Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความเห็นที่ถูกต้อง ...ในเรื่อง บาป-บุญ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 9:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เกี่ยวกับความเชื่อ หรือความเห็นชอบในเรื่องการการทำบุญ นั้น

ผมลองประมวลดู พอจะแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น

1. ไม่เชื่อเรื่อง บุญ-บาป คือ ตนเองยังไม่ตั้งอยู่แม้นแต่สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ
ไม่สนใจเรื่อง ศีล ไม่สนใจทางพ้นทุกข์ใดๆเลย ใช้ชีวิตจมไปกับ กาม กิน เกียรติ.
พอเห็นผู้อื่นทำบุญเข้า จึงมองว่าเป็นสิ่งโง่งมงาย และชอบแสดงความเห็นในลักษณะดูถูกผู้อื่น.... ในสังคมมีมาก

2. ยังไม่มีความเห็นชอบ เรื่อง บุญ-บาป คือ ตนเองไม่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ ..... แต่ศึกษาธรรมเพราะ รู้สึกว่าตนเองทุกข์ มุ่งจะดับทุกข์ในใจตน.... กลุ่มนี้ มีมากเช่นกัน.โดยแบ่งเป็น

2.1 เป็นเพราะตนเองไม่สามารถพิสูจน์ เรื่อง กรรมและการให้ผลของกรรมได้ จึงปล่อยเว้นเรื่องเหล่านี้ไว้ก่อน. แนวคิดเช่นนี้ “ไม่ผิด”..... เพราะมีพระพุทธวจนะที่ตรัสสอนให้คนกลุ่มนี้อยู่ หลายแห่ง เช่น อปัณณกสูตร(ธรรมที่ไม่มีทางผิด) และ ตอนท้ายของกาลามสูตร

2.2 กลุ่มนี้ มักจะมองว่า คำสอนเรื่อง บุญ-บาป (เช่น คำสอนเรื่อง สาสวสัมมาทิฏฐิในมหาจัตตารีสกสูตร) เป็นสิ่งที่พราหมณ์สัสตทิฏฐิแอบปลอมปนเข้ามาในพระพุทธศาสนา ..... เวลาคุยกัน ก็มักจะบอกว่า ตนเองไม่ได้ปฏิเสธขาด หลักกรรมหรือ บุญ-บาป หรือ การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพชาติ แบบเกิดเป็นคนเป็นสัตว์..... แต่พอเผลอๆ ก็มักจะกล่าวไปในทำนองที่ว่า คำสอนในเรื่องกรรมและบาป-บุญ หรือ การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพชาติ แบบเกิดเป็นคนเป็นสัตว์ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเรื่องที่พราหมณ์สัสตทิฏฐิแอบปลอมปนเข้ามาไว้ในพระไตรปิฎกในภายหลัง.เสียเฉยๆ......
บางครั้ง ก็ เรียก สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ(สาสวสัมมาทิฏฐิ) ว่า เป็น “สัมมาทิฏฐิที่ชวนสงสัย” ไปเลยก็มี
หรือ ถึงขั้นบัญญัติให้ สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ(สาสวสัมมาทิฏฐิ) ว่าเป็น ชนิดหนึ่งของมิจฉาทิฏฐิประเภทสัสตทิฏฐิไปเลยก็มี

3. เชื่อ ในเรื่อง บุญ-บาป แต่ยังมีความเห็นที่ไม่เที่ยงตรงในเรื่องการทำบุญ ในลักษณะต่างๆ เช่น
3.1 ทำบุญ5บาท หวังจะได้ล้านบาท…. คือ ยังไม่เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของการทำทาน ซึ่งก็คือ การสละออก อย่างที่คุณกอบกล่าวไว้ชอบแล้ว
3.2 ทำบุญ... แต่ตนยังไม่ได้ล่ะบาป ....ครูบาอาจารย์เปรียบเสมือนกับ นำผ้าเปื้อนฝุ่นมาย้อมสีให้สวย ...ย้อมอย่างไรก็ไม่สวย ถ้ายังไม่ได้ชำระผ้าให้สะอาดเสียก่อน
3.3 หยุดพอใจ อยู่แค่เพียงการทำทาน อิ่มในบุญกุศลที่ตนทำ. แต่ยังไม่เดินหน้า รักษาศีลและภาวนา

4. มีความเห็นที่ถูกต้องในเรื่อง บาป-บุญ โดยแบ่งได้เป็น 2 คือ

4.1 มีความเห็นชอบระดับโลกียะ เรียกว่า สาสวสัมมาทิฏฐิ (อ่าน มหาจัตตารีสกสูตร). เป็นระดับความเห็นชอบของปุถุชน.... แต่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ธรรมระดับโลกุตระในอันดับต่อไป
อยากเสนอให้สังเกตข้อสุดท้ายในสาสวสัมมาทิฏฐิที่ว่า "......สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่..."
นี่คือ ศรัทธาว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง.... เมื่อศรัทธาว่า ผู้พ้นโลกด้วยตนเองมีจริง ก็ย่อมขวนขวายหาทางที่จะเดินตามท่านเหล่านั้น
โปรดสังเกตุว่า แม้นความเห็นชอบระดับสาสวสัมมาทิฏฐินี้ จะอยู่ในระดับ "เป็นส่วนแห่งบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์"ของปุถุชนก็จริง....
แต่ก็เป็นปัจจัยที่จะพาให้ก้าวต่อไปยังธรรมระดับสูงขึ้น

4.2 มีความเห็นชอบระดับโลกุตระ เรียกว่า อนาสวสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นชอบของของพระอริยบุคคล.... ซึ่ง ก็มีพื้นฐานมาจากความเห็นชอบระดับโลกียะ หรือ สาสวสัมมาทิฏฐิ นั่นเอง.... ท่านเหล่านี้ กำลังบ่ายหน้า ไปสู่ความพ้นทุกข์ หรือ การเหนือบุญ-เหนือบาป อย่างแท้จริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 10:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กฏแห่งกรรม และ สังสารวัฏฏ์ เป็นความจริงซีกโลกียะ

การสิ้นกรรม(หรือเหนือกรรม) และ นิพพาน เป็นความจริงซีกโลกุตระ



พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอน ให้เพียงเรียนรู้เรื่อง กฏแห่งกรรม ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เท่านั้นน่ะครับ

ท่านสอนให้ ถึงการสิ้นกรรม หรือ การอยู่เหนือกรรมด้วย





ถ้าเราเน้นเรื่องกฏแห่งกรรม และสังสารวัฏฏ์ ฝ่ายเดียว ความเห็นเราอาจจะแล่นไปสู่ทิฏฐิที่เห็นว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเที่ยง(สัสตทิฏฐิ)

แต่ ถ้าเราเน้นเรื่องอนัตตา โดยไม่ระวังให้ดี อาจจะเห็นนัตถิตา(อะไรๆก็ไม่มีจริง)เป็นอนัตตา และอาจจะตกเข้าสู่ทิฏฐิที่เห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉท)



ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรม ที่กล่าวถึง เหตุ-ปัจจัย และผล.....อธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุด


บุคคลกระทำกรรม ก็เพราะยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน เป็นปัจจัยของ กัมมภพ)
เพราะมีการกระทำกรรม การเกิดใหม่จึงได้มี


จึงมีคำกล่าวว่า ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในกฏแห่งกรรม
ทั้งประเด็น ความเข้าใจในกรรม และ การออกจากกรรม



ลองหาอ่านจาก หนังสือ พุทธธรรม ดูน่ะครับ




ปล.....

ลองสังเกตุ ในมหาจัตตารีสกสูตร น่ะครับ

สาสวสัมมาทิฏฐิ(สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ) กล่าว ถึง โลกียธรรม กฏแห่งกรรม และ สังสารวัฏฏ์

อนาสวสัมมาทิฏฐิ(สัมมาทิฏฐิระดับโลกุตระ) กล่าวถึง โลกุตรธรรม ที่นำไปสู่การสิ้นกรรม(หรือเหนือกรรม) และ นิพพาน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2007, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุป การทำบุญของแต่ละบุคคลนั้น มีดังนี้

1. ทำบุญด้วยความเชื่อว่าจะได้ผลบุญตอบแทนทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
2. ทำบุญด้วยความเชื่อว่า จะได้ไปพบพระพุทธองค์ ในสวรรค์
3. ทำบุญด้วยความหลงเชื่อ (ใช้คำว่าหลงเชื่อนะ) เพราะถูกกลุ่มบุคคลชักจูง ให้หลงเชื่อว่าทำบุญแล้วจะได้อานิสงค์อย่างนั้นอย่างนี้
4. ทำบุญ เพราะขัดไม่ได้ ทำไปอย่างนั้นแหละไม่ได้หวังอะไร แถมรำคาญอีกต่างหาก
5. ทำบุญด้วยความเชื่อว่า การทำบุญแล้วจะทำให้จิตใจสะอาด ไม่โลภมาก ไม่โกรธมาก ไม่หลงมาก
6.. ทำบุญ เพราะต้องการอยากให้ผู้อื่นรู้ว่า ตนเองใจบุญ
7. ทำบุญเพื่อหวัง ลาภ ยศ สรรเสริญ

ยังมีอีกมากตอนนี้จำได้แค่นี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง