Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาพการปฏิบัติธรรม-บวชเนกขัมมภาวนา ณ วัดมเหยงคณ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 12:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


เมื่อวันที่ 8-10 มีนาคม พ.ศ. 2548 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมบวชเนกขัมมภาวนา ที่วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ทุกเช้าต้องตื่นประมาณตีสี่ เพื่อเตรียมตัวทำวัตรเช้า และปฏิบัติในศาลาปฏิบัติธรรม ต่อจากนั้นเวลาประมาณ 06.30 น. ของทุกวัน พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) จะนำพระภิกษุภายในวัด พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกา ที่มาเข้าคอร์สกรรมฐาน และบวชเนกขัมมะภาวนา มาร่วมปฏิบัติสมาธิ ณ ลานอมตธรรม ภายในบริเวณวัด สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 1
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 12:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมโอวาท


การที่ได้มารักษาศีล ได้มาปฏิบัติธรรม เป็นการน้อมนำชีวิตตนเอง เป็นการสร้างชีวิตที่มีคุณค่า มีสาระ ชีวิตนี้ จะสุข หรือจะทุกข์ ก็อยู่ที่การกระทำ หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนานี้ สอนให้เชื่อเรื่องกรรม เชื่อธรรม เชื่อการกระทำ

เมื่อเชื่อเรื่องกรรม ก็ต้องลงมือกระทำ คนที่เชื่อเรื่องกรรมนั้น ก็ไม่ได้อยู่เฉย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดวงชะตา ไม่คอยวาสนาว่าจะมีใครมาดลบันดาลสิ่งต่างๆ ให้ เมื่อเชื่อเรื่องกรรมจึงต้องลงมือกระทำ

การปฏิบัติธรรมนั้น ส่วนหนึ่งต้องมีการฟังธรรม มีการรักษาศีล มีการเจริญภาวนา และมีข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้เป็นวิถีชีวิตของชาวพุทธ เป็นปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติ เป็นข้อดำเนินของผู้แสวงหาประโยชน์ที่แท้จริง คือความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ไม่เจือด้วยอามิส

ผู้มีปัญญา มองเห็นความสุขที่ควรแสวงหา คือความสุขที่เกิดจากการเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้กระทำความดี แต่ชาวโลกส่วนใหญ่เขาแสวงหาความสุขที่มีอามิส ความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็คือมีเหยื่อ ต้องมีเหยื่อล่อ จึงเกิดความสุข ก็ได้แก่ มีกามคุณอารมณ์ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า กามคุณมี 5 อย่าง คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่าใคร่น่าปรารถนา ชาวโลกที่ไม่ได้สดับก็จะมุ่งแสวงหาความสุขจากกามคุณอารมณ์ โดยคิดว่าการได้รับกามคุณอารมณ์นั้น คือ ความสุข สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 1:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

กามคุณอารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา ก็มีทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รูปสวยๆ เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่น่าใคร่น่าปรารถนา เรื่องราวที่น่าเพลิดเพลิน เหล่านี้ เป็นกามคุณอารมณ์

ชาวโลกส่วนใหญ่ก็คิดว่านี่แหละคือ ความสุขจึงต้อแสวงหากามคุณอารมณ์ ที่จริงมันก็เป็นความสุข ถ้าไม่สุขคนก็ไม่ติดใจ แต่เป็นความสุขที่สุขแล้วก็มีทุกข์ สุขแล้วไหม้ เหมือนอะไรที่เราไปปิ้งสุขแล้วมันไหม้ เป็นความสุขที่อยู่ในกองทุกข์ ทำไมจึงทุกข์ ทุกข์เพราะมันไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เมื่อมีแล้วก็เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะได้เลิศเลอขนาดไหน ก็ไม่มีอะไรจะตั้งอยู่ได้

ฉะนั้นพอเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดความทุกข์ ดิ้นรนแสวงหาใหม่อีก และเมื่อได้มาแล้วก็ไม่คงที่อีก เปลี่ยนแปลงไปอีก ระหว่างที่ได้มา ก็กลัวว่าจะเปลี่ยนแปลง ความวิตกกังวลที่กลัวการเปลี่ยนแปลงก็เป็นทุกข์ แล้วก็เศร้าโศกเสียใจ ครั้นยังไม่ได้ก็ดิ้นรนแสวงหาไขว่คว้า กระวนกระวายกระสับกระส่าย เป็นทุกข์อีก นี่มันทุกข์ตลอด มันมีสุขหยอดให้แต่เพียงเล็กน้อย เพียงสุขที่ยังต้องมีเหยื่อล่อ

คือต้องมีรูปสวยๆ มาปรนเปรอ ได้รสอร่อยๆ ได้สัมผัสทางกายเนื้อหนังแล้วก็เพลิดเพลินพอใจ ติดใจเป็นความสุข แล้วก็ต้องทุกข์ เศร้าโศก คับแค้นใจ เพราะไปติดใจหลงใหล ไปยึดกับสิ่งเหล่านั้นว่าจะเป็นของของตน เป็นของคงที่ เสร็จแล้วมันก็เปลี่ยนแปลง สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 3
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 1:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ไม่มีอะไรเป็นของเที่ยงแท้ ไม่มีอะไรเป็นของตนเอง ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่ตัวของเราเอง ตัวของตัวเองก็ยังเปลี่ยนแปลง นับประสาอะไรจะบังคับไม่ให้คนอื่นเปลี่ยนแปลง เราลองคิดให้ดีทั้งวันได้มั้ย ก็ยังไม่ได้ จิตของตัวเองก็ยังเปลี่ยนแปลงไปมา ถ้าเป็นเช่นนี้ ไฉนเราจะไปยึดถือกับความคิด ความเห็น หรือจิตใจของผู้อื่นให้เขามาเป็นตามที่เราปรารถนา ยิ่งบุคคลไปยึดมั่นถือมั่นในความปรารถนา ในความต้องการมากเท่าไหร่ บุคคลนั้นก็จะต้องเผชิญต่อความทุกข์มากมายเท่านั้น สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 4
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 1:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สันโดษ คือพอใจในสิ่งที่เรามีเราเป็น ต้องหัดเป็นคนที่รู้จักพอใจในความมีความเป็น สันโดษ ไม่ได้หมายความถึง งอมืองอเท้า ไม่ขวนขวาย ไม่พากเพียร พระพุทธเจ้าสอนให้ขวนขวาย ต้องพากเพียร ต้องขยัน จะได้อะไรอย่างใดมาก็ต้องพอใจ แต่ก็ขยันต่อไป ทำต่อไป แต่ให้รู้จักพอ นี่พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำ มีอย่างไรก็หัดพอใจตามที่เรามีเราเป็น ได้ที่อยู่อาศัยอย่างนี้ ก็หัดพอใจอย่างนี้

มีอาหารอย่างนี้ ก็หัดพอใจอย่างนี้ มีเครื่องนุ่งห่มอย่างนี้ ก็หัดพอใจอย่างนี้ มีอะไรก็หัดพอใจ ก็จะมีความสุข ถ้าเกิดไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่ยินดีในสิ่งที่ตนเองได้ สภาพจิตใจก็เป็นทุกข์ เดือดร้อน น้อยเนื้อต่ำใจ เหมือนตนเองไม่มีวาสนา พระธรรมดิลกท่านสอนไว้ว่า

“ไม่ยินดีในสิ่งที่ตนได้ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เป็นคนอาภัพอับโชคที่สุดในโลก”

“ยินดีในสิ่งที่ตนได้ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เป็นคนโชคดีที่สุดในโลก”

.....คนบางคน มีแค่ไหนก็พอใจแค่นั้น เขาก็มีความสุขได้..... สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 5
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 2:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ความสุขอีกอย่างหนึ่งนั้น เป็นความสุขที่ไม่มีเหยื่อล่อ เป็นความสุขที่ไม่เจือด้วยอามิส ก็คือจิตที่เข้าถึงความสงบ จิตที่เข้าสู่ความบริสุทธิ์ เป็นจิตที่สงบจากอารมณ์ ไม่ต้องมีรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสมาปรนเปรอ แต่อาศัยทำจิตถึงสมาธิ ได้สมาธิมีความสงบก็จะพบความสุขเกิดขึ้นในจิตใจ เป็นความสุขเอิบอิ่ม เยือกเย็น ผ่องใสยิ่งกว่าความสุขจากกามคุณอารมณ์ บุคคลใดที่ยังไม่เคยถึง ไม่เคยพบ ก็ยังไม่รู้จัก แต่ถ้าได้พบ ได้สัมผัส ก็จะพบว่าต่างกัน

ความสุขที่เกิดจากความสงบ เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียด เยือกเย็น ผ่องใส และยิ่งถ้าเป็นความสุขที่เกิดจากความบริสุทธิ์ของจิต นั่นก็ยิ่งเป็นความสุขที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไป ความสุขที่เกิดจากความสงบจากอารมณ์ ก็ยังเป็นชั่วครั้งชั่วคราว แต่ความสุขที่เกิดจากจิตบริสุทธิ์นั้น เป็นความสุขที่ถาวร เป็นความสุขที่สะอาด เยือกเย็น เข้าถึงความเย็นอันสนิท อันนี้ก็แล้วแต่ว่าจะทำความบริสุทธิ์ได้มากน้อยขนาดไหน เมื่อทำลายกิเลสให้ลดลง ความร้อนลดลง ความเย็นก็เกิดมากขึ้น ไฟเมื่อมอดลง ความเย็นก็จะมีขึ้น แต่ถ้าไฟยังไม่หมด มันก็ยังร้อนอยู่ แต่ก็จะลดลงถ้าเราพยายามที่จะทำให้สงบระงับลงไป สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 6
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2005, 3:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ผู้มีปัญญา ย่อมแสวงหาความสุขที่ไม่ต้องเจืออามิส ก็ด้วยการที่เราต้องมาเจริญกุศล มาปฏิบัติธรรม ให้จิตใจของเรามีศีลมีธรรม จิตที่มีเมตตา จิตที่มีความกรุณา จิตที่มีความเสียสละ จิตที่ให้อภัย จิตที่มีสติ มีปัญญา มีสมาธิ ก็จะเกิดความสุขด้วยตัวของตัวเอง ฉะนั้นจึงต้องสร้าง ต้องดำเนิน ต้องฝึกฝนอบรม ต้องมาปฏิบัติธรรม

ในการที่เราได้มาปฏิบัติธรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้คำแนะนำอบรมสั่งสอนไว้ว่า ให้ยินดีพอใจในที่สงัด ในที่วิเวก ยินดีในการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประพฤติพรหมจรรย์ การคลุกคลีด้วยหมู่คณะนั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อสนับสนุนการละกิเลส ไม่ได้เป็นไปเพื่อการชำระจิตของตนให้สะอาด เพราะเมื่อเข้าหมู่คณะ ร่วมวงสนทนาปราศรัย จิตใจก็มักจะไหลไปในทางต่ำ คำพูดก็จะไหลไปในเรื่องเพ้อเจ้อไร้สาระ กิเลสก็กำเริบ ลืมเนื้อลืมตัว

เพราะฉะนั้น ผู้แสวงหาอมตะธรรม ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่จะดับทุกข์นี่ ก็จะต้องรู้จักเตือนตัวเอง ยินดีในที่สงบสงัด หลบหลีก หลีกเร้นจากหมู่จากคณะ จะพบปะกันก็พอประมาณ ตามกิจตามควร เสร็จแล้วก็สำนึกระลึกถึงตัวเอง ที่จะต้องปลีกหลีกเร้นหามุมสงบวิเวก พิจารณาชีวิตจิตใจตัวเองอย่างนี้แล้ว ก็จะเป็นผู้เจริญในพระธรรมวินัย สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 7
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 12:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ ช่วงบ่าย ผู้ปฏิบัติก็จะหามุมสงบเพื่อปฏิบัติธรรมกันตามควร]


การเป็นคน ต้องหัดเป็นคนมีสันโดษ ฆราวาสก็ต้องหัดมีศรัทธาสันโดษ คือพอใจในคู่ครองของตนเอง สันโดษเป็นเรื่องจำเป็นต้องมี ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ฆราวาส หรือเป็นนักบวชก็ตาม

การที่ได้มาปฏิบัติธรรมในขณะที่อายุยังน้อย โอกาสที่เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้เจริญให้ก้าวหน้าก็มีมาก เพราะความที่ยังเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรม บรรลุธรรม

ถ้าร่างกายชราภาพ นั่งก็ปวดขา ปวดหลัง หน้ามืดตาลาย จิตใจฟั่นเฟือน สมองจำอะไรไม่ได้ ทำความเข้าใจอะไรลำบาก ถ้าคิดว่าจะคอยให้อายุมากๆ ก่อนแล้วค่อยประพฤติปฏิบัติน่ะ คนที่คิดอย่างนั้นอาจจะไม่ได้ปฏิบัติ จะมีสิ่งให้คลาดเคลื่อนไปก่อน พอมีครอบครัวก็ครัวครอบ พอมีลูกมีหลานติดพัวพันตลอด การงานคร่ำเคร่งอยู่ หาโอกาสที่จะสละได้ยาก

ชีวิตมันพัวพัน มีสิ่งที่จะผูกมัดรัดรึงมากมาย มีบ่วงมัด ลูกก็มัดคอไว้ ทรัพย์สมบัติก็มัดข้อเท้า สามีภรรยาก็เป็นบ่วงผูกข้อมือไว้ จะออกจากบ้านก็เป็นห่วงบ้าน ห่วงทรัพย์ในบ้าน กลัวขโมย ห่วงลูกห่วงหลานสามีภรรยานี่ ไม่ใช่จะสละมาง่าย มาก็มาได้ชั่วครู่ชั่วยาม ก็ต้องกลับไปอีก

ฉะนั้น ชีวิตที่ยังอยู่ในวัยที่ไม่มีภาระพันธะผูกพัน ก็เป็นโอกาสที่จะได้เจริญธรรมะ เจริญกุศล ประพฤติปฏิบัติธรรม เราต้องหัดคิดหัดพิจารณาด้วยตัวเองว่า อะไรจะเป็นสาระเป็นประโยชน์ให้ตัวเรา เวลาเราจะตาย ใครจะมาช่วยอะไรเราได้ บทจะตายขึ้นมา ใครจะช่วยให้เรารอดพ้นจากนรก ใครจะส่งให้เราสู่สุคติ ญาติพี่น้อง ทรัพย์สมบัติ ช่วยอะไรเราได้มั้ย ชีวิตเป็นของไม่แน่นอน คนตายเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นเด็กก็มีอยู่ทั่วไป สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 8
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 12:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ ช่วงบ่าย ผู้ปฏิบัติก็จะหามุมสงบเพื่อปฏิบัติธรรมกันตามควร]


ยิ่งเราเข้ามาในศาสนาเมื่ออายุเข้าสู่วัยชราแล้ว ก็ยิ่งจำเป็นต้องคิดพิจารณาให้มาก ว่าเราเป็นไม้ใกล้ฝั่ง และเรายังละผูกพัน ละสละบ่วงอะไรไม่ได้แล้วจะละได้เมื่อไหร่ เรามีอะไรที่จะเป็นเครื่องประกัน และอุ่นใจในความเป็นความตายที่จะมาถึง ซึ่งมันจะต้องมาถึงแน่นอน นี่ต้องคิด ต้องพิจารณา

ในโอกาสที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มีมันสมอง มีสติ มีปัญญา ได้มาพบพระธรรมคำสอน ได้มาพบพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา เป็นศาสนาแห่งความดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง ถ้าเราไม่ไขว่คว้า ไม่ขวนขวาย ก็จะหมดไป สายไป โอกาสที่ชีวิตจะได้พบอย่างนี้ก็ยาก

ชีวิตไปสู่อบายได้ง่ายนะ ไปเป็นสัตว์เดรัจฉานวนเวียนอยู่ในอบายภูมิน่ะ การได้เกิดมาเป็นมนุษย์แต่ละครั้งไม่ใช่ง่าย ลองพิจารณาดูว่า เวลาจะตาย จะตายโดยไม่ให้หลงตายซิ ตายโดยที่ไม่ให้จิตใจเศร้าหมองนี่มันยากหรือเปล่า ตายด้วยความกลัว ตายด้วยความห่วง ตายด้วยขาดสติสัมปชัญญะ โอกาสที่จะตายอย่างมีสติ ตายอย่างจิตใจไม่เศร้าหมองนี่ ไม่ใช่ง่าย

เมื่อจิตใจเศร้าหมองในขณะที่จะตาย ก็ไปสู่อบาย จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตใจเศร้าหมองย่อมไปสู่ทุกขติ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น ฉะนั้นโอกาสที่จิตใจจะผ่องใสในขณะที่จะขาดใจนี่ ถ้าไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมจริงๆ ไม่เป็นผู้มีบุญมีกุศล อยู่ในศีลในธรรม อยู่ในความเพียรประพฤติปฏิบัติ...ยากนะ สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 9
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 1:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

คนบางคนแม้จะให้ทาน ทำกุศลมาดี แต่เวลาใกล้จะตาย จิตเศร้าหมอง ห่วงทรัพย์ ห่วงลูกห่วงหลาน ห่วงตัวเอง กลัวตาย ก็ไปสู่อบายภูมิ และยากที่จะเกิดเป็นมนุษย์อีก ยิ่งไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วก็ไม่รู้เรือง ยิ่งทำชั่วใหญ่ แก่งแย่ง เบียดเบียน ขาดสติปัญญา โอกาสที่จะทำกุศลน้อยมาก

ยิ่งเป็นสัตว์เล็กๆ เป็นแมลง ยิ่งไม่รู้เรื่อง เห็นแสงสว่างก็บินเข้าหากองไฟ วนๆอยู่กับแสงไฟอยู่นั่นนะ ที่สุดก็ไหม้ปีกไหม้ตัว ที่เป็นไฟนีออนก็ไม่ตายง่าย ก็วนอยู่อย่างนั้น หลุดออกไปไม่ได้ แต่มันสุขไม่รู้เรื่องรู้ราว คิดว่านั่นคือความสุข เหมือนมนุษย์ที่ยังวนเวียนอยู่ในกามกิเลส กามคุณอารมณ์ ก็หลงอย่างนั้นเหมือนกัน หลงอยู่ไม่รู้ว่าเป็นความทุกข์ เหมือนแมลงบินเข้าไป ไม่รู้ว่าจะต้องตาย

มนุษย์ก็เหมือนกัน มองไม่ออก จึงต้องทุกข์ ทุกข์แล้วทุกข์อีก เศร้าโศกบ่นเพ้อรำพันอยู่อย่างนั้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เราก็จะมีความเข้าใจ พยายามฟังธรรมะให้เข้าใจ เพื่อจะได้นำมาปฏิบัติอบรมตนเอง อย่างน้อยก็ให้อยู่ศีลไว้ก่อน คือรักษาศีลไว้ให้ดี ก็ยังปลอดภัยอยู่เยอะ เมื่อเราทำบาปลงไป ภัยก็มาถึงตัวเรา โทษก็มาถึงตัวเรา สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 10
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 3:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ พระครูเกษมธรรมทัตทำการสอบอารมณ์พระภิกษุ และผู้มาเข้าคอร์สปฏิบัติกรรมฐาน ในช่วงบ่าย]


ถ้าเราได้สดับตรับฟังธรรมะ เราก็มีศรัทธา มีปัญญามองเห็นทุกข์ เห็นโทษของบาปของกรรม มองเห็นว่าการทำบาปนั้น เป็นเรื่องของโทษทุกข์แท้ๆ ไม่ได้เป็นผลดี ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรนะ

การฉ้อโกง เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ไม่ได้เป็นสาระประโยชน์อะไรที่แท้จริง มีแต่จะนำทุกข์นำโทษมาให้ เราก็จะมองเห็นคุณค่าของการทำความดี มองเห็นว่า การให้ทานเป็นเรื่องดี การรักษาศีล การเจริญภาวนาเป็นเรื่องดี ก็พยายามที่จะสะสมบำเพ็ญให้มีสัมมาทิฏฐิ ให้มีความเห็นชอบ เชื่อกรรม และผลของกรรม เชื่อว่าบุญมีจริง บาปมีจริง กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง

พระพุทธเจ้า ตรัสถึงว่า บุคคลที่มีความเชื่อเรื่องกรรม เรื่องผลของกรรม เชื่อว่ามีโลกหน้า บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อเขากล่าวอย่างนั้นก็ถือว่าเป็นวาจาชอบ เมื่อเขาละจากโลกนั้นแล้ว เขาก็ย่อมเข้าสู่สุคติ

แต่บุคคลใดที่มีความเห็นว่าบุญไม่มี บาปไม่มี ทำกรรมดีก็ไม่มีผล ทำกรรมชั่วก็ไม่มีผล โลกหน้าไม่มี เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ วาจาก็เป็นมิจฉาวาจา ความคิดของเขา ความเห็นของเขาก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมเข้าถึงทุคติ วิบากนรก ไปสู่อบาย สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 11
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 4:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ พระครูเกษมธรรมทัตทำการสอบอารมณ์พระภิกษุ และผู้มาเข้าคอร์สปฏิบัติกรรมฐาน ในช่วงบ่าย]


ฉะนั้น ต้องทำความเห็นของเราให้ตรง ปรับความเห็นของเราให้ถูก ให้เข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ ได้ เวลาที่ชีวิตเราประสพความสุข ก็ไม่ใช่ว่ามันสุขขึ้นได้เอง มันมาจากบุญที่ทำไว้ เวลาเราประสพความสุข ความเจริญ ได้ลาภ ได้ยศ ได้ชื่อเสียงได้อะไรต่างๆ ขึ้นมา ได้ชีวิตที่ดีงามนี่ มาจากบุญทั้งนั้น

เวลาประสพสิ่งที่ไม่ดี ประสพอารมณ์ที่ไม่ดี ต้องเสียหาย ต้องเดือดร้อน ต้องภัยพิบัติอันตรายต่างๆ ก็ให้รู้ว่านี่เป็นผลบาปที่ตนเองกระทำไว้ ให้เรามีความเข้าใจมีความเชื่อ คำสอนในพระพุทธศาสนานี่ ถือว่าสิ่งทั้งหลาย ไหลมาแต่เหตุ ไม่มีคำว่าบังเอิญ แต่เป็นเพราะกรรมเพราะบาป เพราะอกุศลกรรมมันจัดแจง บางคนนอนอยู่ที่บ้านก็มีรถเข้าไปเกยก็ยังมี

ฉะนั้น เราจึงต้องไม่ทำบาปทั้งปวง พยายามทำแต่กุศล ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม เจริญสติภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และไม่หลงไปตามสมมติของโลก ให้เข้าใจในสมมติ แต่ไม่ติดในสมมตินั้น เช่น เมื่อพูดว่าเป็นเรา ปุถุชนส่วนใหญ่ ก็จะยึดถือว่าเป็นเราจริงๆ ตาของเรา ใจของเราจริงๆ จึงทุกข์ ทุกข์เพราะไปยึดถือเป็นจริงเป็นจัง

เหมือนเขาสมมติให้เล่นละคร บทเป็นกษัตริย์ สมมติให้เป็นทศกัณฑ์ เป็นหนุมาน คนเล่นเขาก็เล่นให้สมบทบาท แต่เขาก็รู้ตัวว่า เขาไม่ใช่ทศกัณฑ์ ไม่ใช่หนุมาน พอละครจบ เขาก็เป็นคนธรรมดา ถ้าหลงว่าเป็นหนุมานจริงๆ...ก็ยุ่ง สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 12
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 4:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ ศาลากลางน้ำ ซึ่งใช้เป็นสถานที่สอบอารมณ์อีกสถานที่หนึ่ง]


ฉะนั้น สัตว์โลกทั้งหลายที่ยุ่งอยู่นี่เพราะหลงจริงๆ ถูกสวมใส่ให้ไว้ในบทบาทแต่ละขั้นตอน ก็ไปหลงจริงๆ สวมให้ไว้ เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นนายก เป็นรัฐมนตรี เป็นพระ เป็นแม่ชี เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เป็นเรื่องสมมติทั้งนั้น การแต่งตั้งก็แต่งตั้งกันไว้อย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 13
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ ภายในศาลาปฏิบัติธรรม พระภิกษุ พร้อมอุบาสก อุบาสิกา
ผู้เข้าคอร์สปฏิบัติกรรมฐาน และผู้บวชเนกขัมมะ ทำวัตรเย็น ปฏิบัติสมาธิ ฟังเทศน์]



ความเป็นจริงก็คือ สภาพธรรมที่ไม่ต่างกัน จะเป็นเณร เป็นแม่ชี เป็นอุบาสก อุบาสิกา ฆราวาส สภาพเนื้อแท้ก็คือ รูปนามขันธ์ห้าเหมือนกัน มีดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณอยู่ เกิดดับเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นแหละธรรมชาติที่แท้จริง สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >>14
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 4:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ ภายในศาลาปฏิบัติธรรม พระภิกษุ พร้อมอุบาสก อุบาสิกา
ผู้เข้าคอร์สปฏิบัติกรรมฐาน และผู้บวชเนกขัมมะ ทำวัตรเย็น ปฏิบัติสมาธิ ฟังเทศน์]



ต้องไม่หลงสมมติ ไม่เป็นโขนที่หลงตัวเองว่าเป็นจริง ไม่หลงและเล่นไปตามบทบาทของสังคมของโลกได้ แต่ไม่ได้หลงว่าเป็นจริงอย่างนั้น ก็จะไม่ทุกข์ ที่ทุกข์เพราะหลงยึดในความเป็นจริงเป็นจังในสมมติ

ท่านทั้งหลาย ขอจงชำระและขัดเกลา กายและวาจาให้สะอาดด้วยศีล ชำระจิตใจที่เร่าร้อน ด้วยสมาธิ และชำระกิเลสที่นอนเนื่อง ด้วยวิปัสสนาปัญญา ขอให้ท่านดำเนินชีวิต ให้ถูกต้องดีงาม ชีวิตจะได้อยู่รอดปลอดภัย ห่างไกลจากทุกข์โทษทั้งหลาย มีความร่มเย็นเป็นสุข ทั้งในภพนี้และภพหน้า สาธุ



........................................................

ติดตามตอนต่อไป >> 15
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 5:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ เป็นสถานที่พักและเขตกรรมฐานชาย]
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ในภาพ เป็นสถานที่พัก และเขตกรรมฐานหญิง]
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 มี.ค.2005, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“.....ในการปฏิบัติธรรม คือการเอาชนะกิเลส ถ้าเราเอาชนะจิตใจที่ไหลไปตามกิเลส ไม่ปล่อยใจให้เป็นไปตามกิเลสได้ ก็เรียกว่าเราเอาชนะใจตนเอง

คำสอนในพระพุทธศาสนา สอนให้เอาชนะตน ไม่ใช่สอนให้เอาชนะผู้อื่น ชนะผู้อื่นมากสักหมื่นแสน ก็ไม่ประเสริฐเท่ากับเอาชนะตน การเอาชนะตนเองได้นี่ เรียกว่าเรามีธรรมะ.....”


สุรศักดิ์ เขมรํสี
วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา




........................................................

สถานที่ปฏิบัติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1638
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 มี.ค.2005, 1:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหมือนเขาสมมติให้เล่นละคร บทเป็นกษัตริย์ สมมติให้เป็นทศกัณฑ์ เป็นหนุมาน คนเล่นเขาก็เล่นให้สมบทบาท แต่เขาก็รู้ตัวว่า เขาไม่ใช่ทศกัณฑ์ ไม่ใช่หนุมาน พอละครจบ เขาก็เป็นคนธรรมดา ถ้าหลงว่าเป็นหนุมานจริงๆ...ก็ยุ่ง สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
 
puija
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 มี.ค.2005, 1:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีมากๆ ค่ะ ไปมาแย้วนะ อยากไปอีก สาธุ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง