Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ชีวิต คือ อะไร ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 9:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-สัญญา แบ่งตามอารมณ์ คือ สิ่งที่หมายรู้ หรือ กำหนดจดหมายไว้ มี 6 ชนิด คือ

รูปะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรูป)

สัททะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเสียง)

คันธะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับกลิ่น)

ระสะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรส)

โผฏฐัพพะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับสิ่งต้องกาย)

ธัมมะสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเรื่องในใจ หรือ สิ่งที่ใจรู้และนึกคิด)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยนัยนี้ กระบวนธรรมตลอดสายเริ่มแต่วิญญาณที่รับรู้เป็นต้นไป จึงล้วน

สัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยซับซ้อน ร่วมเสริมสร้างบุคลิกภาพและกำหนด

ชะตาชีวิตของแต่ละบุคคลให้เป็นไปต่างๆ และให้แตกต่างจากกันและ

กัน

ในกระบวนธรรมนี้สังขารนั่นแหละเป็นตัวปรุงแต่ง และสังขารนั้น ซึ่งมี

เจตนาเป็นตัวแทน ก็คือชื่อตัวหรือชื่อที่เรียกกันในครอบครัวของคำว่า

กรรม

ดังนั้น กรรมซึ่งเป็นชื่อประจำตำแหน่งหรือชื่อที่ออกงานของสังขาร

จึงถูกกล่าวขวัญถึงอย่างเป็นผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งว่า

"กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้ต่างๆ ออกไป คือ ให้ทรามและให้

ประณีต" (ม.มู.12/581/376) "หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม"

(ขุ.สุ.15/382/453)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ชีวิต ตามความหมายของมนุษย์ และโดยสัมพันธ์กับโลก

อายตนะ 6

แดนรับรู้และเสพเสวยโลก



แม้ชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่างๆ

มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือ ในการดำเนินชีวิตทั่วไป มนุษย์ไม่

ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด

ส่วนประกอบหลายอย่าง มีอยู่และทำหน้าที่ของมันไปโดยมนุษย์ไม่

รู้จัก หรือแม้รู้จัก ก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้าน

รูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่

โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้

จนบางคราวมันเกิดวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงหันมา

สนใจ

แม้องค์ประกอบต่างๆในกระบวนการฝ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน

การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานของร่าง

กาย เราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาแพทยศาสตร์และชีววิทยา


ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานด้านจิต

ใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 4:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ

หรือชีวิตดำเนินอยู่เป็นประจำวันในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อ

เกี่ยวกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิตก็คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับ

โลก

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์คือชีวิตโดย

ความสัมพันธ์กับโลก

ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือ ชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกนี้ แบ่งออกได้

เป็น 2 ภาค

แต่ละภาคมีระบบการทำงานซึ่งอาศัยช่องทางที่ชีวิตจะติดต่อเกี่ยวข้องกับ

โลกได้ ซึ่งเรียกว่า ทวาร (ประตู, ช่องทาง) ดังนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 4:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

1. ภาครับรู้และเสพเสวยโลก อาศัยทวาร 6 (sense-doors)

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับรับรู้และเสพเสวยโลก ซึ่ง

ปรากฏแก่มนุษย์โดยลักษณะและอาการต่างๆที่เรียกว่า

อารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์


2. ภาคแสดงออกหรือกระทำต่อโลก อาศัยทวาร 3

(channels of action) คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจีทวาร

มโนทวาร) สำหรับกระทำตอบต่อโลก

โดยแสดงออกเป็นการทำ การพูด และการคิด (กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 10:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากข้างบน พิจารณาแต่ละข้อดีดี



ในภาคที่หนึ่ง

มีข้อที่พึงย้ำเป็นพิเศษเพื่อสะดวกแก่การศึกษาต่อไปว่า

คำว่า “ทวาร” (ในทวาร 6 ) นั้น เมื่อนำไปปกล่าวในระบบการ

ทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต

ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า “อายตนะ” ซึ่งแปลว่า

แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือทางรับรู้ ดังนั้น

ในการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป จะใช้คำว่า “อายตนะ” แทนคำ

ว่า “ทวาร”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในภาคที่ 2

มีข้อพึงย้ำ คือ กระบวนธรรมของชีวิตในภาคนี้ รวมอยู่ในขันธ์

ที่ 4 คือ สังขารขันธ์

สังขารต่างๆในสังขารขันธ์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมาย แบ่งเป็น

ฝ่ายดีบ้าง ฝ่ายชั่วบ้าง ฝ่ายกลางๆบ้าง จะปรากฏตัวออกมาปฏิบัติ

การ โดยถูกเจตนาที่เป็นหัวหน้า หรือ เป็นตัวแทนเลือกชักจูงมา

หรือจัดแจงมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยกันทำการปรุงแต่งการแสดงออก

หรือ การกระทำทางกาย วาจา ใจ เกิดเป็นกรรม คือ การทำ

การพูด การคิด

ในกรณีนี้

สังขารจะถูกจัดประเภทเสียใหม่ให้สอดคล้องกับบทบาทของมัน โดย

แบ่งตามทางหรือทวารที่แสดงออก เป็นกายสังขาร วจีสังขาร

และมโนสังขาร

เรียกตามชื่อหัวหน้า หรือ ตัวแทนว่า กายสัญเจตนา

วจีสัญเจตนา และมโนสัญเจตนา

หรือ เรียกตามงานที่ทำออกมาว่า กายกรรม วจีกรรม และ

มโนกรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับอาจารย์ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 2:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูความหมายของศัพท์ดังกล่าว



1. กายสังขาร = สภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย

-กายสัญเจตนา = ความจงใจ (แสดงออก) ทางกาย

-กายทวาร = ทางกาย

-กายกรรม= การกระทำทางกาย


2.วจีสังขาร = สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา

-วจีสัญเจตนา = ความจงใจ (แสดงออก) ทางวาจา

-วจีทวาร = ทางวาจา

-วจีกรรม = การกระทำทางวาจา


3. มโนสังขาร= สภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ

-มโนสัญเจตนา = ความจงใจ (แสดง) ทางใจ

-มโนทวาร= ทางใจ

-มโนกรรม= การกระทำทางใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในที่นี้มุ่งแสดงแต่สภาวะอันเนื่องอยู่ที่ตัวชีวิตเอง หรือองค์ประกอบ

ของชีวิตพร้อมหน้าที่ของมันตามสมควร จึงจะกล่าวเฉพาะภาคที่หนึ่ง

1 คือ เรื่องอายตนะ 6 อย่างเดียว

ตัวสภาวะ

อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน

หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ

แหล่งที่มาของความรู้

แปลอย่างง่ายๆว่า ทางรับรู้ มี 6 ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 2:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ว่าต่อ หรือ เชื่อมต่อให้เกิดความรู้นั้น ต่อหรือเชื่อมต่อกับอะไร ?


ตอบว่า เชื่อมต่อกับโลก คือ สภาพแวดล้อมภายนอก

แต่โลกนั้น ปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆ ไป

เท่าที่มนุษย์จะมีแดน หรือ เครื่องมือสำหรับรับรู้ คือ เท่าจำนวน

อายตนะ 6 ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น


ดังนั้น อายตนะทั้ง 6 จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลกเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สำหรับ

แต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ

สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ ลักษณะอาการต่างๆ ของโลก เหล่านี้ เรียกชื่อว่า

อายตนะเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ เป็น

แหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก

เพื่อแยกประเภทจาก กันไม่ให้สับสน

ท่านจึงเรียกอายตนะพวกแรกว่า "อายตนะภายใน" (แดนต่อความ

รู้ฝ่ายภายใน)

และ เรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า "อายตนะภายนอก" (แดนต่อ

ความรู้ฝ่ายภายนอก)

อายตนะภายนอก 6 อัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น

รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก


โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า อารมณ์ แปลว่า สิ่งอัน

เป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต

แปล ง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรู้ นั่นเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 4:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่ออายตนะ (ภายใน) ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์

(อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้าน

ของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น

ตากระทบรูป เกิดความรู้ เรียกว่า เห็น

หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น

ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง

คือ รู้อารมณ์

ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่

คือ

วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็น

วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน

วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น

วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส

วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย

วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 4:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิญญาณจะต้องอาศัยอายตนะ และ อารมณ์กระทบ

กันจึงจะเกิดขึ้นได้ ก็จริง แต่การที่อารมณ์เข้ามาปรากฏแก่อายตนะ

ก็มิใช่ว่า จะทำให้วิญญาณเกิดขึ้นได้เสมอไป จำต้องมีความใส่ใจ

ความกำหนดใจ หรือความใฝ่ใจประกอบอยู่ด้วย วิญญาณ นั้นๆจึงจะ

เกิดขึ้น- (ม.มู.12/346/358)

ตัวอย่าง ในบางคราว เช่น เวลาหลับสนิท เวลาฟุ้งซ่าน หรือใจ

ลอยไปเสีย เวลาใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ตลอดจนขณะอยู่ในสมาธิ รูปและเสียง เป็นต้น หลายๆอย่างที่ผ่าน

เข้ามา อยู่ในวิสัยที่จะเห็น จะได้ยิน แต่หาได้เห็น หาได้ยินไม่

หรือตัวอย่างง่ายๆ ขณะเขียนหนังสือใจจดจ่ออยู่ จะไม่รู้สึกส่วนของร่าง

กายที่แตะอยู่กับโต๊ะและเก้าอี้ ตลอดจนมือที่แตะกระดาษและนิ้วที่แตะ

ปากกาหรือดินสอ ในเมื่อมีอายตนะและอารมณ์เข้ามาถึงกันแล้ว

แต่วิญญาณไม่เกิดขึ้นเช่นนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าการรับรู้ได้เกิดขึ้น

การรับรู้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้งสามอย่าง คือ

อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ภาวะนี้ ในภาษาธรรมมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า ผัสสะ หรือ สัมผัส

แปลตามรูปศัพท์ว่า การกระทบ แต่มีความหมายทางธรรมว่า

การประจวบ หรือ บรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ

อารมณ์ และวิญญาณ


พูดอย่างเข้าใจกันง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้นั่นเอง

ผัสสะ หรือ สัมผัส หรือ การรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆ

ไปตามทางรับรู้ คือ อายตนะนั้นๆ ครบจำนวน 6 คือ

จักขุสัมผัส

โสตสัมผัส

ฆานสัมผัส

ชิวหาสัมผัส

กายสัมผัส

มโนสัมผัส
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 12:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นึกว่า ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง ซะอีก ท่านกรัชกาย

เจริญในธรรมค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 4:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผัสสะ เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการรับรู้ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว

กระบวนธรรมก็ดำเนินต่อไป

เริ่มแต่ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น ปฏิกิริยาอย่างอื่นของจิต

ใจ การจำหมาย การนำอารมณ์นั้นไปคิดปรุงแต่ง ตลอดจน

การแสดงออกต่างๆที่สืบเนื่องไปตามลำดับ

ในกระบวนธรรมนี้ สิ่งที่ควรสนใจเป็นพิเศษในการศึกษาขั้นนี้ ก็คือ

ความรู้สึกที่รับรู้เข้ามา ซึ่งเกิดขึ้นในลำดับถัดจากผัสสะนั่นเอง

ความรู้สึกนี้ในภาษาธรรมเรียกว่า เวทนา แปลว่า การ

เสวยอารมณ์ หรือการเสพรสอารมณ์ คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับ

รู้เข้ามานั้นโดยเป็น สุขสบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ อย่างใดอย่าง

หนึ่ง

เวทนานี้ถ้าแบ่งตามทางรับรู้ ก็มี 6 เท่าจำนวนอายตนะ คือ

เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางตา เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางหู เป็น

ต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 5:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เวทนา 6 (feeling)

1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา -เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา

2. โสตสัมผัสสชา เวทนา -เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู

3. ฆานสัมผัสสชา เวทนา -เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก

4. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา -เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น

5. กายสัมผัสสชา เวทนา -เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย

6. มโนสัมผัสสชา เวทนา -เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ

(สํ.สฬ.18/434/287)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 5:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แต่ถ้าแบ่งตามคุณภาพจะมีจำนวน 3 คือ

1. สุข ได้แก่ สบาย ชื่นใจ ถูกใจ

2. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบาย เจ็บปวด

3. อทุกขมสุข ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือเรื่อยๆ เฉยๆ ซึ่ง

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขา


หรือ แบ่งละเอียดลงไปอีกเป็น 5 คือ

1. สุข ได้แก่ สบายกาย

2. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบายกาย เจ็บปวด

3.โสมนัส ได้แก่ สบายใจ ชื่นใจ

4. โทมนัส ได้แก่ ไม่สบายใจ เสียใจ

5. อุเบกขา ได้แก่ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์


การบวนการรับรู้เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้

อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ = ผัสสะ => เวทนา

ทางรับรู้ - สิ่งที่ถูกรู้ - ความรู้ - การรับรู้ - ความรู้สึกต่อ

อารมณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 7:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดังได้กล่าวแล้วว่า อารมณ์ก็ คือ โลกที่ปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์ทางอายตนะต่างๆ
การรับรู้ อารมณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความสามารถ
ในการเกี่ยวข้องกับโลก ทำให้ชีวิตอยู่รอดและดำเนินไปด้วยดี

ในกระบวนการรับรู้นี้ เวทนาก็เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง
โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้บอกให้ทราบว่า อะไรเป็นอันตรายแก่ชีวิต
ควรหลีกเว้น อะไรเกื้อกูลแก่ชีวิต ควรถือเอาประโยชน์ได้
เวทนาจึงช่วยให้กระบวนการรับรู้ที่ดำเนินต่อไป สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วนบริบูรณ์เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชน เวทนามิได้มีความหมายเพียงเท่านั้น คือมิใช่เพียงแค่ว่ากระบวนการรับรู้ ได้มีส่วนประกอบเพิ่มเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเสริมความรู้ให้สมบูรณ์ อันจะทำให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้นในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม แต่เวทนายังหมายถึงการที่ โลกมีอะไรอย่างหนึ่ง เป็นผลตอบแทนหรือรางวัลแก่มนุษย์ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกด้วย
ผลตอบแทนที่ว่านี้ คือความเอร็ดอร่อย ความชื่นใจที่เกิดจากอารมณ์ซึ่งเรียกว่าสุขเวทนา

ในกรณีที่กระบวนการรับรู้ดำเนินมาตามลำดับจนถึงเวทนา ถ้ามนุษย์หันเข้าจับเวทนาไว้ตามความหมายในแง่นี้ มนุษย์ก็จะหันเหออกไปจากกระบวนการรับรู้ ทำให้กระบวนธรรมอีกอย่างหนึ่งได้โอกาสเข้ามารับช่วงแล่นต่อไปแทนที่ โดยเวทนาจะกลายเป็นปัจจัยตัวเอกที่จะก่อให้เกิดผลสืบเนื่องต่อไป พร้อมกันนั้น กระบวนการรับรู้ ซึ่งกลายไปเป็นส่วนประกอบและเดินควบไปด้วย ก็จะถูกกำลังจากกระบวนธรรมใหม่นี้
บีบคั้นให้บิดเบือนและเอนเอียงไปจากความเป็นจริง

กระบวนธรรมรับช่วงที่ว่านี้ มักดำเนินไปในแบบง่ายๆ พื้นๆ คือ เมื่อรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดความรู้สึกสุขสบายชื่นใจ (=เวทนา)
ก็อยากได้ (=ตัณหา) เมื่ออยากได้ ก็ติดใจพัวพันจนถึงขั้นยึดติดถือมั่น (=อุปาทาน) ค้างใจอยู่ ไม่อาจวางลงได้ ทั้งที่ความเป็นจริงไม่อาจถือเอาไว้ได้ เพราะสิ่งนั้นๆ ล่วงเลยผ่านพ้นหมดไปแล้ว

จากนั้น ก็เกิดความครุ่นคิดสร้างภาพต่างๆ ที่จะให้ตนอยู่ในภาวะครอบครองอารมณ์อันให้เกิดสุขเวทนานั้น พร้อมทั้งคิดปรุงแต่งสร้างวิธีการ
ที่จะให้ได้อารมณ์และสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์นั้น แล้วลงมือกระทำการต่างๆทางกายบ้าง วาจาบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการเพื่อจะได้เวทนาที่ชอบใจนั้นยิ่งๆขึ้นไปอีก บังเกิดเป็นสุขทุกข์แบบซับซ้อนแรงสูง ที่เป็นผลเสกสรรค์ของมนุษย์เอง แล้วหมุนเวียนเข้าวงจรที่เริ่มจากเวทนาใหม่อีก กลายเป็นสังสารวัฏวนอยู่อย่างนั้น ไม่สามารถก้าวต่อไปสู่ผลเลิศอย่างอื่นที่ชีวิตนี้ยังสามารถเข้าถึงได้ยิ่งกว่านั้นขึ้นไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 11:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โดยนัยนี้ จะเห็นว่า ช่วงต่อที่กระบวนธรรมจะสืบทอดจากการรับรู้
(ผัสสะ) ต่อไปนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเป็นหัวเลี้ยว
หัวต่อทีเดียว และในภาวะเช่นนี้เวทนาเป็นองค์ธรรมที่มีบทบาทสำคัญ
มาก กระบวนธรรมที่ดำเนินต่อไปจะเป็นอย่างไร ต้องขึ้นต่อบทบาทของ
เวทนาว่าจะมีลักษณะอย่างใด ทั้งนี้ พอจะตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า

ก. กระบวนธรรมที่สืบทอดมาจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างกระบวนการรับรู้ที่บริสุทธิ์กับกระบวนการสังสารวัฏ ในกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ เวทนามีบทบาทเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยๆ อย่างหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์

ส่วนในกระบวนการสังสารวัฏ เวทนาเป็นปัจจัยตัวเอก ที่มีอิทธิพลครอบงำความเป็นไปของกระบวนธรรมทั้งหมด
กล่าวได้ว่า มนุษย์จะคิดปรุงแต่งอย่างไร และทำการอะไร ก็เพราะเวทนา และเพื่อเวทนา หรือชีวิตจะเป็นอย่างไร ก็เพราะเวทนา และเพื่อเวทนา นอกจากนั้นในกระบวนการสังสารวัฏนี้ มนุษย์มิได้หยุดอยู่เพียงแค่เป็นผู้รับรู้อารมณ์ เรียนรู้โลกเพื่อเกี่ยวข้องจัดการกับโลกอย่างได้ผลดีเท่านั้น แต่ได้ก้าวต่อไปสู่ความเป็นผู้เสพเสวยโลกด้วย

สำหรับกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์นั้น ถ้าจะพูดให้ละเอียดชัดเจนตามหลัก ก็ต้องตัดตอนที่ช่วงต่อจากผัสสะนี้ด้วยเหมือนกัน โดยถือว่า การรับรู้เกิดขึ้นเสร็จสิ้นแล้วที่ผัสสะ

ดังนั้นกระบวนธรรมต่อจากนี้ไปจึงแยกได้เป็นอีกตอนหนึ่ง และขอเรียกชื่อว่า กระบวนการญาณทัศนะ หรือกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์เป็นปฏิปักษ์กับกระบวนการสังสารวัฏ เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาชีวิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง