Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เพื่อบรรลุ หรือ เป็นพระโสดาบัน...อย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2007, 7:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความจริงระดับปรมัตถ์แล้ว....
การศึกษาและปฏิบัติ(สิกขา)ทั้งหลาย ก็เพราะมีทุกข์ และปราถนาจะพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

ทีนี้ พระพุทธองค์ท่านทรงทำจุดสังเกตุเอาไว้ให้ผู้เดินตามพระองค์ว่า เมื่อทุกข์ในใจลดลงระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า จะพ้นทุกข์
จะมีจุดสังเกตุดังนี้

1.สักกายทิฏฐิ(ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนระดับหนึ่ง) วิจิกิจฉา(ความลังเสงสัยในธรรม) สีลัพพตปรมาศ(การลูบคลำศีลและวัตร) บุคคลนั้นจะละได้ขาด

หรือ

2.เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้

หรือ

3.ทุกข์ใจในปัจจุบัน จะลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับปุถุชน(คล้ายๆว่า...จะมีการเปรียบทุกข์ของพระโสดาบันกับจำนวนเขาโค แต่ทุกข์ของปุถุชนมากเหมือนกับขนโค... ตรงนี้ไม่แน่ใจน่ะครับ ยังไม่ได้กลับไปค้นข้อความอ้างอิง)

หรือ

4.พระโสดาบัน เป็นผู้รู้อุปาทานขันธ์5 ในลักษณะ5

*การรู้อุปาทานักขันธ์ โดยลักษณะห้า คือพระโสดาบัน*

ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง, ห้าอย่าง อย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือ
รูปูปาทานขันธ์.
เวทนูปาทานขันธ์.
สัญญูปาทานขันธ์.
สังขารูปทานขันธ์.
วิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล อริสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษ (อาทีนวะ) และอุบายเป็นกลไกออกไป (นิสสรณะ) จากอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.
(-ขันธวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๙๖ ข้อที่ ๒๙๖ (อริย. ๕๙๐).




อยากเสนอ ให้สังเกตุข้อ5

คือ การรุ้อุปาทานขันธ์5 ใน5ลักษณะ

อุปาทานขันธ์5 ก็ คือ ขั้นธ์5ที่ยังมีอาสวะอันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน
มีพระพุทธวจนะที่ตรัสว่า
"อุปาทานกับอุปาทานขั้นธ์ หาใช่สิ่งเดียวกันไม่....แต่ อุปาทานอื่น นอกจากอุปาทานขันธ์5ไม่มี" และ
"กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์5 เป็นทุกข์"

หรือ จะพูดง่ายๆ ก็คือ ถ้ารู้สึกทุกข์อยู่เมื่อใด เมื่อนั้นมีอุปาทานขันธ์5อยู่ในความรู้สึก แน่ๆ

เมื่อมีทุกข์อยู่ในใจ อุปาทานขันธ์5 จะต้องปรากฏอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เรากำลังรู้สึกทุกข์....ไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม

อุปาทานมี4อย่าง คือ กามุปาทาน ทิฏฑุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน
ซึ่ง ทั้ง4อย่างนี้ อัตตวาทุปาทาน คือ การยึดมั่นว่า เป็นเรา เป็นของเรา นั้นเป็นรากของอุปาทานอีกทั้ง3อย่าง...
อุปาทานอีก3อย่าง ก็อิงไปจากอัตตวาทุปาทาน หรือ การยึดมั่นในตัวเรา-ของเรา


สังเกตุดูเถิดครับว่า ถ้ามีทุกข์ในใจปรากฏขึ้นเมื่อใด.... ลึกๆแล้วในใจจะต้องมี ความรู้สึกของ เรา-ของเรา เข้าไปปนอยู่


พระโสดาบันท่านพ้นจากทิฏฐุปาทาน(พ้นจากมิจฉาทิฏฐิแน่นอน)
พ้นจากสีลัพพตุปาทาน(ขาดจากการลูบคลำศีลและวัตร เพราะใจท่านถึงซึ่งแก่นแท้ของศีลอย่างเต็มที่แล้ว)
พ้นจากสักกายทิฏฐิ(ความถือมั่นในอัตตาระดับหนึ่ง)ได้ขาด....

แต่ท่านยังไม่พ้นจากกามุปาทาน(จะพ้นขาดเมื่อบรรลุอนาคามีผล)
ยังไม่พ้นขาดจากอัตตวาทุปาทาน(จะพ้นขาดสิ้นเมื่อบรรลุอรหัตตผล)


การละสักกายทิฏฐิ ก็คือ การเห็นอุปาทานขันธ์5อย่างชัดเจน(รู้)ใน5ลักษณะ

การสิ้นไปของอัตตวาทุปาทาน ก็คือ การดับสนิทของอุปาทานทั้งหมด

(ปล.... ทางตำราปริยัติ เคยอ่านเจอว่า จัดให้ สักกายทิฏฐิเท่ากันเป๊ะกับ อัตตวาทุปาทาน...
แต่ผมเคยฟังจากท่านผู้รู้ทางปฏิบัติ ท่านบอกว่า อัตตวาทุปาทานมีหลายระดับ พระโสดาบันละได้ขาดในระดับหนึ่ง แต่ไม่ขาดทั้งหมด...ถ้าขาดทั้งหมด คือ พระอรหันต์)




ที่นี้ มาสู่ประเด็นกระทู้ที่ว่า

"...เพื่อบรรลุโสดาบัน...."


ตรงนี้ ผมมองว่า การมุ่งที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบันนั้น ก็ เปรียบเสมือนกับคำกล่าวที่ว่า ใช้ตัณหาฆ่าตัณหา....

แต่ต้องไม่ลืมว่า
พระโสดาบันท่านถูกจัดเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน เพราะความรู้สึกว่าเป็น"ตัวท่าน-ของท่าน"มันเบาบางลงในระดับที่แน่นอน ในระดับหนึ่ง ต่างหาก

ไม่ใช่ว่า มี "ท่านไหนๆ" ที่มุ่งจะ "ไปเป็นอะไรๆ"

หรือ มองอีกมุมหนึ่ง เพราะท่านเริ่มเห็นแน่ชัดที่จะ"ไม่เป็นอะไร"นั้นต่างหาก ท่านถึงเป็นพระโสดาบัน


หลวงปู่ชา ท่านเคยกล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

"อย่าเป็นพระพุทธเจ้า
อย่าเป็นพระอรหันต์
อย่าเป็นพระโพธิสัตว์……

อย่าเป็นอะไรเลย ....การ "เป็นอะไร" ก็มีแต่ความทุกข์เท่านั้นแหละ
เราไม่มีความจำเป็นต้องเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง"


นำคำกล่าวของ ครูบาอาจารย์มาฝากครับ

คำว่า"เป็น" ก็ คือ "ภพ"....
พระโสดาบัน ท่านแน่ชัดที่จะพ้นจาก"ภพ" ก็ คือ แน่ชัดว่าท่านจะ"ไม่เป็นอะไร"นั่นเอง



กระทู้นี้ ก็หวังว่าเพื่อนสมาชิกคงพากันประกอบเหตุที่จะพาตนให้พ้นทุกข์แน่ชัดในระดับต้น(ที่ใช้ภาษาสมมติเรียกว่า "เป็น"พระโสดาบัน)....
แต่ อย่าเผลอไปทุกข์กับการจะเป็นพระโสดาบันเข้า ก็แล้วกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2007, 7:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระบาลีว่า พระโสดาบันท่านละขาดสักกายทิฏฐิ....

พูดให้กระชับ ก็คือ
พระโสดาบันท่านเห็นชัดเจนว่า ที่ท่านเคยเห็นว่าเป็นท่านนั้น โดยแท้แล้วไม่ใช่ท่าน.... เห็นชัดเจนว่า ตัวท่าน ของท่าน นั้นเป็นเพียงสภาวธรรมหนึ่ง ที่ มีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วก็ดับไป.....
ตรงนี้ เป็นระดับ "ความเห็นที่ชัดเจน".....

แต่ อาสวักขยญาณที่จะถอดถอนอุปาทานทั้งหมดยังไม่บังเกิดขึ้นในจิตใจท่าน ท่านจึงยังละอัตตวาทุปาทานไม่ขาดทั้งหมด..... ทุกข์ในใจท่านจึงยังมีอยู่ แตเบาบางมากแล้ว



อย่างเช่น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ....
ในคราวที่ท่านฟัง ธรรมจักรกัปวัตนสูตร

ท่านผู้รู้เคยเล่าสรุปให้ฟังไว้ว่า
คือ เมื่อจบพระพุทธเทศนาในครั้งนั้น ท่านอัญญาโกณฑัญญะเห็นจริงในไตรลักษณ์ ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา"....ก่อนหน้านั้น ท่านเห็นว่ามี ท่านเกิด-ท่านตาย มาตลอด....
แต่พอเมื่อ ท่านเห็นจริงในไตรลักษณ์ในระดับที่ละสักกายทิฏฐิได้อย่างเด็ดขาด ท่านเริ่มเห็นว่า ไม่ใช่ท่านเกิด-ท่านตาย แล้ว...
ท่านเห็นว่า เป็น "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง" (รวมทั้งรูปและนาม)ที่เมื่อมีการเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องแตกดับ"เป็นธรรมดา"....

คือ ตัวท่าน-ของท่าน มันเบาบางลงจนแน่นอนที่การสิ้นไปของทุกข์ใจในปัจจุบันจะปรากฏ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2007, 7:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เล่าเรื่องขำๆให้ฟังครับ ยิ้ม



ผมมีเพื่อนอยู่ท่านหนึ่งที่สนใจปฏิบัติธรรม

ดูเหมือนท่านจะเชื่อส่วนตัวของท่าน ว่าท่านเองเป็นพระโสดาบันแล้ว....

คุยไป-คุยมา เดี๋ยวก็จะวนมาตรงที่ว่า
ท่านจะพูดทั้งทางตรงและทางอ้อมว่าท่านล่ะสังโยชน์3อย่างเบื้องต่ำได้ขาดแล้ว



ปกติผมก็จะรับฟังเฉยๆ ไม่สนับสนุน หรือ ไม่คัดค้าน
เพราะจะอย่างไรเสีย การบรรลุ หรือ ไม่บรรลุ ของบุคคลอื่น มันก็ไม่ได้ทำให้ทุกข์ในใจผมลดลงแต่อย่างใด
และอีกประการหนึ่ง คือว่า
ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นประเสริฐ จนไม่มีความจำเป็นใดๆจะต้องนำความดีของพระธรรมไปผูกไว้กับบุคคลไหนๆ... ว่า ผู้นั้น จะบรรลุจริง หรือไม่จริง

และอีกประการหนึ่ง ถ้าไปซักไซ้ไล่เลียงท่านมาก เกรงว่าจะคุยกันไม่ได้อีก(กลัวพระโสดาบันโกรธจนไม่คุยด้วยอีก)

เพียงแต่นึกในใจว่า
"แหม โสดาปฏิผลนี่ .... ถ้าบรรลุแล้ว มันจะต้องทำให้อยากไปเที่ยวประกาศคุณธรรมขนาดนี้เชียวหรือ"



เท่าที่ฟังจากท่าน(นั้น) ท่านจะเชื่อว่า "....พระโสดาบันไม่เห็นกายเป็นตน แต่ยังเห็นจิตเป็นตนอยู่...."
(ท่านแปล คำว่า สักกายทิฏฐิ ไปในทางเฉพาะการยึดถือกาย เท่านั้น)



ตรงนี้ อยากให้ลองเทียบเคียงคำว่า สักกายทิฏฐิ อุปาทานขันธ์5 อัตตวาทุปาทาน
จาก พจนานุกรม ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
(ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)


อุปาทานขันธ์ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ


อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
(ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)




จาก ที่ว่า สักกายทิฏฐิหมายถึง ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน ๆลๆ

สักกายทิฏฐินี้ ไม่นับเฉพาะการเห็นรูป(กาย)เป็นตัวตนเท่านั้น.... แต่นับรวมถึงการเห็นนาม(เช่น เวทนา)เป็นตัวตนด้วย

ดูทางอ้อม จากการที่พระอัญญาโกณฑัญญะท่านบรรลุโสดาปฏิผลในคราวที่จบฟังธรรมจักรกัปปวตนสูตร....
ท่านเห็นว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง "ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมดับไปเป็นธรรมดา
คำว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ ในที่นี้ ตรงกับ สังขารทั้งปวง(ที่ไม่เที่ยง) คือ นับรวมทั้งรูปและนามครับ
หาใช่นับเฉพาะรูปเท่านั้น

หรือ ลองสังเกตุที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เวทนาปริคคหสูตร ที่ยังให้ทีคนขปริพาชกบรรลุโสดาปฏิผล (ส่วนพระสารีบุตรที่นั่งถวายงานพัดแด่พระพุทธองค์ ส่งจิตตามเทศนานี้จนบรรลุอรหัตตผลตรงนั้นเลย)..... ท่านทรงแสดง ธรรมอันเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์5ฝ่ายนาม(เวนา)เสียด้วยซ้ำ


พระพุทธวจนะอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ

*การรู้อุปาทานักขันธ์ โดยลักษณะห้า คือพระโสดาบัน*

ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง, ห้าอย่าง อย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือ
รูปูปาทานขันธ์.
เวทนูปาทานขันธ์.
สัญญูปาทานขันธ์.
สังขารูปทานขันธ์.
วิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล อริสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษ (อาทีนวะ) และอุบายเป็นกลไกออกไป (นิสสรณะ) จากอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.
(-ขันธวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๙๖ ข้อที่ ๒๙๖ (อริย. ๕๙๐).



จะเห็นได้ว่า

"....รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษ (อาทีนวะ) และอุบายเป็นกลไกออกไป (นิสสรณะ) จากอุปาทานขันธ์ทั้งห้า....." จัดว่าเป็นพระโสดาบัน

ขอเน้น ว่าเป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง5 น่ะครับ....ไม่ใช่เฉพาะรูปกายเท่านั้น


พระโสดาบัน จึงเป็นผู้ที่มีความเห็นชัดเจนว่า กายใจใช่ตัวตน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2007, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อพูดถึง พระโสดาบัน.... ก็ต้องพูดถึง อุปาทานขันธ์5

เพราะเมื่อเห็นชัดว่า อุปาทานขันธ์5เป็นทุกข์ และ หาทางสลัดออกซึ่งอุปาทานขันธ์5 จึงจัดว่าเป็นพระโสดาบัน




คุณดังตฤณ ท่านบรรยายเรื่องอุปาทานขันธ์5ไว้อย่างน่าสนใจ


จาก http://dungtrin.com/7months/06month.html

“.....ทุกข์ คืออุปาทานขันธ์ ๕ หรือกายใจอันเป็นที่ตั้งของอุปาทานนี้เอง เมื่อถึงคราวแก่เจ็บก็ทำให้เราต้องทนทรมานปวดเมื่อย เมื่อแตกตายเป็นเหตุให้พรากจากบุคคลอันเป็นที่รักก็ทำให้เราต้องร้องไห้คร่ำครวญทุกข์โทมนัส สรุปคือกายใจนี้เป็นทุกข์ด้วยสภาพบีบคั้นในตัวเอง แถมยังเป็นภาชนะรองรับทุกขเวทนาทั้งปวงที่เกิดขึ้นระหว่างมีชีวิตด้วย....”


จาก http://dungtrin.com/7months/04month.html

“....... การบรรลุธรรมก็ไม่ใช่เพื่อตัวตนของใคร แต่เพื่อหยุดวงจรทุกข์ไปอีกหนึ่งหน่วยเท่านั้น

ขอให้เข้าใจแจ่มแจ้งตั้งแต่ในระดับการรับฟังและคิดตามจริงๆเถอะ ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือโดยย่นย่อคือกายใจนี้ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์คือต้องแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จึงไม่ควรสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเป็นตน

การเฝ้าตามเห็นเป็นขณะๆย่อมไม่ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความมีหรือไม่มีตัวตนอีกเลย.....”




และจาก ท่านอาจารย์ปราโมทย์

http://larndham.net/wimutti/board/D00000128.html


“......พระศาสดาจึงทรงสอนให้เรามองตามความเป็นจริง
ให้เห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เพื่อถอดถอนความยึดมั่นในขันธ์ว่าเป็นของตนเสีย
สิ่งที่ท่านต้องการให้เราเรียนรู้ คือการสลัดคืนอุปาทานขันธ์เสีย
โดยเห็นขันธ์ 5 เป็นธรรมชาติธรรมดาอันหนึ่งๆ เท่านั้น

ไม่ใช่ให้รู้ขันธ์ 5 เพื่อความฉลาดรอบรู้อะไร
เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้มุ่งสอนให้เรารู้อะไรเล่นๆ หรือรู้เอาไว้อวดกัน
แต่สอนเพื่อให้ทำลายอุปาทานขันธ์เสีย จะได้ไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป
เมื่อขันธ์ประสบกับความวิบัติพลัดพรากทั้งปวง
......”


“......หมายเหตุ ตรงนี้จะเห็นชัดเลยว่า
ท่านมองขันธ์ที่ให้ใช้เจริญสติปัฏฐาน ว่าคืออุปาทานขันธ์
ถือเป็นสภาพธรรมอันหนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ถ้าเห็นจริงว่า ขันธ์เป็นสภาพธรรมอันหนึ่งๆ
ตัณหาและทิฏฐิก็ไม่ก่อตัวขึ้นในจิตใจ
ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้นอีก
ขันธ์จะเป็นเพียงธรรมชาติ ไม่ใช่ที่ตั้งแห่งความยึดมั่นต่อไป.....”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2007, 4:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในหนังสือพุทธธรรม ฉบับเดิม หน้า22

ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้อย่างน่าสนใจว่า


ขันธ์5 คือ ชีวิต

อุปาทานขันธ์5 คือ ชีวิตซึ่งเป็นปัญหา




พระอรหันต์ที่อุปาทานสิ้นจากใจแล้ว ท่านจึงเหลือแต่ชีวิตซึ่งไร้ปัญหา
แม้นท่านจะยังไม่ดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุก็ตาม


พระโสดาบัน ท่านยังไม่สิ้นซึ่งอุปาทานขันธ์5เสียทั้งหมด
เพราะอุปาทานยังไม่ดับสนิท..... แต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่า ท่านเที่ยงที่จะตรัสรู้
และทุกข์ใจที่ยังเหลืออยู่ ก็น้อยเต็มที
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jinny95
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): Ayutthaya

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2007, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัตว์ที่เห็นธรรมแล้ว ย่อมมีวิถีทางไปในทางที่พระพุทธทรงสอนไว้

โสดาบัน คือ สัตว์ที่เคยได้สัมผัสกระแสนิพพานแล้ว อาจจะ
เพียงชั่วขณะเดียว ฉะนั้น จิตใจของท่านจึงไม่ต้อง
การสิ่งใดอีก จึงมุ่ง จึงเร่ง จึงเพียรบำเพ็ญ ไปสู่ หนทางแ
ห่งการหลุดพ้น โดยไม่ลังเลใจ หรือ สงสัยใดๆ อีก
 

_________________
สิ่งที่คุณหา มันก็อยู่ที่คุณนั่นแหล่ะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 9:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถาม

“ทำอย่างไร เพื่อบรรลุ โสดาบัน???”


คำตอบ

ก็สละ "ตัวฉัน” อันสับสน
ละทิฏฐิ เคยเห็น ว่าเป็นตน
จึงบันดล ดวงตา พาเห็นธรรม

ก็เมื่อ ตัวฉันแท้ หามีไม่
จักมีฉัน บรรลุไหน ที่น่าขำ
หมั่นย้อนรู้ ดูด้านใน ให้ประจำ
มิถลำ หลงตน พิกลเอย


ตรงประเด็น
12 พย 50
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ดุสิตธานี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟันฟังแย๊ว ง๊าย..ง่ายยยย
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 4:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็นเรื่องที่ว่า พระโสดาบันเป็นเช่นใดนั้น
ไม่อาจแยกออกจาก เรื่อง สัมมาทิฏฐิสองระดับ(ตามมหาจัตตารีสกสูตร)ได้เลย

จึงขอเสวนา เรื่องนี้ไปในกระทู้นี้เลย



ถ้าดูตาม มหาจัตตารีสกสูตร แล้ว

อาจจะแบ่งบุคคลเป็น3กลุ่มดังนี้ครับ

1.ปุถุชนที่มีทิจฉาทิฏฐิ

2.ปุถุชนที่มีสัมมาทิฏฐิ(ดำรงอยู่ในสาสวสัมมาทิฏฐิ)

3.พระอริยบุคคล(ดำรงอยู่ในอนาสวสัมมาทิฏฐิ)



คือว่า พระสูตรนี้ไม่ได้แบ่งว่า "อย่างไรเรียกสัมมาทิฏฐิ หรือ อย่างไรเรียกมิจฉาทิฏฐิ "
โดยใช้ประเด็นที่ว่า" สามารถละสักกายทิฏฐิ ได้ หรือ ไม่ได้ "...มาเป็นเกณฑ์ตัดสินน่ะครับ....สังเกตุดีๆ


เพราะถ้าจะใช้เกณฑ์ตัดสินที่ว่า " สามารถละสักกายทิฏฐิ ได้ หรือ ไม่ได้ "มาเป็นเกณฑ์ตัดสิน..... ก็จะต้องแบ่งแบบที่คุณอโศกะเสนอมา
คือว่า ถ้าบุคคลใดไม่สามารถละสักกายทิฏฐิได้ขาด ก็ต้องจัดให้บุคคลนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้น....
กล่าวคือ นับรวมบุคคลในกลุ่มที่2(ปุถุชนที่ดำรงอยู่ในสาสวสัมมาทิฏฐิ)ให้เป็นมิจฉาทิฏฐิไปด้วย



มันก็จะไปสู่ประเด็น "สัมมาทิฏฐิที่ชวนสงสัย" ซึ่งเคยมีผู้เสวนากันมาแล้วในอดีต(ลองค้นกระทู้เก่าๆดูน่ะครับ)


คำว่า "ชวนสังสัย" คือว่า เขาสงสัยว่า ก็ในเมื่อบุคคลในกลุ่มที่2คือปุถุชนที่ดำรงอยู่ในสาสวสัมมาทิฏฐินั้น ยังไม่สามารถละสักกายทิฏฐิได้ขาด หรือยังไม่สามารถเห็นอนัตตาชัดเจนในระดับต้นสุดที่จะตกกระแสพระนิพพานได้.... แล้วจะไปเรียกว่า มีสัมมาทิฏฐิได้อย่างไร

บางท่านจึงบัญญัติ สาสวสัมมาทิฏฐิ ให้เป็น มิจฉาทิฏฐิประเภทสัสตทิฏฐิ ไปเลยก็มี


ผมมีข้อสังเกตุดังนี้ครับ

1.พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสตำหนิสัสตทิฏฐิ เช่นที่ทรงตำหนิสาติภิกษุ....ที่ท่านสาติเชื่อว่ามี ตัวตนอันเที่ยงแท้ โดยที่ท่านสาติภิกษุในขณะนั้นเข้าใจว่า คืออย่างเดียวกับ วิญญาณที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... เป็นตัวยืนโรง คอยเวียนว่ายตายเกิด(เห็นว่าวิญญาณเที่ยง)

ในขณะที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญสาสวสัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นส่วนแห่งบุญ อำนวยวบากแก่ขันธ์

2.สัสตทิฏฐิ และ สาสวสัมมาทิฏฐิ อาจจะมีบางส่วนที่ถูกมองด้วยความเข้าใจผิดว่ามีส่วนคล้ายกัน .....เพราะ บุคคลที่มีทิฏฐิทั้งสอง ต่างก็ยังคงไม่สามารถเห็นอนัตตาที่ชัดเจนในระดับต้นสุดที่จะตกกระแสพระนิพพานได้ทั้งคู่

แต่ สาสวสัมมาทิฏฐิ มีข้อที่แตกต่างกับ สัสตทิฏฐิที่ชัดเจนที่สุด ตรงข้อสุดท้ายที่ว่า
"......สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่..."
นี่คือ ศรัทธาว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง.... เมื่อศรัทธาว่า ผู้พ้นโลกด้วยตนเองมีจริง ก็ย่อมขวนขวายหาทางที่จะเดินตามท่านเหล่านั้น
และนี่ คือ สาเหตุของการกล่าวว่า สาสวสัมมาทิฏฐิ เป็น บุพภาคของโลกุตรสัมมาทิฏฐิ


ส่วนสัสตทิฏฐินั้น ปักใจเชื่อว่า มีอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวรยืนโรงคอยเวียนว่ายตายเกิดในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง จึงไม่มีทางจะเชื่อพระพุทธดำรัสที่ว่า สัพเพธัมมาอนัตตา ได้..... ซึ่งสัสตทิฏฐินี้ จะขวางไม่ให้บุคคลก้าวเข้าสู่โลกุตรธรรม
(สัสตทิฏฐินี้ ขวางกั้นมรรคผล แต่ไม่ห้ามสุคติภูมิน่ะครับ)


แตกต่างจาก สาสวสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นบุพภาคให้บุคคลก้าวเข้าสู่โลกุตรธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 4:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก พจนานุกรม ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์


ทิฏฐิ ความเห็น,ทฤษฎี;

ความเห็นผิดมี ๒ คือ
๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
๒. อุจเฉททิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญ;

อีกหมวดหนึ่งมี ๓ คือ
๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
๒. อเหตุกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มีเหตุ
๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น;ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความ
เห็น (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)



ผมขอเสนอ ลองเปรียบเทียบ

1.อุจเฉทิฏฐิ (และนัตถิกทิฏฐิ)

2.แนวทางที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้แก่ผู้ที่ยังไม่สามารถปลงใจเชื่อในทางใดทางหนึ่งได้....เช่น ดังแสดงในตอนท้ายของกาลามสูตร(ถึงความอุ่นใจ4ประการ) หรือ ที่ทรงแสดง อปัณณกสูตร(ธรรมที่ไม่มีทางผิด)

3.อนาสวสัมมาทิฏฐิ





ผมพิจารณาเห็นดังนี้ครับ



1.อุจเฉททิฏฐินั้น มีความเห็นว่าเป็นอัตตาอยู่ แต่เห็นว่าอัตตานั้นขาดสูญลงหลังชีวิตสิ้น.....
ส่วนนัตถิกทิฏฐินั้น เข้าใจผิดในอนัตตา เห็นนัตถิตาเป็นอนัตตาแทน....นัตถิตา หมายถึง อะไรๆก็ไม่มี รวมไปถึงบุญ-บาปไม่มี และ ฟังเผินๆ นัตถิกทิฏฐิจะไปดูละม้ายคล้ายคึงกับ อนาสสัมมาทิฏฐิ ของพระอริยเจ้าเข้า!!! และบางครั้งได้ยินผู้ที่มีทิฏฐิแบบนี้ เข้าใจผิดว่าตนเองมีอนาสวสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็ได้ยินบ่อยๆ


2.แนวทางที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้แก่ผู้ที่ยังไม่สามารถปลงใจเชื่อในทางใดทางหนึ่งได้....เช่น ดังแสดงในตอนท้ายของกาลามสูตร(ถึงความอุ่นใจ4ประการในการทำความดี) หรือ ที่ทรงแสดง อปัณณกสูตร(ธรรมที่ไม่มีทางผิด).
แนวทางนี้น่าสนใจ นำมาประยุกต์ใช่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ผู้คนพากันมัวแต่สงสัยพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก มากกว่าสนใจจะทดลองปฏิบัติตามพระพุทธวจนะนั้นๆ....
ส่วนตัวผม เห็นว่าผู้ที่วางใจในแนวนี้ ไม่ถือว่า"ผิด" หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิแต่อย่างใด. (แต่แนวทางที่2นี้ ไม่นับรวมผู้ที่ ปฏิเสธขาดในสาสวสัมมาทิฏฐิ แล้วพยายามกล่าวยัดเยียดให้ สาสวสัมมาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิประเภทสัสตทิฏฐิ น่ะครับ)



3.อนาสวสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบของพระอริยะ(นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) ท่านเห็นอนัตตาที่ชัดเจนจนพ้นทุกข์แน่นอน ซึ่งก็เป็นคนล่ะอย่างกับนัตถิกทิฏฐิน่ะครับ




พึงสังเกตุ....


ผู้ที่มีอุเฉททิฏฐิหรือนัตถิกทิฏฐิ จะเข้าใจผิด เห็นสาสวสัมมาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิประเภทสัสตทิฏฐิ


และ


ผู้ที่มีสัสตทิฏฐิ จะเข้าใจผิด เห็นอนาสวสัมมาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิประเภทอุเฉททิฏฐิหรือนัตถิกทิฏฐิ




ทำให้ผมนึกถึงคำกล่าวที่ว่า

ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ จึงจะรู้ว่าสัมมาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ และ รู้ว่ามิจฉาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิสัชนาธรรม ในประเด็นสำคัญ ที่มีคนสงสัยกันมาก เกี่ยวกับพระโสดาบัน



จากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ และตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม
โดยพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)หน้า 296-297

สาธุ สาธุ สาธุ




ถาม ผู้ที่เคยเป็นพะรโสดาบัน หรือพระสกิทาคา มาแล้วในชาติก่อนๆ เมื่อเกิดใหม่มาเป็นมนุษย์ ความเป็นอริยะแต่เดิม จะปรากฏขึ้นเมื่อไร


ตอบ โดยธรรมชาติของความเป็นอริยมรรค ก้ปรากฏตั้งแต่บรรลุพระโสดามา พระสกิทาคามา จนกระทั่งจิตละร่างนี้ไป สภาพจิตก็ยังเป็นพระโสดา พระสิกทาคาอยู่ เฉพาะตัวรู้ที่อยู่ในจิต แต่อาการต่างๆนั้นยังไม่มี แต่เมื่อมาประสบเหตุการณ์ต่างๆแล้ว ภูมิความรู้ของพระโสดา พระสกิทาคาจึงค่อยเกิดขึ้น แต่นิสัยสัญชาติญาณแห่งการไม่ทำบาป พอเกิดขึ้นมาแล้ว รู้เดียงสาขึ้นมา รู้จักคำว่า บาปทันที เพราะพระโสดา พระสกิทาคา เป็นโลกุตตรธรรมย่อมไม่มีเสื่อม ผู้ที่สำเร็จพระโสดาบันแล้วนี้ ถ้ายังไม่สำเร็จอรหันต์ในชาตินั้นตายไปแล้วมาเกิดอีกชาติหนึ่งสำเร็จพระอรหันต์ บางท่านมาเกิดอีกสามชาติสำเร็จพระอรหันต์ และบางท่านเกิดอย่างมากไม่เกินเจ็ดชาติสำเร็จพระอรหันต์ ลักษณะพระโสดาบันเป็นอย่างนี้

โลกุตตรธรรมที่ใครถึงแล้วคือ ความเป็นพระโสดาบัน แม้เกิดอีกกี่ชาติ กีภพ คุณธรรมอันนั้นไม่เสื่อม แต่อาการที่แสดงออกนี้ มันหดเจ้าไปอยู่ในจิตตัวผู้รู้ ในเมื่อได้ยิน ได้ฟัง ผ่านอะไรขึ้นมานี้ ของเก่ามันจะผุดขึ้นมาแล้วแสดงอาการรู้ออกมาทันที อันนี้เพื่อจะให้ได้ความชัด ที่ว่าความเป็นอริยะแต่เดิมจะปรากฏขึ้นเมื่อไร และจะทราบได้อย่างไร อันนี้ ปรากฏขึ้นได้ต่อเมื่อเริ่มรู้เดียงสาขึ้นมา พอรับรู้ว่าอะไรเป็นอะไรขึ้นมาแล้ว ก็จะแสดงอาการปรากฏ แต่สภาวะความเป็นพุทธะ ในความเป็นผู้รู้ในภูมิพระโสดานี้ไม่รู้จักเสื่อม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 4:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีพระพุทธวจนะ ที่ตรัสไว้ชัดเจนว่า

นับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป จะปิดอบายได้แน่นอน
มีแต่กำเนิดที่จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนนิพพาน



ขอเสนอให้เพื่อนสมาชิก

พิจารณา สอุปาทิเสสสูตร

กันอย่างละเอียด

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=23&start_byte=527423




ผมขออนุญาต สรุปประมวลสาระสำคัญของพระสูตรนี้น่ะครับ
เพราะอาจจะมีสมาชิกบางท่าน ที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นกับภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎก
และพระสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่ตรัสตรงๆ ถึงการเกิดใหม่ในภพอื่นๆ หลังจากทำกาละ

(คำว่าทำกาละนี้ คือคนตายจริงๆ เพราะชีวิตนี้สิ้นลง นั้นล่ะครับ)



พระสูตรนี้ มีมาจากการที่พระสารีบุตรท่านเข้าไปเยี่ยมอัญญเดียรถีย์ปริพาชก. ปริพาชกเหล่านั้น กล่าวว่า

"ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ"


คือ เดียรถีย์มีความเข้าใจที่ผิดว่า
ถ้ายังไม่สิ้นกิเลส(ยังไม่ใช่พระอรหันต์)แล้ว เวลาตายจะต้องตกนรก หนือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือเปรต(และอสูรกาย)ทุกคน....




ซึ่งพระสารีบุตรท่านนำมาความนี้มากราบทูลพระพุทธองค์
และพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสพระสูตรนี้ ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจผิดของปริพาชกนั้น



โดยสรุปสาระหลักๆคือ

มีบุคคลที่แม้นจะยังไม่ใช่พระอรหันต์ อยู่9ประเภท ที่หลังจากทำกาละแล้ว ไม่ไปอบายแน่ๆ

ดังพระพุทธวจนะที่ว่า

"ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
๙ จำพวกเป็นไฉน ฯ"


บุคคล9ประเภทนี้ คือ

1 พระอนาคามี5ประเภท ที่จะปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส

2พระสกทาคามี(มีประเภทเดียว) ที่จะเกิดใหม่ในโลกนี้(ภพมนุษย์)อีกครั้งเดียว และจะบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพาน

3พระโสดาบัน3ประเภท
อันประกอบด้วย
3.1เอกพิชี จะเกิดใหม่ในภพมนุษย์อีกครั้งเดียว และจะบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพาน
3.2โกลังโกละ ที่จะเกิดใหม่อีก2-3ครั้ง และจะบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพาน
3.3สัตตักขัตตุปรมะ ที่จะเกิดใหม่ในเทวโลก และโลกมนุษย์ อีกไม่เกิน7ครั้ง และจะบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพาน

ซึ่งบุคคลทั้ง9ประเภทนี้(นับตั้งแต่พระโสดาปฏิผลขึ้นไป)
ถึงแม้นจะยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ก็ปิดอบายได้แล้วแน่นอน



และอยากให้สังเกตุว่า

ทั้งพระสกทาคามี และ พระโสดาบันชนิดเอกพิชี ท่านไม่ไปเกิดใหม่ในเทวโลกหรือพรหมโลกเสียด้วยซ้ำ
ท่านจะเกิดใหม่เพียงเฉพาะภพมนุษย์(ในครรภ์แม่)เท่านั้น


ซึ่งนี่เป็นพระพุทธวจนะจากพระสูตร ที่ยืนยันตรงๆเลย ว่า มีพระโสดาบันที่ต้องเกิดใหม่ในครรภ์อยู่จริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง