Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รำลึกหลวงพ่อปัญญา ที่ “วัดชลประทานรังสฤษฎ์” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2007, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


หากพูดถึงวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งจังหวัดนนทบุรี “วัดชลประทานรังสฤษฎ์” คงเป็นวัดที่ทุกคนรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี ในฐานะวัดที่ปราศจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เครื่องรางของขลัง การบอกใบ้หวย การเข้าทรงองค์เจ้า แต่วัดแห่งนี้มุ่งเน้นในเรื่องของหลักธรรมคำสอนและการปฏิบัติตามแก่นธรรมแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้คนให้หลุดพ้นจากกิเลสที่พอกพูน โดยมี “หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ทำหน้าที่เป็นนักรบแห่งกองทัพธรรม ขับเคลื่อนหลักธรรมคำสอนเผยแพร่สู่สาธารณชนมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

“หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” หรือ “พระพรหมมังคลาจารย์” ผู้ลาลับ ท่านถือเป็นหนึ่งในผู้มอบกายถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนาอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีความมุ่งหมายในเกณฑ์ 2 ประการคือ ประการแรกเพื่อประกาศความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ และประการที่สองเพื่อทำลายความเห็นผิด และการกระทำที่ผิดๆ ในหมู่พี่น้องชาวพุทธทั้งหลายให้หมดไป


Image
ทุกวันอาทิตย์พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก


ด้วย 2 หลักเกณฑ์ที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุพึงยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอด รวมถึงการประยุกต์ธรรมต่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจและเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่ได้ฟังธรรมของท่านได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจนกลายเป็นมหาศรัทธาของมหาชน

หนึ่งในนั้นก็คือ ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทานในช่วงปี พ.ศ.2492-2509 หรือบิดาแห่งชลกร หลังได้ฟังการแสดงธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้เกิดความเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นอย่างมาก


Image
ผู้มาทำบุญใส่บาตรมีกันทุกเพศทุกวัย
ทั้งมากันเป็นครอบครัวหรือจะมาคู่มาเดี่ยวก็ได้



และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและวิธีการถ่ายทอดธรรมมะของหลวงพ่อปัญญา ม.ล.ชูชาติ และกรมชลประทานจึงได้มอบที่ดิน และสร้างวัดชลประทานรังสฤษฎ์แห่งนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 ที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พร้อมได้อาราธนาหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมา

หากใครได้มีโอกาสเข้าไปเยือนยังวัดชลประทานฯ แห่งนี้ จะรู้สึกได้ถึงบรรยากาศอันร่มรื่นร่มเย็นทั่วทั้งบริเวณวัด ด้วยต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย หรือจะเรียกว่าวัดป่าก็คงจะได้ ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ถึง 48 ไร่ แต่ภายในกลับมีสิ่งปลูกสร้างเพียงน้อยนิดเพียงพอต่อการใช้งานเท่านั้น โดยสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆ ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้มีเพียง 3 สิ่งเท่านั้นคือ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (สำหรับเด็กเยาวชน), โรงเรียนพุทธธรรม (สำหรับอุบาสกอุบาสิกา) และกุฏิสี่เหลี่ยม เท่านั้น นอกนั้นเป็นบุคคลภายนอกสร้างให้ตามสมควรทั้งสิ้น


Image
พระอุโบสถเล็กๆ ใช้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์


และหากสาธุชนท่านใดได้สังเกต ก็จะเห็นอีกว่า วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปเพียงไม่กี่องค์ เนื่องจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุไม่เน้นในเรื่องของวัตถุ หากแต่เน้นให้คนเข้าถึงคำสั่งสอนและปฏิบัติตามขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากกว่า ดังป้ายธรรมมะเตือนใจป้ายหนึ่งในหลายๆ ป้ายที่ติดไว้ตามต้นไม้ทั่วบริเวณวัดว่า

“คนไหว้พระเท่าใดไม่ถูกพระ
ไหว้เปะปะพระประดิษฐ์อิฐปูนปั้น
ใจกระจ่างแจ้งธรรมที่สำคัญ
พระจะพลันพบได้ในใจเรา”


Image
พระอุโบสถ


จากการยึดหลักความพอเพียงมาโดยตลอดการสร้างวัด พระอุโบสถของวัดแห่งนี้จึงเป็นเพียงอุโบสถเล็กๆ สีขาวตั้งอยู่หน้าวัด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิเป็นพระประธาน อุโบสถแห่งนี้จะเปิดเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสังฆกรรมของสงฆ์ในวันธรรมดา และจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าไปกราบนมัสการพระประธานเฉพาะวันพระและวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ส่วนหน้าอุโบสถนอกเขตพัทธสีมาด้านซ้ายและขวา มีต้นสาละลังกาและต้นเหลืองปรีดิยาธร ที่หลวงพ่อปัญญานันทะได้ปลูกไว้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2547

เมื่อเดินเข้าไปด้านในจะพบกับลานธรรมหรือลานหินโค้งใหญ่ ร่มรื่นด้วยแมกไม้ หากใครที่เคยไปวัดสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คงจะต้องคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี เพราะลานหินโค้งแห่งนี้ได้สร้างขึ้นเลียนแบบขึ้นมา เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.2480 หลวงพ่อปัญญาเคยไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม และได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับ ท่านพุทธทาสภิกขุ และท่าน บ.ช.เขมาภิรัต (พระราชญาณกวี อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร อดีตเจ้าอาวาสวัดขันเงิน ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร) เป็นสามสหายธรรมร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


Image
ต้นไม้ให้ข้อคิดมีอยู่ให้เห็นมากมายภายในวัด


ลานแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่ให้การแสดงธรรมภายในวัด เป็นแบบเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติ เช่นเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างศาลาอาคารต่างๆ ภายในวัดจึงมีอาคารเท่าที่จำเป็นแก่ศาสนกิจเท่านั้น

ลานหินโค้งแห่งนี้ เดิมชื่อว่า ลานไผ่ หรือสวนไผ่ เนื่องจากตอนนั้นบริเวณนี้มีต้นไผ่เยอะ กระทั่งปี พ.ศ.2536 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุได้ไปจำพรรษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้รักษาการเจ้าอาวาทแทนหลวงพ่อได้เอาต้นไผ่ออกแล้วแทนด้วยต้นไทร เนื่องจากต้นไผ่มีใบร่วงเยอะต้องเก็บกวาดบ่อย และต้นไทรก็ให้ร่มเงาที่ร่มเย็นกว่าด้วย


Image
กุฏิสงฆ์ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติสมถะ


เมื่อหลวงพ่อกลับมาเห็นความเปลี่ยนแปลง ก็ได้ถามหาต้นไผ่ พระผู้รักษาการเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงตอบไปว่า หลวงพ่อไม่อยู่ ต้นไผ่เลยหนีไปเที่ยว แล้วต้นไทรก็อยากมาอยู่กับหลวงพ่อแทน หลวงพ่อได้ฟังดังนั้นก็หัวเราะแล้วบอกว่าดี จะได้ร่มเย็น จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า “ลานหินโค้ง” ตามลักษณะของลานนั่นเอง

ที่ “ลานหินโค้ง” แห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในทุกๆ วันอาทิตย์ เวลาประมาณ 07.00 น. ลานหินโค้งกว้างแห่งนี้จะเต็มไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมกันกิจกรรมทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม รายล้อมด้วยพระสงฆ์ที่นั่งรับบาตรอยู่บนอาสนะจำนวนหลายสิบรูป


Image
บรรยากาศร่มเย็นเป็นธรรมภายในวัดชลประทานฯ


หากใครมาไม่ทันช่วงเช้าก็ไม่ต้องกังวล เพราะตั้งแต่เวลา 09.30 น. พระภิกษุสงฆ์ก็จะออกมาที่ลานหินโค้งอีกครั้งเพื่อรับบาตรฉันเพล บรรยายปาฐกถาธรรม ให้ศีลให้พร ถวายสังฆทานร่วมกัน จากนั้นพระท่านจะสวดมนต์พร้อมๆ กับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมธรรมอย่างพร้อมเพรียง หากใครที่สวดมนต์ไม่เป็นก็มีหนังสือบทสวดให้ได้ยืมกัน ส่วนวันจันทร์-เสาร์นั้นพระสงฆ์จะออกรับบาตร ณ ลานหินโค้ง ในเวลาประมาณ 07.00 น. เพียงรอบเดียวเท่านั้น

ส่วนในบริเวณสวนป่าที่ร่มรื่นสงบใกล้ลานหินโค้ง ยังมีโต๊ะม้านั่งมากมายเพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาและปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งต้นไม้ให้ข้อคิด ซึ่งก็คือต้นไม้ที่ถูกปิดป้ายด้วยข้อคิดข้อธรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีรูปปั้น ม.ล.ชูชาติ กำภู ผู้สร้างวัด และไม่ไกลกันก็มีรูปปั้นหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ให้ประชาชนได้เคารพกันด้วย


Image
แม้จะหมดช่วงเวลาตักบาตรฟังธรรมแล้ว
ก็ยังสามารถปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิกันได้ทุกเมื่อ



นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนพุทธธรรม มีอุบาสกอุบาสิกา มาถือศีลอุโบสถปฏิบัติธรรมกันทุกวัน โดยมีพระภิกษุผลัดเปลี่ยนกันมาเทศนาแนะนำสั่งสอนเป็นประจำ อีกทั้งทางวัดได้จัดพระภิกษุคณะหนึ่งให้การศึกษาแก่เยาวชนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณวัดด้วย ซึ่งมีเยาวชนให้ความสนใจมากมาย อีกทั้ง ยังมีศูนย์จำหน่ายหนังสือธรรมะ รวมถึงเทปและซีดีธรรมะต่างๆ ให้ชาวพุทธได้เลือกสรรนำไปศึกษาปฏิบัติต่อไป

ณ เวลานี้ แม้หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะลาลับไปจากวัดชลประทาน แต่ว่าหลักธรรมคำสอน เจตนารมณ์ ความมุ่งหมาย รวมสิ่งที่นักรบแห่งกองทัพธรรมท่านนี้ปฏิบัติ ยังคงอยู่ในจิตใจของชาววัดชลประทานทุกคน รวมถึงยังคงอยู่ในจิตใจของชาวพุทธส่วนใหญ่ไปตลอดกาล

“การสร้างพระคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด วิเศษที่สุด ก็คือคัมภีร์ธรรมที่อยู่ในใจของเรา เอาร่างกายเป็นตู้ใส่คัมภีร์ เอาใจเป็นที่จารึกพระคัมภีร์ จารึกไว้ในใจตลอดเวลา”


Image
ประชาชนยังคงเดินทางมาเคารพสรีระสังขารหลวงพ่อปัญญาอย่างต่อเนื่อง


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2550 15:47 น.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง