Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นั่งสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2008, 9:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
แล้วอาจารย์ก็เคยบอกนะคะว่า เมื่อนั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าเจ็บขา ขาชา
นั่นถือว่าเข้าสู้สมาธิขั้นที่ 1 แล้ว
ต่อมาก็จะรู้สึกขาโตขึ้นๆ คันใบหน้า เข้าสู่สมาธิขึ้นที่ 2
ส่วนสมาธิขั้นที่ 3 หนูก็จำไม่ค่อยได้แล้วอ่าน่ะค่ะ จำได้อย่างนึงค่ะ จะรู้สึกตัวเองว่าลอย
สมาธิขึ้นที่ 4 อาจารย์ยังไม่ได้สอนค่ะ

nattakarn

13 ม.ค.2008, 7:05 am



เรานั่งในอิริยาบถเดียวนานๆ เหน็บกินขาทั้งนั้นแหละจ้าหนู

นั่งพับเพียบนานๆไม่ขยับขาก็ชา

หนูนั่งดูหนังสือนานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถเลย ก็เป็นเหน็บเหมือนกัน

หนูจ๋า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อย่างที่กล่าวเลยจ้า ตกใจ


สมาธิที่แท้ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันหรือกรรมฐานที่ใช้อยู่

มิใช่คิดฟุ้งในอนาคต หรือคิดเรื่องอดีต ไม่ใช่

ต้องอยู่กับปัจจุบันอารมณ์

ใครใช้พุทโธ ก็ต้องอยู่กับลมหายใจเข้าออก

ใครที่ใช้พอง-ยุบ ก็ต้องอยู่กับพองยุบ และ ธรรมารมณ์ที่เป็นขณะปัจจุบัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2008, 11:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ๋อ ค่ะ ..

คุณอากรัชกราย พิมพ์ว่า:
ไม่งงจ้า คือ อาจารย์ของหนู มีอาจารย์สอนสมาธิให้ ถูกไหมจ๊ะ

แล้วอาจารย์ของอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ไหม

เป็นภิกษุหรือเป็นคฤหัสถ์ อาจารย์บอกหนูไหม ครับ


หนูคิดว่าอาจารย์ของอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่นะคะ ..

แต่หนูก็ไม่ทราบนะคะ ว่าเป็นภิกษุหรือคฤหัสถ์

หนูยังไม่ทราบเลยค่ะว่าคฤหัสถ์คืออะไร - -"

แต่หนูคิดว่าน่าจะเป็นพระภิกษุมากกว่านะคะ
ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2008, 1:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
หนูยังไม่ทราบเลยค่ะว่าคฤหัสถ์คืออะไร

nattakarn
13 ม.ค.2008, 11:43 am



คฤหัสถ์ กับ ฆราวาส ความหมายเดียวกันจ้า ได้แก่ ผู้ครองเรือนคือชาวบ้านทั่วๆไปนี่ล่ะ


อ้างอิงจาก:
แล้วอาจารย์ก็บอกว่า
"เมื่อกี้มีคนมามากมาย ...ไม่เชื่อลองถาม (ชื่อหนู)"
หนูก็ตอบไม่ถูกเลยค่ะ อาจารย์ก็ถามรู้สึกยังไงบ้างตอนนั่งสมาธิ
หนูก็ตอบไป .. แต่ก็ตอบไม่มากค่ะ

nattakarn

: 10 ม.ค.2008, 6:28 pm



รู้สึกยังไงตอนนั่งสมาธิ หนูนัทเล่าให้อากรัชกายฟังม้างดิ เหมือนที่เล่าให้อาจารย์ฟังน่า

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2008, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-สมาธิ เป็นองค์ธรรมสำคัญลำดับที่สอง ในสิกขาสาม คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา

อธิปัญญาสิกขา (เรียกย่อ ศีล สมาธิ ปัญญา)

แต่มีผู้ปฏิบัติธรรมหลงเข้าใจผิดอยู่มากเช่นกัน

บางกลุ่มศึกษาสมาธิเพียงแง่มุมเดียวคือสมาธิ เพื่ออภิญญา เมื่อตนไม่ต้องการอภิญญา

สมาบัติ จึงมองข้ามสมาธิ คิดว่าสมาธิไม่สำคัญ โดยลืมไปว่าสมาธิมีหลายระดับ

ในองค์มรรคก็มีสัมมาสมาธิ และมรรคมีองค์ 8 นั้น ก็ย่นย่อเข้าใน ศีล สมาธิ ปัญญา


ดังนั้นจะนำคำอธิบายเกี่ยวกับสมาธิ จากหนังสือพุทธธรรม ซึ่งท่านนำมาจากอรรถกถา

และพระไตรปิฎก ให้พิจารณากัน ดังนี้

จิตที่มีคุณภาพดีมีสมรรถภาพสูงหรือจิตที่เป็นสมาธินั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1. แข็งแรง มีพลังมาก

ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว ย่อมมีกำลัง

แรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง

เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด

เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น

ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย


จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า

จิตประประกอบด้วยองค์ 8

องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

1. ตั้งมั่น

2. บริสุทธิ์

3. ผ่องใส

4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา

5. ปราศจากสิ่งมัวหมอง

6. นุ่มนวล

7. ควรแก่งาน

8. อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว

-ท่านว่าจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งาน

ทาง ปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิตให้เกิด

อภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

-ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ ความ

ควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ งานทาง

ปัญญา อันได้แก่การใช้จิตพร้อมดีเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณา

สภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง

และโดยนัยนี้ จึงควรย้ำเพิ่มไว้อีกด้วยว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความ

รู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจาก

สิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้

ปัญญา

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2008, 6:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สิ่งที่บดบังบีบคั้นกั้นขวางจิต ได้แก่นิวรณ์ 5 อย่าง

สมาธิ กับ นิวรณ์เป็นธรรมคู่ปรับกัน

เมื่อนิวรณ์มาสมาธิก็ไม่มี สมาธิมีนิวรณ์ก็หมดไป

-นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง

แปลเอาความว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิต สิ่งที่ขัดขวางความดีงามของจิต

สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา

หรือแสดงความหมายให้เป็นวิชาการยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม

ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำ

ปัญญาให้อ่อนกำลัง

-คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม)

เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”

เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”

และว่า “ธรรม 5 ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มี

ญาณ (สร้างความรู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ

นิพพาน”

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ม.ค. 2008, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ไวพจน์ที่แสดงความหมายของ สมาธิ คำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลกันว่า ภาวะที่จิตมี

อารมณ์หนึ่งเดียว

แต่ถ้าว่า ตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับข้อหนึ่ง ( 1. แข็งแรง มีพลังมาก )

คือ เอกัคคตา = เอก + อัคค+ ตา (ภาวะ)

คำว่า อัคคะ ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า อารมณ์

แต่ความหมายเดิมแท้ ก็ คือ จุดยอด หรือจุดปลาย

โดยนัยนี้ จิตเป็น สมาธิ ก็ คือ จิตที่มียอด หรือมีจุดปลายจุดเดียว

ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง แทงทะลุสิ่งต่างๆ ไปได้ง่าย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-นิวรณ์ มี รายละเอียดดังนี้

1. กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม)

หรือ อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หมายถึง ความอยากได้กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ

จิต ที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่

คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป

ไม่อาจเป็นสมาธิได้


2. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ

ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย

มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ

ไม่พอใจต่างๆ

จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ


3. ถีนมิทธะ (ถีน+มิทธะ) ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม

แยกเป็น ถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย

ที่เป็นอาการของ จิตใจ

กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน

อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไป ทางกาย

จิตที่ถูกอาการทางกาย และ ทางใจอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว

ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้


4. อุทธัจจกุกกุจจะ ( อุทธัจจะ+กุกกุจจะ) ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ

แยกเป็น อุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่าย พร่า พล่านไป

กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ

จิต ที่ถูก อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบลงได้

จึงไม่เป็นสมาธิ


5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ สงสัย เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับ

สิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตัดสินไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้

(สมาธิภาวนานี้ ดีจริงหรอ การปฏิบัติเช่นนี้ได้ผลจริงหรอ ฯลฯ ) มีคุณค่า

มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลหรือไม่ คิดแยกไปสองทาง กำหนดไม่ลง

จิต ที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ให้ค้างให้พร่า ลังเลอยู่ ย่อมไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-พิจารณาพุทธพจน์ที่ว่า จิตที่ถูกนิวรณ์กดทับแล้ว ทำให้ปัญญาดับอ่อนกำลัง

ทั้งตัวจิตเองก็พร่ามัว มองไม่เห็นอรรถเห็นธรรม ฯลฯ


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต

ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง

ห้าประการ กล่าวคือ กามฉันท์...พยาบาท...ถีนมิทธะ...อุทธัจจกุกกุจจะ...วิจิกิจฉา...

ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญา

อ่อนกำลัง แล้วจักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์

แจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ

ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้


เปรียบเหมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชียว

พัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็ก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง

ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชียว และ พัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 6:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(อีกทั้งความจำก็ไม่ค่อยดี จำไม่แม่น ที่จำได้แล้วก็หลงๆลืมๆ

ต่างจากจิตที่ปราศจากนิวรณ์ จำเรื่องที่ควรจำได้แม่นกว่า

เรื่องนี้มีการสนทนากันระหว่างพราหมณ์ กับ พระพุทธเจ้า ดังนี้ )


-สังคารวะพราหมณ์ : กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า

ท่านพระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้

ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้ว ตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มชัด

ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย

และอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย

แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย


พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า: ดูกรพราหมณ์

ในเวลาใด บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่

และไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งทางออก แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว

ในเวลานั้น เขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น

ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนาน ก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง

ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย


(บุคคล มีใจกลุ้มรุมด้วย พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ก็เช่นเดียวกัน

และทรงเปรียบจิต ที่ถูกนิวรณ์ ต่างๆ ครอบงำ ดังต่อไปนี้)

1. (จิต ที่ถูกกามราคะ ครอบงำ)

เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าง สีแดงอ่อนบ้าง

ผสมปนกันไว้

คนตาดีมองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ ไม่เห็นตามเป็นจริง

2. (จิต ที่ถูกพยาบาท ครอบงำ)

เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพลุ่ง

คนตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ ไม่เห็นตามเป็นจริง

3. (จิต ที่ถูกถีนมิทธะ ครอบงำ)

เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม

คนตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ ไม่เห็นตามเป็นจริง

4 (จิต ที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำ)

เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ที่ถูกลมพัด ไหว กระเพื่อมเป็นคลื่น

คนตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ ไม่เห็นตามเป็นจริง

5. (จิต ที่ถูกวิจิกิจฉา ครอบงำ)

เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำที่ขุ่น มัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด

คนตาดี มองดูเงาหน้าของตน ในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ ไม่เห็นตามเป็นจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 6:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ไม่แจ่มแจ้ง หมายถึง นึกไม่ออก หรือ คิดไม่ออก)

อีกแห่งหนึ่ง ที่ตรัสถึงจิตที่ไม่ขุ่นมัว เหมือนห้วงน้ำใสมองเห็นก้อนหิน ก้อนกรวด

หอย และ ปลาที่แหวกว่ายในน้ำ

ส่วนจิต ที่ขุ่นมัวก็เหมือนห้วงน้ำขุ่นที่ตรงกันข้าม


(องฺ.เอก.20/46-47/10)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 6:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนบุคคล ที่ใจไม่มีนิวรณ์ 5 ครอบงำ และ รู้ทางออกของนิวรณ์ ที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

มนต์ แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย

และ มีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่ได้กล่าวมาแล้ว


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2008, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(นิวรณ์ เป็นต้นจะสิ้นไป ก็ด้วยฝึกอบรมจิตด้วยสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนา (อย่างถูกวิธี)

เท่านั้น

หาใช่หมดสิ้นไป ด้วยวิธีอื่นจากนั้น เช่น สวดอ้อนวอน เป็นต้น

หรือจำคัมภีร์จำตำราได้ก็หาไม่)

มีพุทธพจน์ยืนยัน ดังนี้



“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียร ในการฝึกอบรมจิต

ถึงจะมีความปรารถนาว่า ขอให้จิตของเราหลุดพ้นจากอาสวะ ดังนี้ จิตของเธอ

จะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่…เหมือนไข่ไก่ 8 ฟอง ก็ตาม 10 ฟองก็ตาม 12 ฟองก็ตาม

ที่แม่ไก่ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก ถึงแม่ไก่จะมีความปรารถนาว่า ขอให้ลูกของเรา

ใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาโดยสวัสดีเถิด ดังนี้

ลูกไก่ จะใช้ปลายเล็บ หรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่”


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1เอง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 11:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชอบมากเลยคับคุณกรัชกายคำว่า " ไฟล์ขยะ "
ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 12:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-*- ยาวจังค่ะคุณอา หนูอ่า comment แระก็จะเป็นลมแล้ว แฮ่ะๆ ..

กรัชกาย พิมพ์ว่า:

อ้างอิงจาก:
หนูยังไม่ทราบเลยค่ะว่าคฤหัสถ์คืออะไร

nattakarn
13 ม.ค.2008, 11:43 am



คฤหัสถ์ กับ ฆราวาส ความหมายเดียวกันจ้า ได้แก่ ผู้ครองเรือนคือชาวบ้านทั่วๆไปนี่ล่ะ


อ้างอิงจาก:
แล้วอาจารย์ก็บอกว่า
"เมื่อกี้มีคนมามากมาย ...ไม่เชื่อลองถาม (ชื่อหนู)"
หนูก็ตอบไม่ถูกเลยค่ะ อาจารย์ก็ถามรู้สึกยังไงบ้างตอนนั่งสมาธิ
หนูก็ตอบไป .. แต่ก็ตอบไม่มากค่ะ

nattakarn

: 10 ม.ค.2008, 6:28 pm



รู้สึกยังไงตอนนั่งสมาธิ หนูนัทเล่าให้อากรัชกายฟังม้างดิ เหมือนที่เล่าให้อาจารย์ฟังน่า



อ๋อ .. หนูก็บอกครูว่าหนูมึนหัวแค่นั้นล่ะค่ะ ^^"

ก็หนูพูดไม่ถูกอ่าน่าคะ ที่จริงหนูก็รู้สึกหนักศีรษะด้วยนิดหน่อยค่ะ

หนูคิดว่าคงเป็นเรื่องธรรมดา เลยไม่ได้บอกครูไปค่ะ ^^
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 12:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่อ .. คุณอาคะ

หนูมีอีกเรื่องค่ะ

พอดีวันนี้หนูกับเพื่อนนัดกันไปทำงานกันที่โรงเรียน

พอเที่ยงตรง(ก็เมื่อสักครู่นี่เอง)

หนูก้ไปทานอาหารแถวๆนั้นอ่าคะ

แล้วพอดีร้านนั้นมีคนเข้าทรงอยู่(หนูเขียนถูกไหมคะ "ทรง")

ตอนแรกหนูก็ไม่กล้าเข้านะคะ ก็เพื่อนลากให้เข้าไป

หนูก็นั่งสักพัก(รอเค้าทำอาหาร)

ก็คนทรงเรียกเพื่อนหนูไปก่อน เค้า(คนทรง)ผูกสายสินจ์ให้เพื่อนหนูค่ะ แล้วก็สาดน้ำมนต์ให้

แล้วเค้าก็เรียกหนูไป เค้าก็ผูกสายสินจ์ให้เหมือนกันค่ะ แล้วก็เอาธงอะไรซักอย่าง

ที่เขียนเป็นภาษาจีนมาโบกค่ะ แล้วเค้าก็พูดกับหนูไปสักพัก

แล้วก็พูดภาษาจีนด้วยค่ะ หนูก็ฟังไม่ค่อยออก

แต่มีพี่เค้าบอกให้ หนูก็เลยรู้เรื่องหน่อย

นี่ละคะ หนูอยากจะถามว่า

ถ้าได้สายสินจ์ แล้วบวกกับธงที่มาโบก

ก็จะไม่มีอะไรเสียหายใช้มั๊ยคะคุณอา?

^^
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 4:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
ชอบมากเลยคับคุณกรัชกายคำว่า " ไฟล์ขยะ "

1เอง
16 ม.ค.2008, 11:07 am



อ้อ ครับ คุณหนึ่งเอง

ก็สรรหาสิ่งที่ใกล้ชิดกับเด็ก พูดแล้วเค้าเข้าใจความหมายได้ง่ายน่าครับ

ความคิดความจำที่เป็นโทษเก็บไว้ก็รกสมองเป็นภาระแก่จิตใจเปล่าๆ นึกถึงทีไรจิตใจก็เศร้า

หมอง

แต่ก็แปลกนะครับ สิ่งที่เราอยากลืมแต่กลับจำ สิ่งที่อยากจำจำกลับหลงๆลืมๆ

หาก Microsoft สร้างเครื่องสะแกนความคิดที่ไม่เป็นประโยชน์ออกจากจิตใจได้คงดี

จะสะแกนความคิดที่เป็นอกุศลออกให้หมด

เวลาฝึกสมาธิง่ายขึ้น เป็นสมาธิได้เร็วทันใจเรา ว่าไหมครับ

แต่นี่อะไรกัน เรา พุทโธๆ พองหนอ ยุบหนอ ไม่กี่ทีออกไปเพ่นพ่านข้างนอกอีกแล้ว

คิดอะไรนักก็ไม่รู้ ที่คิดใช่เรื่องดีนะครับ ดีดีจำไม่ได้ นึกๆ คิดๆ สิ่งที่ไม่ต้องการให้คิดให้นึก

ครับ
หลับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 4:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สวัสดีจ้า หนู นัท นึกว่าทิ้งอากรัชกายให้เฝ้ากระทู้คนเดียวสะแล้ว

เรื่องสมาธิยังไม่จบนะยังมีต่ออีก

แต่ตอบคำถามหนูก่อน

อ้างอิงจาก:

ยาวจังค่ะคุณอา หนูอ่า comment แระก็จะเป็นลมแล้ว แฮ่ะๆ ..

nattakarn

16 ม.ค.2008, 12:34 pm



หรอจ๊ะ จะเป็นลมแล้วหรอ สม ก็หนูเล่น comment มาทั้งหมดนี่ ขำ

เราเลือกเฉพาะข้อความที่เป็นประเด็นมาดิ ไม่พึงนำมาทั้งหมดก็ได้

อ่านทำความเข้าใจก่อนว่า ประเด็นที่เค้าอยู่ตรงไหน แล้วนำเฉพาะข้อความตรงนั้นมา

แบบนี้ลมก็ไม่ใส่เราด้วย ยิ้ม

ความจริงมีแค่บรรทัดเดียวเองที่อาถาม =>

รู้สึกยังไงตอนนั่งสมาธิ หนูนัทเล่าให้อากรัชกายฟังม้างดิ เหมือนที่เล่าให้อาจารย์ฟัง

น่า


 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
พูดภาษาจีนด้วยค่ะ หนูก็ฟังไม่ค่อยออก
แต่มีพี่เค้าบอกให้ หนูก็เลยรู้เรื่องหน่อย

หนูอยากจะถามว่า
ถ้าได้สายสินจ์ แล้วบวกกับธงที่มาโบก
ก็จะไม่มีอะไรเสียหายใช้มั๊ยคะคุณอา?

Nattakarn
16 ม.ค.2008, 12:45 pm



ถูกแล้วจ้า ทรงเจ้า “ทรง” เขียนอย่างนั้นแหละ

อืมม...โรงเรียนของหนูอยู่จังหวัดไหนหรอ

บอกจังหวัดได้ป่าว หรือ บอกภาคก็ได้ อยู่ภาคไหน มีคนทรงเจ้าเยอะเลยหรอ

แล้วพี่เค้าแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่าไงบ้างล่ะ น่าจะบอกกันบ้าง

เอาด้ายสายสิญจน์ ผูกข้อมือแล้วโบกธง ไม่เสียหายอะไรหรอกจ้า

ต่อไปหลบได้หลบออกมาเสียจะดีกว่านะครับ


แต่สงสัยเพื่อนเราที่ว่า คนทรงเอาน้ำมนต์สาด ไม่เปียกปอนหมดหรอ ตกใจ

เค้าพรมๆ เอาม้างนะ แบบใช้กำหญ้าคาจุ่มน้ำมนต์แล้วพรมๆงี้น่า

เล่นสาดกันเหมือนสาดน้ำสงกรานต์ ไม่น่าใช่นะอาว่า

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 7:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใช่ค่ะใช่เค้าเอาน้ำมนต์พรมค่ะ ไม่ใช่สาด อิอิ ..

แต่เค้าก็เอาน้ำหมดสาด เอ้ย!! พรมหนูเหมือนกันค่ะ

อ๋อ .. หนูอยู่ปัตตานีค่ะ (O_O!! คุณอาตกใจมั๊ยคะเนี่ย)

ก็เค้าถามว่าเรียนอยู่ ม. อะไร แล้วก็ อยู่โรงเรียนไหน

บ้านอยู่ที่ไหนค่ะ

หนูชื่อจิ๊บนะคะ นัทนั่นชื่อจริงหนูค่ะ ^^

ชื่อจริงหนูณัฐกานต์ค่ะ
 

_________________
ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อเราตายไปสิ่งที่ไม่ตายไปกับเราด้วยก็คือ "ความดี" ค่ะ หนูจะทำความดี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ม.ค. 2008, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
(O_O!! คุณอาตกใจมั๊ยคะเนี่ย)

nattakarn
16 ม.ค.2008, 7:31 pm


อากรัชกาย จาต๊กจัยทามพรือล่าว :) ยิ้ม (มีอะไรน่าตกใจหรอเล่าให้ฟังมั่งดิ)

ก็ในเมื่อวัดช้างไห้ (วัดหลวงพ่อทวด) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวพุทธใช้ประกอบศาสนกิจ

ก็อยู่ที่ปัตตานี

คำสอนที่เป็นหลักใหญ่ของพุทธก็มีว่า

1. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง - การไม่ทำบาปทั้งปวง = ศีล

2. กุสะลัสสูปะสัมปะทา - การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม =ส มาธิ

3. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง - การทำจิตของให้ผ่องใส = ปัญญา

-ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานเจ้าแม่โต๊ะกงแม๊ะ ซึ่งเป็นที่พึ่งที่นับถือของชาวจีน

ก็อยู่ที่นั่น

(หนูจิ๊บรู้จักฮะป่าวศาลเจ้าแม่โต๊ะกงแม๊ะ)

-มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เป็นมัสยิดที่สวยที่สุดของไทย + มัสยิดกรือเซะ

ซึ่งใช้เป็นที่ละหมาดของชาวมุสลิม ก็อยู่ที่จังหวัดนั้น

(การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า

" และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม ")


เมื่อเราหยิบวัฒนธรรมความเชื่อ อีกคำสอนของแต่ละศาสนามาวางแล้ว

ก็จะแลเห็นบรรพบุรุษในท้องถิ่น อยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกัน แม้จะต่างกันทางประเพณี

-กลุ่มหนึ่งมุ่งหน้าไปวัด

-กลุ่มหนึ่งไปศาลเจ้า

-อีกกลุ่มหนึ่งไปมัสยิดเพื่อทำละหมาด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง