Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การปฏิบัติธรรม ไ ม่ใช่เรื่องง่ายๆ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติกรรมฐาน หรือที่ใช้พูดกันทั่วไปในหมู่ชาวพุทธว่า ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ โดย

เฉพาะการปฏิบัติธรรมตามนัยของพระพุทธศาสนา เพราะว่า การบำเพ็ญจิตภาวนา จะต้อง

ผ่านทั้งสุขและทุกข์

ความสุขไม่มีปัญหาเพราะมนุษย์แสวงหา และพระพุทธเจ้าก็สอนว่า สุข มีหลายระดับ

แต่ที่มีปัญหาคือทุกขเวทนา ผู้ประสบกับมันเข้าแล้วต่างเข็ดขยาดหวาดหวั่น

แต่ทั้งสุขและทุกข์ ทางศาสนาท่านว่าเป็นสังขารธรรมเกิดดับเหมือนสังขารธรรมอื่นๆ

เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมประสบทุกข์ บางแห่งแนะนำกันและกันว่า เมื่อทุกข์ก็เปลี่ยนอิริยาบถเสียก็หาย

ไม่เห็นยากเลย

แต่บางที่ก็สอนให้ดึงดันผ่านให้ได้ตามต้องการตายเป็นตาย

จริงๆ แล้วพึงปฏิบัติอย่างไรจึงพ้นจากทุกข์ (สุขเวทนาด้วย) นั้น

ดูตัวอย่างที่นี่=>

http://larndham.net/index.php?showtopic=28904&st=0

เค้าว่า เมื่อขันติกลายเป็นขันแตก เพราะทุกขเวทนา เป็นหนึ่งในหลายๆรายที่รู้ท้อกับเวทนานี้

เห็นว่าน่าจะกล่าวถึงอุบายวิธีกำหนดทุกขเวทนาไว้สักกระทู้หนึ่ง เพื่อเป็นกำลังใจแก่โยคี

ท่านอื่นๆซึ่งตกที่นั่งเดียวกับ จขกท.

อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ไว้ในหลายหมวด มันน่าจะมีอะไรพิเศษกระมัง

พระพุทธเจ้าจึงหยิบยกขึ้นสอนไว้หลายๆ แห่ง


แนะนำบอร์ใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:50 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 12:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-พระพุทธเจ้าตรัสสอนเกี่ยวกับทุกข์ไว้ในหมวดธรรมสำคัญ 3 หมวด

เช่น ทุกข์ ในเวทนา 3 เวทนา 5

เวทนา 3 คือ 1. ทุกขเวทนา 2. สุขเวทนา 3. อุเบกขาเวทนา,

เวทนา 5 คือ 1.สุข 2.ทุกข์ 3.โสมนัส 4.โทมนัส 5. อุเบกขา

ทุกข์ในไตรลักษณ์

1. อนิจจลักษณะ 2. ทุกขลักษณะ 3. อนัตตลักษณะ

ทุกข์ในอริยสัจ 4

1. ทุกข์ 2.สมุทัย 3. นิโรธ 4. มรรค

ตรัสอธิบายทุกข์ไว้อย่างไร จะทยอยนำลงเพื่อให้ศึกษากันต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ภาวนามัยบุคคลส่วนใหญ่ภาวนาไปๆ แล้วจะติดอยู่ตรงทุกข์นี้เอง

วิธีมองทุกข์และแก้ทุกข์ของผู้ปฏิบัติธรรม ก็ต่างกันดังกล่าวแล้วข้างต้น

-ได้อ่านหนังสือพุทธธรรมพบข้อเขียนๆมุมมองของคนประเด็นฝึกจิตนี้ไว้ ซึ่งเห็นว่าให้แง่คิดเป็น

ธรรมดี จึงตัดเอาส่วนหนึ่งให้พิจารณา ดังนี้ ) =>

-ผู้เห็นโทษของกามสุข เบื่อหน่ายกามสุขแล้ว และด้วยความมุ่งหวังความสุขที่

ประณีตขึ้นไป จึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติบางอย่าง ซึ่งบางตอนมีลักษณะยากลำบาก

-ผู้ยังข้องอยู่ในกามสุข อาจมองเห็นการกระทำของเขาว่าเป็นการหาทุกข์มาใส่ตัวก็ได้

-ในกรณีนี้เช่นนี้ เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นมีความพร้อมอยู่แล้ว เบื่อหน่ายกามสุขอยู่แล้ว ซึ่งการอยู่

ในกามสุขกลับกลายเป็นความทุกข์สำหรับเขาก็ดี

หรือแม้ยังไม่พร้อมดีนัก แต่มองเห็นโทษของกาม เห็นคุณของความสุขที่ประณีตกว่า และ

มีความประสงค์จะได้สุขที่ประณีตนั้นก็ดี ข้อปฏิบัติที่ยากลำบากนั้นก็กลายเป็นแบบฝึกหัด

สำหรับฝึกตน

-ถ้าหากบุคคลนั้นสมัครใจจะฝึก และข้อปฏิบัตินั้นก็ไม่เลยเถิดไปจนกลายเป็นการทรมาน ท่าน
ก็ยอมให้ในความหมายที่ว่าเป็นการฝึกนั้นแล

-นอกจากนั้น ความเป็นอยู่บางด้านของผู้ประสบสุขอันประณีตแล้ว บางครั้งมองในสายตา

ของคนที่ข้องในกามสุข อาจเห็นเป็นความทุกข์ไปก็ได้

-เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในความสุขอันประณีต มองเห็นความเป็นอยู่ของคนที่ข้องในกามสุขว่า

เป็นความทุกข์

แต่ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในภาวะนั้นเอง ย่อมรู้ตัวว่าตนมีความสุขหรือไม่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 6:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้เห็นโทษของกามสุขแล้วจะฝึกด้วยใจอดทน มีเป้าหมายในการกระทำชัดเจน คือ

การพ้นทุกข์ เช่น จขกท. ลิงค์นี้=>

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13943

เขาฝึกด้วยความมุ่งมั่น แม้ยากลำบากก็ไม่หวั่น ไม่ทิ้งความเพียร หาอุบายวิธีด้วยปัญญา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 7:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://larndham.net/index.php?showtopic=28904&st=0

-ครึ่งชั่วโมงแรกของการนั่งสมาธิ เหน็บชาที่เกิดบริเวณจากเข่าลงไปพอทนได้ แต่

เวลาเพียงเท่านี้ สำหรับมือใหม่ ยังเข้าไม่ถึงสมาธิค่ะ

สร้างขันตินั่งต่อไป ครึ่งชั่วโมงหลังอาการชาจะกลายเป็นเจ็บและปวด ทุกขเวทนาปรากฎชัด

แจ้ง

เคยผ่านพ้นไปได้เพียงครั้งเดียว เมื่อเวลาล่วงไปอีกครึ่งชั่วโมง แต่ขยาดเมื่อนึกถึง ไม่

ทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องคะ

1. ดูเข้าไปในจุดที่เจ็บปวด บริกรรม "ปวดหนอ ปวดหนอ" ไปเรื่อยๆ

2. ประคองลมหายใจไปตามปกติ ไม่ใส่ใจกับความเจ็บปวด

3. ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถเป็นเดินจงกรม

ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัตินานเท่าใด ร่างกายจึงจะปรับสภาพให้ชิน ไม่ต้องเจ็บปวดอีกคะ




(ขจกท. ตั้งคำถามตามลิงค์

คิดว่าคงไม่ได้คำตอบอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะสถานลานธรรมแห่งนั้น มองสภาวะทุกข์ต่าง

กัน

เพื่อเป็นประโยชน์แก่ภาวนามัยบุคคลอื่นๆ

และให้สมกับชื่อกระทู้นี้...จะหาทางออก ประเด็นนี้ให้เอง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 10:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนบอกอุบายปฏิบัติให้รอดจากสภาวะทุกข์

ขอแนะนำให้ผู้บริกรรมภาวนาพอง-ยุบก็ดี พุทโธ ก็ดี หรืออื่นๆอีกหากมี

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วจับเอาสาระให้ได้ว่า อะไรอย่างไรบังทุกข์ไว้ ดังนี้....



อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา
ก็ถูก อิริยาบถคือความยักย้ายเคลื่อนไหวปิดบังไว้
ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ

(อธิบาย)

ภาวะที่ทน...อยู่...มิได้
หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้
หรือภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้
ด้วยมีแรงบีบ...คั้น...กด...ดัน...ขัด...แย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น...(=ทุกข์)

จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา
หรือ ความ...รู้...สึกของมนุษย์
มักจะ...ต้อง...ใช้เวลาระยะหนึ่ง… (ไม่ได้บอกว่ากี่นาที)

แต่ใน...ระหว่างนั้น
ถ้ามีการ...คืบเคลื่อน...ยักย้าย
หรือทำให้...แปรรูป...เป็นอย่างอื่นไป...เสียก่อนก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกต...เคลื่อนย้าย...พ้นจากผู้สังเกต...ไปเสียก่อน...
หรือผู้สังเกตแยกพราก...จากสิ่งที่ถูกสังเกต...ไปเสียก่อนก็ดี
... (โยคี เคลื่อนไหว)
ภาวะที่บีบคั้น...กดดัน...ขัดแย้งนั้น…ก็ไม่ทันปรากฏให้เห็น
ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ



(เมื่อมนุษย์ปรับเปลี่ยนอิริยาบถแก้ทุกข์ตามสัญชาติญาณผ่านแล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อมองอีกด้าน

หนึ่ง การเคลื่อนไหวนั้นก็ปิดบังทุกข์ในไตรลักษณ์ไปด้วยในขณะเดียวกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ

ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ
ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก
แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง

ความบีบคั้นกดดันขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลาทั่วองคาพยพ
จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้
ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่
ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น

ยืนอย่างเดียว
นั่งอย่างเดียว
เดินอย่างเดียว
นอนอย่างเดียว

ความบีบคั้นกดดันตามสภาวะจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ
จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้นกดดัน
ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์” เช่นเจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว
และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น
ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง
ความบีบคั้นกดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบายที่เรียกว่า “ความสุข” เกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น
เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ
พอจะรู้สึก
ปวด
เมื่อย
เป็นทุกข์
เราก็ชิงเคลื่อนไหว
เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นหรืออิริยาบถอื่นเสีย

หรือเรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ
จึงหนีรอด...จากความรู้สึก...ทุกข์ไปได้
เมื่อไม่รู้สึก...ทุกข์
ก็เลยพลอยมอง...ข้าม...ไม่เห็นความทุกข์...ที่เป็นความจริง...ตามสภาวะไปเสียด้วย
ท่านจึงว่า... อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 11:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้เขียนหนังสือสติปัฏฐานเวอร์ชั่นต่างๆท่านหนึ่ง แนะนำวิธีดูเวทนาให้แก่

บุคคลๆหนึ่ง

ลองเปรียบเทียบกับหลักข้างบน กับ คำตอบของเค้าว่า มีภูมิปฏิบัติธรรมชาติเพียงใด=>



... ถือว่าดูเวทนาทางกาย

ถ้าดูได้ก็ดู

คือขอให้คำนึงถึงความจริงด้วย ...(น่าจะบอกด้วยว่าความจริงของใคร)

หากดูแล้วเหมือนมีผู้รู้เวทนาแยกเป็นต่างหากได้

และเวทนาแสดงความคลายลงตามลำดับ

ก็ถือว่าสติมีความแข็งแรงกว่าเวทนา

แต่ถ้าดูแล้วเวทนายิ่งแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ

สติตามไม่ทัน ทุกข์กายแล้วมาทุกข์ใจด้วย

ก็ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายดีกว่าครับ

คนเราไม่เหมือนกัน

คนหนึ่งทำแล้วเปลี่ยนทุกข์เป็นสุข

อีกคนทำแล้วแข้งขาเดี้ยง

อย่างนั้นเก็บกายไว้ใช้ภาวนาดีกว่า



<=ปฏิบัติเพื่อความถูกใจ แต่มิใช่ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม

ที่กระดานนั้น แนะนำเรื่องกรรมฐานหรือการฝึกจิต มีแนวคิดในทิศทางเดียวกันทั้งหมด

เขียนหรือแนะนำให้ถูกใจตรงใจคน แต่ไม่ตรงธรรมถูกธรรม

นี่ก็ เช่น กัน ถูกใจคน=>

http://larndham.net/index.php?showtopic=28835&st=1
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ย.2007, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครึ่งชั่วโมงแรกของการนั่งสมาธิ เหน็บชาที่เกิดบริเวณจากเข่าลงไปพอทนได้

แต่ เวลาเพียงเท่านี้ สำหรับมือใหม่ ยังเข้าไม่ถึงสมาธิค่ะ

สร้างขันตินั่งต่อไป ครึ่งชั่วโมงหลังอาการชาจะกลายเป็นเจ็บและปวด

ทุกขเวทนาปรากฎชัดแจ้ง



-พึงเข้าใจความหมาย สติ สักเล็กน้อย

สติ-ความระลึกได้ สาระ ได้แก่ ความสามารถคุมจิตอยู่กับสิ่งที่พึงเกี่ยวข้อง หรือกิจที่ต้องทำ

ชัดเจนคือโยคีสามารถคุมจิตให้อยู่กับสิ่งที่ทำ

ในที่นี้กำหนดนาม-รูปอยู่ ก็ต้องคุมจิตให้อยู่กับนามกับรูปแล้วภาวนาไปตามอาการ

เท่านี้สติสำเร็จแล้ว

-โดยสาระ สัมปชัญญะ คือความรู้ชัดสิ่งที่กำลังทำ เช่นรู้ว่าท้องกำลังพอง-กำลังยุบ เป็นต้น

จะเห็นว่าสติกับสัมปชัญญะทำงานคู่กันไป

-สติคุมจิตไว้กับท้องพองท้องยุบ สัมปชัญญะรู้ว่ากำลังพองขึ้นกำลังยุบ (สัมปชัญญะก็คือ

ปัญญา)

ขณะพองหนอ ยุบหนอ ตามอุบายดังกล่าว

สมาธิก็ได้รับการฝึกด้วยคือเกิดไปด้วยกัน จากการเพียรกำหนดทันขณะปัจจุบันนั่นเอง


-กลับมาที่ปัญหา จขกท. ดังอ้างอิง

ยังใช้อุบายหรือมรรคไม่ถูกต้องนัก เค้ากะว่าจะนั่งให้ครบ 1 ชั่วโมง เก็งใจจะเข้าให้ถึงสมาธิ

และสร้างความอดทน

-ฝึกจิตคิดเลือกองค์ธรรมเองไม่ได้ เพราะธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัยสัมพันธ์

เมื่อสร้างเหตุถูกต้องแล้วผลเกิดเองตามเหตุนั้น

ใจเย็นๆ ค่อยปรับร่างกายไปด้วยกัน

บางคนใจร้อน ถามหาทางลัด

ปฏิบัติกรรมฐาน หากสำนักไหนบอกว่ามีทางลัด พึงระวังสำนักนั้น

ไม่มีทางลัดหรอก อาศัยการฝึกบ่อยๆ อย่างเดียว

สมมุติว่า ร่างกายสมบูรณ์ให้เริ่มที่เวลา 30 นาที

จงกรมระยะที่หนึ่ง 30 นาที นั่งนิ่งๆกำหนดนาม-รูป 30 นาที เดินๆนั่งๆ นั่งๆเดินๆอย่าง

แบบนี้ ขันติสำเร็จแล้ว วิริยะสำเร็จแล้ว


-ทุกข์ปรากฏ “ปวดหนอๆๆ” หรือ “ทุกข์หนอๆๆ” แล้วแต่ความรู้สึกขณะนั้น

รู้สึกปวดตรงไหน ปักจิตกำหนดตรงนั้น "ปวดหนอๆๆ"

เวทนาเพลาๆ ลง รู้ตัวกลับหลักคือพอง-ยุบ กำหนดต่อไป พองหนอ ยุบหนอ...
ปวดจี๊ดขึ้นอีกรู้สึก วางพอง-ยุบ “ปวดหนอๆๆๆ”
กำหนดแล้ววาง พอง-ยุบต่อ

ครบ 30 นาที เดินจงกรมต่อ
ครบ 30 นาที นั่งอีก
ปฏิบัติไปลักษณะนี้

จนร่างกายจะชินๆ จงกรมระยะ 1 ก็คล่องพอได้แล้ว
ขยายเวลาขึ้นไปอีก 5-10 นาที
เป็นนั่ง 40 นาที
จงกรม 40 นาที

ปรับจงกรมเป็นระยะ 2

แต่มิใช่ทิ้งระยะ 1 ไปเลยนะ เดินด้วยสลับกันหนึ่งบ้าง สองบ้างให้ชำนาญไม่หลงลืม


ศึกษาวิธีจงกรมลิงค์นี้=>

http://www.whatami.ob.tc/-View.php?N=30
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ย.2007, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยผ่านพ้นไปได้เพียงครั้งเดียว เมื่อเวลาล่วงไปอีกครึ่งชั่วโมง แต่ขยาดเมื่อนึกถึง
ไม่ทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องคะ

1. ดูเข้าไปในจุดที่เจ็บปวด บริกรรม "ปวดหนอ ปวดหนอ" ไปเรื่อยๆ
2. ประคองลมหายใจไปตามปกติ ไม่ใส่ใจกับความเจ็บปวด
3. ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถเป็นเดินจงกรม

ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัตินานเท่าใด ร่างกายจึงจะปรับสภาพให้ชิน ไม่ต้องเจ็บปวดอีกคะ



ดังกล่าวแล้วว่า ส่วนกายต้องค่อยๆ ปรับเวลาขึ้นไป ไม่พึงหักโหม

1. สังขารธรรมทั้งหลาย เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ก็จริง แต่เริ่มแรก องค์

ธรรมมีสติปัญญา เป็นต้น ยังไม่เจริญพอที่จะรู้สภาวะเกิดดับนั้นได้ พูดง่ายๆว่า สติยังอ่อนไป

พึงกำหนดอารมณ์ย่อยอื่นๆ ให้ถี่ขึ้น

วิธีปฏิบัติอย่างที่กล่าว ใช้พอง-ยุบเป็นหลัก (ฐานกาย) เมื่อสภาวะใดกระทบ วางอารมณ์หลัก

ก่อน จึงตั้งสติกำหนดสภาวะนั้น เช่น รู้สึกเจ็บปวด “ปวดหนอๆๆ” เมื่อเวทนาเพลาลง จิตไม่

พวงกับมันแล้ว ดึงสติกลับพองหนอ ยุบหนอ ต่อ

เวทนาเกิดอีกก็กำหนดอีก ตามวิธีดังกล่าวแล้ว

2. ตามวิธีข้อ 1 รู้สึกทุกข์ “ทุกข์หนอๆๆ” แล้วกลับมาที่ท้องพอง ท้องยุบ

ไม่ใช่นิ่งเฉย ไม่ใส่ใจต่ออารมณ์อื่นๆที่กระทบ ไม่ใช่อย่างนั้น

-สติปัฏฐาน ก็บอกอยู่แล้วว่ามี 4 ฐาน อารมณ์กระทบฐานใด พึงกำหนดที่ฐานนั้น

แล้วกลับมาที่กายคือพองยุบต่อ (ไม่ใช่ปฏิบัติทีละฐานๆ 1-4 อย่างนี้ผิด)


3. เมื่อกะเวลาไว้ที่ 30 นาที ก็ 30 นาทีตามที่ตั้งใจไว้

แต่ก็มิได้ตายตัวนะ ผู้เริ่มปฏิบัติเมื่อทุกข์หนักจนกำหนดอารมณ์นั้นไม่ไหว ท่านก็ให้ขยับได้

แต่ให้กำหนดความคิด ซึ่งแวบคิดว่าไม่ไหวแล้ว หรือคิดต้องการเปลี่ยนนั้น

ก่อน (ฐานจิต)

ตัวอย่างเช่น คิดว่าไม่ไหวแล้วเจ็บเหลือเกิน กำหนดความคิดนั้นก่อน

“ไม่ไหวไหนๆๆๆ” (รู้สึกอย่างไร กำหนดความคิดนั้นเลย)

กำหนดแล้ว ลองดึงสติกลับมา พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ (รูปนั่ง) ต่อสิ

คิดอีกกำหนดอีก “ ไม่ไหวหนอๆๆๆ”

ไม่ไหวจริงๆ คราวนี้

คิดอยากขยับกำหนดก่อน “อยากขยับหนอๆๆๆๆ” แล้วขยับก็ได้

แต่ไม่ลุกเดิน (หากยังไม่ถึงเวลาที่ตั้งใจไว้)

ขยับ...หายปวด กำหนดต่ออีก พองหนอ ยุบหนอ (นั่งหนอ) จนหมดเวลาจึงเดินจงกรม


-ประเด็นสุดท้าย เวลาไม่แน่นอนตายตัวว่าเท่านั้นเท่านี้หายปวด อยู่ที่ว่าโยคีฝึกมากน้อย

แค่ไหนในแต่ละวัน ฝึกบ่อยๆ ร่างกายปรับได้เร็ว นี่ส่วนกาย

-ส่วนสำคัญคือจิตใจ โยคีจะกำหนดเห็นทุกขเวทนาดับไปตามสภาพของมันเอง

ส่วนนี้จำต้องหมั่นกำหนดบ่อยๆ ไม่เบือนหนีความจริงคือสภาวธรรมที่เกิด

หาอุบายแก้เองได้เสมอ แต่ก็อยู่บนหลักสติปัฏฐาน

-เมื่อร่างกายพร้อม จิตใจพร้อม สติสมาธิปัญญาพร้อม

โยคีจะมุ่งแน่วกำหนดทุกข์เวทนา จนเห็นว่ามันดับลงตามสภาพของมัน

เมื่อใด ก็เมื่อนั้นแล้วจะไม่ปวดอีก

-ไม่ง่ายนัก แต่ก็ใช่ว่ายากเกินความเพียรกำหนดอารมณ์ของมนุษย์ ไม่ต้องหวั่นใจ

ทุกข์เวทนาเป็นสังขตธรรมๆเกิดได้ดับได้ ตามเหตุปัจจัยของมัน

เพียงแต่ว่าระยะนี้โยคีหมั่นกำหนดอารมณ์ต่างๆที่กระทบทางตา หู เป็นต้นให้บ่อยขึ้น

ถี่ขึ้น พูดง่ายๆว่าเก็บรายละเอียดให้ได้มากเท่าที่ปฏิบัติได้

เพื่อปลูกสติสมาธิปัญญาๆ จะเกิดเพราะการกำหนดสภาวธรรมแต่ละขณะๆนี้เอง

(บอกแนวทางกว้างๆ ไว้ ว่าอุบายวิธีแก้อารมณ์ไม่มีกฎตายตัว หาวิธีในขณะนั้นๆได้เอง แต่

ต้องกำหนดอารมณ์นั้นๆ ทุกอย่างตามที่รู้สึกเสมอ

มรรค แปลว่า ทาง, อุบาย, วิธี ยืดหยุ่นได้ ไม่ตายตัว)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2007, 8:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อไปจะนำคำอธิบายทุกข์ (ห้อง 2 ) จากหนังสือพุทธธรรมลงเป็นลำดับต่อไป

แต่เพราะ “ทุกข์” ไม่มีใครต้องการ เบือนหน้าหนี ไม่กล้าเผชิญหน้า

แม้ผู้เรียกตนว่าผู้ปฏิบัติธรรม ก็หาวิธีหลบหลีกทุกข์ ด้วยรูปแบบต่างกันดังกล่าวข้างต้น

กลุ่มที่ลุกเลิกหนีเอาดื้อๆ มองกลุ่มที่ปฏิบัติตรงข้ามกับตนว่าไม่เป็นมัชฌิมา หาเรื่องหาทุกข์

มาใส่ตัว

ส่วนกลุ่มที่มุ่งมั่นจะฟันฝ่าทุกข์แบบเคร่งครัดก็มองกลุ่มตรงข้ามว่า ขาดขันติธรรม

ต่างกลุ่มต่างค่อนใส่กัน เพราะมองเรื่องนี้ต่างมุมกัน

เมื่อเป็นดังนั้นจะนำข้อคิดเกี่ยวกับมุมมองของคนจากหนังสือพุทธธรรมให้พิจารณา=>


-ผู้ที่เห็นโทษของกามสุข เบื่อหน่ายกามสุขแล้ว และด้วยความมุ่งหวังความ

สุขที่ประณีตขึ้นไป จึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติบางอย่างซึ่งบางตอนมีลักษณะยากลำบาก

ผู้ยังข้องอยู่ในกามสุข อาจมองการกระทำของเขาว่าเป็นการหาทุกข์มาใส่ตัวก็ได้

ในกรณีเช่นนี้ เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นมีความพร้อมอยู่แล้ว เบื่อกามสุขอยู่แล้ว ซึ่งการอยู่ในกามสุข

กลับกลายเป็นความทุกข์สำหรับเขาก็ดี

หรือแม้ยังไม่พร้อมดีนัก แต่มองเห็นโทษของกาม เห็นคุณของความสุขที่ประณีตกว่า และ

มีความหวังว่าจะได้สุขที่ประณีตนั้นก็ดี ข้อปฏิบัติที่ยากลำบากนั้น ก็กลายเป็นแบบฝึกหัด

สำหรับฝึกตน

ถ้าหากบุคคลนั้นสมัครใจจะฝึก และข้อปฏิบัตินั้นก็ไม่เลยเถิดไปจนกลายเป็นการทรมาน ท่าน

ก็ยอมให้ในความหมายที่ว่าเป็นการฝึกนั้นแล

นอกจากนั้น ความเป็นอยู่บางด้านของผู้ประสบสุขอันประณีตแล้ว

บางครั้ง เมื่อมองดูในสายตาของคนที่ข้องในกามสุข อาจเห็นเป็นความทุกข์ไปก็ได้

เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในความสุขอันประณีต มองเห็นความเป็นอยู่ของคนที่ข้องในกามสุขว่า

เป็นทุกข์

แต่ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในภาวะนั้นเอง ย่อมรู้ตัวว่าตนมีความสุขหรือไม่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 7:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น)

-พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์

เพราะทรงรู้ว่าทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้ มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้อง

คงอยู่ตลอดไป

ชีวิตนี้ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่ ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือได้

สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็จะปลอดโปร่งโล่งเบา พบสุข

แท้จริง

แต่การดับทุกหรือแก้ไขปัญหานั้น มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหาหรือปิดตาไม่มองทุกข์

ตรงข้ามต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน

การรับสู้หน้ามิใช่หมายความว่าจะเข้าไปแบกทุกข์ไว้หรือจะให้ตนเป็นทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน

จะได้แก้ไขกำจัดมันได้

การรู้เท่าทันนี้คือการทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ทำปริญญา คือกำหนดรู้ ทำความเข้า

ใจสภาวะของทุกข์หรือปัญหานั้น ให้รู้ว่าทุกข์หรือปัญหานั้นคืออะไรกันแน่ อยู่ที่ไหน (บาง

ทีคนชอบหลบเลี่ยงทุกข์หนีปัญหา และทั้งที่รู้ว่ามีปัญหา แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่าปัญหาของ

ตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆ เครือๆ หรือพร่าสับสน)

ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ รวมถึงสภาวะแห่ง
สังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย คือยอมรับความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่ แล้วมองดูรู้จัก

ชีวิตและโลกตามที่มันเป็นของมัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(คงไม่มีใครปฏิเสธว่าตนไม่เคยมีทุกข์เลย)

-ทุกข์ในหมวดธรรมทั้งสาม (ดู คห.2 อีกครั้ง) นั้น มีความหมายเกี่ยวโยงเนื่องอยู่

ด้วยกัน แต่มีขอบเขตกว้างแคบกว่ากัน เป็นบางแง่บางส่วน หรือเป็นผลสืบต่อจากกัน ดังนี้

-ทุกข์ที่มีความหมายกว้างที่สุดครอบคลุมทั้งหมด คือ ทุกข์ใน

ไตรลักษณ์ หรือทุกขลักษณะ หรือทุกขตา ได้แก่ ภาวะที่ไม่คงตัว คงอยู่ในสภาพเดิมไม่

ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้ง ที่เกิดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย ซึ่งเป็น

ลักษณะของสังขารทั้งหลายทั้งปวง (สัพเพ สังขารา ทุกขา) กินขอบเขตเท่ากันกับความไม่

เที่ยง คือสิ่งใดไม่เที่ยง ได้แก่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งนั้นเป็นทุกข์

(ยะทะนิจจัง ตัง ทุกขัง)


-ทุกข์ที่มีความหมายแคบที่สุด ก็คือทุกข์ที่เป็นเวทนา เรียกชื่อเต็มว่า

ทุกขเวทนา หรือความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ อาการสืบเนื่องจากทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือความรู้สึก

ที่เกิดขึ้นในบุคคลเนื่องมาจากทุกข์ในไตรลักษณ์นั้น กล่าวคือ ความรู้สึกบีบคั้นกดดันข้องขัด

ของคน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความบีบคั้นกดดันขัดแย้งที่เป็นสภาพสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นไปใน

ระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่งโดยสัมพันธ์กับสภาพกายและสภาพจิตของเขา

ทุกขเวทนานี้ ก็เป็นทุกข์ตามความหมายในไตรลักษณ์ด้วย เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆ ทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาก็ตาม หมายความว่า เวทนาทุกอย่าง จะเป็น

ทุกขเวทนาก็ดี สุขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขคือเฉยๆ) ก็ดี

ล้วนเป็นความทุกข์ในความหมายที่เป็นลักษณะสามัญนั้นทั้งสิ้น


-ทุกข์ในอริยสัจ หรือทุกขอริยสัจ

ก็ คือ สภาวะที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นั่นเอง แต่จำกัดขอบเขตเฉพาะเท่าที่จะเกิดเป็นปัญหา

แก่มนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกระทบต่อชีวิต

ขยายความว่า สังขารทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์

และสังขารเหล่านั้นนั่นแหละ ก็ก่อความบีบคั้นขึ้นแก่คน โดยเป็นทุกข์ในอริยสัจ

(แต่การที่มันจะกลายเป็นของบีบคั้นคนขึ้นมาได้ ก็เพราะมันเองถูกบีบคั้นโดยเป็นทุกข์ใน

ไตรลักษณ์)

-พูดง่ายๆว่า ทุกขอริยสัจ หมายเฉพาะเรื่องของเบญจขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์ เรียกเป็น

ศัพท์ว่า ได้แก่ทุกข์เฉพาะส่วนที่เป็นอินทรียพัทธ์ คือ เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่รวมถึงทุกข์ที่

เป็นอนินทรียพัทธ์ (ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์) ซึ่งเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่ไม่จัดเป็นทุกข์ใน

อริยสัจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



สรุปให้พอเห็นภาพการปฏิบัติกรรมฐานไว้ทีหนึ่งก่อน

-ดังกล่าวตั้งแต่ต้น จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับทุกข์ทั้งหมดว่าโยงอยู่

กับชีวิตมนุษย์

-ทุกข์พื้นๆ ได้แก่ ทุกขเวทนา (ทบทวน คห. 6-7 อีกครั้ง) แต่ก็เนื่องกับทุกข์ใน

ไตรลักษณ์-ทุกข์ในอริยสัจ 4 ดังกล่าวด้วย


-ปัญหาว่า โยคาวจรปฏิบัติกรรมฐานแล้วประจวบกับทุกขเวทนา

ก็แปลว่าประสบกับสภาวธรรมแล้ว

-แต่วิธีปฏิบัติต่อทุกข์ หรืออุบายพ้นทุกข์ 2 แนวทางข้างต้น (ห้อง 1)

-กลุ่มหนึ่งแนะนำกันว่าทุกข์นักให้ลุกเลิกไปก่อน คือเปลี่ยนอิริยาบถไปเลย

-อีกกลุ่มคนหนึ่งปฏิบัติแบบตายเป็นตาย ไม่ทิ้งสัจจะ

ถามว่า วิธีปฏิบัติต่อทุกข์สองกลุ่มคนนั้น วิธีไหนใกล้เคียงสัจธรรมมากที่สุด

ตอบว่า กลุ่มสองใกล้เคียงที่สุด

-กลุ่มแรกพลาดจากสัจธรรม (= ยถาภูตญาณทัสสนะ) ไปเลย

-กลุ่มสองเด็ดขาด แต่อุบายวิธียังไม่ประกอบด้วยปัญญานัก

หากปฏิบัติอย่างมีสติปัญญาเข้าใจความมุ่งหมายแล้ว อาจประสบความจริงตามที่สิ่งทั้งหลาย

มันเป็นของมันเองได้

-ผู้จะพ้นจากทุกข์ได้นั้น พึงประกอบความเพียรด้วยสติปัญญา หมั่นสังเกต

เพียรกำหนดปัจจุบันธรรมแต่ละขณะๆ หาอุบาย (=มรรค) แก้ทุกข์ตามวิธีดังกล่าว

คือ ค่อยปรับความพร้อมทั้งกายและใจขึ้นไป

เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ทุกข์ที่ว่ายากก็ไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัยของมนุษย์อีกต่อไป สู้ สู้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ธ.ค.2007, 4:01 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2007, 11:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศึกษาทุกขลักษณะในแนวปริยัติต่อไป


-ข้อสังเกตที่จะช่วยให้กำหนดขอบเขตของทุกข์ในอริยสัจง่ายขึ้น พอประมวลได้ ดังนี้


1. เป็นอินทรีย์พัทธ์ คือ เนื่องด้วยอินทรีย์ เกี่ยวข้องกับชีวิต เป็นปัญหามนุษย์

ไม่รวมถึงอนินทรีย์พัทธ์

ไม่ใช่ทุกข์ในข้อความว่า

“สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ - สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา”

หรือในข้อความว่า

“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ - ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ”

ซึ่งหมายถึงทุกข์ในไตรลักษณ์ ที่กินความกว้างขวางครอบคลุมทั้งหมด


2. เป็นเรื่องที่เกิดจากกรรมกิเลส คือ เป็นทุกข์ที่เป็นปัญหาของมนุษย์ เกิดจากกิเลส

และกรรมของคน (เกิดจากทุกขสมุทัย คือ เกิดจากตัณหา)


3. เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ ปริญญากิจ คือ ตรงกับกิจในอริยสัจข้อ ที่ 1

อันได้แก่ ปริญญา คือ “การกำหนดรู้”

หรือ การรู้จักตามสภาพที่มันเป็น เป็นกิจที่มนุษย์จะต้องกระทำต่อทุกข์ในอริยสัจ

คือการทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของตน


ทุกข์ในอริยสัจ จำกัดเฉพาะทุกข์ที่เกี่ยวกับกิจ คือ ปริญญานี้เท่านั้น


4. เน้นความหมายในแง่ที่ว่าเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ หรือเป็นที่รองรับของทุกข์

(ทุกฺขวตฺถุตาย)

ไม่เพ่งความหมายในแง่ว่ามีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งด้วยการเกิดขึ้นและการเสื่อมสลาย

(อุทยพฺพยปฏิปีฬนฏฺเฐน)

ซึ่งเป็นความหมายที่เต็มเนื้อหาของทุกข์ในไตรลักษณ์



-ทุกข์ที่ท่านจำแนกไว้ ส่วนใหญ่เป็นทุกข์ในอริยสัจ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคน

เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เป็นสิ่งควรคำนึงเพื่อปลดเปลื้องเสียด้วยการปฏิบัติ



-ส่วนทุกข์ที่ครอบคลุมความทั้งหมดอย่างในไตรลักษณ์ ท่านแสดงไว้แต่พอเป็นหลัก

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเท่าทันตามความเป็นจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2008, 7:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ทุกข์ชุดสำคัญๆ หรือที่ท่านกล่าวถึงกันบ่อยๆ ดังนี้

ชุดที่ 1.ทุกขตา 3 หรือ ทุกข์ 3

เป็นชุดสำคัญซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้เป็นหลัก ครอบคลุมความหมายทั้งหมด

ของทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ


1) ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์

ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์

ได้แก่ ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ

ตรงตามชื่อและตามสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อยขบ เป็นต้น

หมายถึง ทุกขเวทนานั่นเอง


2) วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์

ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรปรวน

ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์

ในระดับหนึ่งหรือในอัตราส่วนหนึ่ง


สุขเวทนานั้น จึงเท่ากับเป็นทุกข์แฝง หรือมีทุกข์ตามแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลา

ซึ่งจะกลายเป็นความรู้สึกทุกข์ หรือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ทันที

ที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้นแปรปรวนไป


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สุขเวทนานั้นก่อให้เกิดทุกข์ เพราะความไม่จริงจัง

ไม่คงเส้นคงวาของมัน

(อธิบายอีกนัยหนึ่งว่า สุขเวทนา ก็คือ ทุกข์ที่ผันแปรไปในระดับหนึ่ง หรืออัตราส่วนหนึ่ง)


3) สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์

ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของสังขารทุกสิ่งทุกอย่าง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง

ที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นทุกข์ คือ

เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นกดดันด้วยการเกิดขึ้น และการเสื่อมสลายของปัจจัยต่างๆ

ที่ขัดแย้ง ทำให้คงอยู่ในภาพเดิมมิได้ ไม่คงตัว


ทุกข์ข้อที่สามนี้ คลุมความของทุกข์ในไตรลักษณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2008, 8:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ชุดที่ 2 ทุกข์ 12

-เป็นชุดไขความ สำหรับแสดงความหมายของทุกข์ในอริยสัจ 4 มี ดังนี้

1) ชาติ

ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ต่างๆ อเนกประการ ท่านแบ่งซอยออกเป็น


ก. คัพโภกกันติมูลกะทุกข์

ทุกข์เกิดจากการเกิดอยู่ในครรภ์ อยู่ในที่อันแสนจะคับแคบอึดอัด

มืดตื้อแออัดด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ ดุจหนอนในของเน่าหรือน้ำครำ


ข. คัพภปริหรณมูลกทุกข์

ทุกข์เกิดจากการบริหารครรภ์ มารดาจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ลุกนั่งเดินวิ่งแรงหรือเบา

กินดื่มของร้อนเย็นเปรี้ยวเผ็ด เป็นต้น มีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ทั้งสิ้น


ค. คัพภวิปัตติมูลกทุกข์

ทุกข์เกิดจากการวิบัติของครรภ์ เช่น ท้องนอกมดลูก เด็กตายในครรภ์

ต้องผ่าตัดออก เป็นต้น


ง. วิชายนมูลกทุกข์

ทุกข์เกิดจากการคลอด ทั้งถูกระทุ้งกระแทกพลิกหัน ทั้งถูกกดถูกบีบถูกอัดกว่าจะผ่านช่อง

อันแสนแคบออกมาได้ เจ็บปวดแสนสาหัส


จ. พหินิกขมนมูลกทุกข์

ทุกข์เกิดจากการออกมาภายนอก เด็กแรกคลอดมีร่างกายและผิวละเอียดอ่อน

ดังแผลใหม่ ถูกสัมผัสจับต้องเช็ดล้างแสนเจ็บแสบ


ฉ. อัตตุปักกมมูลกทุกข์

ทุกข์เกิดจากการทำตัวเอง เช่น ฆ่าตัวตายบ้าง ประพฤติวัตรบำเพ็ญตบะทรมานตนบ้าง

โกรธเคืองเขาแล้วไม่กินข้าว หรือทำร้ายตัวเองบ้าง เป็นต้น


ช. ปรุปักกมมูลกทุกข์

ทุกข์เกิดจากคนอื่นทำให้ เช่น ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำร้าย เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2008, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2) ชรา

ความแก่ ทำให้อวัยวะทั้งหลายย่อหย่อนอ่อนแอ อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น

ทำหน้าที่ บกพร่อง ผิดเพี้ยน กำลังวังชาเสื่อมถอย หมดความแคล่วคล่องว่องไว

ผิวพรรณไม่งดงามผ่องใส หนังเหี่ยวย่น ความจำเลอะเลือนเผลอไผล

เสื่อมอำนาจและความเป็นเสรีทั้งภายนอกและภายใน เกิดทุกข์กายและทุกข์ใจได้มาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2008, 8:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3) มรณะ

ความตาย ยามจะสิ้นชีพ เคยทำชั่วไว้ ก็เห็นนิมิตของบาปกรรม มีคนหรือของรัก

ก็ต้องพลัดพรากจากไป

ส่วนประกอบในร่างกาย ก็พากันหยุดทำหน้าที่ ทุกข์ทางกายอาจมีมาก จะทำอะไร

จะแก้ไขอะไร ก็ทำไม่ได้ แก้ไขไม่ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2008, 11:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


4) โสกะ

ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น


5) ปริเทวะ

ความคร่ำครวญ หรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น


6) ทุกข์

ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น


7) โทมนัส

ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตัวเอง

กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.พ.2008, 11:31 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง