Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ควรศึกษาธรรมะให้ครอบคลุม ทั้งด้านสภาวธรรม และจริยธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 7:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม

ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ

1. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม”

หรือ เรียกเต็มว่า “มัชเฌนธรรมเทศนา”

ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ ตามกระบวนการของธรรมชาติ

นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น

ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรม ด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น

แล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้น ๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา



2. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”

อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย

มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ

ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้

ในทางปฏิบัติ

ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ

เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 8:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และ กิริยวาท)

เป็นศาสนา แห่งความเพียรพยายาม (วิริยวาท)

ไม่ใช่ศาสนา แห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือ ศาสนาแห่งความห่วงหวังกังวล

การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ

ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้ และเริ่มแต่บัดนี้

ความรู้ในหลักที่ว่า มัชเฌนธรรมเทศนา ก็ดี

การประพฤติตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดี

เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสภาพและระดับชีวิตอย่างใด

สามารถเข้าใจและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควร

แก่สภาพและระดับชีวิตนั้นๆ

ถ้าความห่วงใยในเรื่องชีวิตหลังจากโลกนี้มีอยู่

ก็จงทำชีวิตดีงามอย่างที่ต้องการนั้นให้เกิดมีเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา

ด้วยการประพฤติปฏิบัติแต่บัดนี้ จนมั่นใจตนเองว่าจะไปดี โดยไม่ต้องกังวลหรือหวาดหวั่น

ต่อโลกหน้านั้นเลย

ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ที่จะเข้าถึงผลสำเร็จเหล่านี้

แม้ว่าความสามารถจะต่างกัน

ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้น

ตามความสามารถของตน และความสามารถนั้น ก็เป็นสิ่งดัดแปลงเพิ่มพูนได้

จึงควรให้ทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถของตนอย่างดีที่สุด

และแม้ว่าผลสำเร็จที่แท้จริง ทุกคนจะต้องทำด้วยตนเอง

โดยตระหนักในความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มที่

แต่ทุกคนก็เป็นอุปกรณ์ในการช่วยตนเองของคนอื่นได้

ดังนั้น

หลักอัปปมาทธรรม และหลักความมีกัลยาณมิตร จึงเป็นหลักธรรมที่เด่น

และเป็นข้อที่เน้นหนักทั้งสองอย่าง ในฐานะความรับผิดชอบต่อตนเองฝ่ายหนึ่ง

กับปัจจัยภายนอกที่จะช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 8:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หากจะยกเอาผลงาน และ พระจริยาของพระพุทธเจาขึ้นมาเป็นหลักพิจารณา

จะมองเห็นแนวทางการบำเพ็ญพุทธกิจ ที่สำคัญหลายอย่าง

เช่น

ทรงพยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่างๆ

โดยเฉพาะการบูชายัญ ด้วยการสอนย้ำถึงผลเสียหายและความไร้ผลพิธีกรรมเหล่านั้น

ทั้งนี้

เพราะยัญพิธีเหล่านั้น ทำให้คนมัวแต่คิดหวังพึ่งเหตุปัจจัยในภายนอก อย่างหนึ่ง

ทำให้คน กระหายทะยาน และ คิดหมกมุ่นในผลประโยชน์ทางวัตถุเพิ่มพูน

ความเห็นแก่ตน ไม่คำนึ่งถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์และสัตว์ อย่างหนึ่ง

ทำให้คนคิดหวังแต่เรื่องอนาคต จนไม่คิดปรับปรุงปัจจุบันอย่างหนึ่ง

แล้วกลับทรงสอนย้ำหลักการให้ทาน ให้เสียสละแบ่งปันและสงเคราะห์กันในสังคม


สิ่งต่อไปที่ทรงพยามสอนหักล้าง

คือระบบความเชื่อเรื่องวรรณะ ที่นำเอาชาติกำเนิดเป็นขีดขั้นจำกัดสิทธิและโอกาส

ทั้งในทางสังคม และ ทางจิตใจของมนุษย์

ทรงตั้งคณะสงฆ์ที่เปิดรับคนจากทุกวรรณะ ให้เข้าสู่ความเสมอภาคกัน เหมือนทะเล

ที่รับน้ำจากแม่น้ำทุกสาย กลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน

ทำให้เกิดสถาบันวัด

ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่วัฒนธรรม และการศึกษาที่สำคัญยิ่ง

จนศาสนาฮินดูต้องนำไปจัดตั้งขึ้นบ้าง ในศาสนาของตน

เมื่อหลังพุทธกาลราว 1,400 หรือ 1,700 ปี

ทรงให้สิทธิแก่สตรีที่จะได้รับประโยชน์จากพุทธธรรม เข้าถึงจุดหมายสูงสุด

ที่พุทธธรรมจะให้เข้าถึงได้ เช่น เดียวกับบุรุษ

แม้ว่าการให้สิทธินี้ จะต้องทรงกระทำด้วยความหนักพระทัย

และด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะเตรียมการวางรูป ให้สภาพการณ์ได้สิทธิของสตรีนี้

ดำรงอยู่ด้วยดี ในสภาพสังคมสมัยนั้น เพราะสิทธิของสตรีในการศึกษาอบรมทางจิตใจ

ได้ถูกศาสนาพระเวทค่อยๆ จำกัดแคบเข้ามาจนปิดตายแล้วในสมัยนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 8:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ประการต่อไป

ทรงสั่งสอนพุทธธรรม ด้วยภาษาสามัญที่ประชาชนใช้

เพื่อให้คนทุกชั้น ทุกระดับการศึกษา ได้รับประโยชน์จากธรรมนี้ทั่วถึง


ตรงข้ามกับศาสนาพราหมณ์ ที่ยึดความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท

และจำกัดความรู้ชั้นสูงไว้ในวงแคบของพวกตนด้วยวิธีการต่างๆ

โดยเฉพาะ คือ ด้วยการใช้ภาษาเดิมของสันสกฤต

ซึ่งรู้จำกัดในหมู่พวกตนเป็นสื่อถ่ายทอดและรักษาคัมภีร์


แม้ต่อมา จะมีผู้ขออนุญาตพระพุทธเจ้า ให้ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาพระเวท

พระองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ทรงยืนยันให้ใช้ภาษาของประชาชนตามเดิม



(ดูวินัย.7/181/70.)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 8:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ประการต่อไป

ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ที่จะทำเวลาให้สูญเสียไปกับการถกเถียงปัญหา

ที่เกี่ยวกับการเก็งความจริงทางปรัชญา ซึ่งไม่อาจนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยวิธีแสดงเหตุผล

ทางคำพูด

ถ้าใครถามปัญหาเช่นนี้ พระองค์จะทรงยับยั้งเสีย แล้วดึงผู้นั้นกลับมาสู่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง

ที่เขาจะต้องเกี่ยวข้อง และปฏิบัติได้ในชีวิตจริงโดยทันที

(ดู อง. ทสก. 24/95-96/206-212...)

สิ่งที่จะพึงรู้ได้ด้วยคำพูด ทรงแนะนำด้วยคำพูด

สิ่งที่จะพึงรู้ด้วยการเห็น ทรงให้เขาดู

มิใช่ให้ดู สิ่งที่จะต้องเห็นด้วยคำพูด


และ

ทรงสอนพุทธธรรม โดยปริยายต่างๆ เป็นอันมาก

มีคำสอนหลายระดับ ทั้งสำหรับผู้ครองเรือน

ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม

ผู้สละเรือนแล้ว

ทั้งคำสอน เพื่อประโยชน์ทางวัตถุ

และ

เพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจ

เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพุทธธรรมทั่วถึงกัน


พุทธกิจที่กล่าวมานี้

เป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธธรรมที่พูดมาแล้วข้างต้น

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ประกาศศาสนาท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมต่างกัน

การที่ต้องทรงสอนพุทธธรรมท่ามกลางวัฒนธรรมแบบพราหมณ์

และ

ความเชื่อถือตามลัทธิต่างๆ ของพวกสมณะสมัยนั้น

ทำให้พระพุทธเจ้า ต้องทรงเกี่ยวข้องกับถ้อยคำทางศาสนาในลัทธิความเชื่อถือเหล่านั้น

ทั้งโดยการได้รับฟัง และการพูดพาดพิงถึง

และโดยที่พระองค์มีพระประสงค์ให้พุทธธรรมเผยแพร่ไป

เป็นที่เข้าใจและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็ว

จึงปรากฏว่า

พระองค์มีวิธีการปฏิบัติต่อถ้อยคำทางศาสนาเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ

ไม่ทรงนิยมหักล้างความเชื่อถือเดิมในรูปถ้อยคำที่ใช้

ทรงหักล้าง เฉพาะแต่ตัวความเชื่อถือ ที่แฝงอยู่เป็นความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นเท่านั้น

กล่าวคือ

ไม่ทรงปฏิเสธหรือขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรง

ทรงนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบไม่รู้สึกตัว หรือแบบโอนอ่อนผ่อนตามมากกว่า

โดยนัยนี้

พระองค์จึงทรงนำคำบัญญัติ ที่ใช้กันอยู่ในศาสนาเดิม มาใช้ในความหมายใหม่

ตามแนวของพุทธธรรมโดยเฉพาะบ้าง

ทรงสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ถ้อยคำที่ใช้อยู่เดิมบ้าง

เช่น ใช้ “พรหม” เป็นชื่อของสัตว์โลกที่เกิดตายประเภทหนึ่งบ้าง

หมายถึง บิดามารดาบ้าง

ทรงเปลี่ยนความเชื่อถือ เรื่องกราบไหว้ทิศ 6 ตามธรรมชาติ

มาเป็นการปฏิบัติหน้าที่และรักษาความสัมพันธ์รูปต่างๆ ในสังคม

เปลี่ยนความหมายของการบูชาไฟศักดิ์สิทธิ์ สำหรับยัญพิธี 3 อย่างของพราหมณ์

มาเป็นความรับผิดชอบทางสังคมต่อบุคคล 3 ประเภท

เปลี่ยนการตัดสินความเป็นพราหมณ์และอารยะโดยชาติกำเนิด

มาเป็นตัดสินด้วยการประพฤติปฏิบัติ

บางครั้ง

ทรงสอนให้ดึงความหมายบางส่วน ในคำสอนของศาสนาเดิมมาใช้แต่ในทางที่ดีงามและเป็น

ประโยชน์

คำใดในศาสนาเดิม ถูกต้องดีงาม ก็ทรงรับรอง โดยถือความถูกต้องดีงามเป็นของสากล

โดยธรรมชาติ

ในกรณีที่หลักความประพฤติปฏิบัติในศาสนาเดิม มีความหมายหลายอย่าง

ทรงชี้แจงว่าแง่ใดถูก แง่ใดผิด

ทรงยอมรับและให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในแง่ที่ดีงามถูกต้อง

บางครั้ง

ทรงสอนว่าความประพฤติปฏิบัติ ที่ผิดพลาดเสียหายบางอย่างของศาสนาเดิม

ในสมัยนั้น เป็นความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นในศาสนานั้นเอง

ซึ่งในครั้งดั้งเดิมทีเดียว คำสอนของศาสนานั้นก็ดีงามถูกต้อง

และทรงสอนให้รู้ว่า คำสอนเดิมที่ดีของศาสนานั้นเป็นอย่างไร

ตัวอย่างในข้อนี้

มีเรื่อง ตบะ การบูชายัญ หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง

และเรื่องพราหมณ์ธรรม...เป็นต้น

ข้อความที่กล่าวมานี้

นอกจากจะแสดงให้เห็นความใจกว้างของพุทธธรรม

และ การที่พระพุทธเจ้าทรง ตั้งพระทัยสอนแต่ความจริง

และความดีงามถูกต้องที่เป็นกลางๆ แล้ว


ยังเป็นเรื่องสำหรับเตือน ให้รู้จักแยกความหมาย คำบัญญัติทางศาสนาที่ใช้ในพุทธธรรม

กับ ที่ใช้ในศาสนาอื่นๆ ด้วย


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 8:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความเปลี่ยนแปลงหลังพุทธปรินิพพาน

อนึ่ง เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ

ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และ แตกต่างกันไปได้หลายอย่าง

เพราะผู้ถ่ายทอดสืบต่อ มีพื้นความรู้ การศึกษาอบรมสติปัญญาแตกต่างกัน

ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง

นำเอาความรู้ ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่น เข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง

อิทธิพลศาสนา และ วัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง

คำสอนบางแง่เด่นขึ้น

บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และ เลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง

และความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง

ทำให้เกิดความแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายานกับเถรวาท

ตลอดจนนิกายย่อยๆ ในสองนิกายใหญ่นั้น

สำหรับเถรวาทนั้น

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกายที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ

ก็มิใช่จะพ้นไปจากความแปรเปลี่ยนได้โดยสิ้นเชิง

คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่นปัจจุบัน

ต้องนำมาถกเถียงคิดค้นหาหลักฐานยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม

ยิ่งความรู้ความเข้าใจ ที่ประชาชนเชื่อถือและปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว

ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มากและชัดเจนยิ่งขึ้น

บางกรณี กับ เสมือนเป็นของตรงข้ามกับคำสอนเดิม หรือเกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น

ที่คำสอนเดิมคัดค้านแล้วก็มี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

^
^

ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้

เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรม”

ความเข้าใจของคนทั่วไป

ก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีตเจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้ว หรือ ชาติก่อนๆ บ้าง

เพ่ง ไป ยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือ นึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการกระทำในอดีตบ้าง

เพ่ง ไปยังแง่ที่เสียหาย เลวร้าย คือ การกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง

เพ่ง ไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่วในชาติก่อนบ้าง

และโดยมาก เป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้รวมๆกันไปทั้งหมด

ซึ่งเมือพิจารณาตัดสินตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรมแล้ว

จะเห็นได้ชัดว่า เป็นความเข้าใจที่ห่างไกลจากความหมายที่แท้จริงเป็นอันมาก




แม้ข้อธรรมอื่นๆ ตลอดจนคำบัญญัติทางธรรมแต่ละคำๆ เช่น

อารมณ์ วิญญาณ บารมี สันโดษ อุเบกขา อธิษฐาน บริกรรม ภาวนา วิปัสสนา กาม โลกีย์

โลกุตระ บุญ อิจฉา...

ก็ล้วนมีความหมายพิเศษ ในความเข้าใจของประชาชน

ซึ่งผิดแปลกไปจากความหมายดั้งเดิมในพุทธธรรมโดยตัวความหมายเองบ้าง

โดยขอบเขตความหมายบ้าง

มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคำนั้นๆ



ในการศึกษาพุทธธรรม จำเป็นต้องแยกความหมายในความเข้าใจของประชาชน

ส่วนที่คลาดเคลื่อนนี้ออกไปต่างหาก จึงจะสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ในการแสดงพุทธธรรม

ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงแสดง

และทรงมุ่งสอน

ในการนี้

ได้ตัดความหมายอย่างที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย

เพราะถือว่าเป็นเหตุข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด

แหล่งสำคัญ อันเป็นที่มาของเนื้อหาและความหมายของพุทธธรรม ที่จะแสดงต่อไปนี้

ได้แก่คัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งในที่นี้ ถ้าไม่มีกรณีเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ

จะหมายถึงพระไตรปิฎกบาลีอย่างเดียว เพราะเป็นคัมภีร์ที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า

เป็นแหล่งรวบรวมรักษาพุทธธรรมที่แม่นยำและสมบูรณ์ที่สุด

แม้กระนั้น

ก็ได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนที่เห็นว่า เป็นหลักการดั้งเดิมเป็นความหมายแท้จริงมาแสดง

โดยยึดเอาหลัก ความกลมกลืน สอดคล้องกันในหน่วยรวมเป็นหลัก

และเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้น จึงได้นำพุทธจริยา และ พุทธกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญมาประกอบการ

พิจารณาตัดสิน แนวทางและขอบเขตของพุทธธรรมด้วย

เมื่อได้หลักการพิจารณาเหล่านี้มาเป็นเครื่องกำกับการแสดงแล้ว

ก็มั่นใจว่าจะสามารถแสดงสาระแห่งพุทธธรรมได้ใกล้เคียงตัวแท้เป็นอย่างยิ่ง

โดยอาศัยวิธีการและหลักการแสดงพร้อมทั้งหลักฐานต่างๆ ที่เชื่อว่าให้ความมั่นใจมากที่สุด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ม.ค. 2008, 4:16 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 9:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ถ้าแยกพุทธธรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ

สัจธรรมส่วนหนึ่ง

กับ

จริยธรรมส่วนหนึ่ง

แล้วกำหนดความหมายขึ้นใช้ในที่นี้โดยเฉพาะ

โดยกำหนดให้ สัจธรรม เป็นส่วนแสดงสภาวะ หรือ รูปลักษณะตัวจริง

และ

ให้จริยธรรม เป็นฝ่ายข้อประพฤติปฏิบัติทั้งหมด

ก็จะเห็นว่าสัจธรรม ในพุทธศาสนา

ย่อมหมายถึงคำสอนเกี่ยวกับสภาวะของสิ่งทั้งหลาย หรือธรรมชาติ

และ ความเป็นไปโดยธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือ กฎธรรมชาตินั่นเอง


ส่วนจริยธรรม

หมายถึง การถือเอาประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพ

และ ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย หรือ รู้กฎธรรมชาติแล้ว นำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์


อีกนัยหนึ่ง

สัจธรรม คือ ธรรมชาติ และ กฎธรรมดา

จริยธรรม คือ ความรู้ในการประยุกต์สัจธรรม

หลักการทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับตัวการนอกเหนือธรรมชาติ เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น

แต่ประการใดเลย

ด้วยเหตุนี้

ในการแสดงพุทธธรรม เพื่อความรู้ความเข้าใจที่มุ่งในแนวทฤษฎี คือ

มุ่งให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

มีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร จึงแสดงควบคู่กันไปทั้งสัจธรรม และ จริยธรรม

คือ แสดงหลักคำสอนในแง่สภาวะ แล้วชี้ถึงคุณค่าที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติไว้ด้วย

ให้เสร็จไปแต่ละอย่างๆ เช่น เมื่อกล่าวถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตเสร็จแล้ว

ก็กล่าวถึงความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติของความรู้ความเข้าใจต่อท้าย


กล่าว คือ

ภาคแรก

แสดงธรรมฝ่ายสภาวะและตัวกฎของธรรมชาติ เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา

ภาคหลัง

กล่าวถึงความรู้ภาคปฏิบัติ คือ การนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะ และ ตัวกฎนั้น

ไปใช้ประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติ หรือ ดำเนินชีวิตจริง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 9:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อนึ่ง ในบางตอนของข้อเขียนนี้ ได้แสดงความหมายภาษาอังกฤษ

ของศัพท์ธรรมที่สำคัญๆ ไว้ด้วย

โดยเหตุผลอย่างน้อย 3 อย่าง คือ

ประการแรก

ในภาษาไทยปัจจุบัน ได้มีผู้นำศัพท์ธรรมบางคำมาใช้เป็นศัพท์บัญญัติ

สำหรับคำในภาษาอังกฤษ ที่มีความหมายไม่ตรงกันกับศัพท์ธรรมนั้น

อันอาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงนำความหมายในภาษาอังกฤษ

มาแสดงควบไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านถือไปตามความหมายที่มีผู้บัญญัติใช้ใหม่

ในภาษาไทย


ประการที่สอง

จำต้องยอมรับความจริงว่า นักศึกษาวิชาการสมัยใหม่จำนวนไม่น้อย

เข้าใจความหมายในภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้นในเมื่อเห็นคำภาษาอังกฤษควบอยู่ด้วย


ประการที่สาม

ตำราภาษาต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ มีจำนวนมาก

การรู้ความหมายศัพท์ธรรมที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษ

ย่อมเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่ต้องการค้นคว้าอย่างกว้างขวางต่อไป.


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2008, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



มัชเฌนธรรมเทศนา
คือธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ

ตามธรรมชาติ คือ ตามสภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันเอง ตามเหตุปัจจัย

ไม่ติดข้องในทิฏฐิ คือ ทฤษฎี หรือแนวความคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์วาดให้เข้ากับสัญญา

ที่ผิดพลาด และ ความยึดความอยากของตนที่จะให้โลกและชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

มัชเฌนธรรมเทศนา หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้น

พร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย

กระบวนธรรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 เม.ย.2008, 7:11 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(เมื่อศีกษาคำสอนทางศาสนา พึงพิจารณาด้วยว่า พระพุทธเจ้า

สอนธรรมนั้นในแง่มุมใด ในแง่จริยธรรม หรือ แง่สภาวธรรม

(ปรมัตถธรรม) จะเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และใน

ทางทำจิต ... ตัวอย่างนี้สอนในแง่จริยธรรม)


“ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ภิกษุทั้งหลาย ยังจักประชุมกันเนืองนิตย์...

ตราบใดที่ภิกษุทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียง

กันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจของสงฆ์ (ตราบนั้น) ภิกษุ

ทั้งหลาย พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย...


“ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ภิกษุทั้งหลาย ยังจักเป็นผู้มีศรัทธา...

มีหิริ...มีโอตตัปปะ...เป็นผู้เล่าเรียนศึกษามาก-(พหูสูต) ...เป็นผู้ตั้งหน้า

เพียร...เป็นผู้มีสติกำกับตัว...เป็นผู้มีปัญญา...(ตราบนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย..."



-ที.ม. 10/68,70,72/86-93; ในการทำจิต ท่านสอนให้รู้เท่าทันว่า

สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

แต่พุทธพจน์ดังที่นำมา (เป็นตัวอย่าง) นี้ กลับสอนว่า ถ้าทำกิจด้วย

ความไม่ประมาท ก็จะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญอย่าง

เดียว

พึงศึกษาพุทธพจน์สองแบบนี้ให้ชัดเจน จะได้เข้าใจถูกต้องและปฏิบัติ

ไม่ผิดพลาด

นอกจากนี้ พึงสังเกตด้วยว่า ความไม่ประมาทในการปรับปรุง

พัฒนาตนซึ่งเป็นกิจส่วนตัว จะต้องดำเนินเคียงคู่ไปด้วยกันกับความ

ไม่ประมาทในการทำกิจที่เป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

(พุทธธรรมหน้า 78/15)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 5:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวสภาวะและสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์)

เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติ เป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์


แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน คือ

เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะ จะให้เป็นตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา

ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว

และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวายใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา

ถูกบีบคั้น จึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 2:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณค่าทางจริยธรรม


ในด้านคุณค่าทางจริยธรรม คำสอนต่างๆ มักอ้างอิงถึงอนิจจตา

คือ ความไม่เที่ยง มากกว่าลักษณะอื่นอีกสองอย่าง ทั้งนี้เพราะ

ความไม่เที่ยง เป็นภาวะที่ปรากฏชัด มองเห็นง่าย

ส่วนทุกขตาเป็นภาวะที่มองเห็นยากปานกลาง จัดเป็นลำดับที่

สอง

และอนัตตา เป็นภาวะที่ประณีต มองเห็นได้ยากที่สุด จัดเป็น

ลำดับสุดท้าย


อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวถึงอนิจจตาที่มองเห็นได้ง่าย เพื่อเป็น

พื้นฐานเบื้องต้นที่จะนำเข้าสู่ความเข้าใจในทุกขตา และอนัตตตาต่อ

ไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 2:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธพจน์ 2 แห่งต่อไปนี้ อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนที่ชี้ถึงคุณค่า

ทางจริยธรรม 2 ประการ ของไตรลักษณ์ คือ


1. “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไป

เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบวางแห่งสังขาร

เหล่านั้น เป็นสุข”

(ที.ม.10/168/228 ฯลฯ)


2. “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย

จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม”

(ปัจฉิมโอวาท ที.ม.10/147/181 ฯลฯ)


-พุทธพจน์ข้อที่ 1 ชี้ถึงคุณค่าในด้านการวางใจต่อสังขาร คือ โลก

และชีวิต ให้รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นสภาพปรุงแต่ง ล้วนไม่

เที่ยงแท้ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป ไม่อาจคงสภาพเดิม

อยู่ได้ มิใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปได้ตามความปรารถนา

มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง เมื่อรู้เช่น

นี้แล้ว ก็จะมีท่าทีของจิตใจที่ถูกต้อง ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย

แม้สิ่งทั้งหลายที่พบเห็นเกี่ยวข้องจะแปรปรวนเสื่อมสลายพลัดพรากสูญ

หายไป จิตใจก็ไม่ถูกครอบงำย่ำยีบีบคั้น ยังคงปลอดโปร่ง ผ่องใส

เบิกบานอยู่ได้ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดา

คุณค่าข้อนี้เน้นความหลุดพ้นเป็นอิสระของจิตใจ เป็นระดับโลกุตระ

เรียกง่ายๆว่า คุณค่าด้านการทำจิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 2:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-พุทธพจน์ข้อที่ 2 ชี้ถึงคุณค่าในด้านการปฏิบัติกิจหน้าที่ เพื่อ

ความมีชีวิตที่เรียกว่าเป็นอยู่ หรือดำเนินไปอย่างถูกต้องดีงามในโลก

อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่น และเพื่อให้เข้า

ถึงบรมธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต โดยให้รู้ตามความเป็นจริง

ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งชีวิตและโลก ล้วนเกิดจากองค์ประกอบทั้ง

หลายประมวลกันขึ้น ดำรงอยู่ได้ชั่วคราว ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความ

บีบคั้นกดอัดขัดแย้งแฝงอยู่ทั้งภายนอกและภายใน จะต้องทรุดโทรม

แตกสลายเปลี่ยนแปลงกลายรูปไป ไม่อยู่ในอำนาจของความ

ปรารถนา ขึ้นต่อเหตุปัจจัยและเป็นไปตามเหตุปัจจัย

กระบวนการแห่งความเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยนี้ ดำเนินไปตลอด

ทุกขณะ ไม่รอเวลา จะวางใจมิได้เลย เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็จะได้

กระตือรือร้นเร้าเตือน กระตุ้นตนเองให้เร่งขวนขวายทำสิ่งที่ควรทำ

และเว้นสิ่งที่ควรเว้น ไม่ละเลย ไม่รอช้าไม่ปล่อยเวลาและ

โอกาสให้สูญเสียไปเปล่า เอาใจใส่แก้ไขสิ่งเสียหายที่ได้เกิดขึ้น ระมัด

ระวังป้องกันหนทางที่จะเกิดความเสื่อมทรุดเสียหายต่อไป และสร้าง

สรรค์สิ่งดีงามความเจริญก้าวหน้า โดยไตร่ตรองพิจารณาและดำเนินการ

ด้วยปัญญาอันรู้ที่จะจัดการตามเหตุปัจจัย ทำให้เกิดผลสำเร็จด้วยดี

ทั้งในแง่กิจที่และจิตใจของตน คุณค่าข้อนี้เน้นด้านความไม่ประมาท

เร่งรัดทำกิจ เป็นระดับโลกิยะ

เรียกง่ายๆว่า คุณค่าด้านการทำกิจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 2:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณค่าข้อที่ 2 นี้ จะต้องใช้กับเรื่องของชีวิตและกิจต่อโลกทุกขั้น

ทุกระดับ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยส่วนตัวจนถึงความเรียบร้อยดีงามของ

สังคมส่วนรวม ตั้งแต่ประโยชน์ขั้นต้นจนถึงประโยชน์สูงสุด

ตั้งแต่การประกอบการงานอาชีพแสวงหาทุนทรัพย์ของคฤหัสถ์

จนถึงการบำเพ็ญเพียรแสวงหาโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ดังจะเห็น

พุทธพจน์ต่อไปนี้ เป็นเครื่องชี้คุณค่า


ชุดที่ 1 “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ (อัตตัตถะ) ก็

ควรทีเดียวที่จะยังประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท เมื่อ

พิจารณาเห็นประโยชน์ (ปรัตถะ) ก็ควรทีเดียวที่จะยังประโยชน์นั้นให้ถึง

พร้อม ด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

(อุภยัตถะ) ก็ควรทีเดียวที่จะยังประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความ

ไม่ประมาท”

(สํ.นิ.16/67/35 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 2:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชุดที่ 2 “มหาบพิตร ธรรมเอกอันเดียวที่ยึดเอาประโยชน์

(อัตถะ) ให้ได้ทั้งสองอย่าง คือทั้งประโยชน์บัดนี้- (หรือประโยชน์

สามัญที่ตาเห็น=ทิฏฐธัมมิกัตถะ) และประโยชน์เบื้องหน้า (หรือ

ประโยชน์ที่ล้ำยิ่งขึ้นไป = สัมปรายิกัตถะ) นั้น มีอยู่ ฯลฯ

นั่นคือความไม่ประมาท (อัปปมาทะ) ฯลฯ ผู้ไม่ประมาท เป็น

บัณฑิต ย่อมยึดเอาได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่าง คือทั้งประโยชน์

บัดนี้ และประโยชน์เบื้องหน้า จะเรียกว่าธีชน (หรือ) บัณฑิต

ก็เพราะบรรลุประโยชน์ (ทั้งสองนี้) “

(สํ.นิ.15/378-380/126-7 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 2:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชุดที่ 3 : 1. “ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วย

ศีล อาศัยความไม่ประมาทเป็นเหตุ ย่อมประสบกองโภคะอันใหญ่”

(องฺ.ปญฺ๗ก.22/213/281ฯลฯ)


--------- 2. “ภิกษุทั้งหลาย โพธิ (ความตรัสรู้) อันเรานั้นได้บรรลุ

ด้วยความไม่ประมาท แม้นหากพวกเธอ จะพึงเพียรพยายามอย่างไม่

ระย่อท้อถอย ฯลฯ ไม่นานเลย แม้พวกเธอก็จะประจักษ์แจ้งจุด

หมายของชีวิตประเสริฐ- (พรหมจรรย์) เข้าถึงได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

เองในชาตินี้ทีเดียว”

(องฺ.ทุก.20/251/64)


-คุณค่า 2 ข้อนี้ สัมพันธ์กันและเสริมกัน เมื่อปฏิบัติให้ได้คุณ

ค่าครบทั้งสองอย่าง จึงจะได้รับประโยชน์บริบูรณ์ และคุณค่า

ทั้งสองนี้ ยังมีรายละเอียดที่พึงทราบเพิ่มอีก จึงจะได้บรรยายต่อไป

..........

แทรกลิงค์ความหมายของพรหมจรรย์ไว้ด้วย =>

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14354
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ส.ค. 2008, 4:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง