Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ลานธรรมเสวนาแก้อารมณ์กรรมฐานพอง-ยุบและพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 6:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ ในเมื่อเปิดประเด็นที่นี้แล้ว ก็น่าจะคุยต่อได้

ยังไงถ้าว่าง ผมจะตามไปคุยด้วย ทั้ง ๒ ที่
(ช่วงนี้งานยุ่งอยู่ครับ ว่างแค่ตอนเช้า)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 8:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับ คุณเฉลิมศักดิ์ ตั้งกระทู้ใหม่ให้ที่นี่แล้วครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=66827#66827

คุยกันที่กระทู้ใหม่ที่เดียวก็ได้ครับ

ส่วนที่นี้เก็บไว้เฉพาะประเด็นชื่อกระทู้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 10:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปุ๋ย พิมพ์ว่า:
สิ่งที่จะต้องคัดออกไปก็คือสมมุติบัญญัติ เพราะวิปัสสนานั้นสติต้องระลึกตรงต่อปรมัตถธรรม สติต้องระลึกตรงต่อปรมัตถธรรมอย่างสุดส่วน คือรู้เฉพาะปรมัตถ์ให้มากที่สุดให้ยิ่งที่สุด เรียกว่าคัดสมมุติออกไปจากใจให้มากที่สุด ให้คงเหลืออยู่กับสภาวปรมัตถ์

ฉะนั้นการที่มีความจงใจในการใช้สมมุติบัญญัติเช่น คำบริกรรมต่าง ๆ ต้องละออกไปทั้งหมด คำบริกรรม เช่น พุทโธก็ดี พองหนอยุบหนอก็ดี ขวาย่างหนอหรือว่าคำว่ารูปคำว่านามก็ดี หรือคำใด ๆ ก็ตามที่เป็นคำพูด ที่เป็นภาษา จะต้องคัดออกไปให้เหลือแต่สติสัมปชัญญะล้วน ๆ ที่ทำหน้าที่รับรู้รับทราบต่อสภาวธรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏ

โดยปรกติแม้จะไม่ได้ตั้งใจจะใช้ภาษา ไม่ได้ตั้งใจจะใช้คำพูดมาบริกรรม จิตเขาก็คอยจะนึกถึงภาษาอยู่แล้ว นึกถึงคำพูดอยู่แล้ว ถ้าหากว่าเป็นผู้ที่สังเกตจิตใจตัวเองเป็นก็จะพบว่าจิตคอยมีภาษาอยู่ คอยมีคำพูดอยู่ เรียกว่าจิตคอยไหลไปสู่บัญญัติไปสู่สมมุติอยู่ตลอด ในขณะที่จิตไหลไปสู่สมมุติก็คือจิตกำลังถูกปรุงแต่ง

จิตกำลังถูกปรุงแต่งด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้ วิตกคือตัวตรึกนึก วิจารเคล้าไปในอารมณ์นั้น สิ่งเหล่านี้เป็นต้นที่กำลังปรุง ปรุงแต่งจิตอยู่ อารมณ์ของจิตก็จึงต้องเป็นสมมุติเป็นภาษาขึ้น จากที่เคยจดจำไว้ ชำนาญในภาษาไทยมันก็คอยจะผุดเป็นภาษาไทย ชำนาญในภาษาอื่นมันก็ผุดเป็นภาษาอื่น นี้คือสัญญามันได้ปรุงในจิต มีตัวตรึกนึก อารมณ์ของจิตก็เป็นบัญญัติ

เพราะฉะนั้นการที่จะให้จิตหลุดจากบัญญัติหลุดจากสมมุติ สติจะต้องระลึกเข้ามาที่การปรุงแต่ง จำไว้ สติจะต้องระลึกเข้ามาที่การปรุงแต่ง คือระลึกที่ความจำก็ดี ระลึกที่การตรึกก็ดี การนึกก็ดี ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะที่จิตมีกระแสแล่นไปสู่บัญญัติอารมณ์ หรือพูดง่าย ๆ ว่า รู้สึกว่ามันมีคำพูดขึ้นในใจ มีภาษาขึ้นมาในใจ ขณะนั้นน่ะมีการปรุงแต่ง สติก็ระลึกเข้ามาที่ความปรุงแต่งในกระแสจิต

แทนที่จะไปนึกถึงคำพูด แทนที่จะไปนึกถึงความหมาย แทนที่จะไปนึกที่เรื่องราวอันเป็นบัญญัติ แต่หันมุมมองมาสู่แหล่งผลิตคำพูดก็คือการปรุงแต่งนั่นเอง ถ้าสติระลึกเข้ามาที่ปรุงแต่ง เรียกว่าสติระลึกปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ จิตเขาก็จะเปลี่ยนหรือทิ้งออกจากบัญญัติมาเป็นปรมัตถ์ เพราะจิตรับได้ทีละอารมณ์ เมื่อจิตอันประกอบด้วยสติมาระลึกถึงจิตที่กำลังถูกปรุงแต่ง เขาก็ทิ้งจากบัญญัติ ฉะนั้นคำพูดก็จะหลุดไป ภาษาจะหลุดไป นี้โดยเหตุผลมันจะต้องเป็นอย่างนั้น


อ่านต่อ...“วิธีหลุดจากบัญญัติ”
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1802


ถูกที่สุดเลย ธรรมชาติวิปัสนามันเกินกว่าภาษาจะเข้าใจ
การที่ยัง มีนู่นหนอ นี่หนอ นั่นหนอ นี่แหละคับที่ทำให้ไม่ไปถึงไหน
เพราะมันคือความคิด ต้องหยุดคิด จึงจะรู้
ไม่หยุดคิด มันก้จะติดแต่นู่นนี่นั่นไม่ไปไหน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 7:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ถูกที่สุดเลย ธรรมชาติวิปัสนามันเกินกว่าภาษาจะเข้าใจ


ถามคุคามิน วิปัสสนาในความรู้สึกของคุณ หมายถึงอะไร ได้แก่อะไร

ดูเหมือนคุณกำลังคิดทำวิปัสสนาอยู่หรืออย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 10:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
ถูกที่สุดเลย ธรรมชาติวิปัสนามันเกินกว่าภาษาจะเข้าใจ


ถามคุคามิน วิปัสสนาในความรู้สึกของคุณ หมายถึงอะไร ได้แก่อะไร

ดูเหมือนคุณกำลังคิดทำวิปัสสนาอยู่หรืออย่างไร


ผมตอบคุณกรัชกายไปเยอะมากแล้ว ในหลายๆกระทู้
น่าจะเข้าใจแล้วว่าผมคิดว่าวิปัสนาคืออะไร และผมทำอย่างไร
ที่ตอบอยู่ก็ชัด

ธรรมชาติ (ของ) การเฝ้าดู เฝ้ารู้ ... มันเกินกว่าภาษาจะเข้าใจ
ธรรมชาติ (ของ) การเฝ้าดู เฝ้ารู้ ... มันเข้าใจไม่ได้ด้วย ภาษา
ธรรมชาติ (ของ ความรู้จาก) วิปัสสนา มันเกินภาษาจะเข้าใจ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 8:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อารมณ์ที่เกิดจากการทำกรรมฐานแบบภาวนามัยไม่ว่าจะใช้คำบริกรรมอย่างไร
สภาวธรรมที่ปรากฏก็มีลักษณะอย่างนั้น

ปัญหามีว่า จะแนะนำผู้มีศรัทธาเหล่านั้นอย่างไรให้ปฏิบัติก้าวหน้าต่อไปได้

ตัวอย่างมีเยอะแยะ เลือกๆมาตัวอย่างหนึ่ง



http://larndham.net/index.php?showtopic=33183

(ปฏิบัติมาได้ซักระยะแล้ว เกิดความรู้สึกอยากร้องไห้)

ไม่ทราบว่าอาการที่เป็นเกิดจากการเพ่งจิตเกินไปหรือไม่ เนื่องจากปฏิบัติแนวหลวงปู่เทียนทำ 14 จังหวะสลับกับการเดินจงกรม แต่สังเกตว่าเวลาพูดคุยเรื่องธรรมะ เวลาสวดมนต์ที่ระลึกถึงครูบาอาจารย์ เวลาคิดถึงวัด จะมีความรู้สึกหนึ่งพุ่งขึ้นมาคะ ไม่แน่ใจว่าเป็นความรู้สึกเศร้าหรือปีติกันแน่ รู้แต่ว่าอยากจะร้องไห้ แต่พอกลับมารู้สึกตัวกับการเคลื่อนของมือหรือเท้า ความรู้สึกนี้ก็จะค่อยๆเบาและหายไป ถ้าคิดใหม่มันก็จะกลับมาอีก ควรทำอย่างไรกับสภาวะนี้ดีคะ ควรจะเดินจงกรมอย่างเดียวหรือเปลี่ยนแนวไปดูจิตแทนการทำ 14 จังหวะ กรุณาให้คำแนะนำด้วยคะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 9:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติกรรมฐานพึงอิงหลักใหญ่ คือ สติปัฏฐาน 4 ฐาน คือ

ตามดูรู้ทันกาย 1 ตามดูรู้ทันเวทนา 1 ตามดูรู้ทันความคิด 1 ตามดูรู้ทัน

กิเลสนิวรณ์ 1

ไม่ใช่ดูทีข้อหรือปฏิบัติกันทีละข้อๆนะ ไม่ใช่ ขณะนั้นอะไรเกิดกระทบความ

รู้สึก ให้กำหนดรู้อันนั้นได้เลย

รายนี้นึกถึงครูบาอาจารย์ นึกถึงข้อธรรมแล้วปีติเกิด เกิดแล้วปล่อยให้ผ่าน

ไปลอยๆ ความคิดดังกล่าวจึงเกิดวนไปวนมา

หากกำหนดลงไปว่า “คิดหนอๆๆ” หรือว่า “จะร้องไห้หนอๆ” เพียงเท่า

นี้อารมณ์นั้นก็ดับ นี่คือตัวอย่างการแก้อารมณ์ในการปฏิบัติกรรมฐาน

สภาวะอื่นจากนี้ก็มีวิธีปฏิบัติทำนองนี้ แล้วจึงบริกรรมฐานที่ใช้ต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 9:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อีกตัวอย่างหนึ่ง จะกี่ร้อยรายกี่พันตัวอย่างก็ตาม

วิธีปฏิบัติต่อสภาวะนั้นๆมีอย่างเดียว คือ กำหนดรู้สภาวะนั้นตามที่มันเป็น

หรือตามเป็นจริง รู้สึกอย่างไรกำหนดนอย่างนั้น

แล้วก็อย่างกระทู้นี้ตั้งข้อสังเกตไว้ ว่าผู้ไม่เคยทำภาวนามัยมาก่อน จะ

ไม่รู้ถึงสภาวะประมาณนี้เลย



http://larndham.net/index.php?showtopic=33185

(นั่งสมาธิแล้วเห็นขาตัวเองแยกออกจากตัว)

เริ่มจากที่ภรรยาชวนไปปฏิบัติรรมที่วัดแห่งหนึ่งครับ
มีการเดินจงกรมสลับการนั่งสมาธิ........พอถึงการนั่งสมาธินั่งนานประมาณ30นาที(คาดคะเนในใจ)เริ่มมีอาการปวดที่ขาเกิดขึ้นที่ละนิดที่ละน้อย.......................................จนเริ่มปวดมากขึ้นจนในใจคิดว่าจะต้องเปลี่ยนอริยาบสหรือขยับขาเพื่อให้ผ่อนคลายอาการปวดขา.............เกิดความคิดในใจว่าขึ้นมาว่าเรามาปฏิบัติธรรมต้องทำให้ได้ต้องอดทน........อีกในใจกลับบอกว่าถ้านั่งนานไปเดี๋ยวขาจะเจ็บหนักขับรถกลับไปบ้านไม่ได้นะ......ในใจผมเกิดความคิดอย่างนี้สลับกันไปสลับกันมานานพอสมควรจนถึงจุดๆหนึ่งตัดสินใจนั่งต่อไปเป็นไงเป็นกัน.................จนรู้สึกว่าขาข้างที่ปวดหลุดออกจากตัวแล้วรู้สึกว่าผมมองดูขาข้างที่ปวด(ขาข้างขวา)ผมเห็นขาตัวเองมีอะไรบ้างอย่างพันรัดแน่นคล้ายงูกำลังรัดเหยื่อ.....ความรู้ตอนนั้นเหมือนว่ามันไม่เจ็บไม่ปวดเหมือนมันไม่ใช่ขาของผมเลยครับ..............
อาการอย่างนั้นปรากฏอยู่นานจนนาฬิกาจับเวลาการนั่งสมาธิดังเตือนว่านั่งสมาธิครบ 1 ชั่วโมงแล้วดังขึ้นผมก็เลยรู้สึกว่ามีขาอีกครั้งครับ


บอร์ดใหม่


http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง