Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สติ คือความไม่ประมาท (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 7:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อปฺปมาเทน อณฺณวํ
ความไม่ประมาท คือว่าไม่ลืมตัว
บุคคลจะพ้นจากมหรรณพภพสงสารได้ เพราะความไม่ประมาท

ความไม่ประมาทนั้นหมายถึง เรื่องจิตอันเดียว คือ มีสติไม่พลั้งเผลอหลงลืม อย่างเช่นเราเดินตามถนนหนทางไปไม่เพลินไม่หลงมัวเมา หมายถึงว่าเราต้องเดินด้วยความระมัดระวังกลัวรถจะชนเอา กลัวขโมยเขาจะมาตีชิงวิ่งราวอะไรต่างๆ อันนั้นเรียกว่าความไม่ประมาท ความไม่ประมาทนี้เป็นเหตุให้รักษาตัวได้

อย่างชั้นดีขึ้นไปกว่านั้นอีก ความไม่ประมาท
คือมีสติควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจของตน ไม่หลงพลั้งเผลอ
สติ คือความไม่ประมาทนี้ สามารถที่จะป้องกันภัยอันตรายหลายอย่าง
ป้องกันกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นก็ได้ รักษากิเลสของตนก็ได้

ถ้าไม่เชื่อก็ลองคิดดู เราคิดจะทำลายคนอื่นเพราะเผลอสติ เมื่อมีสติตั้งมั่นแล้วไม่สามารถจะทำลายคนอื่นได้ เรามีสติอยู่ทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ นั่นแหละ คือความไม่ประมาท

ความไม่ประมาท คือมีสตินี้ แม้แต่ความเจ็บ ความปวด ความเมื่อยล้าสารพัดทุกอย่าง เอาสติตัวนั้นแหละไปควบคุม เอาสติไปมองดู เอาสติตัวนั้นแหละไปกำจัดหายไปเลย สติตั้งมั่นในที่ใดกิเลสเหล่านั้นต้องหายไปในที่นั้น ถ้าหากสติตั้งมั่นอยู่ทุกอิริยาบถ กิเลสมันก็ไม่เกิดเท่านั้นซี ทีนี้เราตั้งมั่นแต่ในขณะที่เราเจ็บปวด ในเวลาที่เราเมื่อยล้า เอาสติไปตั้งมั่นแล้วมันก็หายไป แต่พอมันหายไปแล้วก็ลืมสติอันนั้นเสีย มันก็เลยประมาทต่อไปอีก นั่นแหละจึงว่า อปฺปมาเทน อณฺณวํ

ครั้นเมื่อมี สติแล้วคราวนี้เกิด อุบายปัญญา คือรู้จักจิตของตน รู้จักว่าจิตคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบคิดละเอียดรู้เท่ารู้ทันอยู่ตลอดเวลา นั่นเรียกว่าปัญญา ปัญญาในขั้นนี้ไม่ใช่ปัญญาวิปัสสนา แต่เป็นปัญญาที่รู้เท่ารู้ตัวของเราระมัดระวังไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น ไม่ให้ทำความชั่ว ส่วนปัญญาวิปัสสนานั้นอีกอย่างหนึ่งต่างหาก ผู้ที่เจริญวิปัสสนามันต้องเกิดเองเป็นเอง เราต้องรักษาสติเรียกว่าไม่ประมาทเสียก่อน เมื่อรักษาสติตัวนี้แก่กล้าแล้วมันเกิดปัญญาของมันเองหรอก

ปัญญาวิปัสสนาไม่ได้ตั้งใจให้เกิดแต่เกิดเอง
(ปัญญาที่ตั้งใจเรียกว่าปัญญารักษาตัวเบื้องต้น)
ของมันเกิดเองเป็นเองจึงเป็นของอัศจรรย์นัก
เป็นของเหลือวิสัยที่มนุษย์ปุถุชนจะให้มันเกิดขึ้น

ปัญญาวิปัสสนาพิจารณาเห็น ไตรลักษณ์ชัดแจ่มแจ้งด้วยตนเอง
ไม่มีใครบอกใครสอนและไม่ต้องปรารมภ์ถึงเรื่องอะไรทั้งหมด
มันเป็นเอง ปัญญานั้นเป็นของสูงสุด

ปัญญาวิปัสสนาเป็นชั้นของพระอริยะเจ้า
ไม่ใช่ของที่จะเกิดบ่อยๆ และแต่ละชั้นๆ นั้น
(โสดาบัน สกทาคา อนาคามีและอรหันต์) ก็เกิดครั้งเดียว
ไม่ใช่เกิดได้ถึงสองสามครั้ง นั้นแหละคือปัญญาวิปัสสนาแท้

: ศรัทธา ความไม่ประมาทและความบริสุทธิ์หมดจด
: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
: วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔

http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum87.html


สาธุ
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 11:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครั้นเมื่อมี สติแล้วคราวนี้เกิด อุบายปัญญา
คือรู้จักจิตของตน
รู้จักว่าจิตคิดดีคิดชั่ว
คิดหยาบคิดละเอียดรู้เท่ารู้ทันอยู่ตลอดเวลา
นั่นเรียกว่าปัญญา
สาธุ

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ คุณ I am สาธุ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง