Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงพ่อเพ็ชร์ พระพุทธรูปคู่เมืองอุตรดิตถ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 7:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

หลวงพ่อเพ็ชร์ พระพุทธรูปคู่เมืองอุตรดิตถ์

อุตรดิตถ์ จังหวัดสงบแห่งภาคเหนือตอนล่าง ที่แม้จะเป็นเมืองผ่าน แต่ว่าจังหวัดนี้ก็มีของดีให้เที่ยวชมอยู่ไม่น้อยเลย โดยหนึ่งในนั้นก็คือ “หลวงพ่อเพ็ชร์” (สะกดชื่อตามเอกสารวัดท่าถนน) หนึ่งในพระพุทธรูปชื่อดังแห่งภาคเหนือและสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพ็ชร์ (หรือหลวงพ่อเพชร) ตามตำนานกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะ หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูป จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดหมอนไม้

หลังจากที่หลวงพ่อด้วงได้ให้พระภิกษุ-สามเณรในวัด ช่วยกันทำความสะอาดขัดถูองค์พระพุทธรูปจนสะอาด พบว่าพระพุทธรูปองค์นี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก สีทอง สุกแวววาว อีกทั้งยังเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร (นั่งขัดสมาธิเพชรคือการนั่งขัดสมาธิเท้าซ้ายทับเท้าขวา แล้วเอาเท้าขวาทับเท้าซ้ายอีกที โดยให้ฝ่าเท้าทั้งสองหงายขึ้นเบื้องบน) ที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก จึงพากันเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเพ็ชร์” อันเป็นที่เลื่องลือไปไกลและมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้ไม่ขาดสาย

จากนั้นหลวงพ่อเพ็ชร์ได้ถูกย้ายไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนนในปัจจุบัน) เนื่องจากหลวงพ่อด้วงเห็นว่า ที่วัดหมอนไม้ไม่มีโบสถ์เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร์ให้สมเกียรติของท่าน จึงนำไปถวายให้กับ หลวงพ่อเพชร (ชื่อเจ้าอาวาส) ที่วัดวังเตาหม้อ

ปี พ.ศ. 2443 หลวงพ่อเพ็ชร์ถูกนำไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในกรุงเทพฯ อันเป็นเหตุให้หลวงพ่อเพชร (เจ้าอาวาส) เศร้าเสียใจมาก ออกจากวัดวัดวังเตาหม้อไปปฏิบัติธรรมอยู่ตามป่าเขา ก่อนจะมรณภาพบนยอดเขานาตารอด ใน จ.อุตรดิตถ์ นั่นเอง

ตามตำนานยังกล่าวอีกว่า หลังหลวงพ่อเพชรมรณภาพ วิญญาณของท่านที่ยังห่วงใยต่อหลวงพ่อเพ็ชร์ จึงได้แสดงอภินิหาร ด้วยการเข้าฝัน สมเด็จพระบรมราชินีพระพันปีหลวง บันดาลให้พระองค์ทรงนิมิตฝัน ว่า “หลวงพ่อเพ็ชร์พระพุทธรูปองค์ที่ได้นำเอามาจากวัดวังเตาหม้อได้มาเข้าฝัน ขอร้องให้นำพระองค์ท่านส่งกลับคืนไปไว้ยังวัดวังเตาหม้อ เมืองอุตรดิตถ์ เสียตามเดิมเถิด ท่านจะอยู่ที่กรุงเทพฯ นี้ต่อไปอีกไม่ได้ เพราะเป็นห่วงลูกศิษย์ของท่านและห่วงใยประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ผู้มีใจเคารพนับถือท่าน”

ในขณะที่อีกกระแสหนึ่งที่อ้างอิงจากข้อมูลประวัติหลวงพ่อเพ็ชร์ วัดวังเตาหม้อ ระบุว่า เมื่อหลวงพ่อเพชรมรณภาพ บรรดาลูกศิษย์และประชาชนผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อเพชร ได้นัดหมายรวมพวกพากันเรียกร้องต่อนายอำเภอ นำคำร้องขอให้ทางราชการส่งมอบคืนพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร์กลับคืนมา หลวงนฤนาถเสนี (พัน จุภรรยา) จึงเดินทางไปกรุงเทพฯ และกราบถวายบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์จึงโปรดเกล้าพระราชทานพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร์คืน และมอบให้หลวงนฤนาถเสนี เป็นผู้นำกลับมาประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนนในปัจจุบัน) ตามเดิมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2453

หลังถูกอัญเชิญกลับมายังวัดวังเตาหม้อ ว่ากันว่าหลวงพ่อเพ็ชร์ได้แสดงความศักดิ์สิทธิ ปาฏิหาริย์ให้ผู้คนพบเห็นกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน ปี พ.ศ. 2475 ที่ได้เกิดไฟไหม้ตลาดบางโพที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดวังเตาหม้อ ขณะที่ไฟไหม้เกิดลมพัดอย่างรุนแรงและไฟได้ลุกไหม้ถึงหลังคาโบสถ์หลังเก่าซึ่งอยู่ใกล้วิหารหลวงพ่อเพ็ชร์ ตอนนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อหลวงตาเฮงกับสามเณรน้อย หลบไฟเข้าไปอยู่ในวิหารหลวงพ่อ และภาวนาให้หลวงพ่อช่วยไม่ให้เกิดอันตราย โดยความร้อนของไฟทำให้น้ำมนต์ในโอ่งเดือดและแห้งไป เวลาผ่านไปไฟมอดซาลง แต่หลวงตาเฮงกับเณรน้อยกลับไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด สามารถเดินออกมาจากวิหารได้อย่างปลอดภัยเป็นที่น่าอัศจรรย์ต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก

และนี่คือหนึ่งในความศักดิ์สิทธิ ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อเพ็ชร์ ที่ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรไกล และมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้สักการบูชา บนบานศาลกล่าวกันอย่างไม่ขาดสาย

ปัจจุบัน หลวงพ่อเพ็ชร์ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดท่าถนนหรือวัดวังเตาหม้อ ซึ่งนอกจากหลวงพ่อเพ็ชร์แล้ว วัดท่าถนนยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมกันอีกหลายจุด อาทิ วิหารหลวงพ่อเพ็ชร์ ที่มีหลังคาโค้งซ้อนชั้นรูปทรงสวยงามแปลกตา, โบสถ์วัดท่าถนนที่ภายในประดิษฐานหลวงพ่อดำและมีภาพจิตกรรมฝาผนังไตรภูมิพระร่วงอันสวยงาม

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดท่าถนน ที่ภายในเก็บข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ, กุฏิท่านเจ้าอาวาส, วิเชียรมุณีที่เป็นอาคารเก่าแก่ทรงยุโรป ซึ่งแม้ปัจจุบันจะอยู่ในสภาพทรุดโทรม (การเข้าชมต้องขออนุญาตทางวัดก่อน) แต่ว่าภายในก็มีข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ให้ชมกันจำนวนหนึ่ง อาทิ จานชาม เครื่องกระเบื้อง ตาลปัตรโบราณ ตู้เซฟโบราณ และเตียงโบราณอายุ 100 กว่าปีจากเยอรมันที่มีลักษณะสวยงามน่าชม เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์ หากมีโอกาสก็ไม่ควรพลาดการแวะเวียนไปสักการะหลวงพ่อเพ็ชร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเพื่อเสริมสิริมงคลด้วยประการทั้งปวง


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

หลวงพ่อเพ็ชร์ ประดิษฐาน ณ วัดท่าถนน (วัดวังเตาหม้อ)
ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โทรศัพท์ 0-5541-1703


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2550 16:39 น.
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง