุสสติ สำหรับอานาปานานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน ๔ สำหรับท่านที่มีวาสนา
บารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมีคือปรารถนาพุทธภูมิแล้ว ก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๕
ฌาน ๔ หรือ ฌาน ๕ มีอาการแตกต่างกันอย่างไรต้องการทราบโปรดพลิกดูตอนต้นที่ว่าด้วยฌาน
เมื่อท่านทราบกำลังสมาธิและความเหมาะสมแก่จริตของบรรดาอนุสสติ ทั้งหมดนี้แล้ว
ต่อแต่นี้ไป จะได้อธิบายอนุสสติเป็นกอง ๆ ไป เพื่อความเข้าใจพอสมควร เพราะการอธิบายนี้อาจไม่
ละเอียดเท่าแบบ คือ วิสุทธิมรรคในบางตอนที่ควรย่อก็จะย่อลงให้สั้น บางตอนควรขยายก็จะขยายให้
ยาวออกไป เพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ หากตอนใดย่อสั้นเกินไปท่านไม่เข้าใจแล้ว
ถ้าประสงค์จะให้เข้าใจชัด โปรดหาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะได้รับความรู้เพิ่มเติมครบถ้วนบริบูรณ์

๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน

กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของ
พระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่า จะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นี้ที่สอนไว้โดยจำกัด เพราะ
พระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายจะพรรณนาอย่างไรให้จบสิ้นนั้นย่อมเป็นไป
ไม่ได้ และถ้าจะมีใครมาวางแบบวางแผนว่า การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้านั้น ต้องจำกัดลงไปว่า ระลึก
อย่างนั้นอย่างนี้จึงจะถูกต้องตามที่ปรากฏในปัจจุบันมีมาก


ระลึกตามแบบ

ระลึกตามแบบ หมายความท่านผู้ใดจะนั่งนอนระลึกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า โดยยก
เอาพระคุณของพระองค์มาระลึกถึง เช่น ระลึกถึงพระคุณสามประการ คือ
๑. ระลึกถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ ที่ทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด ไม่มีความชั่วเหลืออยู่
ในพระกมลสันดาน พระองค์ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ เป็นความดีที่เราควรปฏิบัติตาม
๒. ระลึกถึงพระปัญญาอันเฉียบแหลมเฉลียวฉลาดของพระองค์ ด้วยพระองค์มีความรู้
ความฉลาดยอดเยี่ยมกว่าเทวดา พรหม และมนุษย์ทั้งหลายเพราะนอกจากจะทรงรู้ในหลักวิชาการ
ต่างๆ ตามความนิยมของปกติชนแล้ว พระองค์ยังทรงรู้ที่มาของความทุกข์ และรู้การปฏิบัติเพื่อ
ทำลายต้นตอของความทุกข์นั้น ๆ ได้แก่ทรงรู้ในอริยสัจ ๔
๓. ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คือพระองค์เมื่อทรงเป็นผู้รู้เลิศแล้ว พระองค์มิได้ปกปิด
ความรู้นั้นเพื่อพระองค์เองโดยเฉพาะ พระองค์นำความรู้มาสั่งสอนแก่หมู่มวลชนอย่างเปิดเผย
ไม่ปกปิดความรู้แม้แต่น้อย พระองค์ทรงทรมานพระวรกาย เพราะสั่งสอนพุทธเวไนยให้เกิดความรู้
ความฉลาด เพื่อกำจัดเหตุชั่วร้ายที่ฝังอยู่ในสันดานมานาน มีสภาพคล้ายผีสิง เหตุชั่วร้ายนั้นก็คือ
ก. ความโลภ อยากได้สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
ข. ความพยาบาท คือความโหดร้ายที่ฝังอยู่ในจิตใจ คิดที่จะประหัตประหารทำอันตราย
ผู้อื่นให้ได้รับความ พินาศ
ค. ความโง่เขลา ที่คอยกระตุ้นเตือนใจให้ลุ่มหลงในสรรพวัตถุจนเกินพอดี คือคิดปลูกฝังใจ
ในวัตถุ โดยไม่คิดว่าของนั้นจะต้องเก่า จะต้องพังไปในสภาพ
พระองค์ทรงพระกรุณาสอนให้รู้ทั่วกันว่า การมุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนนั้น
เป็นความเลวร้ายที่ควรจะละ เพราะเป็นเหตุของการสร้างศัตรู การคิดประทุษร้ายด้วยอำนาจโทสะ
เป็นเหตุบั่นทอนความสุขส่วนตน เพราะผู้คิดนั้นเกิดความทุกข์ตั้งแต่เริ่มคิด คือกินไม่อิ่มนอนไม่หลับ
ทำให้สุขภาพของตนเสื่อมโทรมยังไม่ทันทำอันตรายเขา ผู้คิดก็ค่อย ๆ ตายลงไปทีละน้อย ๆ แล้ว
เพราะเหตุที่กินน้อยนอนน้อย การหลงในทรัพย์เกินไป ที่ไม่คิดว่ามันจะต้องเก่า ต้องทำลายตามสภาพ
เป็นเหตุให้เกิดความคับแค้น คือเสียใจ เศร้าใจ ทำให้ชีวิตไม่สดใส สดชื่น มีความเศร้าหมอง มีทุกข์
ประจำใจเป็นปกติ


ทางแก้ไข

๑. ความโลภอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน พระองค์ทรงสอนให้รู้จักการให้
ทานเป็นการแก้ความรู้สึกเดิม เพราะทานเป็นการสละออก มีอาการตรงข้ามกับการคิดอยากได้ผล
ทานนี้ก็มีผลเป็นเครื่องบันดาลความสุขในปัจจุบัน เพราะผู้รับทานย่อมมีความรักและเคารพในผู้ให้
ทาน การให้ทานเป็นการสร้างมิตร ตรงกันข้ามกับการคิดอยากได้ดังผู้อื่น เป็นเหตุของความทุกข์
เป็นเหตุของการสร้างศัตรู
๒. พยาบาท ท่านสอนให้รักษาศีลเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังพยาบาท เพราะมาจากโทสะ
ความคิดประทุษร้ายเป็นสมุฏฐาน สำหรับการรักษาศีลนั้น มีเมตตา ความแสดงออกถึงความรัก
ความสงสารเป็นเป็นสมุฏฐาน เมื่อรักษาศีลก็ต้องมีเมตตา กรุณา ถ้าเมตตากรุณา ไม่มีแล้ว ศีลก็
ทรงตัวไม่ได้ ฉะนั้นที่พระองค์ทรงสอนให้รักษาศีล ก็คือฝึกจิตให้มีเมตตาปรานีนั่นเอง ซึ่งมีคติ
ตรงข้ามกับพยาบาท และเป็นอารมณ์หักล้าง พยาบาทเป็นเหตุของความสุข เพราะคนที่มีความ
เมตตาปรานีนั้น ย่อมเป็นที่รักของมวลชน แม้สัตว์เดียรัจฉานก็รัก เราจะเห็นได้ว่าบ้านที่มีสุนัขดุ ๆ
ใคร ๆ ก็เข้าไม่ได้ ถ้าเราหมั่นเอาอาหารไปให้สุนัขตัวนั้นบ่อย ๆ ไม่ช้าก็เชื่อง เป็นมิตรที่ดีไม่ทำ
อันตรายคนมีเมตตา มีความสุขเพราะเป็นที่รักของชนทั่วไปอย่างนี้ เป็นการแก้เหตุของ
ความทุกข์ให้เป็นเหตุของความสุข จัดว่าเป็น พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างมหันต์
๓. ความหลง คือความโง่ ที่มีความคิดว่า อะไรที่เรามีแล้ว ต้องมีสภาพคงที่ ไม่เก่า
ไม่ทำลาย พอของสิ่งนั้นเก่าหรือทำลาย ความเสียใจก็เกิดขึ้น กฎข้อนี้เป็นปกติธรรมดาก็จริง
ที่พอจะรู้ได้อย่างไม่ยาก แต่คนในโลกนี้ก็ไม่ค่อยคิดตาม กลับคิดฝืนกฎธรรมดาจนเป็นเหตุของ
ความทุกข์อย่างมหันต์ เพราะคนเกิดแล้วต้องตาย ชาวบ้านชาวเมืองตายให้ดูเยอะแยะ ไม่จดจำ
แต่พอตัวจะตาย ญาติตาย เกิดทุกข์ร้องไห้เสียใจ ความจริงความตายนี้เป็นของปกติธรรมดา
ไม่มีใครพ้น แต่คนไม่คิดมีแต่ความผูกพัน คิดว่าจะอยู่ตลอดกาล พระองค์เห็นว่าคนทั่วโลกโง่
อย่างนี้ จึงทรงแก้ด้วยการสอนวิปัสสนาญาณ คือสอนให้รู้กฎของความเป็นจริง ยอมรับนับถือ
ตามความเป็นจริง เป็นการเปลื้องอุปาทาน คือความโง่ออกเสียจากความรู้สึก เป็นการสร้าง
ความสบายใจให้เกิดแก่มวลพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ท่านจะคิดใคร่ครวญถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าตามนี้ก็ได้ หรือจะคิดอย่างอื่นก็ได้
แต่ขอให้อยู่ในข่ายระลึกนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นใช้ได้

ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง

การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้ เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ
จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

๑. อรหัง คำว่า อรหังนี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์
ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ อารมณ์กิเลส
ที่พระอรหังหรือที่เรียกว่าพระอรหันต์ละได้นั้น มี ๑๐ อย่าง คือ

ก. สักกายทิฎฐิ เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา ท่านละ
ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้ " โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔
คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัยของนามธรรม คือ เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และ
ไม่สุข ไม่ทุกข์ คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์ สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว
สังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานีสดชื่น อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดีและ
อารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่วที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้าควบคุมใจ
วิญญาณ คือ ความรู้ หนาว ร้อน หิวกระหาย เผ็ดเปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น
วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต วิญญาณกับจิตนี้คนละอันแต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไป
เขียนเป็นอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามา
อาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้นก็คือจิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ตายร่วมกับ
ร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วย แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่ คือ
ดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ แต่ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็น
ประธานตายแล้วจิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่ คำว่าเราในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามา
อาศัยกาย เมื่อท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็น
ของเรา เราไม่มีในกายกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย คือ ขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕
ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไปถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ ไม่เสียดายห่วงใยใน
ขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดาเสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึง
เวลาลงก็นั่งไป แต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร ก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถ
หรือเรือโดยสารนั้น เพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเราเขาก็ไม่ใช่เรา เราก็ไปตามทางของเรา
ส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย พระอรหันต์ทั้งหลายท่าน
มีความรู้สึกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมอรหันต์ พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติ
ที่ระลึกถึงพระคุณข้อนี้ ก็ควรทำความพอใจตามที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์อย่างนี้
จะเป็นเครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์อย่างพระองค์ "
ข. วิจิกิจฉา พระอรหันต์ท่านเชื่อมั่นในธรรมปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว
โดยไม่เคลือบแคลงสงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง
ค. สีลัพพตปรามาส ท่านรักษาศีลเป็นอธิศีล คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองไม่แนะให้ใคร
ละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล
ฆ. ละกามฉันทะ คือความยินดีในกามารมณ์ ท่านหมดความรู้สึกทางเพศเด็ดขาดมีอสุจิ
เหือดแห้ง ความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึกของท่านเลย
ง. พยาบาท ท่านตัดความโกรธความพยาบาทได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานีเป็นปกติ
จ. รูปราคะ ท่านตัดความสำคัญในรูปฌานว่าเลิศเสียได้ โดยเห็นว่ารูปฌานนี้เป็นกำลังส่งให้
เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน
ฉ.ท่านตัดความเห็นว่าเลิศในอรูปฌานเสียได้ โดยเห็นว่าอรูปฌานนี้ก็เป็นเพียงกำลังส่งให้
เข้าถึงวิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน
ช. มานะ ท่านตัดความถือตัวถือตนว่า เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา เราดีกว่าเขาเสียได้
โดยวางอารมณ์เป็นอุเบกขา คือเฉย ๆ ต่อยศฐาบรรดาศักดิ์และฐานะความเป็นอยู่เพราะทราบแล้ว
ว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล
ซ. อุทธัจจะ ท่านตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่คิดนอกลู่นอกทางเสียได้ มีอารมณ์ผ่องใสพอใจ
ในพระนิพพานเป็นปกติ
ฌ. ท่านตัดอวิชชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และ
ไม่มีชีวิต โดยที่คิดว่าเป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิงท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นมีเกิดแล้วก็เสื่อมในที่สุด
ก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ยึดถืออะไรมั่นคง มีก็ใช้ เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์
ท่านตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลกเสียทั้งหมด ไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหนอะไร
ทั้งหมด แม้แต่สังขารของท่าน
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อ
ใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำให้อารมณ์ผ่องใสในพระพุทธคุณมากขึ้น เป็น
เหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างไม่ยากนัก


๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า พระองค์
ทรงรู้อริยสัจ ทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ รู้สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่
ตัณหา ๓ ประการ คือ
๑. กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น
๒. ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้
เปลี่ยนแปลง
๓.วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฎธรรมดา มีความปรารถนา
ไม่ให้กฎธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลายและไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตายนั่นเอง ความรู้สึกอย่างนี้
เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์
ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้
เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติ ๘ ประการดังต่อไปนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ
๕. สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายาโม ความพยายามชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

ในมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ ย่อลงเหลือสาม คือได้แก่ ศีล
การรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ตามขอบเขตของสิกขาบท สมาธิ การดำรงความตั้งมั่นของจิต
ที่ไม่เป็นเวรเป็นภัยต่อสังคม คือดำรงฌานไว้ด้วยดี เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ ปัญญา ได้แก่การ
เจริญวิปัสสนาญาณจนรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดา ไม่มีอารมณ์คิดที่จะฝืนกฎธรรมดานั้น
๓. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ ทรงมี
ความรู้รอบและความประพฤติครบถ้วน
วิชชา แปลว่าความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัด
ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้
อย่างเยี่ยม
๒. จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า
สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็น
เหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุขความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรม
อะไรเป็นเหตุ
๓. อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป
จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วนยอดเยี่ยม ท่านประมวล
ความประพฤติที่พอจะนำมากล่าวไว้ได้โดยประมวลมี ๑๕ ข้อด้วยกัน คือ
๑. สีลสัมปทา พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยศีล คือ ทรงปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง
๒. อินทรียสังวร ทรงระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ
๓. โภชเนมัตตัญญุตา ทรงรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
๔. ชาคริยานุโยค ทรงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน
บริบูรณ์
๕. สัทธา ทรงมีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย
๖. หิริ ทรงมีความละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
๗. โอตตัปปะ ทรงเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
๘. พาหุสัจจะ ทรงสั่งสมวิชาการต่าง ๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
๙. วิริยะ ทรงมีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
๑๐. สติ ทรงมีสติสมบูรณ์
๑๑. ปัญญา มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการทุกแขนง และทรงรู้แจ้งในอริยสัจ โดยที่มิได้ศึกษา
จากผู้ใดมาในกาลก่อน ทรงค้นคว้าพบด้วยพระองค์เอง
๑๒. ปฐมฌาน ทรงฝึกฌาน จนได้ปฐมฌาน
๑๓. ทุติยฌาน ทรงฝึกจนได้ฌานที่สอง
๑๔. ตติยฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนได้ฌานที่สาม
๑๕. จตุตถฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนทรงฌานที่ ๔ ไว้ได้ด้วยดีเป็นพิเศษ
ทั้งหมดนี้ จัดเป็นจริยา คือความประพฤติของพระองค์ อันเป็นแบบอย่างที่บรรดาพุทธสาวก
จะพึงปฏิบัติตามให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพื่อผลไพบูลย์ในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล เพราะพระองค์ทรงมี
ความประพฤติอย่างนี้ จึงทรงบรรลุมรรคผล หากพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระองค์ปฏิบัติตาม ก็มีหวัง
ได้บรรลุมรรคผลในชาติปัจจุบัน


๔. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด พระองค์
นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ ไม่เคยสร้างความ
เดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ
๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่งการ
ทรมาน ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็น
ดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้น ๆ
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใดมีความ
สามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษ
ที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไรจึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วย
พระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ
๗. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้
หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและ
พรหม พระองค์ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ท่านอาจไม่สงสัย แต่การสอนเทวดานั้นท่านอาจจะแปลกใจ
ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหมเป็นปกติเกือบทุกวัน
เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน
๘. พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายถึงคำว่า
พุทโธก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่
ตลอดเวลานั่นเอง
๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใคร ๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทัน
อวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรง
ค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชาคือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาด
หลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชาพระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลสและตัณหาได้ต่อไป
พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน
พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชน
ระลึกนึกถึง จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า
เมื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฏิบัติพระกรรมฐานได้คำนึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามที่เขียนมานี้
ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระ-
พุทธจริยาแล้ว จนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณธรรมห้าประการเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิแล้ว
เจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้นสามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เพราะอาศัยความ
เลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะได้สำเร็จมรรคผลได้โดยฉับพลัน
พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรง
ตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คิด จึงมีกำลัง
เพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธา-
นุสสตินี้ ท่านสอนแบบควบหลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น

แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้
ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณา
ได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่ท่านบอกว่า ก่อนภาวนาควร
พิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัย
ชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี

ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้

กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมจะกระทบสามฐานนี้
ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนา
เมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อหายใจออก แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก
จะเป็นพระพุทธรูปวัดใด องค์ใดก็ได้ตามใจสมัคร
ท่านสอนดังนี้ ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณ
คิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔
อย่างร่วมกัน คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็น
อานาปานานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ ท่านมี
ความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณ
มีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัย
สุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน

แบบท่านวัดปากน้ำภาษีเจริญ

ท่านสอนแบบพุทธานุสสติควบแบบอื่นเหมือนกัน โดยท่านให้กำหนดลม ๗ ฐาน แล้วภาวนาว่า
สัมมาอรหัง แล้วกำหนดดวงแก้ว ตามแบบของท่านควรวิจัยอย่างนี้
กำหนดฐานลมเป็นอานาปานานุสสติ ภาวนาเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน กำหนดดวงแก้ว
เป็นอาโลกกสิณ เป็นกสิณกลาง เป็นเหตุให้ได้ทิพยจักษุญาณและได้มโนมยิทธิ
รวมความว่าท่านอาจารย์ในกาลก่อนท่านฉลาดสอนเพราะท่านได้ผ่านถึง ท่านไม่ทำแบบ
สุกเอาเผากินและไม่ใช่สอนแบบเดาสุ่ม ขอท่านนักปฏิบัติควรทราบไว้และอย่าเอาคำภาวนาเป็นเหตุ
สร้างความสะเทือนใจในกันและกัน จะกลายเป็นสร้างบาปอกุศลไป

(จบบรรยายพุทธานุสสติแต่เพียงโดยย่อไว้เท่านี้)


๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน

ธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึง
คุณพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คำว่าเป็นอารมณ์ หมายถึงให้เอาจิตใจจดจ่อ
อยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกคิดอารมณ์อื่นนอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่
คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์การคิดไว้มากมาย เช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะ
พระธรรมมีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความ
เคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่
พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ
ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้ จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง การระลึก
ถึงคุณพระธรรมนี้ ท่านอาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์ มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามชอบใจ แต่ท่านโบราณาจารย์ท่านประพันธ์บทสรรเสริญ
พระธรรมไว้ ๖ ข้อ จะขอนำมากล่าวไว้พอเป็นแนวปฏิบัติ

คุณของพระธรรม ๖

๑. สวากขาโต ภควาตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้อนี้หมายถึง
อาการคำนึงถึงคุณพระธรรมแบบรวม ๆ ว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวม ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์ ย่อลงเหลือสาม คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์อย่างเยี่ยมสมาธิที่ตั้งมั่น
อย่างยิ่งคือ สมาบัติแปด อธิปัญญา ได้แก่การเจริญวิปัสสนาญาณได้มรรคผลคือ พระโสดา สกิทาคา
อนาคา อรหัตตผล คุณธรรม ทั้งหมดนี้ประเสริฐยอดเยี่ยม ไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือน เพราะสามารถ
กำจัดความทุกข์ ความเดือดร้อนได้ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และมรณะไปแล้ว
คุณธรรมที่เบากว่านั้น เช่นทาน การให้ ศีล รักษาวาจาใจให้สงบจากเวร สมาธิรักษาใจให้สงบ
จากอกุศล ๕ ประการ คือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย ถีนมิทธะ ความเคลิบเคลิ้ม
ที่ขาดสติสัมปชัญญะ และความง่วงเหงาหาวนอนในเวลาทำความดี อุทธัจจกุกกจุจะ อารมณ์หงุดหงิด
ฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ วิจิกิจฉา ความสงสัยในผลของการปฏิบัติธรรม และปัญญา คือการฝึก
วิปัสสนาญาณเบื้องต้น

คุณธรรมขนาดเบา ๆ นี้ ก็มีผลมากแก่ผู้ปฏิบัติ เพราะ
ก. ทาน การให้ เป็นคุณธรรมที่ทำลายอารมณ์โลภอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่น และเป็นเหตุ
แห่งความรักความเสน่หาของผู้รับทาน คนที่ให้ทานเป็นปกติ ย่อมเป็นที่รักของผู้รับทานทั่วไป เป็น
เหตุให้ปลอดภัยจากอันตราย
ข. ศีล เมื่อรักษาดีแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้ ศีลผู้รักษาไว้ดีแล้วย่อมเป็นที่รักของปวงชน
เพราะผู้รักษาศีลมีเมตตาเป็นปกติ และจะมีชื่อเสียงในด้านความดีฟุ้งขจรไปทุกทิศ เมื่อเวลาใกล้
จะตายจะมีสติสมบูรณ์ เมื่อตายแล้วจะได้ไปสู่สุคติ
ค. สมาธิ ย่อมส่งผลให้เป็นคนมีสติสมบูรณ์ และเป็นที่รักแก่ชนทั่วไป เพราะท่านที่ทรงสมาธิ
ย่อมกำจัดเวร คือ อกุศล ๕ ประการ มีโลภะเป็นต้นเสียได้
ฆ. วิปัสสนาญาณ มีอานิสงส์ทำจิตใจให้มีความสุข เพราะจิตเคารพต่อกฎของธรรมดา เพราะ
รู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดาทุกประการ หมดความหวั่นไหวในทุกข์ภัยที่ปรากฏ มีอารมณ์สงัดเยือกเย็น
เป็นปกติ คล้ายต้นไม้ที่ไม่มีลมร้ายมาถูกต้องฉะนั้น

ในข้อนี้ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงคุณของพระธรรมตามที่กล่าวมาโดยย่ออย่างนี้ หรือท่านจดจำ
พระสูตร คือคำสอนที่ยกตัวบุคคล แล้วจะคิดตามนั้น หรือท่านจะคิดตามพระธรรมข้อใดก็ได้ตามใจชอบ
เป็นระลึกถึงคุณพระธรรมตามข้อนี้เหมือนกัน เพราะบทสวากขาโตนี้ท่านกล่าวรวม ๆ เข้าไว้
๒. สันทิฏฐิโก แปลว่า ผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง หมายความว่าผลของการปฏิบัติธรรมนี้
ไม่ใช่จะปฏิบัติกันไปตามเรื่อง ผลของการปฏิบัติธรรมนี้เป็นความสุขใจ ท่านปฏิบัติจริงจะได้รับผลจริง
ในชาตินี้
๓. อกาลิโก แปลว่า ไม่เลือกกาลไม่เลือกสมัย หมายถึงผลของการปฏิบัติธรรมนี้ ได้รับ
ผลทุกขณะที่ปฏิบัติ ไม่จำกัดกาลเวลาว่า จะต้องเป็นเวลานั้นเวลานี้ ตัวอย่างเช่นผู้ปฏิบัติธรรมในด้าน
พรหมวิหาร ท่านที่ทรงพรหมวิหาร ย่อมประทานความรักให้แก่คนและสัตว์ไม่เลือกหน้า ท่านไม่ถือ
โกรธใครพบคนควรไหว้ท่านก็ไหว้ พบคนควรให้ท่านก็ให้ ท่านมีหน้ายิ้มตลอดเวลา ท่านลองคิดดูว่า
ถ้าท่านพบคนอย่างนี้เข้า ท่านควรจะรักเคารพหรือท่านควรจะคิดประทุษร้าย ขอให้ท่านคิดเอาเอง
ผลของการปฏิบัติธรรมได้ผลไม่จำกัดกาลเวลาอย่างนี้ และในสมัยนี้มีคนพูดกันมานานว่า เวลาล่วงมา
ขณะนี้พระอริยะไม่มีแล้ว ท่านอย่าเชื่อเขาเลย เพราะคุณของพระธรรมยืนยันอยู่อย่างนี้ว่า ผลแห่งการ
บรรลุมีได้ไม่เลือกกาลเวลา ขอให้ปฏิบัติจริง ปฏิบัติตรงตามคำสั่งสอนเถอะ และปฏิบัติพอดี อย่า
เกียจคร้านเกินไปและอย่าขยันเกินไป รับรองว่าท่านต้องการคุณธรรมขนาดไหน ก็มีหวังได้ทุกขนาด
และไม่จำกัดกาลเวลา
๔. เอหิปัสสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู ข้อนี้ท่านกล้าท้าทายว่า การปฏิบัติธรรมนั้น
ของท่านกล้ายืนยันผล ขอให้ทำถูก ทำตรง ทำพอดีเถอะ ท่านรับรองผลว่า ต้องได้รับผลแน่นอน
ขออย่างเดียว ขอให้เอาจริงเท่านั้น อย่าทำแบบสุกเอาเผากิน คนไม่จริงพระธรรมท่านก็ไม่จริงด้วย
ถ้าผู้ปฏิบัติจริง ผลของพระธรรมท่านก็ให้จริง ขอให้จริงต่อจริงพบกันเถอะ แล้วจะได้รับผลสมความ
มุ่งหมาย
๕. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา ท่านหมายความว่า ผู้หวังผล คือความสุขทางใจ
สุขทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไปแล้ว เชิญเข้ามาฝึกได้ ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่จำกัดเพศและวัย
ไม่จำกัดเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา ถ้าเข้ามาจริง ปฏิบัติจริง ท่านรับรองว่าต้องได้ผลจริง
๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน คำว่า วิญญู หมายถึง
ท่านผู้รู้ คือผู้ปฏิบัติที่ได้รับผลแล้ว ท่านผู้นั้นจะรู้ผลเองว่า การปฏิบัติพระธรรมนี้มีผล คือความสุข
อันประณีต และมีความเยือกเย็นใจเป็นพิเศษ มีความสุขประณีตกว่าความสุขอันเกิดขึ้นจากโลกวิสัย
หลายพันล้านเท่า

(บทพระธรรมคุณ คือธัมมานุสสติ ขออธิบายแต่โดยย่อเพียงเท่านี้)



๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน

สังฆานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ให้เป็นการเป็นงานในการระลึกถึง
คุณพระสงฆ์ เป็นอารมณ์ การระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์นี้ ท่านให้คิดถึงความดีของพระสงฆ์
ในส่วนที่เป็นความดีอันเป็นเนื้อแท้ของพระศาสนา ไม่ใช่คิดถึงความดีอันเป็นส่วนประกอบที่ไม่เข้าถึง
พระศาสนา เช่น เห็นว่าท่านมีเครื่องรางของขลัง คือของคงกระพันชาตรี ท่านเป็นหมอรดน้ำมนต์
ท่านให้หวยเก่ง ท่านเป็นหมอดูแม่น ท่านทำเสน่ห์เก่ง ท่านเล่นหมากรุกเก่ง ท่านมีวิทยาคมต่างๆ
เช่น เสกอะไรต่ออะไรเก่ง ความเก่งอย่างนั้นของท่านเป็นความเก่งนอกความหมายในที่นี้ เพราะ
เป็นความเก่งที่ยังไม่เข้าถึงจุดเก่งทางศาสนา เป็นความเก่งเปลือกที่ยังเอาตัวไม่รอดยังไม่ควรจะ
เอามาคิดมานึกให้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน ความเก่งในการที่นักกรรมฐานควรเอามาคิด
ก็คือ
๑. ท่านเก่งในทางปฏิบัติ จนได้บรรลุพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ อย่างนี้
เป็นเนื้อแท้ของความเก่งในเนื้อแท้ของพระสาวกในพระพุทธศาสนาและเป็นความเก่งที่ควรบูชาและ
ระลึกถึงเป็นอารมณ์
๒. ความเก่งอีกอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ที่ควรเอามาคิดเอามาบูชาก็คือ ท่านเองได้บรรลุ
มรรคผลแล้ว ท่านมิได้แสวงหาความสุขเพราะผลการบรรลุนั้น เฉพาะตัวท่าน ท่านกลับพลีความสุข
ที่ท่านควรได้รับนั้น นำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านได้รับผลแล้ว มาสั่งสอนบรรดาพุทธบริษัท อย่างที่
ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนใด ๆ

การที่ระลึกถึงความดีของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามแบบก็คือ
ก. สุปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ข. อุชุปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตรง
ค. ญายปฏิปันโน ท่านปฏิบัติเป็นธรรม
ง. สามีจิปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติสมควร
ทั้งนี้หมายความว่า ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนจริง ๆ ไม่แก้ไข
ดัดแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านปฏิบัติสมควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง เพราะท่านปฏิบัติตนจนได้
บรรลุมรรคผลที่บุคคลธรรมดาไม่สามารถจะเห็นได้ การบูชาและระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ต้องระลึก
ตามตามนัยนี้ จึงจะตรงตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้า
ตามที่ท่านสอนให้เจริญใน พุทธานุสสติ ธัมนานุสสติ สังฆานุสสติ ก็เพื่อให้คิดตามความดี
ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เพราะการคิดตามความดีของท่านที่มีความดีอยู่เสมอๆ
จนขึ้นใจนั้น เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในผลของความดี และปสาทะ ความเลื่อมใส ปีติ
ความเอิบอิ่มใจ ความคิดคำนึงอย่างนี้เป็นปกติตลอดไป ย่อมเป็นเครื่องจูงใจให้ปฏิบัติตาม เมื่อใดได้
ลงมือปฏิบัติตามแล้ว ผลที่มีศรัทธาอยู่แล้ว ย่อมเป็นกำลังใจให้ได้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไม่มีอะไร
เป็นเครื่องหนักใจนัก


(ขอยุติสังฆานุสสติโดยย่อแต่เพียงเท่านี้)

๔. สีลานุสสติกรรมฐาน



สีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่าศีล แปลว่า ปกติ สิกขาบทของ
ศีล เป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์
และมนุษย์ จะได้พูดให้ฟังแต่โดยย่อ
ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศ
ต่างตระกูลกันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ ๕ ข้อ คือ
๑. ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตาย
ก็ตาม
๒. ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวงเอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่
เต็มใจอนุญาต
๓. ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามีภรรยา บุตร หลาน
หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยที่ตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย
๔. ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่องราว
ตามความเป็นจริง
๕. ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้า ๆ บอ ๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้ายเพราะ
เหตุใดก็ตาม

เมื่อความต้องการของปวงชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็น
ปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทตามความต้องการเป็นปกติของ
ชาวโลกไว้ ๕ ข้อ ที่เรียกว่า ศีล ๕ หรือปกติศีล
ส่วนศีล ๘ หรือเรียกว่าศีลอุโบสถ มีสิกขาบท ๘ เหมือนกันหรือศีล ๑๐ ของสามเณร ศีล
๒๒๗ ของพระ ศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านนั้นๆ
การที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนืองๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีล
เพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่จะสนับสนุนใจให้เข้าถึงสมาธิ ศีลนี้ผู้ใดปฏิบัติไม่ขาดตกบก-
บกพร่องแล้วย่อมมีอานิสงส์คือ จะไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะอำนาจอกุศลกรรมจะเป็นที่รักของ
ปวงชน จะมีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศ จะเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึง
เรื่องศีล เมื่อใกล้จะตายอารมณ์จิตจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้ เมื่อตายแล้วจะได้
เกิดในสวรรค์ ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั่นใน
สมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพพานในที่สุด ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษา
ศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจารณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิถึงอุปจารสมาธิ และ
อัปปนาสมาธิเป็นที่สุด
เมื่อเข้าถึงสมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา ท่านก็จะได้
บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า

(ขอยุติสีลานุสสติไว้แต่โดยย่อเพียงเท่านี้)


๕. จาคานุสสติกรรมฐาน

จาคานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงการบริจาคทานเป็นนิตย์ กรรมฐานกองนี้ท่านแนะให้ระลึก
ถึงการให้เป็นปกติ ผลของการให้เป็นการตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่ ตัดโลภะ ความโลภ ซึ่งจัดว่าเป็น
กิเลสตัวสำคัญไปได้ตัวหนึ่ง กิเลสประเภทรากเหง้าของกิเลสมีสาม คือ

๑. ความโลภ
๒. ความโกรธ
๓. ความหลง
ความโลภ ท่านสอนไว้ว่า ตัดได้ด้วยการบริจาคทาน เพราะการบริจาคทานเป็นการเสียสละที่มี
อารมณ์จิตประกอบด้วยเมตตา การให้ทานที่ถูกต้องนั้น ท่านสอนให้ ๆ ทานด้วยความเคารพในทาน คือ
ให้ด้วยความเต็มใจและให้ด้วยอาการสุภาพ ก่อนจะให้ให้ทำความพอใจ มีความยินดีในเมื่อมีโอกาสได้
ให้ โดยคิดว่า ขณะนี้เราได้มีโอกาสทำลายล้างโลภะ ความโลภ อันเป็นรากเหง้าของกิเลสได้แล้ว มหา-
ปุญญลาโภ บัดนี้ลาภใหญ่มาถึงเราแล้ว คิดแล้วก็ให้ทานด้วยความเคารพในทาน ผู้รับนั้นจะเป็นใคร
ก็ตาม จะเป็นผู้มีร่างกายบริบูรณ์ หรือทุพพลภาพก็ตาม ขอให้มีโอกาสได้ให้ก็ปลื้มใจแล้ว เมื่อให้ทาน
ไปแล้วทำใจไว้ให้แช่มชื่นเป็นปกติเสมอ เมื่อมีโอกาสได้คิดถึงทานที่ตนให้โดยคิดตามความเป็นจริงว่า
การให้ทานนี้ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นของดีนั้น เราเห็นความดี
แล้วดังนี้ ในชาติปัจจุบันผลทานนี้ย่อมให้ความสุขแก่ผู้รับทาน เพราะผู้รับมีโอกาสเปลื้องทุกข์ของตน
ได้ด้วยทานที่เราให้ สำหรับเราผู้ให้ ก็มีโอกาสได้รับผลในปัจจุบันคือ ได้มีโอกาสทำลายโลภะ ความโลภ
ตัวกิเลสที่ถ่วงไม่ให้ถึงนิพพาน บัดนี้เราตัดความโลภคือรากเหง้าของกิเลสตัวที่ ๑ ได้แล้ว ความเบา
ได้เกิดมีแก่เราแล้ว ๑ เปลาะ คงเหลือแต่ความโกรธและความหลง ซึ่งเราจะพยายามตัดต่อไป ทานยัง
ให้ผลต่อไป คือผลทาน เป็นผลสร้างมิตร สร้างความสุขสงบ เพราะผู้รับทานย่อมรู้สึกรัก และระลึกถึง
คุณผู้ให้อยู่เป็นปกติ ผู้รับทานย่อมพยายามโฆษณาความดีของผู้ให้ในที่ทุกสถาน เมื่อผู้ให้เป็นที่รักของ
ผู้รับแล้ว ความปลอดภัยของผู้ให้ก็ย่อมมีขึ้นจากผู้รับทาน เพราะผู้รับจะคอยป้องกันอันตรายให้ตาม
สมควร ยิ่งให้มาก คนที่รักก็ยิ่งมีมาก ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา ผู้ให้ทานย่อมมีอานิสงส์
ที่ได้รับในชาติปัจจุบันอีกคือ ย่อมมีโอกาสได้รับโชคลาภที่เป็นของกำนัล เป็นเครื่องบำรุงเสมอ
ผู้ให้ทานเป็นปกติ จะไม่ขาดแคลนฝืดเคืองในเรื่องการใช้สอยเมื่อใกล้จะขาดมือ หรือมีความจำเป็นสูง
จะมีผลได้เป็นการชดเชยให้พอเหมาะพอดีแก่ความจำเป็นเสมอ นี่พูดตามผลที่ประสบมาในชาติ
ปัจจุบัน สำหรับอนาคตท่านว่าผู้ที่บำเพ็ญทานเสมอ ๆ นั้น จิตใจจะชุ่มชื่นแจ่มใสเมื่อใกล้จะตาย
เมื่อตายแล้วทานจะส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ มีทิพยสมบัติมากมาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์
ที่บริบูรณ์พูนสุขด้วยสมบัติ นี่ว่ากันตามอานิสงส์
พูดกันตามความประสงค์แล้ว การระลึกถึงทาน ก็มุ่งทำลายล้างโลภกิเลสเป็นสำคัญท่านสอนให้
คิดนึกถึงทานที่ให้แล้วไว้เสมอ ๆ และทำความปลื้มใจในการให้และคิดไว้อีกเช่นเดียวกันว่าเราพร้อม
ที่จะให้ทานตามกำลังศรัทธาทุกโอกาสที่มีคนมาขอ เพราะเราต้องการทำลายโลภะให้สิ้นไปเพื่อผล
ใหญ่ที่จะพึงได้ คือพระนิพพานในกาลต่อไป
ท่านที่ยินดีในทานเป็นปกติอย่างนี้จิตย่อมบริบูรณ์ด้วยเมตตาและกรุณาอันเป็นพรหมวิหาร
ท่านว่าเพราะผลทานและพรหมวิหารร่วมกันมีบริบูรณ์แล้วจิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ต่อนั้นไปถ้าได้
เจริญวิปัสสนาญาณ โดยใช้อุปจารฌานเป็นบาทแล้วจะได้บรรลุมรรคผลได้อย่างฉับพลัน
(จบจาคานุสสติโดยย่อไว้เพียงเท่านี้)

๖. เทวตานุสสติกรรมฐาน

เทวตานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ ความจริงทางศาสนาเรานี้
พระพุทธเจ้ายอมรับนับถือเรื่องเทวดา พระองค์เองทรงปรารภแก่บรรดาพุทธสาวกเรื่องเทวดาเสมอ
ขอให้ดูตามพุทธประวัติจะพบว่า พุทธศาสนาไม่เคยห่างเทวดาเลยจะเขียนให้ละเอียด ในที่นี้ก็เกรง
จะเฟ้อเกินไปขอย้ำว่า พระพุทธศาสนายอมรับนับถือว่าเทวดามีจริง และยอมรับนับถือความดี
ของเทวดาด้วย พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสให้พุทธบริษัทที่มีบารมียังอ่อน ให้ระลึกถึงความดีของเทวดา
เป็นปกติ เช่น กรรมฐานข้อที่ว่าด้วย เทวตานุสสติ ก็เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าสอนให้คิดถึง
ความดีของเทวดา

ความดีของเทวดา

เทวดา แปลว่า ผู้ประเสริฐ ความประเสริฐของเทวดามีอย่างนี้ ถ้าพูดกันตามความนิยมแล้วท่าน
ที่จะเป็นเทวดาก็ต้องเกิดเป็นคนก่อน เมื่อเป็นคนก็ต้องศึกษาหลักสูตรของเทวดาว่าจะเป็นเทวดานั้นต้อง
เรียนรู้และปฏิบัติอะไรบ้าง หลักสูตรที่ทำคนให้เป็นเทวดานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า มี ๒ แบบ คือ

เทวดาประเภทที่ ๑

เทวดาแบบที่ ๑ เป็นเทวดาชั้นกามาวจร คือ ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี รวม ๖ ชั้นด้วยกัน ทั้ง ๖ ชั้นนี้ บวกภูมิเทวดาที่เรียกว่าพระภูมิเจ้าที่
และรุกขเทวดา พวกเทวดาที่มีวิมานอยู่ตามสาขาของต้นไม้ ที่เรียกว่านางไม้ เข้ากับเทวดาชั้นจาตุ-
มหาราช เทวดา ๖ ชั้นนี้ ท่านว่าใครจะไปเกิดในที่นั้น ๆ เพื่อเป็นเทวดา ต้องศึกษาและปฏิบัติตามเทวดา
หลักสูตรเสียก่อน คือท่านให้เรียนรู้เทวธรรมที่ทำตนให้เป็นเทวดา ได้แก่

๑. หิริ ความละอายต่อความชั่วทั้งหมด ไม่ทำชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่วจะลงโทษ ไม่ยอมประพฤติชั่วทั้งกายวาจาใจ ทั้งใน
ที่ลับและที่แจ้ง
ทั้งนี้ก็หมายความว่าต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และมีจิตเมตตาปรานี ตลอดกาลตลอดสมัย
ถึงแม้ยังไม่ได้ฌานสมาบัติก็ไม่เป็นไร เอากันแค่ศีลบริสุทธิ์ มีจิตเมตตาปรานีใช้ได้ ท่านว่าใครศึกษา
และปฏิบัติหลักสูตรนี้ได้ครบถ้วน เกิดเป็นเทวดาได้ ปฏิบัติได้อย่างเลิศ ก็เป็นเทวดาชั้นเลิศ ถ้าปฏิบัติได้
อย่างกลางก็เป็นเทวดาปานกลาง ถ้าปฏิบัติได้ครบแต่หยาบ ก็เป็นเทวดาเล็ก ๆ เช่น ภูมิเทวดา หรือ
รุกขเทวดา พระพุทธเจ้าท่านตรัสหลักสูตรของเทวดาประเภทที่ ๑ ไว้อย่างนี้ ท่านผู้อ่านจงจำไว้ให้ขึ้นใจ
จะได้ไม่สงสัยเรื่องเทวดา

เทวดาประเภทที่ ๒

เทวดาประเภทที่ ๒ นี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "พรหม" ท่านจัดพรหมรวมหมด ๒๐ ชั้น
ด้วยกัน ท่านแยกประเภทไว้ดังนี้

รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น

รูปพรหม คือ พรหมที่มีรูปนี้ ท่านแบ่งไว้เป็น ๑๖ ชั้น แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ พรหมที่ได้
ฌานโลกีย์ ท่านจัดไว้ ๑๑ ชั้น กับพรหมที่เป็นพระอนาคามี และได้ฌาน ๔ ด้วย ๕ ชั้น รวมพรหมที่มี
รูป ๑๖ ชั้น

อรูปพรหม ๔ ชั้น

พรหมที่ไม่มีรูปนี้ เป็นโลกียพรหม มีหมดด้วยกัน ๔ ชั้น รวมพรหมทั้งหมด ๒๐ ชั้นพอดี

หลักสูตรที่จะไปเป็นพรหม

การที่จะเกิดเป็นพรหม ต้องศึกษาและฝึกตามหลักวิชชาให้ได้ครบถ้วนเสียก่อน ถ้าสอบตก
เป็นไม่มีทางได้เกิดเป็นพรหม จะยัดเงินอุดทอง วิ่งเข้าหาเทวดาหรือพรหมองค์ใดให้ช่วยนั้นไม่มีหวัง
ต้องใช้ความสามารถจริง ๆ จึงจะไปได้ การสอบเป็นเทวดาหรือพรหมไม่มีคอรัปชั่น ท่านสอนกันอย่างนี้
เดี๋ยวก่อน ก่อนบอกวิธีสอบ ขอบอกไว้ด้วยว่า กรรมการตรวจสอบนั้นไม่มี ต้องตรวจเองสอบเอง ถ้าสอบ
ได้ก็เป็นพรหมทันที ถ้าสอบไม่ได้อาจต้องเป็นคนอยู่ต่อไป หรือเป็นเทวดา หรือไม่ก็ลงนรกไปเลยสุดแล้ว
แต่ใครจะมีกรรมอะไรเป็นเครื่องส่ง ก่อนจะพูดถึงหลักสูตรพรหม ขอพูดถึงหลักสูตรต่ำไปหาพรหมก่อน
เพราะจะได้รู้ไว้เป็นเครื่องประดับ

หลักสูตรอบายภูมิ

อบายภูมิหมายถึงดินแดน นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดียรัจฉาน ใครจบหลักสูตรนี้ จะได้
ไปเกิดในที่ ๔ สถานนี้ หลักสูตรนี้มีดังนี้ คือไม่รักษาศีล ไม่ให้ทาน ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ เท่านี้ไป
เกิดในอบายภูมิได้สบาย ไม่มีใครขัดคอ

หลักสูตรเกิดเป็นมนุษย์

หลักสูตรมนุษย์นี้ ท่านเรียกมนุษยธรรม คือธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์มี ๕ อย่าง คือ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ และไม่ทรมานสัตว์ให้ลำบากด้วยเจตนา
๒. ไม่ถือเอาของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาตให้ ด้วยเจตนาขโมย
๓. ไม่ละเมิดสิทธิในกามารมณ์ที่เจ้าของไม่อนุญาต คือไม่ละเมิดภรรยา สามี ลูก หลาน
และคนในปกครอง ที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต
๔. ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน ไม่พูดเพ้อเจ้อ โดยไร้สาระ
๕. ไม่ดื่มสุราและเมรัย ที่ทำจิตใจให้มึนเมาไร้สติสัมปชัญญะ

ตามหลักสูตรนี้ ถ้าใครสอบได้ คือปฏิบัติได้ครบถ้วนท่านว่าตายแล้วเกิดเป็นมนุษย์ได้

หลักสูตรรูปพรหม

๑. ได้ฌานที่ ๑ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑, ๒, ๓
๒. ได้ฌานที่ ๒ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๔, ๕, ๖
๓. ได้ฌานที่ ๓ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗, ๘, ๙
๔. ได้ฌานที่ ๔ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑๐, และ ๑๑
ทั้งหมดนี้เป็นพรหมชั้นโลกีย์

หลักสูตรรูปพรหมอนาคามี

พรหมอีก ๕ ชั้นคือชั้นที่ ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖ รวม ๕ ชั้นนี้ ต้องได้บรรลุมรรคผล
เป็นพระอนาคามีได้ฌาน ๔ มาก่อน

สำหรับอรูปพรหม ๔ ชั้น

ท่านทั้ง ๔ ชั้นนี้ ท่านต้องเจริญฌานในกสิณแล้วเจริญอรูปฌาน ๔ ได้อีกจึงจะมาเกิดเป็น
อรูปพรหมได้ แต่ท่านก็ได้เพียงฌานโลกีย์ ไม่ใช่พระอริยเจ้า
หลักสูตรเทวดาและพรหมมีอย่างนี้ ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงความดี คือคุณธรรมที่เทวดาและ
พรหมปฏิบัติมาแล้ว จนเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมได้ ก็ชื่อว่าท่านได้รับผลความดีที่ท่านปฏิบัติมาแล้ว
ถ้าเราปฏิบัติอย่างท่าน เราก็อาจจะมีผลความสุขเช่นท่าน เพราะเทวดาขนาดเลวนั้น ดีกว่ามนุษย์ชั้นดี
อย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย เพราะเทวดามีกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่เป็นทิพย์ ไปไหนก็เหาะไปได้ ไม่ต้อง
เหน็ดเหนื่อยเหมือนเรา ฉะนั้นความดีของเทวดานี้ ถึงจะยังไม่ถึงความดีในนิพพาน แต่ก็เป็นสะพาน
สำหรับปฏิบัติเพื่อผลในพระนิพพานได้เป็นอย่างดี ดีกว่ามาคิดว่าเทวดาไม่เป็นเรื่อง เทวดาไม่มี เรา
เป็นพุทธสาวก เมื่อพระพุทธเจ้าท่านว่ามี เราก็ควรเชื่อไว้ก่อน แล้วสร้างสมาธิทำทิพยจักษุญาณให้เกิด
ตรวจสอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง จะพบว่าที่ท่านสอนว่า เทวดา พรหม นรก สวรรค์
มีจริงนั้น ท่านสอนตรง ไม่ใช่สอนแบบยกเมฆ ท่านบูชาเทวดา ท่านอาจดีตามเทวดา แต่ท่านด่าเทวดา
ท่านอาจไม่ได้พบเทวดาเลย
เทวตานุสสตินี้ ถ้าฝึกจนเกิดอุปจารฌานแล้ว ท่านเจริญวิปัสสนาญาณต่อ ท่านจะเข้าถึง
มรรคผลได้ไม่ยาก เพราะเป็นภูมิธรรมที่ละเอียด และมีแนวโน้มเข้าไปใกล้พระนิพพานมาก

(ขอยุติเทวตานุสสติไว้เพียงเท่านี้)
๗. มรณานุสติกรรมฐาน

มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดา
ของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้
รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของธรรมดาที่
ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์อะไร ?
ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยากเพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดาจริง แต่
ทว่าเห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ คนที่รักของ
ตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวาย ไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุกทางที่จะ
ไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใครจะหนีความตาย
ไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวาย ต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้ เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา ไม่มี
ทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็น
สิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสามอย่างด้วยกัน คือ
๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ ท่านเสร็จกิจ
แห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่าน
ให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอน
ไม่กลับมาเกิดอีก
๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ
เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอด คือ
ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออก และเกิดต่อทุก ๆ
ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราว เมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่า
ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทน แต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทดแทน ชีวิตก็จะต้องดับ
ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่า ท่านถือว่าร่างกาย
ต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตาย
ต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้วไม่หายใจ
เข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันทีที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุน
ทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่า มีความตายเป็นปกติทุกวันเวลา
อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ
๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลกนิยม
เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึง
กาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้
พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตาม
แบบกาลมรณะ ตายไปแล้ว เสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไป
เสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือ รอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึง
เวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้น ต้องลำบากใน
เรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า
ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่า
ตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การ
ตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือ สามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์
หรือต่ออายุ การสะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้แต่ถ้าต่อแบบ
หมอต่อยังมืดมนท์ด้วยกิเลสแล้วไม่มีทางสำเร็จผล ไม่ต่อดีกว่า ขืนต่อก็เท่ากับไปต่อชีวิตหมอให้มี
ความสุขส่วนผู้ต่อกลายเป็นผู้ต่อทุกข์ไป เรื่องต่ออายุนี้มีเรื่องมาในพระสูตรคือเรื่องของท่าน
อายุวัฒนสามเณร

เรื่องย่อดังนี้

วันหนึ่ง บิดามารดาพาท่านเมื่อยังเกิดไม่กี่เดือนไปหาพระพุทธเจ้า (ขอเล่าลัด ๆ) เมื่อ
บิดาลาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า "ทีฆายุโก โหตุ" แปลว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน พอแม่เข้าลาท่าน
ก็ว่าอย่างนั้น ตอนท้าย สองผัวเมียให้ลูกชายกราบลาท่าน ท่านไม่พูด คือท่านเฉยเสีย สองผัวเมีย
แปลกใจถามว่า เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันสองผัวเมียกราบลา พระองค์ให้พรว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน
แต่พอเกล้ากระหม่อมฉันให้ลูกชายลา พระองค์ทรงนิ่ง เหตุอะไรจะมีแก่บุตรชายเกล้ากระหม่อมฉัน
ทั้งสองหรือพระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ตรัสตอบว่า เพราะบุตรชายของเธอจะตายภายใน ๗ วันนี้ ตถาคตจึงไม่กล่าวอย่างนั้น
สองผัวเมียฟังแล้วตกใจ ขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์สั่งให้ไปปลูกโรงพิธีกลางลานบ้านแล้วให้เอา
พระไปนั่งล้อมเด็กสวดพระปริตครบ ๗ คืน ๗ วัน พอวันที่ ๗ เป็นวันตายของเด็ก เพราะยักษ์จะมาเอา
ชีวิตวันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเอง เมื่อพระองค์เสด็จ พรหมและเทวดาผู้ใหญ่มามาก ยักษ์เข้าไม่ถึง
พอครบเวลาที่ยักษ์จะเอาชีวิต หมายความว่า ถ้าเลยเวลาเขาทำไม่ได้ เขาทำตามกฎของกรรมว่าจะ
ให้ตายเวลาเท่าใดเวลาเท่านั้น เขาจะต้องทำให้ได้ ถ้าเลยเวลาแล้วเขาก็ไม่ทำ พอเลยเวลาที่เด็กจะ
ต้องตาย พระพุทธเจ้าท่านก็พาพระกลับ เลิกพิธี ก่อนกลับพระองค์ให้พรแก่เด็กว่า ทีฆายุโกโหตุ
ต่อมาเด็กคนนั้นมาบวชเณรเมื่ออายุ ๗ ปี ได้สำเร็จพระอรหันต์ ท่านมีอายุครบ ๑๒๐ ปี จึงนิพพาน
พวกอกาลมรณะนี้ ต่อได้อย่างนี้ แต่การต่อต้องเป็นผู้รู้จริง ทำถูกต้องจริง และการทำให้ต้องไม่
ปรารภสินจ้างรางวัล ทำเพื่อการสงเคราะห์จริงๆ จึงเกิดผลว่า จะพูดเรื่องตายเป็นกรรมฐานแอบมาเป็น
หมอต่ออายุเสียแล้ว ขอวกกลับไปเรื่องมรณานุสสติใหม่

นึกถึงความตายมีประโยชน์

ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้แสวงหา
ความดีใส่ตัว โดยรู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่ยากจนอีก ก็พยายามให้
ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมาะพอดี
ไม่เดือดร้อนภายหลังนั่นแหละจึงจะควร
รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอ ๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับ
บัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ใน
ชาติหน้า จะได้พยายามรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้ว ก็จะได้รับอานิสงฆ์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มี
โรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใคร
ดื้อด้านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั่น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ
ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่ง
ประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีกก็
เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้วเจริญวิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ซึ่งเป็นของไม่หนักเลย
สำหรับท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่าเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เพราะกรรมฐานกองนี้
เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะได้ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้อง
อาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์แม้แต่จะเป็น
พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์
ตรัสถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูล
ตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึง
ความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็นของดี แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึง
ความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะตายแล้วย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากความ-
ชั่วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่า เราต้องตายแน่
ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ กำหนดการเกิดหมอบอกได้ แต่กำหนดเวลาตายไม่มีใครกำหนด
ได้แน่นอนสำหรับปุถุชนคนธรรมดา สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐาน
ท่านสามารถบอกเวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยาเจ้าที่จะบอกเวลาตายได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้
วิชชาสามเป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้น ท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกันท่านเปรียบ
ชีวิตไว้คล้ายกับขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฏว่ามีเส้น แล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไป ชีวิตของ
สัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกัน ความตายรออยู่แค่ปลายจมูก ถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาวะเมื่อนั้น
เอาความยั่งยืนไม่ได้เลย
ท่านเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็น
ปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควรแก่ความ
ต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่า ความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไปก็
มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็น
เหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่ง จะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ก็สมบัติอะไร
ในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือ
พระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานเป็นปกติ อย่างนี้
ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันแน่นอน

(ขอยุติมรณานุสสติไว้แต่โดยย่อเพียงเท่านี้)
๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน

กายคตานุสสติ แปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มีความโสโครก
ตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่พระอริยเจ้าทุกองค์
ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สำเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยมพิจารณาให้เห็นว่าไม่สวย
ไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่าสะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์ และกายคตานุสสตินี้ เป็น
กรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยคาวจรพิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติ
ผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌาน แต่ถ้ายึดสีต่าง ๆ ร่างกายที่ปรากฏมีสีแดงของเลือดเป็นต้น ยึดเป็น
อารมณ์ในการเพ่งเป็นกสิณ กรรมฐานกองนี้ก็มีผลได้ฌาน ๔ ตามแบบของกสิณ
การพิจารณาท่านเขียนไว้ในวิสุทธิมรรควิจิตรพิศดารมาก จะไม่ขอกล่าวตามจนละเอียด
ขอกล่าวแต่เพียงย่อ ๆ พอได้ความ หากท่านนักปฏิบัติมีความข้องใจ หรือสนใจในความละเอียดครบ
ถ้วน ก็ขอให้หาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะเข้าใจละเอียดมากขึ้น ตามแนวสอนในวิสุทธิมรรคท่าน
ให้พิจารณาอาการ ๓๒ คราวละ ๕ อย่าง เช่น พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ รวม ๕ อย่างเป็น
หมวดหนึ่ง ท่านให้พิจารณาตามลำดับและย้อนกลับ เช่น พิจารณาว่า เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ย้อน
จากปลายมาต้น เรียกว่าปฏิโลม คือถอยกลับ ให้พิจารณาทั้งสีและสัณฐาน สภาพตามความเป็นจริงว่า
ไม่มีอะไรสวยงาม เพราะมีความสกปรกโสโครกอยู่เป็นปกติ ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณอยู่เสมอ ๆ ทั้ง ๆ
ที่คอยประคับประคองอยู่เพียงใด สิ่งเหล่านี้ก็ยังจะมีการแปดเปื้อนสกปรกอยู่เสมอ เช่น ผมต้องคอยหวี
คอยสระชำระอยู่ทุกวัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเพียง ๓ วัน เหงื่อไคลก็จะจับทำให้เหม็นสาบ เหม็นสาง
รวมกายทั้งกายนี้ ท่านแสวงหาความจริงจากกายทั้งมวลว่า มันสวยจริง สะอาดจริงหรือไม่ ค้นคว้าหา
ความจริงให้พบ กายทั้งกายที่ว่าสวยน่ารักนั้นมีอะไรเป็นความจริง ความสวยของร่างกายมีความจริง
เป็นอย่างนี้ ร่างกายทั้งกายที่ว่าสวยนั้น ไม่มีอะไรสวยจริงตามที่คิด เพราะกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครก
คืออวัยวะภายใน มีตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ
เหงื่อไคล ที่หลั่งไหลออกมาภายนอกนั้น ความจริงขังอยู่ภายในของร่างกาย ที่มีหนังกำพร้าหุ้มห่ออยู่
ถ้าลอกหนังออก จะเห็นร่างนี้มีเลือดไหลโทรมทั่วกาย เนื้อที่ปราศจากผิวคือหนังหุ้มห่อ จะมองไม่เห็น
ความสวยสดงดงามเลย ยิ่งมีเลือดหลั่งไหลทั่วร่างแล้ว ยิ่งไม่น่าปรารถนาเลย แทนที่จะน่ารัก น่า
ประคับประคอง กลับกลายเป็นของน่าเกลียด ไม่มีใครปรารถนาจะอยู่ใกล้ ถ้าลอกเนื้อออก จะแล
เห็นไส้ใหญ่ ไส้น้อย ปอด กระเพาะอุจจาระ กระเพาะปัสสาวะ และม้าม ไต น้ำเลือด น้ำเหลือง
น้ำหนอง เสลด หลั่งไหลอยู่ทั่วร่างกาย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ถ้าจะฉีกกระเพาะ
ออก ภายในกระเพาะจะพบอุจจาระ ปัสสาวะอยู่ภายใน เป็นภาพที่อยากหนีมากกว่าเป็นภาพที่น่ารัก
ถ้าเอาอวัยวะต่าง ๆ ออกหมด จะเห็นแต่ร่างโครงกระดูกที่มีสภาพเหมือนโครงบ้านเรือนตั้งตระหง่าน
อยู่ โครงกระดูกทั้งสองร้อยท่อนนี้ ปะติดปะต่อกันอยู่เป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ มีเนื้อและเลือดติด
เกรอะกรัง ท่านคิดตามไป ท่านเห็นหรือยังว่า ส่วนที่มีเปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่า พอจะเป็นของสวยของงาม
มีนิดเดียวคือ ตอนหนังกำพร้าเท่านั้น หนังนี้ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปก็หาไม่ ต้องคอยชำระล้าง
ตลอดวันและเวลาเพราะสิ่งโสโครกภายในพากันหลั่งไหลมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวตลอดวัน
ถ้าไม่คอยชำระล้าง เจ้าตัวปฏิกูลนั้นก็จะพอกพูนเสียจนเลอะเทอะ แถมจะส่งกลิ่นเหม็นสาบเหม็นสาง
ตลบไปทั่วบริเวณช่องทวาร อุจจาระ ปัสสาวะ ก็จะพากันหลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาที่มันต้อง
ออก สิ่งที่น่าคิดก็คือ ผู้นิยมตนเองว่าสวย หรือเทิดทูนใครก็ตามว่าสวย ต่อเมื่อสิ่งโสโครกหลั่งไหล
ออกมาเขากลับไม่สนใจ ไม่พยายามมองหาความจริงจากของจริง กลับรอให้ชำระล้างสิ่งโสโครก
เสียก่อน จึงใคร่ครวญและสนใจ ต่างคนต่างพยายามหลบหลีก ไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังขารร่างกาย
ในส่วนที่สกปรกโสโครก ทั้งนี้ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความจริงไว้ ทั้งๆ ที่อุจจาระหลั่งไหลออกมา
ทุกวัน เหงื่อไคลมีเสมอ เสมหะน้ำลายออกไม่เว้นแต่ละนาที แต่เจ้ากิเลสและตัณหามันก็พยายาม
โกหกมดเท็จ ปัดเอาความจริงออกมาจากความรู้สึก หากทุกคนพยายามสอบสวน ทบทวนความรู้สึก
ค้นคว้าหาความจริง ยอมรับรู้ตามกฎของความจริงว่า สังขารร่างกายนี้ไม่มีอะไรน่ารัก มีสภาพเป็น
ส้วมเคลื่อนที่ เพราะภายในมีสิ่งโสโครกต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเรารัก เราก็รักส้วม ถ้าเรา
ประคับประคองเราก็ประคับประคองส้วม ถ้าเราเทิดทูน เราก็เทิดทูนส้วม จะว่าส้วมปกติเลวแล้ว
ความจริงส้วมปกติดีกว่าส้วมเคลื่อนที่มาก เพราะส้วมปกติมันตั้งอยู่ตามที่ของมัน มันไม่ไปรบกวน
ใคร เราไม่เดินเข้าใกล้ มันก็ไม่มาหาเรา ไม่รบกวนไม่สร้างทุกข์ ไม่หลอกหลอน ไม่ยั่วเย้ายียวน
ชวนให้เกิดราคะ แต่เจ้าส้วมเคลื่อนที่นี่มันร้ายกาจ เราไม่ไปมันก็มา เราไม่มองดูมันก็พูดให้ได้ยิน
เสแสร้งแกล้งตกแต่งปกปิดสิ่งที่น่าเกลียดด้วยสีผ้าที่หลาก กลบกลิ่นเหม็นด้วยกลิ่นหอม หาอาภรณ์
มาประดับ เพื่อปกปิดพรางตากันเห็นสิ่งที่ไม่น่าชม เพื่อตาจะได้หลงเหยื่อติดในอาภรณ์เครื่องประดับ
ผู้เห็นที่ไร้การพิจารณา และมีสภาพเป็นส้วมเคลื่อนที่เช่นเดียวกัน เป็นส้วมที่ไร้ปัญญาเหมือนกัน
ต่างส้วมต่างก็หลอกหลอนกัน ปกปิดสิ่งโสโครกมิให้กันและกันเห็นความจริงทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีครบถ้วน
แทนที่จะเห็นตัว รู้ตัวว่า ข้านี้ก็เป็นผู้เลิศในความเหม็น เลิศในส่วนของความสกปรกเหมือนเธอ
แทนที่จะเป็นอย่างนั้นกลับปกปิดพยายามชมตนเองว่า ฉันนี่แหละยอดผู้ศิวิไลซ์ละ อนิจจา น่าสงสาร
สัตว์ผู้เมาไปด้วยกามราคะ มีอารมณ์หน้ามืดตามัวเพราะอำนาจกิเลสแท้ ๆ ถ้าเขาจะมองตัวเองสักนิด
ก็จะเห็นตัวเอง และจะมองเห็นผู้อื่นตามความเป็นจริง พระอริยเจ้าท่านนิยมความจริง รู้จริง เห็นจริง
ค้นคว้าจริง ไม่หลอกหลอนตนเอง ท่านจึงได้บรรลุมรรคผล เพราะพิจารณาตนเองเป็นส่วนใหญ่ ขอท่าน
นักปฏิบัติเพื่อความสุขของตัวทั้งหลาย จงพิจารณาตนเองให้เห็นชัด จนได้นิมิตเป็นปฏิภาคนิมิต สร้าง
สมาธิให้เป็นอัปปนาสมาธิ โดยพิจารณาสังขารให้เห็นว่าไม่สวยงามนี้ เมื่อถึงอัปปนาสมาธิแล้ว จงยึดสี
ที่ปรากฏในร่างกายมีสีแดงเป็นต้นหรือจะเป็นสีอะไรก็ได้ยึดเอาเป็นอารมณ์กสิณ ท่านจะได้ฌานที่ ๔
ภายในเวลาเล็กน้อย ต่อไปก็ยึดสังขารที่ท่านเห็นว่าน่าเกลียดนี้ ให้เห็นอนิจจังคือความไม่เที่ยงเพราะมี
ความเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปทุกวันเวลาเป็นปกติ ทุกขังเพราะอาศัยที่มันเคลื่อนไปสู่ความทำลาย
ทุกวันเวลา มันนำความไม่สบายกายไม่สบายใจจากโรคภัยไข้เจ็บ และในการกระทบกระทั่งทางอารมณ์
ให้เกิดความเดือดร้อนทุกวันเวลา จึงจัดว่าสังขารร่างกายนี้เป็นรังของความทุกข์ ให้เห็นเป็นอนัตตา
เพราะความเสื่อมความเคลื่อนและในที่สุดคือความทำลายขันธ์ เราไม่ต้องการอย่างนั้น แต่มันจะต้อง
เป็นไปตามนั้นเพราะเป็นกฎธรรมดาของขันธ์ จะต้องเป็นอย่างห้ามไม่ได้ บังคับไม่อยู่ ยอมรับนับถือว่า
มันเป็นอนัตตาจริง เพราะความเป็นอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ของสังขารร่างกายนี้แหละ พระพุทธเจ้าจึง
สอนให้ปล่อยอารมณ์ในการยึดถือเสีย เพราะจะยึดจะถือเพียงใดก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ สังขาร
ร่างกายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าที่มีใจครองหรือไม่มีใจครอง ตราบใดที่เรายังต้องการสังขาร
เราต้องประสบความทุกข์ ความทรมาน เพราะสิ่งโสโครกที่เข้าประกอบเป็นขันธ์ เราเห็นสภาพความ
จริงของสังขารร่างกายนี้ว่า เป็นของโสโครก ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา ควรปลีกตัวออกให้พ้นจริง เรา
เห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนจริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นทุกข์จริง เราเห็น
สังขารร่างกายว่าเป็นอนัตตาจริง ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็น
ทุกข์อย่างนี้ เราไม่ต้องการความเกิดอีก เราไม่ปรารถนาชาติภพอีก เพราะชาติความเกิดเป็นแดนอาศัย
ของความทุกข์ โรคนิทธัง เรือนร่างของขันธ์ ๕ เป็นรังของโรค ถ้าร่างกายไม่มี โรคที่จะเบียดเบียนก็
ไม่มี เพราะไม่มีร่างกายให้โรคอาศัย ปภังคุนัง เรือนร่างมีสภาพต้องผุพังถ้าไม่มีเรือนร่าง เรื่องการผุพัง
อันเป็นเครื่องเสียดแทงใจให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี เมื่อร่างไม่มีจะเอาอะไรมาเป็นอนัตตา เราไม่ต้องการทุกข์
ที่มีความเกิดเป็นสมุฏฐาน เราไม่ต้องการความเกิดในวัฏฏะอีก เราต้องการพระนิพพานที่ไม่มีความเกิด
และความตายเป็นแดนเกษมที่หาความทุกข์มิได้ พระนิพพานนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ท่านที่จะไปสู่
พระนิพพานได้ไม่มีอะไรยาก ท่านสอนให้พิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกายว่าโสโครก ถอนความรัก
ความอาลัยในสังขารเสีย บัดนี้เราปฏิบัติครบแล้ว เราเห็นแล้ว เราตัดความเห็นว่าสวยงามในสังขาร
ได้แล้วเราเชื่อแล้วว่า สังขารร่างกายเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์ยึดมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา
เราคือร่างกาย ร่างกายคือเรา ความคิดเห็นอย่างนี้เป็นความเห็นของผู้มีอุปาทานเรารู้แล้ว เราเห็น
ถูกแล้ว คือ เราเห็นว่าสังขารร่างกายไม่น่ารัก มีความสกปรกน่าสะอิดสะเอียน ร่างกายไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่มีสภาพไม่แก่ ไม่ตาย ไม่สลายตัว
ที่เข้ามาอาศัยร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นนามธรรม ๔ อย่าง เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องจักรกลที่บริหารตนเองโดยอัตโนมัติ
ร่างกายนี้ค่อยเจริญขึ้นและเสื่อมลง มีการสลายตัวไปในที่สุด พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ตัด ฉันทะ
ความพอใจในสรรพสังขารทั้งหมดเสียให้ได้ และให้ตัด ราคะ คือความกำหนัดยินดีในสรรพสังขาร
ทั้งหมด คือ ไม่ยึดอะไรเลยในโลกนี้ว่า เป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีอะไรในเรา เราไม่มีในอะไรทั้งสิ้น
เราคือจิตที่มีคุณวิเศษดีกว่าอัตภาพทั้งปวง เราเกลียดสรรพวัตถุทั้งหมด เราไม่ยอมรับสรรพวัตถุ
แม้แต่เรือนร่างที่เราอาศัยนี้ว่าเป็นของเราและเป็นเรา เราปล่อยแล้วในความยึดถือ แต่จะอาศัยอยู่
ชั่วคราวเพื่อสร้างสรรค์ความดี สังขารจะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องของสังขาร สังขารร่างกายจะผุพัง
ก็เป็นเรื่องของสังขารร่างกาย เราไม่รับรู้รับทราบ เราว่างแล้วจากภาระในการยึดถือ เรามีความสุขแล้ว
เรามีพระนิพพานเป็นที่ไปในกาลข้างหน้า สร้างอารมณ์ ความโปร่งใจให้มีเป็นปกติ ยึดพระนิพพาน
เป็นอารมณ์ ทำจนเป็นปกติ จิตยึดความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจนเป็นปกติ เห็นอะไร ได้อะไรมา
คิดเห็นว่า นี่มันไม่ใช่ของเราจริง เขาให้ก็รับ เพื่อเกื้อกูลแก่อัตภาพชั่วคราว ไม่ช้าก็ต่างคนต่างสลาย
ทั้งของที่ได้มาและอัตภาพ ใครไปก่อนไปหลังกันเท่านั้น จนอารมณ์มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ จิตก็
จะว่างจากอุปาทาน ในที่สุดก็จะถึงพระนิพพานสมความมุ่งหมาย



(อธิบายในกายคตานุสสติโดยย่อพอได้ความ ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้)


๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน

อานาปานานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่
คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เสียสิ้น เพราะจะปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้อง
กำหนดลมหายใจเสียก่อน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกำหนดลมหายใจร่วมไปพร้อม ๆ กับกำหนดพิจารณา
กรรมฐานกองนั้น ๆ จึงจะได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าละเว้นการกำหนด
เสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญ จะไม่ได้ผลรวดเร็วสมความมุ่งหมาย อานาปานุสสตินี้ มีผลถึงฌาน ๔
สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นพุทธสาวก ถ้าท่านที่มีบารมีในวิสัยพุทธภูมิ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์คือท่าน
ที่ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านผู้นั้นจะทรงฌานในอานาปาน์นี้ถึงฌานที่ ๕

อานาปานุสสติระงับกายสังขาร

เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นทางกาย ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสติ เข้าฌานในอานาปาน์
จนถึงจตุตถฌานแล้ว ทุกขเวทนานั้นจะระงับไปทันที ทั้งนี้มิใช่หมายความว่าเวทนาหายไป แต่เป็น
เพราะเมื่อเข้าถึงฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จิตจะแยกออกจากขันธ์ ๕ ไม่รับรู้ทุกขเวทนาของขันธ์
ทันที ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสตินี้ ท่านจะไม่ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส เมื่อทุกข์ทางร่างกาย
เกิดขึ้น เพราะท่านหนีทุกข์ได้ด้วยการเข้าฌาน แยกจิตกับขันธ์ ๕ ออกจากกันเป็นกรรมฐานที่ให้ผล
สูงมาก

รู้เวลาตายได้แน่นอน

ท่านที่ได้ฌานอานาปานุสสตินี้ สามารถรู้กำหนดเวลาตายของท่านได้ตรงตามความจริง
เสมอ โดยกำหนดล่วงหน้าได้เป็นเวลาแรมปี เมื่อจะตาย ท่านก็สามารถบอกได้ว่า เวลาเท่านั้นเท่านี้
ท่านจะตาย และตายด้วยอาการอย่างไร เพราะโรคอะไร

ช่วยกรรมฐานกองอื่น

ท่านที่ได้ฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จะปฏิบัติในกรรมฐานกองอื่น ๆ อีก ๓๙ กองนั้น
ท่านเข้าฌานในอานาปานน์ก่อน แล้วถอยหลังจิตมาดำรงอยู่แค่อุปจารสมาธิ แล้วกำหนดกรรมฐาน
กองนั้นๆ ท่านจะเข้าถึงจุดสูงสุดในกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ภายใน ๓ วัน เป็นอย่างช้า ส่วนมาก
ได้ถึงจุดสูงสุดของกรรมฐานกองนั้น ๆ ภายในที่นั่งเดียว คือคราวเดียวเท่านั้นเอง

จุดจบของอานาปานุสสติ

จุดจบของอานาปานุสสตินี้ คือ ฌานที่ ๔ หรือที่ ๕ ก็ได้แก่การกำหนดลมหายใจจนไม่
ปรากฏลมหายใจ ที่ท่านเรียกกันว่าลมหายใจขาด แต่ความจริงลมหายใจไม่ขาดหายไปไหน เพียง
แต่ว่ากายกับจิตแยกกันเด็ดขาด จิตไม่รับทราบอาการทางกายเท่านั้น เมื่อจิตไม่รับรู้เสียแล้ว การ
หายใจ หรือการเคลื่อนไหวใด ๆ ทางกาย จึงไม่ปรากฏแก่จิตตามความนิยม ท่านเรียกว่า ลมขาด

วิธีปฏิบัติในอานาปานุสสติ

การปฏิบัติในอานาปานุสสตินี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่มีในองค์
ภาวนา และไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก เพียงแต่คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกตามฐานที่กำหนดไว้ให้รู้
อยู่หรือครบถ้วนเท่านั้น เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก พร้อมกับสังเกต
ลมกระทบฐาน ๓ ฐาน ดังจะกล่าวต่อไปให้ทราบ

ฐานที่กำหนดรู้ของลม

ฐานกำหนดรู้ที่ลมเดินผ่านมี ๓ ฐาน คือ
ก. ฐานที่ ๑ ท่านให้กำหนดที่ริมฝีปาก และที่จมูก เมื่อหายใจเข้า ลมจะกระทบที่จมูก
เมื่อหายใจออกลมจะกระทบที่ริมฝีปาก
ข. ฐานที่ ๒ หน้าอก เมื่อลมผ่านเข้าหรือผ่านออกก็ตาม ลมจะต้องกระทบที่หน้าอก หมายเอา
ภายใน ไม่ใช่หน้าอกภายนอก ลมกระทบทั้งลมเข้าและลมออกเสมอ
ค. ศูนย์ที่ท้องเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจเข้าหรือออกก็ตาม จะต้องกระทบที่ท้องเสมอ
ทุกครั้ง
๓ ฐานนี้มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เพราะถ้าจิตกำหนดจับฐานใด
ฐานหนึ่งไม่ครบ ๓ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของจิตระงับอกุศลที่เรียกว่านิวรณ์ ๕ ได้ แต่อารมณ์หยาบ
อารมณ์อกุศลที่เป็นอารมณ์กลางและละเอียดยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้น อย่างสูงก็ได้เพียง
ขณิกสมาธิละเอียดเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงอุปจารสมาธิ ยังไกลต่อฌานที่ ๑ มาก
ถ้าท่านผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ลมผ่านได้ ๒ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของท่านผู้นั้นดับอกุศล คือ
นิวรณ์ได้ในอารมณ์ปานกลาง ส่วนอารมณ์นิวรณ์ที่ละเอียดอันเป็นอนุสัย คือกำลังต่ำยังระงับไม่ได้
สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็แค่อุปจารสมาธิ จวนจะเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
ถ้าผู้ใดกำหนดรู้ ลมผ่านกระทบได้ทั้ง ๓ ฐาน ท่านว่าท่านผู้นั้นระงับนิวรณ์ละเอียดได้แล้ว
สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน
ส่วนฌานต่าง ๆ อีกสามคือ ฌานที่ ๑, ๒, ๓, ๔ อยากทราบโปรดพลิกไปดูในข้อที่ว่าด้วย
ฌาน จะเข้าใจชัด

นับลม

การฝึกในอานาปาน์ จะว่าง่ายนั้น ก็ดูจะเป็นการยกเมฆเกินไป เพราะอานาปาน์เป็น
กรรมฐานใหญ่ที่ครอบงำกรรมฐานทั้งหมด จะง่ายตามคิดนั้นคงเป็นไปไม่ได้แน่ ท่านที่ไม่เคยผ่าน
คงคิดว่าไม่น่ายากเลย เรื่องคิดแล้วไม่ทำ นำเอาไปพูดนั้น ที่ว่าไม่ยากก็ไม่เถียง เพราะพวกนี้มี
ความดีอยู่แค่ริมฝีปาก ส่วนอื่นทั้งตัวไม่มีอะไรดีเลย เลวเสีย ๙๙.๙๙ มีดีนิดเดียว ท่านจะคุยโม้
อย่างไรก็ช่างท่านเถิด เรามาเอาดีทางปฏิบัติกันดีกว่า
การกำหนดลมเป็นของยาก เพราะจิตของเราเคยท่องเที่ยวมานาน ตามใจเสียจนเคย
จะมาบังคับกันปุบปับให้อยู่นั้นเมินเสียเถอะ ที่จิตจะยอมหมอบราบคาบแก้ว เมื่อระวังอยู่แกก็ทำท่า
เหมือนจะยอมจำนน แต่พอเผลอเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แกก็ออกแน็บไปเหนือไปใต้ตามความ
ต้องการของแก กว่าเจ้าของจะรู้ก็ไปไกลแล้ว อารมณ์ของจิตเป็นอย่างนี้ เมื่อทำไปถ้าเอาไม่อยู่
ท่านให้ทำดังต่อไปนี้

ฝึกทีละน้อย

ท่านสอนให้นับลมหายใจเข้า หายใจออก เข้าครั้ง ออกครั้ง นับเป็นหนึ่ง ท่านให้กำหนด
นับดังต่อไปนี้
นับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เอาแค่เข้าออก ๕ คู่ นับไปและกำหนดรู้ฐานทั้ง ๓ ไปด้วย กำหนดใจ
ไว้ว่า เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกเพียง ๔ คู่ พร้อมด้วยรู้ฐานลมทั้ง ๓ ฐาน แล้วก็เริ่มกำหนด
ฐานและนับลม พอครบ ๕ คู่ ถ้าอารมณ์ยังสบาย ก็นับไป ๑ ถึง ๕ เอาแค่นั้น พอใจเริ่มพล่าน ถ้าเห็นท่า
จะคลุมไม่ไหว ก็เลิกเสียหาความเพลิดเพลินตามความพอใจ เมื่ออารมณ์ดีแล้วกลับมานับกันใหม่
ไม่ต้องภาวนา เอากันแค่รู้เป็นพอ เมื่อนับเพียง ๕ จนอารมณ์ชินไม่หนีไม่ส่ายแล้ว ก็ค่อยเลื่อนไปเป็น
๖ คู่ คือ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ ถ้า ๖ คู่ สบายดีไม่มีอะไรรบกวน แล้วก็ค่อยเลื่อนไปเป็น ๗ คู่ ๘ คู่ ๙ คู่
๑๐ คู่ จนกว่าอารมณ์จิตจะทรงเป็นฌานได้นานตามสมควร

ผ่อนสั้นผ่อนยาว

การเจริญอานาปานุสสตินี้ มีอาการสำคัญของนักปฏิบัติใหม่ ๆ อย่างหนึ่ง คืออารมณ์ซ่าน
เวลาที่จิตใจไม่สงบจริงมีอยู่ พอเริ่มต้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เริ่มเล่นงานทันที บางรายวันนี้ทำได้เรียบร้อย
อารมณ์สงัดเป็นพิเศษ จิตสงัดผ่องใส อารมณ์ปลอดโปร่งกายเบา อารมณ์อิ่มเอิบ พอรุ่งขึ้นอีกวัน คิดว่า
จะดีกว่าวันแรก หรือเอาเพียงสม่ำเสมอแต่กลับผิดหวัง เพราะแทนที่จะสงัดเงียบ กลับฟุ้งซ่านจนระงับ
ไม่อยู่ ก็ให้พยายามระงับ และนับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕,๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ถ้านับก็ไม่เอาเรื่องด้วย ยิ่งฟุ้งใหญ่
ท่านตรัสสอนไว้ในบทอานาปานุสสติว่า เมื่อเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้จริง ๆ ท่านให้ปล่อยอารมณ์ แต่อย่า
ปล่อยเลย ให้คอยระวังไว้ด้วย คือปล่อยให้คิดในเมื่อมันอยากคิด มันจะคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไป
ตามสบาย ไม่นานนักอย่างมากไม่เกิน ๒๐ นาที อารมณ์ซ่านก็จะสงบระงับกลับเข้าสู่อารมณ์สมาธิ
เมื่อเห็นว่าอารมณ์หายซ่านแล้วให้เริ่มกำหนดลมตามแบบ ๓ ฐานทันที ตอนนี้ปรากฏว่าอารมณ์สงัด
เป็นอันดี มีอารมณ์เป็นฌานแจ่มใส อาการอย่างนี้มีแก่นักปฏิบัติอานาปานุสสติเป็นปกติ โปรดคอย
ระลึกไว้ และปฏิบัติตามนี้จะได้ผลดี

อานาปาน์พระพุทธเจ้าทรงเป็นปกติ

เพื่อความอยู่เป็นสุขในสมบัติ ไม่มีสมาบัติใดที่จะอยู่เป็นสุขเท่า อานาปานานุสสติ เพราะ
เป็นสมาบัติที่ระงับกายสังขาร คือดับเวทนาได้ดีกว่าสมาบัติอื่น แม้จะเป็นสมาบัติต้นก็ตาม พระอรหันต์
ทุกองค์ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็ทรงอยู่เป็นสุขด้วยอานาปานานุสสติดังพระปรารภ
ของพระองค์ที่ทรงปรารภแด่พระอานนท์ว่า อานันทะดูก่อนอานนท์ ตถาคตก็มากไปด้วยอานาปานุสสติ
เป็นปกติประจำวัน เพราะอานาปานานุสสติระงับกายสังขารให้บรรเทาจากทุกขเวทนาได้ดีมากท่านที่
ได้อานาปานานุสสติแล้ว จงฝึกฝนให้ชำนาญและคล่องแคล่วฉับไวในการเข้าฌานที่ ๔ เพื่อผลในการ
ระงับทุกขเวทนาอย่างยิ่ง และเพื่อผลในการช่วยฝึกฌานในกองอื่นอีกอย่างหนึ่ง

อานาปานานุสสติเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ

ผลกำไรใหญ่อีกอย่างหนึ่งของอานาปานานุสสติก็คือ เอาอานาปานานุสสติเป็นบาทของ
วิปัสสนาญาณ เพราะฌานที่ ๔ ของอานาปาน์ เป็นฌานระงับกายสังขาร ดับทุกขเวทนาได้ดี เมื่อ
จะเจริญวิปัสสนาญาณต่อไป ท่านให้เข้าฌาน ๔ พอเป็นที่สบายแล้วถอยสมาธิมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ
แล้วใคร่ครวญพิจารณาว่า ทุกขเวทนาที่เกิดแก่สังขาร เราจะรู้ว่าเป็นทุกข์ก็เพราะจิตที่ยึดถือเอาสังขาร
เข้าไว้ ขณะที่เราเข้าฌาน ๔ จิตแยกจากสังขาร ทุกขเวทนาไม่ปรากฏแก่เราเลย ฉะนั้น ทุกข์ทั้งปวง
ที่เรารับอยู่ก็เพราะอาศัยสังขารเป็นเหตุ การยึดถือสังขารเป็นทุกข์อย่างนี้ เราจะปล่อยไม่รับรู้เรื่องสังขาร
ต่อไป คือไม่ต้องการสังขารอีก การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็กลับมามีสังขารอีกเมื่อหมดบุญ เราไม่
ประสงค์การกลับมาเกิดอีก เทวดาหรือพรหม ยังมีปัจจัยให้มาเกิด เราไม่ต้องการ เราต้องการนิพพาน
เท่านั้นที่หมดปัจจัยในการเกิด เราทราบแล้ว เพราะการเข้าฌาน ๔ ที่ขาดจากปัจจัยในสังขาร เป็นสุข
อย่างยิ่ง แต่ฌานที่เข้าไปสามารถจะทรงได้ตลอดกาล สิ่งที่ทรงการละทุกขเวทนาได้ตลอดกาลก็คือ การ
ปล่อยอุปาทาน ได้แก่ไม่รับรู้รับทราบสมบัติของโลกีย์ คือตัดความใคร่ความยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ
สุข และไม่เดือดร้อนเมื่อสิ้นลาภ สิ้นยศ มีคนนินทา และประสบกับความทุกข์ จัดว่าเป็นอารมณ์ขัดข้อง
และเราจะปล่อยอารมณ์จากความต้องการในความรัก ความอยากได้ ความโกรธ และพยาบาท
ความเป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งปวง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุของความทุกข์ แล้วทำจิตให้ว่างจากอารมณ์
นั้น ๆ พยายามเข้าฌานออกฌาน แล้วคิดอย่างนี้เป็นปกติ จิตจะหลุดพ้นจากอาสวกิเลสได้อย่าง
ไม่ยากเลย


(จบอานาปานานุสสติ)

๑๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน

อุปสมานุสสติ แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่า
ระลึกถึงคุณของความเข้าไปสงบระงับจิตจากกิเลสและตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง
ท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงค
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 11:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือ แนวของพระอาจารย์หลวงปู่เทสก์ ก็เจ้งนะท่าน (ฝากให้ กรัซกาย 5)

พระธรรมคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)



วัดหินหมากแป้ง อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย




การฝึกสมาธิด้วยวิธีเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมอันลึกซึ้งและมีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

สติปัฏฐาน 4 มีอยู่พร้อมแล้วที่กายที่ใจของเราทุกๆ คน ทั้งเป็นของดีเลิศ ผู้ใดตั้งใจแลเลื่อมใสปฏิบัติตาม โดยความไม่ประมาท เต็มความสามารถของตนแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าอย่างช้า 7 ปี อย่างเร็ว 7 วัน อย่างสูงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำจะได้เป็นพระอนาคามี เป็นต้น

พระพุทธองค์เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่หกปี ได้ทรงนำเอาหลักวิชาที่ได้ศึกษามาทดสอบหาความจริง ก็ไม่เป็นผล มีแต่จะทำให้ฟุ้งส่ายไปมาไม่สงบ จึงทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้สัจธรรมได้ เมื่อพระองค์ทรงย้อนมาดำเนินตามแนว ฌาน-สมาธิ ที่พระองค์เคยได้เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีใครสอนให้ แล้วจิตของพระองค์ก็สามารถเข้าถึงองค์ฌาน ได้สำเร็จพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

นี่แสดงว่าเรื่อง ฌาน-สมาธิมัคคปฏิบัติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระกิเลสอารมณ์ เครื่องเศร้าหมองออกจากจิต จิตจึงบริสุทธิ์ ความรู้อันนี้จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วก็ได้ธรรมอันบริสุทธิ์ของจริงของแท้ขึ้นมา ดังคติธรรมที่ว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ และสำเร็จได้ด้วยใจ"
แปลเป็นแบบไทยๆ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่ง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี

ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงนำเอาแนวปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้วนั้น มาสอนให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม กายกับใจเป็นของอาศัยกันอยู่ เมื่อจะกระทำความดีหรือความชั่วจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การที่จะฝึกฝนชำระสะสางก็ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องชำระซักฟอก ศีลที่จะมีสมรรถภาพสามารถฟอกกายให้สะอาดได้ ก็ต้องอาศัยใจมีเจตนางดเวันในการทำความผิด ด้วยมีความรู้สึกเกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป
มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจบุญบาป ตกแต่งให้มาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วปัจจัยนิสัยเดิมมันตามมาคร่า ตามอำนาจนิสัยเดิม แล้วใจของเราก็ชอบเสียด้วยเพราะว่าติดในความเคยชินในความเป็นทาสของมัน

ฉะนั้นเมื่อจะรักษาศีล ก็มักจะอึดอัด ลังเลใจ เพราะกิเลสเป็นผู้บัญชาการอยู่ จิตเราจึงเดือดร้อนเพราะถูกกีดกันด้วยการรักษาศีล ดังนั้นศีลจึงให้โทษเป็นบาปแก่ผู้ขอสมาทานศีล จิตก็จะคอยแต่กาลเวลาให้หมดเขตของการรักษาศีล แม้ผู้บวชเป็นเณร เป็นพระก็เข้าทำนองนี้ ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจถึงการรักษาศีล หรือการปฏิบัติธรรมต่างๆ ว่าทุกอย่างนั้นสำเร็จด้วยใจ ด้วยความตั้งใจในการรักษาธรรมนั้นๆ ก่อนจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จึงควรมีศีลเป็นที่ตั้งเสียก่อน เพื่อให้กาย วาจา เกิดความบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วใจจะบริสุทธิ์ตามมาอีกทีหนึ่ง จะทำให้การปฏิบัติสติปัฏฐานมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น.


สติปัฏฐาน 4 เป็นโลกุตตรธรรมและเป็นที่อบรมสติได้อย่างดี ประกอบด้วย
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายนี้สักแต่ว่ากาย มิใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา
เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้สักว่า เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่า ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
สติปัฏฐาน 4 ถึงแม้ท่านจะจัดเข้าเป็นโลกุตตรธรรมแล้วก็ตาม ก็ยังต้องหมายเอาตัวของเราทุกๆ คนที่เป็นโลกียอยู่นี่เอง หมายความว่า การจะปฏิบัติให้ได้ สติปัฏฐาน 4 ได้ก็จำต้องเริ่มจากที่กายใจของเรา เหมือนกับต้องมีสิ่งสมมุติก่อน แล้วจึงจะพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เป็นอนัตตา

ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง-ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน4 ได้แก่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นั่นเอง


แนวปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนา

ผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐาน 4 แต่ละข้อนอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณ 5 แลทำความเลื่อมใสพอใจในการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่ให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีกที่เรายังมิได้เจริญ เพราะสติปัฏฐานทั้ง 4 เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งได้แล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ เพราะจะเป็นอุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน

นัยที่ 1-1 เมื่อเอาสติไปตั้งลงที่กาย แล้วให้เพ่งดูเฉพาะกายเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะกายให้เป็นธาตุ-อสุภ อันใดทั้งสิ้น แม้แต่คำว่า กาย หรือว่า ตน ก็ไม่ต้องไปคำนึง ให้ตั้งสติเพ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตแน่วแน่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว อารมณ์อื่นนอกนั้นมันก็จะหายไปเอง ในขณะนั้นจิตจะไม่ส่งส่ายไปในอดีต-อนาคต แม้แต่สมมุติบัญญัติว่าอันนั้นเป็นนั่น อันนี้เป็นนี่ก็จะไม่มี กายที่จิตไปเพ่งอยู่นั้นก็จะเห็นเป็นสักแต่ว่า วัตถุธาตุอันหนึ่งเท่านั้น มิใช่เรา มิใช่เขา หรือ สัตว์ ตัวตน บุคคลอะไรทั้งนั้น นี่เรียกว่า จิตเข้า เอกัคคตารมณ์ นั่นคือเข้าถึงสติปัฏฐานภาวนาโดยแท้

เมื่อจิตไปเพ่งวัตถุอันนั้นอยู่โดยไม่ถอน สักพักหนึ่งแล้ว วัตถุอันนั้นก็หายวับไป เมื่อสติไม่มีที่หมาย สติก็หมดหน้าที่ สติก็จะหายไปพร้อมๆ กัน แล้วจิตกับวัตถุภาพนั้นก็จะรวมเข้าเป็นจิตอันเดียว ซึ่งลักษณะคล้ายๆ กับคนนอนหลับ แต่มิใช่หลับเพราะมันยังมีความรู้เฉพาะตัวมันอยู่ต่างหาก แต่จะเรียกว่าความรู้ก็ยังไม่ถูก เพราะว่ามันนอกเหนือจากความรู้ทั่วไป นี่เรียกว่า เอกัคคตาจิต การเจริญสติปัฏฐานถึงที่สุดเพียงเท่านี้ สติปัฏฐานข้ออื่นๆ ก็เหมือนกัน

อาการของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ถ้าหากว่า จิตไม่รวมเป็นหนึ่งแต่มีการเกิดเป็นสองหรือมากกว่า ตัวจิตจะถอนออกมา จะมีความวุ่นส่งส่ายลังเล หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก่อนจิตจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เอกัคคตาจิตนั้น คืออาการของจิตทำงาน จะต้องต่อสู้หรือผจญต่างๆ เมื่อจิตได้รวมเป็นเอกัคคตาจิตแล้ว ก็จะดำเนินพักผ่อนตามพอควรแก่เวลา แล้วจิตก็ออกตรวจ-จัดระเบียบ-ชมผลงานของตน-พร้อมๆ กับเกิดความปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงในผลของงานนั้นๆ
ผลของการเจริญสติปัฏฐานทุกๆ ข้อ จะมีอาการคล้ายๆ กันทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีผิดกันบ้าง ซึ่งเป็นเพราะบุญบารมีนิสัยไม่เหมือนกัน
ความจริงการงานของกายกับงานของจิตก็คล้ายๆ กัน ผิดที่งานของกายทำด้วยวัตถุ ที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จแล้วก็พัก ส่วนงานของจิตทำด้วยนามธรรม (ปัญญา) ที่ยังหลงไปยึดไม่รู้เท่า เข้าใจตามเป็นจริง เมื่อชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญาแล้ว ก็หมดหน้าที่แล้วก็ปล่อย วางพักเอง

อนึ่ง ภาพนิมิตและความรู้ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังเจริญอยู่นี้ โดยมิได้ตั้งใจจะใหัมันเกิด แต่หากเกิดขึ้นเอง ด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ ตามจังหวะกำลังการเจริญนั้นๆ มิได้หมายความว่าทุกคนที่มาเจริญแล้วจะต้องเกิดภาพนิมิตก็หาไม่ เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะบุญบารมีนิสัยวาสนาของแต่ละคน และมิใช่แต่เรื่องภาพนิมิต เรื่องอื่นๆ ก็มีอีกแยะ
ฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานควรอยู่ใกล้กับผู้ที่ฉลาดแลชำนาญในการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีเรื่องแลขัดข้องจะได้ตรงไหน ท่านจะได้ขี้แนะช่องทางได้ จะทำให้การเจริญสติปัฏฐานก้าวหน้าไปได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น


นัยที่ 1-2 เมื่อเอาสติตั้งลงที่เวทนา (โดยมากเป็นทุกขเวทนา) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะเวทนาเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดค้นว่าเวทนาเกิดตรงนั้น จากนั้น แลอยู่ ณ ที่นั้นๆ อะไรทั้งหมด แม้คำที่เรียกว่า เวทนาๆ นั้นก็อย่าได้มีในที่นั้น เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตก็จะปล่อยวางความยึดถือสมมุติบัญญัติเดิมเสีย แล้วจะมีความรู้สึกสักแต่ว่า เป็นอาการของความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งมิใช่อยู่นอกกายแลในกายของเรา แล้วอารมณ์อื่นๆ ก็จะหายไปหมด
เมื่อจิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะในลักษณะนั้นดีแล้ว บางทีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าที่เกิดอยู่ในขณะนั้นจะหายวับไปเลย หากยังไม่หายเด็ดขาดจะปรากฏอยู่บ้าง อันนั้นก็มิใช่เวทนาเสียแล้ว มันเป็นสักแต่ว่าอาการอันหนึ่งเพียงเพื่อเป็นที่เพ่งหรือที่ตั้งของสติ เรียกว่า จิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเป็นลำดับแล้ว อาการอันหนึ่งซึ่งสติไปตั้งมั่นอยู่นั้นก็จะหายไป คงเหลือแต่เอกัคคตาจิต จิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสดวงเดียว เมื่ออยู่สักพักแล้วก็จะถอนออกมา ต่อจากนั้นก็เดินตามวิถีเดิม ดังที่ได้อธิบายมาในสติปัฏฐานข้อแรก


นัยที่ 1-3 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาผู้รู้สึกนึกคิด) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะแต่จิตเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดว่าจิตเป็นบุญ จิตเป็นบาป อย่างนั้นๆ จิตดี จิตชั่ว จิตหยาบ จิตละเอียดอย่างนั้นๆ แม้แต่ชื่อแลบัญญัติของจิตอื่นนอกจากนี้ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้น ให้ยังเหลือแต่สติที่เข้าไปเพ่งอาการอันหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะใหัวับๆ แวบๆ แต่มิได้ออกไปยึดแลไปปรุงแต่งอะไร
เมื่อจิตกับสติรวมกัน เป็นอันหนี่งอันเดียวแล้ว สติก็ตั้งมั่นแนวแน่อยู่เฉพาะที่จิตนั้นอย่างเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเข้าแล้ว จิตคืออารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายไป สติก็จะหายไปตามกัน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นเอกัคคตาจิต นอกจากนี้อาการเหมือนดังได้อธิบายมาในข้างต้นแล้วทุกประการ


นัยที่ 1-4 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่ธรรม (คืออารมณ์ของใจที่เกิดจากอายตนะผัสสะทั้ง 6 ) แล้วให้เพ่งดูอยู่เฉพาะธรรมนั้นเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นๆ แลเกิดดับอย่างนั้นๆ แม้แต่คำว่า ธรรมๆ ก็อย่าให้มี ณ ที่นั่นเลย ให้เพ่งดูแต่เฉพาะอาการอันหนึ่งซึ่งอายตนะภายนอกภายในกระทบกันแล้ว แสดงปฏิกริยาอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเท่านั้น หากจะมีคำถามขึ้นมาในที่นี้ว่า จิตกับธรรม ต่างกันตรงไหน ก็ขอเฉลยว่า ธรรมในที่นี้ หมายเอาอารมณ์ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง 6 มีตา เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูปสวยน่าชอบใจ แล้วจิตก็เข้าไปแวะข้องเกี่ยวอยากได้รักใคร่ ชอบใจยินดี ติดยึดมั่นเกาะเหนียวแน่นอยู่ในรูปนั้น ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์อย่างนี้แหล่ะที่เรียกว่า ธัมมานุสติปัฏฐาน ที่ต้องการจะฝึกอบรมสติในธรรมอันยังไม่บริสุทธิ์ ให้เกิดเป็นสภาพธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นมา
เมื่อสติตั้งมั่นแน่วอยู่เฉพาะในธัมมารมณ์มั่นคงไม่เสื่อม เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตละเอียดเข้าไปจนที่ตั้งอารมณ์ของสตินั้นหายไป แล้วสติก็จะหายไปด้วยกัน เมื่อจิตอยู่ในลักษณะเช่นนั้นนานพอสมควรแก่ภาวะของตนแล้ว ก็จะถอนออกมาตามวิถี เดิมดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อต้นๆ


หากจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า การฝึกอบรมสติปัฏฐาน 4 เบื้องต้น จิตก็จะละเอียดลงไปโดยลำดับๆ จนเป็นเอกัคคตารมณ์แลเอกัคคตาจิต แต่แล้วทำไม จึงต้องถอนออกมาเดินอยู่ในวิถีเดิม (คืออารมณ์ทั้ง หก ) จะไม่เรียกว่า จิตเสื่อม หรือเฉลยว่า มนุษย์เรา เกิดมาในกามภพ ใช้วัตถุกาม (คือ อายตนะ) เป็นเครื่องอยู่ หลงแลมัวเมา คลุกกรุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนนานัปการกับการอยู่ด้วยกามกิเลส ด้วยเหตุที่มิได้ฝึกอบรมสติของตนให้มั่นคงจนได้รู้แลเห็นจิต เห็นตัวกิเลสแลที่เกิดของกิเลสตามเป็นจริง จนจิตแยกออกจากกิเลสได้

ผู้มีปัญญามาเห็นโทษแลเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของกิเลสเหล่านั้นแล้ว จึงมาตั้งใจฝึกอบรมในสติปัฏฐาน 4 จนได้ผล ดังได้อธิบายมาแล้ว ถึงกระนั้นก็ดี เมื่ออายตนะ คือ ตัวของเรา มันเป็นวัตถุกามอยู่ แล้วก็อยู่ในกามภพ รับอารมณ์ที่เป็นของกามกิเลสอยู่ เช่นนี้ เมื่อจิตถอนออกมาจากเอกัคคตาจิต ซึ่งในที่นั้น ถือว่าจิตบริสุทธิ์ไม่มีอะไรแล้ว จิตก็จะมาจับเอาเครื่องมือเก่าใช้ต่อไปจนกว่าจะแตกดับ เมื่อจิตที่ได้ฝึกอบรมให้ชำนาญคล่องแคล่วไว้ดีแล้ว จิตนั้นจะประกอบด้วยปัญญาฉลาด สามารถใช้วัตถุกามมิให้เกิดกามกิเลสได้อย่างดี จิตนั้นได้ชื่อว่าไม่เสื่อม แลเหนือจากกามกิเลส

สติปัฏฐาน 4 พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างเด็ดขาดว่า ผู้ใดมาเจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4 ทำให้มากเจริญให้ยิ่งจนชำนาญแล้ว อย่างช้าเจ็ดปี อย่างเร็วก็เจ็ดวัน ต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ถึงพระอรหันต์ก็ต้องได้พระอนาคามี การเจริญสติ มิใช่เป็นของเสียหาย มีแต่จะทำให้ผู้เจริญได้ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะสติเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกๆ คน.




เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สี บุญมา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ม.ค. 2008
ตอบ: 83

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2008, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฉะนั้น ขอผู้ที่ปฏิบัติจริงๆมาสนทนากัน จะได้ประโยชน์มากกว่าการอ้างตำรา
ปฏิบัติจริงๆจะดีกว่าท่องอ่าน สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง